โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน

ดัชนี ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน

หน้า (folio 292r) จากพระวรสารเคลล์สที่เขียนตกแต่งอย่างวิจิตร ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซัน หรือ ศิลปะเกาะ (Hiberno-Saxon art หรือ Insular art) เป็นลักษณะงานศิลปะที่สร้างขึ้นบนหมู่เกาะบริติชในบริเตนสมัยหลังโรมัน และใช้ในความหมายที่เกี่ยวกับอักษรไฮเบอร์โน-แซกซัน (Insular script) ที่ใช้กันในขณะนั้นด้วย สมัยที่มีการสร้างงานศิลปะดังกล่าวเรียกว่า "the Insular period in art" ซึ่งมาจากคำว่า "insula" ของภาษาละตินที่แปลว่า "เกาะ" ในช่วงเวลานี้ศิลปะของบริเตนและไอร์แลนด์ มีลักษณะร่วมกันที่แตกต่างจากบริเวณอื่น ๆ ของยุโรป นักประวัติศาสตร์ศิลป์มักจะจัดศิลปะเกาะเป็นส่วนหนึ่งของขบวนการศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรปและศิลปะของยุคกลางตอนต้นของยุโรป ซึ่งเป็นลักษณะศิลปะที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ศิลปะเกาะส่วนใหญ่มีที่มาจากคณะเผยแพร่ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ของศาสนาคริสต์แบบเคลต์ หรืองานโลหะสำหรับผู้นำที่เป็นคฤหัสน์ ช่วงเวลาเริ่มต้นก็ในราว..

19 ความสัมพันธ์: บริเตนใหญ่พระวรสารลินดิสฟาร์นพระวรสารเคลล์สกอลการเผยแพร่คริสต์ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์กางเขนยืนกางเขนรูธเวลล์ยุโรปภาคพื้นทวีปราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานศิลปะแองโกล-แซกซันศิลปะโรมาเนสก์ศิลปะเคลต์หน้าลายพรมซัตตันฮูประเทศสกอตแลนด์ประเทศไอร์แลนด์เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเข็มกลัดทารา

บริเตนใหญ่

ริเตนใหญ่ (Great Britain) เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะบริติช ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของภาคพื้นทวีปยุโรป มีเกาะไอร์แลนด์ตั้งอยู่ทางตะวันตก เกาะบริเตนใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในทวีปยุโรป ล้อมรอบด้วยเกาะเล็กนับร้อยเกาะ บริเตนใหญ่เนื้อที่ส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักร เป็นที่ตั้งของอังกฤษ สกอตแลนด์ และเวลส์ บริเตนใหญ่เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากเกาะชวาและเกาะฮนชู คำว่าบริเตนใหญ่บางครั้งใช้ในความหมายของสหราชอาณาจักร ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ ซึ่งเป็นรัฐที่เกิดจากการรวมตัวของอังกฤษและสกอตแลนด์ในช่วงพ.ศ. 2250–2344 ก่อนที่นอร์เทิร์นไอร์แลนด์จะเข้าร่วม เป็นสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และนอร์เทิร์นไอร์แลน.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและบริเตนใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารลินดิสฟาร์น

ระวรสารลินดิสฟาร์น (Lindisfarne Gospels, Lindisfarne Gospels - หอสมุดบริติช, ลอนดอน) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละติน ที่เขียนขึ้นที่ลินดิสฟาร์นในนอร์ทธัมเบรียเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 7 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8 “พระวรสารลินดิสฟาร์น” ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่ พระวรสารฉบับนี้ถือว่าเป็นงานศิลปะชิ้นที่งดงามที่สุดของงานศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ของราชอาณาจักร ซึ่งเป็นลักษณะงานศิลปะที่ผสานระหว่างศิลปะแองโกล-แซ็กซอนและศิลปะเคลติกที่เรียกว่าศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนหรือศิลปะเกาะ พระวรสารเป็นงานฉบับสมบูรณ์ขาดก็แต่หน้าปกดั้งเดิม และอยู่ในสภาพที่ดีเมื่อคำนึงถึงอายุของหนังสือ.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและพระวรสารลินดิสฟาร์น · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารเคลล์ส

ระวรสารเคลล์ส หรือ พระวรสารโคลัมบา (Leabhar Cheanannais Book of Kells หรือ Book of Columba) เป็นหนังสือพระวรสารวิจิตรที่เขียนเป็นภาษาละตินที่ประกอบด้วยพระวรสารทั้งสี่ฉบับของพันธสัญญาใหม่พร้อมด้วยเนื้อหาอื่นๆ และตาราง “พระวรสารเคลล์ส” ที่เป็นงานที่เขียนขึ้นโดยนักบวชเคลต์เมื่อราวปี ราว ค.ศ. 800 หรือไม่นานก่อนหน้านั้น เป็นงานศิลปะชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของงานเขียนอักษรวิจิตรของยุโรปและเป็นงานที่แสดงถึงจุดสุดยอดของงานเขียนหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ และเป็นสมบัติของชาติชิ้นสำคัญของไอร์แลนด์ เนื้อหาของพระวรสารส่วนใหญ่นำมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละติน แต่ก็มีหลายส่วนที่มาจากพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับก่อนหน้านั้นที่เรียกกันว่า “คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาละตินเดิม” (Vetus Latina) ภาพวาดและงานตกแต่ง “พระวรสารเคลล์ส” เป็นฝีมือที่งดงามกว่าพระวรสารฉบับอื่นใดของหนังสือวิจิตรของสมัยศิลปะเกาะ ทั้งในด้านความหรูหราและความซับซ้อน การตกแต่งรวมธรรมเนียมนิยมของการเขียนรูปสัญลักษณ์ของศิลปะคริสต์ศาสนา เข้ากับลวดลายสอดผสานอันเป็นแบบฉบับของศิลปะเกาะอันหรูหรา รูปลักษณ์ของมนุษย์, สัตว์ และ สัตว์ในตำนาน พร้อมด้วยเงื่อนเคลติค และ ลายสอดประสานอันเต็มไปด้วยสีสันอันสดใสทำให้งานหนังสือวิจิตรเป็นงานที่เต็มไปด้วยพลังและมีชีวิตจิตใจ องค์ประกอบของสิ่งตกแต่งข้างเคียงเหล่านี้ผสานไปด้วยสัญลักษณ์ทางคริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นการช่วยเน้นเนื้อหาของภาพหลักที่ต้องการที่จะสื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมไปด้วย “พระวรสารเคลล์ส” ปัจจุบันมีด้วยกันทั้งหมด 340 สี่หน้ายกและตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและพระวรสารเคลล์ส · ดูเพิ่มเติม »

กอล

แผนที่ของ กอล ราว 100 ปีก่อนคริสตกาล แสดงให้เห็นตำแหน่งสัมพันธ์กับเผ่าเคลติก กอล (Gaul) เป็นชื่อเก่าแก่ในประวัติศาสตร์ ใช้ในยุคโรมันเพื่อเรียกขานดินแดนทางยุโรปตะวันตก ซึ่งปัจจุบันเทียบได้ประมาณบริเวณประเทศฝรั่งเศสและเบลเยี่ยม และอาจรวมไปถึงหุบเขาโพ ในสวิตเซอร์แลนด์ตะวันตก บางส่วนของเนเธอร์แลนด์และเยอรมนีทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไรน์ ในภาษาอังกฤษ คำว่า กอล อาจหมายถึงผู้คนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้น (ภาษาฝรั่งเศสเรียก Gaulois) พลเมืองในอดีตสามารถพูดภาษากอล (Gaulish) ได้อย่างกว้างขวาง (เป็นภาษาที่พัฒนามาจากเคลติกยุคต้น) โดยแพร่หลายในดินแดนบริเตน ไอบีเรีย ไอร์แลนด์ ไปจนกระทั่งถึงอนาโทเลียกลางในยุคโรมัน คำในภาษาละตินของ กอล ยังคงมีใช้อยู่ในคำภาษากรีกยุคใหม่สำหรับใช้เรียกประเทศฝรั่งเศส คือ กัลเลีย (Gallia) กอลภายใต้การนำของ Brennus บุกยึดโรมันได้ในราวทศวรรษ 390 ก่อนคริสตกาล ในแดนอีเจี้ยน มีการอพยพครั้งใหญ่ของชาวกอลตะวันออก จากดินแดนเทรซ ทางตอนเหนือของกรีซ ในราวปี 281 ก่อนคริสตกาล ผู้นำของชาวกอลอีกคนหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Brennus เหมือนกัน เป็นผู้นำของกองทัพขนาดใหญ่ ได้หวนกลับจากการทำลายล้างวิหารอพอลโลในเมืองเดลฟีในกรีซในวินาทีสุดท้าย เล่ากันว่าเขาได้รับเตือนโดยเสียงฟ้าร้องและสายฟ้า ในเวลาเดียวกับที่ชาวเคลต์กำลังอพยพ นักรบกว่า 10,000 นาย พร้อมด้วยบรรดาผู้หญิง เด็ก และทาส ได้เดินทางผ่านดินแดนเทรซพอดี ชาวกอลสามกลุ่มใหญ่ได้เดินทางข้ามดินแดนเทรซไปยังเอเชียไมเนอร์ตามคำเชิญของ Nicomedes ที่ 1 กษัตริย์แห่ง Bithynia พระองค์ได้ส่งคำร้องขอความช่วยเหลือเพื่อสู้กับน้องชายของพระองค์เอง ในเวลาต่อมาชาวกอลก็ตั้งถิ่นฐานลงทางตะวันออกของ Phrygia และ Cappadocia ในแคว้นอนาโทเลียกลาง ดินแดนซึ่งปัจจุบันรู้จักกันในชื่อ กาลาเทีย (Galatia).

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและกอล · ดูเพิ่มเติม »

การเผยแพร่คริสต์ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์

ณะเผยแพร่คริสต์ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ (Hiberno-Scottish mission) เป็นคณะเผยแพร่คริสต์ศาสนา (Mission) ที่นำโดยนักบวชชาวไอร์แลนด์และชาวสกอตแลนด์ในการดำเนินการเผยแพร่คริสต์ศาสนาและก่อตั้งสำนักสงฆ์ในบริเตนใหญ่และแผ่นดินใหญ่ยุโรปในระหว่างยุคกลาง โครงการเผยแพร่คริสต์ศาสนาเริ่มขึ้นในปี..

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและการเผยแพร่คริสต์ศาสนาไฮเบอร์โน-สกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนยืน

กางเขนยืน (standing cross) หรือกางเขนสูง (high cross) คือกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของศาสนาคริสต์ที่ตั้งอยู่โดด ๆ กลางแจ้ง กางเขนยืนทำด้วยหินและมักจะตกแต่งเป็นลวดลายกระหวัดอย่างวิจิตร กางเขนยืนส่วนใหญ่พบในไอร์แลนด์ และ บริเตนใหญ่ระหว่างต้นสมัยกลางหรือบางครั้งก็หลังจากนั้น กางเขนยืนมักจะมีวงแหวนรอบบริเวณจุดตัดที่เป็นลักษณะที่เรียกว่ากางเขนเคลติก.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและกางเขนยืน · ดูเพิ่มเติม »

กางเขนรูธเวลล์

กางเขนรูธเวลล์ (Ruthwell Cross) เป็นกางเขนหินของสมัยแองโกล-แซ็กซอนที่อาจจะสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อรูธเวลล์เป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรียของแองโกล-แซ็กซอน แต่ในปัจจุบันรูธเวลล์เป็นส่วนหนึ่งของสกอตแลนด์ กางเขนแองโกล-แซ็กซอนมีลักษณะคล้ายคลึงกับมหากางเขนในสมัยเดียวกันของไอร์แลนด์ และกางเขนทั้งสองแบบเป็นส่วนหนึ่งของศิลปะเก.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและกางเขนรูธเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ยุโรปภาคพื้นทวีป

รปภาคพื้นทวีป ยุโรปภาคพื้นทวีป (Continental Europe) หรือยุโรปแผ่นดินใหญ่ (Mainland Europe) หรือทวีป (the Continent) คือแผ่นดินทวีปยุโรปที่ยกเว้นเกาะต่างๆ และบางครั้งก็ยกเว้นคาบสมุทร ในการใช้ในอังกฤษคำนี้นี้หมายถึงทวีปยุโรปที่ยกเว้นสหราชอาณาจักร, เกาะแมน, ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์ ความหมายโดยทั่วไปของ “ยุโรปภาคพื้นทวีป” หมายถึง “ยุโรปแผ่นดินใหญ่ที่ไม่รวมสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และไอซ์แลนด์” ประเทศเกาะอื่นที่ไม่รวมคือไซปรัสและมอลตา แต่ในบริเวณอื่นของยุโรปความหมายของคำนี้อาจจะแตกต่างออกไป เช่นในบางคำจำกัดความก็ขยายไปถึงประเทศภายในเทือกเขายูราลและเทือกเขาคอเคซัสWA.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและยุโรปภาคพื้นทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน

ลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน (Migration Period art) เป็นงานศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคระหว่างสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานในยุโรป ระหว่าง ค.ศ. 300 จนถึง ค.ศ. 900 ที่รวมทั้งศิลปะของกลุ่มชนเจอร์มานิคเองบนภาคพื้นยุโรป และ “ศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอน” หรือ “ศิลปะเกาะ” ซึ่งเป็นศิลปะผสานระหว่างศิลปะของชาวแองโกล-แซ็กซอน และ ชาวเคลต์บนหมู่เกาะบริติช ลักษณะของศิลปะก็ครอบคลุมหลายลักษณะตั้งแต่ “ลักษณะพหุรงค์” และ “ลายรูปสัตว์” ศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐานเป็นสมัยประวัติศาสตร์ศิลปะที่สำคัญของศิลปะยุคกลาง.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและศิลปะสมัยการโยกย้ายถิ่นฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะแองโกล-แซกซัน

หนังสือประทานพรเซนต์เอเธลโวลด์''” ที่ประกอบด้วยภาพพระเยซูรับศีลจุ่ม หนังสือแคดมอน” เป็นภาพเทวดารักษาประตูสวรรค์ หลังจากที่อาดัมและอีฟถูกขับจากสวรรค์ หินเฮดดาซึ่งเป็นตัวอย่างของงานสลักหินของสมัยแองโกล-แซกซัน พระแม่มารีทองแห่งเอสเซิน ศิลปะแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon art) คือศิลปะที่สร้างขึ้นในสมัยแองโกล-แซกซันในประวัติศาสตร์อังกฤษโดยเฉพาะตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (ค.ศ. 871-ค.ศ. 899) เมื่อมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมของอังกฤษขึ้น หลังจากการรุกรานของไวกิงยุติลง และมาสิ้นสุดเอาเมื่อนอร์มันพิชิตอังกฤษได้ในปี..

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและศิลปะแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์

วัดเซ็นต์ออสเตรมอยน์, อิซัว, ฝรั่งเศส ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึงศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรป ราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ 12 ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลาง เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษ 19 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆ คำว่า โรมาเนสก์ เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11 ถึง 12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิด คำนี้มาจากการที่ ช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศสทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องอนุสาวรีย์แบบโรมัน แต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน นอกจากเป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน เช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désert หัวเสาที่วัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส (acanthus) ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรมัน อีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้ (barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมัน แม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมัน นักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะไบแซนไทน์ หรือการวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและศิลปะโรมาเนสก์ · ดูเพิ่มเติม »

ศิลปะเคลต์

อร์แลนด์ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 10 ศิลปะเคลต์ (Celtic art) เกี่ยวข้องกับกลุ่มชนที่เรียกว่าเคลต์ ผู้พูดภาษากลุ่มเคลต์ในทวีปยุโรป เริ่มตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคกลางและต่อมา รวมทั้งงานของชนโบราณที่เราไม่ทราบภาษาพูดแต่มีวัฒนธรรมและลักษณะคล้ายคลึงที่ทำให้สรุปได้ว่าอาจจะเกี่ยวข้องกับชาวเคลต์ และยังรวมถึงยุคฟื้นฟูศิลปะเคลต์จนถึงปัจจุบันซึ่งชาวเคลต์สมัยใหม่พยายามอนุรักษ์เพื่อความรักษาความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ศิลปะเคลต์เป็นศิลปะตกแต่ง หลีกเลี่ยงการใช้เส้นตรง และไม่ค่อยใช้ความสมมาตร และมิได้พยายามเลียนแบบธรรมชาติหรือจินตนิยมของธรรมชาติซึ่งเป็นหัวใจของศิลปะคลาสสิก เท่าที่เข้าใจกันจะเป็นศิลปะที่ซับซ้อนไปด้วยสัญลักษณ์ มีลักษณะหลายแบบและมักจะผสมลักษณะของวัฒนธรรมท้องถิ่นเข้าไปด้วย ตัวอย่างที่เห็นคือการใช้ลายสอดประสานซ้อนบนและล่าง (over-and-under interlacing) ซึ่งนำมาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 6 หลังจากที่ลักษณะนี้เป็นที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วโดยชาวเจอร์มานิค ศิลปะเคลต์แบ่งเป็นสามสมัย สมัยแรกเป็นศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปในสมัยยุคเหล็กซึ่งเกี่ยวกับศิลปะของวัฒนธรรมลาแตน ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะท้องถิ่น ศิลปะคลาสสิก และอาจจะมาจากศิลปะตะวันออกที่มาทางเมดิเตอร์เรเนียน สมัยที่สองเป็นสมัยยุคเหล็กในอังกฤษและไอร์แลนด์ ซึ่งมีอิทธิพลมาจากศิลปะแผ่นดินใหญ่ยุโรปผสมกับศิลปะท้องถิ่นต่าง ๆ สมัยที่สามเป็นสมัยเคลต์ "เรอแนซ็องส์" เมื่อต้นยุคกลางที่ไอร์แลนด์ และบางส่วนของอังกฤษหรือที่เรียกว่า "ศิลปะเกาะ" ซึ่งมาจากคำว่า "เกาะ" ในภาษาละติน สมัยที่สามเป็นรากฐานของ "ศิลปะเคลต์ฟื้นฟู" ที่เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและศิลปะเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

หน้าลายพรม

หน้าลายพรม (Carpet page) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของหนังสือวิจิตรของศิลปะเกาะ ซึ่งเป็นหน้าหนังสือที่ส่วนใหญ่จะเป็นลวดลายตกแต่งที่เป็นลายเรขาคณิต ที่อาจจะรวมทั้งรูปสัตว์ที่วาดซ้ำกันเป็นลาย งานลักษณะนี้มักจะใช้เป็นหน้าเริ่มต้นของพระวรสารแต่ละตอนของพระวรสารสี่ฉบับ คำว่า “หน้าลายพรม” หมายถึงหน้าหนังสือวิจิตรของศาสนายูดาย, ศาสนาคริสต์ และ ศาสนาอิสลามที่ไม่ข้อคความ และจะมีก็แต่ลวดลายตกแต่งเท่านั้น หน้าลายพรมแตกต่างจากหน้าที่อุทิศให้กับหน้าที่มีอักษรตัวต้นประดิษฐ์ แม้ว่าการตกแต่งโดยทั่วไปแล้วจะคล้ายคลึงกันก็ตาม หน้าลายพรมเป็นหน้าที่มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการตกแต่งด้วยสีสันอันสดใส, เส้นที่มีพลัง และลายสอดประสานอันซับซ้อน ลักษณะของการตกแต่งมักจะมีความสมมาตร หรือเกือบจะมีความสมมาตร ทั้งตามแนวนอนและตามแนวตั้ง นักประวัติศาสตร์ศิลป์บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นงานศิลปะที่มีต้นรากมาจากการตกแต่งหน้าหนังสือของชาวค็อพท์ และที่แน่ที่สุดคือเป็นงานที่ยืมมาจากงานโลหะร่วมสมัย และพรมโอเรียนทัลหรือผ้าแบบอื่นๆ เองก็อาจจะมีอิทธิพลต่อหน้าลายพรมดังกล่าวด้วย ตราและหนังสือพระวรสารสโตนีเฮิร์สท์ก็เป็นสัญลักษณ์ของการเขียนหน้าลายพรมอย่างง่ายๆ และงานหน้าปกโลหะอีกสองสามชิ้นที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากสมัยเดียวกันเช่น “พระวรสารลินเดา” ก็เป็นงานที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ที่มาอีกแห่งหนึ่งคือลวดลายของพื้นโมเสกของโรมันที่พบในบริเตนในสมัยหลังโรมัน “พระวรสารไคเรนซิส” ภาษาฮิบรูจากคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก็มีหน้าหนังสือที่คล้ายกันกับหน้าลายพรม งานชิ้นแรกที่สุดที่มีหน้าลายพรมมาจากต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 “หนังสือบอบบิโอ โอโรซิอัส” และมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับการตกแต่งของปลายยุคโบราณมากกว่า งานหน้าลายพรมที่สำคัญๆก็ได้แก่ “พระวรสารเคลล์ส”, “พระวรสารลินดิสฟาร์น”, “พระวรสารเดอร์โรว์” และหนังสือวิจิตรฉบับอื่น.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและหน้าลายพรม · ดูเพิ่มเติม »

ซัตตันฮู

ซัตตันฮู (Sutton Hoo) ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวูดบริดจ์ (ซัฟโฟล์ก) ในอังกฤษเป็นที่ตั้งของสุสานโบราณจากราวคริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 ของแองโกล-แซกซัน สุสานหนึ่งเป็นการฝังศพในเรือที่ไม่ได้รับการแตะต้องมาจนกระทั่งไปพบเข้า และรวมทั้งสิ่งของและงานอันมีค่าทั้งทางศิลปะและทางโบราณคดีเป็นจำนวนมากมาย ซัตตันฮูมีความสำคัญต่อนักประวัติศาสตร์ยุคกลางตอนต้นในการให้ความรู้เกี่ยวกับสมัยประวัติศาสตร์ของอังกฤษที่อยู่ในช่วงที่ก้ำกึ่งระหว่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ตำนาน และเรื่องปรัมปรา ซัตตันฮูมามีความสำคัญขึ้นในยุคที่ประมุข (เรดวอลด์แห่งอีสต์แองเกลีย) แห่งอีสต์แองเกลียมีอำนาจเหนือบรรดาชนอังกฤษ และมีบทบาทสำคัญในการวางรากฐานของการปกครองโดยผู้นำที่ถือคริสต์ศาสนาในอังกฤษ ซัตตันฮูเป็นหัวใจสำคัญในการทำความเข้าใจราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียของแองโกล-แซกซัน และช่วงสมัยในบริบทที่กว้างกว่า การฝังศพในเรืออาจจะเริ่มทำกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 และมาทำการขุดในปี..

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและซัตตันฮู · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไอร์แลนด์

อร์แลนด์ (Ireland, หรือ; Éire เอเหรอะ) คำบรรยายระบอบการปกครองของประเทศนี้ (ไม่ใช่ชื่อทางการ) คือ สาธารณรัฐไอร์แลนด์ (Republic of Ireland; Poblacht na hÉireann) นับเป็นสมาชิกที่อยู่ไกลสุดทางตะวันตกของสหภาพยุโรป มีประชากร 4 ล้านกว่าคน เป็นประเทศบนเกาะไอร์แลนด์ อยู่ห่างจากทวีปยุโรปไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ โดยครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 5 ใน 6 ของเกาะดังกล่าว (ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 6 ของเกาะไอร์แลนด์ เรียกว่า ไอร์แลนด์เหนือ เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ) ในการแข่งขันรักบี้ระดับนานาชาติ นักกีฬาจากทั้งสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และแคว้นไอร์แลนด์เหนือ จะเข้าร่วมในทีมเดียวกัน ในชื่อทีมสหพันธ์รักบี้ไอร์แลนด์ นอกจากนี้ไอร์แลนด์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ใช้เงินยูโร.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและประเทศไอร์แลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร

Aberdeen Bestiary) (folio 4v) การตกแต่งตัวพยัญชนะตัวแรกและขอบอย่างวิจิตรใน “หนังสือกำหนดเทศกาล” ของฝรั่งเศส ราวปี ค.ศ. 1400 เอกสารตัวเขียนสีวิจิตร (Illuminated manuscript) หรือหนังสือตัวเขียนสีวิจิตร คือเอกสารตัวเขียนที่ตัวหนังสือตกแต่งเพิ่มเติมด้วยสีสรรค์เช่นตัวหนังสือตัวแรกที่ขยายใหญ่ขึ้นและเล่นลายอย่างวิจิตร หรือเขียนขอบคัน หรือทำเป็นจุลจิตรกรรม ตามความหมายตรงตัวจะหมายถึงต้นฉบับที่ตกแต่งด้วยเงินและทอง แต่การใช้กันโดยทั่วไปโดยนักวิชาการสมัยใหม่ในปัจจุบันจะหมายถึงต้นฉบับใดก็ได้ที่มีการตกแต่งหรือหนังสือประกอบภาพจากทั้งทางตะวันตกและทางศาสนาอิสลาม งานเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรฉบับแรกที่สุดที่มีการตกแต่งพอประมาณมาจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงที่ 7 ส่วนใหญ่ทำในไอร์แลนด์, อิตาลี และประเทศอื่นๆ บนผืนแผ่นดินใหญ่ยุโรป ความสำคัญของเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรมิใช่เพียงคุณค่าทางวรรณกรรมแต่ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ด้วย ซี่งจะเห็นได้จากต้นฉบับเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรที่ทำให้เราเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ โรมันและ กรีกที่ตกแต่งโดยผู้บันทึกและตกแต่งหนังสือตามอาราม เอกสารตัวเขียนสีวิจิตรส่วนใหญ่ที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากยุคกลางแม้ว่าการสร้างเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะทำกันมาจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เนื้อหาของงานส่วนใหญ่ในสมัยแรก ๆ จะเป็นงานศาสนา แต่ต่อมาโดยเฉพาะในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ก็เริ่มมีงานทางโลกเพิ่มขึ้น และเกือบทั้งหมดจะทำเป็นหนังสือแต่ก็มีบ้างที่เป็นม้วนหรือเป็นแผ่นเดียวเขียนบนหนัง (อาจจะเป็นหนังลูกวัว, แกะ, หรือแพะ) ที่มีคุณภาพดี หลังปลายยุคกลางวัสดุที่ใช้เขียนก็เปลี่ยนมาเป็นกระดาษ เมื่อวิวัฒนาการพิมพ์เพิ่งเริ่มใหม่ๆ ผู้พิมพ์ก็อาจจะทิ้งช่องว่างไว้สำหรับพยัญชนะตัวแรก, ขอบ หรือ ภายเขียนย่อส่วนแต่การพิมพ์ทำให้ ศิลปะการทำเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรเสื่อมความนิยมลง แต่ก็ทำกันต่อมาจนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่น้อยลงมากและทำสำหรับผู้มีฐานะดีจริงๆ เท่านั้น นอกจากเอกสารตัวเขียนสีวิจิตรจะเป็นตัวอย่างของสิ่งที่หลงเหลือมาจากยุคกลางแล้วก็ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของจิตรกรรมที่มาจากยุคกลางด้วย และบางครั้งก็เป็นจิตรกรรมอย่างเดียวที่เหลืออยู่จากยุคนั้น.

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและเอกสารตัวเขียนสีวิจิตร · ดูเพิ่มเติม »

เข็มกลัดทารา

็มกลัดทารา (Tara Brooch) เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่งของศิลปะสมัยคริสเตียนยุคแรกศิลปะเกาะของไอร์แลนด์ เข็มกลัดทาราที่สร้างขึ้นเมื่อราว ค.ศ. 700 เป็นเข็มกลัดประดับที่มีขนาดยาว 7 นิ้ว ทำด้วยเงินชุบทองตกแต่งด้วยลวดลายลายสอดประสาน หรือ ปมเคลติคอย่างละเอียด ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ประคำมีรูปลักษณ์ของหัวสุนัขป่าและมังกรกว่ายี่สิบหัว การออกแบบและกรรมวิธีของการสร้างงานชิ้นนี้ที่รวมทั้งการทำลายทองถักและการฝังประดับด้วยทองคำ, เงิน, ทองแดง, อำพัน และ แก้วเป็นงานฝีมือชั้นดี และแสดงถึงความก้าวหน้าของงานช่างทองในไอร์แลนด์ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 โครงสร้างเป็นเชิงวงแหวนที่หมายความว่าเป็นแบบที่มิได้ออกเพื่อใช้เป็นเครื่องตรึงรัดเสื้อผ้า แต่เป็นเครื่องประดับโดยเฉพาะ เข็มกลัดทาราก็เช่นเดียวกับเข็มกลัดอื่นๆ ในยุคเดียวกันที่ไม่มีรูปสัญลักษณ์ทางศาสนาของทั้งคริสเตียนหรือเพกัน และสร้างขึ้นสำหรับผู้มีฐานะดีและเกือบจะเป็นที่แน่นอนคือเป็นชาย เพื่อใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะ เข็มกลัดตั้งชื่อตามชื่อเนินทาราซึ่งเป็นที่สถิตย์ของประมุขแห่งกษัตริย์ไอร์แลนด์ (High Kings of Ireland) ในตำนาน แต่ตัวเข็มกลัดเองไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับทั้งเนินและประมุขแห่งกษัตริย์ เข็มกลัดพบเมื่อเดือนสิงหาคม..

ใหม่!!: ศิลปะไฮเบอร์โน-แซกซันและเข็มกลัดทารา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Hiberno-Saxon artInsular artศิลปะไฮเบอร์โน-แซ็กซอนศิลปะเกาะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »