โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเยซูและฟราอันเจลีโก

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเยซูและฟราอันเจลีโก

พระเยซู vs. ฟราอันเจลีโก

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี. “ฟราอันเจลีโก” โดย ลุคา ซินยอเรลลิ ภราดาทูตสวรรค์ หรือทับศัพท์ว่าฟราอันเจลีโก (Fra Angelico) เป็นสมญานามของภราดาโจวันนีแห่งฟีเอโซเล (ชื่อเมื่อแรกเกิดคือ กวีโด ดี ปีเอโตร, ราว ค.ศ. 1395 - 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1455) เป็นจิตรกรสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้นคนสำคัญของประเทศอิตาลีในคริสต์ศตวรรษที่ 15 มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพสีฝุ่นบนไม้ และการเขียนจิตรกรรมฝาผนัง เป็นผู้ที่จอร์โจ วาซารีกล่าวถึงในหนังสือ“ชีวิตศิลปิน” ว่ามีความสามารถพิเศษที่หายากGiorgio Vasari, Lives of the Artists.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเยซูและฟราอันเจลีโก

พระเยซูและฟราอันเจลีโก มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระเยซูทรงรับบัพติศมาพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนยอห์นผู้ให้บัพติศมา

พระเยซูทรงรับบัพติศมา

''พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง'' ของฟรันเชสโก อัลบานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17''Medieval art: a topical dictionary'' by Leslie Ross 1996 ISBN 978-0-313-29329-0 page 30 เหตุการณ์พระเยซูทรงรับบัพติศมา (โปรเตสแตนต์) หรือ พระเยซูทรงรับพิธีล้าง (คาทอลิก) (Baptism of Jesus) ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติพระภารกิจของพระเยซู เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในพระวรสารทั้ง 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การจำแลงพระกาย การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 ยอห์นผู้ให้บัพติศมาประกาศพิธีบัพติศมาด้วยน้ำเพื่อแสดงการกลับใจและขอรับการอภัยบาปจากพระเจ้า ท่านกล่าวว่าจะมีผู้หนึ่งมาภายหลัง ผู้นั้นจะให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และไฟ ท่านจึงได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้น พระเยซูได้เสด็จไปแม่น้ำจอร์แดนและรับบัพติศมาจากยอห์นด้วย พระวรสารยังบรรยายเหตุการณ์ขณะนั้นว่าฟ้าสวรรค์ได้เปิดออก พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏรูปเหมือนนกพิราบบินลงมาเหนือพระเยซู พร้อมกับมีเสียงจากสวรรค์ประกาศว่า "ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก" คริสต์ศาสนิกชนส่วนมากถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของพิธีบัพติศมาซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ แนวคิดบุตรบุญธรรมนิยมซึ่งศาสนาคริสต์ยุคแรกประณามว่าเป็นความเชื่อนอกรีตก็เกิดขึ้นเพราะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้ ศาสนาคริสต์ตะวันออกจัดฉลองพระเยซูทรงรับบัพติศมาในวันที่ 6 มกราคม ส่วนคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน และบางนิกายจัดการฉลองในสัปดาห์ถัดมาเรียกว่าวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับพิธีล้าง.

พระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · พระเยซูทรงรับบัพติศมาและฟราอันเจลีโก · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

พระเยซูและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนและฟราอันเจลีโก · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

พระเยซูและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ฟราอันเจลีโกและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเยซูและฟราอันเจลีโก

พระเยซู มี 80 ความสัมพันธ์ขณะที่ ฟราอันเจลีโก มี 30 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 2.73% = 3 / (80 + 30)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเยซูและฟราอันเจลีโก หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »