โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา

พระเยซู vs. พระเยซูทรงรับบัพติศมา

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี. ''พระคริสต์ทรงรับพิธีล้าง'' ของฟรันเชสโก อัลบานีสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17''Medieval art: a topical dictionary'' by Leslie Ross 1996 ISBN 978-0-313-29329-0 page 30 เหตุการณ์พระเยซูทรงรับบัพติศมา (โปรเตสแตนต์) หรือ พระเยซูทรงรับพิธีล้าง (คาทอลิก) (Baptism of Jesus) ถือเป็นจุดเริ่มต้นการปฏิบัติพระภารกิจของพระเยซู เหตุการณ์นี้ถูกบันทึกในพระวรสารทั้ง 4 ฉบับ คือ มัทธิว มาระโก ลูกา และยอห์น และถือเป็นหนึ่งในห้าเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของพระเยซู อีกสี่เหตุการณ์ที่เหลือ ได้แก่ การจำแลงพระกาย การถูกตรึงที่กางเขน การกลับคืนพระชนม์ และการเสด็จขึ้นสวรรค์Essays in New Testament interpretation by Charles Francis Digby Moule 1982 ISBN 0-521-23783-1 page 63 ยอห์นผู้ให้บัพติศมาประกาศพิธีบัพติศมาด้วยน้ำเพื่อแสดงการกลับใจและขอรับการอภัยบาปจากพระเจ้า ท่านกล่าวว่าจะมีผู้หนึ่งมาภายหลัง ผู้นั้นจะให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์และไฟ ท่านจึงได้เตรียมหนทางขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระองค์นั้น พระเยซูได้เสด็จไปแม่น้ำจอร์แดนและรับบัพติศมาจากยอห์นด้วย พระวรสารยังบรรยายเหตุการณ์ขณะนั้นว่าฟ้าสวรรค์ได้เปิดออก พระวิญญาณบริสุทธิ์ปรากฏรูปเหมือนนกพิราบบินลงมาเหนือพระเยซู พร้อมกับมีเสียงจากสวรรค์ประกาศว่า "ท่านเป็นบุตรที่รักของเรา เราชอบใจท่านมาก" คริสต์ศาสนิกชนส่วนมากถือว่าเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์สำคัญ และเป็นต้นกำเนิดของพิธีบัพติศมาซึ่งเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ แนวคิดบุตรบุญธรรมนิยมซึ่งศาสนาคริสต์ยุคแรกประณามว่าเป็นความเชื่อนอกรีตก็เกิดขึ้นเพราะให้ความสำคัญกับเหตุการณ์นี้ ศาสนาคริสต์ตะวันออกจัดฉลองพระเยซูทรงรับบัพติศมาในวันที่ 6 มกราคม ส่วนคริสตจักรโรมันคาทอลิก แองกลิคันคอมมิวเนียน และบางนิกายจัดการฉลองในสัปดาห์ถัดมาเรียกว่าวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับพิธีล้าง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา

พระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระวรสารนักบุญมัทธิวพระวรสารนักบุญมาระโกพระวรสารนักบุญยอห์นพระวรสารนักบุญลูกาพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนการคืนพระชนม์ของพระเยซูการตรึงพระเยซูที่กางเขนยอห์นผู้ให้บัพติศมาศาสนาคริสต์คริสต์ศาสนิกชนแม่น้ำจอร์แดน

พระวรสารนักบุญมัทธิว

ระวรสารนักบุญมัทธิว (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมัทธิว (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Matthew) เป็นหนังสือพระวรสารในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ เป็นหนึ่งในสี่ “พระวรสารในสารบบ” และเป็นหนึ่งในสาม “พระวรสารสหทรรศน์” แม้พระวรสารนักบุญมัทธิวไม่มีชื่อกำกับไว้ว่าใครเป็นผู้เขียน แต่ตั้งแต่คริสตชนตั้งแต่ศาสนาคริสต์ยุคแรกก็เชื่อกันสืบมาว่าเขียนโดยมัทธิวผู้นิพนธ์พระวรสาร อัครทูต และคนเก็บภาษี หนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นก่อนที่กรุงเยรูซาเล็มจะพินาศในปี..

พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเยซู · พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญมาระโก

ระวรสารนักบุญมาระโก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณมาระโก (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Mark) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ ผู้เขียนไม่ได้ระบุนามของตนเองไว้ แต่เชื่อกันทั่วไปว่าเขียนโดยมาระโกผู้นิพนธ์พระวรสาร ซึ่งเป็นบุตรชายของมารีย์ และเป็นลูกพี่ลูกน้องกับบารนาบัส มาระโกได้ร่วมเดินทางกับเปาโลและบารนาบัสในการเดินทาง เพื่อทำการประกาศข่าวดีครั้งแรก เปาโลกล่าวถึงมาระโกในฐานะของเพื่อนในกรุงโรมและยกย่องการรับใช้ของเขาเป็นอย่างสูง เชื่อกันว่าในบรรดา “พระวรสารในสารบบ” ทั้งสี่เล่ม พระวรสารนักบุญมาระโก ถูกเขียนขึ้นเป็นฉบับแรก ในช่วงก่อนสงครามกลางเมืองในกรุงโรม เพราะฉะนั้นหนังสือเล่มนี้น่าจะถูกเขียนในราว..55 คริสตจักรยุคแรกมีความเห็นตรงกันว่า เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ถอดแบบมาจากคำสอนของเปโตร โดยเน้นที่การบันทึกข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จากลีลาการเขียนแสดงถึงการเขียนขึ้นอย่างเร่งรีบ ไม่ถูกผ่านการขัดเกลาให้สละสลวย ทำให้ผู้อ่านรู้สึกว่า หลายเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันที การกระทำต่าง ๆ ที่ได้บันทึกไว้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งสังเกตได้จากคำว่า "ในทันใดนั้น" ถูกใช้มากกว่า 40 ครั้ง แม้ว่า พระวรสารนักบุญมาระโก จะมีความยาวน้อยที่สุดในบรรดาพระวรสารทั้งสี่เล่ม แต่ในบางเหตุการณ์กลับถูกบันทึกไว้โดยละเอียด นอกจากนี้ ยังมีบางบทที่ได้อธิบายถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวไว้ด้วย เพื่อให้ผู้อ่านชาวโรมันจะเข้าใจได้ วัตถุประสงค์ของ พระวรสารนักบุญมาระโก มีอยู่ 4 ประการ โดยประการแรกสำคัญที่สุดคือ มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า ข่าวดีคืออะไร นั่นคือการที่พระเยซูสิ้นพระชนม์เพื่อไถ่บาปของเรา ถูกฝังไว้แล้วเป็นขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้นมาระโกจึงให้ความสำคัญของเรื่องราวตั้งแต่การสิ้นพระชนม์ จนถึงการคืนพระชนม์ของพระเยซูมากกว่าเรื่องอื่น หนังสือเล่มนี้มีทั้งหมด 16 บท ใน 10 บทแรก บันทึกเรื่องราวตั้งแต่พระเยซูรับบัพติศมา จนถึงเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ซึ่งเป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี ในขณะที่อีก 6 บทที่เหลือ เป็นการบันทึกเรื่องราวช่วงสุดท้ายของชีวิตพระเยซู ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียว แสดงให้เห็นว่ามาระโกต้องการเน้นว่า ข่าวดีคือหัวใจของหนังสือเล่มนี้ ประการที่สองที่มาระโกต้องการกล่าวคือ แม้ว่าพระเยซูคือพระบุตรพระเป็นเจ้า แต่พระเยซูทรงเป็นมนุษย์ พระองค์มีความรู้สึกเหน็ดเหนื่อย หิวโหย อ่อนล้า ฯลฯ เหมือนกับมนุษย์ พระเยซูจึงทรงเป็นแบบอย่างในการตอบสนองต่อความรู้สึกต่าง ๆ ดังนั้นในฐานะของคริสต์ศาสนิกชน ทุกคนควรเรียนรู้จากพระองค์และตอบสนองด้วยท่าทีอย่างเดียวกัน ประการที่สาม มาระโกเขียนเพื่อหนุนใจคริสเตียนที่ถูกกดขี่ข่มเหง เมื่อพระเยซูทรงยืนหยัดในขณะที่ถูกต่อต้าน จะเป็นกำลังใจให้กับคริสเตียนที่อยู่ในภาวะเดียวกันได้ ประการสุดท้าย มาระโกต้องการให้ผู้อ่านทราบถึงฤทธิ์อำนาจของพระเยซู ซึ่งมีชัยชนะเหนือผี โรคร้าย และความตายได้ พระวรสารนักบุญมาระโก ใช้ “มาระโก” หรือ “มก” ในการอ้างอิง.

พระวรสารนักบุญมาระโกและพระเยซู · พระวรสารนักบุญมาระโกและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญยอห์น

ระวรสารนักบุญยอห์น (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณยอห์น (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of John; ภาษากรีก: Κατά Ιωαννην, “Kata Iōannēn”) เป็นพระวรสารฉบับที่สี่ของ “พระวรสารในสารบบ ” (Canonical gospels) ซึ่งเป็นเอกสารหนึ่งในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ แต่มิได้ถูกนับเป็นพระวรสารสหทรรศน์สามฉบับซึ่งประกอบด้วยพระวรสารนักบุญมาระโก พระวรสารนักบุญลูกา และ พระวรสารนักบุญมัทธิว พระวรสารนักบุญยอห์น เป็นพระวรสารที่เขียนโดยยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร ชาวคริสต์เชื่อว่าเป็นท่านเดียวกับยอห์นอัครทูตซึ่งเป็น "สาวกที่พระองค์ทรงรัก" (john 13:23 One of his disciples, whom Jesus loved, was reclining at table close to Jesus) ผู้ซึ่งรู้วิถีชีวิตของชาวยิวเป็นอย่างดี และได้อ้างถึงขนบธรรมเนียมของชาวยิวอยู่หลายบทในพระวรสารเล่มนี้ ยอห์นเป็นอัครทูตแห่งความรัก ไม่มีใครบรรยายถึงพระลักษณะของพระเจ้าได้อย่างยอห์น เช่น "เพราะว่าพระเจ้าทรงรักโลก จนได้ทรงประทานพระบุตรองค์เดียวของพระองค์ เพื่อทุกคนที่วางใจในพระบุตรนั้นจะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์" กับอีกหลายเหตุการณ์ที่ยอห์นบรรยายถึงพระเยซูได้อย่างจับใจ แสดงว่าเรื่องราวต่างๆถูกบันทึกจากความทรงจำที่ได้เห็นมากับตา พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นประมาณปี..85 หรือหลังจากนั้นเล็กน้อย เช่นเดียวกับพระวรสารอีกสามฉบับที่เล่าเรื่องชีวิตของพระเยซูคริสต์ แต่บางเหตุการณ์มีการตีความอย่างละเอียด พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นพระวรสารของ “ความเชื่อ” ที่เขียนขึ้นเพื่อจะยืนยันกับผู้อ่านว่าพระเยซูเป็น "พระเมสสิยาห์" และเป็น “พระบุตรพระเป็นเจ้า” ดังที่ปรากฏอยู่ในพระวรสารว่า "แต่การที่ได้บันทึกเหตุการณ์เหล่านี้ไว้ ก็เพื่อท่านทั้งหลายจะได้เชื่อว่า พระเยซูทรงเป็นพระคริสต์ พระบุตรพระเป็นเจ้า และเมื่อมีความเชื่อแล้ว ท่านก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *คือการเข้าอาศัยอยู่ในพระเยซูคริสต์ รักษาชีวิตให้บริสุทธิ์ดั่งพระองค์ เชื่อและปฏิบัติตามคำสั่ง และคำสอนของพระองค์ ในแง่ของเทววิทยาศาสนาคริสต์แล้ว พระวรสารนักบุญยอห์นเป็นฉบับที่มีน้ำหนักที่สุดในทางคริสตวิทยา (Christology) ซึ่งบรรยายพระเยซูพระบุตรของพระเจ้าว่าเป็น “พระวจนะ” (Logos) (ภาษากรีกหมายความว่า “คำ” “เหตุผล” “ความเป็นเหตุเป็นผล” “ภาษา” หรือ “โอวาท”) ผู้เป็น “Arche” (ภาษากรีกหมายความว่า “ผู้เป็นตัวตนมาตั้งแต่ต้น” หรือ “เป็นสิ่งที่สุดของทุกอย่าง”), กล่าวถึงความเป็นผู้ที่มาช่วยมวลมนุษย์ และประกาศพระองค์ว่าเป็นพระเจ้า พระวรสารของยอห์นได้รับการทรงนำจากพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมเป็นอย่างมาก บทเริ่มต้นของพระวรสารนำผู้อ่านกลับไปสู่ช่วงก่อนกาลเวลา ซึ่งมีแต่พระเจ้าเท่านั้นที่ทรงเป็นอยู่ คล้ายกับบทเริ่มต้นในพระธรรมปฐมกาลที่พระเจ้าทรงสร้างโลก รวมทั้งการกล่าวถึงเทศกาลของชาวยิวอยู่บ่อยๆ "ใน​ปฐม​กาล​พระ​วาทะ​ดำรง​อยู่ และ​พระ​วาทะ​ทรง​สถิต​อยู่​กับ​พระ​เจ้า และ​พระ​วาทะ​ทรง​เป็น​พระ​เจ้า ใน​ปฐม​กาล​พระ​องค์​ทรง​ดำรง​อยู่​กับ​พระ​เจ้า​ ​พระ​เจ้า​ทรง​สร้าง​สิ่ง​ทั้ง​ปวง​ขึ้น​มา​โดย​พระ​วาทะ ใน​บรรดา​สิ่ง​ที่​เป็นมา​นั้น ไม่​มี​สัก​สิ่ง​เดียว​ที่​ได้​เป็นมา​นอกเหนือ​พระ​วาทะ​ ​พระ​องค์​ทรง​เป็น​แหล่ง​ชีวิต และ​ชีวิต​นั้น​เป็น​ความ​สว่าง​ของ​มนุษย์​ ความ​สว่าง​ส่อง​เข้า​มา​ใน​ความ​มืด และ​ความ​มืด​หา​ได้​ชนะ​ความ​สว่าง​ไม่" (john 1:1-5) พระวรสารฉบับนี้กล่าวถึงพระเยซูอย่างมีเนื้อหา มีคำสอนเป็นอันมากที่พระองค์ทรงสอนกับสาวก อีกทั้งยังได้บันทึกเหตุการณ์บางอย่างที่พระวรสารเล่มอื่นไม่ได้กล่าวถึงไว้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่เรียกว่า "ห้องชั้นบน" เป็นช่วงเวลาของการร่วมรับประทานอาหารค่ำมื้อสุดท้าย พระเยซูคริสต์ตรัสเป็นส่วนตัวกับเหล่าสาวกของพระองค์ถึงเรื่องความรอด ประตูซึ่งนำไปสู่ความรอด พระบัญญัติแห่งพระเยซู ความรักที่พระองค์มีให้ต่อเหล่าสาวก การเปิดเผยถึงการทรยศของยูดาส อิสคาริโอท​ การสำแดงพระเจ้าและพระเยซูคริสต์ถึงความเป็นหนึ่งเดียว การเปิดเผยและทำนายการตายของพระองค์เอง และฟื้นขึ้นในวันที่สาม และความชื่นชมยินดี ยอห์นได้รับการทรงนำในการเขียนพระวรสารเล่มนี้ และพระวรสารเล่มนี้ได้บอกให้ทราบว่า พระเยซูทรงเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า เพราะว่าตั้งแต่ก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จเข้ามาในโลก พระองค์ทรงดำรงอยู่กับพระเจ้า และยอห์นได้เน้นคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ของพระเยซู เช่น พระองค์มีความรู้สึกเหมือนมนุษย์ มีการกันแสงด้วยความเศร้าเสียใจ ฯลฯ ยอห์นยังได้บันทึกพระวรสารเล่มนี้ เพื่อให้ผู้ใดที่เชื่อในพระเยซู แล้ว "ก็จะมีชีวิตโดยพระนามของพระองค์" *พระองค์โปรดประทานพระนามพระองค์ให้เหล่าผู้เชื่อ เพื่อเป็นสิทธิอำนาจในการอธิษฐาน และเกิดขึ้นจริงตามนั้นโดยพระนามของพระองค์ และยอห์นบอกเล่าถึงเหตุการณ์ล่วงหน้า เช่น "เราเป็นผู้เลี้ยงที่ดี ผู้เลี้ยงที่ดีนั้นย่อมสละชีวิตของตนเพื่อฝูงแกะ" ซึ่งนำมาสู่การสิ้นพระชนม์บนกางเขนของพระองค์ เพื่อไถ่บาปแก่คนที่เชื่อในพระองค์ทั้งสิ้น ให้ได้รับความรอดจากการถูกพิพากษา เป็นต้น พระวรสารนักบุญยอห์น ใช้ “ยอห์น” หรือ “ยน” ในการอ้างอิง.

พระวรสารนักบุญยอห์นและพระเยซู · พระวรสารนักบุญยอห์นและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญลูกา

ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

พระวรสารนักบุญลูกาและพระเยซู · พระวรสารนักบุญลูกาและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

พระเยซูและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · พระเยซูทรงรับบัพติศมาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การคืนพระชนม์ของพระเยซู

การคืนพระชนม์ของพระเยซู (Resurrection of Jesus) หมายถึง เหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในความเชื่อทางคริสต์ศาสนาที่เป็นพื้นฐานของปรัชญาและหลักการทางคริสต์ศาสนวิทยา ตามพันธสัญญาใหม่พระเยซูผู้เป็นหัวใจของคริสต์ศาสนาถูกตรึงกางเขน, สิ้นพระชนม์, ถูกนำไปไว้ในที่เก็บศพ, และทรงคืนพระชนม์สามวันหลังจากนั้น (ยอห์น, มาระโก, มาระโก). พันธสัญญาใหม่ยังกล่าวถึงการคืนพระชนม์และการสำแดงพระองค์ของพระเยซูคริสต์อีกหลายครั้งต่ออัครสาวกสิบสององค์ และสาวกคนอื่นๆ รวมทั้ง “พี่น้องอีกห้าร้อยคนพร้อมกัน” () ก่อนที่จะเสด็จขึ้นสวรรค์ เหตุการณ์สำคัญสองเหตุการณ์นี้ฉลองกันระหว่างวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ และ อีสเตอร์ ชนกลุ่มอื่นๆ เช่น ชาวยิว มุสลิม บาไฮ และนิกายหรือลัทธิบางลัทธิของคริสต์ศาสนาไม่เห็นด้วยหรือไม่เชื่อว่าพระเยซูทรงคืนพระชนม์จริงหรือไม.

การคืนพระชนม์ของพระเยซูและพระเยซู · การคืนพระชนม์ของพระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

การตรึงพระเยซูที่กางเขน

“การตรึงพระเยซูที่กางเขน” โดยซิโมน วูเอท์ (Simon Vouet) ที่ เจนัว (ค.ศ. 1622) การตรึงพระเยซูที่กางเขน (Crucifixion of Jesus) เป็นเหตุการณ์ในชีวิตของพระเยซูที่ถูกบันทึกในพระวรสารทั้งสี่ฉบับ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทันทีหลังจากที่พระเยซูถูกจับและถูกพิพากษา ในทางเทววิทยาศาสนาคริสต์ การสิ้นพระชนม์ของพระองค์เป็นเหตุการณ์หัวใจสำคัญ ส่งอิทธิพลให้เกิดเหตุการณ์อื่น ๆ ต่อเนื่องมา นอกจากนั้นการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็เป็นสัญลักษณ์สำคัญทางปรัชญาความเชื่อ เป็นการเสียชีวิตของผู้ที่มาช่วยโลก เห็นได้จากการรับทรมานและความตายของพระเมสสิยาห์เพื่อไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ตามด้วยพันธสัญญาใหม่ที่กล่าวถึง การคืนชีพในสามวันหลังจากสิ้นพระชนม์ และทรงปรากฏพระกายต่ออัครทูตก่อนพระเยซูเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ การทรมานและการเสียชีวิตของพระเยซูบนกางเขนมักจะเรียกกันว่า “พระทรมานของพระเยซู” (Passion) เทววิทยาศาสนาคริสต์ถือว่าพระเยซูพลีชีพเพื่อเป็นการไถ่บาปให้มวลมนุษย์ ดังปรากฏในพระธรรมที่รู้จักกันในนาม “พิธีทดแทนบาป” (Substitutionary atonement) กล่าวกันว่าความตายของพระองค์ถูกทำนายไว้ล่วงหน้าในพันธสัญญาเดิม เช่น เพลงของอิสยาห์ที่กล่าวถึง การทรมานของผู้รับใช้พระเจ้.

การตรึงพระเยซูที่กางเขนและพระเยซู · การตรึงพระเยซูที่กางเขนและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

พระเยซูและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · พระเยซูทรงรับบัพติศมาและยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

พระเยซูและศาสนาคริสต์ · พระเยซูทรงรับบัพติศมาและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

คริสต์ศาสนิกชนและพระเยซู · คริสต์ศาสนิกชนและพระเยซูทรงรับบัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำจอร์แดน

แม่น้ำจอร์แดน (ฮิบรู: נהר הירדן Nehar haYarden, نهر الأردن Nahr al-Urdun) เป็นแม่น้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตก มีความยาวทั้งสิ้น 251 กิโลเมตร ไหลลงสู่ทะเลเดดซี ปัจจุบันถือเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างอิสราเอลกับจอร์แดน ในความเชื่อของชาวคริสเตียนเชื่อว่าพระเยซูได้รับเข้าพิธีล้างจากนักบุญยอห์น แบปติสต์ ที่แม่น้ำแห่งนี้ อีกทั้งชื่อของราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนก็มาจากชื่อแม่น้ำสายนี้เช่นกัน.

พระเยซูและแม่น้ำจอร์แดน · พระเยซูทรงรับบัพติศมาและแม่น้ำจอร์แดน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา

พระเยซู มี 80 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระเยซูทรงรับบัพติศมา มี 26 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 10.38% = 11 / (80 + 26)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระเยซูและพระเยซูทรงรับบัพติศมา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »