โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพายและพระอาทิตย์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง พระพายและพระอาทิตย์

พระพาย vs. พระอาทิตย์

ระพาย (เทวนาครี: वायु; "วายุ") เป็นเทพเจ้าแห่งลมและพายุ รวมถึงท้องฟ้า ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพแห่งธรรมชาติ เช่นเดียวกับพระพิรุณ (ฝน), พระอัคนี (ไฟ), พระแม่คงคา (น้ำ), พระแม่ธรณี (พื้นดิน) พระพายเป็นบุตรของพระกัศยปเทพบิดร และนางทิติ มีหน้าที่ให้ลมแก่สามโลก ในวรรณคดีมหาภารตะ พระพายเป็น บิดาของภีมะ และในวรรณคดีรามเกียรติ์พระพายเป็นบิดาของ หนุมานและยังเป็นปู่ของมัจฉานุกับอสูรผัด ตามคำภีร์วิษณุปุราณะว่า พระพายเป็นกษัตริย์แห่งคนธรรพ์ สำหรับรูปร่างลักษณะของพระพาย มีแตกต่าง หลากหลายออกไป ในคัมภีร์ไตรเทพระบุว่า พระพาย มีกายสีขาวลักษณะงดงามยิ่งนัก ทรงสัตว์พาหนะจำพวกแอนทิโลปหรือกวาง บางปกรณัมก็ว่าทรงเสือสีน้ำเงิน นอกจากนี้แล้ว พระพายยังถือเป็นเทพประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) โดยคำว่า "พายัพ" เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า "วายวฺย" เมื่อถอดความแล้วจะหมายถึง "ทิศของวายุ". ระอาทิตย์ (เทวนาครี: सूर्य สูรฺย) เป็นเทวดานพเคราะห์องค์หนึ่ง มีอำนาจเหนือกว่าเทวดานพเคราะห์ทั้งหลาย ในคติไทย พระอาทิตย์ถูกสร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัว บดป่นเป็นผง ห่อผ้าสีแดง แล้วเสก ได้เป็นพระอาทิตย์ มีสีวรกายแดง ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ ประจำอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และแสดงถึงสระทั้งหมดในภาษาบาลี (อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ) พระอาทิตย์ เป็นเทวดานพเคราะห์ประเภทบาปเคราะห์ ให้ผลในทางก้าวร้าวรุนแรง นั่นคือ ผู้ใดเกิดวันอาทิตย์ หรือมีพระอาทิตย์สถิตร่วมกับลัคนา มักมีอารมณ์รุนแรง ตัดสินใจไว เฉียบขาด รักอิสระ แต่ซื่อสัตย์ ตามนิทานชาติเวร พระอาทิตย์เป็นมิตรกับพระพฤหัสบดี และเป็นศัตรูกับพระอังคาร ในโหราศาสตร์ไทย พระอาทิตย์ถูกแทนด้วยสัญลักษณ์ ๑ (เลขหนึ่งไทย) และด้วยเหตุที่สร้างขึ้นมาจากราชสีห์ ๖ ตัวนี้เอง จึงทำให้มีกำลังพระเคราะห์เป็น ๖ สำหรับพระประจำวันเกิดของผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ก็คือ ปางถวายเนตร นอกจากราชสีห์แล้ว พระอาทิตย์ยังมีราชรถเทียมม้าขาว ๗ ตัวโดยมีสารถีชื่ออรุณ เป็นเทวพาหนะอีกอย่าง เมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว พระอาทิตย์เทียบได้กับ ฟีบัส หรือ อพอลโล ตามเทพปกรณัมกรีกและเทพปกรณัมโรมัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง พระพายและพระอาทิตย์

พระพายและพระอาทิตย์ มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พระพิรุณพระอัคนีอักษรเทวนาครี

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

พระพายและพระพิรุณ · พระพิรุณและพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัคนี

ระอัคนี หรือ พระอัคคี หรือ พระเพลิง (สันสกฤต: อคฺนิ, อัคนิ अग्नि) เป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพแห่งไฟ และเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) พระอัคนีมี ๓ พระรูปทรงได้แก่ อัคนี วิทยุต (สายฟ้า) และดวงอาทิต.

พระพายและพระอัคนี · พระอัคนีและพระอาทิตย์ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

พระพายและอักษรเทวนาครี · พระอาทิตย์และอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง พระพายและพระอาทิตย์

พระพาย มี 18 ความสัมพันธ์ขณะที่ พระอาทิตย์ มี 20 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 7.89% = 3 / (18 + 20)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง พระพายและพระอาทิตย์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »