โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระพาย

ดัชนี พระพาย

ระพาย (เทวนาครี: वायु; "วายุ") เป็นเทพเจ้าแห่งลมและพายุ รวมถึงท้องฟ้า ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพแห่งธรรมชาติ เช่นเดียวกับพระพิรุณ (ฝน), พระอัคนี (ไฟ), พระแม่คงคา (น้ำ), พระแม่ธรณี (พื้นดิน) พระพายเป็นบุตรของพระกัศยปเทพบิดร และนางทิติ มีหน้าที่ให้ลมแก่สามโลก ในวรรณคดีมหาภารตะ พระพายเป็น บิดาของภีมะ และในวรรณคดีรามเกียรติ์พระพายเป็นบิดาของ หนุมานและยังเป็นปู่ของมัจฉานุกับอสูรผัด ตามคำภีร์วิษณุปุราณะว่า พระพายเป็นกษัตริย์แห่งคนธรรพ์ สำหรับรูปร่างลักษณะของพระพาย มีแตกต่าง หลากหลายออกไป ในคัมภีร์ไตรเทพระบุว่า พระพาย มีกายสีขาวลักษณะงดงามยิ่งนัก ทรงสัตว์พาหนะจำพวกแอนทิโลปหรือกวาง บางปกรณัมก็ว่าทรงเสือสีน้ำเงิน นอกจากนี้แล้ว พระพายยังถือเป็นเทพประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) โดยคำว่า "พายัพ" เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า "วายวฺย" เมื่อถอดความแล้วจะหมายถึง "ทิศของวายุ".

18 ความสัมพันธ์: พระพิรุณพระอัคนีพระธรณีพระแม่คงคาพายุกวางภาษาสันสกฤตภีมะมหาภารตะรามเกียรติ์ลมศาสนาฮินดูหนุมานอักษรเทวนาครีทิศตะวันตกเฉียงเหนือท้องฟ้าคนธรรพ์แอนทิโลป

พระพิรุณ

ระพิรุณ หรือ พระวิรุณ หรือ พระวรุณ (वरुण) เป็นเทพเจ้าแห่งฝน ตามคติของศาสนาฮินดู เป็นโลกบาลทิศประจิม (ทิศตะวันตก) มีผิวสีขาวผ่อง ถือบ่วงบาศและอาโภค ทรงจระเข้เป็นพาหนะ (หรือนาค หรือมกร) ในหนังสือพระนลคำหลวง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวระบุว่า พิรุณเป็นนามของพระสุริยะ เป็นลูกนางอทิติ เป็นเทพแห่งความเป็นธรรม พระพิรุณยอมรู้ว่าผู้ใดทำอะไร ย่อมรู้ว่าผู้ใดกะพริบตากี่ครั้ง ใครทำบาป เมื่อมีผู้ทำบาปพระพิรุณจักใช้บ่วงคล้องผู้นั้นไปหาพญายมราชเพื่อนำไปลงทัณฑ์ ในพระเวทเรียก "เจ้าฟ้าอันอยู่ทั่วไป" ภายหลังได้ฉายาว่า "สินธุปติ" แปลว่า "เจ้าน้ำทั่วไป" ในมหาภารตะ พระพิรุณเป็นบุตรพระฤๅษีกรรทม พรหมบุตร พระพิรุณในความเชื่อของคนไทยว่าเป็นผู้ให้ฝน ให้น้ำ ถือพระขรรค์ ทรงพญานาค หรือมกร เป็นพาหนะ จึงเป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวกับการเกษตร อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร.

ใหม่!!: พระพายและพระพิรุณ · ดูเพิ่มเติม »

พระอัคนี

ระอัคนี หรือ พระอัคคี หรือ พระเพลิง (สันสกฤต: อคฺนิ, อัคนิ अग्नि) เป็นเทพในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพแห่งไฟ และเป็นเทพประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ (อาคเนย์) พระอัคนีมี ๓ พระรูปทรงได้แก่ อัคนี วิทยุต (สายฟ้า) และดวงอาทิต.

ใหม่!!: พระพายและพระอัคนี · ดูเพิ่มเติม »

พระธรณี

วัดท่าสุทธาวาส พระแม่ธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา ภาษากะเหรี่ยงว่า ซ่งทะรี่ เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณีให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้ เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ ในพุทธศาสนา พระแม่ธรณีปรากฏกายเพื่อบีบน้ำจากมวยผมให้ท่วมทัพท้าววสวัตตีที่มาผจญพระโคตมพุทธเจ้าในคืนวันตรัสรู้.

ใหม่!!: พระพายและพระธรณี · ดูเพิ่มเติม »

พระแม่คงคา

ตรกรรมถอดแบบจากจิตรกรรมโบราณของอินเดียภาคเหนือ ของพระแม่คงคาทรงเทววาหนะมกร พระแม่คงคา เป็นพระเทวีองค์หนึ่งในคติของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู โดยเป็นพระเทวีแห่งแม่น้ำคงคาซึ่งไหลลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยและได้รับการนับถือจากชาวฮินดูเพราะเชื่อกันว่าถ้าใครได้ลงอาบแม่น้ำคงคาถือว่าเป็นการชำระล้างบาปออกไปจากตัวอีกด้ว.

ใหม่!!: พระพายและพระแม่คงคา · ดูเพิ่มเติม »

พายุ

มฆพายุหมุนเหนือเมือง เอนสเกเด ประเทศเนเธอร์แลนด์ พายุ คือ สภาพบรรยากาศที่ถูกรบกวนแบบใด ๆ ก็ตาม โดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อพื้นผิวโลก และบ่งบอกถึงสภาพอากาศที่รุนแรง เวลากล่าวถึงความรุนแรงของพายุ จะมีปัจจัยสำคัญอยู่บางประการคือ ความเร็วใกล้ศูนย์กลาง ซึ่งอาจสูงถึง 400 กม./ชม.

ใหม่!!: พระพายและพายุ · ดูเพิ่มเติม »

กวาง

กวางเรนเดียร์ หรือกวางแคริบู (''Rangifer tarandus'') ซึ่งเป็นกวางที่มีขนาดใหญ่พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกทางเหนือ กวาง เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ (อันดับย่อยสัตว์เคี้ยวเอื้อง) ที่จัดอยู่ในวงศ์ Cervidae มีลักษณะขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าและไม่มีเขา ลักษณะเขาตัน ไม่กลวง เป็นเกลียว บางชนิดอาจแตกแขนงได้มากเหมือนกิ่งไม้ ไม่มีถุงน้ำดี ชอบอยู่ตามลำพังตัวเดียวยกเว้นฤดูผสมพันธุ์ กินใบไม้อ่อน หญ้าอ่อน.

ใหม่!!: พระพายและกวาง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: พระพายและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

ภีมะ

ีมะ (สันสกฤต: भीम) เป็นโอรสที่เกิดจากพรของพระพายและเป็นน้องชายต่างมารดาของหนุมาน ซึ่งเกิดวัน เดือน และปีเดียวกับทุรโยธน์ เป็นศิษย์ของพระพลรามผู้เป็นพี่ชายของพระกฤษณะ วันสุดท้ายของสงครามได้ตีหน้าตักของทุรโยธน์แหลกเป็นเสี่ยงตามคำสาบานของภีมะเอง และที่ฤๅษีไมเตรยะเคยสาปไว้ด้ว.

ใหม่!!: พระพายและภีมะ · ดูเพิ่มเติม »

มหาภารตะ

ียนการรบในมหาภารตะ จากต้นฉบับภาษาสันสกฤต รูปอรชุนทรงราชรถออกศึก มีพระกฤษณะเป็นนายสารถี (ศิลปะอินเดีย สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 - 19) มหาภารตะ (publisher ด้วยมีจำนวนคำ 1.8 ล้านคำ นับว่ายาวกว่ามหากาพย์อีเลียด หรือมหากาพย์โอดิสซี ของกรีกโบราณจุดประกาย 4 บันเทิง, Ranclamoozhan จากบทกวีสู่หนังอินเดียที่ 'แพง' ที่สุด. "โลกนี้มีมายา" โดย ลีนาร์. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10441: วันจันทร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2560 มีเนื้อหาซับซ้อน เล่าเรื่องอันยืดยาวที่เกี่ยวข้องกับเทพปกรณัม การสงคราม และหลักปรัชญาของอินเดีย ทั้งนี้ยังมีเรื่องย่อย ๆ แทรกอยู่มากมาย ซี่งหลายเรื่องก็เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในเมืองไทย เช่น ภควัทคีตา ศกุนตลา สาวิตรี พระนล กฤษณาสอนน้อง อนิรุทธ์ เป็นต้น ทั้งนี้ ยังถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของศาสนาฮินดูด้วย นอกจากนี้ มหาภารตะนี้ยังสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ศาสนา การเมือง ศิลปะหลายแขนง ประวัติความเป็นมาของวงศ์ตระกูลต่าง ๆ ในเรื่อง และธรรมเนียมประเพณีการรบการสงครามของอินเดียยุคโบราณด้วย มหาภารตะ เป็น เรื่องราวความขัดแย้ง ของ พี่น้องสองตระกูล ระหว่าง ตระกูลเการพ และตระกูลปาณฑพ ซึ่งทั้งสองตระกูลต่างก็สืบเชื้อสายมาจากท้าวภรต แห่ง กรุงหัสตินาปุระ จนบานปลายไปสู่ มหาสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ซึ่งมีพันธมิตร ของแต่ละฝ่ายเข้าร่วมรบด้วยเป็นจำนวนมาก กล่าวกันว่านี่คือการต่อสู้ระหว่าง ฝ่ายธรรมะ และฝ่ายอธรรม ความดี และความชั่ว ซึ่งในที่สุดแล้ว ฝ่ายปาณฑพก็เป็นผู้ชนะในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: พระพายและมหาภารตะ · ดูเพิ่มเติม »

รามเกียรติ์

ตัวละครหลักที่ปรากฏในเรื่อง มีดังนี้ ฝ่ายพระราม.

ใหม่!!: พระพายและรามเกียรติ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลม

ต้นไม้ที่กำลังถูกลมพัด ลม เป็นการไหลเวียนของแก๊สในขนาดใหญ่ บนโลก ลมประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของอากาศขนาดใหญ่ ส่วนในอวกาศ ลมสุริยะเป็นการเคลื่อนที่ของแก๊สหรืออนุภาคมีประจุจากดวงอาทิตย์ผ่านอวกาศ ขณะที่ลมดาวเคราะห์เป็นการปล่อยแก๊ส (outgassing) ของธาตุเคมีเบาจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สู่อวกาศ โดยทั่วไป การจำแนกประเภทของลมใช้ขนาดเชิงพื้นที่, ความเร็ว, ประเภทของแรงที่เป็นสาเหตุ, ภูมิภาคที่เกิด และผลกระทบ ลมที่แรงที่สุดเท่าที่สังเกตพบบนดาวเคราะห์ในระบบสุริยะเกิดขึ้นบนดาวเนปจูนและดาวเสาร์ ในทางอุตุนิยมวิทยา ลมมักถูกเรียกชื่อตามพลัง และทิศทางซึ่งลมพัดมาจาก ลมความเร็วสูงที่พัดมาสั้น ๆ เรียก ลมกระโชก (gust) ลมแรงที่มีระยะการเกิดปานกลาง (ประมาณหนึ่งนาที) เรียก ลมพายุฝน (squall) ส่วนลมที่มีระยะการเกิดนานนั้นมีหลายชื่อตามความแรงเฉลี่ย เช่น ลม (breeze), เกล, พายุ, เฮอร์ริเคนและไต้ฝุ่น ลมเกิดขึ้นได้หลายขนาด ตั้งแต่พายุฝนฟ้าคะนองที่ไหลเวียนนานหลายสิบนาที ไปถึงลมท้องถิ่นที่เกิดจากการให้ความร้อนจากผิวดิน และเกิดนานไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึงลมทั่วโลกที่เกิดจากความแตกต่างในการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ระหว่างเขตภูมิอากาศบนโลก สองสาเหตุหลักของวงรอบอากาศขนาดใหญ่เกิดจากการให้ความร้อนที่ต่างกันระหว่างเส้นศูนย์สูตรกับขั้วโลก และการหมุนของดาวเคราะห์ (ปรากฏการณ์คอริออลิส) ในเขตร้อน วงรอบความร้อนต่ำเหนือภูมิประเทศและที่ราบสูงสามารถก่อให้เกิดวงรอบมรสุมได้ ในพื้นที่ชายฝั่ง วัฏจักรลมบก/ลมทะเลสามารถกำหนดลมท้องถิ่นได้ ในพื้นที่ซึ่งมีภูมิประเทศขึ้น ๆ ลง ๆ ลมภูเขาและหุบเขาสามารถมีอิทธิพลเหนือลมท้องถิ่นได้ ในอารยธรรมมนุษย์ ลมจุดประกายเทพปกรณัม ส่งอิทธิพลต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ขยายพิสัยการขนส่งและการสงคราม และเป็นแหล่งพลังงานแก่งานเชิงกล ไฟฟ้าและสันทนาการ ลมเป็นพลังงานแก่การเดินทางโดยแล่นเรือข้ามมหาสมุทรของโลก บอลลูนลมร้อนใช้ลมเพื่อเดินทางระยะสั้น ๆ และการบินที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใช้ลมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดการบริโภคเชื้อเพลิง พื้นที่ลมเฉือนเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์สภาพบรรยากาศหลายปรากฏการณ์ ซึ่งสามารถนำไปสู่สถานการณ์อันตรายแก่อากาศยานได้ เมื่อลมพัดแรง ต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายได้ Yed vav.

ใหม่!!: พระพายและลม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาฮินดู

ัญลักษณ์ “โอม” สัญลักษณ์ของศาสนาฮินดู หมายถึงพระตรีมูรติ เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ทั้ง 3 ศาสนาฮินดู (Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีพระเวทเป็นคัมภีร์หลัก มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ.

ใหม่!!: พระพายและศาสนาฮินดู · ดูเพิ่มเติม »

หนุมาน

1.

ใหม่!!: พระพายและหนุมาน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: พระพายและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ หรือ ทิศพายัพ เป็นหนึ่งในทิศรองทั้งสี่ อยู่ตรงข้ามกับทิศตะวันออกเฉียงใต้ ขวามือของทิศเหนือ และซ้ายมือของทิศตะวันตก โดยมากจะกำหนดให้ทิศตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ด้านมุมบนซ้ายของแผนที่ทางภูมิศาสตร์ แต่อยู่ทางมุมบนขวาของแผนที่ดาว.

ใหม่!!: พระพายและทิศตะวันตกเฉียงเหนือ · ดูเพิ่มเติม »

ท้องฟ้า

ท้องฟ้าและกลุ่มเมฆ ท้องฟ้าตอนพระอาทิตย์ตก ท้องฟ้าเป็นส่วนหนึ่งของชั้นบรรยากาศหรืออวกาศที่สามารถมองเห็นได้จากพื้นผิวโลก นก แมลง เครื่องบิน และ ว่าว ถูกจัดว่าบินอยู่ในท้องฟ้า มีหลายเหตุผลที่ทำให้ท้องฟ้านั้นยากที่จะจำกัดความ ในเวลากลางวันท้องฟ้าปรากฏเป็นพื้นสีฟ้าเนื่องจากอากาศทำให้เกิดการกระเจิงของแสงอาทิตย์ ไม่ใช่เพราะว่ามีวัตถุสีฟ้าเหนือพื้นโลก เพราะเหตุนี้จึงเป็นการยากที่จะนิยามว่าท้องฟ้าคือสิ่งใด ท้องฟ้านั้นบางครั้งถูกจำกัดความว่าเป็นเขตของชั้นบรรยากาศโลกที่มีแก๊สแน่นหนา ในเวลากลางคืน ท้องฟ้านั้นปรากฏเป็นพื้นสีดำสนิท หรือบางครั้งเรียงรายไปด้วยดวงดาว แต่ถ้าเรากล่าวว่าทั้งหมดที่เราเห็นนั้นคือท้องฟ้า ก็จะกลายเป็นว่าท้องฟ้าคือจักรวาลซึ่งผิดจากความหมายแรกเมื่อเราเห็นตอนกลางวัน ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้ต่อเมื่อไม่มีเมฆบดบัง ในเวลากลางคืน (และบางครั้งในเวลากลางวัน) เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และ ดวงดาว ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เราสามารถเห็นได้ในท้องฟ้าคือเมฆ รุ้งกินน้ำ และ ออโรรา สายฟ้าและ หยาดน้ำฟ้านั้น สามารถเห็นได้ในระหว่างเวลาที่มีพายุ บ่อยครั้งเราสามารถมองเห็นหมอกควันในเวลากลางวันและรัศมีของแสงในเวลากลางคืนเนื่องจากมลพิษที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ในสายวิชาดาราศาสตร์ ท้องฟ้าถูกเรียกว่าทรงกลมฟ้า นั่นคือทรงกลมจินตภาพขนาดมหึมา หมุนรอบตัวเองโดยมีแกนหมุนและศูนย์กลางร่วมกันกับโลก ทรงกลมฟ้านั้นถูกแบ่งเป็นสัดส่วนเรียกว่ากลุ่มดาว ดูท้องฟ้าของดาวเคราะห์อื่น สำหรับความหมายของท้องฟ้าในดาวเคราะห์ต่าง ๆ และดวงจันทร์ในระบบสุร.

ใหม่!!: พระพายและท้องฟ้า · ดูเพิ่มเติม »

คนธรรพ์

รูปสลักไม้คนธรรพ์ ที่พิพิธภัณฑ์ช้างเอราวัณริมถนนสุขุมวิทจังหวัดสมุทรปราการ คนธรรพ์ (गन्धर्व Gandharva) เป็นอมนุษย์จำพวกหนึ่ง ตามคติในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู.

ใหม่!!: พระพายและคนธรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

แอนทิโลป

วาดของส่วนหัวและเขาของแอนทิโลปหลายชนิด แอนทิโลป (antelope) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ในหลายสกุล ในอันดับสัตว์กีบคู่ ในวงศ์วัวและควาย (Bovidae) โดยทั่วไปแล้วแอนทิโลปจะมีลักษณะคล้ายกับกวางซึ่งเป็นสัตว์กีบคู่เหมือนกัน แต่อยู่ในวงศ์กวาง (Cervidae) และคำนิยามในพจนานุกรมก็มักจะระบุเช่นนั้นว่า แอนทิโลปเป็นสัตว์จำพวกเนื้อและกวางชนิดที่มีเขาเป็นเกลียว หรือบางทีก็แปลว่า ละมั่ง แต่ที่จริงแล้วแอนทิโลปมิใช่กวาง แม้จะมีรูปร่างภายนอกคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่แอนทิโลปเป็นสัตว์ที่มีความใกล้เคียงกับวัวหรือควาย, แพะ หรือแกะ เนื่องจากจัดอยู่ในวงศ์เดียวกัน ซึ่งลักษณะสำคัญของสัตว์ในวงศ์นี้ คือ เขามีลักษณะโค้งเป็นเกลียว แต่ข้างในกลวง และมีถุงน้ำดี แอนทิโลปกระจายพันธุ์ไปในแอฟริกาและยูเรเชีย แต่ไม่พบในประเทศไทย โดยสัตว์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นแอนทิโลปได้ในประเทศไทย ได้แก่ เลียงผา และกวางผา ซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ตามภูเขาสูง พบเห็นตัวได้ยาก คำว่า แอนทิโลป ปรากฏครั้งแรกในภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1417 โดยได้รับมาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า หรืออาจจะมาจากภาษากรีกคำว่า "anthos" ซึ่งหมายถึง "ดอกไม้" และ "ops" ที่หมายถึง "ตา" อาจหมายถึง "ตาสวย" หรือแปลได้ว่า "สัตว์ที่มีขนตาสวย" แต่ในระยะต่อมาในเชิงศัพทมูลวิทยาคำว่า "talopus" และ "calopus" มาจากภาษาละตินในปี ค.ศ. 1607 ใช้เป็นครั้งแรกเพื่อเรียกสัตว์จำพวกกวาง แอนทิโลปมีประมาณ 90 ชนิด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา มี 30 สกุล กระจายไปในวงศ์ย่อยต่าง ๆ เช่น Alcelaphinae, Antilopinae, Hippotraginae, Reduncinae, Cephalophinae, Bovinae รวมถึงอิมพาลา บางครั้งก็ถูกเรียกว่าแอนทิโลปบ้างเหมือนกัน.

ใหม่!!: พระพายและแอนทิโลป · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

พระวายุ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »