โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ท่าอากาศยานดอนเมืองและแอร์เอเชีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมืองและแอร์เอเชีย

ท่าอากาศยานดอนเมือง vs. แอร์เอเชีย

แผนผังท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง (ชื่อเดิมคือ ท่าอากาศยานกรุงเทพ) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า สนามบินดอนเมือง ตั้งอยู่บนถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง ช่วงกิโลเมตรที่ 24 ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร เป็นจุดศูนย์กลางทางการบินในภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สามารถเชื่อมโยงการคมนาคมทางอากาศไปยังจุดต่างๆ ของโลกได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการบินภายในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน หรือระหว่างทวีปยุโรป ทวีปอเมริกา ทวีปออสเตรเลีย ซึ่งสามารถใช้เป็นจุดแวะลงและเชื่อมต่อในการเดินทางของผู้โดยสารตลอดจนพัสดุไปรษณียภัณฑ์ไปยังจุดอื่นๆ ได้อย่างดี เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2457 โดยปิดตัวลงวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 วันเดียวกับที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเปิดใช้งาน โดยสนามบินดอนเมืองถูกเปลี่ยนเป็นสถานที่ซ่อมเครื่องบิน ฝึกบิน และสำหรับจอดเครื่องบินส่วนตัวของบุคคลสำคัญ อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมา ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาให้บริการเที่ยวบินแบบประจำ (scheduled flight) เที่ยวบินในประเทศอีกครั้งโดยมี สายการบินไทย นกแอร์ วันทูโก และพีบีแอร์มาเปิดให้บริการในลำดับแรก หลังจากพบปัญหาหลายอย่างที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานดอนเมืองได้กลับมาเปิดให้บริการในฐานะสนามบินนานาชาติแห่งที่สองอีกครั้ง เนื่องด้วยนโยบายรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรต้องการลดความแออัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิลง ปัจจุบัน ท่าอากาศยานดอนเมือง รับเที่ยวบิน จาก ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศญี่ปุ่น ประเทศสิงคโปร์ ประเทศกัมพูชา ประเทศมาเลเซีย ประเทศพม่า ประเทศเวียดนาม ประเทศไต้หวัน ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศอินเดีย ประเทศมัลดีฟส์ ฮ่องกง ประเทศฟิลิปปินส์ มาเก๊า และล่าสุด ประเทศเนปาล รวม 14 ประเทศ ส่วนเที่ยวบินภายในประเทศสำหรับท่าอากาศยานดอนเมืองมีเที่ยวบินภายในประเทศบริการบินไปกลับ จาก ท่าอากาศยานแพร่ ท่าอากาศยานตรัง ท่าอากาศยานร้อยเอ็ด ท่าอากาศยานนครพนม ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ท่าอากาศยานระนอง ท่าอากาศยานสกลนคร ท่าอากาศยานพิษณุโลก ท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ท่าอากาศยานน่านนคร ท่าอากาศยานแม่ฮ่องสอน ท่าอากาศยานแม่สอด และ ท่าอากาศยานเพชรบูรณ์ ซึ่ง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไม่มีบริการใน 13 จังหวัดดังกล่าว ใน 13 จังหวัดดังกล่าวมีเที่ยวบินให้บริการที่ ท่าอากาศยานดอนเมืองเท่านั้น. การบินแอร์เอเชีย เป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซีย และเป็นสายการบินที่ให้บริการด้วยค่าโดยสารที่ถูกที่สุดในเอเชีย กลุ่มแอร์เอเชีย ดำเนินการให้บริการเที่ยวบินทั่งในประเทศ และ ระหว่างประเทศ โดยมีจุดหมายปลายทางมากกว่า 400 เมืองใน 25 ประเทศ และมีท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ โดยให้บริการที่อาคารผู้โดยสาร อาคาร KLIA2 และยังมี สายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินอินโดนีเซียแอร์เอเชีย เข้ามาใช้บริการร่วมด้วย แอร์เอเชียมาเลเซีย มีสำนักงานจดทะเบียนตั้งอยู่ที่เปอตาลิงจายา, รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ แอร์เอเชียมีแผนจะเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอาเซียนในจาการ์ตา ในปี..

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมืองและแอร์เอเชีย

ท่าอากาศยานดอนเมืองและแอร์เอเชีย มี 39 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กรุงเทพมหานครมาเก๊าอินโดนีเซียแอร์เอเชียฮ่องกงท่าอากาศยานภูเก็ตท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีท่าอากาศยานหัวหินท่าอากาศยานหาดใหญ่ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามูท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊าท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตาท่าอากาศยานนานาชาติปีนังท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียนท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตท่าอากาศยานเชียงใหม่ประเทศฟิลิปปินส์ประเทศพม่าประเทศกัมพูชาประเทศมาเลเซียประเทศสิงคโปร์ประเทศอินโดนีเซีย...ประเทศอินเดียประเทศจีนประเทศไทยประเทศไต้หวันประเทศเวียดนามแอร์เอเชียโกตากีนาบาลูไทยแอร์เอเชียไทยแอร์เอเชียเอกซ์ ขยายดัชนี (9 มากกว่า) »

กรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวงและนครที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ เป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลก ตั้งอยู่บนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านและแบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี กรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตร.กม.

กรุงเทพมหานครและท่าอากาศยานดอนเมือง · กรุงเทพมหานครและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

มาเก๊า

ตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Macao Special Administrative Region of the People's Republic of China, เรียกสั้น ๆ ว่า มาเก๊า ในภาษาอังกฤษเขียนเป็น Macau และ Macao, อ้าวเหมิน; 馬交 ก็เรียก) เป็นพื้นที่บนชายฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ปกครองโดยประเทศโปรตุเกสก่อนพ.ศ. 2542 เป็นอาณานิคมของยุโรปที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 อำนาจอธิปไตยเหนือมาเก๊าได้ย้ายไปที่สาธารณรัฐประชาชนจีนในพ.ศ. 2542 กลายเป็นเขตปกครองพิเศษของจีน มาเก๊าได้มีบทบาทที่มีอิทธิพลต่อจีนและตะวันตกโดยเฉพาะระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ คริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้ที่อาศัยอยู่ในมาเก๊าส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งเป็นภาษาแม่ ภาษาแมนดาริน ภาษาโปรตุเกส และภาษาอังกฤษก็มีพูดด้วย โดยกว้าง ๆ ชาวมาเก๊า (Macanese) หมายถึงผู้ที่พำนักอาศัยถาวรอยู่ในมาเก๊า ส่วนในวงแคบ หมายถึง ชนพื้นเมืองในมาเก๊าที่สืบทอดมาจากชาวโปรตุเกส มักจะผสมกับชาวจีนและบรรพบุรุษชาติอื่น ๆ นอกจากสิ่งที่เหลือจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคมแล้ว.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและมาเก๊า · มาเก๊าและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

อินโดนีเซียแอร์เอเชีย

An Indonesia AirAsia Boeing 737-300 taxies at Ngurah Rai International Airport อินโดนีเซียแอร์เอเชีย (Indonesia AirAsia) เป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย ให้บริการเที่ยวบินในประเทศอินโดนีเซีย และ ระหว่างประเทศ โดยมีฐานบินหลักอยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติ ซูการ์โนฮัตตา จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ณ วันที่ 15 เมษายน 2552 เที่ยวบินภายในประเทศทั้งหมด ของอินโดนีเซียแอร์เอเชียจาก ท่าอากาศยานนานาชาติ ซูการ์โนฮัตตา จาการ์ตาได้เริ่มปฏิบัติการจาก อาคารเทอร์มินอล 3 แต่เที่ยวบินระหว่าประเทศยังคงปฏิบัติการจาก อาคารเทอร์มินอล 2D ก่อนที่จะย้ายไปอาคารเทอร์มินอล 3 ในเวลาต่อมา อินโดนีเซียแอร์เอเชียได้รับการจัดอันดับจากการบินพลเรือนของอินโดนีเซียให้อยู่ในอันดับที่ 1 ทางด้านความปลอดภัยของอากาศยานและสายการบิน และ ยังครองส่วนแบ่งการตลาดภายในประเทศ มากถึงร้อยละ 41.50.ด้ว.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและอินโดนีเซียแอร์เอเชีย · อินโดนีเซียแอร์เอเชียและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ฮ่องกง

องกง (Hong Kong; 香港) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Hong Kong Special Administrative Region of the People's Republic of China) เป็นเขตปกครองตนเองริมฝั่งทางใต้ของประเทศจีน ในทางภูมิศาสตร์มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงและทะเลจีนใต้โอบรอบ ฮ่องกงเป็นที่รู้จักในสกายไลน์ (skyline) ขยายและท่าเรือธรรมชาติลึก มีเนื้อที่ 1,104 กม.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและฮ่องกง · ฮ่องกงและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานภูเก็ต

ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต หรือ สนามบินภูเก็ต เป็นสนามบินตั้งอยู่ที่ เหนือสุดของเกาะภูเก็ตเป็นท่าอากาศยานที่มีเที่ยวบินหนาแน่นเป็นอันดับที่สามของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง มีเที่ยวบินทั้งในและต่างประเทศ บินมาลงทุกวัน ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีมาตรฐานทั้งในด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ตั้งอยู่เลขที่ 222 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4026 ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 32 กิโลเมตร เนื้อที่โดยประมาณ 94,800 ตารางเมตร แท๊กซี่เวย์ 8 จุด ทิศเหนือเป็นภูเขา ทิศใต้เป็นสวนยางพารา ทิศตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลอันดามัน สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 6,500,000 คนต่อปี โดยในปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานภูเก็ต · ท่าอากาศยานภูเก็ตและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขตชางงี เป็นท่าอากาศยานหลักของสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก, ซิลค์แอร์, ไทเกอร์แอร์เวย์, เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ และแวลูแอร์ ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานแห่งนี้รองรับผู้โดยสารจำนวนถึง 35 ล้านคน เพิ่มมากขึ้น 8% จากปีงบประมาณ 2548..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี · ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงีและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานหัวหิน

ท่าอากาศยานหัวหิน หรือเดิมคือ สนามบินบ่อฝ้าย ตั้งอยู่ในเขต ตำบลบ่อฝ้าย อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีอาคารผู้โดยสารขนาด 7,200 ตารางเมตร และพื้นที่ลานจอดเครื่องบินขนาด 31,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 240 คนต่อชั่วโมง นอกจากนี้ท่าอากาศยานหัวหินยังเป็นที่ตั้งของศูนย์ฝึกการบิน สถาบันการบินพลเรือน และ ศูนย์ฝนหลวงหัวหิน ซึ่งดูแลพื้นที่ภาคใต้ตอนบน หัวทางวิ่งของท่าอากาศยานหัวหินด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือจะอยู่คร่อมทางรถไฟสายใต้ และถนนเพชรเกษม ซึ่งอยู่ในเขตอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ผู้ใช้เส้นทางเข้าตัวเมืองหัวหินจะต้องขับรถลอดผ่านอุโมงค์ใต้ทางวิ่งไป.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานหัวหิน · ท่าอากาศยานหัวหินและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานหาดใหญ่

ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ หรือ สนามบินหาดใหญ่ (IATA: HDY, ICAO: VTSS) ตั้งอยู่ที่ 99 หมู่ 3 ถนนสนามบินพาณิชย์ ตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา 90110 บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาขน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานหาดใหญ่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เนื่องจากเป็นประตูสำหรับชาวมุสลิมที่ต้องการไปแสวงบุญที่นครมักกะฮ์ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ท่าอากาศยานหาดใหญ่มีเที่ยวบินมากเป็นอันดับ 6 ของประเทศ รองจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และ ท่าอากาศยานกระบี่ ตามลำดับ ปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 4,869,113 คน เที่ยวบิน 9,203 เที่ยวบินและสินค้าประมาณ 12,965 ตันใช้บริการท่าอากาศยานแห่งนี้ ทั้งนี้ท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ มีความสามารถในการรองรับเที่ยวบินได้ 42 เที่ยวบิน/ชม.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานหาดใหญ่ · ท่าอากาศยานหาดใหญ่และแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่

ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ หรือ สนามบินกระบี่ (Krabi International Airport) ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ตำบลเหนือคลอง อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่ ตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองกระบี่กับอำเภอเหนือคลอง ไปทางจังหวัดตรัง เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ · ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่และแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน

ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน (Guangzhou Baiyun International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของนครกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้งในประเทศจีน จากสถิติในปี 2014 สนามบินแห่งนี้มีปริมาณผู้โดยสารมากสุดเป็นอันดับสองของจีนรองจากท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่ง และเป็นอันดับ 16 ของโลก สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอไป๋-ยฺหวินและอำเภอฮฺวาตูของนครกว่างโจว เปิดทำการเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2004 เพื่อทดแทนสนามบินแห่งเก่าที่มีอายุกว่า 72 ปี ซึ่งในปัจจุบันได้ปิดใช้งานแล้ว สนามบินแห่งใหม่นี้สร้างขึ้นด้วยงบประมาณกว่า 1.98 หมื่นล้านหยวน มีที่ตั้งห่างจากตัวเมืองกว่างโจวไปทางเหนือราว 27 กิโลเมตร และมีขนาดใหญ่กว่าสนามบินเดิมถึงเกือบห้าเท่า คำว่า "ไป๋-ยฺหวิน" (白云) นั้นเป็นชื่อของภูเขาที่อยู่ใกล้เคียงสนามบินแห่งเก่า (ไป๋-ยฺหวินชาน) มีความหมายว่า "เมฆขาว" นอกจากนี้ สนามบินแห่งใหม่ยังอยู่ใกล้ตัวเมืองมากกว่าสนามบินแห่งเก่า สนามบินแห่งนี้มีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 45 ล้านคนต่อปี แต่ในปัจจุบันจำนวนผู้โดยสารก็มากเกินศักยภาพ ขณะนี้มีโครงการขยายสนามบินซึ่งรวมถึงอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ขนาด 531,000 ตารางเมตรที่มีขนาดเท่ากับอาคารผู้โดยสารในปัจจุบันกำลังดำเนินการอยู่ คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2018 ซึ่งจะทำให้สนามบินมีศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารได้ 80 ล้านคน และปริมาณสินค้า 25 ล้านตันต่อปี.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน · ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวินและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ (Lapangan Terbang Antarabangsa Kuala Lumpur) ตั้งอยู่ที่เขตเซปัง รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย ห่างจากตัวเมืองกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 50 กิโลเมตร เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2541 เพื่อใช้เป็นท่าอากาศยานหลัก แทน ท่าอากาศยานสุลต่านอับดุล อาซิส ซาห์ (ซูบัง) ซึ่งตั้งห่างอยู่ทางทิศเหนือ (ปัจจุบันเปิดทำการในสายภายในประเทศ และเครื่องบินขนาดเล็ก) และเป็นท่าอากาศยานหลักของมาเลเซียแอร์ไลน์, มาเลเซียแอร์ไลน์คาร์โก และแอร์เอเชีย ได้รับรางวัลท่าอากาศยานที่ดีที่สุด จาก (AETRA awards) ปี 2005 และ (ACI-ASQ awards) ปี 2006.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ · ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์และแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู

ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู (Bandar Udara Internasional Kualanamu) เป็นสนามบินนานาชาติในเดลีเซอดังรีเจนซี จังหวัดสุมาตราเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ห่างจากเมืองเมดันไปประมาณ 39 กิโลเมตร สนามบินแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานแทนท่าอากาศยานนานาชาติโพโลเนีย สนามบินแห่งนี้ตั้งอยู่ใกล้แหล่งเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และมีแผนพัฒนาให้เป็นสนามบินศูนย์กลางของเกาะสุมาตรา โดยสนามบินแห่งนี้ใหญ่เป็นอันดับที่สองรองจากท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา แต่ที่นี่เป็นสนามบินแห่งแรกที่มีระบบขนส่งมวลชนโดยตรงกับตัวเมือง สนามบินแห่งนี้ถูกรวมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอินโดนีเซีย (MP3EI) และเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของตลาดการบินอาเซียน (ASEAN-SAM) สนามบินเปิดใช้งานครั้งแรกอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 25 กรกฎาคม..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามู · ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลานามูและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า

ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า (จีนตัวเต็ม: 澳門國際機場, โปรตุเกส: Aeroporto Internacional de Macau) เป็นท่าอากาศยานแห่งเดียวในเขตบริหารพิเศษมาเก๊า ประเทศจีน ตั้งอยู่ปลายสุดของเกาะไทปา เปิดใช้งานเมื่อปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊า · ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊าและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง

ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง (พม่า: ရန်ကုန်အပြည်ပြည်ဆိုင်ရာလေဆိပ်) เป็นท่าอากาศยานที่ตั้งอยู่ในตำบลมีนกะลาโดน ทางเหนือ 15 กิโลเมตรจากตัวเมืองย่างกุ้ง ดำเนินงานโดยรัฐบาล เป็นท่าอากาศยานนานาชาติแห่งหลักของพม่า และเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากท่าอากาศยานนานาชาติมัณฑะเลย์ และท่าอากาศยานนานาชาติเนปยีดอ อาคารผู้โดยสารหลังเก่าปัจจุบันถูกใช้งานสำหรับเที่ยวบินภายในประเทศ ในขณะที่อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่เริ่มเปิดใช้งานเมื่อ พฤษภาคม..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้ง · ท่าอากาศยานนานาชาติย่างกุ้งและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี

ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี หรือ สนามบินสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ที่เลขที่ 73 หมู่ที่ 3 ตำบลหัวเตย อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม อาคารผู้โดยสารมีพื้นที่ 14,196 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารขาเข้าและขาออกได้ 784 คนต่อชั่วโมง รองรับจำนวนผู้โดยสารได้ 6,272 คนต่อวัน ลานจอดเครื่องบินมีพื้นที่ 120×375 เมตร รองรับเครื่องบินได้ 40 เที่ยวบินต่อวัน มีหลุมจอดเครื่องบิน 5 หลุม หลุมจอดเฮลิคอปเตอร์ 2 หลุม.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานี · ท่าอากาศยานนานาชาติสุราษฎร์ธานีและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี หรือ สนามบินอุดรธานี (Udon Thani International Airport) ตั้งอยู่ในตัวเมืองของ ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ตัวสนามบินตั้งอยู่ในเขตทหารกองทัพอากาศ (กองบิน 23) ท่าอากาศยานอุดรธานีเป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม ท่าอากาศยานอุดรธานีได้รับการปรับปรุงและสร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีกและเชื่อมต่อกับตัวอาคารเดิมโดยได้รับงบประมาณจากรัฐบาลในการปรับปรุง สร้างแล้วเสร็จเมื่อ..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี · ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง

ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง (จีน: 香港國際機場, จีนกลาง: Xiānggǎng Guójì Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: hoeng1 gong2 gwok3 zai3 gei1 coeng4) หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินเช็กล้าบก็อก (จีน: 赤鱲角機場, จีนกลาง: Chìlièjiǎo Jīcháng, จีนกวางตุ้ง: cek3 laap6 gok3 gei1 coeng4) เป็นท่าอากาศยานหลักของเขตบริหารพิเศษฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน เปิดใช้เมื่อปีพ.ศ. 2541 แทนที่ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงเดิม ท่าอากาศยานแห่งนี้เปิดใช้งานเพื่อการพาณิชย์เมื่อปี พ.ศ. 2541 และเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายผู้โดยสารที่สำคัญของสาธารณรัฐประชาชนจีน เอเชียตะวันออก และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าจะมีประวัติความเป็นมาไม่ยาวนานนัก แต่ท่าอากาศยานแห่งนี้ก็ได้รับรางวัลท่าอากาศยานยอดเยี่ยมระดับนานาชาติมาหลายครั้งในช่วงปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง · ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกงและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา

ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา (Soekarno–Hatta International Airport) เป็นท่าอากาศยานหลักของกรุงจาการ์ตาและปริมณฑล ตั้งอยู่ในจังหวัดบันเตินบนเกาะชวา ในขณะที่สนามบินอีกแห่งหนึ่งของจาการ์ตาคือ ท่าอากาศยานฮาลิมเปอร์ดานะกุสุมา ท่าอากาศยานแห่งนี้ตั้งชื่อตาม ประธานาธิบดีคนแรก ซูการ์โน และรองประธานาธิบดีคนแรก โมฮัมหมัด ฮัตตา บางครั้งชาวอินโดนีเซียก็เรียกสนามบินแห่งนี้ว่า สนามบินเช็งกาเร็ง ตามชื่อแขวงที่ตั้งท่าอากาศยาน.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตา · ท่าอากาศยานนานาชาติซูการ์โน-ฮัตตาและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง

ท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Lapangan Terbang Antarabangsa Pulau Pinang) เดิมคือ ท่าอากาศยานนานาชาติบายันเลอปัซ ตั้งอยู่ที่เมืองบายันเลอปัซ รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย อยู่ห่างจากตัวเมืองจอร์จทาวน์ (เมืองหลวงของรัฐ) ไปทางใต้ประมาณ 16 กิโลเมตร (10 ไมล์) รองรับการจราจรทางอากาศของปีนังเพื่อเชื่อมต่อกับเมืองสำคัญต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นท่าอากาศยานหลักของไฟร์ฟลาย ซึ่งเป็นสายการบินลูกของ Malaysia Airlines ทางวิ่งของท่าอากาศยานนานาชาติปีนังอยู่ในทิศทาง 04/22 ผิวราดด้วยแอสฟัลต์ มีความยาว 3,352 เมตร กว้าง 45.5 เมตร ภายในอาคารมีช่องตรวจบัตรโดยสาร 64 ช่อง ประตูขึ้นเครื่อง 11 ประตู เป็นแบบประชิดอาคารมีสะพานเทียบ 8 ประตู มีสายพานรับกระเป๋า 3 สายพาน และลานจอดรองรับรถยนต์ได้ 808 คัน ท่าอากาศยานนานาชาติปีนังเป็นท่าอากศยานขนาดกลาง บริหารงานโดย Malaysia Airports Holdings Berhad (MAHB) ซึ่งเป็นบริษัทของกระทรวงคมนาคม มีเที่ยวบินเชื่อมโยงไปยังสนามบินหลักๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องด้วยขนาดที่กระทัดรัดของสนามบิน ทำให้ผู้โดยสารได้รับการบริการที่รวดเร็ว และมีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานอย่างครบครัน โดยมีเวลาขั้นต่ำในการต่อเครื่องบิน (minimum connection times) จากในประเทศไปต่างประเทศ (และในทางกลับกัน) 40 นาที และจากในประเทศไปในประเทศ 30 นาที ในปี 2007 ท่าอากาศยานนานาชาติปีนังมีผู้โดยสารมาใช้บริการทั้งสิ้นกว่า 3.1 ล้านคน จำนวนเครื่องบินขึ้นลงทั้งหมด 39,265 ลำ รองรับสินค้าทางอากาศทั้งสิ้น 208,582 ตัน.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง · ท่าอากาศยานนานาชาติปีนังและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย

ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย (Sân bay Quốc tế Nội Bài) เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามตอนเหนือ ให้บริการสำหรับบริเวณเมืองหลวงฮานอย ตั้งอยู่ห่างจากใจกลางเมือง 45 กิโลเมตร การเดินทางจากเมืองโดยรถแท็กซี่ใช้เวลา 30-45 นาที.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่าย · ท่าอากาศยานนานาชาติโหน่ยบ่ายและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน

ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน (จีนตัวเต็ม: 台灣桃園國際機場 หรือ 臺灣桃園國際機場, ไต้หวันพินอิน: Táiwan Táoyuán Gúojì Jicháng, พินอิน: Táiwān Táoyuán Gúojì Jīcháng) เดิมคือท่าอากาศยานนานาชาติเจียงไคเช็ก (จีนตัวเต็ม: 中正國際機場, ไต้หวันพินอิน: Jhongjhèng Gúojì Jicháng, พินอิน: Zhōngzhèng Gúojì Jīcháng) ตั้งอยู่ที่เมืองเถา-ยฺเหวียน ในเขตไต้หวัน ประเทศสาธารณรัฐจีน เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐจีน และเป็นท่าอากาศยานหลักของไชน่าแอร์ไลน์ และอีวีเอแอร์ โดยอาคาร 1 รองรับผู้โดยสารได้ 15ล้านคน อาคาร 2 รองรับผู้โดยสารได้ 17ล้านคน รวมกันได้ 32ล้านคนต่อปี.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน · ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียนและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ

ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ-อังกอร์ (អាកាសយានដ្ឋានអន្តរជាតិសៀមរាបអង្គរ; อากาสยานฐานอนฺตรชาติเสียมราบองฺคร; Siem Reap International Airport, Aéroport International De Siem Reap) คือสนามบินที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศกัมพู.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐ · ท่าอากาศยานนานาชาติเสียมราฐและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต

ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต (Cảng hàng không quốc tế Tân Sơn Nhất) เป็นท่าอากาศยานนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม ตั้งอยู่ในโฮจิมินห์ซิตี.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต · ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ตและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ท่าอากาศยานเชียงใหม่

มุมสูงของท่าอากาศยานเชียงใหม่ มองจากวัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร ภายในอาคารท่าอากาศยานเชียงใหม่ Boeing 737-800 ของสายการบินนกแอร์ ที่สนามบินเชียงใหม่ Airbus A319 ของสายการบินบางกอกแอร์เวย์ ที่สนามบินเชียงใหม่ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือสนามบินเชียงใหม่ (Chiang Mai International Airport) ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร ในตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ในจำนวนทั้งหมด 6 แห่ง ที่ดำเนินงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นศูนย์กลางทางการบินของภาคเหนือ โดยมีเที่ยวบินเข้าออกหนาแน่นเป็นลำดับสี่ รองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและท่าอากาศยานเชียงใหม่ · ท่าอากาศยานเชียงใหม่และแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฟิลิปปินส์

ฟิลิปปินส์ (Philippines; Pilipinas) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines; Republika ng Pilipinas) เป็นประเทศเอกราชที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ประกอบด้วยเกาะ 7,641 เกาะ ซึ่งจัดอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ 3 เขตจากเหนือจรดใต้ ได้แก่ ลูซอน, วิซายัส และมินดาเนา เมืองหลวงของประเทศคือมะนิลา ส่วนเมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือนครเกซอน ทั้งสองเป็นส่วนหนึ่งของเมโทรมะนิลา ฟิลิปปินส์มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางทิศตะวันตก ทะเลฟิลิปปินทางทิศตะวันออก และทะเลเซเลบีสทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ โดยมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับไต้หวันทางทิศเหนือ ปาเลาทางทิศตะวันออก มาเลเซียและอินโดนีเซียทางทิศใต้ และเวียดนามทางทิศตะวันตก ฟิลิปปินส์ตั้งอยู่ในแถบวงแหวนไฟและใกล้กับเส้นศูนย์สูตร ทำให้มีแนวโน้มสูงที่จะประสบภัยจากแผ่นดินไหวและไต้ฝุ่น แต่ก็ทำให้มีทั้งทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่งเช่นกัน ฟิลิปปินส์มีเนื้อที่ประมาณ 300,000 ตารางกิโลเมตร (115,831 ตารางไมล์) และมีประชากรประมาณ 100 ล้านคน นับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 8 ในเอเชีย และเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก นอกจากนี้ ณ ปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศฟิลิปปินส์ · ประเทศฟิลิปปินส์และแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศพม่า

ม่า หรือ เมียนมา (မြန်မာ,, มฺยะหฺม่า) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า หรือ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ပြည်ထောင်စု သမ္မတ မြန်မာနိုင်ငံတော်, ปหฺยี่เด่าง์ซุ ตัมมะดะ มฺยะหฺม่า ไหฺน่หฺงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาว และไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำมะโนของประเทศในปี 2557 เผยว่าประเทศพม่ามีประชากรน้อยกว่าที่คาดการณ์ โดยมีบันทึกประชากร 51 ล้านคน มีเมืองหลวง คือ กรุงเนปยีดอ และนครใหญ่สุด คือ ย่างกุ้ง อารยธรรมช่วงต้นของประเทศพม่ามีนครรัฐปยูที่พูดภาษาตระกูลทิเบต-พม่าในพม่าตอนบน และราชอาณาจักรมอญในพม่าตอนล่าง ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ชาวพม่าได้เข้าครอบครองบริเวณลุ่มแม่น้ำอิรวดีตอนบน และสถาปนาราชอาณาจักรพุกามในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1050 ภาษาและวัฒนธรรมพม่าพร้อมด้วยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทค่อย ๆ ครอบงำในประเทศ อาณาจักรพุกามล่มสลายเพราะการบุกครองของมองโกลและรัฐหลายรัฐกำเนิดขึ้น ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์ตองอูสร้างเอกภาพอีกครั้ง และช่วงสั้น ๆ เป็นจักรวรรรดิใหญ่สุดในประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้นศตวรรษที่ 19 ราชวงศ์คองบองได้ปกครองพื้นที่ประเทศพม่าและควบคุมมณีปุระและอัสสัมในช่วงสั้น ๆ ด้วย บริติชพิชิตพม่าหลังสงครามอังกฤษ-พม่าทั้งสามครั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และประเทศกลายเป็นอาณานิคมบริติช ประเทศพม่าได้รับเอกราชใน..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศพม่า · ประเทศพม่าและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศกัมพูชา

กัมพูชา หรือ ก็อมปุเจีย (កម្ពុជា กมฺพุชา) ชื่ออย่างเป็นทางการว่า ราชอาณาจักรกัมพูชา หรือ ราชอาณาจักรก็อมปุเจีย (ព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា พฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา) เป็นประเทศตั้งอยู่ในส่วนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร มีพรมแดนทิศตะวันตกติดต่อกับประเทศไทย ทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับเวียดนาม และทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ด้วยประชากรกว่า 14.8 ล้านคน กัมพูชาเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 66 ของโลก ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำชาติ ซึ่งประชากรกัมพูชานับถือประมาณ 95% ชนกลุ่มน้อยในประเทศมีชาวเวียดนาม ชาวจีน ชาวจาม และชาวเขากว่า 30 เผ่า เมืองหลวงและเมืองใหญ่สุด คือ พนมเปญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชาปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มีพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี มาจากการเลือกตั้งโดยราชสภาเพื่อราชบัลลังก์ เป็นประมุขแห่งรัฐ ประมุขรัฐบาล คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน ผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้นำที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ปกครองกัมพูชามาเป็นระยะเวลากว่า 25 ปี ใน..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศกัมพูชา · ประเทศกัมพูชาและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมาเลเซีย

มาเลเซีย (มาเลเซีย: Malaysia) เป็นประเทศสหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วยรัฐ 13 รัฐ และดินแดนสหพันธ์ 3 ดินแดน และมีเนื้อที่รวม 330,803 ตารางกิโลเมตร (127,720 ตารางไมล์) โดยมีทะเลจีนใต้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน ได้แก่ มาเลเซียตะวันตกและมาเลเซียตะวันออก มาเลเซียตะวันตกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับไทย และมีพรมแดนทางทะเลร่วมกับสิงคโปร์ เวียดนาม และอินโดนีเซีย มาเลเซียตะวันออกมีพรมแดนทางบกและทางทะเลร่วมกับบรูไนและอินโดนีเซีย และมีพรมแดนทางทะเลกับร่วมฟิลิปปินส์และเวียดนาม เมืองหลวงของประเทศคือกัวลาลัมเปอร์ ในขณะที่ปูตราจายาเป็นที่ตั้งของรัฐบาลกลาง ด้วยประชากรจำนวนกว่า 30 ล้านคน มาเลเซียจึงเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 42 ของโลก ตันจุงปีไอ (Tanjung Piai) จุดใต้สุดของแผ่นดินใหญ่ทวีปยูเรเชียอยู่ในมาเลเซีย มาเลเซียเป็นประเทศในเขตร้อน และเป็นหนึ่งใน 17 ประเทศของโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยิ่ง (megadiverse country) โดยมีชนิดพันธุ์เฉพาะถิ่นเป็นจำนวนมาก มาเลเซียมีต้นกำเนิดมาจากอาณาจักรมลายูหลายอาณาจักรที่ปรากฏในพื้นที่ แต่ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 24 เป็นต้นมา อาณาจักรเหล่านั้นก็ทยอยขึ้นตรงต่อจักรวรรดิบริเตน โดยอาณานิคมกลุ่มแรกของบริเตนมีชื่อเรียกรวมกันว่านิคมช่องแคบ ส่วนอาณาจักรมลายูที่เหลือกลายเป็นรัฐในอารักขาของบริเตนในเวลาต่อมา ดินแดนทั้งหมดในมาเลเซียตะวันตกรวมตัวกันเป็นครั้งแรกในฐานะสหภาพมาลายาในปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศมาเลเซีย · ประเทศมาเลเซียและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสิงคโปร์

ประเทศสิงคโปร์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นนครรัฐสมัยใหม่และประเทศเกาะที่มีขนาดเล็กที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่นอกปลายทิศใต้ของคาบสมุทรมลายูและอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร 137 กิโลเมตร ดินแดนของประเทศประกอบด้วยเกาะหลักรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ซึ่งมักเรียกว่าเกาะสิงคโปร์ในภาษาอังกฤษ และเกาะอูจง (Pulau Ujong) ในภาษามลายู และเกาะที่เล็กกว่ามากอีกกว่า 60 เกาะ ประเทศสิงคโปร์แยกจากคาบสมุทรมลายูโดยช่องแคบยะฮอร์ทางทิศเหนือ และจากหมู่เกาะเรียวของประเทศอินโดนีเซียโดยช่องแคบสิงคโปร์ทางทิศใต้ ประเทศมีลักษณะแบบเมืองอย่างสูง และคงเหลือพืชพรรณดั้งเดิมเล็กน้อย ดินแดนของประเทศขยายอย่างต่อเนื่องโดยการแปรสภาพที่ดิน หมู่เกาะมีการตั้งถิ่นฐานในคริสต์ศตวรรษที่ 2 และต่อมาเป็นของจักรวรรดิท้องถิ่นต่าง ๆ สิงคโปร์สมัยใหม่ก่อตั้งใน..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศสิงคโปร์ · ประเทศสิงคโปร์และแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศอินโดนีเซีย · ประเทศอินโดนีเซียและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศอินเดีย · ประเทศอินเดียและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศจีน

ประเทศจีน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐประชาชนจีน (People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,300 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน) 5 เขตปกครองตนเอง 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง) และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศจีน · ประเทศจีนและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไทย

ประเทศไทย มีชื่ออย่างเป็นทางราชการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมมีชื่อว่า "สยาม" รัฐบาลประกาศเปลี่ยนชื่อเป็นประเทศไทยอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2482 ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคน กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินและนครใหญ่สุดของประเทศ และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด แม้จะมีการสถาปนาระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยระบบรัฐสภาในปี 2475 แต่กองทัพยังมีบทบาทในการเมืองไทยสูง ล่าสุด เกิดรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และมีการปกครองแบบเผด็จการทหารนับแต่นั้น พบหลักฐานการอยู่อาศัยอย่างต่อเนื่องในอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันตั้งแต่ 20,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวไทเริ่มอพยพเข้าสู่บริเวณนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 11 แล้วเข้ามาตั้งแว่นแคว้นต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ อาณาจักรสุโขทัย อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรอยุธยา นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย ต่อมาอาณาจักรอยุธยาค่อย ๆ เรืองอำนาจมากขึ้นจนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาคในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 การติดต่อกับชาติตะวันตกเริ่มด้วยผู้แทนทางทูตชาวโปรตุเกสในปี 2054 อาณาจักรรุ่งเรืองอย่างมากในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี 2199–2231) แต่หลังจากนั้นค่อย ๆ เสื่อมอำนาจโดยมีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการผลัดแผ่นดินที่มีการนองเลือดหลายรัชกาล จนสุดท้ายกรุงศรีอยุธยาถูกทำลายสิ้นเชิงในปี 2310 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงรวบรวมแผ่นดินที่แตกออกเป็นก๊กต่าง ๆ และสถาปนาอาณาจักรธนบุรีที่มีอายุ 15 ปี ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักรนำไปสู่การสำเร็จโทษพระองค์โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประเทศเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมหลายฉบับ กระนั้น สยามไม่ตกเป็นอาณานิคมของตะวันตกชาติใด มีการปรับให้สยามทันสมัยและรวมอำนาจปกครองในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครองราชย์ปี 2411–53) สยามเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 2460; ในปี 2475 เกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญโดยไม่เสียเลือดเนื้อ คณะราษฎรมีบทบาทนำทางการเมือง และในพุทธทศวรรษ 2480 นายกรัฐมนตรี จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำเนินนโยบายชาตินิยมเข้มข้น ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ไทยเข้ากับฝ่ายอักษะ แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรส่วนใหญ่ไม่ยอมรับการประกาศสงคราม ในช่วงสงครามเย็น ประเทศไทยเป็นพันธมิตรกับสหรัฐซึ่งสนับสนุนรัฐบาลทหารมาก รัฐประหารที่มีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นหัวหน้าคณะในปี 2500 ทำให้คณะราษฎรหมดอำนาจ รัฐบาลฟื้นฟูพระราชอำนาจและมีมาตรการต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค ผลของเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ทำให้เกิดประชาธิปไตยระบบรัฐสภาช่วงสั้น ๆ ประเทศไทยมีนายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2531 หลังพุทธทศวรรษ 2540 มีวิกฤตการเมืองระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตรมาจนปัจจุบัน รวมทั้งเกิดรัฐประหารสองครั้ง โดยครั้งล่าสุดเกิดในปี 2557 รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 20 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560 หลังมีการลงประชามติรับร่างเมื่อหนึ่งปีก่อน ประเทศไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ เอเปก อีกทั้งเป็นร่วมผู้ก่อตั้งอาเซียน ประเทศไทยเป็นพันธมิตรของสหรัฐตั้งแต่สนธิสัญญาซีโต้ในปี 2497 ถือเป็นประเทศอำนาจนำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศอำนาจปานกลางในเวทีโลก ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง-สูงและประเทศอุตสาหกรรมใหม่ มีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจทำให้มีการอพยพเข้าสู่เมืองในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตามประมาณการในปี 2560 จีดีพีของประเทศไทยมีมูลค่าราว 432,898 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นับว่าเศรษฐกิจไทยเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดเป็นอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศไทย · ประเทศไทยและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศไต้หวัน · ประเทศไต้หวันและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวียดนาม

วียดนาม (Việt Nam เหฺวียดนาม) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Cộng hòa xã hội chủ nghĩa Việt Nam, ก่ง ฮหว่า สา โห่ย จู๋ เหงีย เหวียต นาม) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกสุดของคาบสมุทรอินโดจีน มีพรมแดนติดกับประเทศจีน ทางทิศเหนือ ประเทศลาว และประเทศกัมพูชา ทางทิศตะวันตก และอ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ ทางทิศตะวันออกและใต้ หรือในภาษาเวียดนามเรียกเฉพาะทะเลทางทิศตะวันออกว่า ทะเลตะวันออก (Biển Đông, เบี๋ยน ดง) เวียดนามมีประชากรมากกว่า 89 ล้านคน ถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 13 ของโลก.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและประเทศเวียดนาม · ประเทศเวียดนามและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

แอร์เอเชีย

การบินแอร์เอเชีย เป็นสายการบินต้นทุนต่ำที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศมาเลเซีย และเป็นสายการบินที่ให้บริการด้วยค่าโดยสารที่ถูกที่สุดในเอเชีย กลุ่มแอร์เอเชีย ดำเนินการให้บริการเที่ยวบินทั่งในประเทศ และ ระหว่างประเทศ โดยมีจุดหมายปลายทางมากกว่า 400 เมืองใน 25 ประเทศ และมีท่าอากาศยานหลักคือ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ โดยให้บริการที่อาคารผู้โดยสาร อาคาร KLIA2 และยังมี สายการบินไทยแอร์เอเชีย, สายการบินอินโดนีเซียแอร์เอเชีย เข้ามาใช้บริการร่วมด้วย แอร์เอเชียมาเลเซีย มีสำนักงานจดทะเบียนตั้งอยู่ที่เปอตาลิงจายา, รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ แอร์เอเชียมีแผนจะเปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคอาเซียนในจาการ์ตา ในปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและแอร์เอเชีย · แอร์เอเชียและแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

โกตากีนาบาลู

กตากีนาบาลู (Kota Kinabalu, کوتا کينا بالو) มีชื่อเดิมว่า เจสเซลตัน (Jesselton) และเป็นที่รู้จักในชื่อย่อว่า เคเค (KK) เป็นเมืองเอกของรัฐซาบะฮ์ ประเทศมาเลเซีย เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลจีนใต้ทางตะวันตกของรัฐซาบะฮ์ และตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะบอร์เนียว มีประชากรราว 452,058 คน ปัจจุบันโกตากีนาบาลูเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเปรียบเสมือนประตูสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยือนซาบะฮ์และบอร์เนียว นอกจากนี้โกตากีนาบาลูยังเป็นเมืองสำคัญทางอุตสาหกรรมและพาณิชย์ของมาเลเซียตะวันออก ทำให้ที่นี่เป็นหนึ่งในเมืองที่โตเร็วที่สุดของมาเลเซี.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและโกตากีนาบาลู · แอร์เอเชียและโกตากีนาบาลู · ดูเพิ่มเติม »

ไทยแอร์เอเชีย

ทยแอร์เอเชีย (IATA: FD, ICAO: AIQ, Callsign: THAI ASIA) ด้วยสโลแกนหลัก ใคร ใคร...ก็บินได้ (Now Everyone Can Fly) เป็นแรงจูงใจและกระตุ้นให้ผู้โดยสารที่ไม่เคยเดินทางโดยเครื่องบิน ได้เดินทางด้วยราคาที่เหมาะสม ซึ่งรูปแบบการนำเสนอคือ การเดินทางแบบเรียบง่าย การเดินทางในระยะสั้นตั๋วค่าโดยสารไม่ถูกบวกเพิ่มด้วยอาหาร และเครื่องดื่ม สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีความโดดเด่น เนื่องจากเป็นสายการบินที่มีราคาเหมาะสม จากต้นทุนได้ถูกควบคุมในทุกวิธีการ อีกทั้งวัฒนธรรมทางองค์กรที่มีการบริหารงานอย่างมืออาชีพ ทำให้สายการบินไทยแอร์เอเชีย เติบโตได้อย่างรวดเร็วมากภายในระยะเวลาไม่กี่ปี สายการบินไทยแอร์เอเชีย มีความแปลกใหม่ และเน้นการใช้เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก โดยลดต้นทุนจากการใช้งานบุคลากรให้ใช้งานผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งมีความสะดวกรวดเร็วมากกว่า พร้อมทั้งจ่ายด้วยบัตรเครดิตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย โดยการจองที่นั่งผ่านทางระบบออนไลน์ ไทยแอร์เอเชียยังเป็นสายการบินผู้ให้การสนับสนุนคณะกรรมการผู้ตัดสินฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก 2012 อย่างเป็นทางการ และ ทีมฟุตบอลต่างๆ ที่สังกัดสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยอีกด้ว.

ท่าอากาศยานดอนเมืองและไทยแอร์เอเชีย · แอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชีย · ดูเพิ่มเติม »

ไทยแอร์เอเชียเอกซ์

ทยแอร์เอเชียเอ็กซ์ (อังกฤษ : Thai AirAsia X) เป็นสายการบินระยะไกลต้นทุนต่ำสายการบินแรกของประเทศไทย จากการร่วมลงทุนของสายการบิน ไทยแอร์เอเชีย และ สายการบิน แอร์เอเชีย เอกซ์ โดยให้บริการเที่ยวบินประจำจาก ท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เริ่มให้บริการครั้งแรกในเส้นทาง กรุงเทพฯ (ดอนเมือง) - โซล (อินช็อน) ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 และขยายเส้นทางบินสู่ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว (นะริตะ) และ โอซะกะ (คันไซ) ในเวลาต่อมา ด้วยกระแสการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในปี..

ท่าอากาศยานดอนเมืองและไทยแอร์เอเชียเอกซ์ · แอร์เอเชียและไทยแอร์เอเชียเอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมืองและแอร์เอเชีย

ท่าอากาศยานดอนเมือง มี 170 ความสัมพันธ์ขณะที่ แอร์เอเชีย มี 110 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 39, ดัชนี Jaccard คือ 13.93% = 39 / (170 + 110)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ท่าอากาศยานดอนเมืองและแอร์เอเชีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »