โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ตำนานแห่งซิลมาริลและมินัสทิริธ

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและมินัสทิริธ

ตำนานแห่งซิลมาริล vs. มินัสทิริธ

ตำนานแห่งซิลมาริล (The Silmarillion) เป็นนิยายจินตนิมิต แต่งโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน (ผู้แต่งเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) เริ่มประพันธ์โครงเรื่องตั้งแต่ปี.. มินัสทิริธ (Minas Tirith) เป็นชื่อหอคอยในตำนานชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชื่อเป็นคำในภาษาซินดาริน แปลว่า "หอคอยระวังภัย" ในปกรณัมปรากฏชื่อหอคอย มินัสทิริธ ทั้งในยุคที่หนึ่ง และยุคที่สาม ของอาร์ดา มินัสทิริธ จากภาพยนตร์ไตรภาค เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ในปี 3320 ของยุคที่สอง ในขณะนั้นเมืองหลวงของอาณาจักร กอนดอร์ยังคงเป็น ออสกิเลียธ (Osgiliath) อิซิลดูร์ และ อนาริออน บุตรแห่งเอเลนดิล ทั้งสองได้ร่วมกันปกครอง ออสกิเลียธ แต่พวกเขาก็ยังสร้างปราการที่เป็นของตนเองด้วย โดยปราการทั้งสองนั้นตั้งอยู่คนละฟากของแม่น้ำอันดูอิน อิซิลดูร์ สร้างหอคอยจันทร์รุ่งเรียกว่า มินัสอิธิล ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ ส่วนอนาริออน สร้างหอคอยตะวันรอนเรียกว่า มินัสอะนอร์ ทางตะวันตกของแม่น้ำ มินัสอะนอร์ถูกสร้างขึ้นเป็นป้อมปราการอย่างแข็งแกร่งและงดงาม แบ่งเป็น 7 ชั้น โดยมีประตูใหญ่ด้านหน้าและประตูชั้นต่อๆไปอยู่ด้านข้างสลับไปมาส่วนประตูชั้นบนสุดจะหันไปด้านหน้า กำแพงชั้นแรกสร้างด้วยวัสดุสีดำแบบเดียวกับที่ใช้ในออร์ธังค์ และชั้นอื่นๆทำด้วยหินอ่อน ในชั้นที่หกจะมีทางออกไปยังสุสานกษัตริย์และผู้พิทักษ์ส่วนชั้นที่เจ็ดเป็นที่ตั้งของท้องพระโรงและที่ปลูกพฤกษาขาว และด้านบนคือหอคอยที่เก็บรักษาดวงพาลันเทียร์ประจำมินัสอะนอร์หรือมินัสทิริธต่อมา ต่อมาในปี 3429 ของยุคที่สอง เซารอนโจมตีกอนดอร์ มินัสอิธิลถูกยึดไปได้ แต่กอนดอร์ยังสามารถรักษา ออสกิเลียธ และมินัสอะนอร์ไว้ได้ หลังจากนั้นก็สามารถขับไล่กองทัพเซารอนกลับไปยังมอร์ดอร์ได้ก่อนที่คณะพันธมิตรของมนุษย์และเอลฟ์กลุ่มสุดท้ายมาถึง อนาริออนเสียชีวิตในระหว่างสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย ในปี 3440 และสงครามจบลงด้วยการพ่ายแพ้ของเซารอนในอีกปีต่อมา ในปีที่ 2 ของยุคที่สาม อิซิลดูร์ นำหน่ออ่อนของพฤกษาขาวที่นำออกมาจากมินัสอิธิลได้ทัน และนำมาปลูกไว้ที่ มินัสอะนอร์ เพื่อเป็นการรำลึกถึง อนาริออน ต่อมา ออสโตเฮอร์ (Ostoher) กษัตริย์ลำดับที่เจ็ดแห่งกอนดอร์ ได้ปรับปรุงและขยายมินัสอะนอร์ให้กว้างขึ้น หลังจากนั้นก็เกิดธรรมเนียมที่กษัตริย์แห่งกอนดอร์ จะเสด็จมาประทับที่มินัสอะนอร์ ในช่วงฤดูร้อน แต่อย่างไรก็ตาม ออสกิเลียธก็ยังคงเป็นเมืองหลวงอยู่ ในปี 1437 ของยุคที่สาม เกิดสงครามกบฏที่เรียกว่า กบฏราชวงศ์ ทำให้ออสกิเลียธได้รับความเสียหาย และเกิดโรคระบาดอย่างรุนแรง ทำให้เมืองถูกทิ้งร้าง จากนั้นมินัสอะนอร์จึงได้กลายมาเป็นเมืองหลวงของกอนดอร์แทนที่ และได้มีการสร้างหอคอยสีขาวขึ้นในส่วนยอดของมินัสอะนอร์ เพื่อเป็นที่เก็บ พาลันเทียร์ ในปี 2002 มินัสอิธิล ถูกยึดอีกครั้งโดยพวกนาซกูล และถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มินัสมอร์กูล หลังจากนั้นมินัสอะนอร์ก็ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เช่นกันว่า มินัสทิริธ ซึ่งหมายถึง 'หอคอยระวังภัย' เมื่อเซารอนกลับมาปรากฏตัวอีกครั้ง ในช่วงปลายยุคที่สาม กองทัพมอร์ดอร์ยกข้ามแม่น้ำอันดูอิน เช้าโจมตีมินัสทิริธ ซึ่งมี วิชคิง เป็นแม่ทัพ โดยทหารกอนดอร์ป้องกันกำแพงอยู่ภายในเมือง เกิดการรบกันอยู่เป็นเวลานาน จนกระทั่งกองทัพมอร์ดอร์ใช้ กรอนด์ ทำลายประตูเมืองลงได้ ทหารมอร์ดอร์เคลื่อนพลหลั่งไหลเข้าเมือง (แต่ในฉบับนิยาย กรอนด์ไม่สามารถทำลายประตูเมืองได้ จนกระทั่งวิชคิงต้องมาร่ายเวทย์ทำลายประตูเมืองด้วยตัวเอง ประตูเมืองจึงถูกทำลาย แต่ทว่าทหารมอร์ดอร์ก็ยังไม่สามารถยกพลเข้าประตูเมืองได้เนื่องจากกองทัพโรฮันนำกองทัพกำลังเสริมมาช่วยเหลือกอนดอร์) ไม่นานนักทหารจากโรฮันก็เคลื่อนทัพมาถึงและเข้ามาช่วยไว้ได้ทัน เกิดการพุ่งรบกันบนสมรภูมิแห่งทุ่งพาเลนเนอร์ และในที่สุดอารากอร์นนำพลจากทางแม่น้ำอันดูอินขึ้นมาช่วยรบ จนได้รับชัยชนะ หลังจากสงครามมินัสทิริธได้รับการบูรณะใหม่โดยคนแคระจากเอเรบอร์ได้สร้างประตูเมืองขึ้นใหม่ด้วยมิธริลและมอบให้เป็นของขวัญแก่นคร ทั้งยังบูรณะถนนอาคารต่างๆด้วยหินอ่อนสีขาว และชาวเอลฟ์ได้นำต้นไม้มาประดับท้องถนนต่างๆและสร้างน้ำพุขึ้นจนเมืองถือได้ว่างดงามยิ่งกว่าที่เคยเป็นม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและมินัสทิริธ

ตำนานแห่งซิลมาริลและมินัสทิริธ มี 14 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): กอนดอร์มิดเดิลเอิร์ธยุคที่สองแห่งอาร์ดายุคที่สามแห่งอาร์ดายุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดาสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้ายอาร์ดาซิลมาริลเบเรนเบเลริอันด์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เซารอนUnfinished Tales

กอนดอร์

กษาขาว ดาวเจ็ดดวง และมงกุฎปีก กอนดอร์ (Gondor) คือชื่ออาณาจักรมนุษย์แห่งหนึ่งบนทวีปมิดเดิลเอิร์ธ ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในนวนิยายแฟนตาซีเรื่อง เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ก่อตั้งโดย อิซิลดูร์ และ อนาริออน โอรสของ เอเลนดิล เมื่อปีที่ 3320 ของยุคที่สองเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน.

กอนดอร์และตำนานแห่งซิลมาริล · กอนดอร์และมินัสทิริธ · ดูเพิ่มเติม »

มิดเดิลเอิร์ธ

แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงยุคที่หนึ่ง แสดงแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นสถานที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ที่บันทึกในซิลมาริลลิออน ทางด้านขวามือสุดของแผนที่เป็นที่ตั้งของ 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' แผนที่มิดเดิลเอิร์ธในช่วงปลายของยุคที่สาม ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ ลอร์ดออฟเดอะริงส์ สังเกตจะเห็น 'เทือกเขาสีน้ำเงิน' อยู่ทางด้านซ้ายมือสุดของแผนที่ มิดเดิ้ลเอิร์ธ (Middle-earth) หรือ มัชฌิมโลก หมายถึงสถานที่ในนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน อันเป็นฉากหลังของเรื่องราวตำนานทั้งหลายในงานเขียนของโทลคีน ปกรณัมของโทลคีนมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าควบคุมและครอบครองโลก (ในตำนานเรียกว่า "อาร์ดา") ซึ่งมีทวีปหลักชื่อว่า "มิดเดิลเอิร์ธ" เป็นที่อยู่อาศัยของพวก 'มรรตัยชน' (คือมนุษย์ที่รู้ตาย) เป็นสถานที่ตรงข้ามกับ "อามัน" หรือ 'แดนอมตะ' อันเป็นถิ่นที่อยู่ของพวกวาลาร์ กับพวกเอลฟ์ คำนี้มีรากมาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า middel-erde ซึ่งพัฒนามาจากคำในภาษาอังกฤษเก่าว่า middangeard แก่นสำคัญของงานเขียนของโทลคีนคือเรื่องของการช่วงชิง ควบคุม และครอบครองอำนาจหรือของวิเศษ ทำให้เกิดสงครามขึ้นบนมิดเดิลเอิร์ธหลายครั้งหลายหน คือสงครามระหว่างเหล่าเทพวาลาร์ เอลฟ์ และพันธมิตรชาวมนุษย์ฝ่ายหนึ่ง กับเทพอสูรเมลคอร์กับบริวาร ได้แก่พวกออร์ค มังกร และมนุษย์ที่เป็นทาสอีกฝ่ายหนึ่ง ในตำนานยุคหลัง เมื่อเมลคอร์สิ้นอำนาจและถูกขับไล่ออกไปจากอาร์ดาแล้ว บทบาทการช่วงชิงนี้ก็ตกไปอยู่กับเซารอน สมุนเอกของเขา เหล่าเทพวาลาร์ได้ยุติบทบาทของตนลงหลังจากที่เมลคอร์สิ้นอำนาจ เพราะการสงครามระหว่างพวกพระองค์ครั้งนั้นได้ทำให้โลกพินาศเสียหายไปมาก อย่างไรก็ดีพวกพระองค์ก็ยังส่ง อิสตาริ หรือเหล่าพ่อมด เข้ามาให้ความช่วยเหลือในการต่อต้านอำนาจของเซารอน อิสตาริที่มีบทบาทมากคือ แกนดัล์ฟพ่อมดเทา และซารูมานพ่อมดขาว แกนดัล์ฟได้ทำงานบรรลุวัตถุประสงค์เป็นอย่างดี โดยได้ช่วยเหลือชาวมิดเดิลเอิร์ธอย่างถึงที่สุดเพื่อโค่นอำนาจเซารอนลงให้ได้ แต่ซารูมานกลับพ่ายแพ้ต่อความคิดฉ้อฉลแล้วตั้งตนขึ้นเป็นใหญ่ ช่วงชิงอำนาจบนมิดเดิลเอิร์ธแข่งกับเซารอนเสียเอง สำหรับพลเมืองชาวมิดเดิลเอิร์ธพวกอื่นๆ ได้แก่ คนแคระ เอนท์ และฮอบบิท อันเป็นเผ่าพันธุ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด ในการสร้างสรรค์งานของโทลคีน เขาได้จัดทำแผนที่ของมิดเดิลเอิร์ธขึ้นเป็นจำนวนมาก แสดงถึงดินแดนและสถานที่ต่างๆ ที่ตำนานของเขาเอ่ยถึง แผนที่บางส่วนได้รับการตีพิมพ์ในช่วงชีวิตของเขา แต่ก็ยังมีแผนที่อีกจำนวนมากที่ไม่ได้ตีพิมพ์เลยจนกระทั่งเขาเสียชีวิตไปแล้ว แผนที่ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเรื่อง เดอะฮอบบิท เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน เหตุการณ์ส่วนใหญ่ในยุคที่หนึ่งเกิดขึ้นบนดินแดนที่เรียกชื่อว่า เบเลริอันด์ ดินแดนนี้ต่อมาได้จมลงสู่ทะเลหลังสงครามครั้งใหญ่ระหว่างเทพวาลาร์กับเมลคอร์ คงเหลือแต่เทือกเขาสีน้ำเงินที่ปรากฏอยู่ทางขวาสุดของแผนที่ เป็นจุดเชื่อมต่อเดียวกันกับเทือกเขาสีน้ำเงินที่อยู่ทางด้านซ้ายสุดของแผนที่ในเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ดินแดนทางด้านตะวันออกของเทือกเขาสีน้ำเงินเป็นที่เกิดเหตุการณ์ต่างๆ ในยุคที่สองและสาม โทลคีนบอกว่ามิดเดิ้ลเอิร์ธนั้นคือโลกของเรา เพียงแต่เป็นช่วงเวลาในอดีต โดยประมาณว่าปลายยุคที่สามคือช่วงระยะประมาณ 6,000 ปีก่อนยุคของโทลคีน เขายังบรรยายเขตแดนที่ฮอบบิทอาศัยว่าอยู่ที่ "ตะวันตกเฉียงเหนือของโลกเก่า ทางตะวันออกของทะเลใหญ่",เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์, บทนำ, หน้า 2 ซึ่งอ้างอิงถึงอังกฤษและเขตตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปอย่างชัดเจน ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธของโทลคีน ถูกแบ่งออกเป็นหลายยุค เรื่องราวที่ปรากฏใน เดอะฮอบบิท และเรื่องราวใน ลอร์ดออฟเดอะริงส์ เกิดขึ้นในราวปลายยุคที่สาม และนำไปสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคที่สี่ ในขณะที่เรื่องราวใน ซิลมาริลลิออน ซึ่งเป็นงานเขียนของโทลคีนเกี่ยวกับมิดเดิลเอิร์ธที่เก่าแก่ที่สุด เป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ยุคสร้างโลกและยุคที่หนึ่งเป็นส่วนใหญ.

ตำนานแห่งซิลมาริลและมิดเดิลเอิร์ธ · มิดเดิลเอิร์ธและมินัสทิริธ · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สองแห่งอาร์ดา

ที่สอง แห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การจับกุมคุมขังเทพอสูรมอร์กอธไว้ในสุญญภูมิ หลังจากการล่มจมสมุทรของแผ่นดินเบเลริอันด์ ซึ่งเป็นผลจากสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามระหว่างปวงเทพแห่งแดนประจิมกับมอร์กอธ การรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ ไปจนถึงการปราบปรามเซารอนลงสำเร็จในสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย กินเวลายาวนานถึง 3,441 ปี เหตุการณ์ในยุคที่สองของอาร์ดา มิได้มีการบรรยายไว้โดยละเอียดเหมือนยุคที่หนึ่ง ซึ่งปรากฏเนื้อหาอยู่ในตำนานเรื่อง ซิลมาริลลิออน แต่ได้มีการบรรยายสรุปโดยย่ออยู่ในภาคผนวกของหนังสือเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และในตำนานอคัลลาเบธ อันเป็นตำนานว่าด้วยการรุ่งเรืองและล่มสลายของอาณาจักรนูเมนอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาจำนวนมากที่โทลคีนประพันธ์ค้างไว้ และคริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมไว้ในหนังสือ Unfinished Tales.

ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สองแห่งอาร์ดา · มินัสทิริธและยุคที่สองแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่สามแห่งอาร์ดา

ที่สามแห่งอาร์ดา เป็นช่วงเวลาหนึ่งในจักรวาลของเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เริ่มนับตั้งแต่การพ่ายแพ้ของเซารอนต่อกองทัพพันธมิตรครั้งสุดท้ายของมนุษย์และพราย (สงครามตอนต้นเรื่องในภาพยนตร์) เอกลักษณ์ของยุคนี้คือความเสื่อมถอยของพวกพราย หรือ เอลฟ์ การเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมถอยของอาณาจักรกอนดอร์และอาร์นอร์ และการฟื้นอำนาจของเซารอน ยุคที่สามกินเวลา 3,021 ปี จนถึงความพ่ายแพ้อีกครั้งของเซารอน เมื่อแหวนถูกทำลาย เมื่อโฟรโด แบ๊กกิ้นส์, บิลโบ แบ๊กกิ้นส์ และแกนดัล์ฟ เดินทางออกจากมิดเดิลเอิร์ธ จึงเริ่มนับเป็นยุคที่สี.

ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สามแห่งอาร์ดา · มินัสทิริธและยุคที่สามแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา

ในจินตนิยายชุด ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน คำว่า ยุคที่หนึ่ง มักหมายถึง ยุคที่หนึ่งของเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ส่วนใหญ่ที่ปรากฏในเรื่อง ซิลมาริลลิออน ยุคนี้เริ่มต้นด้วยการตื่นขึ้นของเหล่าเอลฟ์ ที่ริมทะเลสาบคุยวิเอเนน และจบลงด้วยการล้มล้างมอร์กอธ โดยกองทัพผสมระหว่างวาลินอร์กับเบเลริอันด์ ยุคที่หนึ่งกินเวลาหลายร้อยปีในวาเลียนศักราช และอีกเกือบ 590 ปีของยุคแห่งตะวัน หากคิดเวลารวมเป็นปีตะวัน อาจได้ช่วงเวลาประมาณ 4,902 ถึง 65,390 ปีตะวัน เนื่องจากวิธีการคำนวณปีวาลาร์เทียบกับปีตะวันในงานเขียนแต่ละชุดของโทลคีนมีความแตกต่างกัน ตัวเลขที่มากกว่าคิดเทียบจากข้อมูลในภาคผนวกของเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ส่วนเลขน้อยกว่าคิดจากงานเขียนในชุดแรกๆ ของเขา บางครั้งในงานเขียนอาจระบุถึง ยุคที่หนึ่ง ด้วยคำว่า ยุคบรรพกาล ด้วย มักมีความเข้าใจผิดกันว่า ยุคที่หนึ่ง เริ่มนับตั้งแต่ยุคแห่งตะวัน เพราะบางครั้งก็เอ่ยถึงว่า "ยุคที่หนึ่งแห่งตะวัน" ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การกำเนิดของดวงตะวันเรื่อยไปจนถึงการสิ้นอำนาจของมอร์กอ.

ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา · มินัสทิริธและยุคที่หนึ่งแห่งอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย

ันธมิตรครั้งสุดท้ายของเอลฟ์และมนุษย์ (The Last Alliance of Elves and Men) เป็นชื่อเหตุการณ์สำคัญตอนหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกิดขึ้นในปีที่ 3430 ปลายยุคที่สองของโลกอาร์ดา โดยความร่วมมือระหว่างทัพเอลฟ์, ทัพมนุษย์ ทั้งชาวดูเนไดน์และชาวแผ่นดินอื่น รวมถึงทัพคนแคระ เพื่อต่อต้านจอมมารเซารอน ลอร์ดมืดผู้คุกคามโลก สงครามครั้งนั้นจึงเรียกชื่อว่า สงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย (War of the Last Alliance) ซึ่งประกอบด้วย สมรภูมิทุ่งดาร์กอลัด และ การปิดล้อมหอคอยบารัด-ดูร.

ตำนานแห่งซิลมาริลและสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย · มินัสทิริธและสงครามแห่งพันธมิตรครั้งสุดท้าย · ดูเพิ่มเติม »

อาร์ดา

อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.

ตำนานแห่งซิลมาริลและอาร์ดา · มินัสทิริธและอาร์ดา · ดูเพิ่มเติม »

ซิลมาริล

ในตำนานที่เขียนโดย เจ.อาร์.อาร์. โทลคีน ซิลมาริล (Silmaril) (มาจากภาษาเควนยา ว่า ซิลมาริลลิ) เป็นวัตถุศักดิ์สิทธิ์ในจินตนิยาย ประกอบด้วยอัญมณีสามชิ้นที่สุกสว่างดังดวงดาว ภายในบรรจุแสงอันบริสุทธิ์ของ ทวิพฤกษา ซิลมาริลทำมาจากวัสดุใสดังผลึกคริสตัลที่เรียกว่า ซิลิมา ประดิษฐ์โดย เฟอานอร์ เอลฟ์ชาวโนลดอร์ ในวาลินอร์ ในช่วงยุคแห่งพฤกษา งานเขียนชุด ซิลมาริลลิออน ของโทลคีน มีหัวใจหลักของเรื่องเกี่ยวข้องกับดวงมณีซิลมาริลนี้เอง ว่าด้วยเรื่องราวของผู้สร้าง การถูกช่วงชิง และการแก้แค้น ตลอดจนชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับผู้คนที่เกี่ยวข้องทั้งหม.

ซิลมาริลและตำนานแห่งซิลมาริล · ซิลมาริลและมินัสทิริธ · ดูเพิ่มเติม »

เบเรน

รน (Beren) เป็นชื่อตัวละครตัวหนึ่งในปกรณัมชุด มิดเดิลเอิร์ธ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในตำนานชุด ซิลมาริลลิออน ชื่ออื่นๆ ของเขาคือ เบเรน แอร์ฅามิออน (Beren Archamion) หมายถึง 'เบเรนผู้มีมือเดียว' บ้างก็เรียกว่า เบเรน คัมลอสต์ (Beren Camlost) หมายถึง 'เบเรน คนมือเปล่า' เบเรนเป็นมนุษย์ในยุคบรรพกาล หรือยุคที่หนึ่งของโลกอาร์ดา เป็นบุตรของบาราเฮียร์ ชนตระกูลเบออร์ เขามีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธสองสถานะ หนึ่งคือเป็นผู้เข้าไปช่วงชิงดวงมณีซิลมาริลมาจากมงกุฎของมอร์กอธได้โดยลำพัง ด้วยความช่วยเหลือจากลูธิเอนเท่านั้น และสองคือเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้วิวาห์กับชนเผ่าเอลฟ์ เป็นการวิวาห์ข้ามเผ่าพันธุ์ ระหว่างบุตรทั้งสองของอิลูวาทาร์เป็นครั้งแรก.

ตำนานแห่งซิลมาริลและเบเรน · มินัสทิริธและเบเรน · ดูเพิ่มเติม »

เบเลริอันด์

แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน ด้านตะวันตกของแคว้นไชร์ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) ติดกับมหาสาคร หรือเบเลกายร์ ปรากฏเป็นฉากหลังสำคัญอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานเขียนอื่นๆ ของโทลคีนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินเบเลริอันด์ ได้แก่ The Lays of Beleriand, ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Hurin), The Book of Lost Tales และอื่นๆ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ อาณาเขตเบเลริอันด์ ด้านตะวันตกจรดทะเลเบเลกายร์ ด้านตะวันออกจรดเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ทิศเหนือจรดทุ่งอาร์ด-กาเลน ทิศใต้แผ่ไปถึงผืนป่าเทาร์-อิม-ดุยนัธ มีแม่น้ำสายหลักอยู่สองสาย ได้แก่แม่น้ำซิริออน กับแม่น้ำเกลิออน แม่น้ำซิริออนเป็นแม่น้ำใหญ่กว่า ไหลผ่านกึ่งกลางแผ่นดินเบเลริอันด์ แบ่งพื้นดินออกเป็นเบเลริอันด์ตะวันออก และเบเลริอันด์ตะวันตก ส่วนแม่น้ำเกลิออนแม้จะแคบกว่า แต่ยาวกว่า ไหลผ่านเบเลริอันด์ตะวันออกเลียบไปกับแนวเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ฟากตะวันออกของเกลิออนเป็นแผ่นดินที่เรียกว่า ออสซิริอันด์ มีแควสาขาอีกหกสายไหลจากเอเร็ดลูอินลงมาบรรจบกับเกลิออน ดังนั้นบางครั้งก็เรียกดินแดนนี้ว่า 'แผ่นดินแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด' หรือ 'ดินแดนสัตตนที' แผ่นดินเบเลริอันด์ถึงคราววิบัติจนล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทร เมื่อครั้งสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามเทพ ระหว่างทัพของวาลาร์ กับมอร์กอธ เป็นอันสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง คงเหลือแต่เพียงแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งหลุมศพของมอร์เวน ทูริน และนิเอนอร์ ที่ยังโผล่พ้นมหาสมุทรอยู่ เรียกว่า 'โทลมอร์เวน'.

ตำนานแห่งซิลมาริลและเบเลริอันด์ · มินัสทิริธและเบเลริอันด์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน

. อาร.

ตำนานแห่งซิลมาริลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · มินัสทิริธและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ดูเพิ่มเติม »

เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์

อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..

ตำนานแห่งซิลมาริลและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · มินัสทิริธและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ดูเพิ่มเติม »

เซารอน

ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.

ตำนานแห่งซิลมาริลและเซารอน · มินัสทิริธและเซารอน · ดูเพิ่มเติม »

Unfinished Tales

ปก The Unfinished Tales วาดโดย Ted Nasmith Unfinished Tales เป็นหนังสือที่รวบรวมงานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกี่ยวกับจักรวาลอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ ที่เขาเขียนไว้ยังไม่จบและยังไม่ได้ตีพิมพ์ เรียบเรียงขึ้นโดยบุตรชายคนที่สามของโทลคีน คือ คริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นวนิยาย ที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวตลอดเล่ม เนื่องจากเป็นการรวบรวมงานเขียนชิ้นต่างๆ ของโทลคีนที่เขียนเอาไว้ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อหาหลายส่วนยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเนื่องจากยังไม่ได้แก้ไขเป็นบทสรุปสุดท้าย คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมส่วนที่เกี่ยวข้องกันมาไว้ด้วยกัน และแสดงหมายเหตุ หรือข้อสังเกตส่วนตัวเกี่ยวกับงานเขียนเหล่านั้น โดยพยายามเรียบเรียงให้ได้เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับข้อสรุปสุดท้ายของโทลคีนให้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ คือรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อตัวละคร หรือชื่อสถานที่ต่างๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งโทลคีนใส่ใจพิถีพิถันเป็นพิเศษ ทั้งในแง่ของความหมาย และความเป็นมา ถึงแก่ลงมือประพันธ์ประวัติศาสตร์ของชื่อสถานที่บางแห่ง ทำให้มีความสมจริงสมจังเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลในหนังสือ Unfinished Tales สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมแก่ตัวละคร เหตุการณ์ หรือสถานที่บางแห่งที่ถูกกล่าวถึงเพียงย่อๆ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึงความเป็นมาของแกนดัล์ฟ และเหล่าพ่อมด (อิสตาริ) และเรื่องราวโดยละเอียดในการที่แหวนเอกสูญหายไปจากการรับรู้ของผู้คนบนมิดเดิลเอิร์ธในตอนต้นของยุคที่สาม นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเหตุการณ์ในยุคที่สอง โดยเฉพาะเรื่องราวของเกาะนูเมนอร์ ซึ่งไม่ใคร่ถูกกล่าวถึงมากนักทั้งใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะตีพิมพ์ออกมาหลังจากโทลคีนถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี แต่ก็ยังได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างดียิ่ง ทำให้คริสโตเฟอร์ โทลคีน มีกำลังใจที่จะเรียบเรียงงานชิ้นอื่นๆ ของบิดาออกมาอีก เกิดเป็นหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ จำนวน 12 เล่ม.

Unfinished Talesและตำนานแห่งซิลมาริล · Unfinished Talesและมินัสทิริธ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและมินัสทิริธ

ตำนานแห่งซิลมาริล มี 50 ความสัมพันธ์ขณะที่ มินัสทิริธ มี 28 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 14, ดัชนี Jaccard คือ 17.95% = 14 / (50 + 28)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและมินัสทิริธ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »