ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สองแห่งอาร์ดา
ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สองแห่งอาร์ดา มี 11 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): มอร์กอธวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)อาร์ดาอคัลลาเบธคริสโตเฟอร์ โทลคีนนูเมนอร์เบเลริอันด์เจ. อาร์. อาร์. โทลคีนเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เซารอนUnfinished Tales
มอร์กอธ
'''มอร์กอธ บาวเกลียร์''' มอร์กอธ บาวเกลียร์ (Morgoth Bauglir) เป็นตัวละครที่แต่งขึ้นโดย เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ปรากฏในผลงานของโทลคีนเรื่อง ซิลมาริลลิออน และตำนานอื่นๆ ในยุคโบราณของปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธเป็นชาวไอนัวร์ ซึ่งเป็นเทพเจ้าเฉกเช่นวาลาร์ ชื่อเดิมของเขาคือ เมลคอร์ แต่ต่อมาเป็นที่รู้จักทั่วไปในมิดเดิลเอิร์ธในชื่อของ มอร์กอธ หลังจากที่เจ้าชายเอลฟ์นามว่า เฟอานอร์ เป็นผู้ตั้งให้ ในประวัติศาสตร์ของมิดเดิลเอิร์ธ มอร์กอธมีบทบาทเป็นฝ่ายอธรรมผู้ยิ่งใหญ่ ซึ่ง เซารอน เจ้าแห่งความมืดที่หลายคนรู้จักดีจากเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์เคยเป็นข้ารับใช้ของเขา นาม มอร์กอธ บาวเกลียร์ ที่จริงแล้วเป็นชื่อฉายา ชื่อของเขาที่ปรากฏครั้งแรกในไอนูลินดาเล (เรื่องราวของการสร้างมิดเดิ้ลเอิร์ธ และเป็นบทแรกของ ซิลมาริลลิออน) มีชื่อว่า เมลคอร์ ซึ่งหมายถึง "ผู้ผงาดด้วยอำนาจ" ส่วนคำว่า มอร์กอธ สามารถแปลได้ว่า "ทรราชเจ้าแห่งความมืด" หรือ "ผู้กดขี่อันน่าสยดสยอง" คำนี้มีที่มาจากภาษาเควนยาซึ่งหมายถึง ศัตรูมืด หรือ ความมืดอันน่าหวาดหวั่น (รากศัพท์มาจาก มอร์ (mor) - สีดำ ความมืด เงามืด และ กอส/กอธ (goth) - น่ากลัวมาก ความสยองขวัญ) ส่วนคำว่า บาวเกลียร์ เป็นภาษาซินดาริน หมายถึง ทรราช หรือ ผู้กดขี่ (รากศัพท์ MBAW - บังคับ พลังอำนาจ กดขี่) ตัวละครนี้ไม่ได้ถูกเรียกว่ามอร์กอธจนกระทั่งเขาได้รับสมญานั้นจาก เฟอานอร์ แห่ง โนลดอร์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคที่หนึ่ง (First Age) หลังจากเมลคอร์หลบหนีออกจากวาลินอร์แล้ว และพวกเอลฟ์ก็เรียกแต่ชื่อนั้นของเขา แต่ก่อนหน้าเหตุการณ์นั้นเขาถูกเรียกเพียงว่า เมลคอร์ ระหว่างการพัฒนาการของตำนานของโทลคีน เขาได้เปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับการแปรพักตร์ของไอนูองค์นี้ และเปลี่ยนชื่อของเขาด้วย นอกเหนือจากชื่อพิเศษของเขาซึ่งชาวโนลดอร์ตั้งให้ (มอร์กอธ) เขายังถูกเรียกในตำนานต่างๆ (ในหลากหลายรูปแบบ) ว่า'เมลโค' 'เบลคา' 'เมเลกอร์' และ 'เมเลโค' ชื่อของเขาในรูปซินดารินคือ 'เบเลกูร์' ซึ่งไม่เคยถูกใช้เลยนอกจากในคำที่แปลงรูปแล้วว่า 'เบเลกัวธ์' ซึ่งหมายถึง ’ความตายอันยิ่งใหญ่' หมวดหมู่:ตัวละครในซิลมาริลลิออน หมวดหมู่:ไอนัวร์.
ตำนานแห่งซิลมาริลและมอร์กอธ · มอร์กอธและยุคที่สองแห่งอาร์ดา ·
วาลา (มิดเดิลเอิร์ธ)
วาลาร์ (Valar) เป็นชื่อเรียกชนชั้นสูงในชนเผ่า ไอนัวร์ (Ainur) ในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน มีกล่าวถึงอยู่มากในตำนานเรื่องซิลมาริลลิออน ชนเผ่าไอนัวร์เป็นชนเผ่าที่ถือกำเนิดมาจากพระเจ้าสูงสุดในโลกอาร์ดา คือมหาเทพอิลูวาทาร์ เป็นพวกที่ช่วยมหาเทพสร้างพิภพต่างๆ และตระเตรียมสถานที่ให้พร้อมสำหรับเหล่าบุตรแห่งอิลูวาทาร์ กล่าวคือเป็นผู้ช่วยสร้างโลกอาร์ดานั่นเอง ชาวมนุษย์มักเรียกเหล่าไอนัวร์ว่า "เทพ" คำว่า "วาลาร์" เป็นคำภาษาเอลฟ์ หมายถึง "พลังอำนาจแห่งพิภพ" รูปคำ วาลาร์ (Valar) เป็นพหูพจน์ คำเอกพจน์คือ วาลา (Vala).
ตำนานแห่งซิลมาริลและวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ) · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและวาลา (มิดเดิลเอิร์ธ) ·
อาร์ดา
อาร์ดา (Arda) เป็นชื่อดินแดนในจินตนิยายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ในปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งใช้ในความหมายแทนโลกของเราทั้งหมด อาร์ดาประกอบด้วยทวีปใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ มิดเดิลเอิร์ธ อามัน และ กาฬทวีป มีมหาสมุทรหลายแห่ง ที่สำคัญคือ มหาสาคร (The Great Sea) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เบเลกายร์ ในทะเลเบเลกายร์นี้เคยมีเกาะนูเมนอร์ ซึ่งล่มจมสมุทรไปตั้งแต่ยุคที่สองของอาร์ดา ดินแดนส่วนอื่นๆ ในอาร์ดามิได้ถูกเอ่ยถึง ตามปกรณัมของโทลคีน อาร์ดาเป็นส่วนหนึ่งของ เออา (Ea) คือจักรวาลแห่งพิภพที่มหาเทพอิลูวาทาร์สร้างขึ้นในสุญญภูมิ ด้วยการบรรเลงบทเพลงมหาคีตา ซึ่งมีจิตวิญญาณแรกเริ่ม (หรือไอนัวร์) ช่วยในการสร้างด้วย การสร้างครั้งนั้นเรียกว่า มหาคีตาแห่งไอนัวร์ เมื่อเออาถือกำเนิดขึ้น ไอนัวร์บางส่วนได้ลงมาอยู่ในโลกนี้เพื่อปกปักรักษาและตระเตรียมสถานที่ไว้ให้พร้อมสำหรับบุตรแห่งอิลูวาทาร์ ไอนัวร์ที่ลงมายังอาร์ดา พวกที่มีพลังอำนาจสูง เรียกว่า วาลาร์ ส่วนพวกที่มีฤทธิ์น้อยกว่า เรียกว่า ไมอาร์ ไอนัวร์เหล่านี้บางครั้งเรียกรวมๆ กันว่า ปวงเทพ โลกอาร์ดาแต่ดั้งเดิมเมื่อเริ่มสร้างนั้นเป็นแผ่นดินแบนๆ ที่ล้อมรอบด้วยทะเลวัฏฏะ (Encircling Sea) มีชื่อเรียกว่า เอคไคอา (Ekkaia) ข้างใต้เป็นโถงถ้ำมากมาย ข้างบนเป็นเขตห้วงเวหามีชื่อว่า อิลเมน แผ่นดินดั้งเดิมเป็นทวีปเดี่ยวตั้งอยู่ตรงกลาง มีทะเลสาบอยู่ใจกลางทวีป และมีเกาะอยู่กลางทะเลสาบนั้น ชื่อว่า เกาะอัลมาเรน เป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าวาลาร์และไมอาร์ เมื่อเกิดสงครามระหว่างปวงเทพขึ้น ทำให้แผ่นดินเกิดวินาศวอดวาย แตกเป็นทวีปต่างๆ พวกวาลาร์และไมอาร์จึงย้ายถิ่นฐานไปอาศัยอยู่บนทวีปอามัน ซึ่งอยู่ทางสุดตะวันตกของอาร์ดา ส่วนทวีปมิดเดิลเอิร์ธที่อยู่บริเวณกึ่งกลางอาร์ดา ได้กลายเป็นถิ่นฐานที่อาศัยของบรรดาบุตรแห่งอิลูวาทาร์ คือพวกเอลฟ์ และมนุษย์ มีมหาสาครหรือเบเลกายร์ กั้นกลางระหว่างสองทวีปนี้ ในช่วงปลายยุคที่สอง เมื่อมนุษย์ชาวนูเมนอร์เหิมเกริมจะบุกรุกทวีปอามันเพื่อช่วงชิงความเป็นอมตะ ปวงเทพจึงจมเกาะนูเมนอร์เสีย และย้ายทวีปอามันออกไปเสียจากโลก บันดาลให้โลกกลายเป็นโลกกลม แม้แล่นเรือไปทางตะวันตกจนสุดหล้า ก็จะหวนกลับมายังจุดตั้งต้นได้อีกครั้ง การจะไปถึงทวีปอามันได้ต้องเดินทางผ่านเส้นทางมุ่งตรง ซึ่งจะไปได้โดยพวกเอลฟ์เท่านั้น.
ตำนานแห่งซิลมาริลและอาร์ดา · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและอาร์ดา ·
อคัลลาเบธ
อคัลลาเบธ (Akallabêth) เป็นเนื้อหาส่วนที่สี่ในหนังสือเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ใน ปกรณัมชุดมิดเดิลเอิร์ธ เป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์การล่มสลายของเกาะนูเมนอร์ในยุคที่สองของอาร์ดา ซึ่งเป็นอาณาจักรของมนุษย์ชาวเอไดน์ที่ได้รับเป็นของขวัญจากเทพวาลาร์ คำว่า อคัลลาเบธ เป็นคำในภาษาอดูนาอิก มีความหมายว่า การล่มสลาย (The Downfallen) ภาษาเควนยาเรียกว่า อทาลันเท (Atalantë).
ตำนานแห่งซิลมาริลและอคัลลาเบธ · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและอคัลลาเบธ ·
คริสโตเฟอร์ โทลคีน
ริสโตเฟอร์ โรนัลด์ รูเอล โทลคีน (Christopher John Reuel Tolkien, 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 -) คือบุตรคนสุดท้ายของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ผู้เขียนลอร์ดออฟเดอะริงส์ เขาเป็นที่รู้จักกันดีจากการนำผลงานที่บิดาได้เขียนค้างไว้มาเรียบเรียงและตีพิมพ์ เขายังเป็นผู้วาดแผนที่ในเรื่องลอร์ดออฟเดอะริงส์ด้วย โดยได้ลงชื่อไว้ว่า C. J. R. T. The J. เมื่อเดือนเมษายน 2550 คริสโตเฟอร์ได้ตีพิมพ์นวนิยายที่บิดาได้เขียนเล่มใหม่ "ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Húrin)" ซึ่งโทลคีนได้ทำการเขียนในช่วงปี..
คริสโตเฟอร์ โทลคีนและตำนานแห่งซิลมาริล · คริสโตเฟอร์ โทลคีนและยุคที่สองแห่งอาร์ดา ·
นูเมนอร์
นูเมนอร์ (Númenor) เป็นชื่อเกาะแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ชุด เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ เป็นแผ่นดินที่แยกต่างหากออกมาจาก มิดเดิลเอิร์ธ มีแนวคิดในการประพันธ์มาจากแผ่นดินจมสมุทรแอตแลนติส ชื่อนูเมนอร์มาจากภาษาเควนยา ว่า Númenórë ซึ่งมีความหมายว่า แผ่นดินตะวันตก โทลคีนเขียนไว้ว่า เมื่อแปลงจากคำภาษาเควนยาเป็นภาษานูเมนอเรียน ชื่อนี้ออกเสียงเป็น อนาดูเน (Anadûnê).
ตำนานแห่งซิลมาริลและนูเมนอร์ · นูเมนอร์และยุคที่สองแห่งอาร์ดา ·
เบเลริอันด์
แผ่นดินเบเลริอันด์ เบเลริอันด์ (Beleriand) เป็นชื่อดินแดนแห่งหนึ่งในโลกจินตนาการ มิดเดิลเอิร์ธ งานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นดินมิดเดิลเอิร์ธ ทางฟากตะวันตกของเทือกเขาเอเร็ดลูอิน (หรือเทือกเขาสีน้ำเงิน ด้านตะวันตกของแคว้นไชร์ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์) ติดกับมหาสาคร หรือเบเลกายร์ ปรากฏเป็นฉากหลังสำคัญอยู่ในเรื่อง ซิลมาริลลิออน งานเขียนอื่นๆ ของโทลคีนที่เกี่ยวข้องกับแผ่นดินเบเลริอันด์ ได้แก่ The Lays of Beleriand, ตำนานบุตรแห่งฮูริน (The Children of Hurin), The Book of Lost Tales และอื่นๆ ในหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ อาณาเขตเบเลริอันด์ ด้านตะวันตกจรดทะเลเบเลกายร์ ด้านตะวันออกจรดเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ทิศเหนือจรดทุ่งอาร์ด-กาเลน ทิศใต้แผ่ไปถึงผืนป่าเทาร์-อิม-ดุยนัธ มีแม่น้ำสายหลักอยู่สองสาย ได้แก่แม่น้ำซิริออน กับแม่น้ำเกลิออน แม่น้ำซิริออนเป็นแม่น้ำใหญ่กว่า ไหลผ่านกึ่งกลางแผ่นดินเบเลริอันด์ แบ่งพื้นดินออกเป็นเบเลริอันด์ตะวันออก และเบเลริอันด์ตะวันตก ส่วนแม่น้ำเกลิออนแม้จะแคบกว่า แต่ยาวกว่า ไหลผ่านเบเลริอันด์ตะวันออกเลียบไปกับแนวเทือกเขาเอเร็ดลูอิน ฟากตะวันออกของเกลิออนเป็นแผ่นดินที่เรียกว่า ออสซิริอันด์ มีแควสาขาอีกหกสายไหลจากเอเร็ดลูอินลงมาบรรจบกับเกลิออน ดังนั้นบางครั้งก็เรียกดินแดนนี้ว่า 'แผ่นดินแห่งแม่น้ำทั้งเจ็ด' หรือ 'ดินแดนสัตตนที' แผ่นดินเบเลริอันด์ถึงคราววิบัติจนล่มจมลงสู่ใต้มหาสมุทร เมื่อครั้งสงครามแห่งความโกรธา อันเป็นสงครามเทพ ระหว่างทัพของวาลาร์ กับมอร์กอธ เป็นอันสิ้นสุดยุคที่หนึ่ง คงเหลือแต่เพียงแผ่นดินซึ่งเป็นที่ตั้งหลุมศพของมอร์เวน ทูริน และนิเอนอร์ ที่ยังโผล่พ้นมหาสมุทรอยู่ เรียกว่า 'โทลมอร์เวน'.
ตำนานแห่งซิลมาริลและเบเลริอันด์ · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและเบเลริอันด์ ·
เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน
. อาร.
ตำนานแห่งซิลมาริลและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและเจ. อาร์. อาร์. โทลคีน ·
เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์
อะลอร์ดออฟเดอะริงส์ (The Lord of the Rings) เป็นนิยายแฟนตาซีขนาดยาว ประพันธ์โดยศาสตราจารย์ชาวอังกฤษ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เป็นนิยายที่ต่อเนื่องกับนิยายชุดก่อนหน้านี้ของโทลคีน คือ เรื่อง There and Back Again หรือที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เดอะฮอบบิท แต่ได้ขยายโครงเรื่องซับซ้อนไปกว่า เดอะฮอบบิท มาก โทลคีนแต่งเรื่องนี้ขึ้นในช่วงปี..
ตำนานแห่งซิลมาริลและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ·
เซารอน
ซารอน (Sauron) เป็นตัวละครหลักฝ่ายอธรรมในนิยายเรื่องเดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เดิมเป็นเทพไมอา ซึ่งทำงานรับใช้จอมมารมอร์กอธ ภายหลังตั้งตัวเป็นใหญ่ เซารอนเป็นผู้หลอมสร้างแหวนเอก ซึ่งบรรจุพลังอำนาจมหาศาลเอาไว้ภายใน และสามารถบังคับควบคุมใครก็ตามที่สวมแหวนแห่งอำนาจวงอื่น.
ตำนานแห่งซิลมาริลและเซารอน · ยุคที่สองแห่งอาร์ดาและเซารอน ·
Unfinished Tales
ปก The Unfinished Tales วาดโดย Ted Nasmith Unfinished Tales เป็นหนังสือที่รวบรวมงานประพันธ์ของ เจ. อาร์. อาร์. โทลคีน เกี่ยวกับจักรวาลอาร์ดาและมิดเดิลเอิร์ธ ที่เขาเขียนไว้ยังไม่จบและยังไม่ได้ตีพิมพ์ เรียบเรียงขึ้นโดยบุตรชายคนที่สามของโทลคีน คือ คริสโตเฟอร์ โทลคีน ตีพิมพ์ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980) หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นวนิยาย ที่ต่อเนื่องเป็นเรื่องเดียวตลอดเล่ม เนื่องจากเป็นการรวบรวมงานเขียนชิ้นต่างๆ ของโทลคีนที่เขียนเอาไว้ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง ไม่ปะติดปะต่อกัน เนื้อหาหลายส่วนยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้างเนื่องจากยังไม่ได้แก้ไขเป็นบทสรุปสุดท้าย คริสโตเฟอร์ โทลคีน ได้รวบรวมส่วนที่เกี่ยวข้องกันมาไว้ด้วยกัน และแสดงหมายเหตุ หรือข้อสังเกตส่วนตัวเกี่ยวกับงานเขียนเหล่านั้น โดยพยายามเรียบเรียงให้ได้เนื้อหาที่ใกล้เคียงกับข้อสรุปสุดท้ายของโทลคีนให้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจในหนังสือเล่มนี้ คือรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการตั้งชื่อตัวละคร หรือชื่อสถานที่ต่างๆ บนมิดเดิลเอิร์ธ ซึ่งโทลคีนใส่ใจพิถีพิถันเป็นพิเศษ ทั้งในแง่ของความหมาย และความเป็นมา ถึงแก่ลงมือประพันธ์ประวัติศาสตร์ของชื่อสถานที่บางแห่ง ทำให้มีความสมจริงสมจังเป็นอย่างยิ่ง ข้อมูลในหนังสือ Unfinished Tales สามารถให้รายละเอียดเพิ่มเติมแก่ตัวละคร เหตุการณ์ หรือสถานที่บางแห่งที่ถูกกล่าวถึงเพียงย่อๆ ใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ รวมถึงความเป็นมาของแกนดัล์ฟ และเหล่าพ่อมด (อิสตาริ) และเรื่องราวโดยละเอียดในการที่แหวนเอกสูญหายไปจากการรับรู้ของผู้คนบนมิดเดิลเอิร์ธในตอนต้นของยุคที่สาม นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของเหตุการณ์ในยุคที่สอง โดยเฉพาะเรื่องราวของเกาะนูเมนอร์ ซึ่งไม่ใคร่ถูกกล่าวถึงมากนักทั้งใน เดอะลอร์ดออฟเดอะริงส์ และ ซิลมาริลลิออน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้จะตีพิมพ์ออกมาหลังจากโทลคีนถึงแก่กรรมไปแล้วหลายปี แต่ก็ยังได้รับการตอบรับจากผู้อ่านอย่างดียิ่ง ทำให้คริสโตเฟอร์ โทลคีน มีกำลังใจที่จะเรียบเรียงงานชิ้นอื่นๆ ของบิดาออกมาอีก เกิดเป็นหนังสือชุด ประวัติศาสตร์มิดเดิลเอิร์ธ จำนวน 12 เล่ม.
Unfinished Talesและตำนานแห่งซิลมาริล · Unfinished Talesและยุคที่สองแห่งอาร์ดา ·
รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้
- สิ่งที่ ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สองแห่งอาร์ดา มีเหมือนกัน
- อะไรคือความคล้ายคลึงกันระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สองแห่งอาร์ดา
การเปรียบเทียบระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สองแห่งอาร์ดา
ตำนานแห่งซิลมาริล มี 50 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุคที่สองแห่งอาร์ดา มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 11, ดัชนี Jaccard คือ 16.67% = 11 / (50 + 16)
การอ้างอิง
บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ตำนานแห่งซิลมาริลและยุคที่สองแห่งอาร์ดา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: