เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชั้นเซฟาโลพอดและเบเลมไนต์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและเบเลมไนต์

ชั้นเซฟาโลพอด vs. เบเลมไนต์

ั้น เซฟาโลพอด (Cephalopod) เป็นชั้นในไฟลัมมอลลัสคา เซฟาโลพอดมีลักษณะเด่นตรงที่ร่างกายสมมาตร มีส่วนศีรษะเด่นออกมา การดัดแปลงส่วนเท้าของมอลลัสคา (muscular hydrostat) ไปเป็นแขนหรือหนว. ลมไนต์ (หรือเบเลมนอยด์) เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลพวกเซฟาโลพอดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีลักษณะคล้ายกับหมึกกระดอง (cuttlefish) และหมึกกล้วย (squid) ในปัจจุบันมาก เบเลมไนต์เหมือนกับหมึกทั้งสองคือมีถุงหมึก แต่ไม่เหมือนหมึกกล้วยที่เบเลมไนต์มีแขน 10 แขนที่มีความยาวเกือบเท่ากันทั้งหมดแต่ไม่มีหนวด (tentacle) เบเลมไนต์พบมากในช่วงยุคจูแรสซิกและยุคครีเทเชียสโดยพบเป็นซากดึกดำบรรพ์พบมากทั้งมหายุคมีโซโซอิกโดยมักพบร่วมกับญาติๆใกล้ชิดของมันอย่างแอมโมไนต์ เบเลมไนต์ได้สูญพันธุ์ไปเมื่อสิ้นสุดยุคครีเทเชียสไปพร้อมๆกับแอมโมไนต์ ต้นกำเนิดของเบเลมไนต์อยู่ระหว่างนอติลอยด์อันดับแบคทรีติดาในยุคดีโวเนียน ส่วนของการ์ดของเบเลมไนต์สามารถพบได้ในชั้นหินตั้งแต่ยุคคาร์บอนิเฟอรัสตอนต้นเรื่อยมาจนถึงยุคครีเทเชียสร่วมกับซากดึกดำบรรพ์ของเซฟาโลพอดอื่นๆได้แก่บาคูไลต์ นอติลอยด์ และโกนิเอไทต์ ซากดึกดำบรรพ์เบเลมไนต์จากฟรังโคเนียน จูรา ปกติแล้วซากดึกดำบรรพ์ของเบเลมไนต์จะพบเฉพาะส่วนหลังของเปลือกกระดองที่เรียกกันว่า “การ์ด” หรือ “รอสตรัม” การ์ดนี้มีรูปร่างคล้ายกระสุนยาว มีลักษณะเป็นแท่งทรงกระบอกโดยปลายด้านหนึ่งจะแหลมหรือโค้งมน ที่ด้านหน้าของการ์ดจะเป็นรูกลวงเรียกว่า “อัลวีโอลัส” ซึ่งเป็นส่วนของเปลือกกระดองที่เป็นห้องรูปกรวยเรียกว่า “แฟรกโมโคน” ส่วนของแฟรกโมโคนนี้ปรกติจะพบเป็นชิ้นตัวอย่างในสภาพที่ดี ส่วนปลายด้านตรงข้ามกับแฟรกโมโคนจะเป็น “โปร-ออสทราคัม” บางๆ แฟรกโมโคนของเบเลมไนต์ก็เหมือนกับเปลือกกระดองของเซฟาโลพอดทั้งหลายที่ประกอบด้วยแร่อะราโกไนต์ การ์ดของเบเลมไนต์ประกอบขึ้นด้วยแร่แคลไซต์ดังนั้นจึงมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในสภาพที่สมบูรณ์ได้ การ์ดที่แตกหักได้แสดงโครงสร้างของเส้นใยแร่แคลไซต์เรียงตัวในแนวรัศมีและอาจแสดงเส้นเติบโตเป็นเส้นวงกลมซ้อนกันหลายๆวง ในเนื้อของการ์ดเป็นสิ่งที่มีลักษณะเฉพาะทางธรณีเคมีไอโซโทป ซึ่งการ์ดของเบเลมไนต์จากหมวดหินปีดียุคครีเทเชียส ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกานั้นได้ถูกใช้เป็นมาตรฐานโลก (*PDB*) ในการเทียบเคียงกับตัวอย่างที่จะทำการวัดค่าทางธรณีเคมีไอโซโทปทั้งของไอโซโทปของคาร์บอนและไอโซโทปของออกซิเจน การ์ด แฟรกโมโคน และโปร-ออสทราคัม เป็นสิ่งที่อยู่ภายในของตัวเบเลมไนต์ที่มีชีวิตเหมือนดังเป็นโครงกระดูกที่ถูกห่อหุ้มด้วยกล้ามเนื้อโดยรอบทั้งหมด ตัวมีชีวิตจริงๆจึงมีขนาดใหญ่กว่าเปลือกกระดองที่กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์และมีรูปร่างยาวที่ลู่ไปตามน้ำพร้อมด้วยดวงตาที่โดดเด่น การ์ดจะอยู่ต่อจากส่วนท้ายของตัวเบเลมไนต์โดยมีแฟรกโมโคนอยู่ด้านหลังของส่วนหัวที่ชี้ปลายไปทางด้านหลัง เบเลมไนต์ การ์ดของเบเลมไนต์ “เมกะทิวธิส จิแจนตี” ที่พบในยุโรปและเอเชียวัดความยาวได้ถึง 46 ซม.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและเบเลมไนต์

ชั้นเซฟาโลพอดและเบเลมไนต์ มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มอลลัสกาสัตว์หมึก (สัตว์)หมึกกล้วยนอติลอยด์แอมโมนอยด์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และชั้นเซฟาโลพอด · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และเบเลมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ชั้นเซฟาโลพอดและมอลลัสกา · มอลลัสกาและเบเลมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ชั้นเซฟาโลพอดและสัตว์ · สัตว์และเบเลมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

หมึก (สัตว์)

หมึก หรือที่นิยมเรียกกันว่า ปลาหมึก เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่ได้รวดเร็ว และว่องไว มีหนวดรอบปาก 4-5 คู่ บนหนวดมีปุ่มดูดเรียงเป็นแถว มีหน้าที่จับเหยื่อป้อนเข้าปาก เป็นสัตว์ที่มีอยู่ในไฟลัมมอลลัสกา ชั้นเซฟาโลพอดซึ่งเป็นชั้นของสัตว์ที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม ชั้นย่อย Coleoidea ต่างจากกลุ่มสัตว์ที่ใกล้เคียงกันคือ Nautiloidea ซึ่งมีเปลือกแข็งห่อหุ้มภายนอกร่างกาย แต่หมึกส่วนใหญ่กลับมีกระดูกหรือเปลือกอยู่ภายในเพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นทุ่นหรือพยุงร่างกาย ซึ่งเรียกว่า ลิ้นทะเล ยังมีบางชนิดที่ไม่มีกระดูก แต่มีกระดูกอ่อนทดแทนเพื่อใช้ในการพยุงโครงสร้างร่างกาย คำว่า Cephalopoda ซึ่งเป็นชื่อชั้นที่ใช้เรียกหมึก มาจากภาษากรีกแปลรวมกันว่า "สัตว์หัว-เท้า" (head-footed animals) เนื่องจากหมึกเป็นสัตว์ที่ไม่มีแขนขา เพียงแต่มีระยางค์ยื่นออกจากจากรอบ ๆ บริเวณปากเรียกว่า หนวด เท่านั้นเอง หมึกวิวัฒนาการมาจากมอลลัสกา ในปลายยุคแคมเบรียน หรือราว 500 ล้านปีก่อน แต่กระนั้นหมึกและหอยในยุคปัจจุบันนี้ ก็ยังมีระบบทางร่างกายหลายอย่างเหมือนกัน กล่าวคือ ระบบทางเดินอาหาร, ปาก, ฟัน และกล้ามเนื้อแบบแมนเทิล ปัจจุบัน ได้มีการค้นพบหมึกแล้วว่า 1,000 ชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุด คือ หมึกมหึมา (Mesonychoteuthis hamiltoni) ซึ่งเป็นหมึกในอันดับหมึกกล้วย อาศัยอยู่ในห้วงน้ำลึกของมหาสมุทรแอตแลนติก อาจยาวได้ถึง 14 เมตร นับเป็นสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย และเล็กที่สุดมีขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตรด้วยซ้ำ เช่น หมึกในวงศ์ Idiosepiidae เป็นต้น หมึกมีความสำคัญต่อมนุษย์ในแง่ของการใช้เป็นอาหารมาช้านาน ในแทบทุกวัฒนธรรม หมึกถือเป็นสัตว์ทะเลที่ใช้ปรุงเป็นอาหาร ซึ่งสามารถปรุงสุดได้ทั้งสดและตากแห้ง เช่น ในอาหารไทย เช่น หมึกผัดกะเพรา หรือ หมึกย่าง เป็นต้น นอกจากนี้แล้วยังใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะลิ้นทะเล ซึ่งมีแคลเซียมเป็นจำนวนมาก จึงนิยมให้นกหรือสัตว์ปีกกินเพื่อเพิ่มแคลเซียมในร่างกาย นอกจากนี้แล้ว หมึกยังมักถูกอ้างอิงถึงในวรรณกรรมประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะหมึกยักษ์หรือหมึกที่มีขนาดใหญ่ เช่น โจมตีใส่เรือดำน้ำนอติลุสของกัปตันนีโม ในนวนิยายวิทยาศาสตร์เรื่อง Twenty Thousand Leagues Under the Sea เป็นต้น สำหรับหมึกที่พบในน่านน้ำไทย ได้แก่ หมึกกระดองลายเสือ (Sepia pharaonis), หมึกกล้วย (Photololigo duvauceli), หมึกหอม (Sepioteuthis lessoniana), หมึกสายราชา (Octopus rex) เป็นต้น เลือดปลาหมึกมีสีน้ำเงิน.

ชั้นเซฟาโลพอดและหมึก (สัตว์) · หมึก (สัตว์)และเบเลมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

หมึกกล้วย

ลื่อนไหวของหมึกหอม หมึกกล้วย เป็นมอลลัสคาประเภทหมึกอันดับหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Teuthida.

ชั้นเซฟาโลพอดและหมึกกล้วย · หมึกกล้วยและเบเลมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

นอติลอยด์

นอติลอยด์ คือกลุ่มของหอยทะเล (ไฟลั่มมอลลัสก้า) ในชั้นย่อย นอติลอยดี ที่มีเปลือกห่อหุ้มภายนอกที่รู้จักกันดีคือหอยงวงช้างในปัจจุบัน (Nautilus spp.) พบปรากฏโดดเด่นในช่วงต้นของมหายุคพาลีโอโซอิกในฐานะสัตว์นักล่าโดยได้พัฒนาเปลือกกระดองทั้งรูปแบบและรูปร่างที่หลากหลาย พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ประมาณ 2,500 ชนิด แต่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันเพียง 6 ชนิดเท่านั้น.

ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์ · นอติลอยด์และเบเลมไนต์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมนอยด์

แอมโมนอยด์ เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ในทางชีววิทยาได้จัดให้อยู่ในชั้นย่อย แอมโมนอยดี ของชั้นเซฟาโลพอด ในไฟลั่มหอยหรือมอลลัสกา แอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีสามารถใช้กำหนดอายุของชั้นหินในทางธรณีวิทยาได้ ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของแอมโมไนต์อาจจะไม่ใช่หอยวงช้าง (''Nautilus'' spp.) แม้จากลักษณะภายนอกแล้วจะมีความใกล้เคียงกันมาก แต่แท้จริงแล้วอาจมีความใกล้ชิดกับพวกในชั้นย่อยโคโลอิดี คือพวกหมึกและออคโตปุส ปรกติแล้วเปลือกกระดองจะขดม้วนในแนวระนาบ แม้ว่าจะพบบ้างว่ามีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวและแบบไม่มีการขดม้วนเลยก็มี (เฮตเทอโรมอร์พ) ชื่อ “แอมโมไนต์” มาจากลักษณะของเปลือกกระดองที่มีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวดังที่พบเปลือกกระดองเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขดม้วนกันแน่นแบบเขาแกะ Pliny the Elder (d. 79 A.D. near Pompeii) เรียกซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ชนิดนี้ว่า “ammonis cornua” (เขาของแอมมอน) เพราะว่า แอมมอน แอมุน เทพเจ้าของชาวอียิปต์จะสวมเขาแกะ ชื่อสกุลของแอมโมไนต์จะพบว่าลงท้ายด้วยว่า -“ceras” บ่อยๆซึ่งหมายถึงเขาสัตว์นั่นเอง เช่น Pleuroceras เป็นต้น.

ชั้นเซฟาโลพอดและแอมโมนอยด์ · เบเลมไนต์และแอมโมนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและเบเลมไนต์

ชั้นเซฟาโลพอด มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ เบเลมไนต์ มี 19 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 24.14% = 7 / (10 + 19)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและเบเลมไนต์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: