เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์

ชั้นเซฟาโลพอด vs. นอติลอยด์

ั้น เซฟาโลพอด (Cephalopod) เป็นชั้นในไฟลัมมอลลัสคา เซฟาโลพอดมีลักษณะเด่นตรงที่ร่างกายสมมาตร มีส่วนศีรษะเด่นออกมา การดัดแปลงส่วนเท้าของมอลลัสคา (muscular hydrostat) ไปเป็นแขนหรือหนว. นอติลอยด์ คือกลุ่มของหอยทะเล (ไฟลั่มมอลลัสก้า) ในชั้นย่อย นอติลอยดี ที่มีเปลือกห่อหุ้มภายนอกที่รู้จักกันดีคือหอยงวงช้างในปัจจุบัน (Nautilus spp.) พบปรากฏโดดเด่นในช่วงต้นของมหายุคพาลีโอโซอิกในฐานะสัตว์นักล่าโดยได้พัฒนาเปลือกกระดองทั้งรูปแบบและรูปร่างที่หลากหลาย พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ประมาณ 2,500 ชนิด แต่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันเพียง 6 ชนิดเท่านั้น.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์

ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์ มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์มอลลัสกาสัตว์นอติลอยด์แอมโมนอยด์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ หรือ การจำแนกชั้นทางชีววิทยา (Systematics) หมายถึงการจัดกลุ่มและหมวดหมู่สปีชีส์ของสิ่งมีชีวิต ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่สูญพันธุ์ไปแล้ว การจำแนกในยุคปัจจุบันอาศัยรากฐานจากระบบการจำแนกของ คาโรลัส ลินเนียส นักพฤกษศาสตร์ผู้จัดกลุ่มสปีชีส์ต่าง ๆ โดยดูจากลักษณะเฉพาะทางกายภาพ การจัดกลุ่มแบบนี้ได้มีการปรับปรุงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับหลักดาร์วิน ส่วนมากเป็นผลมาจากการศึกษาอนุกรมวิธานระดับโมเลกุลด้วยการวิเคราะห์จีโนม ในการแบ่งอย่างกว้างๆจะแบ่งได้ 2 ระดับ คือ ลำดับขั้นสูง และ ลำดับขั้นต่ำ.

การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และชั้นเซฟาโลพอด · การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์และนอติลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

มอลลัสกา

มอลลัสกา (ไฟลัม: Mollusca, เสียงอ่าน) เป็นไฟลัมหนึ่งของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง คือสัตว์ที่มีลำตัวนิ่ม ส่วนใหญ่มีเปลือกแข็งหุ้มอยู่ภายนอก พบทั้งบนบก น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย ดำรงชีวิตเป็นอิสระ มีต่อมเมือกตามผิวลำตัว ระบบอวัยวะมีความซับซ้อน ลำตัวสั้น ด้านหน้าเป็นส่วนหัว ด้านล้างเป็นแผ่นเท้าสำหรับเคลื่อนที่และว่ายน้ำ ด้าบบนมีแมนเทิลที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็ง ภายในช่องปากมีแรดูลา ยกเว้นในหอยสองฝา ช่วยในการกินอาหาร มีต่อมน้ำลายและตับช่วยสร้างน้ำย่อย ระบบหมุนเวียนเลือดประกอบด้วยหัวใจอยู่ด้านบนและเส้นเลือดไปตามส่วนต่างๆ ระบบขับถ่ายมีเนฟริเดียม ระบบหายใจประกอบด้วยเหงือกหรือถุงหายใจที่คล้ายปอด ระบบประสาทมีปมประสาทสามคู่และมีเส้นประสาทยึดระหว่างปม มีอวัยวะสำหรับรับภาพ กลิ่นและการทรงตัว ระบบสืบพันธุ์ส่วนใหญ่แยกเพศ มีบางพวกไม่แยกเพศและเปลี่ยนเพศได้ มีการปฏิสนธิทั้งแบบภายในและภายนอก สัตว์ในไฟลัมมอลลัสกาเรียกโดยรวมว่า มอลลัสก์ (mollusc, mollusk).

ชั้นเซฟาโลพอดและมอลลัสกา · นอติลอยด์และมอลลัสกา · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ชั้นเซฟาโลพอดและสัตว์ · นอติลอยด์และสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

นอติลอยด์

นอติลอยด์ คือกลุ่มของหอยทะเล (ไฟลั่มมอลลัสก้า) ในชั้นย่อย นอติลอยดี ที่มีเปลือกห่อหุ้มภายนอกที่รู้จักกันดีคือหอยงวงช้างในปัจจุบัน (Nautilus spp.) พบปรากฏโดดเด่นในช่วงต้นของมหายุคพาลีโอโซอิกในฐานะสัตว์นักล่าโดยได้พัฒนาเปลือกกระดองทั้งรูปแบบและรูปร่างที่หลากหลาย พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ประมาณ 2,500 ชนิด แต่อยู่รอดมาจนถึงปัจจุบันเพียง 6 ชนิดเท่านั้น.

ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์ · นอติลอยด์และนอติลอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

แอมโมนอยด์

แอมโมนอยด์ เป็นกลุ่มของสัตว์ทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ในทางชีววิทยาได้จัดให้อยู่ในชั้นย่อย แอมโมนอยดี ของชั้นเซฟาโลพอด ในไฟลั่มหอยหรือมอลลัสกา แอมโมไนต์เป็นซากดึกดำบรรพ์ดัชนีที่ดีสามารถใช้กำหนดอายุของชั้นหินในทางธรณีวิทยาได้ ญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของแอมโมไนต์อาจจะไม่ใช่หอยวงช้าง (''Nautilus'' spp.) แม้จากลักษณะภายนอกแล้วจะมีความใกล้เคียงกันมาก แต่แท้จริงแล้วอาจมีความใกล้ชิดกับพวกในชั้นย่อยโคโลอิดี คือพวกหมึกและออคโตปุส ปรกติแล้วเปลือกกระดองจะขดม้วนในแนวระนาบ แม้ว่าจะพบบ้างว่ามีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวและแบบไม่มีการขดม้วนเลยก็มี (เฮตเทอโรมอร์พ) ชื่อ “แอมโมไนต์” มาจากลักษณะของเปลือกกระดองที่มีการขดม้วนเป็นรูปเกลียวดังที่พบเปลือกกระดองเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่ขดม้วนกันแน่นแบบเขาแกะ Pliny the Elder (d. 79 A.D. near Pompeii) เรียกซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์ชนิดนี้ว่า “ammonis cornua” (เขาของแอมมอน) เพราะว่า แอมมอน แอมุน เทพเจ้าของชาวอียิปต์จะสวมเขาแกะ ชื่อสกุลของแอมโมไนต์จะพบว่าลงท้ายด้วยว่า -“ceras” บ่อยๆซึ่งหมายถึงเขาสัตว์นั่นเอง เช่น Pleuroceras เป็นต้น.

ชั้นเซฟาโลพอดและแอมโมนอยด์ · นอติลอยด์และแอมโมนอยด์ · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์

ชั้นเซฟาโลพอด มี 10 ความสัมพันธ์ขณะที่ นอติลอยด์ มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 20.83% = 5 / (10 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ชั้นเซฟาโลพอดและนอติลอยด์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: