เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทฤษฎีแนววิพากษ์

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทฤษฎีแนววิพากษ์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ vs. ทฤษฎีแนววิพากษ์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (international relations) หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ. ทฤษฎีแนววิพากษ์ (critical theory) เป็นสำนักคิดที่เน้นย้ำการประเมินสะท้อนและการวิพากษ์สังคมและวัฒนธรรมโดยการประยุกต์ความรู้จากสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คำว่า "ทฤษฎีแนววิพากษ์" มีสองความหมาย ที่มีจุดกำเนิดและประวัติศาสตร์ต่างกัน คำแรกกำเนิดในวิชาสังคมวิทยา และอีกคำหนึ่งกำเนิดในวิชาวรรณคดีวิจารณ์ โดยที่มีการใช้และประยุกต์เป็นคำรวม ๆ ที่สามารถอธิบายทฤษฎีที่ตั้งอยู่บนการวิพากษ์ ฉะนั้น นักทฤษฎี มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ (Max Horkheimer) อธิบายว่าทฤษฎีหนึ่งเป็นแนววิพากษ์ตราบเท่าที่ทฤษฎีนั้นมุ่ง "ปลดปล่อยมนุษย์จากพฤติการณ์ท่ี่ทำให้เป็นทาส" ในวิชาสังคมวิทยาและปรัชญาการเมือง คำว่า "ทฤษฎีแนววิพากษ์" อธิบายปรัชญาลัทธิมากซ์ใหม่ของสำนักแฟรงก์เฟิร์ต ซึ่งมีการพัฒนาในประเทศเยอรมนีในคริสต์ทศวรรษ 1930 การใช้คำนี้ในภาษาอังกฤษจะต้องใช้ตัวใหญ่เป็นวิสามานายาม (Critical Theory) ส่วนทฤษฎีแนววิพากษ์ (a critical theory) อาจมีส่วนประกอบของความคิดคล้ายกัน แต่ไม่เน้นการสืบทางปัญญาโดยเฉพาะจากสำนักแฟรงก์เฟิร์ต นักทฤษฎีสำนักแฟรงก์เฟิร์ตนำวิธีการวิพากษ์จากคาร์ล มากซ์ และซิกมุนด์ ฟรอยด์ ทฤษฎีแนววิพากษ์ยืนยันว่าอุดมการณ์เป็นอุปสรรคหลักของการปลดปล่อยมนุษย์ นักทฤษฎีสำนักแฟรงก์เฟิร์ต เฮอร์เบิร์ต มาร์คูเซอ (Herbert Marcuse), ทีโอดอร์ อะดอร์โน (Theodor Adorno), วัลเทอร์ เบนจามิน (Walter Benjamin), และอีริช ฟรอมม์ (Erich Fromm) เป็นบุคคลหลักในการตั้งทฤษฎีแนววิพากษ์เป็นสำนักคิด ทฤษฎีแนววิพากษ์สมัยใหม่ได้รับอิทธิพลเพิ่มเติมจากจอร์จี ลูกัช (György Lukács) และอันโตนีโอ กรัมชี ตลอดจนนักวิชาการสำนักแฟรงก์เฟิร์ตรุ่นที่สอง คนสำคัญคือ เยือร์เกิน ฮาเบอร์มัส (Jürgen Habermas) ในงานของฮาเบอร์มัส ทฤษฎีแนววิพากษ์ดีกว่าเหง้าทฤษฎีของมันในจิตนิยมเยอรมันและก้าวหน้าใกล้เคียงกับปฏิบัตินิยมอเมริกัน ความกังวลสำหรับ "ฐานและโครงสร้างส่วนบน (superstructure)" ทางสังคมเป็นมโนทัศน์ปรัชญาลัทธิมากซ์ที่ยังเหลืออยู่อันหนึ่งในทฤษฎีแนววิพากษ์ร่วมสมัยจำนวนมาก แม้นักทฤษฎีแนววิพากษ์มักนิยามบ่อยครั้งเป็นปัญญาชนลัทธิมากซ์ แต่แนวโน้มของพวกเขาในการประณามมโนทัศน์บางอย่างของลัทธิมากซ์ และการผสมการวิเคราะห์แบบมากซ์กับขนบธรรมเนียมทางสังคมวิทยาและปรัชญาอย่างอื่นทำให้นักลัทธิมากซ์คลาสสิก ทรรศนะดั้งเดิมและวิเคราะห์ ตลอดจนนักปรัชญาลัทธิมากซ์–เลนินกล่าวหาว่าเป็นลัทธิแก้ มาร์ติน เจย์แถลงว่า ทฤษฎีแนววิพากษ์รุ่นแรกเข้าใจกันดีว่าไม่เป็นการสนับสนุนวาระปรัชญาหรืออุดมการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เป็น "เหลือบของระบบอื่น"Jay, Martin (1996) The Dialectical Imagination: A History of the Frankfurt School and the Institute of Social Research, 1923–1950.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทฤษฎีแนววิพากษ์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทฤษฎีแนววิพากษ์ มี 0 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย)

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทฤษฎีแนววิพากษ์

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มี 4 ความสัมพันธ์ขณะที่ ทฤษฎีแนววิพากษ์ มี 8 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 0, ดัชนี Jaccard คือ 0.00% = 0 / (4 + 8)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและทฤษฎีแนววิพากษ์ หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: