โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ดัชนี ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (international relations) หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก เป็นแขนงหนึ่งของวิชารัฐศาสตร์ เป็นหลักปฏิบัติและการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางนโยบายระหว่างประเทศ ซึ่งครอบคลุมทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ หมวดหมู่:ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.

4 ความสัมพันธ์: การเมืองรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทยเศรษฐกิจ

การเมือง

การเมือง (politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา '''ฮาโรลด์ ลาสเวลล์''' นักโทษคนหนึ่ง ได้นิยามการเมืองว่า เป็นการตัดสินว่า "ใครจะได้อะไร เมื่อใด และอย่างไร" วิชาแนะแนวคือ วิชาที่ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และวิเคราะห์การได้มาซึ่งอำนาจและการนำอำนาจไปใช้ ซึ่งหมายถึง ความสามารถที่จะบังคับให้ผู้อื่นกระทำตามสิ่งที่ตนตั้งใ.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและการเมือง · ดูเพิ่มเติม »

รัฐศาสตร์

รัฐศาสตร์ (political science) เป็นสาขาวิชาที่เกิดขึ้นในราวศตวรรษที่ 19 ซึ่งนักรัฐศาสตร์ยุคแรกนั้นพัฒนากระบวนวิชาขึ้นมาให้สอดคล้องกับแนวนิยมทางวิทยาศาสตร์ สารานุกรมบริทานิกา คอนไซส์ (Britanica Concise Encyclopedia) อธิบายรัฐศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครองและการเมืองด้วยแนวทางประจักษ์นิยม (empiricism) นักรัฐศาสตร์คือนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามแสวงหา และทำความเข้าใจธรรมชาติของการเมือง ส่วนพจนานุกรมการเมืองของออกซ์ฟอร์ด (Oxford Dictionary of Politics) นิยามว่า รัฐศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องรัฐ รัฐบาล/การปกครอง (government) หรือการเมือง กล่าวอย่างรวบรัดรัฐศาสตร์เป็นวิชาในสายสังคมศาสตร์ สาขาหนึ่งซึ่งแบ่งการศึกษาออกเป็นสาขาต่างๆ อาทิ ปรัชญาการเมือง ประวัติศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ความคิดทางการเมือง ทฤษฎีการเมือง อุดมการณ์ทางการเมือง การบริหารรัฐกิจ หรือการบริหารจัดการสาธารณะ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ การเมืองเปรียบเทียบ (comparative politics), การพัฒนาการเมือง, สถาบันทางการเมือง, การเมืองระหว่างประเทศ การปกครองและการบริหารรัฐ (national politics), การเมืองการปกครองท้องถิ่น (local politics) เป็นต้น ซึ่งสาขาต่างๆเหล่านี้อาจแปรเปลี่ยนไปตามแต่ละสถาบันว่าจะจัดการเรียนการสอนอย่างไร อย่างไรก็ตามหากจะเรียกว่าการจัดกระบวนวิชาใดนั้นเป็นรัฐศาสตร์หรือไม่ ก็ขึ้นกับว่าการจัดการเรียนการสอนดังกล่าวใช้มโนทัศน์ "การเมือง" เป็นมโนทัศน์หลัก (crucial concept/key concept) หรือไม่ แต่โดยจารีตของกระบวนวิชา(scholar) นั้นรัฐศาสตร์ จะมีสาขาย่อยที่เป็นหลักอย่างน้อย 3 สาขาคือ สาขาการปกครอง (government), สาขาการบริหารกิจการสาธารณะ (public administration) และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ(international relation).

ใหม่!!: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและรัฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย

วามสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ปัจจุบันอยู่ภายใต้อำนาจจัดการของกระทรวงการต่างประเทศ (ประเทศไทย) ประเทศไทยเข้าไปมีส่วนร่วมทั้งในองค์การระหว่างประเทศและองค์การระดับภูมิภาค โดยได้พัฒนาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ซึ่งได้จัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจและการต่างประเทศประจำปี ความร่วมมือในภูมิภาคกำลังก้าวไปข้างหน้าทั้งในด้านเศรษฐกิจ การค้า การธนาคาร การเมืองและวัฒนธรรม ในปี 2546 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปก ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรีของไทย ปัจจุบันรับตำแหน่งเลขาธิการใหญ่การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ในปี 2548 ประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำเอเชียตะวันออกเป็นครั้งแรก เมื่อเร็ว ๆ นี้ ประเทศไทยได้เข้ามามีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในเวทีระหว่างประเทศ เมื่อติมอร์-เลสเตได้รับเอกราชจากอินโดนีเซีย ประเทศไทย เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ได้ส่งกองกำลังเพื่อความพยายามรักษาสันติภาพนานาชาติ และเพื่อความพยายามในการเพิ่มความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ประเทศไทยจึงได้ยื่นมือออกไปยังองค์การระดับภูมิภาคอื่น ๆ อย่างเช่น องค์การนานารัฐอเมริกัน (OAS) และองค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป (OSCE) ประเทศไทยยังได้ส่งทหารเข้าร่วมในความพยายามฟื้นฟูประเทศอัฟกานิสถานและอิรักอีกด้ว.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐกิจ

รษฐกิจ (economy) นั้น พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 นิยามว่า "งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่ายจ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน." รวมถึงด้านการใช้บริการและการท่องเที่ยวที่มีปัจจัยกระตุ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ เศรษฐกิจยังอาจอธิบายได้ว่าเป็นเครือข่ายจำกัดโดยพื้นที่และเครือข่ายสังคมที่ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตามอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้มีส่วนโดยการแลกเปลี่ยนหรือสื่อกลางการแลกเปลี่ยนด้วยมูลค่าเครดิตหรือเดบิตที่ยอมรับกันภายในเครือข่าย เศรษฐกิจหนึ่ง ๆ เป็นผลมาจากกระบวนการซึ่งเกี่ยวข้องทั้งวิวัฒนาการทางเทคโนโลยี ประวัติศาสตร์และสถาบันสังคม เช่นเดียวกับภูมิศาสตร์ การมีทรัพยากรธรรมชาติ และนิเวศวิทยา เป็นปัจจัยหลัก ปัจจัยเหล่านี้ให้บริบท สาร ตลอดจนจัดสภาพและตัวแปรซึ่งเศรษฐกิจทำงานอยู่ หมวดหมู่:ระบบเศรษฐกิจ หมวดหมู่:เศรษฐศาสตร์.

ใหม่!!: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและเศรษฐกิจ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

การเมืองระหว่างประเทศ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »