โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การโจมตีเคมีที่ดูมาและสงครามกลางเมืองซีเรีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและสงครามกลางเมืองซีเรีย

การโจมตีเคมีที่ดูมา vs. สงครามกลางเมืองซีเรีย

วันที่ 7 เมษายน 2561 เกิดการโจมตีเคมีตามรายงานในนครดูมา (Douma) ประเทศซีเรีย โดยมีผู้เสียชีวิตตามกล่าวหาประมาณ 42–70 คน รัฐบาลซีเรียและพันธมิตรคัดค้านรายงานนี้ซึ่งปฏิเสธว่าไม่มีการโจมตีเคมีใด ๆ เกิดขึ้น. งครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยการปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย รัสเซียเข้าร่วมปฏิบัติการทางอากาศตั้งแต่เดือนกัยายน 2558 เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่างชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภูมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน" ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี (FSA) ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ฝ่ายแนวร่วมนานาชาติที่มีสหรัฐเป็นผู้นำมีการสถาปนาขึ้นในปี 2557 โดยมีวัตถุประสงค์ที่ประกาศไว้ว่าเพื่อตอบโต้ ISIL และได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศต่อ ISIL ในซีเรีย ตลอดจนเป้าหมายบะอัธซีเรียและให้การสนับสนุนต่อสหพันธรัฐประชาธิปไตยซีเรียเหนือ สหรัฐเลิกให้การสนับสนุนด้านอาวุธโดยตรงต่อ FSA ในปี 2560; ปลายปี 2560 อิทธิพลและดินแดนควบคุมของ ISIL เสื่อมลง จนซีเรียประกาศว่าประเทศได้รับการปลดปล่อยจาก ISIL แล้ว ด้านตุรกีมีความเกี่ยวข้องในสงครามตั้งแต่ปี 2559 และสนับสนุนฝ่ายค้านซีเรียอย่างแข็งขันและยึดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้างทางภาคเหนือของประเทศซีเรีย องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยการสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและสงครามกลางเมืองซีเรีย

การโจมตีเคมีที่ดูมาและสงครามกลางเมืองซีเรีย มี 7 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียการโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560คลอรีนซารินประเทศเลบานอนเดอะนิวยอร์กไทมส์เนโท

การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

หประชาชาติยืนยันการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งมีการโจมตีจนมีผู้เสียชีวิตได้แก่ การโจมตีที่กูตาในชานกรุงดามัสกัสในเดือนสิงหาคม 2556 และการโจมตีคันอัลอะซัล (Khan al-Assal) ในชานนครอะเลปโปในเดือนมีนาคม 2556 แม้ไม่มีฝ่ายใดอ้างความรับผิดชอบของการโจมตีเคมีดังกล่าว แต่กองทัพบะอัธซีเรียเป็นผู้ต้องสงสัยหลักเนื่องจากมีคลังอาวุธเคมีขนาดใหญ่ คณะผู้แทนหาข้อเท็จจริงของยูเอ็นและคณะกรรมการสืบสวนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) สืบสวนการโจมตีดังกล่าวพร้อมกัน คณะผู้แทนของยูเอ็นพบว่าน่าจะมีการใช้สารออกฤทธิ์ต่อประสาทซารินในกรณีของคันอัลอะซัล (19 มีนาคม 2556), ซะเราะกิบ (29 เมษายน 2556), กูตา (21 สิงหาคม 2556), โญบัร (24 สิงหาคม 2556) และอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ (25 สิงหาคม 2556) ต่อมา คณะกรรมการ UNHRC ยืนยันการใช้ซารินในการโจมตีที่คันอัลอะซัล, ซะเราะกิบและกูตา แต่ไม่กล่าวถึงโญบัรและอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ คณะกรรมาร UNHRC ยังพบว่าซารินที่ใช้ในการโจมตีที่คันอัลอะซัลมี "เครื่องหมายเอกลักษณ์เดียวกัน" กับซารินที่ใช้ในการโจมตีที่กูตาและบ้งชี้ว่าผู้ลงมือน่าจะเข้าถึงสารเคมีจากคลังของกองทัพซีเรีย การโจมตีดังกล่าวทำให้ประชาคมนานาชาติกดดันการปลดอาวุธเคมีของกองทัพซีเรียซึ่งมีการปฏิบัติในปี 2557 แม้มีกระบวนการปลดอาวุธ แต่ยังมีเหตุการณ์หลายสิบครั้งที่สงสัยการใช้อาวุธเคมีทั่วประเทศซีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวโทษต่อกำลังบะอัธซีเรีย ตลอดจนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ แลแม้แต่กำลังฝ่ายค้านซีเรียและกองทัพตุรกี ในเดือนสิงหาคม 2559 รายงานของสหประชาชาติและองค์การห้ามอาวุธเคมีกล่าวโทษกองทัพซีเรียของประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดอย่างเปิดเผยว่าหย่อนอาวุธเคมี (ระเบิดคลอรีน) ใส่เมืองทัลมะนัสในเดือนเมษายน 2557 และซาร์มินในเดือนมีนาคม 2558 และ ISIS ว่าใช้ซัลเฟอร์มัสตาร์ดใส่เมืองมะเรีย (Marea) ในเดือนสิงหาคม 2558 มีการกล่าวหา รายงานและสอบสวน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการโจมตีอีกหลายครั้ง ในเดือนธันวาคม 2559 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คนในการโจมตีที่ดูเหมือนใช้แก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทในหมู่บ้านที่ IS ถือครองใกล้อุเกาะริเราะบัต นับเป็นการโจมตีด้วยแก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทใหญ่ครั้งแรกนับแต่ข้อตกลงปี 2556 ในเดือนเมษายน 2560 การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูนเรียกการประณามจากนานาประเทศและกระตุ้นปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกของสหรัฐต่อฐานทัพซีเรียที่ชะอิรัต.

การโจมตีเคมีที่ดูมาและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย · การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560

วันที่ 4 เมษายน 2560 เมืองคอนชัยคูน (Khan Shaykhun) ในเขตผู้ว่าการอิดลิบ ประเทศซีเรีย ซึ่งตะห์รีรุชชามควบคุมอยู่ ถูกโจมตีทางอากาศด้วยแก๊สซาริน ตามด้วยการถูกพิษเคมีของพลเรือนขนานใหญ่ เหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 58 คน และบาดเจ็บกว่า 300 คน ตามข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขอิดลิบ หากยืนยัน เหตุโจมตีดังกล่าวจะเป็นการใช้อาวุธเคมีครั้งที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในสงครามกลางเมืองซีเรียนับตั้งแต่การโจมตีเคมีที่ฆูเฏาะฮ์ในปี 2556 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร บอริส จอห์นสัน กล่าวโทษเหตุดังกล่าวว่ากำลังของประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัดเป็นผู้ลงมือ ฝ่ายรัฐบาลรัสเซียและซีเรียกล่าวว่าเกิดจากกองทัพอากาศซีเรียทำลายโกดังอาวุธเคมีของฝ่ายกบฏในละแวกนั้น สหรัฐตอบโต้โดยปล่อยขีปนาวุธร่อน 59 ลูกใส่ฐานทัพอากาศชะอิรัต ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของเหตุโจมตีดังกล่าว.

การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560และการโจมตีเคมีที่ดูมา · การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560และสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

คลอรีน

ลอรีน (Chlorine) (จากภาษากรีกว่า Chloros แปลว่าสี "เขียวอ่อน") เป็นธาตุเคมีที่มีเลขอะตอม 17 และสัญลักษณ์ Cl เป็นแฮโลเจน พบในตารางธาตุ ในกลุ่ม 17 เป็นส่วนของเกลือทะเลและสารประกอบอื่น ๆ ปรากฏมากในธรรมชาติ และจำเป็นต่อสิ่งมีชวิตส่วนใหญ่ รวมถึงมนุษย์ด้วย ในรูปของก๊าซ คลอรีนมีสีเขียวอมเหลือง มีน้ำหนักมากกว่าอากาศ 2.5 เท่า มีกลิ่นเหม็นอย่างรุนแรง และเป็นพิษอย่างร้ายแรง เป็นตัวออกซิไดซ์ ฟอกขาว และฆ่าเชื้อได้เป็นอย่างดี.

การโจมตีเคมีที่ดูมาและคลอรีน · คลอรีนและสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ซาริน

ซาริน หรือจีบี เป็นสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส มีสูตรเคมี CH3P(O)F ซารินเป็นของเหลวไร้สี ไร้กลิ่น.

การโจมตีเคมีที่ดูมาและซาริน · ซารินและสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเลบานอน

ลบานอน (Lebanon; لُبْنَان) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐเลบานอน (Republic of Lebanon, Lebanese Republic; جمهورية لبنان) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และถือเป็นหนึ่งใน 15 ดินแดนที่ประกอบเป็น "แหล่งกำเนิดแห่งมนุษยชาติ" (Cradle of Humanity) เลบานอนมีพรมแดนติดกับประเทศซีเรียและประเทศอิสราเอล พรมแดนที่ติดกับประเทศอิสราเอลได้รับการรับรองจากองค์การสหประชาชาติแล้ว แต่พื้นที่บางส่วน เรียกว่า "ชีบาฟาร์ม" (Shebaa farms) ตั้งอยู่ในที่ราบสูงโกลันยังคงครอบครองโดยอิสราเอล ซึ่งอ้างว่าเป็นพื้นที่ของซีเรีย กองทัพต่อต้านอ้างว่า "ชีบาฟาร์ม" เป็นพื้นที่ของเลบานอน และในบางโอกาสก็โจมตีที่มั่นของอิสราเอลภายในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากนี้ ซีเรียบำรุงรักษากองทัพที่มีทหารประมาณ 14,000 นายในเลบานอน ชาวเลบานอนที่สนับสนุนเลบานอนอ้างว่าเป็นการอยู่อย่างถูกต้องเนืองจากรัฐบาลเลบานอนได้ขอไว้ ตอนเริ่มสงครามกลางเมืองเมื่อ พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า การอยู่ของซีเรียเป็นประหนึ่งการยึดครองโดยอำนาจต่างชาต.

การโจมตีเคมีที่ดูมาและประเทศเลบานอน · ประเทศเลบานอนและสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

เดอะนิวยอร์กไทมส์

อะนิวยอร์กไทมส์ (The New York Times) เป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่ตีพิมพ์ในนครนิวยอร์กและจัดจำหน่ายไปทั่วโลก จัดการโดยบริษัทเดอะนิวยอร์กไทมส์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์อื่นๆอีก 15 ฉบับ รวมถึง International Herald Tribune และ The Boston Globe ด้วย เดอะนิวยอร์กไทมส์เป็นหนังสือพิมพ์มหานครที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา มีฉายาว่า "Gray Lady" (สุภาพสตรีสีเทา) ก็เพราะหน้าตาและสำนวนที่ขรึมขลัง ถูกเรียกว่าเป็นหนังสือพิมพ์ที่บันทึกแห่งการณ์ต่างๆของชาติ เพราะมันมักถูกใช้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เป็นทางการและได้รับความเชื่อถือ ก่อตั้งเมื่อ..

การโจมตีเคมีที่ดูมาและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · สงครามกลางเมืองซีเรียและเดอะนิวยอร์กไทมส์ · ดูเพิ่มเติม »

เนโท

องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization; Organisation du traité de l'Atlantique nord) ย่อว่า เนโท (NATO) หรือ ออต็อง (OTAN) หรือ นาโต (ตามที่คนไทยเรียก) เป็นพันธมิตรทางทหารระหว่างรัฐบาล ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 เมษายน..

การโจมตีเคมีที่ดูมาและเนโท · สงครามกลางเมืองซีเรียและเนโท · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและสงครามกลางเมืองซีเรีย

การโจมตีเคมีที่ดูมา มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ สงครามกลางเมืองซีเรีย มี 82 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 7, ดัชนี Jaccard คือ 7.22% = 7 / (15 + 82)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและสงครามกลางเมืองซีเรีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »