โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การโจมตีเคมีที่ดูมาและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

การโจมตีเคมีที่ดูมา vs. การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

วันที่ 7 เมษายน 2561 เกิดการโจมตีเคมีตามรายงานในนครดูมา (Douma) ประเทศซีเรีย โดยมีผู้เสียชีวิตตามกล่าวหาประมาณ 42–70 คน รัฐบาลซีเรียและพันธมิตรคัดค้านรายงานนี้ซึ่งปฏิเสธว่าไม่มีการโจมตีเคมีใด ๆ เกิดขึ้น. หประชาชาติยืนยันการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย ซึ่งมีการโจมตีจนมีผู้เสียชีวิตได้แก่ การโจมตีที่กูตาในชานกรุงดามัสกัสในเดือนสิงหาคม 2556 และการโจมตีคันอัลอะซัล (Khan al-Assal) ในชานนครอะเลปโปในเดือนมีนาคม 2556 แม้ไม่มีฝ่ายใดอ้างความรับผิดชอบของการโจมตีเคมีดังกล่าว แต่กองทัพบะอัธซีเรียเป็นผู้ต้องสงสัยหลักเนื่องจากมีคลังอาวุธเคมีขนาดใหญ่ คณะผู้แทนหาข้อเท็จจริงของยูเอ็นและคณะกรรมการสืบสวนของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) สืบสวนการโจมตีดังกล่าวพร้อมกัน คณะผู้แทนของยูเอ็นพบว่าน่าจะมีการใช้สารออกฤทธิ์ต่อประสาทซารินในกรณีของคันอัลอะซัล (19 มีนาคม 2556), ซะเราะกิบ (29 เมษายน 2556), กูตา (21 สิงหาคม 2556), โญบัร (24 สิงหาคม 2556) และอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ (25 สิงหาคม 2556) ต่อมา คณะกรรมการ UNHRC ยืนยันการใช้ซารินในการโจมตีที่คันอัลอะซัล, ซะเราะกิบและกูตา แต่ไม่กล่าวถึงโญบัรและอัชชะเราะฟิยัตซะฮ์นะยะ คณะกรรมาร UNHRC ยังพบว่าซารินที่ใช้ในการโจมตีที่คันอัลอะซัลมี "เครื่องหมายเอกลักษณ์เดียวกัน" กับซารินที่ใช้ในการโจมตีที่กูตาและบ้งชี้ว่าผู้ลงมือน่าจะเข้าถึงสารเคมีจากคลังของกองทัพซีเรีย การโจมตีดังกล่าวทำให้ประชาคมนานาชาติกดดันการปลดอาวุธเคมีของกองทัพซีเรียซึ่งมีการปฏิบัติในปี 2557 แม้มีกระบวนการปลดอาวุธ แต่ยังมีเหตุการณ์หลายสิบครั้งที่สงสัยการใช้อาวุธเคมีทั่วประเทศซีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่กล่าวโทษต่อกำลังบะอัธซีเรีย ตลอดจนรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ แลแม้แต่กำลังฝ่ายค้านซีเรียและกองทัพตุรกี ในเดือนสิงหาคม 2559 รายงานของสหประชาชาติและองค์การห้ามอาวุธเคมีกล่าวโทษกองทัพซีเรียของประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดอย่างเปิดเผยว่าหย่อนอาวุธเคมี (ระเบิดคลอรีน) ใส่เมืองทัลมะนัสในเดือนเมษายน 2557 และซาร์มินในเดือนมีนาคม 2558 และ ISIS ว่าใช้ซัลเฟอร์มัสตาร์ดใส่เมืองมะเรีย (Marea) ในเดือนสิงหาคม 2558 มีการกล่าวหา รายงานและสอบสวน หรืออย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งการโจมตีอีกหลายครั้ง ในเดือนธันวาคม 2559 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คนในการโจมตีที่ดูเหมือนใช้แก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทในหมู่บ้านที่ IS ถือครองใกล้อุเกาะริเราะบัต นับเป็นการโจมตีด้วยแก๊สออกฤทธิ์ต่อประสาทใหญ่ครั้งแรกนับแต่ข้อตกลงปี 2556 ในเดือนเมษายน 2560 การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูนเรียกการประณามจากนานาประเทศและกระตุ้นปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกของสหรัฐต่อฐานทัพซีเรียที่ชะอิรัต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

การโจมตีเคมีที่ดูมาและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย มี 3 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560องค์การห้ามอาวุธเคมีซาริน

การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560

วันที่ 4 เมษายน 2560 เมืองคอนชัยคูน (Khan Shaykhun) ในเขตผู้ว่าการอิดลิบ ประเทศซีเรีย ซึ่งตะห์รีรุชชามควบคุมอยู่ ถูกโจมตีทางอากาศด้วยแก๊สซาริน ตามด้วยการถูกพิษเคมีของพลเรือนขนานใหญ่ เหตุดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 58 คน และบาดเจ็บกว่า 300 คน ตามข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขอิดลิบ หากยืนยัน เหตุโจมตีดังกล่าวจะเป็นการใช้อาวุธเคมีครั้งที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุดในสงครามกลางเมืองซีเรียนับตั้งแต่การโจมตีเคมีที่ฆูเฏาะฮ์ในปี 2556 ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร บอริส จอห์นสัน กล่าวโทษเหตุดังกล่าวว่ากำลังของประธานาธิบดีซีเรียบัชชาร อัลอะซัดเป็นผู้ลงมือ ฝ่ายรัฐบาลรัสเซียและซีเรียกล่าวว่าเกิดจากกองทัพอากาศซีเรียทำลายโกดังอาวุธเคมีของฝ่ายกบฏในละแวกนั้น สหรัฐตอบโต้โดยปล่อยขีปนาวุธร่อน 59 ลูกใส่ฐานทัพอากาศชะอิรัต ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นบ่อเกิดของเหตุโจมตีดังกล่าว.

การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560และการโจมตีเคมีที่ดูมา · การโจมตีเคมีที่คอนชัยคูน พ.ศ. 2560และการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย · ดูเพิ่มเติม »

องค์การห้ามอาวุธเคมี

องค์การห้ามอาวุธเคมี (Organisation for the Prohibition of Chemical Weapons, OPCW) เป็นองค์การระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ สนับสนุนและทวนสอบการเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธเคมีซึ่งห้ามใช้อาวุธเคมีและกำหนดให้ต้องทำลายอาวุธเคมีที่ภาคีมีในครอบครอง ในปี 2556 องค์การได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันต.

การโจมตีเคมีที่ดูมาและองค์การห้ามอาวุธเคมี · การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและองค์การห้ามอาวุธเคมี · ดูเพิ่มเติม »

ซาริน

ซาริน หรือจีบี เป็นสารประกอบออร์แกโนฟอสฟอรัส มีสูตรเคมี CH3P(O)F ซารินเป็นของเหลวไร้สี ไร้กลิ่น.

การโจมตีเคมีที่ดูมาและซาริน · การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรียและซาริน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย

การโจมตีเคมีที่ดูมา มี 15 ความสัมพันธ์ขณะที่ การใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย มี 11 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 3, ดัชนี Jaccard คือ 11.54% = 3 / (15 + 11)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การโจมตีเคมีที่ดูมาและการใช้อาวุธเคมีในสงครามกลางเมืองซีเรีย หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »