โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและแองกลิคันคอมมิวเนียน

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและแองกลิคันคอมมิวเนียน

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน vs. แองกลิคันคอมมิวเนียน

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน (Presbyterian polity) คือการจัดระเบียบองค์การคริสตจักรแบบหนึ่ง ที่ปกครองโดยสมัชชาเพรสไบเทอร์หรือผู้ปกครอง คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งจะปกครองโดยกลุ่มผู้ปกครองที่ได้รับเลือกมาที่เรียกว่า “คณะธรรมกิจ” (session) หรือ “consistory” หรือ “church board” กลุ่มคริสตจักรในท้องถิ่นก็จะมีสมัชชาที่สูงกว่าเป็นสภาผู้อาวุโสที่เรียกว่า “เพรสไบเทอรี” (presbytery) หรือ “คลาสสิส” (classis) เพรสไบเทอรีอาจจะรวมกันเป็น “ซิโนด” (synod) หรือสภา ซิโนดทั่วประเทศก็มักจะรวมตัวกันเป็น “สมัชชาใหญ่” (general assembly) การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปฏิเสธวิธีการปกครองที่อาศัยลำดับชั้นบังคับบัญชาโดยมุขนายกองค์เดียว (ซึ่งเรียกว่าการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัล) แต่ต่างจากการจัดระเบียบองค์การแบบคองกริเกชันนาลิสต์ (Congregationalist polity) ที่แบ่งการปกครองคริสตจักรออกเป็นคองกริเกชันโดยแต่ละคองกริเกชันเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนแตกต่างจากระบบอื่นตรงที่อำนาจการปกครองที่มาจากทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ระบบการปกครองนี้วิวัฒนาการขึ้นที่เจนีวาภายใต้ฌ็อง กาลแว็ง และนำมาใช้ในสกอตแลนด์โดยจอห์น น็อกซ์หลังจากการไปลี้ภัยอยู่ที่นั่น การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถือเป็นระบบที่สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการปฏิรูปศาสนาในสวิตเซอร์แลนด์และในสกอตแลนด์ และคริสตจักรปฏิรูป และคริสตจักรเพรสไบทีเรียน. แองกลิคันคอมมิวเนียน (Anglican Communion) เป็นองค์การระหว่างประเทศของคริสตจักรระดับชาติและระดับภูมิภาคที่ถือนิกายแองกลิคัน มีการร่วมสมานฉันท์กับคริสตจักรแห่งอังกฤษในฐานะเป็นคริสตจักรแม่ในคอมมิวเนียน มีอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประธานไพรเมต การร่วมสมานฉันท์ในที่นี้หมายถึงมีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนดหลักความเชื่อ และชาวแองกลิคันทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ในคริสตจักรใด ๆ ในคอมมิวเนียนได้ สมาชิกของแองกลิคันคอมมิวเนียนในปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 80 ล้านคนทั่วโลก นับว่าเป็นนิกายในศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสามรองจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกและคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ และแม้จะอยู่ในแองกลิคันคอมมิวเนียนด้วยกันก็ไม่ใช่ทุกคริสตจักรในคอมมิวเนียนนี้ที่ใช้ชื่อแองกลิคัน เช่น คริสตจักรแห่งไอร์แลนด์ คริสตจักรสกอตติชอีปิสโคปัล คริสตจักรอีปิสโคปัล (สหรัฐ) เป็นต้น บางคริสตจักรก็เรียกตนแองว่าแองกลิคันเพราะถือว่าสืบสายมาจากคริสตจักรในอังกฤษ เช่น คริสตจักรแองกลิคันแห่งแคนาดา แต่ละคริสตจักรมีสิทธฺิ์กำหนดหลักความเชื่อ แนวพิธีกรรม และกระบวนการทางนิติบัญญัติเป็นของตนเอง แต่โดยมากจะถือตามคริสตจักรแห่งอังกฤษ ทุกคริสตจักรมีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล มีไพรเมตเป็นประมุข อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็นประมุขทางศาสนาของคริสตจักรแห่งอังกฤษ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในคริสตจักรอื่น ๆ คงเป็นที่ยอมรับเฉพาะในฐานะประมุขเชิงสัญลักษณ์ของแองกลิคันคอมมิวเนียนทั่วโลก ในบรรดาไพรเมตในนิกายแองกลิคันจึงถือว่าอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรีเป็น บุคคลอันดับหนึ่งในบรรดาผู้ที่เท่าเทียมกัน (Primus inter pares) ชาวแองกลิคันถือว่าแองกลิคันคอมมิวเนียนเป็นคริสตจักรที่เป็นหนึ่งเดียว ศักดิ์สิทธิ์ สากล และสืบมาจากอัครทูต มีทั้งความเป็นคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ ศาสนิกชนบางคนจึงถือว่าแองกลิคันเป็นนิกายคาทอลิกที่ไม่ยอมรับพระสันตะปาปา หรือเป็นนิกายโปรเตสแตนต์แบบหนึ่งแม้จะไม่มีนักเทววิทยาโดดเด่นอย่างคริสตจักรอื่น เช่น มาร์ติน ลูเทอร์ จอห์น น็อกซ์ ฌ็อง กาลแว็ง ฮุลดริช สวิงลีย์ หรือจอห์น เวสลีย์ สำนักงานแองกลิคันคอมมิวเนียนมีเลขาธิการคือศาสนาจารย์ แคนันเคนเนท เคียรันเป็นหัวหน้.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและแองกลิคันคอมมิวเนียน

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและแองกลิคันคอมมิวเนียน มี 2 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลฌ็อง กาลแว็ง

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล (Episcopal polity /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็นการปกครองคริสตจักรรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้นำของคริสตจักรในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี คำว่า อิปิสโคปัล มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่าผู้ปกครองดูแล ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นมุขมณฑล ที่ประชุมร่วม หรือซิโนด บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและการเมือง และประกอบพิธีสำคัญ เช่น การบวช การยืนยันความเชื่อ และการอภิเษก หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปเป็นตำแหน่งที่มีการสืบต่อจากอัครทูตของพระเยซู จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลและมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและอัครมุขนายก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย) ตั้งแต่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ แบบเพรสไบทีเรียน แบบคองกริเกชันนาลิสต์ ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของฌ็อง กาลแว็ง นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่ง.

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลและการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน · การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลและแองกลิคันคอมมิวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง กาลแว็ง

็อง กาลแว็ง (Jean Calvin) หรือจอห์น คาลวิน (John Calvin) เป็นนักเทววิทยาศาสนาคริสต์และศิษยาภิบาลชาวฝรั่งเศสสมัยการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ แนวคิดทางเทววิทยาที่กาลแว็งพัฒนาขึ้นเรียกว่าลัทธิคาลวิน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหลายนิกาย เช่น คริสตจักรปฏิรูป คริสตจักรคองกริเกชันแนล เพรสไบทีเรียน เป็นต้น เดิมกาลแว็งเป็นนักกฎหมายที่มีแนวคิดแบบมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และได้ถอนตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและฌ็อง กาลแว็ง · ฌ็อง กาลแว็งและแองกลิคันคอมมิวเนียน · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและแองกลิคันคอมมิวเนียน

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน มี 11 ความสัมพันธ์ขณะที่ แองกลิคันคอมมิวเนียน มี 17 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 2, ดัชนี Jaccard คือ 7.14% = 2 / (11 + 17)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและแองกลิคันคอมมิวเนียน หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »