โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน

ดัชนี การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน

การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน (Presbyterian polity) คือการจัดระเบียบองค์การคริสตจักรแบบหนึ่ง ที่ปกครองโดยสมัชชาเพรสไบเทอร์หรือผู้ปกครอง คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งจะปกครองโดยกลุ่มผู้ปกครองที่ได้รับเลือกมาที่เรียกว่า “คณะธรรมกิจ” (session) หรือ “consistory” หรือ “church board” กลุ่มคริสตจักรในท้องถิ่นก็จะมีสมัชชาที่สูงกว่าเป็นสภาผู้อาวุโสที่เรียกว่า “เพรสไบเทอรี” (presbytery) หรือ “คลาสสิส” (classis) เพรสไบเทอรีอาจจะรวมกันเป็น “ซิโนด” (synod) หรือสภา ซิโนดทั่วประเทศก็มักจะรวมตัวกันเป็น “สมัชชาใหญ่” (general assembly) การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปฏิเสธวิธีการปกครองที่อาศัยลำดับชั้นบังคับบัญชาโดยมุขนายกองค์เดียว (ซึ่งเรียกว่าการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัล) แต่ต่างจากการจัดระเบียบองค์การแบบคองกริเกชันนาลิสต์ (Congregationalist polity) ที่แบ่งการปกครองคริสตจักรออกเป็นคองกริเกชันโดยแต่ละคองกริเกชันเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนแตกต่างจากระบบอื่นตรงที่อำนาจการปกครองที่มาจากทั้งเบื้องบนและเบื้องล่าง ระบบการปกครองนี้วิวัฒนาการขึ้นที่เจนีวาภายใต้ฌ็อง กาลแว็ง และนำมาใช้ในสกอตแลนด์โดยจอห์น น็อกซ์หลังจากการไปลี้ภัยอยู่ที่นั่น การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนถือเป็นระบบที่สัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับการปฏิรูปศาสนาในสวิตเซอร์แลนด์และในสกอตแลนด์ และคริสตจักรปฏิรูป และคริสตจักรเพรสไบทีเรียน.

11 ความสัมพันธ์: การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัลการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์มุขนายกลัทธิคาลวินสารานุกรมคาทอลิกสาธารณสมบัติฌ็อง กาลแว็งคริสตจักรปฏิรูปประเทศสกอตแลนด์เพรสไบทีเรียนเจนีวา

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล

การจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล (Episcopal polity /ɪˈpɪs.kə.pəl/) เป็นการปกครองคริสตจักรรูปแบบหนึ่งที่มีโครงสร้างเป็นลำดับชั้นบังคับบัญชา โดยมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้นำของคริสตจักรในระดับท้องถิ่น โครงสร้างเช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยคริสตจักรยุคโบราณ ซึ่งสืบทอดมาเป็นคริสตจักรโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน ทั้งนี้บางคริสตจักรที่ไม่ได้สืบสายมาจากสายนี้แต่รับวิธีการบริหารเช่นนี้มาก็มี คำว่า อิปิสโคปัล มาจากภาษากรีก επίσκοπος (อีปิสโคปอส) แปลว่าผู้ปกครองดูแล ซึ่งเป็นศัพท์ที่มีที่มาเดียวกับคำว่า bishop ในภาษาอังกฤษ คริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอีปิสโคปัลจะมีบิชอปหรือมุขนายกเป็นผู้ปกครอง แบ่งการปกครองออกเป็นมุขมณฑล ที่ประชุมร่วม หรือซิโนด บิชอปทำหน้าที่ประธานทั้งในศาสนาและการเมือง และประกอบพิธีสำคัญ เช่น การบวช การยืนยันความเชื่อ และการอภิเษก หลาย ๆ คริสตจักรถือว่าบิชอปเป็นตำแหน่งที่มีการสืบต่อจากอัครทูตของพระเยซู จึงเป็นผู้มีสิทธิอำนาจในการปกครองคริสตจักร และถือว่าการปกครองโดยบิชอปเป็นวิธีการบริหารคริสตจักรที่ถูกต้องตามที่ระบุในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ในบางคริสตจักรได้แบ่งบิชอปหรือมุขนายกออกเป็นหลายชั้นหลายประเภท เช่น แบ่งมุขนายกออกเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลและมุขนายกเกียรตินาม มุขนายกแต่ละประเภทยังแบ่งออกเป็นมุขนายกและอัครมุขนายก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนบของแต่ละคริสตจักร บิชอปทั้งหลายจะร่วมสามัคคีธรรมกันในรูปของสภาหรือซิโนด สภามักมีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับบิชอปในการดูแลเขตปกครองของตน (ตัวอย่างเช่น สภาประมุขแห่งบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย) ตั้งแต่มีการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ ชาวโปรเตสแตนต์ส่วนใหญ่ก็เปลี่ยนไปใช้วิธีการปกครองแบบอื่น ได้แก่ แบบเพรสไบทีเรียน แบบคองกริเกชันนาลิสต์ ซึ่งเป็นผลจากแนวคิดของฌ็อง กาลแว็ง นักปฏิรูปศาสนาชาวฝรั่ง.

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล · ดูเพิ่มเติม »

การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์

มาร์ติน ลูเทอร์ การปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) คือขบวนการการปฏิรูปศาสนาที่เริ่มโดย มาร์ติน ลูเทอร์ เมื่อปี..

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

มุขนายก

ันทบุรี เป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายก บิชอป (Bishop) กรมการศาสนาและราชบัณฑิตยสถานบางครั้งให้เรียกว่ามุขนายก เป็นตำแหน่งการปกครองในคริสตจักรที่มีการจัดระเบียบองค์การแบบอิปิสโคปัล เช่น โรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ หรือแม้แต่ในนิกายโปรเตสแตนต์บางคณะ เช่น แองกลิคัน ลูเทอแรน เมทอดิสต.

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและมุขนายก · ดูเพิ่มเติม »

ลัทธิคาลวิน

ลัทธิคาลวิน (Calvinism) ขนบปฏิรูป (Reformed tradition) หรือ เทววิทยาปฏิรูป เป็นเทววิทยาศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่ถือแนวคำสอนและการปฏิบัติตามการตีความของฌ็อง กาลแว็ง และนักเทววิทยาอื่น ๆ ช่วงการปฏิรูปศาสนา ลัทธิคาลวินแตกหักกับคริสตจักรโรมันคาทอลิก จึงนับเป็นฝ่ายโปรเตสแตนต์ แต่ก็ต่างจากโปรเตสแตนต์สายอื่น ๆ เช่น ลูเทอแรน ในประเด็นต่าง ๆ เช่น พระเยซูในพิธีมหาสนิทศักดิ์สิทธิ์ หลักบังคับในการนมัสการ การบังคับใช้กฎของพระเจ้ากับคริสตชน การเรียกเทววิทยาสายนี้ว่า "ลัทธิคาลวิน" ค่อนข้างคลาดเคลื่อน เพราะในความเป็นจริง เป็นเทววิทยาที่มีแนวคิดหลากหลาย ไม่ได้จำกัดเฉพาะกับฌ็อง กาลแว็งผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว นักเทววิทยากลุ่มนี้ถูกฝ่ายลูเทอแรนเรียกว่า "ลัทธิคาลวิน" แต่ในภายในสายมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป มากกว่า นับแต่มีการโต้แย้งอาร์มิเนียน ฝ่ายปฏิรูปก็แบ่งออกเป็นสองสาย คือ สายคาลวิน และ สายอาร์มิเนียน แต่ปัจจุบันมักใช้คำว่า คณะปฏิรูป ในเชิงไวพจน์กับลัทธิคาลวินมากกว่า นักเทววิทยาสายปฏิรูปที่มีบทบาทสำคัญในยุคต้น ๆ ได้แก่ ฌ็อง กาลแว็ง มาร์ทิน บูเคอร์ ไฮน์ริช บุลลิงเงอร์ และปีเอโตร มาร์ตีเร แวร์มิกลี จุดเด่นของลัทธิคาลวินมีอยู่ 5 ประเด็น ที่เป็นที่รู้จักที่สุดคือความเชื่อเรื่องเทวลิขิตและมนุษย์เสื่อมทรามโดยสิ้นเชิง ประเด็น 5 ข้อของลัทธิคาลวิน (5 Points of Calvinism; TULIP) ได้แก.

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและลัทธิคาลวิน · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมคาทอลิก

รานุกรมคาทอลิก (Catholic Encyclopedia) หรือ สารานุกรมคาทอลิกเก่า (Old Catholic Encyclopedia) คือสารานุกรมภาษาอังกฤษที่พิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เล่มแรกพิมพ์ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและสารานุกรมคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณสมบัติ

ัญลักษณ์อย่างไม่เป็นทางการ สำหรับ สาธารณสมบัติ สาธารณสมบัติ หรือ สมบัติสาธารณะ (public domain) หมายถึง องค์ความรู้หรือนวัตกรรม (เช่น งานเขียน ศิลปะ ดนตรี สิ่งประดิษฐ์) ที่ไม่มีใครสามารถถือตัวเป็นเจ้าของได้ รวมไปถึงสิ่งก่อสร้าง และถนนหนทาง ในทางคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์สาธารณสมบัติ หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นแล้วผู้สร้างหรือเจ้าของยินยอมให้ใคร ๆ สามารถคัดลอกนำไปใช้ได้ โดยไม่ผิดลิขสิท.

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและสาธารณสมบัติ · ดูเพิ่มเติม »

ฌ็อง กาลแว็ง

็อง กาลแว็ง (Jean Calvin) หรือจอห์น คาลวิน (John Calvin) เป็นนักเทววิทยาศาสนาคริสต์และศิษยาภิบาลชาวฝรั่งเศสสมัยการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ แนวคิดทางเทววิทยาที่กาลแว็งพัฒนาขึ้นเรียกว่าลัทธิคาลวิน ซึ่งแพร่หลายอยู่ในหลายนิกาย เช่น คริสตจักรปฏิรูป คริสตจักรคองกริเกชันแนล เพรสไบทีเรียน เป็นต้น เดิมกาลแว็งเป็นนักกฎหมายที่มีแนวคิดแบบมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และได้ถอนตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกในปี..

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและฌ็อง กาลแว็ง · ดูเพิ่มเติม »

คริสตจักรปฏิรูป

ริสตจักรปฏิรูปราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 415-6 (Reformed churches) เป็นกลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์ในนิกายโปรเตสแตนต์ที่มีปรัชญาคล้ายคลึงกับลัทธิคาลวิน ที่มีต้นตอที่เกี่ยวข้องกับลัทธิที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะคริสตจักรปฏิรูปสวิสเซอร์แลนด์ที่นำโดยฮุลดริช ซวิงลี (Huldrych Zwingli) และหลังจากนั้นไม่นานนักก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปตะวันตกและยุโรปตะวันกลาง แต่ละชาติที่ระบบปฏิรูปเผยแพร่เข้าไปต่างก็ก่อตั้งระบบการปกครองลัทธิของตนเองขึ้น ลัทธิบางลัทธิก็ขยายตัวไปทั่วโลกและบางลัทธิก็แบ่งย่อยต่อไปอีก การสั่งสอนปรัชญาคาลวินก็คงติดตามลัทธิเหล่านี้ไปด้วยที่สะท้อนให้เห็นจากปรัชญาของแต่ละลัทธิ แต่ในบางกรณีก็มีได้เป็นปรัชญาหลักของลัทธิอีกต่อไป จากการสำรวจในปี..

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและคริสตจักรปฏิรูป · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เพรสไบทีเรียน

็อง กาลแว็ง นิกายเพรสไบทีเรียนราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 431 (Presbyterianism) เป็นหนึ่งในนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์ที่มีต้นกำเนิดที่สกอตแลนด์ ยึดถือแนวคิดทางเทววิทยาแบบลัทธิคาลวิน และมีการจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียน หลักเทววิทยาแบบเพรสไบทีเรียนเน้นเรื่องอำนาจอธิปไตยของพระเจ้า สิทธิอำนาจของคัมภีร์ไบเบิล และการรับพระคุณจากพระเจ้าได้โดยการศรัทธาในพระเยซูเท่านั้น ในสกอตแลนด์วิธีการปกครองคริสตจักรของเพรสไบทีเรียนได้รับการรับประกันตามพระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1707 นิกายเพรสไบทีเรียนสมัยใหม่สืบเค้าไปได้ถึงการปฏิรูปศาสนาในสกอตแลนด์ คริสตจักรท้องถิ่นแต่ละแห่งปกครองโดยคณะธรรมกิจซึ่งมาจากตัวแทนของคริสตจักรนั้น ในทางทฤษฎีนิกายนี้ไม่มีการแต่งตั้งบิชอป แต่มีการสถาปนาโดยการเลือกตั้งคณะผู้ปกครองขึ้นเพื่อทำหน้าที่อภิบาลคริสต์ศาสนิกชนหรือสมาชิกคริสตจักร รวมไปถึงการตัดสินใจต่าง ๆ ในคริสตจักร มีมัคนายกทำหน้าที่ดูแลสมาชิกและครอบครัวและส่วนมากดูแลเรื่องการเงินของคริสตจักร ผู้ปกครองและมัคนายกจะมีวาระการประจำการ วาระละ 2-3 ปี แล้วแต่คริสตจักรนั้น ๆ จะกำหนด ตำแหน่งผู้ปกครองเมื่อได้รับการสถาปนาแล้วจะอยู่ในศาสนศักดิ์นั้นตลอดชีพ นิกายเพรสไบทีเรียนมีต้นกำเนิดมาจากการปฏิรูปศาสนาในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งมีฌ็อง กาลแว็งเป็นหนึ่งในนักปฏิรูปคนสำคัญ คริสตจักรปฏิรูปส่วนมากสืบมีวิธีการปกครองที่สามารถสืบย้อนไปได้ทั้งแบบเพรสไบทีเรียนและคองกรีเกชันแนล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 คริสตจักรเพรสไบทีเรียนหลายแห่งเริ่มมีบทบาทในขบวนการคริสต์ศาสนสัมพันธ์ เช่น การตั้งสภาคริสตจักรสากล บางคริสตจักรในนิกายนี้ยังเริ่มหันมาทำงานร่วมกับคริสตจักรปฏิรูปกลุ่มอื่น ๆ บ้างก็เข้าร่วมกลุ่มกับนิกายอื่นเลย เช่น คริสตจักรคองกรีเกชันแนล ลูเทอแรน แองกลิคัน และเมทอดิสต.

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและเพรสไบทีเรียน · ดูเพิ่มเติม »

เจนีวา

นีวา (Geneva) หรือออกเสียงในภาษาท้องถิ่นว่า เฌอแนฟว์ (Genève) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (รองจากซือริช) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาครอม็องดีอันเป็นภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักในสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวาตั้งอยู่บริเวณต้นแม่น้ำโรนซึ่งไหลออกจากทะเลสาบเจนีวา เจนีวามีสถานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐแห่งรัฐเจนีวา เจนีวาถือเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของโลก โดยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน, ศูนย์กลางทางการทูต เจนีวาถือเป็นเมืองที่มีองค์กรระหว่างประเทศตั้งอยู่มากที่สุดในโลก ในบรรดาองค์กรเหล่านี้อาทิ หน่วยงานของสหประชาชาติและกาชาดสากล เป็นต้น ในปี 2017 เจนีวาได้รับการจัดอันดับโดย Global Financial Centres Index ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับ 15 ของโลก และเป็นที่ 5 ของทวีปยุโรป รองจากลอนดอน, ซือริช, แฟรงเฟิร์ต และลักเซมเบิร์ก และยังได้รับการจัดอันดับโดย Mercer's Quality of Living index ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: การจัดระเบียบองค์การแบบเพรสไบทีเรียนและเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ClassisClassis (Ecclesiastical)General Assembly (presbyterian church)Kirk SessionPresbyterian church governancePresbyterian ministerPresbyterian polityPresbytery (church polity)Presbytery (presbyterian church)องค์การปกครองเพรสไบทีเรียน

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »