โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพโซเวียต

ดัชนี กองทัพโซเวียต

กองทัพโซเวียต หรือ กองทัพสหภาพโซเวียต มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า กองทัพแห่งสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Вооружённые Силы Союза Советских Социалистических Республик, Вооружённые Силы Советского Союза) หมายถึง กองกำลังทหารของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (1917–1922) และสหภาพโซเวียต (1922–1991) นับแต่การเริ่มต้นหลังสงครามกลางเมืองรัสเซียสิ้นสุดกระทั่งล่มสลายในเดือนธันวาคม 1991 ตามกฎหมายราชการทหารทั่วสหภาพ เดือนกันยายน 1925 กองทัพโซเวียตประกอบด้วยห้าเหล่า ได้แก่ กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ หน่วยอำนวยการการเมืองรัฐ (OGPU) และ กองกำลังภายใน (convoy guards) ภายหลัง OGPU แยกเป็นอิสระและรวมเข้ากับ NKVD ในปี 1934 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีการเพิ่มหน่วยขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์ (1960) กองกำลังป้องกันภัยทางอากาศ (1948) และกำลังประชาชนแห่งชาติทั่วสหภาพ (1970) ซึ่งจัดเป็นอันดับที่หนึ่ง สามและหกในการนับความสำคัญเปรียบเทียบอย่างเป็นทางการของโซเวียต (โดยกำลังภาคพื้นดินมีความสำคัญเป็นอันดับสอง กองทัพอากาศเป็นอันดับสี่ และกองทัพเรือเป็นอันดับห้า) อำนาจทางทหารของโซเวียตในขณะนั้นใหญ่ที่สุดและทรงอำนาจที่สุดของโลก โครงสร้างการบังคับบัญชาของกองทัพแห่งสหภาพ.

35 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2461พ.ศ. 2489พ.ศ. 2534พีพีชา-41กองทัพอากาศสหรัฐกองทัพคาซัคสถานกองทัพเรือรัสเซียกองทัพเรือโซเวียตกองเรือทะเลดำการล่มสลายของสหภาพโซเวียตมอสโกมีฮาอิล กอร์บาชอฟยศทหารสหภาพโซเวียตสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียสหภาพโซเวียตสงครามโลกครั้งที่สองสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานสงครามเกาหลีสงครามเวียดนามจอมพลแห่งสหภาพโซเวียตปืนกลมือปืนกลเดกเตียริออฟปืนสั้นปืนซุ่มยิงดรากูนอฟปืนไรเฟิลซุ่มยิงปืนเล็กยาวปืนเล็กยาวจู่โจมปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์โจเซฟ สตาลินเอสวีที-40เอสเคเอสเอเค 4715 มกราคม23 กุมภาพันธ์25 ธันวาคม

พ.ศ. 2461

ทธศักราช 2461 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1918 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคาร ตามปฏิทินเกรกอเรียน หรือ ปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและพ.ศ. 2461 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2489

ทธศักราช 2489 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1946 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและพ.ศ. 2489 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พีพีชา-41

ีพีชา-41 (pistolet-pulemyot Shpagina; Пистолет-пулемёт Шпагина; "Shpagin machine pistol");เป็นปืนกลมือของโซเวียตที่ออกแบบโดย Georgy Shpagin ที่มีราคาถูก, มีความน่าเชื่อถือและใช้งานง่ายกว่าปืนกลมือพีพีดี-40.ชื่อเล่นทั่วไปเป็น "พี-พี-ช่า"(ППШ) จากคำนำหน้าสามตัวและคำว่า "พาพาช่า"(папаша) ซึ่งหมายถึง "พ่อ หรือ บิดา" พีพีชา-41 เป็นปืนกลมือประจำกายแบบซองกระสุนที่ใช้งานแบบเปิดลูกเลื่อนและทำให้ปืนสะท้อนถอยหลัง (Blowback).ส่วนใหญ่มันทำมาจากการปั๊มเหล็กกล้.สามารถบรรจุกระสุนได้ด้วยกล่องหรือแม็กกาซีนตลับหอยโข่ง (drum magazine) และยิงด้วยกระสุน 7.62×25มม.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและพีพีชา-41 · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพอากาศสหรัฐ

กองทัพอากาศสหรัฐ (United States Air Force; USAF) คือกองกำลังพิเศษทางอากาศและอวกาศของกองทัพสหรัฐ และเป็นกองกำลังหนึ่งในเจ็ดของหน่วยงานที่ใส่เครื่องแบบของสหรัฐ ในอดีตวันที่ 1 สิงหาคม..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพอากาศสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพคาซัคสถาน

กองทัพแห่งสาธารณรัฐคาซัคสถาน ประกอบด้วยกองทัพบก กำลังทางอากาศและป้องกันภัยทางอากาศ กองทัพเรือ.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพคาซัคสถาน · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือรัสเซีย

กองทัพเรือรัสเซีย (r, lit. Military-Maritime Fleet of the Russian Federation) เป็นหน่วยงานของกองทัพสหพันธรัฐรัสเซีย ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของประเทศรัสเซีย กองทัพเรือรัสเซียก่อตั้งขึ้นในเดือน มกราคม 1992 ในฐานะผู้สืบทอดกองทัพเรือโซเวียต หลังจาก การล่มสลายของสหภาพโซเวียต ในเดือน ธันวาคม 1991 กองทัพเรือรัสเซียเดิม ก่อตั้งโดย จักรพรรดิปีเตอร์ที่ 1 แห่งรัสเซีย (ปีเตอร์มหาราช) ในเดือนตุลาคม 1696 โดยสัญลักษณ์ของกองทัพเรือรัสเซียแรก ๆ คือธงของนักบุญอันดรูว์ ปัจจุบันกองทัพเรือรัสเซียมีกองเรือย่อยที่รับช่วงต่อจากกองทัพเรือโซเวียตคือ กองเรืออาร์กติก, กองเรือแปซิฟิก, กองเรือทะเลดำ, กองเรือบอลติก, กองเรือเล็กแคสเปียน, กองบินนาวี, และ กองกำลังป้องกันชายฝั่ง (อีกชื่อของ ทหารนาวิกโยธิน และ กองกำลังปืนใหญ่และมิสไซล์ชายฝั่ง).

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพเรือรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

กองทัพเรือโซเวียต

กองทัพเรือโซเวียต (Военно-морской флот СССР (ВМФ)) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการปฏิบัติการทางทหารในทะเล ลำน้ำ และพื้นที่บริเวณชายฝั่งของสหภาพโซเวียต กองทัพเรือโซเวียตมีกองเรือย่อยคือกองเรืออาร์กติก, กองเรือบอลติก, กองเรือทะเลดำ, กองเรือแปซิฟิก และนอกจากนี้กองทัพเรือโซเวียตยังบัญชาการ ฐานทัพเรือเลนินกราด และ กองเรือรบเล็กแคสเปียน ซึ่งเป็นกองเรือที่ลาตตะเวนในทะเลสาบแคสเปียนและบัญชาการ Soviet Naval Aviation, นาวิกโยธินโซเวียต และ Coastal Artillery.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองทัพเรือโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

กองเรือทะเลดำ

กองเรือทะเลดำ (Черноморский Флот, Chernomorsky Flot) เป็นกองเรือของกองทัพเรือรัสเซีย ในทะเลดำ, ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และ ทะเลอะซอฟ เจ้าชายโปติออมกินทรงสถาปนากองเรือทะเลดำขึ้นในวันที่ 13 พฤษภาคม 1783 กองเรือได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย ต่อมาคือ สหภาพโซเวียต ในปี 1922 โดยเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพเรือโซเวียต หลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในเดือน ธันวาคม 1991 กองเรือทะเลดำและเรือส่วนใหญ่ได้ถูกโอนเปลี่ยนยังสหพันธรัฐรัสเซีย กองบัญชาการและที่ตั้งหลักอย่างเป็นทางการของกองเรือทะเลดำตั้งอยู่ในเมืองเซวัสโตปอล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครน โดยนิตินัย แต่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย โดยพฤตินัย ส่วนที่เหลือของกองเรือและยานพาหนะจะอยู่ในสถานที่ต่าง ๆ บนทะเลดำ และ ทะเลอะซอฟ เช่น ดินแดนครัสโนดาร์, แคว้นรอสตอฟ และ ไครเมีย ผู้บัญชาการกองเรือทะเลดำคนปัจจุปันคือ พลเรือเอก Aleksandr Vitko โดยเขาดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2013.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและกองเรือทะเลดำ · ดูเพิ่มเติม »

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตถูกยุบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2534 ตามปฏิญญาหมายเลข 142-เอชแห่งสภาโซเวียตแห่งสาธารณรัฐ (Soviet of the Republics)Declaration № 142-Н of the Soviet of the Republics of the Supreme Soviet of the Soviet Union, formally establishing the dissolution of the Soviet Union as a state and subject of international law.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและการล่มสลายของสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

มอสโก

มอสโก (Moscow; Москва́, มะสฺกฺวา) เป็นเมืองหลวงของประเทศรัสเซีย เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเงิน การศึกษา และ การเดินทางของประเทศ โดยตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำมัสกวา ซึ่งในตัวเมืองมีประชากรอยู่อาศัยกว่า 1 ใน 10 ของประเทศ ทำให้เป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในยุโรป และเมื่อสมัยครั้งที่สหภาพโซเวียตยังไม่ล่มสลาย กรุงมอสโกก็ยังเป็นเมืองหลวงของสหภาพโซเวียตอีกด้วย ในปี..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและมอสโก · ดูเพิ่มเติม »

มีฮาอิล กอร์บาชอฟ

มีฮาอิล เซียร์เกเยวิช กอร์บาชอฟ (Михаи́л Серге́евич Горбачёв, Mikhail Sergeyevich Gorbachyov) เป็นอดีตประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต ทั้งยังเคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตอีกด้วย ความพยายามปฏิรูปสหภาพของกอร์บาชอฟได้นำไปสู่การล่มสลายของสหภาพโซเวียต และการยุติสงครามเย็น เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและมีฮาอิล กอร์บาชอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ยศทหารสหภาพโซเวียต

ตารางข้างล่างต่อไปนี้คือข้อมูลเกี่ยวกับยศทหารของกองทัพโซเวียต (ทั้งสามเหล่าทัพ) ระหว่าง..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและยศทหารสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

หพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย (date|r.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย · ดูเพิ่มเติม »

สหภาพโซเวียต

หภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; Union of Soviet Socialist Republics - USSR) หรือย่อเป็น สหภาพโซเวียต (Soviet Union) เป็นประเทศอภิมหาอำนาจในอดีตบนทวีปยูเรเชีย ระหว่างปี..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่สอง

งครามโลกครั้งที่สอง (World War II หรือ Second World Warคำว่าสงครามโลกครั้งที่สองในภาษาอังกฤษนั้น ในเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการของสหราชอาณาจักรและชาติตะวันตกใช้คำว่า "Second World War" ส่วนในสหรัฐใช้คำว่า "World War II" (ย่อเป็น "WWII" หรือ "WW2") ซึ่งเอกสารประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการในประเทศส่วนใหญ่มักจะใช้ภาษาอังกฤษว่า "Second World War" (เช่น Zweiter Weltkrieg ในภาษาเยอรมัน; Segunda Guerra mundial ในภาษาสเปน; Seconde Guerre mondiale ในภาษาฝรั่งเศส) แต่ทั้งสองคำนี้โดยทั่วไปแล้วสามารถใช้แทนกันได้; แม้ในประวัติศาสตร์การทหารอย่างเป็นทางการ คำว่า "Second World War" ถูกสร้างขึ้นโดย แฟรงก์ บี. เคลล็อก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา; ส่วนคำว่า "World War II" พบใช้เป็นครั้งแรกในนิตยสาร ไทมส์ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1939 ซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์คำว่า "World War I" ขึ้นในอีกสามเดือนต่อมา; มักย่อเป็น WWII หรือ WW2) เป็นสงครามทั่วโลกกินเวลาตั้งแต่ปี 1939 ถึง 1945 ประเทศส่วนใหญ่ในโลกมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งรัฐมหาอำนาจทั้งหมด แบ่งเป็นพันธมิตรทางทหารคู่สงครามสองฝ่าย คือ ฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ เป็นสงครามที่กว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์ มีทหารกว่า 100 ล้านนายจากกว่า 30 ประเทศเข้าร่วมโดยตรง สงครามนี้มีลักษณะเป็น "สงครามเบ็ดเสร็จ" คือ ประเทศผู้ร่วมสงครามหลักทุ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ทั้งหมดเพื่อความพยายามของสงคราม โดยลบเส้นแบ่งระหว่างทรัพยากรของพลเรือนและทหาร ประเมินกันว่าสงครามมีมูลค่าราว 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเมินกันว่ามีผู้เสียชีวิตระหว่าง 50 ถึง 85 ล้านคน ด้วยประการทั้งปวง สงครามโลกครั้งที่สองจึงนับว่าเป็นสงครามขนาดใหญ่ที่สุด ใช้เงินทุนมากที่สุด และมีผู้เสียชีวิตสูงสุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ จักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งมีเป้าหมายครอบงำทวีปเอเชียและแปซิฟิกและทำสงครามกับจีนมาตั้งแต่ปี 1937 แล้ว แต่โดยทั่วไปถือว่าสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มตั้งแต่การบุกครองโปแลนด์ของเยอรมนีในวันที่ 1 กันยายน 1939 นำไปสู่การประกาศสงครามต่อเยอรมนีของประเทศฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ปลายปี 1939 ถึงต้นปี 1941 ในการทัพและสนธิสัญญาต่าง ๆ ประเทศเยอรมนีพิชิตหรือควบคุมยุโรปภาคพื้นทวีปได้ส่วนใหญ่ และตั้งพันธมิตรอักษะกับอิตาลีและญี่ปุ่น ภายใต้สนธิสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบนทรอพเมื่อเดือนสิงหาคม 1939 เยอรมนีและสหภาพโซเวียตแบ่งแลผนวกดินแดนประเทศเพื่อนบ้านยุโรปของตน ได้แก่ โปแลนด์ ฟินแลนด์ โรมาเนียและรัฐบอลติก สงครามดำเนินต่อส่วนใหญ่ระหว่างชาติฝ่ายอักษะยุโรปและแนวร่วมสหราชอาณาจักรและเครือจักรภพบริติช โดยมีการทัพอย่างการทัพแอฟริกาเหนือและแอฟริกาตะวันออก ยุทธการที่บริเตนซึ่งเป็นการสู้รบทางอากาศ การทัพทิ้งระเบิดเดอะบลิตซ์ การทัพบอลข่าน ตลอดจนยุทธการที่แอตแลนติกที่ยืดเยื้อ ในเดือนมิถุนายน 1941 ชาติอักษะยุโรปบุกครองสหภาพโซเวียต เปิดฉากเขตสงครามภาคพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้กำลังทหารสำคัญของฝ่ายอักษะตกอยู่ในสงครามบั่นทอนกำลัง ในเดือนธันวาคม 1941 ญี่ปุ่นโจมตีสหรัฐและอาณานิคมยุโรปในมหาสมุทรแปซิฟิก และพิชิตมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกส่วนมากได้อย่างรวดเร็ว การรุกของฝ่ายอักษะยุติลงในปี 1942 หลังญี่ปุ่นปราชัยในยุทธนาวีที่มิดเวย์ใกล้กับฮาวายที่สำคัญ และเยอรมนีปราชัยในแอฟริกาเหนือและจากนั้นที่สตาลินกราดในสหภาพโซเวียต ในปี 1943 จากความปราชัยของเยอรมนีติด ๆ กันที่เคิสก์ในยุโรปตะวันออก การบุกครองอิตาลีของฝ่ายสัมพันธมิตรซึ่งนำให้อิตาลียอมจำนน จนถึงชัยของฝ่ายสัมพันธมิตรในมหาสมุทรแปซิฟิก ฝ่ายอักษะเสียการริเริ่มและต้องล่าถอยทางยุทธศาสตร์ในทุกแนวรบ ในปี 1944 ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกครองฝรั่งเศสในการยึดครองของเยอรมนี ขณะเดียวกันกับที่สหภาพโซเวียตยึดดินแดนที่เสียไปทั้งหมดคืนและบุกครองเยอรมนีและพันธมิตร ระหว่างปี 1944 และ 1945 ญี่ปุ่นปราชัยสำคัญในทวีปเอเชียในภาคกลางและภาคใต้ของจีนและพม่า ขณะที่ฝ่ายสัมพันธมิตรก่อความเสียหายต่อกองทัพเรือญี่ปุ่นและยึดหมู่เกาะแปซิฟิกตะวันตกที่สำคัญ สงครามในยุโรปยุติลงหลังกองทัพแดงยึดกรุงเบอร์ลินได้ และการยอมจำนนอย่างไม่มีเงื่อนไขของเยอรมนีเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 1945 แม้จะถูกโดดเดี่ยวและตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบอย่างยิ่ง ญี่ปุ่นยังปฏิเสธที่จะยอมจำนน กระทั่งมีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์สองลูกถล่มญี่ปุ่น และการบุกครองแมนจูเรีย จึงได้นำไปสู่การยอมจำนนอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 สงครามยุติลงด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ผลของสงครามได้เปลี่ยนแปลงการวางแนวทางการเมืองและโครงสร้างสังคมของโลก สหประชาชาติถูกสถาปนาขึ้น เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศและเพื่อป้องกันความขัดแย้งในอนาคต สหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตก้าวเป็นอภิมหาอำนาจของโลกอันเป็นคู่ปรปักษ์กัน นำไปสู่ความขัดแย้งบนเวทีแห่งสงครามเย็น ซึ่งได้ดำเนินต่อมาอีก 46 ปีหลังสงคราม ขณะเดียวกัน การยอมรับหลักการการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง เร่งให้เกิดการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราชในทวีปเอเชียและทวีปแอฟริกา พร้อม ๆ กับที่หลายประเทศได้มุ่งหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจซึ่งอุตสาหกรรมได้รับความเสียหายระหว่างสงคราม และบูรณาการทางการเมืองได้เกิดขึ้นทั่วโลกในความพยายามที่จะรักษาเสถียรภาพความสัมพันธ์หลังสงคราม.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสงครามโลกครั้งที่สอง · ดูเพิ่มเติม »

สงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน

| casualties1.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถาน · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเกาหลี

งครามเกาหลี (25 มิถุนายน 1950 – 27 กรกฎาคม 1953) เป็นสงครามระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติฝ่ายหนึ่ง กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นหลัก อีกฝ่ายหนึ่ง สงครามเกาหลีเป็นผลจากเขตทางการเมืองของเกาหลีโดยความตกลงที่ฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะกระทำเมื่อสงครามแปซิฟิกยุติ คาบสมุทรเกาหลีถูกจักรวรรดิญี่ปุ่นปกครองตั้งแต่ปี 1910 กระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุด หลังการยอมจำนนของจักรวรรดิญี่ปุ่นในเดือนกันยายน 1945 นักปกครองชาวอเมริกันได้แบ่งคาบสมุทรตามเส้นขนานที่ 38 โดยกองกำลังทหารสหรัฐยึดครองส่วนใต้ และกองกำลังทหารโซเวียตยึดครองส่วนเหนือ ความล้มเหลวในการจัดการเลือกตั้งเสรีทั่วคาบสมุทรเกาหลีในปี 1948 ยิ่งตอกลึกการแบ่งแยกระหว่างสองฝ่าย เกาหลีเหนือจึงสถาปนารัฐบาลคอมมิวนิสต์ ขณะที่เกาหลีใต้สถาปนารัฐบาลประชาธิปไตยในนาม เส้นขนานที่ 38 กลายเป็นพรมแดนทางการเมืองเพิ่มขึ้นระหว่างสองรัฐเกาหลี แม้การเจรจาเพื่อรวมประเทศยังคงดำเนินต่อมาหลายเดือนก่อนเกิดสงคราม แต่ความตึงเครียดยิ่งทวีขึ้น เกิดการรบปะทะและการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนเส้นขนานที่ 38 อยู่เนือง ๆ สถานการณ์บานปลายเป็นการสงครามเปิดเผยเมื่อกองกำลังเกาหลีเหนือบุกครองเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1950 ปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตคว่ำบาตรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อเป็นการประท้วงที่รัฐบาลก๊กมินตั๋ง/สาธารณรัฐจีนเป็นผู้แทนของจีน ซึ่งลี้ภัยไปยังเกาะไต้หวันหลังปราชัยสงครามกลางเมืองจีน เมื่อขาดเสียงไม่เห็นพ้องจากสหภาพโซเวียต ซึ่งมีอำนาจยับยั้งข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงฯ สหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นจึงผ่านข้อมติที่อนุญาตให้แทรกแซงทางทหารในเกาหลี สหรัฐอเมริกาจัดหาทหารคิดเป็น 88% ของทหารนานาชาติ 341,000 นาย ที่ถูกส่งไปช่วยเหลือกองกำลังเกาหลีใต้ขับการบุกครอง โดยมีรัฐสมาชิกสหประชาชาติอื่นอีก 20 ประเทศเสนอความช่วยเหลือ หลังประสบความสูญเสียอย่างหนักในช่วงสองเดือนแรก ฝ่ายตั้งรับถูกผลักดันกลับไปยังพื้นที่เล็ก ๆ ทางใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ซึ่งมีชื่อว่า วงรอบปูซาน จากนั้น การรุกโต้ตอบอย่างรวดเร็วของสหประชาชาติได้ขับทหารเกาหลีเหนือผ่านเส้นขนานที่ 38 ขึ้นไปเกือบถึงแม่น้ำยาลู เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนเข้าสู่สงครามโดยอยู่ฝ่ายเดียวกับเกาหลีเหนือ การเข้าแทรกแซงของจีนบีบให้กองกำลังเกาหลีใต้และพันธมิตรถอยกลับไปใต้เส้นขนานที่ 38 อีกครั้ง แม้สหภาพโซเวียตจะมิได้ส่งทหารเข้าร่วมในความขัดแย้งโดยตรง แต่ก็ให้ความช่วยเหลือด้านยุทธปัจจัยแก่ทั้งกองทัพเกาหลีเหนือและจีน การสู้รบยุติลงเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 1953 เมื่อมีการลงนามในความตกลงการสงบศึก ความตกลงดังกล่าวฟื้นฟูพรมแดนระหว่างประเทศใกล้กับเส้นขนานที่ 38 และสถาปนาเขตปลอดทหารเกาหลี แนวกันชนที่มีการป้องกันกว้าง 4.0 กิโลเมตร ระหว่างสองชาติเกาหลี อุบัติการณ์ขนาดย่อมยังคงดำเนินต่อมาตราบจนปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้สงครามเกาหลียุติเพราะ สตาลินเสียชีวิต และรัฐบาลใหม่โซเวียต ให้บอกให้จีนและเกาหลีเหนือยุติสงครามเกาหลี จากมุมมองวิทยาศาสตร์การทหาร สงครามเกาหลีเป็นการรวมยุทธศาสตร์และยุทธวิธีของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สองเข้าด้วยกัน โดยเริ่มต้นจากการสงครามเคลื่อนที่ด้วยการเข้าตีของทหารราบอย่างรวดเร็ว ตามด้วยการตีโฉบฉวยทิ้งระเบิดทางอากาศ แต่กลายเป็นสงครามสนามเพลาะที่อยู่นิ่งเมื่อถึงเดือนกรกฎาคม 1951.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสงครามเกาหลี · ดูเพิ่มเติม »

สงครามเวียดนาม

งครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498 กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่ง เวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามใต้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคนHeuveline, Patrick (2001).

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและสงครามเวียดนาม · ดูเพิ่มเติม »

จอมพลแห่งสหภาพโซเวียต

อมพลแห่งสหภาพโซเวียต (Ма́ршал Сове́тского Сою́за) เป็นยศสูงสุดในกองทัพโซเวียต (ส่วนยศสูงสุด จอมพลสูงสุดแห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการเสนอให้โจเซฟ สตาลินหลังสงครามโลกครั้งที่สองนั้น ไม่เคยได้รับอนุมัติอย่างเป็นทางการ).

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต · ดูเพิ่มเติม »

ปืนกลมือ

ปืนกลมือเฮคเลอร์แอนด์คอช เอ็มพี5ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยผู้คุมกฎหมาย ทีมยุทธการและกองกำลังทางทหาร ปืนกลมือหรือปกม. (Submachine Gun, SMG) เป็นปืนที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ มีขนาดกะทัดรัดสามารถประทับยิงคนเดียวได้อย่างรวดเร็ว มีระยะยิงหวังผลไม่ไกลนัก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วปืนกลมือจะใช้กระสุนของปืนพกกึ่งอัตโนมัติ เนื่องจากนิยมใช้ในการยิงต่อสู้ระยะประชิดตัว และจะมีซองกระสุนที่สามารถบรรจุกระสุนได้ในปริมาณมากกว่าปืนพก ปืนกลมือรุ่นแรกของโลกนั้นคือ ปืนกลมือเบิร์กมันน์ เอ็มพี18 ของฝ่ายเยอรมัน ออกแบบโดย Hugo Schmeisser เมื่อปี พ.ศ. 2459 และ เปิดสายการผลิตในปี พ.ศ. 2461 โดย ธีโอดอร์ เบิร์กมันน์ (Theodor Bergmann) และ ในปีเดียวกัน ปืนกลมือรุ่นดังกล่าวได้เข้าประจำการในกองทัพบกเยอรมัน ส่วนในประเทศไทยนั้นนิยมเรียกปืนกลมือรุ่นนี้ว่า ปืนกลแบล็คมันน์ ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตนักโทษของกรมราชทัณฑ.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนกลมือ · ดูเพิ่มเติม »

ปืนกลเดกเตียริออฟ

ปืนกลเดกเตียริออฟ (Пулемёт Дегтярёвa Пехотный. Pulemyot Degtyaryova Pekhotny "Degtyaryov's infantry machine gun") เป็นปืนกลเบาใช้กระสุนขนาด 7.62×54mmR ถูกใช้ในสหภาพโซเวียตในปี 1928 ปืนกลเดกเตียริออฟเป็นบรรพบุรุษของ RPD machine gun.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนกลเดกเตียริออฟ · ดูเพิ่มเติม »

ปืนสั้น

ปืนสั้น หรือ ปืนพก (handgun) ปืนที่สามารถถือยิงได้ด้วยมือเดียว แต่โดยมากเรียกรวมกันว่าปืนสั้น มีสองชนิดแบ่งตามลักษณะของการเก็บกระสุน ได้แก่ ลูกโม่ (revolver) และแบบที่มีการเก็บกระสุนต่อรวมเข้ากับลำกล้อง (pistol) ซึ่งยังจำแนกต่อไปได้อีก นอกจากนี้แล้ว ปืนสั้นยังหมายรวมถึงปืนสั้นยิงทีละนัด (single-shot pistols) ปืนลูกโม่ ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ (semi-automatic pistols) และปืนสั้นอัตโนมัติ (machine pistols) สำหรับทางขวามือ เป็นปืนสั้นชนิดที่มีการเก็บกระสุนต่อรวมเข้ากับลำกล้อง โคลท์ M1911 หมวดหมู่:อาวุธปืน หมวดหมู่:ปืนสั้น fa:سلاح کمری.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนสั้น · ดูเพิ่มเติม »

ปืนซุ่มยิงดรากูนอฟ

ปืนซุ่มยิงดรากูนอฟ หรือ SVD (Снайперская винтовка Драгунова, Snayperskaya Vintovka Dragunova (SVD) เป็นปืนซุ่มยิงระยะไกลแบบกึ่งอัตโนมัติทำงานด้วยระบบแกส ที่พัฒนาในสหภาพโซเวียต ออกแบบโดยเยฟเกนี ดรากูนอฟ และเข้าประจำการตั้งแต่ปี ค.ศ. 1963 โดยพัฒนามาจากปืนไรเฟิลตระกูลเอเค 47 ปืนซุ่มยิงดรากูนอฟถูกจัดให้เป็นปืนระยะกลาง ที่มีความแม่นยำกว่าปืนประเภท Assault Rifle (ตัวอย่างเช่น ปืนในตระกูล M4) แต่ยังเป็นรองปืนประเภท Sniper Rifle ปืนซุ่มยิงดรากูนอฟ ใช้กระสุนขนาด 7.62×54 mmR ความยาวลำกล้อง 620 มม. ความเร็วของกระสุน 830 ม./วินาที ระยะหวังผล 800 เมตร แต่ถ้าใช้กล้อง PSO-1M2-1 ในการเล็งก็สามารถที่จะยิงได้ไกลถึง 1,300 เมตร (ระยะขนาดนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ของผู้ยิง) หน้าที่หลักๆ ของปืนซุ่มยิงดรากูนอฟ จะถูกใช้เป็นปืนของพลชี้เป้าให้พลซุ่มยิงที่ใช้ปืนประเภท Sniper Rifle มากกว่าจะนำไปใช้ในการลอบสังหารบุคคลเพราะระยะความแม่นยำของมันยังเป็นรองปืนประเภท Sniper Rlfle ส่วนใหญ่ถ้าจะใช้เป็นปืนซุ่มยิงก็จะใช้ในระยะที่ไม่ไกลนักเพราะถ้ายิงพลาดก็สามารถที่จะยิงซ้ำได้ในทันทีเพราะตัวปืนนั้นมีระบบ Semi Auto ที่ช่วยให้ยิงต่อเนื่องได้ ปืนซุ่มยิงดรากูนอฟมีใช้ในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศสมาชิกจากสนธิสัญญาวอร์ซอ และได้ขายสิทธิบัตรให้มีการผลิตในประเทศจีนและประเทศอิหร่าน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนซุ่มยิงดรากูนอฟ · ดูเพิ่มเติม »

ปืนไรเฟิลซุ่มยิง

M40, ปืนไรเฟิลซุ่มยิงมาตรฐานของนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา คำศัพท์ในทางการทหารและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย ปืนไรเฟิลซุ่มยิง (sniper rifle) คือปืนเล็กยาวที่สามารถวางต่ำแหน่งกระสุนได้แม่นยำในระยะยิงที่ไกลกว่าอาวุธปืนประจำกายชนิดอื่น ปืนไรเฟิลซุ่มยิงโดยทั่วไปจะถูกสร้างขั้นอย่างระมัดระวังในความถูกต้องเหมาะสม ติดตั้งกล้องเล็ง และรังเพลิงสำหรับปลอกกระสุนชนวนกลาง คำๆนี้บ่อยครั้งที่ในสื่อใช้บรรยายถึงปืนที่ติดตั้งกล้องส่องเพิ่มที่ใช้กับเป้าหมายที่เป็นบุคคล บทบาททางทหารของพลซุ่มยิง (คำนี้มาจากนกปากซ่อม (snipe) ซึ่งเป็นนกที่ล่าหรือยิงได้ยากมาก) สามารถสืบย้อนไปได้ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แต่ปืนไรเฟิลซุ่มยิงที่แท้จริงกลับมีการพัฒนาเป็นอย่างมากเมื่อเร็วๆนี้ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีโดยเฉพาะกล้องส่องและอุตสาหกรรมการผลิตยิ่งช่วยเพิ่มความแม่นยำให้กับปืน ยิ่งถูกใช้ด้วยบุคลากรทางกองทัพที่ได้รับการฝึกเป็นพิเศษปืนจะยิ่งได้แม่นยำไกลกว่าปืนไรเฟิลปกติ ปืนไรเฟิลซุ่มยิงอาจมีพื้นฐานจากปืนไรเฟิลพื้นฐานแต่เมื่อติดกล้องส่องมันก็จะกลายเป็นปืนไรเฟิลซุ่มยิง.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนไรเฟิลซุ่มยิง · ดูเพิ่มเติม »

ปืนเล็กยาว

ปืนเล็กยาว หรือไรเฟิล (Rifle) เป็นอาวุธปืนที่มีขนาดยาว ถูกออกแบบมาเพื่อการยิงทำลายเป้าหมายที่อยู่ในระยะไกลโดยเฉพาะ โดยจะมีพานท้ายสำหรับใช้ประทับร่องไหล่ เพื่อช่วยในการเล็งหาเป้าหมาย ภายในลำกล้องมีการเซาะให้เป็นสันและร่องเกลียวที่ผนังลำกล้อง ซึ่งสันเกลียวเรียกว่า "Land" ส่วนร่องเกลียวเรียกว่า "Groove" ซึ่งสันเกลียวนี้จะสัมผัสกับหัวกระสุนและรีดหัวกระสุนไปตามสันเกลียวและหมุนควงรอบตัวเอง เพื่อรักษาการเคลื่อนที่ของหัวกระสุนไม่ให้ตีลังกาในอากาศและเพื่อเพิ่มความแม่นยำตลอดจนอานุภาพสังหาร เทียบได้กับการขว้างลูกบอลในกีฬาอเมริกันฟุตบอลหรือกีฬารักบี้ คำว่า "ไรเฟิล (Rifle)" นั้นมาจากคำว่า Rifling ซึ่งแปลว่าการทำให้เป็นร่อง นิยมใช้เป็นอาวุธของทหารในสงคราม การล่าสัตว์ และกีฬายิงปืน ในทางทหารแล้วคำว่า "ปืน (Gun)" ไม่ได้หมายถึงปืนเล็กยาว ในทางทหารคำว่า "ปืน (Gun)" หมายถึง ปืนใหญ่ นอกจากนี้ ในงานนวนิยายหลายเรื่อง คำว่าปืนเล็กยาวหรือปืนไรเฟิลจะหมายถึงอาวุธใดๆ ก็ตามที่มีพานท้ายและต้องประทับบ่าก่อนยิง ถึงแม้ว่าอาวุธดังกล่าวจะไม่ได้ทำร่องในลำกล้องหรือไม่ได้ยิงกระสุนก็ตาม.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนเล็กยาว · ดูเพิ่มเติม »

ปืนเล็กยาวจู่โจม

ปืนเอ็ม16 ประจำการครั้งแรกในกองทัพอากาศสหรัฐ เมื่อปี ค.ศ. 1965 ใช้กระสุนขนาด 5.56x45 มม. นาโต เป็นอาวุธปืนที่ประจำการยาวนานที่สุดในกองทัพสหรัฐ ปืนเล็กยาวจู่โจม หรือ ปืนไรเฟิลจู่โจม (Assault rifle) เป็นปืนเล็กยาว ยิงด้วยระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติไปตามวงรอบจนกว่ากระสุนจะหมด ด้วยอัตราการยิงสูง ปืนเล็กยาวจู่โจมจัดเป็นอาวุธประจำกายของทหารในราชการกองทัพ ตามหลักนิยมในการจัดกำลัง 1 หมู่ (Squad) จะมีพลปืนเล็กจำนวน 5 นายและอีก 1 นายใช้ปืนเล็กกลหรือปืนกลเบา เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรบ เช่น เอ็ม1 กาแรนด์และเอสวีที-40 ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตัวอย่างปืนเล็กยาวจู่โจม เช่น เอเค 47 เอ็ม16 ฟามาส สไตเออร์ เอยูจี ปืนเล็กยาวกึ่งอัตโนมัติ ได้แก่ เออาร์-15.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนเล็กยาวจู่โจม · ดูเพิ่มเติม »

ปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์

ปืนไรเฟิล 3 ไลน์ เอ็ม 1891 (3-line rifle M1891, трёхлинейная винтовка образца 1891 года, tryokhlineynaya vintovka obraztsa 1891 goda) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โมซิน-นากองท์ (Mosin–Nagant, винтовка Мосина) เป็นปืนไรเฟิลที่ถูกพัฒนาโดยกองทัพจักรวรรดิรัสเซียในปี 1882-1891 และใช้งานโดยกองทัพจักรวรรดิรัสเซียและสหภาพโซเวียตและประเทศอื่น ๆ ถูกผลิตมากกว่า 37 ล้านกระบอกนับตั้งแต่เริ่มผลิตในปี 1891 และถูกนำมาใช้ในความขัดแย้งต่าง ๆ ทั่วโลกจนถึงสมัยปัจจุบัน.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและปืนเล็กยาวโมซิน-นากองท์ · ดูเพิ่มเติม »

โจเซฟ สตาลิน

ซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin อิโอซิฟ วิซซาริโอโนวิช สตาลิน; อังกฤษ: Joseph Stalin) (1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและโจเซฟ สตาลิน · ดูเพิ่มเติม »

เอสวีที-40

ทหารโซเวียตกับปืนไรเฟิล เอสวีที-40 เอสวีที-40 (SVT-40,ย่อมาSamozaryadnaya Vintovka Tokareva, Obrazets 1940 godaСамозарядная винтовка Токарева, образец 1940 года.) ปืนไรเฟิลของสหภาพโซเวียตผลิตใช้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ตั้งใจจะเป็นปืนไรเฟิลประจำการใหม่ของกองทัพแดงโซเวียตแทนปืนไรเฟิลโมซิน-นากองท์ แต่การผลิตได้หยุดชะงักจากการรุกรานของเยอรมนี ทำให้การผลิตช้าซึงทำให้กองทัพหันไปใช้ปืนไรเฟิลโมซิน-นากองท์ซึ่งการผลิตได้รวดเร็วกว.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเอสวีที-40 · ดูเพิ่มเติม »

เอสเคเอส

อสเคเอส เป็นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติโซเวียตลำกล้อง 7.62 × 39มม.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเอสเคเอส · ดูเพิ่มเติม »

เอเค 47

อเค-47 หรือ ปืนอาก้า (AK-47) เป็นปืนเล็กยาวจู่โจมขนาด 7.62 ม.ม.ที่ทำงานด้วยระบบแก๊สและเลือกการยิงได้ มันถูกสร้างขึ้นครั้งแรกโดยมิคาอิล คาลาชนิคอฟของสหภาพโซเวียต ชื่อเอเค-47 ย่อมาจาก Avtomat Kalashnikova หรือ 'Kalashnikov's Automatic Rifle โดยระบบเลือกยิงนั้น มี กึ่งอัตโนมัติ และ อัตโนมัติ การออกแบบเริ่มขึ้นเมื่อปี..

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและเอเค 47 · ดูเพิ่มเติม »

15 มกราคม

วันที่ 15 มกราคม เป็นวันที่ 15 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 350 วันในปีนั้น (351 วันในปีอธิกสุรทิน).

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและ15 มกราคม · ดูเพิ่มเติม »

23 กุมภาพันธ์

วันที่ 23 กุมภาพันธ์ เป็นวันที่ 54 ของปี ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 311 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและ23 กุมภาพันธ์ · ดูเพิ่มเติม »

25 ธันวาคม

วันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่ 359 ของปี (วันที่ 360 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 6 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: กองทัพโซเวียตและ25 ธันวาคม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กองทัพสหภาพโซเวียต

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »