เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและยุทธการที่กอกามีลา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและยุทธการที่กอกามีลา

กองทัพมาเกโดเนียโบราณ vs. ยุทธการที่กอกามีลา

กองทัพของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา นับเป็นหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกยุคโบราณ กองทัพนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 แห่งมาเกโดเนีย จนมีขีดความสามารถในการสู้รบสูงและมีความคล่องตัวในการใช้งานหลายภูมิประเทศ พระเจ้าฟิลิปโปสคิดค้นนวัตกรรมในการสงครามหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือการสร้างกองกำลังทหารอาชีพประจำการ ซึ่งทำให้พระเจ้าฟิลิปโปสสามารถฝึกทหารของตนได้สม่ำเสมอ ทำให้ทหารมาเกดอนมีระเบียบวินัย สามารถเคลื่อนทัพและแปรขบวนรบได้โดยไม่แตกแถว ภายในระยะเวลาสั้นๆกองกำลังนี้ก็ถูกแปรสภาพกลายเป็นหนึ่งเครื่องจักรสงครามที่ทรงพลานุภาพที่สุดในโลกยุคโบราณ โดยสามารถพิชิตกองกำลังพันธมิตรกรีก และรวบรวมกรีซให้เป็นหนึ่งได้ภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็สามารถพิชิตกองทัพของจักรวรรดิเปอร์เซีย และเป็นแบบอย่างที่กองทัพของราชวงศ์แอนติโกนีด จักรวรรดิเซลิวซิด และราชอาณาจักรทอเลมี ยึดถือร่วมกันในช่วงศตวรรษที่ 3 และ 2 ก่อนคริสตกาล การพัฒนาทางยุทธวิธีได้แก่ การปรับปรุงการใช้กระบวนทัพฟาลังซ์ของกรีก ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยนายพลอีพามินอนดัส (Epaminondas) แห่งธีบส์ และอิฟิเครตีส (Iphicrates) แห่งเอเธนส์ ฯ พระเจ้าฟิลิปโปสที่ ๒ รับมาใช้ ทั้งการตั้งขบวนฟาลังซ์แบบแถวลึกของเอปามินอนดัส และ นวัตกรรมของอิฟิเครตีสที่ริเริ่มใช้หอกที่ยาวขึ้นกับโล่ที่ขนาดเล็กและเบาลง โดยฟิลิปโปสปรับหอกให้ยาวขึ้นไปอีก จนกลายเป็นหอกยาวสิบแปดฟุตที่ต้องถือสองมือ เรียกว่าซาริสซา (Sarissa) ความยาวของซาริสซาทำให้พลทหารราบแถวฟาลังซ์มีความได้เปรียบทั้งในการโจมตี และตั้งรับ และเปลี่ยนโฉมหน้าการสงครามของกรีซ โดยทำให้กองทหารม้ากลายเป็นอาวุธชี้ขาดแพ้ชนะเป็นครั้งแรกในสมรภูมิ กองทัพของมาเกโดเนียฝึกการประสานการรบระหว่างหน่วยต่อสู้ประเภทต่างๆจนถึงขีดสมบูรณ์แบบ - ตัวอย่างของยุทธวิธีผสม (หรือการปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธี) ของกองทัพมาเกโดเนีย ประกอบไปด้วย พลทหารราบฟาลังซ์ติดอาวุธหนัก หน่วยทหารราบเข้าปะทะ พลธนู พลทหารม้าติดอาวุธหนักและเบา และอาวุธปิดล้อม ซึ่งแต่ละหน่วยจะใช้ความได้เปรียบของตนให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน กองทัพของมาเกโดเนียเป็นกองกำลังผสมหลายชาติ พระเจ้าฟิิลิปโปสรวบรวมกองกำลังทหารจากทั้งในมาเกโดเนีย และนครรัฐกรีกต่างๆ (โดยเฉพาะกองกำลังมหารม้าจากเทสซาลี) เข้าด้วยกัน โดยยังมีกองทหารรับจ้างจากทั่วหมู่เกาะอีเจียน และจากบอลข่านรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพด้วย พอถึงปีที่ ๓๓๘ ก่อน.. ทธการที่กอกามีลา (Battle of Gaugamela) หรือ ยุทธการที่อาร์เบลา (Battle of Arbela) เป็นยุทธการที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 331 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นการสู้รบระหว่างทัพมาซิดอนร่วมกับสันนิบาตโครินธ์ นำโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชและทัพเปอร์เซีย นำโดยพระเจ้าดาไรอัสที่ 3 ยุทธการครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของสงครามพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช สนามรบอยู่ใกล้กับเมืองโมซูล ประเทศอิรักในปัจจุบัน.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและยุทธการที่กอกามีลา

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและยุทธการที่กอกามีลา มี 5 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): ราชอาณาจักรมาเกโดนีอารูปขบวนแฟแลงซ์อานาโตเลียอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรวรรดิอะคีเมนิด

ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ยุทธการที่กอกามีลาและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

รูปขบวนแฟแลงซ์

วาดฮอปไลต์กรีกเดินในรูปขบวนแฟแลงซ์ แฟแลงซ์ หรือ ฟาลังซ์ (phalanx; φάλαγξ, พหูพจน์ phalanxes หรือ phalanges, φάλαγγες) เป็นรูปขบวนทหารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยทั่วไปประกอบด้วยทหารราบหนักทั้งหมดที่ถือหอก ไพค์ (pike) ซาริสซา (sarissa) หรืออาวุธที่คล้ายกัน คำนี้เจาะจง (และแต่แรก) ใช้อธิบายการใช้รูปขบวนนี้ในการสงครามกรีกโบราณ แม้นักเขียนกรีกโบราณใช้คำนี้อธิบายรูปขบวนทหารราบใดก็ตามที่เป็นกลุ่ม (massed) ไม่ว่าจะถือยุทธภัณฑ์ใด ในเอกสารกรีกโบราณพูดถึงแฟแลงซ์ว่า อาจเป็นการวางกำลังสำหรับการยุทธ์ การเดิน หรือแม้แต่การตั้งค่าย ฉะนั้นจึงอธิบายกลุ่มทหารราบหรือทหารม้าที่จะจัดวางกำลังเป็นเส้นตรงระหว่างการยุทธ์ ทหารเหล่านี้เดินหน้าเป็นหน่วยเดียวและบดขยี้ข้าศึก คำว่า แฟแลงซ์ มาจากภาษากรีก หมายถึง นิ้ว ในปัจจุบัน คำนี้ไม่ได้ใช้เรียกหน่วยทหารหรือกองพล (เช่น ลีเจียนของโรมันหรือกองพันแบบตะวันตกร่วมสมัย) แต่ใช้เรียกรูปขบวนทั่วไปของทหาร ฉะนั้น แฟแลงซ์จึงไม่มีกำลังรบหรือการประกอบกำลังมาตรฐาน ทว่ารวมเรียกทหารราบทั้งหมดซึ่งวางหรือจะวางกำลังในหน้าที่ในรูปขบวนแฟแลงซ์เดี่ยว ทหารถือหอกจำนวนมากในอดีตสู้รบกันในรูปขบวนที่อาจเรียกได้ว่าคล้ายแฟแลงซ์ คำนี้จึงมีใช้ในภาษาอังกฤษทั่วไปเพื่ออธิบาย "กลุ่มคนที่กำลังยืนหรือกำลังเคลื่อนไปด้านหน้าใกล้กัน".

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและรูปขบวนแฟแลงซ์ · ยุทธการที่กอกามีลาและรูปขบวนแฟแลงซ์ · ดูเพิ่มเติม »

อานาโตเลีย

อานาโตเลีย (อังกฤษ: (Anatolia), กรีก: ανατολή หมายถึง "อาทิตย์อุทัย" หรือ "ตะวันออก") นิยมเรียกในภาษาละตินว่า เอเชียน้อย อีกด้วย เป็นดินแดนทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ที่เชื่อมต่อระหว่างเอเชียกับยุโรป คาบสมุทรอานาโตเลียมีพื้นที่ประมาณ 757,000 ตร.กม.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและอานาโตเลีย · ยุทธการที่กอกามีลาและอานาโตเลีย · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ยุทธการที่กอกามีลาและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิอะคีเมนิด

ักรวรรดิอะคีเมนียะห์ หรือ จักรวรรดิเปอร์เชียอะคีเมนียะห์ (Achaemenid Empire หรือ Achaemenid Persian Empire, هخامنشیان) (550–330 ก.ค.ศ.) เป็นหนึ่งในจักรวรรดิแรกของจักรวรรดิเปอร์เชียที่ปกครองอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของเกรตเตอร์อิหร่านที่ตามมาจากจักรวรรดิมีเดีย ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดจักรวรรดิอะคีเมนียะห์มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7.5 ล้านตารางกิโลเมตร ที่ทำให้เป็นจักรวรรดิที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุคโบราณ และเป็นจักรวรรดิที่วางรากฐานของระบบการปกครองจากศูนย์กลางSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty) จักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งขึ้นโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปที่รวมทั้งดินแดนในอัฟกานิสถาน และ ปากีสถาน, บางส่วนของเอเชียกลาง, อานาโตเลีย, เธรซ, บริเวณริมฝั่งทะเลดำส่วนใหญ่, อิรัก, ตอนเหนือของซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, ปาเลสไตน์, เลบานอน, ซีเรีย และอียิปต์ไปจนถึงลิเบีย จักรวรรดิอะคีเมนียะห์เป็นศัตรูของนครรัฐกรีกในสงครามกรีซ-เปอร์เชีย เพราะไปปล่อยชาวยิวจากบาบิโลเนีย และในการก่อตั้งให้ภาษาอราเมอิกเป็นภาษาราชการ และพ่ายแพ้ต่ออเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 330 ก่อนคริสต์ศักราช ความสำคัญทางประวัติศาสตร์โลกของจักรวรรดิอะคีเมนียะห์ที่ก่อตั้งโดยจักรพรรดิไซรัสมหาราชก็คือกาวางรากฐานที่ได้รับความสำเร็จของระบบการบริหารการปกครองจากศูนย์กลาง และของรัฐบาลที่มีปรัชญาในการสร้างประโยชน์ให้แก่มวลชนSchmitt Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty).

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและจักรวรรดิอะคีเมนิด · จักรวรรดิอะคีเมนิดและยุทธการที่กอกามีลา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและยุทธการที่กอกามีลา

กองทัพมาเกโดเนียโบราณ มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ ยุทธการที่กอกามีลา มี 16 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 5, ดัชนี Jaccard คือ 12.82% = 5 / (23 + 16)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและยุทธการที่กอกามีลา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่: