โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

ทางลัด: ความแตกต่างความคล้ายคลึงกันค่าสัมประสิทธิ์การเปรียบเทียบ Jaccardการอ้างอิง

ความแตกต่างระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

กองทัพมาเกโดเนียโบราณ vs. ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

กองทัพของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา นับเป็นหนึ่งในกองกำลังทางทหารที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกยุคโบราณ กองทัพนี้ถูกพัฒนาขึ้นโดยพระเจ้าฟิลิปส์ที่ 2 แห่งมาเกโดเนีย จนมีขีดความสามารถในการสู้รบสูงและมีความคล่องตัวในการใช้งานหลายภูมิประเทศ พระเจ้าฟิลิปโปสคิดค้นนวัตกรรมในการสงครามหลายอย่าง แต่ที่สำคัญคือการสร้างกองกำลังทหารอาชีพประจำการ ซึ่งทำให้พระเจ้าฟิลิปโปสสามารถฝึกทหารของตนได้สม่ำเสมอ ทำให้ทหารมาเกดอนมีระเบียบวินัย สามารถเคลื่อนทัพและแปรขบวนรบได้โดยไม่แตกแถว ภายในระยะเวลาสั้นๆกองกำลังนี้ก็ถูกแปรสภาพกลายเป็นหนึ่งเครื่องจักรสงครามที่ทรงพลานุภาพที่สุดในโลกยุคโบราณ โดยสามารถพิชิตกองกำลังพันธมิตรกรีก และรวบรวมกรีซให้เป็นหนึ่งได้ภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นก็สามารถพิชิตกองทัพของจักรวรรดิเปอร์เซีย และเป็นแบบอย่างที่กองทัพของราชวงศ์แอนติโกนีด จักรวรรดิเซลิวซิด และราชอาณาจักรทอเลมี ยึดถือร่วมกันในช่วงศตวรรษที่ 3 และ 2 ก่อนคริสตกาล การพัฒนาทางยุทธวิธีได้แก่ การปรับปรุงการใช้กระบวนทัพฟาลังซ์ของกรีก ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยนายพลอีพามินอนดัส (Epaminondas) แห่งธีบส์ และอิฟิเครตีส (Iphicrates) แห่งเอเธนส์ ฯ พระเจ้าฟิลิปโปสที่ ๒ รับมาใช้ ทั้งการตั้งขบวนฟาลังซ์แบบแถวลึกของเอปามินอนดัส และ นวัตกรรมของอิฟิเครตีสที่ริเริ่มใช้หอกที่ยาวขึ้นกับโล่ที่ขนาดเล็กและเบาลง โดยฟิลิปโปสปรับหอกให้ยาวขึ้นไปอีก จนกลายเป็นหอกยาวสิบแปดฟุตที่ต้องถือสองมือ เรียกว่าซาริสซา (Sarissa) ความยาวของซาริสซาทำให้พลทหารราบแถวฟาลังซ์มีความได้เปรียบทั้งในการโจมตี และตั้งรับ และเปลี่ยนโฉมหน้าการสงครามของกรีซ โดยทำให้กองทหารม้ากลายเป็นอาวุธชี้ขาดแพ้ชนะเป็นครั้งแรกในสมรภูมิ กองทัพของมาเกโดเนียฝึกการประสานการรบระหว่างหน่วยต่อสู้ประเภทต่างๆจนถึงขีดสมบูรณ์แบบ - ตัวอย่างของยุทธวิธีผสม (หรือการปฏิบัติการร่วมทางยุทธวิธี) ของกองทัพมาเกโดเนีย ประกอบไปด้วย พลทหารราบฟาลังซ์ติดอาวุธหนัก หน่วยทหารราบเข้าปะทะ พลธนู พลทหารม้าติดอาวุธหนักและเบา และอาวุธปิดล้อม ซึ่งแต่ละหน่วยจะใช้ความได้เปรียบของตนให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน กองทัพของมาเกโดเนียเป็นกองกำลังผสมหลายชาติ พระเจ้าฟิิลิปโปสรวบรวมกองกำลังทหารจากทั้งในมาเกโดเนีย และนครรัฐกรีกต่างๆ (โดยเฉพาะกองกำลังมหารม้าจากเทสซาลี) เข้าด้วยกัน โดยยังมีกองทหารรับจ้างจากทั่วหมู่เกาะอีเจียน และจากบอลข่านรวมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพด้วย พอถึงปีที่ ๓๓๘ ก่อน.. มาเกโดนีอา (Μακεδονία) หรือ มาซิโดเนีย (Macedonia) เป็นราชอาณาจักรในกรีซโบราณที่มีศูนย์กลางอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรกรีซ มาเกโดนีอาดินแดนของชนมาเกโดนีอาโบราณมีเขตแดนติดกับราชอาณาจักรอิไพรัส (Epirus) ทางตะวันตก, ราชอาณาจักรไพโอเนีย (Paionia) ทางตอนเหนือ, เทรซทางตะวันออก และเทสซาลี (Thessaly) ทางด้านใต้ ในช่วงระยะเวลาอันสั้นหลังจากการพิชิตดินแดนต่างๆ ของอเล็กซานเดอร์มหาราชราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็เป็นราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลกที่มีดินแดนที่ครอบคลุมกรีซทั้งหมดไปจนถึงอินเดีย ซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคประวัติศาสตร์ที่เรียกว่าสมัยเฮเลนนิสต.

ความคล้ายคลึงกันระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา มี 6 สิ่งที่เหมือนกัน (ใน ยูเนี่ยนพีเดีย): พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอากรีซโบราณสมัยเฮลเลนิสต์อเล็กซานเดอร์มหาราชประเทศอินเดียเพลลา

พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา

ประติมากรรมเศียรของพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา (กรีก: Φίλιππος Β' ὁ Μακεδών-มีความหมายว่า- φίλος (phílos) "เพื่อน" + ἵππος (híppos) "ม้า") กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรมาเกโดนีอา มีรัชสมัยอยู่ระหว่าง 359– 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นพระบิดาของอเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา หรือที่รู้จักดีในนาม อเล็กซานเดอร์มหาราช พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีพระเนตรที่ใช้การได้เพียงข้างเดียว เป็นกษัตริย์นักรบแห่งมาเกโดนีอา ที่ทำการรบเอาชนะนครรัฐต่าง ๆ ของกรีซโบราณได้หลายแห่ง ทั้ง ธีบส์, เอเธนส์ หรือสปาร์ตา เมื่อพระองค์ทำการยึดครองนครรัฐเอเธนส์ซึ่งเสมือนเป็นศูนย์กลางของกรีซโบราณได้แล้ว ทำให้ชาวกรีกในนครรัฐต่าง ๆ ต้องเปลี่ยนมุมมองที่มีต่อชาวมาเกโดนีอาใหม่ จากที่เคยมองว่าเป็นเพียงชนเผ่าที่เหมือนเป็นเผ่าป่าเถื่อน ไร้อารยธรรมทางเหนือของอาณาจักรเท่านั้น เมื่อพระองค์ไม่ได้ทำลายสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ หรือทำลายอารยธรรมของชาวเอเธนส์ หากแต่พระองค์ได้พยายามเรียนรู้และผสมรวมกันกับอารยธรรมของมาเกโดนีอา และพระองค์ยังได้ส่งเสริมนักวิชาการ นักปราชญ์ชาวเอเธนส์ต่าง ๆ ด้วยว่าจ้างให้ไปเผยแพร่ความรู้ยังมาเกโดนีอา และเป็นอาจารย์สอนวิทยาการต่าง ๆ ให้แก่ชาวมาเกโดนีอา เช่น อริสโตเติล ซึ่งอเล็กซานเดอร์ เมื่อครั้งยังเยาว์วัย ก็เป็นลูกศิษย์ของอริสโตเติลด้วยเช่นกัน ในการสงคราม พระองค์ได้ปรับปรุงยุทธวิธีการรบแบบใหม่ ทรงพัฒนากองทัพมาเกโดเนียโบราณขึ้นจนถึงจุดสมบูรณ์แบบ โดยใช้การผสมระหว่างกองทหารราบและกองทหารม้าเข้าไว้ด้วยกัน ใช้อาวุธแบบใหม่ คือ ทวนที่มีความยาวกว่า 5 เมตร โดยการใช้กองทหารตั้งแถวหน้ากระดานเดินบุกขึ้นหน้า และใช้ทวนยาวนี้พุ่งทะลุแทงข้าศึก ซึ่งรูปแบบการรบที่ใช้กันต่อมาอย่างยาวนานของกรีซโบราณ อีกทั้งยังประดิษฐ์หน้าไม้ที่มีอานุภาพยิงได้ระยะไกล และทะลวงเข้าถึงเกราะหรือโล่ของข้าศึกได้อีกด้วย พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา มีประสงค์ที่จะทำสงครามกับอาณาจักรเปอร์เซีย ที่เสมือนเป็นคู่สงครามกับชาวกรีกมาตลอด แต่ประสงค์ของพระองค์มิทันได้เริ่มขึ้น เมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ลงก่อนเมื่อเดือนตุลาคม 336 ปีก่อนคริสต์ศักราช ขณะที่มีพระชนมายุได้ 46 ปี จากการลอบสังหารด้วยมีดปักเข้าที่พระอุระของมือสังหารที่เดินตามหลังพระองค์ ขณะที่พระองค์อยู่ในงานเฉลิมฉลอง ซึ่งไม่มีใครทราบถึงสาเหตุของการลอบสังหารครั้งนี้ เพราะมือสังหารได้ถูกสังหารโดยทหารองครักษ์ลงก่อนที่จะไต่สวนใด ๆ ได้มีการสันนิษฐานต่าง ๆ เช่น อาจเป็นการว่าจ้างของกษัตริย์เปอร์เซียด้วยทองคำ เป็นต้น.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและพีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา · พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอาและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

กรีซโบราณ

กรีซโบราณ (Ancient Greece) เป็นคำที่ใช้เรียกถึงบริเวณที่มีการพูดภาษากรีกในโลกยุคโบราณ ซึ่งไม่เพียงอ้างถึงพื้นที่คาบสมุทรของกรีซยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังกล่าวรวมถึงอารยธรรมกรีกโบราณซึ่งเป็นที่ตั้งรกรากถิ่นฐานโดยชาวกรีกในยุคโบราณอันได้แก่ ไซปรัส, บริเวณชายฝั่งของทะเลอีเจียนของตุรกี (หรือที่รู้จักในนามไอโอเนีย), ซิซิลีและทางใต้ของอิตาลี (หรือที่รู้จักในนามแมกนา เกรเชีย) และถิ่นฐานซึ่งกระจายออกไปของชาวกรีกตามชายฝั่งต่างๆซึ่งปัจจุบันเป็นประเทศ บัลแกเรีย ฝรั่งเศส ยูเครน โรมาเนีย ลิเบีย สเปน อัลแบเนีย และอียิปต.

กรีซโบราณและกองทัพมาเกโดเนียโบราณ · กรีซโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

สมัยเฮลเลนิสต์

มัยเฮลเลนิสต์ (Hellenistic period) เป็นสมัยที่เริ่มขึ้นหลังจากอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิดอนได้รับชัยชนะต่อจักรวรรดิเปอร์เชีย ในช่วงนี้อารยธรรมของกรีกก็ขึ้นถึงจุดสูงสุดทั้งในยุโรปและเอเชีย มักจะถือกันว่าเป็นสมัยคาบเกี่ยว (transition) หรือบางครั้งก็เกือบจะถือว่าเป็นสมัยของความเสื่อมโทรมหรือสมัยของการใช้ชีวิตอันเกินเลย (decadence) ระหว่างความรุ่งเรืองของสมัยกรีกคลาสสิก (Classical Greece) กับการเริ่มก่อตัวของจักรวรรดิโรมัน สมัยเฮลเลนิสต์ถือกันว่าเริ่มขึ้นหลังจากการเสด็จสวรรคตของอเล็กซานเดอร์มหาราชในปี 323 ก่อนคริสต์ศตวรรษ จนมาสิ้นสุดลงราวปี 146 ก่อนคริสต์ศตวรรษซึ่งเป็นปีที่สาธารณรัฐโรมันได้รับชัยชนะต่อดินแดนสำคัญของกรีซ หรืออาจจะดำเนินต่อมาถึงปี 30 ก่อนคริสต์ศตวรรษเมื่อมาเสียราชอาณาจักรทอเลมีในอียิปต์แก่จักรวรรดิโรมันซึ่งเป็นดินแดนสุดท้ายที่ยังคงรักษาอารยธรรมเฮลเลนิสต์ สมัยเฮลเลนิสต์เป็นสมัยทีเป็นการก่อตั้งราชอาณาจักร และเมืองต่าง ๆ ของกรีกในเอเชียและแอฟริก.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและสมัยเฮลเลนิสต์ · ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาและสมัยเฮลเลนิสต์ · ดูเพิ่มเติม »

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาและอเล็กซานเดอร์มหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินเดีย

อินเดีย (India; भारत, ออกเสียง) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย (Republic of India; भारत गणराज्य) ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดร้อยแปดสิบแปดภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกติดพม่า ทางตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกเฉียงใต้ติดศรีลังกา ล้อมรอบบังกลาเทศทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศตะวันตก นอกนั้นยังมีเขตแดนทางทะเลต่อเนื่องกับน่านน้ำไทย พม่า และอินโดนีเซีย และด้วยพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร อินเดียจึงเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 7 ของโลก.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและประเทศอินเดีย · ประเทศอินเดียและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา · ดูเพิ่มเติม »

เพลลา

ลลา (Πέλλα) เป็นเมืองโบราณตั้งอยู่ทางตอนกลางของมาเซโดเนีย ประเทศกรีซ รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นเมืองหลวงในประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ในสมัยกรีซโบราณ และเป็นสถานที่ประสูติของทั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และพระเจ้าพีลิปโปสที่ 2 พระราชบิดาของพระองค์ ชื่อ เพลลา ในภาษากรีกโบราณ หมายถึง "ก้อนหิน" เพลลาถูกกล่าวถึงเป็นครั้งแรก โดยเฮรอโดตัสแห่งฮาลิคาร์นาสซัส (ล.VII, 123) ในความเกี่ยวเนื่องกับการสงครามของพระเจ้าเซิร์กซีส และ โดยนักประวัติศาสตร์ ธูซีดิดีส (Thucydides) ซึ่งบรรยายถึงการขยายตัวของมาเกโดนีอา และสงครามกับชาวเทรเชียน เพลลาถูกสร้างขึ้นให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรโดยพระเจ้าอาร์คิเลอัสที่ 1 แห่งมาเกโดนีอา (Ἀρχέλαος) เพื่อแทนที่พระราชวัง-นคร ไอไก (Aigai) ซึ่งเป็นพระราชวังเก่า (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่เมืองเวรกีน่า (Vergina) ในตอนเหนือของกรีซ) โดยอาร์คิเลอัสเชิญ ซีวซิส (Zeuxis) ช่างวาดภาพและทาสีที่เก่งที่สุดในสมัยนั้นมาตกแต่งพระราชวังให้ และยังเชิญศิลปินเรืองนามอื่นๆมาพำนักด้วย รวมถึงนาฏศิลปินเอกยูริพิดีสจากเอเธนส์ ละครของยูริพิดีสเรื่อง แบคไค (Bacchae) ก็ได้ออกแสดงบนเวทีเป็นครั้งแรกที่วังนี้ ราวปีที่ 408 ก่อนค.ศ.ฯ เซโนฟอนบันทึกไว้ (เมื่อปีที่ 382 ก่อน..) ว่า เพลลาเป็นเมืองที่ใหญ่ และรำ่รวยที่สุดในมาเกโดนีอา เมืองเพลลาเข้าสู่ยุคที่มีขีดความมั่งคั่งสูงสุดหลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์สิ้นพระชนม์ โดยเฉพาะภายใต้การปกครองของราชวงศ์แอนติปาทริด - ราชวงศ์อายุสั้นที่ก่อตั้งโดยแอนติปาเตอร์ และมีคาสซานเดอร์เป็นปฐมกษัตริย์ - และราชวงศ์แอนติโกนีด สิ่งก่อสร้างใหญ่โตที่หลงเหลือให้เห็นในแหล่งขุดค้นทางโบราณคดีส่วนใหญ่สร้างในรัชสมัยของแอนติโกนัสที่ 2 หลังจากที่พันธมิตรกรีกและมาเกโดนีอา ถูกกองทัพสาธารณรัฐโรมันกำหราบลงในสงครามมาเกโดนีอาครั้งที่สาม นครเพลลาถูกเข้าปล้นชิงโดยกองทัพของโรม ในปีที่ 168 ก่อนค.ศ. ทรัพย์สินของมีค่าถูกขนไปโรมเกือบทั้งหมด และราชอาณาจักรมาเกโดนีอาก็ถูกลดสถานะลงเป็นแค่จังหวัดหนึ่งของโรมนับแต่นั้นม.

กองทัพมาเกโดเนียโบราณและเพลลา · ราชอาณาจักรมาเกโดนีอาและเพลลา · ดูเพิ่มเติม »

รายการด้านบนตอบคำถามต่อไปนี้

การเปรียบเทียบระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา

กองทัพมาเกโดเนียโบราณ มี 23 ความสัมพันธ์ขณะที่ ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา มี 14 ขณะที่พวกเขามีเหมือนกัน 6, ดัชนี Jaccard คือ 16.22% = 6 / (23 + 14)

การอ้างอิง

บทความนี้แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง กองทัพมาเกโดเนียโบราณและราชอาณาจักรมาเกโดนีอา หากต้องการเข้าถึงบทความแต่ละบทความที่ได้รับการรวบรวมข้อมูลโปรดไปที่:

Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »