โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

ดัชนี ยอห์นผู้ให้บัพติศมา

อห์นผู้ให้บัพติศมา (โปรเตสแตนต์เดิมเรียกว่ายอห์นผู้ให้รับบัพติศมา) ยอห์นผู้ทำพิธีล้าง(คาทอลิก) หรือนักบุญยอห์น แบปติสต์(คาทอลิก) (John the Baptist; John the Baptizer) เป็นนักเทศน์ชาวยิวในคริสศตวรรษที่ 1 ถือว่าเป็นผู้เผยพระวจนะในสี่ศาสนาคือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาบาไฮ และ “Mandaeanism” ท่านถูกกล่าวถึงในพระวรสาร คัมภีร์อัลกุรอาน และคัมภีร์ของศาสนาบาไฮ นักบุญยอห์นแบปติสต์บางทีก็รู้จักกันในชื่อ “ยอห์นผู้มาก่อน” (John the Forerunner) เพราะถือกันว่านักบุญยอห์นเป็นผู้มาล่วงหน้าก่อนพระเยซู.

34 ความสัมพันธ์: ชาวยิวฟลอเรนซ์พระวรสารพระวรสารนักบุญลูกาพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมพระเยซูพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชนการกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมาการตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมาการประสูติของพระเยซูกาเบรียลมรณสักขีในศาสนาคริสต์มารีย์ (มารดาพระเยซู)ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารศาสนาบาไฮศาสนาอิสลามศาสนาคริสต์สะโลเมสุหนัตอัลกุรอานอัศวินฮอสปิทัลเลอร์อาโรนผู้เผยพระวจนะทูตสวรรค์คริสต์มาสประเทศฝรั่งเศสประเทศแคนาดาปวยร์โตรีโกนักบวชนักบุญเศคาริยาห์โรมันคาทอลิกโปรเตสแตนต์เจนัวเซนต์

ชาวยิว

ว (ภาษาฮิบรู: יהודים) หรือที่เรียกว่า ชาวยิว (Jewish people) เป็นชนชาติและกลุ่มศาสนพันธุ์หนึ่ง ซึ่งมีเชื้อสายมาจากวงศ์วานอิสราเอลหรือชนเผ่าฮีบรูในแผ่นดินตะวันออกใกล้ยุคโบราณ ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูได้ระบุว่า ชาวยิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงเลือกสรรที่จะอุปถัมป์ค้ำชูไว้เหนือชาติอื่นๆ ด้วยความเชื่อว่ายิวเป็นชนชาติที่พระเจ้าทรงค้ำชูและมีศาสนายูดาห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เอง ทำให้แม้ชาวยิวจะกระจัดกระจายไปในหลายดินแดน แต่ก็ยังคงความเป็นกลุ่มก้อนและมีการสืบทอดความเป็นยิวจากรุ่นสู่รุ่นอย่างไม่มีเสื่อมถอย ปัจจุบันบุคคลเชื้อสายยิวทั่วทั้งโลกมีอยู่ราว 14.4 ถึง 17.5 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในประเทศอิสราเอลและสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและชาวยิว · ดูเพิ่มเติม »

ฟลอเรนซ์

ฟลอเรนซ์ (Florence) หรือ ฟีเรนเซ (Firenze) เป็นเมืองหลวงของแคว้นทัสกานีและมณฑลฟลอเรนซ์ในประเทศอิตาลี ระหว่าง..

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและฟลอเรนซ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสาร

ระวรสาร (โรมันคาทอลิก) หรือพระกิตติคุณ (โปรเตสแตนต์) (Gospels) เป็นหนังสือหมวดแรกในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ รู้จักในอีกนามหนึ่งว่า พระวรสารในสารบบ (Canonical gospels) เพราะเป็นพระวรสารที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการจากคริสตจักรให้รวมในสารบบคัมภีร์ไบเบิลได้ คำว่า “gospel” มาจากภาษาอังกฤษเก่า แปลว่า “ข่าวดี” (คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาไทยของชาวโปรเตสแตนต์แปลว่า "ข่าวประเสริฐ") มีนัยความหมายในคติของศาสนาคริสต์ถึง "การประกาศข่าวดี" ว่าบัดนี้ พระยาห์เวห์ได้ทรงประทานพระบุตรของพระองค์มารับสภาพมนุษย์เป็นพระเยซูแล้ว เพื่อประทานความรอดแก่มวลมนุษย์ ให้พ้นจากบาปและความทุกข์ และกลับเข้าสนิทกับพระเจ้าเช่นเดิม สู่แผ่นดินสวรรค์ ตามคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะในพันธสัญญาเดิม พระวรสารในสารบบมีอยู่ 4 เล่ม ในคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ที่มีเนื้อหาโดยตรงเกี่ยวกับพระเยซู บรรยายถึงกำเนิด คำเทศนา การตรึงกางเขน และการคืนพระชนม์ ทั้ง 4 เล่มถูกตั้งชื่อตามชื่อผู้ที่เชื่อกันว่าเป็นผู้เขียน โดยเขียนขึ้นเมื่อระหว่าง ค.ศ. 65 ถึง ค.ศ. 100 ได้แก่ สามเล่มแรกเรียกว่าพระวรสารสหทรรศน์ เนื่องจากมีมุมมองในชีวิตของพระคริสต์ที่คล้ายกัน ขณะที่พระวรสารนักบุญยอห์น มีแง่มุมทางเทววิทยาและจิตวิญญาณที่ต่างออกไป.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและพระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

พระวรสารนักบุญลูกา

ระวรสารนักบุญลูกา (ศัพท์คาทอลิก) หรือ พระกิตติคุณลูกา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Gospel of Luke) เป็นพระวรสารในสารบบคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ และเป็นพระวรสารหนึ่งใน “พระวรสารสหทรรศน์” สามฉบับ แม้ว่าจะไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนพระวรสารเล่มนี้ แต่จากหลักฐานที่เชื่อถือได้เป็นจำนวนมากระบุตรงกันว่าเขียนโดยลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร ผู้ซึ่งไม่ได้เป็นชาวยิว แต่น่าจะเป็นชาวกรีก เพราะมีความรู้ในเรื่องวัฒนธรรมของชาวกรีกเป็นอย่างดี เคยเป็นเพื่อนร่วมเดินทางไปประกาศกับเปาโลหลายครั้ง นอกจากนี้ลูกายังมีอาชีพเป็นนายแพทย์ในสมัยนั้นด้วย พระวรสารเล่มนี้น่าจะถูกเขียนขึ้นระหว่างปี..59 - 63 จากลักษณะของโครงสร้างและภาษาที่ใช้ในพระวรสารเล่มนี้ เหมือนกันกับในหนังสือกิจการของอัครทูต ดังนั้นเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า ลูกาเป็นผู้เขียนหนังสือกิจการของอัครทูตด้วย จากพระวรสารในสารบบทั้งหมด 4 เล่ม พระวรสารนักบุญลูกา เป็นพระวรสารเล่มที่ยาวที่สุด และจัดว่าเป็นพระวรสารที่มีเนื้อหาที่สวยงามที่สุด เขียนเล่าเรื่องราวของพระเยซูได้ครบถ้วนและตามลำดับเหตุการณ์มากที่สุด สาระสำคัญของพระวรสารเล่มนี้คือ ความรู้สึกปิติยินดีที่พระเยซูนำความหวังและการไถ่บาปมาสู่โลกมนุษย์ ความรักที่พระเยซูมีต่อมนุษย์ทุกคน โดยเฉพาะคนยากจนและผู้ถูกกดขี่ข่มเหง สังเกตได้จากคำอุปมาที่พระเยซูตรัสสั่งสอน ซึ่งผู้อ่านจะรู้สึกได้ตลอดทั้งเล่ม แรกเริ่มลูกาผู้นิพนธ์พระวรสารเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้น เพื่อให้เจ้าหน้าที่โรมันคนหนึ่งชื่อ เธโอฟิลัส ได้อ่าน โดยเขียนขึ้นจากมุมมองของชาวกรีก จากลักษณะการเขียนที่มีการอ้างอิงเหตุการณ์ต่างๆกับเวลาที่เกิดขึ้น แสดงว่าผู้เขียนต้องเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูง เพราะข้อมูลที่เขียนผ่านการค้นคว้ามาอย่างละเอียด ตัวอย่างเช่น "เมื่อปีที่สิบห้า ในรัชกาลทิเบริอัสซีซาร์ ปอนทิอัส ปีลาตเป็นเจ้าเมืองยูเดีย เฮโรดเป็นเจ้าเมืองกาลิลี ฟีลิปน้องชายของเฮโรดเป็นเจ้าเมืองอิทูเรียกับเมืองตราโคนิติส ลีซาเนียสเป็นเจ้าเมืองอาบีเลน และอันนาสกับคายาฟาสเป็นมหาปุโรหิต คราวนั้นพระวจนะของพระเจ้ามาถึงยอห์นบุตรเศคาริยาห์ในถิ่นทุรกันดาร" ซึ่งก็ตรงกับคุณสมบัติของผู้ที่มีอาชีพนายแพทย์เป็นอย่างดี ลูกาเขียนพระวรสารเล่มนี้ขึ้นจากการศึกษาและวิจัย โดยตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งกับคนที่อยู่แวดล้อมพระเยซูมาตั้งแต่ต้น และประกอบกับเอกสารต่างๆมากมาย ลูกามีวัตถุประสงค์ในการเขียนพระวรสารเล่มนี้อยู่ 5 ประการ หนึ่งคือ ต้องการให้ประจักษ์ว่าพระเยซูเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ลูกาได้ลำดับพงศ์ของพระเยซูย้อนไปจนถึงสมัยอาดัม นั่นคือตั้งแต่พระเจ้าเริ่มสร้างโลก แม้ว่าข้อมูลนี้จะมีความหมายไม่มากนักสำหรับชาวกรีก แต่ข้อมูลนี้ทำให้พระเยซูถูกบันทึกเป็นประวัติศาสตร์โลก ประการที่สองคือ ลูกาต้องการบันทึกเรื่องราวของพระเยซูในช่วงที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งไม่มีพระวรสารเล่มใดบันทึกไว้ ประการที่สามคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่าพระเยซูนำข่าวดีมายังคนยากจน คนที่ถูกกดขี่ข่มเหง คนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในโลก กลุ่มคนเหล่านี้รู้สึกท้อแท้ เนื่องจากรู้สึกว่าไม่ได้มีอะไรเท่าคนร่ำรวย และคิดว่าชีวิตไม่มีค่า แต่พระเยซูเสด็จมาเพื่อปลดปล่อยให้เป็นไท และประกาศถึงแผ่นดินสวรรค์ที่รออยู่ในโลกหน้า ประการที่สี่คือ ลูกาต้องการให้ความสำคัญกับผู้หญิง โดยบันทึกบทบาทของผู้หญิงในหมู่สาวกของพระเยซู ประการที่ห้าคือ ลูกาต้องการให้ผู้อ่านทราบว่า พระกิตติคุณของพระเยซูเป็นสากล มาถึงคนทุกชาติ ไม่ใช่เฉพาะชนชาติใดชาติหนึ่ง พระวรสารนักบุญลูกา ใช้ “ลูกา” หรือ “ลก” ในการอ้างอิง.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและพระวรสารนักบุญลูกา · ดูเพิ่มเติม »

พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม

ระวิหารในมโนทัศน์ในหนังสือเอสเซเคียล 40-47 พระวิหารในกรุงเยรูซาเลม (Temple in Jerusalem) หรือพระวิหารศักดิ์สิทธิ์ (Holy Temple; בית המקדש (Bet HaMikdash.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและพระวิหารในกรุงเยรูซาเลม · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซู

ระเยซู (Jesus) หรือ เยซูชาวนาซาเร็ธ (Jesus of Nazareth; 4-2 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 30-33Sanders (1993).) เป็นชาวยิวผู้เป็นศาสดาของศาสนาคริสต์ คริสต์ศาสนิกชนเรียกพระองค์ว่า พระเยซูคริสต์ เพราะถือว่าพระองค์เป็นพระคริสต์ พระผู้ช่วยให้รอด เป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าพระบุตรซึ่งเป็นพระบุคคลหนึ่งในพระตรีเอกภาพ นอกจากนี้ในคัมภีร์ไบเบิลยังบันทึกว่าพระเยซูทรงแสดงปาฏิหาริย์ทรงรักษาคนตาบอดให้หายขาด รักษาคนพิการ โดยตรัสว่า บาปของเจ้าได้รับการให้อภัยแล้ว หลังพระเยซูสิ้นพระชนม์ ก็ได้ทรงฟื้นขึ้นจากความตายหลังสิ้นพระชนม์ได้เพียง 3 วัน และเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ ชาวมุสลิมก็ให้ความเคารพพระเยซูเช่นกัน แต่เชื่อต่างจากชาวคริสต์ โดยชาวมุสลิมเรียกพระเยซูว่านบีอีซา คัมภีร์อัลกุรอานระบุว่าพระเยซูไม่ใช่ทั้งพระเจ้าและพระบุตรของพระเจ้า แต่เป็นบ่าวคนหนึ่งของพระเจ้า และเป็นเราะซูลที่พระเจ้าส่งมาเป็นแบบอย่างทางศีลธรรมให้แก่ชาวอิสราเอลเช่นเดียวกับเราะซูลอื่น ๆ นอกจากนี้กุรอานยังอ้างว่าพระเยซูได้ทำนายถึงเราะซูลอีกท่านหนึ่งที่จะมาในอนาคตด้วยว่าชื่ออะหมัด คำว่า "เยซู" มาจากคำในภาษากรีกคือ "เยซุส" Ιησους ซึ่งมาจากการถ่ายอักษรชื่อ Yeshua ในภาษาแอราเมอิกหรือฮีบรูอีกทอดหนึ่ง คริสตชนอาหรับเรียกเยซูว่า "ยาซูอฺ" ตามภาษาซีรีแอก ส่วนชาวอาหรับมุสลิมเรียกว่า "อีซา" ตามอัลกุรอาน ความหมายคือ "ผู้ช่วยให้รอด" เป็นชื่อที่ใช้กันมากในหมู่ชาวยิวตั้งแต่สมัยโยชูวาเป็นต้นมา ภาษาละตินแผลงเป็นเยซูส ภาษาโปรตุเกสแผลงต่อเป็นเยซู ภาษาไทยทับศัพท์ภาษาโปรตุเกสมาจนทุกวันนี้ ส่วนคำว่า "คริสต์" เป็นสมญาซึ่งมาจากคำในภาษากรีกว่า "คริสตอส" Χριστός ซึ่งเป็นคำแปลของคำภาษาฮีบรู Messiah อันหมายถึง "ผู้ได้รับการเจิม" ชาวอาหรับเรียกว่า "มะซีฮฺ" ซึ่งหมายถึงการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่สูงส่ง เช่น พระมหากษัตริย์ ปุโรหิต ผู้เผยพระวจนะ เป็นต้น เมื่อราชอาณาจักรยูดาห์เสียแก่บาบิโลน ก็สิ้นกษัตริย์ที่ได้รับการเจิม ต่อจากนั้นชาวยิวก็โหยหาพระเมสสิยาห์ที่จะมาสร้างอาณาจักรใหม่ของพระเจ้า "พระคริสต์" จึงเป็นชื่อตำแหน่ง ไม่ใช่ชื่อตัวบุคคล ผู้นิพนธ์พระวรสารสี่ท่านมักเรียกพระองค์ว่า "พระเยซู" และเพื่อให้แตกต่างจากคนอื่น ๆ ที่ชื่อเหมือนกัน ก็เรียกเป็น "พระเยซูชาวนาซาเรธ" หรือ "พระเยซูบุตรของโยเซฟ" แต่นักบุญเปาโลหรือเปาโลอัครทูตมักเรียกพระองค์ว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเยซูคริสต์" ที่เรียกว่า "พระคริสต์เยซู" ก็มี.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน

การให้บัพติศมาแก่ Neophytes วาดโดยมาซัชโช เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 ปัจจุบันเก็บอยู่ที่ฟลอเรนซ์ พิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน (ศัพท์ประชากรศาสตร์) พิธีบัพติศมาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 88 (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือ ศีลล้างบาป (ศัพท์คาทอลิก) (Baptism มาจากภาษากรีก baptismos แปลว่า การล้าง) เป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาคริสต์ ทำขึ้นเพื่อรับ "ผู้ที่เพิ่งรับเชื่อ" เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของคริสตจักร คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ระบุว่ายอห์นผู้ให้บัพติศมาเริ่มประกอบพิธีนี้ให้สาวกของตน โดยให้ผู้รับจุ่มตัวลงในแม่น้ำลึก ถือเป็นสัญลักษณ์ของการกลับใจและรอคอยอาณาจักรสวรรค์ซึ่งกำลังจะมาถึง พระเยซูทรงรับบัพติศมาจากยอห์นในครั้งนั้นด้วย จากนั้นจึงเริ่มปฏิบัติพระภารกิจของพระองค์ ต่อมาในศาสนาคริสต์ยุคแรก ผู้ให้บัพติศมาจะให้ผู้รับเปลือยกายลงแช่ในแม่น้ำ ซึ่งมีทั้งแบบให้จุ่มทั้งตัว ยืน หรือคุกเข่าในน้ำ แล้ว "ผู้ให้บัพติศมา" จะตักน้ำรดลงบน "ผู้รับบัพติศมา" ในปัจจุบันบางคริสตจักรยังรักษาวิธีการแบบเดิม บางคริสตจักรก็ใช้วิธีเทน้ำรดลงบนหน้าผากของผู้รับสามครั้ง การเป็นมรณสักขีในศาสนาคริสต์ก็ถือว่าเป็นการรับบัพติศมาด้วย เรียกว่า "พิธีบัพติศมาด้วยเลือด" เชื่อว่ามรณสักขีนั้นได้รับความรอดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับบัพติศมาด้วยน้ำก็ตาม คริสตจักรโรมันคาทอลิกปัจจุบันรับรอง "พิธีบัพติศมาแห่งความปรารถนา" ซึ่งหมายถึงความตั้งใจจะรับบัพติศมาแต่เสียชีวิตเสียก่อนเข้าพิธี ก็ถือว่าได้รับความรอดแล้ว คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายประกอบพิธีบัพติศมาแก่ทารกด้วย เพราะเชื่อว่าบัพติศมาเป็นทางแห่งความรอด จนเมื่อฮุลดริช ซวิงลี นักเทววิทยาศาสนาคริสต์สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 กล่าวว่าพิธีนี้ไม่จำเป็น คริสตจักรแบปทิสต์จึงประกอบพิธีบัพติศมาแก่ผู้เชื่อเองเท่านั้น ทุกวันนี้คริสต์ศาสนิกชนหลายกลุ่ม โดยเฉพาะเควเกอร์และแซลเวชันอาร์มีถือว่าพิธีนี้ไม่จำเป็นและไม่ประกอบพิธีนี้เลย แต่กลุ่มที่ยังมีพิธีนี้อยู่ก็มีรูปแบบพิธีแตกต่างกันไป ส่วนมากรับบัพติศมา "ในพระนามของพระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์" (โปรเตสแตนต์) หรือ "เดชะพระนามพระบิดา พระบุตร และพระจิต" (คาทอลิก) โดยถือตามพระมหาบัญชาก่อนการเสด็จขึ้นสวรรค์ของพระเยซู.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและพิธีรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

การกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา

การกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา (ศัพท์โปรเตสแตนต์) หรือการเกิดของยอห์นผู้ทำพิธีล้าง (ศัพท์โรมันคาทอลิก) (Nativity of St.) เป็นเหตุการณ์สำคัญเหตุการณ์หนึ่งในศาสนาคริสต์ มีรายละเอียดปรากฏในพระวรสารนักบุญลูกา คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกฉลองเหตุการณ์นี้ในวันที่ 24 มิถุนายนของทุกปี เรียกว่าวันสมโภชนักบุญยอห์น แบปติสต์ บังเกิด (Solemnity of the Birth of St. John the Baptist).

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและการกำเนิดของยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

การตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมา

การตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมา (Beheading of John the Baptist) เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่ปรากฏในพระวรสารสหทรรศน์ โดยเฉพาะในพระวรสารนักบุญมาระโก.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและการตัดศีรษะยอห์นผู้ให้บัพติศมา · ดูเพิ่มเติม »

การประสูติของพระเยซู

“การประสูติ” โดยเปตรุส คริสตุส (Petrus Christus) ราว ค.ศ. 1445 การประสูติของพระเยซู (The Nativity of Jesus; the Nativity) หรือพระคริสตสมภพ ถูกกล่าวถึงในพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ส่วนพระวรสารนักบุญมาระโกและพระวรสารนักบุญยอห์นมิได้กล่าวถึงการประสูติของพระเยซูไว้ แหล่งข้อมูลอื่นเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ก็มีแต่มิได้รวมอยู่ในสารบบคัมภีร์ไบเบิล คำบรรยายของพระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูกากล่าวว่าพระเยซูชาวนาซาเร็ธเป็นบุตรของนางมารีย์ ขณะมีตั้งครรภ์ได้หมั้นอยู่กับโยเซฟจากตระกูลเดวิด เรื่องนี้คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูประสูติจากหญิงพรหมจารีเพราะเป็นการกำเนิดโดยอำนาจของพระวิญญาณบริสุทธิ์โดยมารดามิได้ร่วมประเวณีกับโยเซฟเลย คริสตชนจึงถือว่าโยเซฟเป็นเพียงบิดาบุญธรรม ทูตสวรรค์ได้ประกาศถึงการประสูติพระเยซูต่อคนเลี้ยงแกะ โหราจารย์สามคนก็ทราบเพราะได้เห็นดวงดาว พระวรสารกล่าวว่าการกำเนิดของพระเยซูเป็นไปตามคำพยากรณ์ของเหล่าผู้เผยพระวจนะชาวอิสราเอล การระลึกถึง การแสดง หรือการสร้างสัญลักษณ์เกี่ยวกับการกำเนิดของพระเยซูถือเป็นหัวใจของการฉลองเทศกาลคริสต์มาส เพื่อแสดงความเชื่อว่าพระเยซูชาวนาซาเรธเป็น “พระคริสต์” หรือ “พระเมสสิยาห์” ตามที่ทำนายไว้คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิม ในบางคริสตจักร เช่น โรมันคาทอลิก ถือว่าจุดยอดของการฉลองอยู่ที่พิธีมิสซาเที่ยงคืน หรือเช้าวันคริสต์มาสซึ่งจะเป็นวันที่ 25 ธันวาคมเสมอ ทางอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์จะอดอาหารก่อนวันคริสต์มาส 40 วัน และวันอาทิตย์สี่วันก่อนคริสต์มาสคริสต์ศาสนิกชนทั้งนิกายโรมันคาทอลิกและแองกลิคันก็จะฉลองเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระเยซู เพื่อเป็นการเตรียมตัวทางใจเพื่อความพร้อมที่จะฉลองวันประสูติของพระเยซู.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและการประสูติของพระเยซู · ดูเพิ่มเติม »

กาเบรียล

กาเบรียล เป็นทูตสวรรค์ในศาสนาอับราฮัม โดยชาวยิวและชาวคริสต์เรียกว่ากาเบรียล ส่วนชาวมุสลิมเรียกว่าญิบรีล (גַּבְרִיאֵל, ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Gavriʼel”, Gabrielus, Γαβριήλ, ภาษาฮิบรูไทบีเรียน: “Gaḇrîʼēl”, جبريل “Jibrīl” หรือ “Jibrail”) แปลตรงตัวว่า 'พละกำลังของพระเจ้า' เชื่อว่าเป็นอัครทูตสวรรค์ผู้นำสารมาจากพระเป็นเจ้.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและกาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

มรณสักขีในศาสนาคริสต์

การทรมานของนักบุญเอรัสมุส โดยเดียริค เบาท์ ราวปี ค.ศ. 1458 ในศาสนาคริสต์ มรณสักขี (martyr) หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ถูกทรมานจนตายหรือถูกฆ่าหรือถูกลงโทษให้ประหารชีวิตเพราะความเชื่อ ในศาสนาคริสต์ยุคแรกมีผู้ถูกทรมานและฆ่าด้วยความทรมานต่างๆเช่นถูกขว้างด้วยก้อนหินให้ตาย ถูกตรึงกางเขน ถูกเผาทั้งเป็น และอื่น ๆ คำว่า “martyr” มาจากภาษากรีกที่แปลว่า “พยาน” การฆ่าเช่นนี้เป็นผลจากการพยายามกำจัดคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการ (การเบียดเบียนทางศาสนา) เช่นในสมัยจักรวรรดิโรมันก่อนที่คริสต์ศาสนาจะเป็นศาสนาที่ถูกต้องตามกฎหมาย คริสต์ศาสนิกชนคนแรกที่เป็นมรณสักขีคือนักบุญสเทเฟนที่บันทึกไว้ใน ถูกขว้างด้วยก้อนหินจนถึงแก่ชีวิตเพราะศรัทธาในพระเยซูว่าเป็นพระเมสสิยาห์ และยังคงมีคริสต์ศาสนิกชนอีกหลายคนที่ถูกฆ่านอกจากนักบุญสเทเฟน ตามที่นักบุญเปาโลอัครทูตกล่าวว่ามีการขู่จะฆ่าสาวกของพระเยซูในเวลานั้นหลายครั้ง ในคริสต์ศตวรรษต่อมาก็มีการเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนอย่างเป็นทางการอีกหลายครั้งเช่นในระหว่างการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ โดยถูกกล่าวหาว่าเป็นพวกนอกรีตหรือเป็น “พวกนิยมพระสันตะปาปา” (Papists).

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและมรณสักขีในศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

มารีย์ (มารดาพระเยซู)

มารีย์ (מרים, มัรยาม, มีเรียม) คริสต์ศาสนิกชนบางนิกายเรียกว่าพระแม่มารีย์ พระนางมารีย์พรหมจารี (Blessed Virgin Mary) หรือพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า (Mary, Mother of God) (ในอัลกุรอานว่านางมัรยัม) เป็นสตรีชาวยิวจากเมืองนาซาเรธ แคว้นกาลิลี คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่และคัมภีร์อัลกุรอานระบุตรงกันว่านางได้เป็นมารดาของพระเยซูโดยอำนาจของพระเจ้า พระวรสารนักบุญมัทธิวและพระวรสารนักบุญลูการะบุว่ามารีย์เป็นหญิงพรหมจรรย์ (παρθένος, parthénos ในภาษากรีก) ชาวคริสต์เชื่อสืบกันมาแต่อดีตว่านางได้ตั้งครรภ์บุตรด้วยอำนาจพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่ยังเป็นหญิงพรหมจรรย์ ส่วนชาวมุสลิมก็เชื่อว่านางตั้งครรภ์ด้วยโองการของพระเจ้า เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อนางได้หมั้นหมายกับนักบุญโยเซฟแล้วและอยู่ระหว่างรอพิธีแต่งงาน เมื่อนางได้แต่งงานกับโยเซฟแล้วก็ย้ายไปอยู่ที่เมืองเบธเลเฮมซึ่งได้เป็นที่ประสูติพระเยซู ตามธรรมเนียมยิวการหมั้นน่าจะเกิดขึ้นเมื่อนางอายุราว 12 ปีแล้วให้กำเนิดพระเยซูในหนึ่งปีหลังจากนั้น คัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่เริ่มกล่าวถึงนางด้วยเหตุการณ์แม่พระรับสาร เมื่อทูตสวรรค์กาเบรียลมาปรากฏกายต่อหน้านาง แล้วแจ้งว่าพระเจ้าทรงเลือกนางให้เป็นมารดาของพระเยซู คริสตจักรและข้อเขียนนอกพระคัมภีร์ในยุคแรกยังระบุว่าบิดามารดาของนางเป็นคู่สามีภรรยาสูงอายุชื่อนักบุญโยอาคิมและนักบุญอันนา คัมภีร์ไบเบิลบันทึกถึงบทบาทของนางในชีวิตของพระเยซูตั้งแต่การตั้งครรภ์พระองค์จนถึงพระองค์เสด็จขึ้นสวรรค์ ข้อเขียนจากคัมภีร์นอกสารบบยังกล่าวว่าหลังจากมรณกรรมนางได้รับการยกขึ้นสวรรค์ทั้งกายและวิญญาณด้ว.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและมารีย์ (มารดาพระเยซู) · ดูเพิ่มเติม »

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร

ลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร (Luke the Evangelist; לוקא; Loukas) เกิดที่แอนติออก ประเทศตุรกีปัจจุบัน เสียชีวิตประมาณปี..

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและลูกาผู้นิพนธ์พระวรสาร · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาบาไฮ

อาคารของธรรมสภายุติธรรมสากลบาไฮ ที่ประเทศอิสราเอล ศาสนาบาไฮราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316 หรือลัทธิบาไฮ (الدّين البهائي; Bahá'í Faith) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ. 1863 ถือกำเนิดในจักรวรรดิเปอร์เซีย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอิหร่าน) ศาสดาคือพระบะฮาอุลลอฮ์ (พ.ศ 2360-2435) ศูนย์กลางบาไฮโลกอยู่ที่เมืองไฮฟา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 2 แห่ง คือ พระสถูปของพระบะฮาอุลลอฮ์อยู่ที่เมืองอัคคา และพระสถูปของพระบาบอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันเป็นศาสนาที่เผยแผ่ได้กว้างขวางเป็นอันดับสองของโลก โดยมีศาสนิกชนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก บาไฮศาสนิกชนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและศาสนาบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาคริสต์

นาคริสต์ (Christianity) ราชบัณฑิตยสถานเรียกว่า คริสต์ศาสนาราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 156 เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ที่มีพื้นฐานมาจากชีวิตและการสอนของพระเยซูตามที่ปรากฏในพระวรสารในสารบบ (canonical gospel) และงานเขียนพันธสัญญาใหม่อื่น ๆ ผู้นับถือศาสนาคริสต์เรียกว่าคริสต์ศาสนิกชนหรือคริสตชน คริสตชนเชื่อว่าพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า และเป็นพระเจ้าผู้มาบังเกิดเป็นมนุษย์และเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ด้วยเหตุนี้ คริสตชนจึงมักเรียกพระเยซูว่า "พระคริสต์" หรือ "พระเมสสิยาห์" Briggs, Charles A. The fundamental Christian faith: the origin, history and interpretation of the Apostles' and Nicene creeds. C. Scribner's sons, 1913.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและศาสนาคริสต์ · ดูเพิ่มเติม »

สะโลเม

“สะโลเม” โดยทิเชียน สะโลเม (Salome; Σαλωμη) เป็นลูกสาวของเฮโรเดียส (Herodias) จากพันธสัญญาใหม่ (มาระโก 6:21-29 และมัทธิว 14:6-11 แต่ไม่ได้กล่าวชื่อ) ที่มีความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของนักบุญยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา (หรือยอห์นแบปติสต์) แหล่งข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งเกี่ยวกับสะโลเมมาจากหนังสือ “ประวัติศาสตร์ชนยิว” (Antiquities of the Jews) โดยนักประวัติศาสตร์ชาวยิวเฟลเวียส โจซีฟัส (Flavius Josephus) ที่กล่าวถึงชื่อและรายละเอียดของครอบครัว ตามตำนานในคริสต์ศาสนาสะโลเมเป็นสัญลักษณ์ของสตรีที่มีเสน่ห์แรงเช่นในการเต้นรำที่ยั่วยวนอารมณ์ที่กล่าวถึงในพันธสัญญาใหม่ หรือเน้นความใจแข็งไม่แคร์ต่อความรู้สึกซึ่งตามพระวรสารเป็นสิ่งที่นำไปสู่ความตายของนักบุญยอห์นแบปติสต์ ในบทละคร “สะโลเม” ออสคาร์ ไวลด์ (Oscar Wilde) เพิ่มลักษณะว่าเป็นผู้หลงเสน่ห์ศพ (necrophiliac) และถูกฆ่าวันเดียวกับที่ผู้ที่เธอขอให้ฆ่าตาย อีกความหมายหนึ่งมาจากอุปรากรของริชาร์ด เสตราส์ (Richard Strauss) ที่เขียนจากบทละครของออสคาร์ ไวลด์ แต่ไม่ตรงกับข้อเขียนของโจซีฟัส ผู้กล่าวว่าสะโลเมมีชีวิตยืนต่อมาจนแต่งงานอีกสองครั้งและมีลูกอีกหลายคน.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและสะโลเม · ดูเพิ่มเติม »

สุหนัต

ีตาน (ختان; Khitan) คนไทยมักเรียกว่า สุหนัต (สุ-หนัด) หมายถึง พิธีการขริบหนังหุ้มปลายตามข้อกำหนดในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม คำว่า สุหนัต มาจากคำว่า "ซูนัต" ในภาษามลายู ซึ่งมาจากคำว่า "ซุนนะฮ์" ในภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึงแบบแผนการปฏิบัติของนบีมุฮัมมัด พิธีสุหนัตเกิดขึ้นครั้งแรกในศาสนายูดาห์ ซึ่งเริ่มทำพิธีนี้ครั้งแรกในสมัยของอับราฮัม การเรียกว่า "เข้าสุนัต" มาจากวลี "มาซุก ญาวี" หรือ "มะโซะยาวี" (แปลว่า เข้าญาวี) ในภาษามลายู หมายถึง เข้า (ศาสนาของ) คนญาวี (มลายูมุสลิม) ด้วยการขริบหนังที่ปลายอวัยวะเพศ การขริบหนังองคชาตเป็นประเพณีของชาวยิว ชาวมุสลิม และคริสต์ศาสนิกชนบางนิกาย เช่นเดียวกับเผ่าหลายเผ่าในแอฟริกา ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนิยมขริบเนื่องจากเหตุผลทาง.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและสุหนัต · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัศวินฮอสปิทัลเลอร์

ณะอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ (Knights Hospitaller) หรือคณะฮอสปิทัลเลอร์ (Order of Hospitallers) เป็นคณะบุรุษที่ทำงานที่โรงพยาบาลอมาลฟิที่ตั้งขึ้นในเยรูซาเลมในปี..

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและอัศวินฮอสปิทัลเลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อาโรน

อาโรน (ศัพท์ศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์) หรือ ฮารูน (ศัพท์ศาสนาอิสลาม) (Aaron; אַהֲרֹן Ahărōn; هارون Hārūn) เป็นพี่ชายของโมเสส และเป็นผู้เผยพระวจนะของพระยาห์เวห์ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นปุโรหิตประจำเผ่าเลวี และเป็นมหาปุโรหิตองค์แรกของวงศ์วานอิสราเอล เมื่อโมเสสยังศึกษาอยู่ในราชสำนักอียิปต์จนกระทั่งลี้ภัยไปอยู่มีเดียน อาโรนกับมีเรียมพี่สาวยังอาศัยอยู่กับญาติที่ภาคตะวันออกของอียิปต์และเริ่มมีชื่อเสียงมากจากการใช้วาทศิลป์ เมื่อคราวที่โมเสสขอให้ฟาโรห์ปล่อยตัวชาวอิสราเอลจากการเป็นเชลย อาโรนก็ได้ทำหน้าที่เป็นนบี (โฆษก) ให้กับพี่ชายของตนเมื่อต้องพูดกับชาวอิสราเอลและเจรจากับฟาโรห์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดนักว่าอาโรนมีชีวิตอยู่เมื่อใด แต่คาดว่าราว 1600 ถึง 1200 ก่อนคริสต์ศักร.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและอาโรน · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผยพระวจนะ

''อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ'' วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery). ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (prophet; προφήτης,: จากคำนิบาต προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและผู้เผยพระวจนะ · ดูเพิ่มเติม »

ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและทูตสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์มาส

ริสต์มาส (Christmas; Crīstesmæsse, หมายถึง "พิธีมิสซาของพระคริสต์") หรือ วันสมโภชพระสมภพ (Feast of the Nativity) จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู, The Catholic Encyclopedia, 1913.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและคริสต์มาส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศฝรั่งเศส

ฝรั่งเศส (France ฟร็องส์) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐฝรั่งเศส (République française) เป็นประเทศที่มีศูนย์กลางตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันตก ทั้งยังประกอบไปด้วยเกาะและดินแดนอื่น ๆ ในต่างทวีป ประเทศฝรั่งเศสแผ่นดินใหญ่ทอดตัวตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจนถึงช่องแคบอังกฤษและทะเลเหนือ และจากแม่น้ำไรน์จนถึงมหาสมุทรแอตแลนติก ชาวฝรั่งเศสมักเรียกแผ่นดินใหญ่ว่า หกเหลี่ยม (L'Hexagone) เนื่องจากรูปทรงทางกายภาพของประเทศ ประเทศฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกึ่งประธานาธิบดี โดยยึดอุดมการณ์จากปฏิญญาว่าด้วยสิทธิของมนุษย์และของพลเมือง ประเทศฝรั่งเศสมีพรมแดนติดกับประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี โมนาโก อันดอร์ราและสเปน และเนื่องจากประเทศฝรั่งเศสมีดินแดนโพ้นทะเลไว้ในครอบครอง ทำให้มีอาณาเขตติดกับประเทศบราซิล ซูรินาม (ติดกับเฟรนช์เกียนา) และซินต์มาร์เตินของเนเธอร์แลนด์ (ติดกับแซ็ง-มาร์แต็ง) อีกด้วย นอกจากนั้นประเทศฝรั่งเศสยังเชื่อมกับสหราชอาณาจักรทางอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสเคยเป็นหนึ่งในประเทศมหาอำนาจของโลกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 จักรวรรดิฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในประเทศจักรวรรดินิยมที่มีอาณานิคมในครอบครองมากที่สุดในโลก แผ่อาณาเขตตั้งแต่แอฟริกาตะวันตกจนถึงเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเห็นได้ชัดจากอิทธิพลทางวัฒนธรรม ภาษาและการเมืองการปกครองของดินแดนนั้น ๆ ประเทศฝรั่งเศสถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวมากที่สุดในโลกอีกด้วย โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 82 ล้านคนต่อปี ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศอีกด้วย ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นประเทศผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ เป็นสมาชิกประชาคมผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสโลก จีแปด นาโต้และสหภาพละติน ประเทศฝรั่งเศสยังเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติและเป็นมหาอำนาจนิวเคลียร์ที่มีหัวรบนิวเคลียร์กว่า 360 หัวรบและเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 59 แห่ง.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและประเทศฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศแคนาดา

แคนาดา (-enCanada) เป็นประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ ติดกับสหรัฐ เป็นประเทศที่มีที่ตั้งอยู่ทางเหนือมากที่สุดของโลกและมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ปัจจุบันแคนาดาใช้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยถือสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นพระมหากษัตริย์ (หมายเหตุ: พระองค์เดียวกับพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร แต่โดยรัฐธรรมนูญแล้วถือว่าเป็นคนละตำแหน่ง) ดินแดนที่เป็นประเทศแคนาดาในปัจจุบันในอดีตมีผู้อยู่อาศัยอยู่แล้วเป็นชนพื้นเมืองหลากหลายกลุ่ม เมื่อตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 นักสำรวจเดินทางชาวอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาสำรวจ และต่อมาจึงมีการตั้งรกรากขึ้นบนแถบชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก ในปี..1763 ฝรั่งเศสได้ยอมสูญเสียอาณานิคมเกือบทั้งหมดในทวีปอเมริกาเหนือหลังจากสงครามเจ็ดปี ในปี..1867 มีการรวมตัวของอาณานิคมของอังกฤษ 3 แห่งขึ้น และประเทศแคนาดาก็ถือกำเนิดขึ้นในรูปแบบของเขตปกครองสหพันธรัฐ ประกอบด้วย 4 รัฐ และนี่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของการเพิ่มจำนวนขึ้นของรัฐและดินแดนต่างๆ และกระบวนการได้รับอำนาจปกครองตนเองจากสหราชอาณาจักร รัฐบัญญัติแห่งเวสต์มินสเตอร์ในปี..1931 ได้เพิ่มอำนาจปกครองตนเองและเป็นผลให้เกิดพระราชบัญญัติแคนาดาในปี..1982 ซึ่งมีผลให้แคนาดาตัดขาดจากการขึ้นตรงต่ออำนาจของรัฐสภาอังกฤษ ประเทศแคนาดา ประกอบด้วยรัฐ 10 รัฐ และดินแดน 3 แห่ง และปกครองในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 เป็นพระประมุขสูงสุด แคนาดาเป็นประเทศที่ใช้ภาษาทางการ 2 ภาษาทั้งในระดับประเทศและในรัฐนิวบรันสวิก ภาษาทางการ 2 ภาษานั้นคือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม แคนาดาเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีเศรษฐกิจที่หลากหลาย ซึ่งพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ และพึ่งพาการค้าขาย โดยเฉพาะกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่แคนาดามีความสัมพันธ์อันยาวนานและสลับซับซ้อน.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและประเทศแคนาดา · ดูเพิ่มเติม »

ปวยร์โตรีโก

ปวยร์โตรีโก (Puerto Rico) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐปวยร์โตรีโก (Estado Libre Asociado de Puerto Rico) เป็นเครือรัฐของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสาธารณรัฐโดมินิกันในภูมิภาคแคริบเบียนตะวันออกเฉียงเหนือ ปวยร์โตรีโกเป็นดินแดนที่เล็กที่สุดของเกรตเตอร์แอนทิลลีส มีพื้นที่รวมเกาะปวยร์โตรีโก เกาะเล็ก ๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งกลุ่มเกาะ ได้แก่ โมนา เบียเกซ และกูเลบรา การเดินทางเข้าปวยร์โตรีโกนั้นต้องใช้วีซาของสหรัฐอเมริกา เพราะปวยร์โตรีโกถือเป็นดินแดน (territory) ของสหรัฐอเมริกา แม้จะไม่ถือว่าเป็นรัฐ (state) ก็ตาม.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและปวยร์โตรีโก · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

นักบุญเศคาริยาห์

ริยาห์ (Zechariah; Ζαχαρίας) หรือที่ชาวคาทอลิกเรียกว่านักบุญเศคาริยาห์ เป็นปุโรหิตในศาสนายูดาห์ เกิดเมื่อศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล และเสียชีวิตราวคริสต์ศตวรรษที่ 1 ตามคัมภีร์ไบเบิล เศคาริยาห์เป็นบิดาของยอห์นผู้ให้บัพติศมา เป็นปุโรหิตในตระกูลของอาโรน ได้แต่งงานกับเอลีซาเบธซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของมารีย์ (มารดาพระเยซู).

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและนักบุญเศคาริยาห์ · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โปรเตสแตนต์

นิกายโปรเตสแตนต์ (Protestantism) เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาคริสต์ ใช้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ที่ไม่ใช่โรมันคาทอลิกและออร์ทอดอกซ์ โปรเตสแตนต์เป็นขบวนการศาสนาที่มีจุดเริ่มต้นที่ประเทศเยอรมนีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เพื่อคัดค้านหลักความเชื่อและการปฏิบัติแบบโรมันคาทอลิก โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับความรอด การทำให้ชอบธรรม และคริสตจักรวิทยา โปรเตสแตนต์แบ่งออกเป็นหลายคริสตจักรย่อย ซึ่งยึดหลักความเชื่อแตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปจะยอมรับหลักการเหมือนกันว่ามนุษย์จะเป็นคนชอบธรรมได้ก็โดยอาศัยพระคุณจากพระเจ้าผ่านทางความเชื่อเท่านั้น (เรียกว่าหลักโซลากราเซียและโซลาฟีเด) เชื่อว่าผู้เชื่อทุกคนเป็นปุโรหิต และคัมภีร์ไบเบิลมีอำนาจสูงสุดในการกำหนดหลักความเชื่อและศีลธรรม (เรียกว่าหลักโซลาสกริปตูรา) ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ศิษย์ของมาร์ติน ลูเทอร์ ได้ตั้งคริสตจักรอิแวนเจลิคัลแห่งเยอรมนีและสแกนดิเนเวียขึ้น ส่วนคริสตจักรปฏิรูปในประเทศฮังการี สวิตเซอร์แลนด์ สกอตแลนด์ และฝรั่งเศส ตั้งขึ้นโดยฌ็อง กาลแว็ง และนักปฏิรูปศาสนาคนอื่น ๆ เช่น ฮุลดริช ซวิงลี นอกจากนี้ยังมีจอห์น น็อกซ์ ที่ตั้งคริสตจักรปฏิรูปในฮังการีขึ้น ในประเทศอังกฤษการปฏิรูปศาสนานำโดยคริสตจักรแห่งอังกฤษ และยังมีขบวนการปฏิรูปศาสนาอีกหลายกลุ่มเกิดขึ้นทั่วยุโรปภาคพื้นทวีป เช่น การปฏิรูปแบบรุนแรง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของกลุ่มอนาแบ๊บติสต์ โมราเวียน และขวนการไพเอทิสต์อื่น.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและโปรเตสแตนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เจนัว

นัว (Genoa) หรือ เจโนวา (Genova) เป็นเมืองและเมืองท่าทางทะเลที่สำคัญทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี เป็นเมืองหลักของจังหวัดเจนัวและแคว้นลีกูเรีย เมืองมีความหนาแน่นประชากรราว 610,000 คน และบริเวณเมืองมีความหนาแน่นประชากรราว 900,000 คน นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า Superba ("the Superb one") อันเนื่องมาจากความรุ่งเรืองในอดีต.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและเจนัว · ดูเพิ่มเติม »

เซนต์

"นักบุญทั้งหลาย" วาดโดยฟราอันเจลีโก เซนต์ (Saint) ชาวคาทอลิกและชาวออร์ทอดอกซ์ เรียกว่านักบุญ หมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์Wycliffe Bible Encyclopedia, "saint", ISBN 0-8024-9697-0, "Christians in general are 'saints' in NT usage, and the term is common in reference to the inclusive membership of a local church.

ใหม่!!: ยอห์นผู้ให้บัพติศมาและเซนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

John the BaptistSt. John the Baptistยอห์นผู้ให้รับบัพติศมายอห์นแบปติสต์จอห์น แบ็พทิสต์จอห์นแบ็พทิสท์จอห์นแบ็พทิสต์นักบุญจอห์นแบ็พทิสท์นักบุญจอห์นแบ็พทิสต์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »