โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทูตสวรรค์

ดัชนี ทูตสวรรค์

''บทเพลงของทูตสวรรค์'' โดย บูเกอโร, 1825–1905. ทูตสวรรค์ หรือ เทวทูต (angel) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อทางศาสนาและในเทพปกรณัมต่าง ๆ โดยมีหน้าที่เป็นผู้แจ้งข่าวสารจากสวรรค์มายังโลก บ้างก็ทำหน้าที่อารักขา แนะนำ หรือมอบหมายภารกิจแก่มนุษย์ คำนี้แปลมาจากคำว่า ἄγγελος ในภาษากรีก ซึ่งตรงกับคำว่า מלאך (มลัก) ในคัมภีร์ฮีบรู (ทานัค) และเป็นคำเดียวกับคำว่า ملائكة (มลาอิกะฮ์) ที่ปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ศัพท์เดิมในภาษาฮีบรูและภาษากรีกนี้แปลว่า ผู้แจ้งข่าว ซึ่งอาจเป็นมนุษย์ (ทั้งผู้เผยพระวจนะ ปุโรหิต และคนสามัญ) หรืออมนุษย์ก็ได้แล้วแต่บริบทในคัมภีร์ ที่เป็นอมนุษย์นั้นเป็นได้ทั้ง ผู้แจ้งข่าวจากพระเจ้า ลักษณะเฉพาะด้านของพระเจ้า (เช่น กฎจักรวาล) หรือแม้แต่พระเป็นเจ้าเองที่ทรงเป็นผู้แจ้งข่าว (theophanic angel) คำว่า "ทูตสวรรค์" ยังถูกใช้หมายถึงวิญญาณในศาสนาอื่น ๆ ด้วย นอกจากการแจ้งข่าวแล้ว ทูตสวรรค์ยังมีหน้าที่ปกป้องและนำทางมนุษย์ รวมถึงปฏิบัติหน้าที่ตามที่พระเจ้ามอบหมายให้สำเร็จลุล่วง เทววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับทูตสวรรค์เรียกว่า “วิทยาการทูตสวรรค์” (angelology) ในงานศิลปะทูตสวรรค์มักปรากฏภาพเป็นชายมีปีก ซึ่งอาจมาจากหนังสือวิวรณ์เรื่องสัตว์สี่ตัว (4:6-8) และคัมภีร์ฮีบรูเรื่องเครูบและเสราฟิม แต่คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าเครูบและเสราฟิมมีปีก ไม่เคยกล่าวถึงทูตสวรรค์ว่ามีปีกด้ว.

35 ความสัมพันธ์: บุคลาธิษฐานพระบะฮาอุลลอฮ์พระอหุระมาซดะพระผู้ไถ่กาเบรียลมลาอิกะฮ์ลูซิเฟอร์วิญญาณศาสนาศาสนาบาไฮศาสนายูดาห์ศาสนาอิสลามศาสนาอียิปต์โบราณศาสนาโซโรอัสเตอร์สวรรค์สารานุกรมคาทอลิกหะดีษหนังสือวิวรณ์ออกัสตินแห่งฮิปโปอัลกุรอานอัครทูตสวรรค์มีคาเอลอัครทูตสวรรค์ราฟาเอลผู้เผยพระวจนะคริสต์ศาสนิกชนคัมภีร์ฮีบรูตรีเอกภาพปรัมปราวิทยาปิตาจารย์แห่งคริสตจักรนักบวชโลกเพศเสราฟิมเจตจำนงเสรีเทววิทยาเครูบ

บุคลาธิษฐาน

ลาธิษฐาน อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และบุคลาธิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

พระบะฮาอุลลอฮ์

ระบะฮาอุลลอฮ์ หรือ พระบาฮาอุลลาห์ (بهاء الله.; Bahá'u'lláh; 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2360 - 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2435) เป็นศาสดาของศาสนาบาไฮ ท่านประกาศตนเป็นผู้เผยพระวจนะตามคำทำนายของขบวนการบาบี พระบะฮาอุลลอฮ์สอนว่ามนุษยชาติทั้งปวงเป็นเชื้อชาติเดียวกัน และถึงเวลาแล้วที่จะรวมประชาชาติทั้งหลายให้เป็นหนึ่งเดียว ท่านอ้างว่าได้รับพระวิวรณ์จากพระเป็นเจ้า จึงถูกทางการเปอร์เซียและจักรวรรดิออตโตมันจับขังคุก ในช่วง 24 ปีสุดท้ายท่านถูกขังที่เอเคอร์ ปาเลสไตน์ จนถึงแก่กรรมขณะอายุได้ 74 ปี ช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ท่านประพันธ์งานวรรณกรรมไว้หลายชิ้น ที่สำคัญ คือ คีตาบีอัคดัสและคีตาบีอีคาน ซึ่งกลายเป็นคัมภีร์ของศาสนาบาไฮในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และพระบะฮาอุลลอฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

พระอหุระมาซดะ

ทพมิถรา (ขวา) พระอหุระมาซดะราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 25-6 คือพระเจ้าตามความเชื่อในศาสนาโซโรอัสเตอร์ คำว่า มาซดะ แปลว่า ฉลาด พระเจ้าองค์นี้เป็นเทพเจ้าแห่งแสงสว่าง หรือเทพเจ้าแห่งปัญญา เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งดีทั้งปวง ซึ่งในเปอร์เซียโบราณนับถือเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระเจ้าแห่งความดีจะต้องต่อสู้กับพระเจ้าแห่งความชั่ว จากการค้นคว้าเกี่ยวกับศาสนาโซโรอัสเตอร์ ทำให้เป็นที่กระจ่างชัดว่าศาสดาโซโรอัสเตอร์ได้พยายามทำการต่อสู้กับความงมงายของศาสนาของชาวอารยัน หนึ่งในนั้นก็คือการที่เขาปฏิเสธว่าตนมีส่วนร่วมในการชวนเชื่อสู่พระอหุระมาซดะ แต่ไม่มีใครทราบถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การนับถือเทพเจ้าสองฝ่าย (ฝ่ายแสงสว่างกับฝ่ายความมืด) ของชาวโซโรอัสเตอร์ว่าเริ่มตั้งแต่สมัยใด ซึ่งในคัมภีร์หมวดที่ 1 ของอเวสตะ ได้ระบุไว้ว่าเทพเจ้าแห่งความชั่วต้องเผชิญหน้ากับเทพเจ้าแห่งความดีมิใช่เผชิญกับพระอหุระมาซดะซึ่งเป็นเทพเจ้าสูงสุด ในโซโรอัสเตอร์ พระอหุระมาซดะมีบริวาร 6 องค์ ซึ่งมีความสูงส่งดั่งมลาอิกะห์หรือทูตสวรรค์ตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม และมีการจัดกองกำลังเพื่อสู้รบกับฝ่ายอธรรม ตามความเชื่อของโซโรอัสเตอร์ โลกจนถึงปัจจุบันมี 12000 ปี เทพเจ้าแห่งความดีทำการปกครอง 3000 ปี และในช่วงเวลานี้เทพเจ้าแห่งความชั่วได้ใช้ชีวิตอยู่ในความมืด เมื่อเขาออกมาเพื่อเผชิญกับเทพเจ้าแห่งความดี เทพเจ้าแห่งความดีได้ให้เวลาเขาในการต่อสู้เป็นเวลา 9000 ปี ซึ่งเขามั่นใจว่าจะได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มทำการสร้างสิ่งที่ดีและชั่วขึ้นบนโลกใบนี้และสู้กันด้วยวิธีนี้ จนกระทั่ง 3000 ปีผ่านไป โซโรอัสเตอร์ถูกสร้างขึ้น และทำให้กองทัพฝ่ายเทพแห่งความดีแข็งแกร่งขึ้น จนได้รับชัยชน.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และพระอหุระมาซดะ · ดูเพิ่มเติม »

พระผู้ไถ่

ในศาสนาคริสต์ พระผู้ไถ่ (Redeemer) หรือ พระผู้ช่วยให้รอด (Saviour) หมายถึง พระเยซู เพราะเชื่อว่าพระองค์ได้สละพระชนม์ชีพเพื่อไถ่มนุษย์ให้รอดจากบาป.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และพระผู้ไถ่ · ดูเพิ่มเติม »

กาเบรียล

กาเบรียล เป็นทูตสวรรค์ในศาสนาอับราฮัม โดยชาวยิวและชาวคริสต์เรียกว่ากาเบรียล ส่วนชาวมุสลิมเรียกว่าญิบรีล (גַּבְרִיאֵל, ภาษาฮีบรูมาตรฐาน: “Gavriʼel”, Gabrielus, Γαβριήλ, ภาษาฮิบรูไทบีเรียน: “Gaḇrîʼēl”, جبريل “Jibrīl” หรือ “Jibrail”) แปลตรงตัวว่า 'พละกำลังของพระเจ้า' เชื่อว่าเป็นอัครทูตสวรรค์ผู้นำสารมาจากพระเป็นเจ้.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และกาเบรียล · ดูเพิ่มเติม »

มลาอิกะฮ์

มลาอิกะฮ์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 68 (ملائكة) เป็นคำพหูพจน์ของ มะลัก (ملك) มีความหมายเดียวกับทูตสวรรค์ในศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์ มีหน้าที่ถวายงานรับใช้แก่อัลลอฮ์บรรจง บินกาซัน. อิสลามสำหรับผู้เริ่มสนใจอิสลาม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสืออิสลาม, 2546, หน้า 23-24.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และมลาอิกะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

ลูซิเฟอร์

หนังสือเอเสเคียล คำว่า "ลูซิเฟอร์" หมายถึงทูตสวรรค์ที่ถูกพระเจ้าขับไล่ ลูซิเฟอร์ (Lucifer) เป็นคำ ๆ หนึ่งจากการถอดเสียงคำภาษาฮีบรู הֵילֵל ในหนังสืออิสยาห์ บทที่ 14 ข้อที่ 12 คำนี้สามารถถอดเสียงออกมาได้ว่า เฮเลล คำนี้ปรากฏเพียงครั้งเดียวในคัมภีร์ฮีบรู ซึ่งมีความหมายว่า "ผู้ส่องแสง": "shining one, morning star, Lucifer; of the king of Babylon and Satan (fig.)" ส่วนคำว่าลูซิเฟอร์นั้นมาจากคัมภีร์ไบเบิลฉบับวัลเกต ซึ่งถอดเสียง הֵילֵל ว่า ลูซีแฟร์ หมายถึง "ดาวประกายพรึก" หรือ "ผู้ส่องแสง" คริสตชนโบราณยุคหลัง มักจะใช้คำในภาษาละตินว่า ลูซิเฟอร์ ในฐานะปีศาจก่อนตกจากสวรรค์ เพื่อแทนตัวตนของปีศาจ/ซาตาน ทำให้ลูซิเฟอร์ในภาพลักษณ์ปีศาจถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายในวิหารและวรรณกรรมนิยมต่าง ๆ อย่างมากมาย ซึ่งแต่ก่อนคำว่าลูซิเฟอร์ในภาษาละตินนี้ไม่เคยถูกนำมาใช้อย่างเจาะจงในทางชั่วร้ายแบบนี้มาก่อน และความคิดนี้ก็แพร่หลายไปในคนทั่วไป โดยเฉพาะชาวคริสต์ ตัวตนของลูซิเฟอร์ในฐานะทูตสวรรค์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกตีความขึ้นมา หากจะอ้างจากพระคัมภีร์แล้วตัวตนของทูตสวรรค์ลูซิเฟอร์ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีอยู่จริงหรือไม่ ลูซิเฟอร์ที่เรารู้จักกันในฐานะปีศาจเป็นการตีความคำว่า הֵילֵל ของคริสตชน ซึ่งถูกนำไปเขียนในบทประพันธ์มากมายในฐานะปี.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และลูซิเฟอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วิญญาณ

วิญญาณ (soul; जीव) ในทางปรัชญาหมายถึงสิ่งซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสารัตถะของชีวิตมนุษย์ อาจรวมถึงสิ่งมีชีวิตประเภทอื่น ๆ ด้วย วิญญาณเป็นสิ่งที่ไม่เน่าเปื่อย เป็นอมตะ ศาสนาอับราฮัมเชื่อว่าเฉพาะมนุษย์เท่านั้นที่มีวิญญาณ มนุษย์จึงเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวที่ไม่ตาย (ในส่วนวิญญาณ) และอาจไปรวมกับพระเป็นเจ้าได้ ขณะที่ศาสนาอื่น ๆ บางศาสนา เช่น ศาสนาเชนเชื่อว่าไม่เฉพาะมนุษย์แต่สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตมีวิญญาณ ส่วนลัทธิวิญญาณนิยมเชื่อว่าทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต (เช่น แม่น้ำ ภูเขา) ล้วนมีวิญญาณทั้งสิ้น บางลัทธิเชื่อว่าโลกก็มีวิญญาณเรียกว่าวิญญาณโลก หรืออาตมันในศาสนาฮินดู คำว่าวิญญาณ มักมีความหมายแนวเดียวกับจิต สปิริต และตัวตน.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และวิญญาณ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนา

ัญลักษณ์ของศาสนาต่าง ๆ ภาพศาสนพิธีในศาสนาต่าง ๆ ทั่วโลก ศาสนา (Religion) หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์ เกี่ยวกับการกำเนิดและสิ้นสุดของโลก หลักศีลธรรม ตลอดจนลัทธิพิธีที่กระทำตามความเชื่อนั้น ๆ หลายศาสนามีการบรรยาย สัญลักษณ์และประวัติศาสตร์ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเจตนาอธิบายความหมายของชีวิต และ/หรืออธิบายกำเนิดชีวิตหรือเอกภพ จากความเชื่อของศาสนาเกี่ยวกับจักรวาลและธรรมชาติมนุษย์ คนได้รับศีลธรรม จริยศาสตร์ กฎหมายศาสนาหรือวิถีชีวิตลำดับก่อน บางการประมาณว่า มีศาสนาราว 4,200 ศาสนาในโลก นอกจากนี้ ยังมีผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ ซึ่งเรียกว่า ผู้ที่ไม่มีศาสน.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และศาสนา · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาบาไฮ

อาคารของธรรมสภายุติธรรมสากลบาไฮ ที่ประเทศอิสราเอล ศาสนาบาไฮราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 316 หรือลัทธิบาไฮ (الدّين البهائي; Bahá'í Faith) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่แยกตัวออกมาจากลัทธิบาบีในปี ค.ศ. 1863 ถือกำเนิดในจักรวรรดิเปอร์เซีย (ปัจจุบันอยู่ในอาณาเขตของประเทศอิหร่าน) ศาสดาคือพระบะฮาอุลลอฮ์ (พ.ศ 2360-2435) ศูนย์กลางบาไฮโลกอยู่ที่เมืองไฮฟา มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด 2 แห่ง คือ พระสถูปของพระบะฮาอุลลอฮ์อยู่ที่เมืองอัคคา และพระสถูปของพระบาบอยู่ที่เมืองไฮฟา ประเทศอิสราเอล ปัจจุบันเป็นศาสนาที่เผยแผ่ได้กว้างขวางเป็นอันดับสองของโลก โดยมีศาสนิกชนกว่า 5 ล้านคนทั่วโลก บาไฮศาสนิกชนมาจากภูมิหลังที่แตกต่างกัน และอาศัยอยู่ในแทบทุกประเทศทั่วโลก.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และศาสนาบาไฮ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนายูดาห์

นายูดาห์ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 281 หรือศาสนายิว (Judaism; יהדות) คือวิถีชีวิต ปรัชญา และศาสนาประเภทเอกเทวนิยม ตามความเชื่อของชาวยิวLewis (1984), pp.10, 20 มีต้นกำเนิดในคัมภีร์ฮีบรู (หรือคัมภีร์ทานัค) รวมถึงคัมภีร์ชั้นหลัง เช่น คัมภีร์ทาลมุด ศาสนิกชนยูดาห์ถือว่าวิถีนี้ เป็นพันธสัญญาระหว่างพระยาห์เวห์กับวงศ์วานอิสราเอล ศาสนายูดาห์แบบรับบีถือว่าพระยาห์เวห์ได้ประทานธรรมบัญญัติที่เรียกว่าคัมภีร์โทราห์แก่โมเสสที่ภูเขาซีนาย ศาสนายูดาห์มีพระเจ้าสูงสุด คือ พระยาห์เวห์ โดยชาวยิวมีความเชื่อว่าพระเจ้าทรงสร้างโลกและมนุษย์คู่แรกเมื่อประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล และถือว่าโมเสสคือศาสดา ให้กำเนิดศาสนายูดาห์เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล และยังมีบุคคลสำคัญ เช่น อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ ยูดาห์ ผู้เผยพระวจนะท่านอื่น ๆ อีกจำนวนมาก ฯลฯ เป็นต้น ศาสนายูดาห์มีความเป็นมายาวนานกว่าสี่พันปี (นับจากสมัยอับราฮัม) จึงถือเป็นศาสนาเอกเทวนิยมที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังดำรงอยู่ในปัจจุบัน ในคัมภีร์ทานัคที่เขียนขึ้นในยุคหลัง เช่น หนังสือเอสเธอร์ เรียกชาวฮีบรูหรือวงศ์วานอิสราเอลว่าชาวยิว คัมภีร์ของศาสนายูดาห์ยังมีอิทธิพลอย่างมากต่อกลุ่มศาสนาอับราฮัมยุคหลังด้วย คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนาบาไฮ รวมทั้งมีอิทธิพลต่อจริยธรรมและระบบซีวิลลอว์ตะวันตกทั้งทางตรงและทางอ้อม ชาวยิวเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ศาสนา ซึ่งหมายรวมทั้งที่เป็นชาวยิวโดยกำเนิดและและคนที่เข้ารีตยิว ในปี..

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และศาสนายูดาห์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอียิปต์โบราณ

thumb เทพปกรณัมแห่งไอยคุปต์ หรือ ศาสนาของชาวไอยคุปต์ (อียิปต์โบราณ) คือศาสนาหรือความเชื่อในรูปแบบพหุเทวนิยม ของชาวอียิปต์โบราณ เมื่อกว่า 3,000 ปีที่แล้ว โดยจะนับถือเทพเจ้าหลายองค์ด้วยกัน ที่สำคัญๆ ได้แก่ เทพรา เทพโอสิริส เทพโฮรุส เทพอานูบิส เทวีไอสิส เทวีเสลเคต อิมโฮเตป อาเมนโฮเตป เป็นต้น หมวดหมู่:อียิปต์โบราณ หมวดหมู่:เทพปกรณัม หมวดหมู่:เทพเจ้าอียิปต์โบราณ.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และศาสนาอียิปต์โบราณ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาโซโรอัสเตอร์

ฟาร์วาฮาร์ สัญลักษณ์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ ศาสนาโซโรอัสเตอร์ (Zoroastrianism) เป็นศาสนาและปรัชญาศาสนาอิหร่านเอกเทวนิยมโบราณอย่างหนึ่ง เคยเป็นศาสนาแห่งรัฐจักรวรรดิอะคีเมนิด พาร์เธียและแซสซานิด ประมาณจำนวนศาสนิกโซโรอัสเตอร์ทั่วโลกปัจจุบันอยู่ระหว่างประมาณ 145,000 คนเมื่อประมาณ..

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และศาสนาโซโรอัสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สวรรค์

วรรค์ (स्वर्ग สฺวรฺค) หมายถึง ภพหนึ่งในคติของศาสนาต่าง ๆ เช่น ศาสนายูดาห์ ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลามอันเป็นสถานที่ตอบแทนคุณงามความดีของมนุษย์ที่ได้ทำไปเมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่บนโลกนี้.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และสวรรค์ · ดูเพิ่มเติม »

สารานุกรมคาทอลิก

รานุกรมคาทอลิก (Catholic Encyclopedia) หรือ สารานุกรมคาทอลิกเก่า (Old Catholic Encyclopedia) คือสารานุกรมภาษาอังกฤษที่พิมพ์ในสหรัฐอเมริกา เล่มแรกพิมพ์ในเดือนมีนาคม..

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และสารานุกรมคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

หะดีษ

ีษ บ้างก็สะกด หะดีษ, หาดีษ, ฮาดีษ (الحديث /อัลฮะดีษ/) แปลว่าคำพูด หรือใหม่ ตามทัศนะซุนนีย์หมายถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของนบีมุฮัมมัด ตามทัศนะชีอะฮ์ยังรวมถึงถึงคำพูด การกระทำ และการยอมรับของบรรดามะอฺศูมอีกด้วย ฮะดีษต่าง ๆ ได้มีการรวบรวมเป็นเล่ม เรียกในภาษาไทยว่า พระวจนานุกรม มีการแบ่งเป็นอนุกรมและหมวดหมู่ สะดวกแก่การค้นห.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และหะดีษ · ดูเพิ่มเติม »

หนังสือวิวรณ์

หนังสือวิวรณ์ (Book of Revelation) เป็นหนังสือเล่มที่ 27 หรือเล่มสุดท้ายในคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาใหม่ ซึ่งในตอนที่สี่ที่เป็นการพยากรณ์ มีหนังสือเล่มนี้เพียงเล่มเดียว ผู้เขียนระบุชื่อของตนเองอย่างชัดเจนว่าชื่อ ยอห์น และอาศัยอยู่ที่เกาะปัทมอส คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าเป็นยอห์นเดียวกับยอห์นอัครทูตและยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสาร แต่จากการศึกษาด้านวิธีการประพันธ์ เนื้อหาทางเทววิทยา และการใช้ศัพท์ ที่ทั้งสามเล่มใช้แตกต่างกัน นักวิชาการจึงลงความเห็นว่าบุคคลทั้งสามไม่ใช่คนเดียวกัน จึงเรียกผู้เขียนหนังสือวิวรณ์ว่ายอห์นแห่งปัทมอสตามที่ระบุในหนังสือนั้น ยอห์นแห่งปัทมอสระบุว่าได้เขียนขึ้นขณะที่อยู่บนเกาะปัทมอส อันเป็นสถานที่ซึ่งได้ถูกเนรเทศมาและได้อยู่ที่นั่นจนสิ้นชีวิต ช่วงเวลาในการเขียนพระธรรมเล่มนี้น่าจะอยู่ในราวปี..

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และหนังสือวิวรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

ออกัสตินแห่งฮิปโป

นักบุญออกัสตินแห่งฮิปโป (Augustine of Hippo) เกิดเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน..

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และออกัสตินแห่งฮิปโป · ดูเพิ่มเติม »

อัลกุรอาน

อัลกุรอาน บ้างเรียก โกหร่าน (الْقُرآن) เป็นคัมภีร์ในศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมเชื่อว่าเป็นพระวจนะของอัลลอฮ์ที่ประทานผ่านทางเทวทูตญิบรีล มาสู่นบีมุฮัมมัด คำว่า กุรอาน มาจากรากศัพท์ในภาษาอาหรับแปลว่า การอ่าน หรือ อาขยาน อัลลอฮ์ได้ประทานคัมภีร์อัลกรุอานแก่นบีมุฮัมมัดซึ่งชาวมุสลิมถือว่าเป็นศาสนทูตคนสุดท้าย และคัมภีร์นี้ก็เป็นคัมภีร์สุดท้ายที่อัลลอฮ์ได้ส่งมาให้แก่มวลมนุษยชาติ หลังจากนี้แล้วจะไม่มีคัมภีร์ใด ๆ จากพระเป็นเจ้าอีก คัมภีร์กรุอานนี้ได้ประทานมาเพื่อยกเลิกคัมภีร์เก่า ๆ ที่เคยได้ทรงประทานมาในอดีตนั่นคือคัมภีร์เตารอต ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีมูซา คัมภีร์ซะบูร ที่เคยทรงประทานมาแก่นบีดาวูด (ดาวิด) และคัมภีร์อินญีลที่เคยทรงประทานมาแก่นบีอีซา (พระเยซู) เป็นคัมภีร์ที่บริบูรณ์ไม่มีการเพี้ยนเปลี่ยนแปลง ภาษาของคัมภีร์อัลกุรอานนั้นคือภาษาอาหรับ ที่ยังใช้อยู่ในปัจจุบัน การศรัทธาในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งเล่มเป็นหลักการหนึ่งที่มุสลิมทุกคนต้องศรัทธา นั่นก็หมายความว่าหากไม่ศรัทธาในอัลกุรอาน หรือศรัทธาเพียงบางส่วนก็จะเป็นมุสลิมไม่ได้ เช่นเดียวกับที่ต้องศรัทธาว่าคัมภีร์อัลกุรอานนี้มีความบริบูรณ์ภายใต้การพิทักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้จึง ตั้งแต่วันที่ท่านศาสดาเสียชีวิตจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมีความเหมือนกันในทุกฉบับบนโลก และภาษาอาหรับในคัมภีร์จึงเป็นภาษาโบราณภาษาเดียว ที่มีใช้อย่างคงเดิมอยู่จนกระทั่งวันนี้ได้ และได้กลายเป็นภาษามาตรฐานของประเทศอาหรับทั้งหลาย เป็นภาษาวิชาการของอิสลาม และเป็นภาษาที่ใช้ในการปฏิบัติศาสนพิธีของมุสลิมทุกคนทั่วโลก.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และอัลกุรอาน · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์มีคาเอล

อัครทูตสวรรค์มีคาเอลพระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์, หน้า 2428 (Αρχάγγελος Μιχαήλ) หรือ มีคาเอลหัวหน้าทูตสวรรค์ (Michael the archangel) เป็นอัครทูตสวรรค์องค์หนึ่งตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าท่านเป็นผู้บัญชาการกองทัพของพระเป็นเจ้า ในหนังสือดาเนียล จดหมายของนักบุญยูดา และหนังสือวิวรณ์กล่าวว่าท่านเป็นผู้นำกองทัพพระเจ้าต่อสู้กับทัพของซาตานตอนที่ซาตานก่อกบฏ หนังสือดาเนียลระบุว่ามีคาเอลเป็นเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้า ซึ่งปรากฏในนิมิตของดาเนียลผู้เผยพระวจนะว่าได้เข้าไปช่วยกาเบรียลต่อสู้กับทูตสวรรค์ผู้พิทักษ์จักรวรรดิเปอร์เซียที่มีนามว่าโดเบียล นอกจากนี้คัมภีร์ยังระบุว่าท่านเป็นองค์อุปถัมภ์วงศ์วานอิสราเอลและเจ้าผู้พิทักษ์ชั้นหัวหน้าผู้ปกป้องลูกหลานประชาชนของดาเนียล ในภาษาฮีบรู คำว่า มีคาเอล (Michael) แปลว่า "ผู้เหมือนพระเจ้า" (mi ผู้ใด, ke คือ/เป็น, El-พระเจ้า) ซึ่งมาจากสำนวนคำถามในคัมภีร์ทาลมุดที่ว่า “ผู้ใดจะเหมือนพระเจ้า?” (ตัวคำถามสื่อคำตอบในทางปฏิเสธว่าไม่มี) เพื่อที่จะบอกว่าไม่มีผู้ใดเสมอเหมือนพระเจ้า มีคาเอลจึงถือเป็นสัญลักษณ์ของความถ่อมตนต่อพระเจ้า ชาวโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และลูเทอแรน เรียกท่านว่า”นักบุญมีคาเอลอัครทูตสวรรค์” หรือเรียกง่าย ๆ ว่านักบุญมีคาเอล ชาวออร์ทอดอกซ์เรียกท่านว่า “ทักสิอาร์คอัครทูตสวรรค์มีคาเอล” หรืออัครทูตสวรรค์มีคาเอล กลุ่มพยานพระยะโฮวา เซเวนเดย์แอดเวนทิสต์ และนิกายใหม่ ๆ บางนิกายในคริสต์ศาสนามองว่ามีคาเอลคือ “พระคริสต์มีคาเอล” ซึ่งหมายถึงพระคริสต์ในสภาพก่อนที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์ ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายสอนว่ามีคาเอลที่จริงก็คืออาดัมตามหนังสือปฐมกาลนั่นเองที่ไปเกิดบนสวรรค์ และว่ามีคาเอลคือผู้ช่วยพระเยโฮวาห์ (ซึ่งอ้างว่าคือพระเยซูตอนอยู่บนสวรรค์) สร้างโลกตามการชี้นำของพระเจ้.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และอัครทูตสวรรค์มีคาเอล · ดูเพิ่มเติม »

อัครทูตสวรรค์ราฟาเอล

ราฟาเอล หรืออิสรอฟีล (רָפָאֵל, Rāfāʾēl, "พระเจ้าเป็นผู้ทรงรักษา" "พระเจ้าทรงรักษา" "พระเจ้าได้โปรดรักษา", اسرافيل‎, Isrāfīl) เป็นอัครทูตสวรรค์ตามความเชื่อในศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าเป็นผู้ทำหน้าที่รักษาโร.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และอัครทูตสวรรค์ราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

ผู้เผยพระวจนะ

''อิสยาห์ผู้เผยพระวจนะ'' วาดโดยเบนจามิน เวสต์ (1782, Bob Jones University Museum and Gallery). ผู้เผยพระวจนะ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) ประกาศก (ศัพท์คาทอลิก) หรือ ศาสดาพยากรณ์ (prophet; προφήτης,: จากคำนิบาต προ- pro- แปลว่า เบื้องหน้า และ φημί แปลว่า พูด, กล่าวออกไป) หมายถึง ผู้ที่พระเป็นเจ้าทรงเจิมตั้งไว้เพื่อการรับพระดำรัสของพระองค์มาถ่ายทอดสู่มวลมนุษย์ เป็นผู้ที่ทำนายอนาคต ผู้บอกเล่าอนาคต หรือประกาศคำสั่งสอนของพระเป็นเจ้า ปรากฏในความเชื่อของศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม ภาคผนวกจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับอมตธรรมร่วมสมัยได้อธิบายคำว่า “ผู้เผยพระวจนะ” ไว้ว่า “กระบอกเสียงของพระเจ้า คนที่ได้รับข่าวสารหรือพระดำรัสของพระเจ้าและประกาศให้แก่กลุ่มคนที่เจาะจง”.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และผู้เผยพระวจนะ · ดูเพิ่มเติม »

คริสต์ศาสนิกชน

ัญลักษณ์กางเขนและอิกธัส (Ichthys) ซึ่งคริสต์ศาสนิกชนมักใช้แทนศาสนาของตน คริสต์ศาสนิกชน หรือ คริสตชน หมายถึง บุคคลที่นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งเป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยมอันเกิดจากคำสอนของพระเยซูชาวนาซาเรธ คริสต์ศาสนิกชนเชื่อว่าพระองค์คือพระคริสต์หรือพระเมสสิยาห์ที่ถูกพยากรณ์ไว้ในคัมภีร์ฮีบรู และเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าด้วย, BBC คริสต์ศาสนิกชนส่วนใหญ่เชื่อเรื่องพระตรีเอกภาพ คือ เชื่อว่าพระเป็นเจ้าพระองค์เดียวได้ปรากฏเป็น 3 พระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามมีคริสต์ศาสนิกชนบางกลุ่มไม่ยอมรับเรื่องพระตรีเอกภาพ จึงเรียกว่า "อตรีเอกภาพนิยม" เช่น พยานพระยะโฮวา ในประเทศไทยเรียกคริสต์ศาสนิกชนชาวโรมันคาทอลิกว่าคริสตัง และชาวโปรเตสแตนต์ว่าคริสเตียน.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และคริสต์ศาสนิกชน · ดูเพิ่มเติม »

คัมภีร์ฮีบรู

ต้นฉบับ “คัมภีร์ฮีบรู” พร้อมกับคำแปลภาษาแอราเมอิก คัมภีร์ฮีบรู (Hebrew Bible; Biblia Hebraica) หมายถึง คัมภีร์ทานัค (Tanakh; תנ"ך) ซึ่งเป็นชุดคัมภีร์ในศาสนายูดาห์ และเป็นที่มาของคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์ด้วย คัมภีร์นี้ส่วนใหญ่บันทึกเป็นภาษาฮีบรูไบเบิล บางส่วนเป็นภาษาแอราเมอิกไบเบิล (เช่น หนังสือดาเนียล หนังสือเอสรา เป็นต้น) ซึ่งคัมภีร์ฮีบรูนี้มีหนังสือทั้งสิ้น 24 เล่ม สารบบของคัมภีร์ฮีบรูที่ใช้ในปัจจุบันสอดคล้องกับคัมภีร์ไบเบิลภาคพันธสัญญาเดิมของนิกายโปรเตสแตนต์ แต่ไม่ตรงกับของนิกายโรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ซึ่งได้เพิ่ม "คัมภีร์อธิกธรรม" และ Anagignoskomena เข้ามา ความหมายของคัมภีร์ฮีบรูจึงไม่เกี่ยวกับชื่อ จำนวน และลำดับหนังสือ ต่างจากสารบบคัมภีร์ไบเบิลที่ศาสนาคริสต์จัดระบบขึ้นในยุคหลัง.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และคัมภีร์ฮีบรู · ดูเพิ่มเติม »

ตรีเอกภาพ

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรึเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union) ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยม” คริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนาHarris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และตรีเอกภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ปรัมปราวิทยา

ประมวลเรื่องปรัมปราราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า 68 (mythology) หมายถึง การรวบรวมเรื่องปรัมปรา (myth) เกี่ยวกับธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และจารีตประเพณี ของกลุ่มชนหนึ่ง และเรียกวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องปรัมปราเหล่านี้ว่า ปรัมปราวิทยา หรือ ปุราณวิทยา (mythology).

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และปรัมปราวิทยา · ดูเพิ่มเติม »

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร

ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร ปิตาจารย์แห่งคริสตจักร (Church Fathers, Fathers of the Church) ปิตาจารย์แห่งคริสตจักรยุคแรก (Early Church Fathers) หรือ ปิตาจารย์ศาสนาคริสต์ (Christian Fathers) คือนักเทววิทยาที่มีบทบาทสำคัญในศาสนาคริสต์ยุคแรก ปิตาจารย์เหล่านี้มักเป็นอาจารย์หรือมุขนายกที่มีบทบาทสำคัญในยุคนั้น งานเขียนของปิตาจารย์ถือเป็นบรรทัดฐานความเชื่อของคริสต์ศาสนิกชนในศตวรรษต่อ ๆ มา ปิตาจารย์บางคนอาจไม่ใช่นักบุญ ไม่ได้รับศีลอนุกรม แต่ส่วนมากก็ได้รับความเคารพจากคริสตจักรต่าง ๆ ทั้งโรมันคาทอลิก อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ แองกลิคันคอมมิวเนียน และลูเทอแรน ออริเจนและเทอร์ทิวเลียนเป็นสองปิตาจารย์ที่มีชื่อเสียงมาก แต่ก็ไม่ได้รับการประกาศเป็นนักบุญในคริสตจักรคาทอลิก ออริเจนแม้จะมีอิทธิพลมากในศาสนาคริสต์ตะวันออก แต่เนื่องจากเขาเชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดจึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีต ส่วนเทอร์ทิวเลียนตอนแรกเป็นที่ยอมรับในคริสตจักรเพราะสนับสนุนแนวคิดตรีเอกภาพนิยม แต่ต่อมาได้รับแนวคิดของลัทธิมอนทานิสต์จึงถูกประณามว่าเป็นพวกนอกรีตเช่นกันTabbernee, Prophets and Gravestones, p. 98 note 1.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และปิตาจารย์แห่งคริสตจักร · ดูเพิ่มเติม »

นักบวช

นักบวช หรือ บรรพชิต เป็นผู้สละชีวิตฆราวาสเข้าพิธีบวชตามลัทธิศาสนาต่าง ๆพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน..

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และนักบวช · ดูเพิ่มเติม »

โลก

"เดอะบลูมาร์เบิล" ภาพถ่ายดาวเคราะห์โลกจากยาน ''อพอลโล 17'' โลก (loka; world) มีความหมายโดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ รวมทั้งอารยธรรมมนุษย์โดยรวมทั้งหมด โดยเฉพาะในด้านประสบการณ์ ประวัติศาสตร์ หรือสภาพของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ทั้งนี้ คำว่า ทั่วโลก หมายถึงสถานที่ใด ๆ บนดาวเคราะห์โลก ในทางปรัชญามองโลกอยู่ 2 แบบ คือ.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และโลก · ดูเพิ่มเติม »

เพศ

การสืบพันธุ์ที่สำเร็จ เกิดผมการรวมตัวกันของสเปิร์มและเซลล์ไข่ เพศ (sex) ในชีววิทยา คือ ขั้นตอนการเชื่อมโยงและการผสมผสานกลไกเฉพาะทางพันธุกรรม ที่มักมีผลให้เกิดในเพศชายหรือเพศหญิงที่แตกต่างกันไป.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และเพศ · ดูเพิ่มเติม »

เสราฟิม

นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีเห็นนิมิตเสรัฟองค์หนึ่ง เสราฟิม (พหูพจน์) หรือ เสรัฟ (เอกพจน์) (שְׂרָפִים ''śərāfîm'', เอกพจน์ שָׂרָף ''śārāf''.; seraphi, เอกพจน์ seraph; σεραφείμ) คือชาวสวรรค์จำพวกหนึ่งตามความเชื่อในศาสนาอับราฮัม (ได้แก่ ยูดาห์ คริสต์ และอิสลาม) ในหนังสืออิสยาห์ บทที่ 6 กล่าวว่าเสรัฟแต่ละองค์มีปีก 3 คู่ คู่หนึ่งปิดหน้า คู่หนึ่งปิดเท้า และอีกคู่หนึ่งใช้บินไปมารอบบัลลังก์ของพระเป็นเจ้า ร้องสรรเสริญพระองค์อยู่ตลอดเวลาว่า "บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ บริสุทธิ์ พระยาห์เวห์จอมทัพ แผ่นดินโลกทั้งสิ้นเต็มด้วยพระสิริของพระองค์" และยังมีหน้าที่พิเศษ เช่น ชำระบาปและกล่าวคำยกบาปด้วย นอกจากนี้ เสราฟิมยังถูกจัดอยู่กลุ่มทูตสวรรค์ชั้นเอกในลำดับชั้นของทูตสวรรค์ในศาสนาคริสต.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และเสราฟิม · ดูเพิ่มเติม »

เจตจำนงเสรี

แผนภาพอย่างง่ายแสดงมุมมองทางปรัชญาต่อเจตจำนงเสรีและนิยัตินิยม เจตจำนงเสรี (free will) เป็นความสามารถของตัวกระทำที่จะเลือกโดยไม่ถูกจำกัดจากปัจจัยบางอย่าง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องเดิมมีข้อจำกัดทางอภิปรัชญา (ตัวอย่างเช่น นิยัตินิยมทางตรรกะ จิตวิทยาเชิงเหตุผล หรือเทววิทยา) ข้อจำกัดทางกายภาพ (ตัวอย่างเช่น โซ่ตรวนหรือการจองจำ) ข้อจำกัดทางสังคม (ตัวอย่างเช่น การข่มขู่ลงโทษหรือการตำหนิโทษ หรือข้อจำกัดเชิงโครงสร้าง) และข้อจำกัดทางจิต (ตัวอย่างเช่น การบังคับหรือโรคกลัว ความผิดปกติทางประสาทวิทยาศาสตร์ หรือความโน้มเอียงรับโรคทางพันธุกรรม) หลักเจตจำนงเสรีมีการส่อความทางศาสนา กฎหมาย จริยศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ในขอบเขตศาสนา เจตจำนงเสรีส่อความว่า เจตจำนงและทางเลือกหนึ่ง ๆ สามารถมีพร้อมกับพระเจ้าที่มีอำนาจไร้ขอบเขตได้ ในทางกฎหมาย เจตจำนงเสรีมีผลต่อการพิจารณาการลงโทษและการฟื้นฟูสภาพ ในทางจริยศาสตร์ เจตจำนงเสรีอาจส่อความว่า ปัจเจกบุคคลสามารถรับผิดชอบทางศีลธรรมต่อการกระทำของตนหรือไม่ ในทางวิทยาศาสตร์ การค้นพบทางประสาทวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเจตจำนงเสรีอาจเสนอวิธีต่าง ๆ ที่การทำนายพฤติกรรมของมนุษ.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และเจตจำนงเสรี · ดูเพิ่มเติม »

เทววิทยา

ทววิทยา (theology) ในความหมายอย่างแคบคือวิชาว่าด้วยพระเจ้าและความสัมพันธ์ระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์ ความหมายอย่างกว้างคือการศึกษาเรื่องศาสนา อิทธิพลของศาสนา ธรรมชาติของความจริงทางศาสนา อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล หรือหมายถึงวิชาชีพที่มาจากการฝึกฝนเรียนรู้ทางด้านศาสนศึกษาที่มหาวิทยาลัย สำนักเทวศาสตร์ หรือเซมินารี.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และเทววิทยา · ดูเพิ่มเติม »

เครูบ

วกเครูบตามจินตนาการของคริสเตียนป้องกันประตูทางเข้าสวนอีเด็น โดจจุสโต เดอ เมนาบวย ราว ค.ศ. 1377 เครูบ (cherub (เอก.) cherubim (พหู.), כרוב, พหูพจน์ כרובים, cherub, พหูพจน์ cherubi) เป็นทูตสวรรค์ประเภทหนึ่งที่กล่าวถึงหลายครั้งในคัมภีร์ไบเบิล ในภาษาอังกฤษปัจจุบันคำนี้มักจะใช้เรียกเทวดาเด็ก ๆ ที่ปรากฏในงานศิลปะ ซึ่งตามความหมายทางการแล้วแตกต่างจาก “เครูบ” ในบทความนี้ มีบรรยายว่าเครูบมีปีก ผู้เผยพระวจนะบรรยายไว้ในคัมภีร์เอเสเคียลว่าเป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต (creature) ที่แต่ละตนมีหน้าสี่หน้า: สิงห์โต, วัว, เหยี่ยว และมนุษย์ และเชื่อกันว่ามีมือเหมือนมนุษย์, เท้าเหมือนวัว, และมีปีกสี่ปีก สองปีกตั้งขึ้นประกบกันและแบกบัลลังก์พระเจ้า อีกสองปีกหลุบลงปิดบังร่างของตนเอง เครูบมีกล่าวถึงในคัมภีร์ฮิบรูในโทราห์ (หนังสือห้าเล่มของโมเสส) พระธรรมเอเสเคียล และพระธรรมอิสยาห์ ในพันธสัญญาใหม่ของคริสต์ศาสนา กล่าวถึงเครูบในพระธรรมวิวรณ์ พหูพจน์ของคำว่า “Cherub” คือ “Cherubim” หรือ “Cherubs” แต่ผู้ใช้ภาษาอังกฤษไม่มีความคุ้นเคยกับพหูพจน์ของภาษาฮิบรูบางครั้งจึงใช้ “Cherubims” ในกรณีที่เป็นพหูพจน์เช่นในคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ (King James Bible) at Bible Gateway.com.

ใหม่!!: ทูตสวรรค์และเครูบ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »