โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เมลานิน

ดัชนี เมลานิน

รเมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้นหนังกำพร้าส่วนล่างสุด โดยเซลล์เมลาโนไซต์หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 35 เซลล์ เมลาโนไซต์จะสร้างสารเมลานินบรรจุในแคปซูลเรียกว่าเมลาโนโซม เมื่อสร้างเสร็จจะส่งไปตามร่างแหเข้าสู่เซลล์ผิวหนัง สารเมลานินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชน.

15 ความสัมพันธ์: บีตา-แคโรทีนกระกลากฝ้ามะเฟืองรังสีอัลตราไวโอเลตวิตามินว่านหางจระเข้หนังกำพร้าอนุมูลอิสระฮอร์โมนความยาวคลื่นโรคด่างขาวไฝเมลาโนไซต์เซลล์ประสาท

บีตา-แคโรทีน

ีตา-แคโรทีน (β-carotene) เป็นรงควัตถุสีแดง-ส้มเข้มที่พบมากในพืชและผลไม้ เป็นสารประกอบอินทรีย์และในทางเคมีจัดเป็นไฮโดรคาร์บอน หรือให้เจาะจงคือ เทอร์พีนอยด์ (ไอโซพรีนอยด์) ซึ่งสะท้อนว่ามาจากหน่วยไอโซพรีน เบต้าแคโรทีนชีวสังเคราะห์จากเจรานิลเจรานิลไพโรฟอสเฟต (geranylgeranyl pyrophosphate) บีตา-แคโรทีนอยู่ในกลุ่มแคโรทีน ซึ่งเป็นเตตระเทอร์พีน ซึ่งสังเคราะห์ทางชีวเคมีจากแปดหน่วยไอโซพรีนและมี 40 คาร์บอน บีตา-แคโรทีนแตกต่างจากแคโรทีนชนิดอื่น คือ มีวงแหวนบีตาที่ทั้งสองปลายของโมเลกุล การดูดซึมบีตา-แคโรทีนเพิ่มขึ้นหากรับประทานกับไขมัน เพราะแคโรทีนละลายในไขมัน สำหรับขนาดรับประทานของวิตามินเอเพื่อรักษาสุขภาพโดยทั่วไปคือ 5,000 หน่วยสากล (IU) ซึ่งเทียบเท่ากับเบต้าแคโรทีน 3 มิลลิกรัม และสำหรับปริมาณที่สมเหตุสมผลของบีตา-แคโรทีนที่แนะนำให้รับประทานต่อวันเพื่อรักษาสุขภาพให้แข็งแรงคือ 15 มิลลิกรัม ในขณะที่การรับประทานเพื่อหวังผลในรักษาจะต้องได้รับในปริมาณมากกว่านี้.

ใหม่!!: เมลานินและบีตา-แคโรทีน · ดูเพิ่มเติม »

กระ

กระบนผิวหน้าของเด็ก กระมี 3 ชนิด คือ กระตื้น กระลึก และกระเนื้อ.

ใหม่!!: เมลานินและกระ · ดูเพิ่มเติม »

กลาก

กลากหรือขี้กลาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราบนผิวหนังของมนุษย์ สัตว์เลี้ยง เช่น แมว หรือปศุสัตว์ โรคนี้มีสาเหตุเกิดจากเชื้อราหลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อราที่ทำให้เกิด parasitic infection (dermatophytes) ซึ่งกินเคราตินเป็นอาหาร เชื้อราพวกนี้เจริญเติบโตได้ดีในที่อุ่นและชื้น โรคนี้พบได้บ่อยในกลุ่มนักกีฬา ลักษณะเด่นของโรคนี้คือ มีรูปขอบนูนแดงเด่นขึ้นม.

ใหม่!!: เมลานินและกลาก · ดูเพิ่มเติม »

ฝ้า

PAGENAME ฝ้า เป็นสภาพผิวหนังของใบหน้าที่มีปื้นเป็นสีคล้ำ เกิดจากการเพิ่มจำนวนเม็ดสีที่ผิวหนังซึ่งถูกกระตุ้นด้วยแสงแดด ส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นฝ้าแต่ผู้ชายก็เป็นฝ้าได้หากตากแดดมากเกินไป วัยที่เริ่มเป็นฝ้า ได้แก่ วัยกลางคน พบเป็นกันมากในประเทศเขตร้อนเพราะได้รับแสงแดดมากกว่าที่อื่น ยังมีปัจจัยทางพันธุกรรมและฮอร์โมนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย สำหรับฝ้าที่เกิดจากฮอร์โมน คือฝ้าที่เกิดระหว่างการตั้งครรภ์หรือในช่วงที่กินยาคุมกำเนิด เมื่อหมดการกระตุ้นจากฮอร์โมนตามที่กล่าวมาฝ้าที่เป็นอยู่ก็จะหายขาดไปเอง รวมถึงการแพ้เครื่องสำอางบางอย่างอาจทำให้เกิดฝ้าดำขึ้นได้ ฝ้าที่เกิดใหม่มักเป็นชนิดตื้น เกิดจากการที่ผิวหนังชั้นหนังกำพร้ามีจำนวนเม็ดสีเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเป็นไปนาน ๆ ก็มีโอกาสกลายเป็นฝ้าลึก ซึ่งเกิดจากการเพิ่มของเม็ดสีในชั้นหนังแท้ สีฝ้าจะคล้ำเข้มมากขึ้น และรักษาให้หายยาก.

ใหม่!!: เมลานินและฝ้า · ดูเพิ่มเติม »

มะเฟือง

มะเฟือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa carambola L.; ชื่อสามัญ: Carambola) เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา และเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาเลเซีย และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา Guyana ซามัว ตองกา ไต้หวัน French Polynesia คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาว.

ใหม่!!: เมลานินและมะเฟือง · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: เมลานินและรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

วิตามิน

วิตามิน หรือ ไวตามิน เป็นสารประกอบอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่สิ่งมีชีวิตต้องการในปริมาณเล็กน้อยLieberman, S and Bruning, N (1990).

ใหม่!!: เมลานินและวิตามิน · ดูเพิ่มเติม »

ว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน คำว่า "อะโล" (Aloe) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึงว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อนต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย และทุกวันนี้ทั่วโลกกำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้กันเป็นการใหญ.

ใหม่!!: เมลานินและว่านหางจระเข้ · ดูเพิ่มเติม »

หนังกำพร้า

ตัดขวางของผิวหนัง หนังกำพร้า (Epidermis) เป็นบริเวณชั้นนอกสุดของผิวหนัง ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าหรือออกจากร่างกาย และห่อหุ้มร่างกาย ประกอบด้วยเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวประเภทสแตรทิฟายด์ สแควมัส (stratified squamous epithelium) รองรับด้วยเบซัล ลามินา (basal lamina).

ใหม่!!: เมลานินและหนังกำพร้า · ดูเพิ่มเติม »

อนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระ (radical หรือมักใช้ว่า free radical) คือ อะตอม โมเลกุลหรือไอออนซึ่งมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวหรือการจัดเรียงเป็นเชลล์เปิด (open shell) อนุมูลอิสระอาจมีประจุเป็นบวก ลบหรือเป็นศูนย์ก็ได้ ด้วยข้อยกเว้นบางประการ อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหล่านี้ทำให้อนุมูลอิสระว่องไวต่อปฏิกิริยาสูง อนุมูลอิสระมีบทบาทสำคัญในการสันดาป เคมีบรรยากาศ พอลิเมอไรเซชัน เคมีพลาสมา ชีวเคมี และกระบวนการทางเคมีอีกหลายอย่าง ในสิ่งมีชีวิต ซูเปอร์ออกไซด์ ไนตริกออกไซด์และผลิตภัณฑ์จากปฏิกิริยาของมันควบคุมหลายกระบวนการ เช่น ควบคุมการบีบตัวของหลอดเลือด ซึ่งควบคุมความดันโลหิตอีกต่อหนึ่ง นอกจากนี้ อนุมูลอิสระยังมีบทบาทสำคัญในเมแทบอลิซึมตัวกลางของสารประกอบทางชีวภาพหลายชนิด อนุมูลอิสระเกิดขึ้นเป็นปกติจากปฏิกิริยาในร่างกายอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีธาตุเหล็ก ทองแดง แมงกานีส โคบอลต์ โครเมียม นิเกิลน้อย มักเกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่ โดยร่างกายจะมีระบบกำจัดอนุมูลอิสระ แต่หากร่างกายได้รับสารอนุมูลอิสระจากภายนอก เช่น ได้รับจากอาหารบางชนิด จากขบวนการประกอบอาหาร เช่น การย่างเนื้อสัตว์ที่มีไขมันประกอบสูง การนำน้ำมันที่ใช้ทอดอาหารที่อุณหภูมิสูง ๆ มาใช้อีก หรือจากสิ่งแวดล้อม เช่น แสงอาทิตย์ซึ่งมีรังสีอัลตราไวโอเลต การแผ่รังสี รังสีเอกซ์ หรือจากมลพิษ เช่น ควันบุหรี่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์จากไอเสียรถยนต์ มากเกินไป หรือในภาวะที่ร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระได้ลดลง ก็จะทำให้มีอนุมูลอิสระมากเกินไป เป็นสาเหตุของโรคภัยได้ อนุมูลอิสระที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายต่อไขมัน (โดยเฉพาะไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ) โปรตีน หน่วยพันธุกรรม และคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่กล่าวถึงรายละเอียดในที่นี้ ทำให้เพิ่มอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลายชนิด โรคที่สำคัญและมีการศึกษากันมาก ได้แก่ โรคหลอดเลือดตีบและแข็งตัว โรคมะเร็งบางชนิด โรคอัลไซเมอร์ โรคไขข้ออักเสบ โรคความแก่ เป็นต้น.

ใหม่!!: เมลานินและอนุมูลอิสระ · ดูเพิ่มเติม »

ฮอร์โมน

อร์โมน (hormone มาจากภาษากรีก horman แปลว่า เคลื่อนไหว) คือ ตัวนำส่งสารเคมีจากเซลล์กลุ่มของเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่น ๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งพืชและสัตว์ สามารถผลิตฮอร์โมนได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น.

ใหม่!!: เมลานินและฮอร์โมน · ดูเพิ่มเติม »

ความยาวคลื่น

ซน์ ความยาวคลื่นมีค่าเท่ากับระยะห่างระหว่างยอดคลื่น ความยาวคลื่น คือระยะทางระหว่างส่วนที่ซ้ำกันของคลื่น สัญลักษณ์แทนความยาวคลื่นที่ใช้กันทั่วไปคือ อักษรกรีก แลมบ์ดา (λ).

ใหม่!!: เมลานินและความยาวคลื่น · ดูเพิ่มเติม »

โรคด่างขาว

รคด่างขาว เป็นภาวะที่เซลล์สร้างเม็ดสีหรือเมลาโนไซต์ถูกทำลาย จากสถิติพบว่าประชากรเป็นโรคนี้ร้อยละ 1 และพบในคนผิวคล้ำมากกว่าคนผิวขาว ร้อยละ 70-80 ของผู้ป่วยมีอายุต่ำกว่า 30 ปี ตัวอย่างของผู้ป่วย คือ ไมเคิล แจ็คสัน รอยโรคจะปรากฏเองโดยไม่มีอาการ ลักษณะที่ขึ้นใหม่ๆ จะเป็นสีขาวจางเหมือนเกลื้อน เมื่อเป็นนานเข้าจึงเห็นเป็นสีขาว ขอบชัดเจน มีรูปร่างกลมหรือรี หรือเป็นทางยาวตามแนวของเส้นประสาท พบได้บ่อยที่ใบหน้า มือ เท้า และผิวหนังเหนือข้อ รอยดังกล่าวมีขนาดตั้งแต่จุดเล็กๆ ถึงขนานใหญ่ ปกคลุมได้เกือบทั่วร่างกาย ในปัจจุบันยังไม่มีการรักษาที่ปลอดภัยและได้ผลแน่นอน แต่โรคด่างขาวไม่มีอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้นอาจไม่รักษาก็ได้.

ใหม่!!: เมลานินและโรคด่างขาว · ดูเพิ่มเติม »

ไฝเมลาโนไซต์

ฝเมลาโนไซต์ หรือ ไฝมีสี เป็นรอยโรคบนผิวหนังมีลักษณะเป็นจุดหรือตุ่มนูน มักมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ประกอบด้วยเซลล์ไฝ (nevus cell) ไฝโดยมากแล้วมักปรากฏขึ้นในอายุช่วง 20 ปีแรก ในขณะที่ทารก 1 ใน 100 คนมีไฝแต่กำเนิด ไฝที่เป็นภายหลังนั้นเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่ไฝที่มีมาแต่กำเนิดจัดเป็นรูปพิการชนิดเล็กน้อยหรือเป็นก้อนเนื้อวิรูปและอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งไฝ (melanoma) ไฝอาจเกิดใต้ชั้นหนังแท้หรือเป็นเม็ดสีที่อยู่บนผิวหนังก็ได้ซึ่งเกิดจากเซลล์ชื่อว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) ยิ่งร่างกายมีความเข้มข้นของเม็ดสีผิวที่เรียกว่าเมลานิน (melanin) มากยิ่งทำให้สีผิวคล้ำมากขึ้น ไฝจัดเป็นรอยโรคผิวหนังกลุ่มที่เรียกว่า ปาน (nevi).

ใหม่!!: เมลานินและไฝเมลาโนไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ประสาท

ซลล์ประสาท หรือ นิวรอน (neuron,, หรือ) เป็นเซลล์เร้าได้ด้วยพลัง ของเซลล์อสุจิที่ทำหน้าที่ประมวลและส่งข้อมูลผ่านสัญญาณไฟฟ้าและเคมี โดยส่งผ่านจุดประสานประสาท (synapse) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อโดยเฉพาะกับเซลล์อื่น ๆ นิวรอนอาจเชื่อมกันเป็นโครงข่ายประสาท (neural network) และเป็นองค์ประกอบหลักของสมองกับไขสันหลังในระบบประสาทกลาง (CNS) และของปมประสาท (ganglia) ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง (PNS) นิวรอนที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะ ๆ รวมทั้ง.

ใหม่!!: เมลานินและเซลล์ประสาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Melanin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »