โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เมลานิน

ดัชนี เมลานิน

รเมลานิน (Melanin) หรือเม็ดสีสร้างจากเซลล์ผิวหนังที่เรียกว่าเมลาโนไซต์ (melanocyte) เป็นเซลล์ที่เจริญมาจากเซลล์ระบบประสาทซึ่งแทรกตัวอยู่ในชั้นหนังกำพร้าส่วนล่างสุด โดยเซลล์เมลาโนไซต์หนึ่งเซลล์จะแตกแขนงเป็นร่างแหเล็กๆ ยื่นไปสัมผัสเซลล์ผิวหนังประมาณ 35 เซลล์ เมลาโนไซต์จะสร้างสารเมลานินบรรจุในแคปซูลเรียกว่าเมลาโนโซม เมื่อสร้างเสร็จจะส่งไปตามร่างแหเข้าสู่เซลล์ผิวหนัง สารเมลานินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชน.

17 ความสัมพันธ์: การลดลงของโอโซนการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยงภาวะผิวเผือกมนุษย์รังสีอัลตราไวโอเลตรายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐานวิทยาศาสตร์การอาหารสกินไวเทนนิงหอยเบี้ยจักจั่นจอตาจะงอยปากจุดภาพชัดเสื่อมปลาหมอคอนวิคแมลงสาบมาดากัสการ์ไฝเมลาโนไซต์เมลาโนโซมICD-10 บทที่ 12: โรคของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

การลดลงของโอโซน

องหลุมพร่องโอโซนขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีการบันทึกมา ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 บริเวณขั้วโลกใต้ การลดลงของโอโซน (ozone depletion) คือปรากฏการณ์การลดลงของชั้นโอโซนบนชั้นบรรยากาศระดับชั้นสตราโตสเฟียร์ โดยทำการศึกษาการลดลงของชั้นโอโซนตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เมลานินและการลดลงของโอโซน · ดูเพิ่มเติม »

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง

การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (หรือ การทำให้เชื่อง) หรือ การปรับตัวเป็นไม้เลี้ยง (domestication, domesticus) เป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างพืชหรือสัตว์ กับมนุษย์ผู้มีอิทธิพลในการดูแลรักษาและการสืบพันธุ์ของพวกมัน เป็นกระบวนการที่ประชากรสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมผ่านรุ่นโดยการคัดเลือกพันธุ์ (selective breeding) เพื่อเน้นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ โดยมีผลพลอยได้เป็นความเคยชินของสิ่งมีชีวิตต่อการพึ่งมนุษย์ ทำให้พวกมันสูญเสียความสามารถในการดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ ชาลส์ ดาร์วินเข้าใจถึงลักษณะสืบสายพันธุ์ (trait) จำนวนไม่มากจำนวนหนึ่ง ที่ทำให้สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงต่างจากบรรพบุรุษพันธุ์ป่า เขายังเป็นบุคคลแรกที่เข้าใจความแตกต่างระหว่างการคัดเลือกพันธุ์แบบตั้งใจ ที่มนุษย์เลือกลักษณะสืบสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตโดยตรงเพื่อจะได้ลักษณะตามที่ต้องการ กับการคัดเลือกที่ไม่ได้ตั้งใจ ที่ลักษณะมีวิวัฒนาการไปตามการคัดเลือกโดยธรรมชาติ หรือตามการคัดเลือกอื่น ๆ สิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงจะต่างจากสิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าทางพันธุกรรม และในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ก็ยังมีความแตกต่างกันระหว่างลักษณะสืบสายพันธุ์ที่นักวิจัยเชื่อว่า จำเป็นในระยะต้น ๆ ของกระบวนการปรับนำมาเลี้ยง (domestication trait) และลักษณะที่พัฒนาขึ้นต่อ ๆ มาหลังจากที่สิ่งมีชีวิตพันธุ์ป่าและพันธุ์เลี้ยงได้แยกออกจากกันแล้ว (improvement trait) คือลักษณะที่จำเป็นโดยทั่วไปมีอยู่ในสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงทั้งหมด และเป็นลักษณะที่คัดเลือกในระยะต้น ๆ ของกระบวนการ ในขณะที่ลักษณะที่พัฒนาต่อ ๆ มาจะมีอยู่ในบางพวกของสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยง ถึงแม้ว่าอาจจะมีแน่นอนในพันธุ์ (breed) ใดพันธุ์หนึ่งโดยเฉพาะ หรือในกลุ่มประชากรในพื้นที่โดยเฉพาะ การปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง (domestication) ไม่ควรสับสนกับการทำสัตว์ให้เชื่อง (taming) เพราะว่า การทำให้เชื่องเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ป่า ให้กลัวมนุษย์น้อยลงและยอมรับการมีมนุษย์อยู่ใกล้ ๆ ได้ แต่ว่าการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง เป็นการเปลี่ยนพันธุกรรมของสัตว์พันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอย่างถาวร เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกของสัตว์ต่อมนุษย์โดยกรรมพันธุ์ สุนัขเป็นสิ่งมีชีวิตแรกที่ปรับนำมาเลี้ยง และแพร่หลายไปทั่วทวีปยูเรเชียก่อนการสิ้นสุดสมัยไพลสโตซีน ก่อนการเกิดขึ้นของเกษตรกรรม และก่อนการนำสัตว์อื่น ๆ ต่อ ๆ มามาเลี้ยง ข้อมูลทั้งทางโบราณคดีและทางพันธุกรรมแสดงนัยว่า การแลกเปลี่ยนยีน (gene flow) ที่เป็นไปทั้งสองทางระหว่างสิ่งมีชีวิตที่นำมาเลี้ยงกับพันธุ์ป่า เช่น ลา ม้า อูฐทั้งพันธุ์โลกเก่าและโลกใหม่ แพะ แกะ และหมู เป็นเรื่องสามัญ และเพราะความสำคัญของการนำสิ่งมีชีวิตมาเลี้ยงต่อมนุษย์ และคุณค่าของมันโดยเป็นแบบจำลองของกระบวนการวิวัฒนาการและของการเปลี่ยนแปลงทางประชากร การศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จึงดึงดูดความสนใจของนักวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ รวมทั้งโบราณคดี บรรพชีวินวิทยา มานุษยวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา พันธุศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมสาขาต่าง ๆ สุนัขและแกะเป็นสิ่งมีชีวิตพันธุ์แรก ๆ ที่มนุษย์ปรับนำมาเลี้ยง.

ใหม่!!: เมลานินและการปรับตัวเป็นสัตว์เลี้ยง · ดูเพิ่มเติม »

ภาวะผิวเผือก

ลิงเผือกในสวนสัตว์พาต้า ภาวะผิวเผือก (Albinism หรือ achromia หรือ achromasia หรือ achromatosis หรือถ้าเป็นคำวิเศษณ์ก็ใช้ albinoid หรือ albinic) “Albinism” มาจากภาษาละตินว่า “Albus” ที่แปลว่า “ขาว” หมายถึงภาวะความผิดปกติแต่กำเนิด hypopigmentation ชนิดหนึ่ง ที่มีทำให้บางส่วนของร่างกายหรือร่างกายทั้งหมดขาดสีเมลานินในบริเวณตา ผิวหนังและผม หรือบางครั้งก็เพียงแต่ที่ตา ภาวะผิวเผือกเกิดจากการได้รับยีนส์ด้อย ภาวะที่ว่านี้มีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่รวมทั้งมนุษย์, ปลา, นก, สัตว์เลื้อยคลาน และ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก ศัพท์ที่ใช้เรียกกันโดยทั่วไปของภาวะที่ว่านี้คือ “albino” ที่บางครั้งนำมาใช้ในเชิงดูหมิ่น “albino” จึงเลี่ยงมาเป็นการใช้วลีเช่น “albinistic person” หรือ “person with albinism” (ผู้มีภาวะผิวเผือก) แทนที.

ใหม่!!: เมลานินและภาวะผิวเผือก · ดูเพิ่มเติม »

มนุษย์

มนุษย์ (ภาษาละตินแปลว่า "คนฉลาด" หรือ "ผู้รู้") เป็นสปีชีส์เดียวที่ยังมีชีวิตอยู่ในสกุล Homo ในทางกายวิภาค มนุษย์สมัยใหม่ถือกำเนิดขึ้นในทวีปแอฟริการาว 200,000 ปีที่แล้ว และบรรลุความนำสมัยทางพฤติกรรม (behavioral modernity) อย่างสมบูรณ์เมื่อราว 50,000 ปีที่แล้ว เชื้อสายมนุษย์แยกออกจากบรรพบุรุษร่วมสุดท้ายกับชิมแพนซี สิ่งมีชีวิตที่ใกล้ชิดที่สุด เมื่อราว 5 ล้านปีที่แล้วในแอฟริกา ก่อนจะวิวัฒนาการไปเป็นออสตราโลพิเธซีน (Australopithecines) และสุดท้ายเป็นสกุล Homo สปีชีส์ โฮโม แรก ๆ ที่อพยพออกจากแอฟริกา คือ Homo erectus, Homo ergaster ร่วมกับ Homo heidelbergensis ซึ่งถูกมองว่าเป็นบรรพบุรุษสายตรงของมนุษย์สมัยใหม่ Homo sapiens ยังเดินหน้าตั้งถิ่นฐานในทวีปต่าง ๆ โดยมาถึงยูเรเซียระหว่าง 125,000-60,000 ปีที่แล้ว ทวีปออสเตรเลียราว 40,000 ปีที่แล้ว ทวีปอเมริการาว 15,000 ปีที่แล้ว และเกาะห่างไกล เช่น ฮาวาย เกาะอีสเตอร์ มาดากัสการ์และนิวซีแลนด์ระหว่าง..

ใหม่!!: เมลานินและมนุษย์ · ดูเพิ่มเติม »

รังสีอัลตราไวโอเลต

แสงออโรราจากดาวพฤหัสบดีในช่วงรังสีอัลตราไวโอเลต ถ่ายโดยองค์การนาซา รังสีอัลตราไวโอเลต หรือ รังสียูวี (ultraviolet) หรือในชื่อภาษาไทยว่า รังสีเหนือม่วง เป็นช่วงหนึ่งของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าแสงที่มองเห็น แต่ยาวกว่ารังสีเอกซ์อย่างอ่อน มีความยาวคลื่นในช่วง 400-10 นาโนเมตร และมีพลังงานในช่วง 3-124 eV มันได้ชื่อดังกล่าวเนื่องจากสเปกตรัมของมันประกอบด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นที่มนุษย์มองเห็นเป็นสีม่วง.

ใหม่!!: เมลานินและรังสีอัลตราไวโอเลต · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน

รายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน (List of standard amino acids).

ใหม่!!: เมลานินและรายชื่อกรดอะมิโนมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์การอาหาร

วิทยาศาสตร์การอาหาร (food science) วิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่เน้นการศึกษาของอาหาร เริ่มตั้งแต่เก็บเกี่ยวจนถึงการบริโภคมีส่วนคาบเกี่ยวกับวิชาเกษตรศาสตร์ ". ตำราวิทยาศาสตร์การอาหารกำหนดวิทยาศาสตร์การอาหารว่า เป็นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและวิศวกรรมเพื่อการศึกษาทางกายภาพเคมีและลักษณะทางชีวเคมีของอาหารและหลักการของการแปรรูปอาหาร " วิทยาศาสตร์การอาหาร มีสาขาย่อยดังนี้.

ใหม่!!: เมลานินและวิทยาศาสตร์การอาหาร · ดูเพิ่มเติม »

สกินไวเทนนิง

สกินไวเทนนิง (skin whitening) เป็นเครื่องสำอางหลายประเภทใช้เพื่อช่วยให้ผิวขาวขึ้น ประเทศในภูมิภาคเอเชียนั้น วัดระดับทางสังคมโดยดูจากสีผิว ถ้าคนที่มีสีผิวอ่อน/ขาว จะถูกมองว่าเป็นบุคคลในราชวงศ์ หรือบุคคลชั้นสูงในสังคม ซึ่งโดยทั่วไปบุคคลชั้นสูงจะมีสีผิวที่อ่อน/ขาว เนื่องจากไม่ต้องโดนแสงแดดตลอดทั้งวัน ตรงกันข้ามกับชนชั้นแรงงานที่มักจะต้องทำงานอยู่กลางแดดตลอดเวลา ในประเทศญี่ปุ่น เกอิชาจะต้องพอกหน้าให้ขาวนวลเนียนเพื่อให้ดูสวยงาม มีเสน่ห์ และแสดงถึงความมีระดับในสังคม ปัจจุบันสกินไวเทนนิง ช่วยทำให้ผิวขาวขึ้นมาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยขบวนการในการต่อต้านการสร้างเอ็นไซม์ไทโรซิเนส เพื่อป้องกันไม่ให้ผิวสร้างเมลานินที่ทำให้ผิวมีสีดล้ำหรือดำ สารเคมีที่นียมใช้คือ ไฮโดรควิโนน และสารสกัดจากธรรมชาติต่าง ที่พบในท้องตลาด ที่มีช่วยทำให้ผิวขาวขึ้น นวลเนียนขึ้น ครีมหน้าขาว ช่วยบำรุงผิวหน้าให้ขาวใสกระจ่าง กระชับรูขุมขนให้เล็ก เรียบเนียน ยกกระชับผิว ครีมหน้าขาว ช่วยลดริ้วรอย ทำให้รอยเหี่ยวย่นที่ลึกตื้นขึ้นได้ ฝ้าและรอยหมองคล้ำบนใบหน้าลดลง ครีมหน้าขาว ช่วยรักษาสิว ทำให้หน้าเรียบเนียน มีผิวขาวกระจ่างใส ครีมไวท์เทนนิ่งเหมือนlightener ผิวสุดสามารถทำด้วยสารสกัดจากธรรมชาติเช่น หมวดหมู่:ตจวิทยา หมวดหมู่:เครื่องสำอาง.

ใหม่!!: เมลานินและสกินไวเทนนิง · ดูเพิ่มเติม »

หอยเบี้ยจักจั่น

หอยเบี้ยจักจั่น หรือ หอยเบี้ยจั่น (Money cowry) เป็นหอยทะเลฝาเดียวชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Monetaria moneta (ศัพทมูลวิทยา: moneta (/โม-เน-ตา/) เป็นภาษาละตินแปลว่า "เงินตรา") ในวงศ์ Cypraeidae มีเปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปากยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง 2 ข้าง เป็นลำราง ริมปากทั้ง 2 เป็นหยักคล้ายฟัน ไม่มีฝาปิด มีความยาวประมาณ 12-24 มิลลิเมตร มีถิ่นแพร่กระจายอยู่ในทะเลเขตอบอุ่นทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย อาทิ ทะเลแดง อินโด-แปซิฟิก นอกชายฝั่งทะเลด้านมหาสมุทรแปซิฟิกของอเมริกากลาง ชายฝั่งทะเลทวีปแอฟริกาตอนตะวันออกและใต้ ทะเลอันดามัน อ่าวไทย ทะเลญี่ปุ่น ไปจนถึงโอเชียเนีย ดำรงชีวิตอยู่ตามแนวปะการังใกล้ชายฝั่ง กินอาหารจำพวกแพลงก์ตอนและสาหร่ายทะเลที่ลอยมาตามกระแสน้ำ เปลือกหอยของหอยเบี้ยชนิดนี้ มีความสำคัญต่อมนุษย์มาตั้งแต่ยุคโบราณ โดยใช้เป็นเครื่องแลกเปลี่ยนสิ่งของแทนเงินตราในปัจจุบัน สันนิษฐานว่าคำว่า "เบี้ย" ในภาษาไทยก็เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "รูปี" ซึ่งเป็นหน่วยเงินตราของอินเดียมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลคอลัมน์ Aqua Pets โดย จอม สมหวัง ปัทมคันธิน "สุดยอดแฟนพันธุ์แท้เปลือกหอย 2 สมัย" หน้า 107 นิตยสาร Aquarium Biz Vo.1 issue 6 ฉบับเดือนธันวาคม 2010 นอกจากนี้แล้ว เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังใช้เป็นเครื่องรางของขลังในวัฒนธรรมไทย โดยมักนำไปบรรจุปรอทแล้วเปิดทับด้วยชันโรงใต้ดิน อาจจะมีแผ่นทองแดงลงอักขระยันต์หรือไม่ก็ได้ เชื่อกันว่า ถ้าพกเปลือกหอยเบี้ยชนิดนี้ไว้กับตัวเวลาเดินทางสัญจรในป่า จะช่วยป้องกันไข้ป่า รวมถึงป้องกันและแก้ไขภยันอันตรายจากร้ายให้กลายเป็นดีได้ หรือนำไปตกแต่งพลอยเรียกว่า "ภควจั่น" ในเด็ก ๆ เชื่อว่าช่วยป้องกันฟันผุ หรือพกใส่กระเป๋าสตางค์ เชื่อว่าทำให้เงินทองไหลเทมาและโชคดี ปัจจุบัน เปลือกหอยเบี้ยจักจั่นยังนิยมสะสมกันเป็นของประดับและของสะสมกันอีกด้วย โดยมีชนิดที่แปลกแตกต่างไปจากปกติ คือ "ไนเจอร์" (Niger) ที่หอยจะสร้างเมลานินสีดำเคลือบเปลือกไว้จนกลายเป็นสีดำหรือสีน้ำตาลคล้ำทั้งหมด และชนิดที่มีราคาสูงที่สุด เรียกว่า "โรสเตรท" (Rostrat) หรือ หอยเบี้ยจักจั่นงวง คือ เป็นหอยเบี้ยจักจั่นในตัวที่ส่วนท้ายของเปลือกมิได้กลมมนเหมือนเช่นปกติ แต่สร้างแคลเซี่ยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในเวลาหลายปี จนกระทั่งยาวยืดออกมาและม้วนขึ้นเป็นวงอย่างสวยงามเหมือนงวงช้าง ซึ่งหอยในรูปแบบนี้จะพบได้เฉพาะแถบอ่าวด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะนิวแคลิโดเนียที่เดียวในโลกเท่านั้น มีการประเมินราคาของเปลือกหอยลักษณะนี้ไว้ถึง 25 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคาของเปลือกหอยที่มีค่าสูงที่สุดในโลกอีกด้ว.

ใหม่!!: เมลานินและหอยเบี้ยจักจั่น · ดูเพิ่มเติม »

จอตา

ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เรตินา หรือ จอตา"ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑" หรือ จอประสาทตา (retina, พหูพจน์: retinae, จากคำว่า rēte แปลว่า ตาข่าย) เป็นเนื้อเยื่อมีลักษณะเป็นชั้น ๆ ที่ไวแสง บุอยู่บนผิวด้านในของดวงตา การมองเห็นภาพต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้โดยอาศัยเซลล์ที่อยู่บนเรตินา เป็นตัวรับและแปลสัญญาณแสงให้กลายเป็นสัญญาณประสาทหรือกระแสประสาท ส่งขึ้นไปแปลผลยังสมองส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้เราสามารถมองเห็นภาพต่างๆได้ คือ กลไกรับแสงของตาฉายภาพของโลกภายนอกลงบนเรตินา (ผ่านกระจกตาและเลนส์) ซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับฟิลม์ในกล้องถ่ายรูป แสงที่ตกลงบนเรตินาก่อให้เกิดปรากฏการณ์ทางเคมีและไฟฟ้าที่เป็นไปตามลำดับ ซึ่งนำไปสู่การส่งสัญญาณประสาทโดยที่สุด ซึ่งดำเนินไปยังศูนย์ประมวลผลทางตาต่าง ๆ ในสมองผ่านเส้นประสาทตา ในสัตว์มีกระดูกสันหลังในช่วงพัฒนาการของเอ็มบริโอ ทั้งเรตินาทั้งเส้นประสาทตามีกำเนิดเป็นส่วนหนึ่งของสมอง ดังนั้น เรตินาจึงได้รับพิจารณาว่าเป็นส่วนของระบบประสาทกลาง (CNS) และจริง ๆ แล้วเป็นเนื้อเยื่อของสมอง"Sensory Reception: Human Vision: Structure and function of the Human Eye" vol.

ใหม่!!: เมลานินและจอตา · ดูเพิ่มเติม »

จะงอยปาก

ปรียบเทียบจะงอยปากของนกแต่ละสายพันธุ์ (ไม่แสดงมาตราส่วนจริง) จะงอยปาก เป็นโครงสร้างทางกายวิภาคภายนอกของสัตว์ปีก ใช้สำหรับการต่อสู้, หาอาหาร, รับประทาน, ป้อนอาหาร, การเกี้ยวพาราสี รวมถึงเป็นอวัยวะในการหยิบวัตถุ แม้ว่าจะงอยปากจะมีความแตกต่างกันในหลายมิติ ทั้งขนาด, รูปร่าง, สี แต่โดยรวมแล้วมันมีโครงสร้างพื้นฐานที่คล้ายกัน โครงสร้างกระดูกสองชิ้นซึ่งได้แก่ขากรรไกรบน (maxilla) และขากรรไกรล่าง (mandible)Coues (1890), p. 147.

ใหม่!!: เมลานินและจะงอยปาก · ดูเพิ่มเติม »

จุดภาพชัดเสื่อม

ัดเสื่อม (macular degeneration) หรือ จุดภาพชัดเสื่อมเนื่องกับอายุ (age-related macular degeneration ตัวย่อ AMD, ARMD) เป็นโรคที่ทำให้มองไม่ชัดหรือมองไม่เห็นที่กลางลานสายตา เริ่มแรกสุดบ่อยครั้งจะไม่มีอาการอะไร ๆ แต่เมื่อเวลาผ่านไป บางคนจะมองเห็นแย่ลงเรื่อย ๆ ที่ตาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แม้จะไม่ทำให้ตาบอดโดยสิ้นเชิง การมองไม่เห็นในส่วนกลางก็จะทำให้กิจกรรมในชีวิตต่าง ๆ ทำได้ยากรวมทั้งจำหน้าคน ขับรถ อ่านหนังสือเป็นต้น การเห็นภาพหลอนอาจเกิดขึ้นโดยไม่ใช่เป็นส่วนของโรคจิต จุดภาพชัดเสื่อมปกติจะเกิดกับคนสูงอายุ ปัจจัยทางพันธุกรรมและการสูบบุหรี่ก็มีผลด้วย เป็นอาการเนื่องกับความเสียหายต่อจุดภาพชัด (macula) ที่จอตา การวินิจฉัยทำได้ด้วยการตรวจตา ความรุนแรงของอาการจะแบ่งออกเป็นระยะต้น ระยะกลาง และระยะปลาย ระยะปลายยังแบ่งออกเป็นแบบแห้ง (dry) และแบบเปียก (wet) โดยคนไข้ 90% จะเป็นแบบแห้ง การป้องกันรวมทั้งการออกกำลังกาย ทานอาหารให้ถูกสุขภาพ และไม่สูบบุหรี่ วิตามินต่อต้านอนุมูลอิสระและแร่ธาตุดูเหมือนจะไม่ช่วยป้องกัน ไม่มีวิธีแก้หรือรักษาการเห็นที่สูญไปแล้ว ในรูปแบบเปียก การฉีดยาแบบ anti-VEGF (Anti-vascular endothelial growth factor) เข้าที่ตา หรือการรักษาอื่น ๆ ที่สามัญน้อยกว่ารวมทั้งการยิงเลเซอร์ (laser coagulation) หรือ photodynamic therapy อาจช่วยให้ตาเสื่อมช้าลง อาหารเสริมรวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุสำหรับคนไข้ที่มีโรคอาจช่วยชะลอความเสื่อมด้วย ในปี 2015 โรคนี้มีผลต่อคนไข้ 6.2 ล้านคนทั่วโลก ในปี 2013 มันเป็นเหตุให้ตาบอดเป็นอันดับสี่หลังต้อกระจก การเกิดก่อนกำหนด และต้อหิน มันเกิดบ่อยที่สุดในผู้มีอายุเกิน 50 ปีในสหรัฐอเมริกา และเป็นเหตุเสียการเห็นซึ่งสามัญที่สุดในคนกลุ่มอายุนี้ คนประมาณ 0.4% ระหว่างอายุ 50-60 ปีมีโรคนี้ เทียบกับ 0.7% ของคนอายุ 60-70 ปี, 2.3% ของคนอายุ 70-80 ปี, และ 12% ของคนอายุเกิน 80 ปี.

ใหม่!!: เมลานินและจุดภาพชัดเสื่อม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอคอนวิค

ปลาหมอคอนวิค หรือ ปลาหมอม้าลาย (Convict cichlid, Zebra cichlid) เป็นปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amatitlania nigrofasciata มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง จัดเป็นปลาหมอสีขนาดเล็ก มีขนาดความยาวเต็มที่ไม่เกิน 6 นิ้ว ตัวผู้และตัวเมียสามารถแยกได้อย่างชัดเจน โดยตัวผู้จะมีลายสลับขาวดำ 8-9 ปล้อง หัวโหนก ครีบแหลมยาว และมีลำตัวใหญ่กว่าตัวเมีย ในขณะที่ตัวเมียครีบก้นมีสีเหลือบเขียว ส่วนท้องมีสีส้ม และขนาดเล็กกว่าตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีปลาที่มนุษย์คัดสายพันธุ์จนเป็นสีขาวจากการขาดเมลานิน ซึ่งพบเห็นเป็นปลาสวยงามได้ทั่วไปเช่นเดียวกับปลาสีดั้งเดิม ปลาหมอคอนวิค เป็นปลาหมอสีชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ถึงแม้จะเป็นปลาหวงถิ่นที่ก้าวร้าว แต่ก็มีขนาดเล็กและเลี้ยงง่ายมีความทนทาน สามารถเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้ โดยปลาจะสามารถแพร่พันธุ์ได้ตั้งแต่มีความยาว 1.5 นิ้ว ปลาในที่เลี้ยงที่จับคู่กันแล้ว มักวางไข่ในภาชนะดินเผา โดยปลาทั้งตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันดูแลไข่และลูกอ่อน.

ใหม่!!: เมลานินและปลาหมอคอนวิค · ดูเพิ่มเติม »

แมลงสาบมาดากัสการ์

แมลงสาบมาดากัสการ์ (Giant hissing cockroach, Madagascan giant hissing cockroach, เรียกสั้น ๆ ว่า Hissing cockroach หรือ Hisser) เป็นแมลงชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Gromphadorhina portentosa อยู่ในวงศ์แมลงสาบยักษ์ (Blaberidae) อันดับแมลงสาบ (Blattodea) แมลงสาบมาดากัสการ์เป็นแมลงสาบที่ไม่มีปีก ไม่มีแม้แต่แผ่นปีกเล็กปรากฏให้เห็นในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิตหลังจากฟักจากไข่ ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลเข้ม และมีสีส้มอมเหลืองพาดอยู่ด้านบนของส่วนท้อง ตัวเต็มวัยมีขนาดลำตัวยาวได้ถึง 7-10 เซนติเมตร และมีน้ำหนักตัว 20-25 กรัมโดยประมาณ เป็นแมลงสาบที่เคลื่อนไหวได้ช้า มีกลิ่นฉุนเล็กน้อย และไม่ทำร้ายมนุษย์ จึงมีผู้นิยมนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง เพราะความแปลก โดยปกติอาศัยอยู่ใต้ซากใบไม้ที่หล่นปกคลุมผิวดินในป่า อันเป็นแหล่งอาศัยธรรมชาตินอกบ้านที่อยู่อาศัยของมนุษย์ กินซากลูกไม้ ใบไม้ หรือผลไม้ที่หล่นอยู่ในบริเวณป่า อย่างไรก็ตามแมลงสาบชนิดนี้ก็เหมือนแมลงสาบทั่วไป คือ กินอาหารได้เกือบทุกชนิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมรอบข้าง กิจกรรมส่วนใหญ่รวมทั้งกิจกรรมออกหาอาหารเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ส่วนในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวตามขอนไม้หรือกองใบไม้ในป่า มีการกระจายพันธุ์บนเกาะมาดากัสการ์ และตามหมู่เกาะใกล้เคียงกัน คือ แถบชายฝั่งทางทวีปแอฟริกาตะวันออก มีวงชีวิตแบบไม่สมบูรณ์คือ มีระยะไข่, ระยะตัวอ่อน และระยะตัวเต็มวัย ตัวเมียวางไข่หลายใบในถุงไข่ ถุงไข่จะถูกเก็บไว้ภายในลำตัวนานประมาณ 60 วัน จนกระทั่งไข่ฟักออกมาเป็นตัวภายในลำตัวแม่ จากนั้นตัวอ่อนระยะแรกจะออกมาจากลำตัวแม่ ทำให้ดูคล้ายว่าออกลูกเป็นตัว สามารถให้ลูกได้ครั้งละ 30-60 ตัว มีระยะตั้งท้องประมาณ 60 วัน ตัวอ่อนมีรูปร่างคล้ายตัวเต็มวัย ต่างกันที่ขนาดเล็กกว่าลำตัวของตัวอ่อนจะมีรูปร่างเป็นรูปไข่ยาวรีมากกว่า แมลงสาบที่เพิ่งลอกคราบใหม่ ๆ ลำตัวจะมีสีขาว จากนั้นภายใน 2-3 ชั่วโมง สีลำตัวจะค่อย ๆ เข้มขึ้นจนกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มในที่สุด เป็นผลจากการสร้างเม็ดสีเมลานินมาสะสมบนผิว ตัวอ่อนตามปกติลอกคราบ 6 ครั้ง จากนั้นเข้าสู่ตัวเต็มวัย เข้าสู่ตัวเต็มวัยเมื่ออายุได้ 6-7 เดือน สามารถออกลูกได้ 3-4 ครั้งต่อปี มีอายุยืนถึง 2-5 ปี มีลักษณะพิเศษ คือ ตัวเต็มวัยของและตัวอ่อนในระยะหลังสามารถทำเสียงได้ เสียงนั้นคล้ายเสียงขู่ของงู อันเป็นที่ชื่อเรียกในภาษาอังกฤษ อวัยวะที่ให้กำเนิดเสียงของแมลงสาบชนิดนี้อยู่ที่รูหายใจ ที่อยู่บริเวณด้านข้างของท้องปล้องที่ 4 ทั้งสองข้าง การทำเสียงเพื่อใช้ในการเกี้ยวพาราสีก่อนผสมพันธุ์ ตัวผู้จะส่งเสียงขู่เพื่อไล่ตัวผู้อื่น ๆ เพื่อแย่งตัวเมีย นอกจากนี้เสียงขู่ยังใช้สำหรับป้องกันตัวเองจากศัตรูด้วย แมลงสาบมาดากัสการ์เคยตกเป็นข่าวตามหน้าสื่อครั้งหนึ่ง เมื่อปรากฏว่าอาจเป็นพาหะนำโรคจากต่างแดนมาสู่ในประเทศไทยได้ จากการมีพบว่าได้กลายเป็นสัตว์เลี้ยงของผู้ที่มีรสนิยมเลี้ยงสัตว์แปลก ๆ เพราะจากผลรายงานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่ามีเชื้อแบคทีเรียถึง 45 ชนิด และยังตรวจพบหนอนพยาธิตัวจี๊ดอีก 22 ชนิด จึงมีการสั่งห้าม และนำตัวที่ยังมีชีวิตอยู่กว่า 500 ตัวไปทำลายโดยการเผา แมลงสาบมาดากัสการ์มีรายชื่ออยู่ในบัญชีหมายเลข 2 (Appendix II) ตามบัญชีของไซเตส และมีรายชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535.

ใหม่!!: เมลานินและแมลงสาบมาดากัสการ์ · ดูเพิ่มเติม »

ไฝเมลาโนไซต์

ฝเมลาโนไซต์ หรือ ไฝมีสี เป็นรอยโรคบนผิวหนังมีลักษณะเป็นจุดหรือตุ่มนูน มักมีสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ประกอบด้วยเซลล์ไฝ (nevus cell) ไฝโดยมากแล้วมักปรากฏขึ้นในอายุช่วง 20 ปีแรก ในขณะที่ทารก 1 ใน 100 คนมีไฝแต่กำเนิด ไฝที่เป็นภายหลังนั้นเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายรูปแบบหนึ่ง ในขณะที่ไฝที่มีมาแต่กำเนิดจัดเป็นรูปพิการชนิดเล็กน้อยหรือเป็นก้อนเนื้อวิรูปและอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งไฝ (melanoma) ไฝอาจเกิดใต้ชั้นหนังแท้หรือเป็นเม็ดสีที่อยู่บนผิวหนังก็ได้ซึ่งเกิดจากเซลล์ชื่อว่า เมลาโนไซต์ (melanocyte) ยิ่งร่างกายมีความเข้มข้นของเม็ดสีผิวที่เรียกว่าเมลานิน (melanin) มากยิ่งทำให้สีผิวคล้ำมากขึ้น ไฝจัดเป็นรอยโรคผิวหนังกลุ่มที่เรียกว่า ปาน (nevi).

ใหม่!!: เมลานินและไฝเมลาโนไซต์ · ดูเพิ่มเติม »

เมลาโนโซม

มลาโนโซม ในทางชีววิทยาของเซลล์ หมายถึง ออร์แกเนลล์ชนิดหนึ่งที่มีเมลานินอยู่ภายใน ซึ่งเป็นรงควัตถุที่พบมากในอาณาจักรสัตว์ เซลล์ที่มีเมลาโนโซมเรียกเมลาโนไซต์รวมทั้งเซลล์ที่เยื่อบุผิว ส่วนที่เซลล์กินเมลาโนโซมเรียกเมลาโนฟ.

ใหม่!!: เมลานินและเมลาโนโซม · ดูเพิ่มเติม »

ICD-10 บทที่ 12: โรคของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง

ป็นบัญชีโรคย่อยหนึ่งจากบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับทบทวนครั้งที่ 10 (ICD-10) ซึ่งเป็นรหัสของโรคและอาการ อาการแสดง ความผิดปกติที่ตรวจพบ อาการนำ สภาพสังคม หรือสาเหตุภายนอกของการบาดเจ็บหรือโรค จัดทำขึ้นโดยองค์การอนามัยโลกโดยแล้วเสร็จในปี..

ใหม่!!: เมลานินและICD-10 บทที่ 12: โรคของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Melanin

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »