โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส

ดัชนี ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส

ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุส (LVCIVS TARQUINIVS SVPERBVS) เป็นกษัตริย์แห่งโรมคนที่ 7 และเป็นคนสุดท้าย เขามีฉายาว่า ตาร์กวินิอุสผู้หยิ่งทะนง เขาเป็นลูกชายหรือหลานชายของลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ปริสกุส กษัตริย์แห่งโรมคนที่ห้า ซุแปร์บุสได้ขึ้นครองรายช์ภายหลังการลอบสังหารแซร์วิอุส ตุลลิอุส กษัตริย์คนที่หก ซึ่งเป็นการลอบสังหารที่จัดฉากโดยเขากับภริยา โรมันภายใต้การปกครองของซุแปร์บุสไม่ได้ประสบกับความสำเร็จทางการทหารมากนัก เขามักหัวอ่อนคล้อยตามแม่ทัพนายกองที่มักจะบอกว่าโรมันสามารถจะชนะในศึกนั้นศึกนี้ได้ ความนิยมของซุแปร์บุสจึงไม่ค่อยจะดีนัก และเมื่อน้องชายเขาก่อเหตุข่มขืนลูเครเชีย ก็ทำให้ประชาชนในกรุงโรมก่อการลุกฮือโค่นล้มเขาลงจากอำนาจในปี 509 ก่อนคริสต์กาล ระบอบกษัตริย์ถูกล้มล้างและวุฒิสภาโรมันได้ประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐโรมัน หลังถูกโค่นล้มจากอำนาจ เขาก็ลี้ภัยออกจากกรุงโรมไปพึ่งกษัตริย์ปอร์เซนาแห่งชาวอีทรัสคัน ด้วยเห็นว่าซุแปร์บุสมีเชื้อสายอีทรัสคัน กษัตริย์ปอร์เซนาจึงต้องการช่วยซุแปร์บุสคืนสู่ตำแหน่ง กษัตริย์ปอร์เซนายกทัพสู่กรุงโรม แต่สู้รบกันไม่ไม่นานก็เกิดเป็นสัญญาสงบศึกโดยไม่มีฝ่ายใดชนะ ซุแปร์บุสได้พยายามวางแผนทวงคืนบัลลังก์อีกครั้งในปี 498 หรือ 496 ก่อน..แต่ก็ไม่สำเร็จ หมวดหมู่:บุคคลที่เกิดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล หมวดหมู่:พระมหากษัตริย์ผู้ทรงสละราชบัลลังก์ หมวดหมู่:กษัตริย์แห่งโรม.

4 ความสัมพันธ์: กษัตริย์แห่งโรมลูเครเชียสาธารณรัฐโรมันอารยธรรมอีทรัสคัน

กษัตริย์แห่งโรม

แม่หมาป่าคาปิโตลีนา สัญลักษณ์อำนาจของกษัตริย์แห่งโรม กษัตริย์แห่งโรม (Rex Romae) เป็นตำแหน่งผู้ปกครองสูงสุดของราชอาณาจักรโรมัน มีอำนาจในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ ตามตำนานแล้ว กษัตริย์คนแรกคือโรมุลุส ซึ่งได้สร้างกรุงโรมขึ้นเมื่อ 753 ปีก่อนคริสต์ศักราชบนเขาแพละไทน์ กรุงโรมมีกษัตริย์ทั้งหมด 7 คนซึ่งปกครองกรุงโรมจนถึง 509 ปีก่อนคริสต์ศักราช กษัตริย์คนที่เจ็ดถูกโค่นจากอำนาจจากเหตุข่มขืนลูเครเชีย แม้จะมีชื่อตำแหน่งว่าเป็นกษัตริย์แต่ก็เป็นเพียงชื่อตำแหน่งในทางปกครองเท่านั้น กษัตริย์แต่ละคนมาจากการเลือกตั้งแบบปลอดการแข่งขัน และไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับกษัตริย์คนก่อน ระบอบการปกครองเช่นนี้จึงไม่มีชนชั้นราชวงศ์ ตำแหน่งกษัตริย์เป็นตำแหน่งที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือผู้คน แม้กรุงโรมจะมีวุฒิสภาแต่ก็เป็นเพียงสภาที่มีอำนาจน้อยนิดในทางปกครองเท่านั้น หน้าที่หลักของวุฒิสภาคือการสนองความปรารถนาของกษัตริย์ นอกจากโรมุลุสผู้เป็นกษัตริย์คนแรกแล้ว กษัตริย์คนต่อมามาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนกรุงโรม วุฒิสภาจะแต่งตั้งวุฒิสมาชิกกลุ่มหนึ่งเป็นคณะอินแตร์เรกส์ (Interrex) ซึ่งจะเป็นคณะที่สรรหาและเสนอชื่อผู้ลงสมัครรับเลือกหนึ่งคนเป็นกษัตริย์ หากผู้สมัครคนนั้นแพ้การเลือกตั้ง คณะอินแตร์เรกส์ก็จะสรรหาผู้ลงสมัครรับเลือกคนใหม่ ผู้ที่ถูกเสนอชื่ออาจจะเป็นใครก็ได้โดยไม่เกี่ยงที่มา อาทิ ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ปริสกุส กษัตริย์คนที่ 5 มีต้นกำเนิดเป็นเพียงสามัญชนผู้อพยพมาจากอีทรัสคัน นครรัฐเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ตาม ในตอนปลายยุคได้เกิดการแก่งแย่งอำนาจกันขึ้น ทำให้กษัตริย์องค์ที่ 6 และ 7 ไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน แต่มาจากการลงมติแต่งตั้งของวุฒิสภาเท่านั้น.

ใหม่!!: ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุสและกษัตริย์แห่งโรม · ดูเพิ่มเติม »

ลูเครเชีย

“ลูเครเชีย” โดยอันเดรีย คาซาลิ “ทาร์ควิเนียสและลูเครเชีย” โดยทิเชียน ลูเครเชีย (ภาษาอังกฤษ: Lucretia) เป็นบุคคลในตำนานในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐโรมัน สามีของลูเครเชียคือลูเชียส ทาร์ควิเนียส โคลลาทินัส (Lucius Tarquinius Collatinus) พ่อคือสเปอเรียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Spurius Lucretius Tricipitinus) และพี่ชายพูเบียส ลูเครเชียส ทริซิพิทินัส (Publius Lucretius Tricipitinus) ตามตำนานของโรมการข่มขืนของลูเครเชียและการฆ่าตัวตายที่ตามมาเป็นสาเหตุที่นำมาซึ่งการล้มราชบัลลังก์ของโรมและการก่อตั้งโรมเป็นสาธารณรัฐ ตามคำกล่าวของ ลิวี (Livy) นักประวัติศาสตร์โรมันแล้ว กษัตริย์แห่งโรมมีโอรสชื่อเซ็กซทัส ทาร์ควิเนียส (Sextus Tarquinius) ผู้มีนิสัยดุร้าย ผู้เป็นผู้ข่มขืนสตรีในครอบครัวขุนนางชื่อนางลูเครเชียในปี 509 ก่อนคริสต์ศักราช เซ็กซทัสขู่ลูเครเชียว่าจะฆ่าถ้าไม่ยอมให้ข่มขืน และจะนำร่างที่เปลือยเปล่าของลูเครเชียไปวางเคียงข้างกับทาส เพราะการเป็นนัยว่ามีความสัมพันธ์กับชนชั้นที่ต่ำกว่าถือว่าเป็นสิ่งที่น่าอับอายเป็นอันมาก ลูเครเชียจึงต้องจำยอม หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นลูเครเชียก็เรียกพี่น้องมารวมกัน และเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นลูเครเชียก็ฆ่าตัวตาย ครอบครัวของลูเครเชียมาพบร่างของลูเครเชียปักด้วยมีดที่หน้าอก.

ใหม่!!: ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุสและลูเครเชีย · ดูเพิ่มเติม »

สาธารณรัฐโรมัน

รณรัฐโรมัน (Res pvblica Romana) (อังกฤษ: Roman Republic)เป็นยุคสมัยของอารยธรรมโรมันโบราณขณะมีรัฐบาลเป็นสาธารณรัฐ เริ่มต้นจากการโค่นล้มราชาธิปไตยโรมัน ซึ่งมักถือว่าเมื่อราว 509 ปีก่อน..

ใหม่!!: ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุสและสาธารณรัฐโรมัน · ดูเพิ่มเติม »

อารยธรรมอีทรัสคัน

อารยธรรมอีทรัสคัน (Etruscan civilization) เป็นคำใหม่ที่ใช้เรียกอารยธรรมและวิธีการใช้ชีวิตของชนในอิตาลีโบราณและคอร์ซิกาที่ชาวโรมันเรียกว่า “อีทรัสคิ” (Etrusci) หรือ “ทัสคิ” (Tusci) ภาษากรีกแอตติคสำหรับชนกลุ่มนี้คือ “Τυρρήνιοι” (Tyrrhēnioi) ที่แผลงมาเป็นภาษาลาติน “Tyrrhēni” (อีทรัสคัน), “Tyrrhēnia” (อีทรูเรีย (Etruria)) และ “Mare Tyrrhēnum” (ทะเลไทเรเนียน (Tyrrhenian Sea)) ชาวอีทรัสคันเองเรียกตนเองว่า “Rasenna” (ราเซนา) ที่แผลงมาเป็น “Rasna” หรือ “Raśna” (ราซนา) ชาวอีทรัสคันมีภาษาและวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองแต่ไม่ทราบที่มาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ก่อนการก่อตั้งกรุงโรมมาจนกระทั่งกลืนไปกับชาวโรมันโบราณในสาธารณรัฐโรมัน ในจุดที่รุ่งเรืองสูงสุดระหว่าสมัยการก่อตั้งกรุงโรมและราชอาณาจักรโรมันอีทรัสคันประกอบด้วยสามรัฐในสมาพันธรัฐ: ในอีทรูเรีย, ในบริเวณลุ่มแม่น้ำโป (Po Valley) กับทางตะวันออกของเทือกเขาแอลป์ และในบริเวณละติอุมและคัมปาเนีย กรุงโรมเองก็อยู่ในดินแดนที่เป็นของอีทรัสคัน และมีหลักฐานว่าในสมัยแรกของโรมเป็นสมัยที่ครอบคลุมโดยอีทรัสคันจนกระทั่งเวอิอิ (Veii) โจมตีกรุงโรมในปี 396 ก่อนคริสต์ศักราช อารยธรรมที่กล่าวว่าเป็นอารยธรรมอีทรัสคันอย่างแน่นอนวิวัฒนาการขึ้นในอิตาลีหลังจากราวปี 800 ก่อนคริสต์ศักราชในบริเวณที่เป็นอารยธรรมวิลลาโนวัน (Villanovan culture) ของยุคเหล็กก่อนหน้านั้น อารยธรรมอีทรัสคันมาเสื่อมโทรมลงราวศตวรรษที่ 7 ก่อนคริสต์ศักราชเมื่อมาได้รับอิทธิพลจากนักการค้าชาวกรีกและเพื่อนบ้านของกรีซกรีซใหญ่ (Magna Graecia), อารยธรรมกรีกทางตอนใต้ของอิตาลี หลังจากปี 500 ก่อนคริสต์ศักราชอำนาจทางการเมืองของอีทรัสคันก็สิ้นสุดลงCary, M.; Scullard, H. H., A History of Rome. Page 28.

ใหม่!!: ลูกิอุส ตาร์กวินิอุส ซุแปร์บุสและอารยธรรมอีทรัสคัน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Lucius Tarquinius Superbus

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »