โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ISO 3166-2:BE

ดัชนี ISO 3166-2:BE

ISO 3166-2:BE เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศเบลเยียม ปัจจุบันสำหรับประเทศเบลเยียม รหัส ISO 3166-2 ใช้ระบุเขตการปกครอง 2 ระดับ ได้แก่ เขตและมณฑล ซึ่งรหัสจะอยู่ในรูปแบบ "BE-" ตามด้วยตัวอักษรสามตัว สำหรับมณฑลนั้นตัวอักษรตัวแรกระบุเขตที่เป็นที่ตั้งของมณฑลนั้น โดย V หมายถึงเขตฟลามส์ และ W หมายถึงเขตวัลลูน.

16 ความสัมพันธ์: มณฑลฟลานเดอร์ตะวันออกมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตกมณฑลลักเซมเบิร์กมณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)มณฑลลีแยฌมณฑลวัลลูนบราบันต์มณฑลนามูร์มณฑลแอนต์เวิร์ปมณฑลแอโนมณฑลเฟลมิชบราบันต์องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐานประเทศเบลเยียมเขตฟลามส์เขตวัลลูนISO 3166-1ISO 3166-2

มณฑลฟลานเดอร์ตะวันออก

ฟลานเดอร์ตะวันออก (Oost-Vlaanderen, East Flanders) เป็นมณฑลในเขตฟลามส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเขตของประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดเซลันด์ของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลแอนต์เวิร์ปและมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางใต้ติดต่อกับมณฑลแอโน และทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตกของประเทศเบลเยียม ฟลานเดอร์ตะวันออกมีเมืองหลวงชื่อเกนต์ และมีพื้นที่ 2,982 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 6 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 65 เทศบาล แม่น้ำสายหลักของจังหวัดนี้คือแม่น้ำสเกลต.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลฟลานเดอร์ตะวันออก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก

ฟลานเดอร์ตะวันตก (West-Vlaanderen, West Flanders) เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกที่สุดของเขตฟลามส์และประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือและทางตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับทะเลเหนือ, ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดเซลันด์ของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลฟลานเดอร์ตะวันออก และทางใต้ติดต่อกับมณฑลแอโนของประเทศเบลเยียมและจังหวัดนอร์ของประเทศฝรั่งเศส ฟลานเดอร์ตะวันตกเป็นมณฑลเดียวของประเทศเบลเยียมที่มีพื้นที่ติดต่อทั้งประเทศเนเธอร์แลนด์และประเทศฝรั่งเศส และเป็นมณฑลเดียวที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลเหนือ ฟลานเดอร์ตะวันตกมีเมืองหลวงชื่อบรูช และมีพื้นที่ 3,144 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 8 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 64 เทศบาล.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลักเซมเบิร์ก

ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg ลุกซ็องบูร์, ลักเซมเบิร์ก: Lëtzebuerg) เป็นมณฑลทางใต้ที่สุดของเขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม โดยทางตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลนามูร์, ทางเหนือติดต่อกับมณฑลลีแยฌของประเทศเบลเยียม, ทางตะวันออกติดต่อกับประเทศลักเซมเบิร์ก และทางใต้ติดต่อกับจังหวัดอาร์แดน, จังหวัดเมิซ และจังหวัดเมอร์เตมอแซลของประเทศฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์กมีเมืองหลวงชื่ออาร์ลง ประกอบด้วยเขตการปกครอง 5 เขต ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 44 เทศบาล และมีพื้นที่ 4,440 ตารางกิโลเมตร ซึ่งทำให้ลักเซมเบิร์กเป็นมณฑลที่มีพื้นที่มากที่สุดในประเทศเบลเยียม.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลลักเซมเบิร์ก · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม)

ลิมเบิร์ก (Limburg) เป็นมณฑลที่อยู่ทางตะวันออกที่สุดของเขตฟลามส์ในประเทศเบลเยียม และอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเมิซ มีพื้นที่ทางเหนือติดต่อกับจังหวัดนอร์ทบราแบนต์, ทางตะวันออกติดต่อกับจังหวัดลิมเบิร์กของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางใต้ติดต่อกับมณฑลลีแยฌ, ทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์และมณฑลแอนต์เวิร์ปของประเทศเบลเยียม ลิมเบิร์กมีเมืองหลวงมณฑลคือฮัสเซิลต์ และมีพื้นที่ 2,414 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 เขตการปกครอง (arrondissement) ประกอบด้วย 44 เทศบาล โดยเคงก์เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ และดีเปินเบกเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาของมณฑล ทั้งสองเมืองนี้อยู่ใกล้ๆ กับฮัสเซิลต์ ลิมเบิร์ก เมน ฟาเดอร์ลันด์ (Limburg mijn Vaderland: ลิมเบิร์ก แผ่นดินพ่อของฉัน) คือเพลงประจำมณฑลลิมเบิร์กของทั้งประเทศเบลเยียมและเนเธอร์แลนด์ ลิมเบิร์กเป็นมณฑลที่มีคลองอัลเบิร์ตและแม่น้ำเดเมอร์พาดผ่าน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลมีเนินเขาเตี้ยๆ เป็นจำนวนมาก และในอดีตลิมเบิร์กเคยมีพื้นที่ทำเหมืองถ่านหินอยู่มาก.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลลิมเบิร์ก (เบลเยียม) · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลลีแยฌ

ลีแยฌ (Liège) หรือ ลึททิช (Lüttich) เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกที่สุดของเขตวัลลูนและประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์, มณฑลลิมเบิร์กของประเทศเบลเยียมและจังหวัดลิมเบิร์กของประเทศเนเธอร์แลนด์, ทางตะวันออกติดต่อกับประเทศเยอรมนี, ทางตะวันตกติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์และมณฑลนามูร์ และทางใต้ติดต่อกับมณฑลลักเซมเบิร์กของประเทศเบลเยียมและประเทศลักเซมเบิร์ก ประชากรส่วนใหญ่ของลีแยฌพูดภาษาฝรั่งเศส แต่ในบางเมืองทางตะวันออกของมณฑลใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก ลีแยฌมีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเมิซ ลีแยฌมีเมืองหลวงเป็นชื่อเดียวกันกับมณฑล และมีพื้นที่ 3,862 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 4 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 84 เทศบาล.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลลีแยฌ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลวัลลูนบราบันต์

วัลลูนบราบันต์ (Walloon Brabant) หรือ บราบ็อง-วาลง (Brabant-Wallon) เป็นมณฑลในเขตวัลลูนของประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลลีแยฌ และทางใต้ติดต่อกับมณฑลนามูร์และมณฑลแอโนของประเทศเบลเยียม วัลลูนบราบันต์มีเมืองหลวงชื่อวาฟวร์ และมีพื้นที่ 1,091 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเขตการปกครองเพียงเขตเดียว ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 27 เทศบาล วัลลูนบราบันต์ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1955 จากการแยกอดีตมณฑลบราบันต์เป็น 3 ส่วน ได้แก่ มณฑลวัลลูนบราบันต์, มณฑลเฟลมิชบราบันต์ และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับมณฑลใด และการแยกมณฑลครั้งนี้ทำให้เกิดเขตการปกครองรูปแบบใหม่ขึ้น 3 เขต ได้แก่ เขตฟลามส์, เขตวัลลูน และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ ยุทธการวอเตอร์ลู ซึ่งเป็นยุทธการครั้งสุดท้ายของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 เกิดขึ้นที่เมืองวอเตอร์ลู ในมณฑลวัลลูนบราบันต.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลวัลลูนบราบันต์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลนามูร์

นามูร์ (Namur) เป็นมณฑลในเขตวัลลูนของประเทศเบลเยียม โดยทางตะวันตกมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลแอโน, ทางเหนือติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์และมณฑลลีแยฌ, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลลักเซมเบิร์กของประเทศเบลเยียม และทางใต้ติดต่อกับจังหวัดแอนและจังหวัดอาร์แดนของประเทศฝรั่งเศส นามูร์มีเมืองหลวงเป็นชื่อเดียวกันกับมณฑล และมีพื้นที่ 3,666 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเขตการปกครอง 3 เขต ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 38 เทศบาล มณฑลนามูร์มีแม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำเมิซ ซึ่งไหลผ่านทางตอนใต้ของมณฑล.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลนามูร์ · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลแอนต์เวิร์ป

แอนต์เวิร์ป (Antwerpen) เป็นมณฑลที่อยู่ทางเหนือที่สุดของประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมณฑลฟลานเดอร์ตะวันออก, ทางเหนือของมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางตะวันตกของมณฑลลิมเบิร์ก ในประเทศเบลเยียม, ทางใต้ของจังหวัดนอร์ทบราแบนต์และจังหวัดเซลันด์ของประเทศเนเธอร์แลนด์ แอนต์เวิร์ปมีเมืองหลวงเป็นชื่อเดียวกันกับมณฑล และมีพื้นที่ 2,867 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 3 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 70 เทศบาล แอนต์เวิร์ปเป็นที่ตั้งของท่าเรือแอนต์เวิร์ป ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของมณฑล และมีทางหลวงยุโรป E313, E19 และ E34 พาดผ่าน นอกจากนี้ยังมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อสถานีรถไฟแอนต์เวิร์ป-เซนทราลกับบรัสเซลส์และอัมสเตอร์ดัม แม่น้ำสายหลักของจังหวัดคือแม่น้ำสเกลต์ที่เชื่อมต่อท่าเรือแอนต์เวิร์ปกับทะเลเหนือ และคลองอัลเบิร์ตที่เชื่อมต่อแม่น้ำสเกลต์ในมณฑลแอนต์เวิร์ปและแม่น้ำเมิซในมณฑลลีแยฌเข้าด้วยกัน.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลแอนต์เวิร์ป · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลแอโน

แอโน (Hainaut) เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกที่สุดของเขตวัลลูนในประเทศเบลเยียม โดยทางเหนือมีพื้นที่ติดต่อกับมณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก, มณฑลฟลานเดอร์ตะวันออกและมณฑลเฟลมิชบราบันต์, ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับมณฑลวัลลูนบราบันต์, ทางตะวันออกติดต่อกับมณฑลนามูร์ของประเทศเบลเยียม, และทางตะวันตกติดต่อกับจังหวัดนอร์และจังหวัดแอนของประเทศฝรั่งเศส แอโนมีเมืองหลวงชื่อมงส์ มีเมืองใหญ่ที่สุดชื่อชาร์เลอรัว และมีพื้นที่ 3,786 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 7 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 69 เทศบาล มณฑลแอโนมีประชากรจำนวน 1,332,042 คน ซึ่งทำให้แอโนเป็นมณฑลที่มีประชากรมากที่สุดของเขตวัลลูน.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลแอโน · ดูเพิ่มเติม »

มณฑลเฟลมิชบราบันต์

ฟลมิชบราบันต์ (Flemish Brabant) หรือ ฟลามส์-บราบานท์ (Vlaams-Brabant) เป็นมณฑลในเขตฟลามส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามเขตของประเทศเบลเยียม ตั้งอยู่ทางตะวันออกของมณฑลฟลานเดอร์ตะวันออก, ทางใต้ของมณฑลแอนต์เวิร์ป, ทางตะวันตกของมณฑลลิมเบิร์ก, ทางตกเฉียงเหนือของมณฑลลีแยฌ, ทางเหนือของมณฑลวัลลูนบราบันต์, ทางตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑลแอโน และล้อมรอบพื้นที่ทั้งหมดของเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ เฟลมิชบราบันต์มีเมืองหลวงชื่อเลอเฟน และมีพื้นที่ 2,106.13 ตารางกิโลเมตร แบ่งออกเป็น 2 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งย่อยได้อีก 65 เทศบาล แม่น้ำสายหลักของจังหวัดคือแม่น้ำเดเมอร์และแม่น้ำเซน เฟลมิชบราบันต์ตั้งขึ้นในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1995 จากการแยกอดีตจังหวัดบราบันต์เป็น 3 ส่วน ได้แก่ มณฑลเฟลมิชบราบันต์, มณฑลวัลลูนบราบันต์ และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับมณฑลใ.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและมณฑลเฟลมิชบราบันต์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน

องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (The International Organization for Standardization: ISO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่กำหนดมาตรฐาน.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเบลเยียม

ลเยียม (Belgium) หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรเบลเยียม (Kingdom of Belgium) เป็นประเทศในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส และทะเลเหนือ เบลเยียมเป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งของสหภาพยุโรป และเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ เช่นเดียวกับของอีกหลายองค์กรระหว่างประเทศรวมถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ ทั้งนี้ ลักษณะของประเทศ ยังคล้ายกับ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์อีกด้วย เบลเยียมมีความหลากหลายทางภาษาค่อนข้างสูง ส่งผลต่อระบบการปกครองที่ค่อนข้างซับซ้อน เบลเยียมแบ่งออกเป็นสองภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่ฟลานเดอส์ ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาดัตช์ และวัลโลเนีย ซึ่งประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส บรัสเซลส์ เมืองหลวงของเบลเยียม เป็นเขตทวิภาษา ตั้งอยู่ในฟลานเดอส์ นอกจากนี้ยังมีชุมชนที่พูดภาษาเยอรมันในทางตะวันออกของวัลโลเนียด้วย คำว่าเบลเยียม (Belgium ในภาษาอังกฤษ België และ Belgique ในภาษาดัตช์และฝรั่งเศส) มีที่มาจาก Gallia Belgica ซึ่งเป็นจังหวัดในยุคโรมัน มีกลุ่มชาว Belgae อยู่อาศั.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและประเทศเบลเยียม · ดูเพิ่มเติม »

เขตฟลามส์

ตฟลามส์ (Vlaams Gewest, Région flamande, Flamish region) หรือเรียกอีกอย่างว่า เขตเฟลมิช เป็นหนึ่งในสามเขตการปกครองอย่างเป็นทางการของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตวัลลูนและเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ เขตฟลามส์มีเนื้อที่อยู่ทางเหนือของประเทศและกินพื้นที่ประมาณ 13,522 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 44.29 ของประเทศ) เป็นภูมิภาคที่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป โดยประมาณ 455 คนต่อตารางกิโลเมตร ใช้ภาษาดัตช์เป็นภาษาราชการ ในความหมายปัจจุบัน ฟลานเดอร์ (Flanders) มักใช้หมายถึงเขตฟลาม.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและเขตฟลามส์ · ดูเพิ่มเติม »

เขตวัลลูน

ตวัลลูน (Région wallonne; Wallonische Region; Wallonië) เรียกอีกอย่างว่า "วาโลเนีย" เป็นเขตการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศเบลเยียม ร่วมกับเขตฟลามส์และเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ มีเนื้อที่ 55% ของเนื้อที่ประเทศ แต่มีประชากรเป็นอันดับที่ 3 แม้ว่าประชากรส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส แต่เขตวัลลูนก็มิได้รวมเข้ากับชุมชนฝรั่งเศสแห่งเบลเยียมเหมือนในกรณีของเขตฟลามส์ซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับชุมชนฟลามส์ นอกจากนี้ในเขตวัลลูนยังมีประชาคมผู้ใช้ภาษาเยอรมัน ซึ่งอยู่ในทิศตะวันออกที่มีสภาแยกดูแลในด้านการศึกษาและวัฒนธรรมโดยเฉพาะ เช่นเดียวกับเขตอื่น ๆ เขตวัลลูนมีสภาและรัฐบาลดูแลกิจการภายในเขต ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เมืองหลวงของเขตคือนามูร์ มีภาษาราชการคือภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม วาโลเนียนั้นเป็นเพียงอันดับสองรองจากสหราชอาณาจักรในด้านอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะการถลุงเหล็กและถ่านหิน ซึ่งนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของเขตภูมิภาควัลลูน ตั้งแต่สมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 วัลลูนถือเป็นครึ่งหนึ่งของเบลเยียมที่ร่ำรวยที่สุด แต่ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ความสำคัญของอุตสาหกรรมหนักลดลงอย่างมาก ทำให้เขตฟลามส์นั้นก้าวหน้าขึ้นกว่าเขตวัลลูนในด้านเศรษฐกิจ ในปัจจุบันเขตวัลลูนนั้นมีปัญหาด้านอัตราผู้ไม่มีงานทำค่อนข้างสูง และยังมีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัวประชากร (GDP per Capita) ต่ำกว่าเขตฟลามส์อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและภาษาของทั้งสองภูมิภาคหลักของเบลเยียมนั้นได้นำพามาซึ่งปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในระดับประเทศในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เมืองหลวงของวาโลเนียตั้งอยู่ที่นามูร์ แต่เขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือลีแยฌ ส่วนเขตเทศบาลเดียวที่มีประชากรมากที่สุดคือ ชาร์เลอรัว เมืองใหญ่ต่างๆในวาโลเนียนั้นตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำซอมบร์ และแม่น้ำเมิส อันประกอบด้วยจำนวนประชากรทั้งหมดกว่าสองในสามของเขต อันเป็นเขตอุตสาหกรรมในอดีตของเบลเยียม ด้านทิศเหนือนั้นเป็นที่ราบลุ่มภาคกลางของเบลเยียม ซึ่งเหมือนกับเขตฟลามส์ อันมีความอุดมสมบูรณ์และเหมาะสมต่อการทำเกษตรกรรม ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้นั้นเป็นเขตอาร์เดนน์ ซึ่งประกอบด้วยภูเขาสลับอย่างหนาแน่น พรมแดนของเขตวัลลูนทางด้านเหนือนั้นติดกับเขตฟลามส์ และประเทศเนเธอร์แลนด์ ด้านใต้และตะวันตกจรดกับประเทศฝรั่งเศส ส่วนทิศตะวันออกนั้นติดกับประเทศเยอรมนี และประเทศลักเซมเบิร์ก.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและเขตวัลลูน · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-1

ISO 3166-1 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 ซึ่งกำหนดรหัสประเทศและดินแดนต่างๆ มี 3 มาตรฐานย่อย ได้แก.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและISO 3166-1 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2

รหัสมาตรฐาน ISO 3166-2 คือส่วนที่ 2 ของมาตรฐาน ISO 3166 อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ ในแต่ละประเทศ หรือเขตการปกครองอิสระ จุดประสงค์ของการสร้างมาตรฐานเพื่อใช้เป็นคำย่อขนาดสั้น สำหรับสถานที่ ใช้ทั่วโลก ในปัจจุบันมีรหัสทั้ง 3700 รหัส ตัวอย่างรหัสได้แก่ เช่น จังหวัดศรีสะเกษ คือ รหัส TH-33 สำหรับรหัสในแต่ละประเทศ ดูที่ ISO 3166-1 (รหัสประเทศ) โดยจะมีรหัสใกล้เคียงกับรหัสอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเท.

ใหม่!!: ISO 3166-2:BEและISO 3166-2 · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »