โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ISO 3166-1

ดัชนี ISO 3166-1

ISO 3166-1 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 ซึ่งกำหนดรหัสประเทศและดินแดนต่างๆ มี 3 มาตรฐานย่อย ได้แก.

35 ความสัมพันธ์: สหประชาชาติอักษรละตินทวีปแอนตาร์กติกาประเทศไต้หวันเวสเทิร์นสะฮาราISO 3166ISO 3166-1ISO 3166-2ISO 3166-2:ADISO 3166-2:AEISO 3166-2:AFISO 3166-2:AGISO 3166-2:ALISO 3166-2:AMISO 3166-2:AOISO 3166-2:ARISO 3166-2:AUISO 3166-2:AWISO 3166-2:AXISO 3166-2:AZISO 3166-2:BEISO 3166-2:CLISO 3166-2:CYISO 3166-2:IDISO 3166-2:INISO 3166-2:JPISO 3166-2:KRISO 3166-2:LAISO 3166-2:MMISO 3166-2:MNISO 3166-2:PTISO 3166-2:SJISO 3166-2:THISO 3166-2:USISO 3166-2:VN

สหประชาชาติ

หประชาชาติ (United Nations; ตัวย่อ: UN) หรือ องค์การสหประชาชาติ เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน..

ใหม่!!: ISO 3166-1และสหประชาชาติ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: ISO 3166-1และอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปแอนตาร์กติกา

วเทียมของทวีปแอนตาร์กติกา แอนตาร์กติกา (Antarctica) เป็นทวีปที่อยู่ใต้สุดของโลกตั้งอยู่ในภูมิภาคแอนตาร์กติกในซีกโลกใต้และเป็นที่ตั้งขั้วโลกใต้ทางภูมิศาสตร์ เกือบทั้งหมดอยู่ในวงกลมแอนตาร์กติกและล้อมลอบด้วยมหาสมุทรใต้ มีพื้นที่ประมาณ 14,000,000 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของโลกใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียถึง 2 เท่า พื้นที่ 98% ของทวีปปกคลุมด้วยน้ำแข็งหนาเฉลี่ย 1.9 กิโลเมตร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่เกือบจะถึงเหนือสุดของคาบสมุทรแอนตาร์กติก โดยค่าเฉลี่ยแล้วแอนตาร์กติกาเป็นทวีปที่หนาวที่สุด แห้งแล้งที่สุด ลมแรงที่สุดและมีความสูงโดยเฉลี่ยมากที่สุด แอนตาร์กติกาเป็นทะเลทรายที่มีหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ย 200 มิลลิเมตรต่อปีตามแนวชายฝั่งและพื้นที่ภายใน แม้ว่าช่วงที่หนาวสุดของปีจะมีอุณหภูมิเฉลี่ย −63 °C แต่อุณหภูมิอาจต่ำถึง −89.2 °C (และอาจถึง -94.7 ° C หากวัดจากอากาศ) บางสถานที่มีคนราว 1,000 ถึง 5,000 คนอาศัยในสถานีวิจัยที่กระจายอยู่ทั่วที้งทวีปตลอดทั้งปี สิ่งมีชีวิตในแอนตาร์กติกาจะเป็นพวกสาหร่าย แบคทีเรีย เห็ดรา พืช โพรทิสต์และสัตว์บางชนิดเช่นตัวเห็บ ตัวไร นีมาโทดา เพนกวิน สัตว์ตีนครีบและหมีน้ำส่วนพืชก็จะเป็นพวกทันดรา แม้ว่ามีตำนานเล่าขานเกี่ยวกับการมีอยู่ของดินแดนใต้ตั้งแต่ยุคโบราณ แอนตาร์กติกาถูกระบุว่าเป็นดินแดนสุดท้ายบนโลกในประวัติศาสตร์ที่ถูกค้นพบเพราะไม่มีใครเคยพบเลยจนกระทั่ง..

ใหม่!!: ISO 3166-1และทวีปแอนตาร์กติกา · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศไต้หวัน

ประเทศไต้หวัน (Taiwan) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (Republic of China) เป็นรัฐในทวีปเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (金門), ไต้หวัน, เผิงหู (澎湖), หมาจู่ (馬祖), และอูชิว (烏坵) กับทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง ท้องที่ดังกล่าวเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (臺灣地區) ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ กรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคชาตินิยม (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคสังคมนิยม (共产党) พรรคชาตินิยมจึงหนีมายังเกาะไต้หวัน แล้วสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหากจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่า ไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้ ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็ว ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า และมีเศรษฐกิจใหญ่โตเป็นอันดับที่ 19 ของโลก อุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญมากในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วยhttp://www.dgbas.gov.tw/public/Data/366166371.pdf.

ใหม่!!: ISO 3166-1และประเทศไต้หวัน · ดูเพิ่มเติม »

เวสเทิร์นสะฮารา

วสเทิร์นสะฮารา (Western Sahara; الصحراء الغربية; เบอร์เบอร์: Taneẓroft Tutrimt; Sáhara Occidental) เป็นดินแดนที่มีข้อพิพาทและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในภูมิภาคมาเกร็บ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา ทิศเหนือติดกับประเทศโมร็อกโก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศแอลจีเรีย ทิศตะวันออกและทิศใต้ติดกับประเทศมอริเตเนีย ส่วนทิศตะวันตกจรดมหาสมุทรแอตแลนติก มีพื้นที่ประมาณ 266,000 ตารางกิโลเมตร (103,000 ตารางไมล์) เป็นหนึ่งในดินแดนที่มีประชากรเบาบางที่สุดในโลก เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบทะเลทราย มีประชากรประมาณ 500,000 คน เกือบร้อยละ 40 อาศัยอยู่ที่เอลอายูน ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเวสเทิร์นสะฮารา เวสเทิร์นสะฮาราถูกสเปนปกครองจนถึงปลายคริสตศวรรษที่ 20 หลังจากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในรายชื่อดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองของสหประชาชาติตั้งแต่ปี 2506 เป็นต้นมา ซึ่งเกิดจากข้อเรียกร้องของโมร็อกโก เป็นดินแดนที่มีประชากรและพื้นที่มากที่สุดที่อยู่ในรายชื่อนี้ ในปี 2508 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติครั้งแรกเกี่ยวกับเวสเทิร์นสะฮารา ในการขอให้สเปนให้เอกราชแก่ดินแดนนี้ หนึ่งปีต่อมามติใหม่ได้รับการรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติเพื่อขอให้มีการลงประชามติโดยสเปนเกี่ยวกับการตัดสินใจด้วยตนเอง ในปี 2518 สเปนได้ยกเลิกการบริหารจัดการดินแดนนี้ไปสู่การจัดการบริหารร่วมโดยโมร็อกโก (ซึ่งได้เรียกร้องสิทธิเหนือดินแดนนี้มาตั้งแต่ปี 2500)และมอริเตเนีย สงครามปะทุขึ้นระหว่างประเทศเหล่านี้กับขบวนการชาตินิยมซาห์ราวี แนวร่วมโปลีซารีโอซึ่งได้ประกาศให้ดินแดนนี้กลายเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีมีรัฐบาลพลัดถิ่นอยู่ในทินดูฟ แอลจีเรีย ต่อมา มอริเตเนียได้ถอนการอ้างสิทธิเหนือดินแดนในปี 2522 และในที่สุดโมร็อกโกก็ได้ควบคุมดินแดนส่วนใหญ่รวมทั้งเมืองสำคัญและทรัพยากรธรรมชาติ องค์การสหประชาชาติพิจารณาว่าแนวร่วมโปลีซารีโอเป็นตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายของชาวซาห์ราวีและยืนยันว่าชาวซาห์ราวีมีสิทธิในการกำหนดการปกครองด้วยตนเอง ในปี 2560 ไม่มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติใดให้การยอมรับอำนาจอธิปไตยของโมร็อกโกเหนือดินแดนเวสเทิร์นสะฮารา อย่างไรก็ตาม หลายประเทศได้แสดงการสนับสนุนต่อการรับรองในอนาคตเกี่ยวกับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโมร็อกโกในฐานะดินแดนปกครองตนเองของราชอาณาจักร กล่าวโดยสรุป การผนวกดินแดนยังไม่ได้รับความสนใจมากนักในประชาคมนานาชาติเนื่องจากมีกรณีพิพาทเรื่องของการผนวกดินแดนอื่นๆ อีก (เช่น การผนวกดินแดนของรัสเซียในคาบสมุทรไครเมีย) ตั้งแต่ที่สหประชาชาติผลักดันให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงในปี 2534 สองในสามของดินแดน(รวมถึงส่วนใหญ่ของชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก) ถูกปกครองโดยรัฐบาลโมร็อกโกซึ่งได้รับการสนับสนุนแบบลับๆ จากฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา ขณะที่ส่วนที่เหลือถูกปกครองโดยสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากแอลจีเรีย ในระดับนานาชาติ ประเทศต่างๆ เช่น รัสเซียอยู่ในฐานะที่คลุมเครือและเป็นกลางในการอ้างสิทธิของทั้ง 2 ฝ่าย แต่ก็ได้กดดันให้ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในการแก้ปัญหาอย่างสันติ ทั้งโมร็อกโกและโปลีซาริโอต่างพยายามที่จะเพิ่มแรงสนับสนุนในการรับรองดินแดนอย่างเป็นทางการจากชาติต่าง ๆ โดยเฉพาะชาติจากแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศกำลังพัฒนา แนวร่วมโปลีซาริโอได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดตั้งสาธารณรัฐประชาธิปไตยอาหรับซาห์ราวีจาก 37 ประเทศ และยังเป็นสมาชิกของสหภาพแอฟริกาต่อไป ขณะที่โมร็อกโกได้รับการยอมรับหรือสนับสนุนจากรัฐบาลประเทศในแอฟริกาหลายแห่ง และส่วนใหญ่จากโลกมุสลิมและสันนิบาตอาหรับ ตลอดสองทศวรรษหลัง การยอมรับที่มีต่อทั้งสองฝ่ายขยายเพิ่มและถดถอยลงตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก.

ใหม่!!: ISO 3166-1และเวสเทิร์นสะฮารา · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166

ISO 3166 คือมาตรฐานที่เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) เพื่อกำหนดรหัสสำหรับประเทศ, ดินแดนในปกครอง, พื้นที่พิเศษที่น่าสนใจทางภูมิศาสตร์, และเขตการปกครองหลัก (เช่นจังหวัดหรือรัฐ) ชื่ออย่างเป็นทางการของมาตรฐานคือ รหัสสำหรับการแสดงชื่อประเทศและเขตการปกครอง (Codes for the representation of names of countries and their subdivisions).

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-1

ISO 3166-1 เป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 ซึ่งกำหนดรหัสประเทศและดินแดนต่างๆ มี 3 มาตรฐานย่อย ได้แก.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-1 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2

รหัสมาตรฐาน ISO 3166-2 คือส่วนที่ 2 ของมาตรฐาน ISO 3166 อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ ในแต่ละประเทศ หรือเขตการปกครองอิสระ จุดประสงค์ของการสร้างมาตรฐานเพื่อใช้เป็นคำย่อขนาดสั้น สำหรับสถานที่ ใช้ทั่วโลก ในปัจจุบันมีรหัสทั้ง 3700 รหัส ตัวอย่างรหัสได้แก่ เช่น จังหวัดศรีสะเกษ คือ รหัส TH-33 สำหรับรหัสในแต่ละประเทศ ดูที่ ISO 3166-1 (รหัสประเทศ) โดยจะมีรหัสใกล้เคียงกับรหัสอินเทอร์เน็ตของแต่ละประเท.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2 · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AD

ISO 3166-2:AD เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศอันดอร์รา ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อ 7 การปกครอง.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AD · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AE

ISO 3166-2:AE เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 7 รั.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AE · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AF

ISO 3166-2:AF เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 34 จังหวั.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AF · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AG

ISO 3166-2:AG เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศแอนติกาและบาร์บูดา ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 8 การปกครอง.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AG · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AL

ISO 3166-2:AL เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในสาธารณรัฐแอลเบเนี.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AL · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AM

ISO 3166-2:AM เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศอาร์มีเนีย ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 1 เมือง 10 จังหวั.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AM · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AO

ISO 3166-2:AO เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศแองโกลา ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 18 จังหวั.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AO · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AR

ISO 3166-2:AR เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 23 จังหวัด (province) และ กาปีตัลเฟเดรัล (Capital Federal) (นครปกครองตนเองบัวโนสไอเรส).

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AR · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AU

ISO 3166-2:AU เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 6 รัฐ (state) และ 3 ดินแดน (territory).

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AU · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AW

ISO 3166-2:AW เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศอารูบา 3166-2.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AW · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AX

ISO 3166-2:AX เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในหมู่เกาะโอลันด์ 3166-2 หมวดหมู่:ภูมิศาสตร์หมู่เกาะโอลันด์.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AX · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:AZ

ISO 3166-2:AZ เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศอาเซอร์ไบจาน.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:AZ · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:BE

ISO 3166-2:BE เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศเบลเยียม ปัจจุบันสำหรับประเทศเบลเยียม รหัส ISO 3166-2 ใช้ระบุเขตการปกครอง 2 ระดับ ได้แก่ เขตและมณฑล ซึ่งรหัสจะอยู่ในรูปแบบ "BE-" ตามด้วยตัวอักษรสามตัว สำหรับมณฑลนั้นตัวอักษรตัวแรกระบุเขตที่เป็นที่ตั้งของมณฑลนั้น โดย V หมายถึงเขตฟลามส์ และ W หมายถึงเขตวัลลูน.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:BE · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:CL

ISO 3166-2:CL เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศชิลี ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อ 7 การปกครอง.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:CL · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:CY

ISO 3166-2:CY เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศไซปรั.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:CY · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:ID

ISO 3166-2:ID เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศอินโดนีเซีย ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับประเทศอินโดนีเซีย ISO 3166-2 มีความหมายถึงเขตการปกครองย่อยสองระดับดังนี้.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:ID · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:IN

ISO 3166-2:LA เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำแหน่งส่วนการปกครองต่างๆ หรือเขตการปกครองอิสระในประเทศอินเดีย ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 28 รัฐ และ 7 ดินแดนสหภาพ; หมายเหต.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:IN · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:JP

ISO 3166-2:JP เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 47 จังหวัด (prefecture).

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:JP · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:KR

ISO 3166-2:KR เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศเกาหลีใต้ (ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเกาหลี) ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับเกาหลีใต้ ISO 3166-2 มีความหมายถึง 1 นครพิเศษ 6 มหานคร 8 จังหวัด 1 นครปกครองตนเองพิเศษ และ 1 จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ ซึ่งทั้งหมดเป็นการปกครองระดับจังหวัด รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ KR ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของเกาหลีใต้ และส่วนที่สองเป็นตัวเลขสองตัวดังนี้.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:KR · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:LA

ISO 3166-2:LA เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศลาว ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับประเทศลาว ISO 3166-2 มีความหมายถึง 1 นครหลวงและ 17 แขวง รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ LA ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของประเทศลาว และส่วนที่สองเป็นตัวอักษรสองอักขร.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:LA · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:MM

ISO 3166-2:MM เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศพม่า ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับประเทศพม่า ISO 3166-2 มีความหมายถึง 7 ภูมิภาค 7 รัฐ และ 1 ดินแดนสหภาพ รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ MM ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของประเทศพม่า และส่วนที่สองเป็นตัวเลขดังนี้.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:MM · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:MN

ISO 3166-2:MN เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่างๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศมองโกเลีย ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 21 จังหวัด (aymag) และเทศบาลนครอูลานบาตอร์ (Ulaanbaatar).

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:MN · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:PT

ISO 3166-2:PT เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศโปรตุเกส ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับประเทศโปรตุเกส ISO 3166-2 มีความหมายถึง 18 เขต และ 2 เขตปกครองตนเอง รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ PT ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของประเทศโปรตุเกส และส่วนที่สองเป็นตัวเลขสองตัวดังนี้.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:PT · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:SJ

หุบเขาแอดเว่น (Adventdalen) ในสฟาลบาร์ ISO 3166-2:SJ เป็นรายการรหัสสำหรับสฟาลบาร์และยานไมเอนในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่นและกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 สฟาลบาร์และยานไมเอนไม่ได้อยู่ในฐานะเขตปกครองแต่เป็นดินแดนหนึ่งของนอร์เวย์ที่มีขอบเขตอำนาจศาลและกฎหมายต่างกัน เขตการปกครองระดับรองลงไปนอกจากนี้ของสฟาลบาร์และยานไมเอนจะอยู่ภายใต้รายการรหัสมาตรฐานของนอร์เวย์ (ISO 3166-2:NO) คือรหัส NO-21 สำหรับสฟาลบาร์ และรหัส NO-22 สำหรับยานไมเอน ทำให้ปัจจุบันไม่มีรหัสมาตรฐาน ISO 3166-2 สำหรับสฟาลบาร์ และยานไมเอน.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:SJ · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:TH

ISO 3166-2:TH เป็นรายการรหัสสำหรับประเทศไทย ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับประเทศไทย ISO 3166-2 มีความหมายถึง 1 เขตปกครองพิเศษ 1 เมืองพิเศษ และ 76 จังหวัด โดยเขตปกครองพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศมีสถานะพิเศษเทียบเท่าจังหวัด และเมืองพัทยาเป็นนครบริหารตนเอง ในจังหวัดชลบุรี รหัสแต่ละตัวจะแบ่งเป็นสองส่วน ซึ่งคั่นด้วยยติภังค์ (-) ส่วนแรกคือ TH ซึ่งเป็นรหัสประเทศตามมาตรฐาน ISO 3166-1 แบบสองอักขระของประเทศไทย และส่วนที่สองเป็นตัวเลข เว้นแต่เมืองพัทยาที่ใช้ตัวอักษร.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:TH · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:US

ISO 3166-2:US เป็นรายการรหัสสำหรับสหรัฐอเมริกา ในมาตรฐาน ISO 3166-2 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ISO 3166 เผยแพร่โดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ซึ่งได้กำหนดรหัสสำหรับชื่อของเขตการปกครองระดับท้องถิ่น (เช่น จังหวัด หรือ รัฐ) และกำหนดรหัสสำหรับทั้งประเทศด้วย ISO 3166-1 ในปัจจุบันสำหรับสหรัฐอเมริกา ISO 3166-2 มีความหมายถึง.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:US · ดูเพิ่มเติม »

ISO 3166-2:VN

ISO 3166-2:VN เป็นรหัสมาตรฐาน ISO ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ISO 3166-2 ใช้อธิบายถึงตำ​แหน่ง​ส่วน​การปกครองต่าง ๆ​ หรือ​เขตการปกครองอิสระในประเทศเวียดนาม ซึ่งทั้งหมดจะแทนรายชื่อทั้ง 59 จังหวัด และ 5 เทศบาลนคร รหัสจะอยู่ในรูปแบบ "VN-" ตามด้วยหมายเลข ซึ่งเป็นหมายเลขเดียวกับสองตัวแรกของรหัสไปรษณีย์ของจังหวั.

ใหม่!!: ISO 3166-1และISO 3166-2:VN · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ISO 3166-1 alpha-2ISO 3166-1 alpha-3ISO 3166-1 numeric

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »