โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สำนวนจำเจ

ดัชนี สำนวนจำเจ

“รสเหมือนไก่” เป็นสำนวนจำเจที่ใช้ในการบรรยายรสชาติของเนื้อที่แปลกไปจากเนื้อสัตว์ที่กินกันโดยทั่วไป เช่นการบรรยายรสชาติของขากบต่อผู้ไม่รู้รส “ภาพจำเจ” เช่นภาพทิวทัศน์ที่มีกิ่งไม้ห้อยอยู่หน้าภาพ สำนวนจำเจ หรือ ภาพจำเจ (cliché หรือ cliche เป็นคำยืมภาษาฝรั่งเศส) คือคำกล่าว, การแสดงความเห็น หรือ ความคิด หรือองค์ประกอบของศิลปะที่เป็นสำนวนที่ใช้กันมากเกินไปจนกระทั่งหมดประสิทธิภาพของความหมายที่ตั้งใจไว้แต่เดิม และจนกระทั่งกลายเป็นสามัญทัศน์โดยเฉพาะในกรณีที่เมื่อเริ่มใช้ใหม่ๆ เป็นสำนวนที่มีใหม่และมีความหมายดี “สำนวนจำเจ” เป็นสำนวนที่ใช้กันเสมอในวัฒนธรรมยุคใหม่ซึ่งเป็นการบ่งถึงพฤติกรรมหรือความคิดที่คาดได้ล่วงหน้าจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อหน้านั้น บางครั้งการใช้ก็มีวัตถุประสงค์เชิงเหยียด (pejoratively) หรือบางครั้งก็อาจจะใช้ในนวนิยายหรือการแสดงชวนขันเพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ชมได้หัวเราะ ตัวอย่างของการใช้สำนวนจำเจก็ได้แก่การบรรยายรสชาติของเนื้อที่แปลกไปจากเนื้อสัตว์ที่กินกันโดยทั่วไปที่ผู้ตอบมักจะตอบเชิงเสียดสีหรือเชิงชวนขันว่า “รสเหมือนไก่” แม้ว่าจะไม่ทราบรสชาติที่แท้จริงก็ตาม หรือในกรณี ภาพจำเจ ก็ได้แก่ภาพทิวทัศน์ชายทะเลที่มีลักษณะพื้นๆ เป็นภาพภูเขากับทะเลที่มีกิ่งไม้ห้อยอยู่ข้างหน้าเป็นต้น.

4 ความสัมพันธ์: การเหมารวมภาษาฝรั่งเศสวลีติดปากคำยืม

การเหมารวม

รูปลักษณ์ของโฮเมอร์ ซิมป์สันแสดงถึงการมองชายวัยกลางคนผิวขาวจากอเมริกากลางแบบเหมารวม การเหมารวม หรือ สามัญทัศน์ (Stereotype) คือ คตินิยมหรือทัศนคติของสังคมทั่วไปที่มีต่อกลุ่มคนอื่น ชาติอื่น หรือลักษณะของบุคคลบางประเภทจนกลายเป็นมาตรฐาน มีพื้นฐานมาจากการสรุปเอาจากข้อสมมุติพื้นฐานที่มีแนวโน้มที่เป็นอัตวิสัย การเหมารวมเกิดขึ้นจากความคิดที่คุ้นเคยทางมโนธรรม เช่น จากพฤติกรรมบางอย่าง หรือลักษณะพิเศษอันแตกต่างจากผู้อื่นที่ปรากฏและเป็นที่สังเกตอยู่ชั่วระยะเวลาอันยาวพอประมาณ การที่แนวคิดทางวัฒนธรรม (Meme) จะกลายมาเป็นสิ่งที่ยอมรับกันโดยสังคมโดยทั่วไปได้ สามัญทัศน์ไม่อาจจะเป็นแนวคิดที่ผิดไปทั้งหมด และจะต้องมีองค์ประกอบที่สังคมยอมรับ (Social recognition) การเหมารวมมิได้ใช้แต่เฉพาะกลุ่มคนแต่อาจจะใช้ในสถานะการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอจนสามารถทำนายผลที่จะออกมาได้ การเหมารวมอาจจะเป็นได้ทั้ง “ดี” และ “ไม่ดี” แต่แนวคิดทางของการเหมารวมส่วนใหญ่แล้วยากที่จะเสนอภาพพจน์ทางบวกของกลุ่มชน.

ใหม่!!: สำนวนจำเจและการเหมารวม · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาฝรั่งเศส

ษาฝรั่งเศส (Français ฟฺร็อง์แซ) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนนิยมเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ประมาณ 84 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 300 ล้านคน ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และสหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะเฉกเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไท.

ใหม่!!: สำนวนจำเจและภาษาฝรั่งเศส · ดูเพิ่มเติม »

วลีติดปาก

วลีติดปาก หรือ สำนวนติดปาก (catch phrase หรือ catchphrase) เป็นวลีหรือสำนวนที่ยอมรับกันที่มีความหมายที่เป็นที่เข้าใจกันเพราะการใช้กันบ่อย วลีหรือสำนวนเหล่านี้มักจะมาจากวัฒนธรรมสมัยนิยมหรือจากศิลปะ และมักจะแพร่หลายโดยสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่นทางวรรณกรรมและสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และวิทยุ และรวมทั้งโดยปากต่อปาก วลีหรือสำนวนเหล่านี้บางส่วนก็กลายเป็น “เอกลักษณ์” ประจำตัวผู้เริ่มใช้หรือตัวละครที่เป็นที่เริ่มของวลีหรือสำนวนไปโดยปริยาย ข้อหลังนี้มักจะเกิดขึ้นกับนักแสดงตลก ตัวอย่างของวลีติดปาก เช่น "สามเพลงตกม้าตาย" ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงอธิบายว่า เป็นฝีปากของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ในการแปลเรื่องสามก๊ก.

ใหม่!!: สำนวนจำเจและวลีติดปาก · ดูเพิ่มเติม »

คำยืม

ำยืม หมายถึงคำที่ยืมมาจากภาษาของผู้ให้ และผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาษาของผู้รับ การยืมนี้ไม่เหมือนความหมายทั่วไปเนื่องจากไม่มีการคืนกลับสู่ภาษาของผู้ให้ แต่เปรียบได้กับ "การยืมความคิด" มาใช้ คำยืมอาจไม่ได้เป็นคำเดียวเสมอไป อาจเป็นกลุ่มคำก็ได้อย่างเช่น déjà vu ซึ่งภาษาอังกฤษยืมมาจากภาษาฝรั่งเศส จะใช้ควบคู่กันไปเสมือนคำเดียว คำยืมอาจมีการเขียน การอ่าน และความหมาย ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็ได้ คำในภาษาของผู้ให้โดยทั่วไปเข้าสู่ภาษาของผู้รับในลักษณะศัพท์เฉพาะทางเนื่องจากการเปิดรับวัฒนธรรมต่างชาติ จุดอ้างอิงโดยเฉพาะอาจเป็นวัฒนธรรมต่างชาตินั้นเองหรือขอบข่ายของกิจกรรมของวัฒนธรรมต่างชาติที่ต้องการครอบงำ วัฒนธรรมต่างชาติซึมซับเข้าสู่วัฒนธรรมท้องถิ่นผ่านทางการเผยแผ่ศาสนา ปรัชญา การค้าขาย ศิลปะ วิทยาการ และการอพยพจากคนต่างถิ่น รวมไปถึงความสัมพันธ์ทางการทูต ภาษาไทยมีคำยืมภาษาต่างประเทศหลายภาษาอาทิ ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร กลุ่มภาษาจีน (ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน และ ภาษาจีนกลาง) ภาษามอญ ภาษามลายู ภาษาโปรตุเกส ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น ฯลฯ แม้แต่ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงก็ยังปรากฏคำยืมภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเขมร เข้ามาปะปน.

ใหม่!!: สำนวนจำเจและคำยืม · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ClicheClichéสำนวนดาษสำนวนดาษดื่นคลิเช

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »