โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ปลาพีค็อกแบส

ดัชนี ปลาพีค็อกแบส

ปลาพีค็อกแบส (Peacock bass, Eyetail cichlids) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) โดยชื่อสามัญที่ว่า "Peacock bass" ที่หมายถึง "ปลากะพงนกยูง" นั้นมาจากลักษณะของลวดลายตามลำตัวและโคนครีบหางที่เป็นจุดสีทึบขนาดใหญ่คล้ายกับรำแพนหางของนกยูง โดยเฉพาะโคนครีบหางทั้ง 2 ข้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Cichla (/ซิค-คลา/) ซึ่งมาจากภาษากรีก (Kichle) หมายถึง "ปลาทะเลที่มีฟันแหลมและสีสวยแถบทะเลเขตร้อน" มีลักษณะลำตัวทั่วไป มีส่วนหัวขนาดใหญ่ ริมฝีปากหนา ลำตัวยาว พื้นลำตัวเป็นสีเขียวอมส้ม เป็นปลาที่ดวงตาขนาดใหญ่ และสายตาดี มีพละกำลังมากมาย เป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด อาจยาวได้ถึง 30 นิ้ว จัดเป็นปลากินเนื้อน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจำพวกหนึ่งที่พบได้ในทวีปอเมริกาใต้ ขณะที่ยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนอยู่ จะมีสีอ่อนกว่าปลาที่เต็มวัย และมีแถบสีดำขนานกับลำตัวของตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมื่อโต แถบดังกล่าวจะหายไป กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก และแม่น้ำอเมซอน เป็นต้น เดิมได้มีการจำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากลวดลายและโครงสร้างของร่างกาย ได้แก.

32 ความสัมพันธ์: ชื่อสามัญชนิดพันธุ์ต่างถิ่นพ.ศ. 2344พ.ศ. 2549กรมประมงภาษากรีกวงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบสวงศ์ปลาหมอสีสกุล (ชีววิทยา)สัตว์สัตว์มีแกนสันหลังสีเขียวสปีชีส์ส้มสเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์อันดับปลากะพงจุดทวีปอเมริกาใต้ปลาพีค็อกแบสปลาสวยงามปลาหมอออสเซลาริสปลาหมอโมโนคูลัสปลาหมอเทเมนซิสปลาที่มีก้านครีบปลาน้ำจืดปลาน้ำเค็มปลาโอรีโนโกพีค็อกแบสนิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)แม่น้ำแม่น้ำแอมะซอนแม่น้ำโอริโนโกเขตร้อน

ชื่อสามัญ

ื่อสามัญ (Common name) หมายถึง ชื่อที่เรียกกันทั่วไปในการอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิต ใช้ชื่ออาจให้ชื่อตามลักษณะรูปร่างของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ เช่น ต้นแปรงขวด, ว่านหางจระเข้ หรืออาจเรียกชื่อตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา, มันฝรั่ง หรืออาจเรียกตามชื่อที่อยู่ เช่น ดาวทะเล, ทากบก นอกจากนี้ในแต่ละถิ่นยังเรียกชื่อต่างกันเช่น แมลงปอ ภาคใต้เรียกว่า "แมงพี้" ภาคเหนือเรียก "แมงกะบี้" เป็นต้น ซึ่งชื่อสามัญอาจจะซ้ำซ้อนกันได้ จึงเป็นที่มาของการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ เพื่อระบุให้ถูกต้อง.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและชื่อสามัญ · ดูเพิ่มเติม »

ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น

อกบัวตอง language.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและชนิดพันธุ์ต่างถิ่น · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2344

ทธศักราช 2344 ตรงกับคริสต์ศักราช 1801 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและพ.ศ. 2344 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

กรมประมง

กรมประมง (Department of Fisheries) เป็น หน่วยงานของรัฐที่ทำการศึกษา ค้นคว้า สำรวจ วิจัย วิเคราะห์ ทดลอง ด้านวิชาการทุกสาขาวิชาการของประมง ตลอดจนทำการส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนา อาชีพที่เกี่ยวกับการประมงของประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต เดิม กรมการประมง เป็นกรมสังกัด กระทรวงเศรษฐการ (ราชการส่วนเกษตร) และย้ายมาสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ ในปี..

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและกรมประมง · ดูเพิ่มเติม »

ภาษากรีก

ษากรีก ซึ่งคนที่พูดและเขียนภาษานี้เรียกว่า เฮลเลนิก หรือ เอลเลนิกา (Ελληνικά) เป็นภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน เกิดในประเทศกรีซ และเคยเป็นภาษาพูดตามชายฝั่งของเอเชียไมเนอร์และทางใต้ของประเทศอิตาลีในยุคโบราณ มีการพูดภาษาถิ่นจำนวนหนึ่ง เช่น ไอโอนิก ดอริก และแอททิก การเรียนการสอนภาษากรีกในประเทศไทยยังไม่แพร่หลายนัก ปัจจุบันมีเพียง คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, รูปแบบไฟล.doc /สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มกราคม..

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและภาษากรีก · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบส

วงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบส (Peacock bass) เป็นวงศ์ย่อยของปลาน้ำจืดในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlinae (/ซิค-ลิค-เน่/) เป็นปลากินเนื้อ ที่มีขนาดแตกต่างออกไปตั้งแต่ 1 เมตร จนถึงขนาดเพียงไม่กี่เซนติเมตร มีลำตัวเรียวยาว กรามแข็งแรง กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้ แบ่งออกเป็นสกุลต่าง ๆ ได้ 3 สกุล ดังนี้.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและวงศ์ย่อยปลาพีค็อกแบส · ดูเพิ่มเติม »

วงศ์ปลาหมอสี

วงศ์ปลาหมอสี (Cichlids) เป็นวงศ์ปลาที่มีจำนวนชนิดมากกว่า 1,000 ชนิด นับเป็นวงศ์ของปลาน้ำจืดที่มีจำนวนชนิดมากเป็นอันดับสาม รองมาจากวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae) และวงศ์ปลาบู่ (Gobiidae) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Cichlidae (/ซิค-ลิด-เด/) ชื่อสามัญในภาษาไทยนิยมเรียกว่า "ปลาหมอสี" ปลาในวงศ์นี้ส่วนใหญ่จึงมักมีชื่อขึ้นต้นว่า "ปลาหมอ" ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีลักษณะหลายหลากแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อมของถิ่นกำเนิด ปลาหมอสีส่วนใหญ่เป็นปลาน้ำจืด แต่มีบางชนิดพบในน้ำกร่อย ปลาในวงศ์นี้พบมากที่สุดในทวีปแอฟริกา และทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งมีประมาณ 900 และ 290 ชนิดตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีบางชนิดพบได้ในตอนล่างของทวีปอเมริกาเหนือ อีกสี่ชนิดพบในตะวันออกกลาง และอีกสามชนิดพบในอินเดีย ปลาในวงศ์ปลาหมอสีมีความสำคัญต่อมนุษย์ในหลายลักษณะ ปลาบางชนิด เช่น ปลานิล จัดเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว ในขณะที่ปลาอีกหลายชนิดเป็นปลาตู้สวยงาม เช่น ปลาเทวดา, ปลาปอมปาดัวร์ และ ปลาออสการ์ เป็นต้น.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและวงศ์ปลาหมอสี · ดูเพิ่มเติม »

สกุล (ชีววิทยา)

ในทางชีววิทยา สกุล (อังกฤษ genus) เป็นการจัดกลุ่มเอาสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ที่มีลักษณะใกล้เคียงเข้ามารวมกัน ในการตั้งชื่อแบบทวินาม ชื่อสิ่งมีชีวิตประกอบขึ้นจากสองส่วน คือ สกุล ซึ่งต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และ สปีชีส์ ตัวอย่างหนึ่งคือ Homo sapiens เป็นชื่อเรียกมนุษย์ อยู่ในสกุล Homo ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่งสามารถซ้ำกับชื่อสกุลหรือชื่อในอนุกรมวิธานของอาณาจักรอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Anura เป็นชื่อสกุลของพืชในวงศ์ และเป็นชื่ออันดับของกบ Aotus เป็นชื่อสกุลของถั่วและลิง เป็นต้น แต่ชื่อสกุลในอาณาจักรหนึ่ง ๆ ต้องห้ามซ้ำกัน หมวดหมู่:ชีววิทยา หมวดหมู่:การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและสกุล (ชีววิทยา) · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์มีแกนสันหลัง

ัตว์มีแกนสันหลัง คือสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตา พวกมันจะมีแกนสันหลัง ใยประสาทส่วนหลังกลวง ช่องคอหอย หลอดเส้นประสาทกลวงส่วนหลัง และหางหลังทวารหนัก ในช่วงหนึ่งของวงจรชีวิต สัตว์มีแกนสันหลังเป็นพวกดิวเทอโรสโตม กล่าวคือในช่วงระยะตัวอ่อน ทวารหนักเกิดก่อนปาก และเป็นซีโลเมตที่มีสมมาตรด้านข้าง ในกรณีของสัตว์มีแกนสันหลังที่มีกระดูกสันหลัง แกนสันหลังจะถูกแทนที่โดยกระดูกสันหลังในช่วงเจริญเติบโต และพวกมันอาจจะมีปล้องตามร่างกาย ในอนุกรมวิธาน ตัวไฟลัมเองประกอบไปด้วยไฟลัมย่อยเวอร์เตบราตา (ซึ่งประกอบด้วย ปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ทูนิคาตา (ซึ่งรวมทั้งซาล์ปและเพรียงหัวหอม) และเซฟาโลคอร์ดาตา ประกอบด้วยแหลนทะเล และยังรวมถึงบางกลุ่มที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บางครั้งกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังถูกจัดรวมอยู่กับกลุ่มสัตว์มีกระโหลกศีรษะ สัตว์มีแกนสันหลังมีมากกว่า 65,000 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ กว่าครึ่งเป็นพวกปลากระดูกแข็ง วาฬและเหยี่ยวเพเรกริน สัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและเคลื่อนที่เร็วที่สุดตามลำดับ เป็นสัตว์มีแกนสันหลังเช่นเดียวกันกับมนุษย์ ซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีแกนสันหลังยุคแรกๆ มีอายุย้อนไปถึงในช่วงการระเบิดยุคแคมเบรียน.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและสัตว์มีแกนสันหลัง · ดูเพิ่มเติม »

สีเขียว

ีเขียว เป็นสีสีหนึ่งบนคลื่นที่ตามองเห็น ตั้งอยู่ระหว่างสีน้ำเงินและสีเหลือง สีเขียวเกิดจากแสงที่ความยาวคลื่นประมาณ 495-570 นาโนเมตร สีเขียวในแม่สีเชิงลบที่ใช้สำหรับระบายสีและพิมพ์สีเกิดจากสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน หรือสีเหลืองผสมกับสีน้ำเงินอมเขียว ในระบบสี RGB ที่พบในโทรทัศน์และจอคอมพิวเตอร์ เป็นสีที่มาจากแม่สีเชิงบวก ร่วมกับสีแดงและสีน้ำเงิน ซึ่งต่างก็ผสมกันจนกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ ในภาษาอังกฤษใหม่ คำว่า green (สีเขียว) มาจากคำภาษาอังกฤษกลางว่า grene จากรากศัพท์ภาษาเยอรมันเดียวกันกับคำว่าคำว่า "grass" และ "grow" สีเขียวเป็นสีของการปลูกหญ้าและใบไม้ ด้วยเหตุนี้สีเขียวจึงเป็นสีของฤดูใบไม้ผลิ ความเจริญเติบโต และธรรมชาติEva Heller, Psychologie de la couleur- effets et symboliques.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและสีเขียว · ดูเพิ่มเติม »

สปีชีส์

ในวิชาชีววิทยา ชนิด หรือทับศัพท์ว่า สปีชีส์ (species, ย่อ: sp., รูปพหูพจน์ย่อ: spp.) เป็นหน่วยการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานและอันดับอนุกรมวิธานหนึ่ง มักนิยามว่า สปีชีส์เป็นกลุ่มอินทรีย์ใหญ่สุดที่สามารถสืบพันธุ์แล้วออกลูกที่สืบพันธุ์ได้ การมีลักษณะปรับตัวเฉพาะบางท้องถิ่นอาจแบ่งสปีชีส์ต่ออีกได้เป็น "ชื่อต่ำกว่าระดับชนิด" (infraspecific taxa) เช่น ชนิดย่อย (ในทางพฤกษศาสตร์ มีใช้คำอื่น เช่น พันธุ์ (variety) พันธุ์ย่อยและแบบ (forma)).

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและสปีชีส์ · ดูเพิ่มเติม »

ส้ม

'ส้ม' เป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิด เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ สกุล Citrus วงศ์ Rutaceae มีด้วยกันนับร้อยชนิด เติบโตกระจายอยู่ทั่วโลก โดยมากจะมีน้ำมันหอมระเหยในใบ ดอก และผล และมีกลิ่นฉุน หากนำใบขึ้นส่องกับแสงแดด จะเห็นจุดเล็กๆ เต็มไปหมด ซึ่งจุดเหล่านั้นก็คือแหล่งน้ำมันนั่นเอง ส้มหลายชนิดรับประทานได้ ผลมีรสเปรี้ยวหรือหวาน มักจะมีแคลเซียม โปแทสเซียม วิตามินเอ และ วิตามินซี มากเป็นพิเศษ ถ้าผลไม้จำพวกนี้มี มะ อยู่หน้า ต้องตัดคำ ส้ม ออก เช่น ส้มมะนาว ส้มมะกรูด เป็น อนุกรมวิธานของส้มนั้น มีความยุ่งยากและสับสนมาช้านาน และเป็นที่ถกเถียงในการจำแนกและตั้งชื่อชนิด (สปีชีส์) ของส้มอยู่เสมอ และการจำแนกกลุ่มยังขึ้นกับนักอนุกรมวิธานด้วย เช่น สวิงเกิล (Swingle) จำแนกได้ 16 ชนิด, ทานาคา (Tanaka) จำแนกได้ 162 ชนิด และฮอจสัน (Hodgson) จำแนก 36 ชนิด ขณะที่บางท่านเสนอว่าส้มทั้งหลายจัดเป็นพืชชนิดเดียวกัน ที่สามารถผสมพันธุ์ระหว่างกันได้ ขณะเดียวกัน การจำแนกอย่างละเอียดของทานาคา ก็สร้างความสำเร็จได้ เนื่องจากพบในภายหลังว่า บางชนิดเป็นเพียงการผสมข้ามสายพันธุ์เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกหากเราจะพบชื่อวิทยาศาสตร์ของส้มหลายชนิดที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อความแน่นอน จึงมักจะระบุถึงนักอนุกรมวิธานผู้จำแนกเอาไว้ด้วยพืชตระกูลส้ม ปัจจุบันนี้ มีการใช้เทคนิคในการระบุเอกลักษณ์ด้วยดีเอ็นเอ (DNA) และมีการเสนอว่าอาจจะมีชนิดพื้นฐานของส้มอย่างกว้างๆ 4 ชนิด ด้วยกัน คือ.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและส้ม · ดูเพิ่มเติม »

สเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์

วน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ หรือ สเวน โอ.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและสเวน ออสการ์ คูลเลนเดอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อันดับปลากะพง

อันดับปลากะพง (อันดับ: Perciformes; Bass, Snapper, Perch, Jack, Grunter) เป็นการจำแนกอันดับของปลาจำพวกหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Perciformes (/เพอร์-ซิ-ฟอร์-เมส/) ซึ่งเป็นปลากระดูกแข็ง คิดเป็นร้อยละ 40 ของปลากระดูกแข็งทั้งหมด ลักษณะเด่นของปลาในอันดับนี้คือ เป็นปลากินเนื้อ เกล็ดมีลักษณะสากขอบเป็นหยักแข็ง ปากยาวมีลักษณะยืดหดได้ มีก้านครีบแข็ง หรือ Spine ที่ครีบหลังตอนหน้า พบได้ทั้ง น้ำจืด, น้ำกร่อย และทะเล สำหรับวงศ์ปลาที่อยู่ในอันดับนี้มีอยู่มากมายถึง 156 วงศ์ (ดูในเนื้อหา) โดยสามารถแบ่งได้เป็นอันดับย่อยลงไปอีก (ดูในตาราง).

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและอันดับปลากะพง · ดูเพิ่มเติม »

จุด

อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและจุด · ดูเพิ่มเติม »

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้ แผนที่ทวีปอเมริกาใต้ ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและทวีปอเมริกาใต้ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาพีค็อกแบส

ปลาพีค็อกแบส (Peacock bass, Eyetail cichlids) เป็นสกุลของปลาน้ำจืดขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) โดยชื่อสามัญที่ว่า "Peacock bass" ที่หมายถึง "ปลากะพงนกยูง" นั้นมาจากลักษณะของลวดลายตามลำตัวและโคนครีบหางที่เป็นจุดสีทึบขนาดใหญ่คล้ายกับรำแพนหางของนกยูง โดยเฉพาะโคนครีบหางทั้ง 2 ข้าง ใช้ชื่อสกุลว่า Cichla (/ซิค-คลา/) ซึ่งมาจากภาษากรีก (Kichle) หมายถึง "ปลาทะเลที่มีฟันแหลมและสีสวยแถบทะเลเขตร้อน" มีลักษณะลำตัวทั่วไป มีส่วนหัวขนาดใหญ่ ริมฝีปากหนา ลำตัวยาว พื้นลำตัวเป็นสีเขียวอมส้ม เป็นปลาที่ดวงตาขนาดใหญ่ และสายตาดี มีพละกำลังมากมาย เป็นปลากินเนื้อที่มีขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุด อาจยาวได้ถึง 30 นิ้ว จัดเป็นปลากินเนื้อน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดจำพวกหนึ่งที่พบได้ในทวีปอเมริกาใต้ ขณะที่ยังเป็นลูกปลาวัยอ่อนอยู่ จะมีสีอ่อนกว่าปลาที่เต็มวัย และมีแถบสีดำขนานกับลำตัวของตั้งแต่แก้มไปจนถึงหาง เมื่อโต แถบดังกล่าวจะหายไป กระจายพันธุ์ในแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ เช่น แม่น้ำโอรีโนโก และแม่น้ำอเมซอน เป็นต้น เดิมได้มีการจำแนกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ 5 ชนิด โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากลวดลายและโครงสร้างของร่างกาย ได้แก.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาพีค็อกแบส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาสวยงาม

ตู้ ปลาสวยงาม หรือ ปลาตู้ (Ornamental fish) คือ ปลาที่มนุษย์เลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินหรือเพื่อความสวยงาม ไม่ใช่เพื่อการบริโภค หรือสัตว์น้ำจำพวกอื่น ที่ไม่ใช่ปลาแต่มีการนำมาเลี้ยงเพื้อการเดียวกัน เช่น เครย์ฟิช นิยมเลี้ยงไว้ในสถานที่ต่าง ๆ ในบ้านพักอาศัย อาทิ ตู้ปลา, บ่อ หรือสระ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการประมง ความเป็นอยู่ของปลามีความแตกต่างจากสัตว์บกหรือสัตว์เลือดอุ่นค่อนข้างมาก การเลี้ยงสัตว์บกสามารถปรับปรุงคอกเลี้ยง ทำให้สามารถทำความสะอาดกำจัดเศษอาหาร และมูลสัตว์ออกจากคอกได้อย่างง่ายดาย แต่ปลามีน้ำเป็นบ้านอย่างถาวรและจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อีกหลายชนิด คุณภาพน้ำอาจเปลี่ยนแปลงได้ทั้งสาเหตุจากสภาพแวดล้อมและจากตัวปลาเอง เพราะปลาก็มีการขับถ่ายอยู่ตลอดเวลา แต่ในแหล่งน้ำธรรมชาติจะเกิดการปรับปรุงหรือปรับสภาพให้น้ำมีคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยขบวนการต่าง ๆ จากสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เพื่อให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายในน้ำอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาสวยงาม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอออสเซลาริส

ปลาหมอออสเซลาริส (Peacock cichlid, Butterfly peacock bass) ปลาน้ำจืดขนาดกลางค่อนไปทางใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างยาวปานกลาง ลำตัวแบนข้างเหมือนปลากะพง ริมฝีปากหนา มีกรามแข็งแรง ดวงตากลมโต เมื่อขนาดโตเต็มที่แล้วจะมีโหนกขึ้นบริเวณส่วนหัวด้านบน พื้นลำตัวมีสีเหลืองเขียวอมส้ม มีลักษณะเด่น คือ มีแถบสีดำที่ลำตัวและโคนหาง และมีจุดสีดำเหนือแผ่นปิดเหงือก และที่บริเวณครีบอก มีขนาดโตเต็มที่ยาวได้ถึง 75 เซนติเมตร กระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในหลายประเทศในทวีปอเมริกาใต้ เป็นปลาที่กินปลาขนาดเล็ก และสัตว์น้ำต่าง ๆ เป็นอาหาร รวมถึงแมลงด้วย เป็นปลาที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา ใช้บริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปัจจุบันได้เพาะขยายพันธุ์ได้เป็นที่สำเร็จแล้ว จนกลายเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในเรื่องชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเช่น สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, สิงคโปร์, มาเลเซีย และประเทศไทย ซึ่งปลาสามารถที่จะปรับตัวและแพร่ขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ โดยตัวเมียสามารถวางไข่ได้ครั้งละ 5,000 ถึง 15,000 ฟอง.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาหมอออสเซลาริส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอโมโนคูลัส

ปลาหมอโมโนคูลัส (Tucanare peacock bass, ชื่อท้องถิ่น: Popoca) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะคล้ายกับปลาหมอออสเซลาริส (C. ocellaris) ซึ่งเป็นปลาพีค็อกแบสเหมือนกัน โดยเฉพาะในปลาขนาดเล็กกว่า 3 นิ้ว แต่จะมีความแตกต่างกันเมื่อปลาเริ่มมีความยาวได้ 5 นิ้ว โดยจะมีสีของครีบหางเป็นสีแดงเข้มกว่า และจุดบนลำตัวที่กลายเป็นลายแถบสีดำจะมีขนาดใหญ่และยาวกว่าปลาหมอออสเซลาริส และสีตามลำตัวจะมีสีเหลืองเข้มหรือเหลืองทองโดยเฉพาะส่วนท้อง และบนส่วนคาง, ครีบท้อง, ครีบก้น และด้านล่างของครีบหางจะเป็นสีส้มหรือสีแดงเข้มกว่า ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีโหนกบนหัวเป็นสัน โดยบางตัวจะเริ่มมีโหนกนี้ตั้งแต่มีความยาวได้เพียง 6 นิ้ว เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์จะมีสีเข้มกว่าปกติ มีขนาดโตเต็มที่ได้ 70 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในประเทศเปรู และโคลัมเบีย นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม ซึ่งปลาหมอโมโนคูลัสในระยะแรกที่มีการนำเข้ามาในประเทศไทยในฐานะปลาสวยงาม ได้ถูกปะปนกับปลาหมอออสเซลาริส และมีการขยายพันธุ์ในธรรมชาติ จนถึงปัจจุบัน เชื่อว่า ปลาสกุลปลาพีค็อกแบสในประเทศไทยนั้น เป็นปลาหมอโมโนคูลัสมากกว.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาหมอโมโนคูลัส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาหมอเทเมนซิส

ปลาหมอเทเมนซิส (Speckled pavon, Speckled peacock bass, Painted pavon; ชื่อพื้นเมือง: Tucanare) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีลักษณะเหมือนกับปลาพีค็อกแบสชนิดอื่น ๆ แต่มีลำตัวที่เพรียวยาวกว่า มีลักษณะเด่นที่แตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด คือ มีสีสันไม่สดใสเท่า แต่มีจุดประสีขาวเห็นชัดเจนตลอดทั้งตัว ขณะที่โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เหมือนปลาพีค็อกแบสทั่วไป ขณะที่ยังเป็นลูกปลาขนาดเล็กจะมีลายแถบยาวสีดำคาดกลางลำตัวตามแนวยาว ปลาหมอเทเมนซิส มีความยาวโดยเฉลี่ย 75 เซนติเมตร แต่มีรายงานว่าพบขนาดใหญ่ที่สุดถึง 1 เมตร น้ำหนักถึง 12 กิโลกรัม ปลาเมื่อมีขนาดได้ 60 เซนติเมตร จะมีน้ำหนัก 2 กิโลกรัม นับเป็นชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วที่สุดในบรรดาปลาพีค็อกแบสทั้งหมด พบกระจายพันธุ์ในลุ่มแม่น้ำอเมซอน, ริโอเนโกร, อูทูม่า และโอรีโนโก ในทวีปอเมริกาใต้ นิยมตกเป็นเกมกีฬา และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาหมอเทเมนซิส · ดูเพิ่มเติม »

ปลาที่มีก้านครีบ

ปลาที่มีก้านครีบ (Ray-finned fishes) เป็นชั้นย่อยของปลากระดูกแข็ง (Osteichthyes) ชั้นหนึ่ง ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Actinopterygii (/แอก-ติ-โน-เทอ-ริ-กิ-ไอ/) เป็นปลาที่เคลื่อนไหวโดยอาศัยครีบและกล้ามเนื้อลำตัวเป็นสำคัญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ก้านครีบแข็ง และก้านครีบอ่อน ซึ่งปลาส่วนใหญ่ในปัจจุบัน จะถูกจัดอยู่ในชั้นนี้ บรรพบุรุษของปลาในชั้นนี้จะมีขนาดเล็ก มีเกราะหุ้มตัวหนา มีปอดและเหงือก ชื่อ Andreolepis hedei โดยพบเป็นฟอสซิลอยู่ในยุคปลายซิลลูเรียนเมื่อกว่า 420 ล้านปีก่อนที่รัสเซีย, สวีเดน และเอสโตเนีย ปลาชั้นนี้มีการวิวัฒนาการอยู่ 3 ขั้นตอน คือ.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาที่มีก้านครีบ · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำจืด

วงศ์นี้ล้วนแต่เป็นปลาน้ำจืดทั้งหมด ปลาน้ำจืด (Freshwater fish) หมายถึง ปลาที่อาศัยอยู่ได้ในเฉพาะแหล่งน้ำที่เป็นน้ำจืด คือ น้ำที่มีปริมาณเกลือหรือความเค็มละลายน้อยกว่าร้อยละ 00.5 เท่านั้น โดยอาศัยอยู่ในแม่น้ำ, คลอง พื้นที่ชุ่มน้ำต่าง ๆ ที่เป็นน้ำจืด เช่น ทะเลสาบน้ำจืด, บึง หนอง หรือลำธารน้ำตกบนภูเขาหรือในป่าดิบ โดยโครงสร้างของปลาน้ำจืดนั้น จะมีแรงดันออสโมซิสในเลือดอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำที่อาศัยอยู่มาก จึงทำให้มีการไหลของน้ำเข้าสู่ร่างกายและเกลือแร่แพร่ออกสู่น้ำภายนอกได้ง่าย โดยไม่ให้น้ำซึมผ่านเข้าสู่ร่างกายและออกจากร่างกายได้ แต่ทว่ากระบวนการดังกล่าวก็ยังไม่ดีพอ เพราะเหงือกซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่ปลาใช้หายใจมีน้ำไหลผ่าน เมื่อมีเหงือก น้ำก็มีโอกาสไหลผ่านเข้าสู่ภายในร่างกายได้ จึงกำจัดน้ำส่วนที่เกินที่ถูกดูดเข้าสู่ร่างกายออกสู่นอกร่างกายได้วิธีการขับถ่ายนำเอาปัสสาวะซึ่งมีความดันออสโมซิสต่ำกว่าเลือดออกสู่ภายนอกร่างกาย ร่างกายส่วนใหญ่ของปลาน้ำจืดจะปกคลุมด้วยผิวหนังและเกล็ดซึ่งไม่ยอมให้น้ำซึมผ่านนอกจากบริเวณที่เป็นเหงือกแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจเท่านั้นที่น้ำผ่านได้ และโดยธรรมชาติปลาน้ำจืดไม่ดื่มน้ำเลย ซึ่งแตกต่างจากปลาทะเล เพราะการดื่มน้ำจะทำให้ร่างกายมีน้ำมากเกินความจำเป็น ซึ่งจะมีน้ำบางส่วนไหลผ่านบริเวณปากและเหงือกเพื่อช่วยในการแลกเปลี่ยนก๊าซหายใจก็จะมีโอกาสซึมเข้าไปในร่างกายได้บ้าง และเกลือแร่จากเลือดก็จะแพร่ออกมาทางเหงือกได้มากพอดู ปลาน้ำจืดจึงมีไตขับน้ำส่วนเกินออกไปเป็นปัสสาวะ และมีกลุ่มเซลล์พิเศษอยู่บริเวณเหงือกคอยดูดเอาเกลือแร่ต่าง ๆ ที่จำเป็นกลับสู่ร่างก.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาน้ำจืด · ดูเพิ่มเติม »

ปลาน้ำเค็ม

ปลาหมอทะเล (''Epinephelus lanceolatus'') เป็นปลาน้ำเค็มขนาดใหญ่ที่สุดที่มักพบได้ตามแนวปะการังเขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ปลาน้ำเค็ม หรือ ปลาทะเล คือ ปลาที่เป็นปลาส่วนใหญ่ที่พบได้ในปัจจุบันนี้ มีแหล่งอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่เป็นน้ำทะเลหรือน้ำเค็มที่มีปริมาณความเค็มของเกลือละลายมากกว่าร้อยละ 3–5 ขึ้นไป อันได้แก่ มหาสมุทร, ทะเล, ทะเลสาบน้ำเค็ม, ทะเลลึก หรือปากแม่น้ำ, ชายฝั่ง หรือป่าโกงกางที่เป็นส่วนของน้ำเค็มหรือน้ำกร่อย โครงสร้างของปลาน้ำเค็มนั้นจะไม่แตกต่างไปจากปลาน้ำจืดเท่าใดนัก เพียงแต่จะมีการปรับตัวให้เข้ากับน้ำเค็มได้โดยมีผิวหนังและเกล็ดหุ้มตัวกันไม่ให้น้ำและเกลือแร่ผ่านสู่ร่างกายมากนัก น้ำจากภายในร่างกายจะแพร่ออกสู่ภายนอกร่างกาย เนื่องจากน้ำภายนอกร่างกายมีความเข้มข้นของสารละลายมากกว่าภายในร่างกาย ปลาน้ำเค็มจึงต้องมีการดื่มน้ำเพื่อทดแทนน้ำที่สูญเสียไปซึ่งต่างจากปลาน้ำจืด ไตของปลาน้ำเค็มขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่สูงเท่ากับปริมาณออกซิเจนในเลือด ขณะที่ปลาน้ำจืดไตจะขับปัสสาวะที่มีความเข้มข้นของเกลือแร่ต่ำกว่าที่อยู่ในเลือด ในขณะเดียวกันก็จะมีการขับสารละลายส่วนเกินที่ได้จากการดื่มน้ำออกสู่นอกร่างกาย โดยจะมีอวัยวะพิเศษที่จะช่วยในการขับสารละลายที่ไม่ต้องการออก เรียกว่า คลอไรด์เซลล์ ที่อยู่บริเวณเหงือก ที่เป็นอวัยวะช่วยในการหายใจ นอกจากนี้แล้ว ปลาน้ำเค็มในบางอันดับเช่นอันดับปลากะพงจะมีโครงสร้างของกระดูกที่มีความแข็งแรงและหนาแน่น มีน้ำหนักกว่าปลาน้ำจืด ทั้งนี้เนื่องจาก ความเค็มในทะเลหรือมหาสมุทรจะมีความหนาแน่นมากกว่าในน้ำจืด ฉะนั้นปลาน้ำเค็มจึงมีการลอยตัวตามธรรมชาติได้ดีกว.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาน้ำเค็ม · ดูเพิ่มเติม »

ปลาโอรีโนโกพีค็อกแบส

ปลาโอรีโนโกพีค็อกแบส (Orinoca peacock bass; ชื่อท้องถิ่น: Tucanare) ปลาน้ำจืดขนาดกลางค่อนไปทางใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาหมอสี (Cichlidae) มีรูปร่างคล้ายกับปลาหมอออสเซลาริส (C. ocellaris‎) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน ต่างกันที่ปลาโอรีโนโกพีค็อกแบสจะไม่มีแถบสีดำที่ลำตัว และไม่มีจุดสีดำที่เหนือแผ่นปิดเหงือก มีขนาดโตเต็มที่ได้ 61.7 เซนติเมตร แพร่กระจายพันธุ์เฉพาะแม่น้ำโอรีโนโก ในประเทศเวเนซุเอลา และโคลอมเบีย และแม่น้ำริโอเนโกร ในประเทศบราซิล โดยพบกระจายอยู่ทั้งในบริเวณที่ใกล้ชายฝั่ง และในร่องน้ำลึก รวมทั้งบึงที่มีส่วนติดต่อกับแม่น้ำสายใหญ่ด้วย ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำที่ปลาอาศัยอยู่ที่ระหว่าง 5.5-6.5 pH อุณหภูมิประมาณ 27-23 องศาเซลเซียส จากการศึกษาพบว่า ปลาโอรีโนโกพีค็อกแบสกินอาหารหลัก คือ ปลาในกลุ่มปลาคาราซิน และแมลง รวมถึงสัตว์น้ำมีกระดองแข็งด้วย เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่นิยมตกกันเป็นเกมกีฬา เป็นปลาที่ใช้บริโภค โดยพบขายในตลาดสดท้องถิ่น และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและปลาโอรีโนโกพีค็อกแบส · ดูเพิ่มเติม »

นิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ)

นิ้ว (inch; พหูพจน์: inches; ย่อว่า in หรือ ″ (ดับเบิลไพรม์)) เป็นหน่วยวัดความยาวในระบบอังกฤษ นิยามโดยเป็น ของฟุต หรือเท่ากับ 0.0254 เมตรพอดี นอกจากนี้การแบ่งหน่วยย่อยมักใช้เศษส่วนอย่างต่ำกำกับเช่น ″ จะไม่เขียนเป็น 2.375″ หรือ ″.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและนิ้ว (หน่วยความยาวระบบอังกฤษ) · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำ

แม่น้ำตาปี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี แม่น้ำ (river) เป็นทางน้ำธรรมชาติที่มีขนาดใหญ่ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่ในทางวิทยาศาสตร์หมายถึงกระแสน้ำตามธรรมชาติทั้งหลาย รวมทั้งกระแสน้ำขนาดเล็ก เช่น ลำธาร คลอง เป็นต้น น้ำฝนที่ตกลงบนพื้นดินจะไหลไปยังแม่น้ำแล้วออกสู่มหาสมุทรหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อื่น ๆ เช่น ทะเลสาบ แม่น้ำมีส่วนประกอบโดยพื้นฐานหลายส่วน อาจมีแหล่งกำเนิดจากต้นน้ำหรือน้ำซับ แล้วไหลสู่กระแสน้ำหลัก ลำธารสายเล็กที่ไหลลงสู่แม่น้ำเรียกว่าแคว โดยปกติกระแสน้ำจะไหลไปตามร่องน้ำที่ขนาบข้างด้วยตลิ่ง ที่จุดสิ้นสุดของแม่น้ำหรือปากแม่น้ำ มักมีลักษณะแผ่ขยายออก เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่าดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) หรือชะวากทะเล (Estuary).

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและแม่น้ำ · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำแอมะซอน

แม่น้ำแอมะซอน แม่น้ำแอมะซอน (Amazon River; Rio Amazonas; Río Amazonas) เป็นแม่น้ำในทวีปอเมริกาใต้ มีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศเปรู และไหลออกมหาสมุทรที่ประเทศบราซิล มีความยาวทั้งสิ้นประมาณ 6,992 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดของโลก (รองลงมาคือแม่น้ำไนล์) และยังเป็นแม่น้ำที่มีปากแม่น้ำกว้างที่สุดในโลก ซึ่งอยู่บริเวณทางเหนือของบราซิล แม่น้ำแอมะซอนเป็นแม่น้ำสายที่มีปริมาณน้ำมากที่สุด ปริมาณน้ำที่ไหลออกยังมหาสมุทรแอตแลนติกมากถึง 45 ล้านแกลลอนต่อวินาทีในฤดูฝน ฝนที่ตกในลุ่มแม่น้ำแอมะซอนเฉลี่ยปีละ 3 เมตร (สูงสุด 6 เมตร) แต่ฝนจะตกเพียงไม่กี่เดือน ต่างกันไปตามแต่ละสถานที่ ในช่วงฤดูแล้งราวเดือนตุลาคม น้ำจะลดปริมาณลงจนเห็นสันทรายและเกิดเป็นทะเลสาบต่าง ๆ บางแห่งตัดขาดจากกัน ในฤดูน้ำหลากน้ำจะท่วมป่าทุกปี ในเนื้อที่ประมาณ 90,000 ตารางกิโลเมตร ขนาดเท่าประเทศอังกฤษ และยังถือเป็นแม่น้ำที่มีปริมาณน้ำมากถึง 1 ใน 5 ส่วนของโลก มีแม่น้ำสาขาที่แยกออกจากแอมะซอนมากกว่า 1,100 สาขา อีกทั้งยังถือเป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เป็นแม่น้ำที่มีความหลากหลายทางชนิดพันธุ์ปลามากที่สุดในโลก กว่า 3,000 ชนิด ซึ่งนับว่ามากกว่ามหาสมุทรแอตแลนติกเสียอีก.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและแม่น้ำแอมะซอน · ดูเพิ่มเติม »

แม่น้ำโอริโนโก

right โอริโนโก (Orinoco) มีต้นกำเนินมากจากที่ราบสูงกายอานา ในทิวเขาปาริมา อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างประเทศเวเนซุเอลากับประเทศบราซิล แม่น้ำมีความยาวกว่า 2,150 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 900,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 75 ของประเทศเวเนซุเอลา บางช่วงของแม่น้ำโอริโนโกอยู่ในประเทศโคลอมเบีย แม่น้ำไหลลงที่มหาสมุทรแอตแลนติกในประเทศเวเนซุเอลาซึ่งปากแม่น้ำอยู่ใกล้กับประเทศตรินิแดดและโตเบโก.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและแม่น้ำโอริโนโก · ดูเพิ่มเติม »

เขตร้อน

แผนที่โลกที่เน้นเขตร้อนด้วยสีแดง เขตร้อนหรือโซนร้อน (tropics) เป็นบริเวณของโลกที่อยู่รอบเส้นศูนย์สูตร จำกัดด้วยเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ในซีกโลกเหนือ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) เหนือ และทรอปิกออฟแคปริคอร์นในซีกโลกใต้ ที่ละติจูด 23° 26′ 16″ (หรือ 23.4378°) ใต้ ละติจูดนี้ใกล้เคียงกับความเอียงของแกนโลก เขตร้อนรวมทุกพื้นที่บนโลกซึ่งดวงอาทิตย์ถึงจุดใต้แสงอาทิตย์ (subsolar point) คือ จุดที่ดวงอาทิตย์อยู่ตรงเหนือศีรษะพอดี อย่างน้อยครั้งหนึ่งในปีสุริยคติ.

ใหม่!!: ปลาพีค็อกแบสและเขตร้อน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Cichlaสกุลปลาพีค็อกแบสสกุลปลาพีค็อกเบสปลากะพงนกยูงปลาพีค็อกเบส

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »