โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

พระยาอายลอง

ดัชนี พระยาอายลอง

ระยาอายลอง (ဗညားအဲလောင်, บะญาเอเหล่าง์) เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระยาอายลาว พระเจ้าเมาะตะมะรัชกาลที่ 7 พระองค์ติดตามพระบิดาไปอยู่เมืองเมาะตะมะในฐานะรัชทายาทเมืองเมาะตะมะ ระหว่าง..

9 ความสัมพันธ์: พระยาอายลาวพระเจ้ารามมะไตยราชาธิราชอหิวาตกโรคอาณาจักรหงสาวดีทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงทายาทโดยสันนิษฐานนางจันทะมังคะละโรคฝีดาษ

พระยาอายลาว

ระยาอายลาว (ဗညားအဲလော, บะญาเอลอ; 1308 – 1348/49) เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวของพระเจ้ารามประเดิด (ခွန်လော ขุ่นลอ) กษัตริย์รัชกาลที่ 2 เดิมทรงครองเมืองสะโตง ต่อมานางจันทะมังคะละ (စန္ဒာမင်းလှ) พระขนิษฐาต่างพระมารดา ได้สนับสนุนพระองค์ให้ขึ้นสืบราชบัลลังก์เป็นพระเจ้าเมาะตะมะรัชกาลที่ 7 แล้วทรงสถาปนานางจันทะมังคะละเป็นพระอัครมเหสี ครองสิริราชสมบัติระหว่าง..

ใหม่!!: พระยาอายลองและพระยาอายลาว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้ารามมะไตย

ระเจ้ารามมะไตย (စောဇိတ်,; 19 พฤษภาคม 1303 – เมษายน 1330) หรือ พระเจ้าสอเซน ตามพงศาวดารมอญ กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ระหว่าง..

ใหม่!!: พระยาอายลองและพระเจ้ารามมะไตย · ดูเพิ่มเติม »

ราชาธิราช

ราชาธิราช หรือชื่อในภาษาพม่า ยาซาดะริต อเยดอว์บอง (ရာဇာဓိရာဇ် အရေးတော်ပုံ) เป็นชื่อของพงศาวดารพม่า ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญตั้งแต่ พ.ศ. 1830 ถึง พ.ศ. 1964 รายละเอียดภายในตัวพงศาวดารประกอบด้วยเรื่องราวของความขัดแย้งภายในราชสำนัก การกบฏ เรื่องราวทางการทูต การสงคราม เป็นต้น เนื้อหาประมาณกึ่งหนึ่งของเรื่องอุทิศพื้นที่ให้กับรัชกาลของพระเจ้าราชาธิราช โดยลงลึกในรายละเอียดของ สงครามสี่สิบปี ระหว่างอาณาจักรหงสาวดีของมอญ กับอาณาจักรอังวะของพม่า ภายใต้การนำของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง และอุปราชมังกะยอชวาThaw Kaung 2010: 29–30 ต้นฉบับของเรื่องราชาธิราชฉบับภาษาพม่ามาจากพงศาวดารภาษามอญเรื่อง "พงศาวดารกรุงหงสาวดี" ("Hanthawaddy Chronicle") และได้รับการแปลเป็นภาษาพม่าโดยพญาทะละ เสนาบดีและกวีชาวมอญซึ่งรับราชการในอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์ตองอู นับได้ว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวมอญในดินแดนพม่าตอนล่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่Aung-Thwin 2005: 133–135 และอาจเป็นพงศาวดารมอญเพียงฉบับเดียวที่เหลือรอดจากการเผาทำลายเมืองพะโค (หงสาวดี) โดยกบฏชาวมอญภายใต้การนำของอดีตขุนนางในอาณาจักรหงสาวดีในปี พ.ศ. 2107Harvey 1925: xviii สำเนาใบลานของเรื่องราชาธิราชฉบับพญาทะละปัจจุบันเหลือรอดมาเพียง 4 ชุด สันนิษฐานว่าทำขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) นอกจากนี้ยังมีฉบับแปลฉบับอื่นๆ อยู่อีก รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ตามการวิเคราะห์โดยนายปันหละเมื่อปี พ.ศ. 2511 นายปันหละได้แปลราชาธิราชฉบับหนึ่งกลับเป็นภาษามอญเมื่อปี พ.ศ. 2501 และเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับเป็นภาษาพม่า (นับเป็นราชาธิราชฉบับที่ 10) โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากราชาธิราชฉบับพญาทละ ฉบับ "ปากลัด" และบันทึกจากพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว (มานนานยาซะเวง) รวมทั้งอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยสมัยใหม่Pan Hla 1968: 3–4.

ใหม่!!: พระยาอายลองและราชาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

อหิวาตกโรค

อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า (cholera) คือ โรคระบาดชนิดหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ที่ลำไส้เล็ก ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงเป็นน้ำและอาเจียนเป็นหลัก เรียกว่า "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี และถ้าเกิดแก่สัตว์เลี้ยง เช่น เป็ด ไก่ วัว ควาย เรียก "กลี" ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก ในผู้ป่วยรุนแรงอาจทำให้มีผิวสีออกเทา-น้ำเงินได้ การแพร่เชื้อเกิดขึ้นจากการดื่มน้ำหรือกินอาหารที่ปนเปื้อนอุจจาระของผู้ติดเชื้อเป็นหลัก ซึ่งผู้นั้นแม้ไม่มีอาการก็สามารถแพร่เชื้อได้ ความรุนแรงของอาการท้องร่วงและอาเจียนสามารถนำไปสู่ภาวะขาดน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่อย่างรวดเร็ว กระทั่งเสียชีวิตในบางราย การรักษาหลักคือการชดเชยสารน้ำโดยการกิน ซึ่งมักทำโดยให้ดื่มสารละลายชดเชยการขาดน้ำและเกลือแร่ ถ้าไม่ได้ผลหรือได้ผลเร็วไม่เพียงพอหรือดื่มไม่ได้ ผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ สำหรับผู้ป่วยบางรายที่เป็นรุนแรงอาจใช้ยาปฏิชีวนะช่วยเพื่อลดระยะเวลาและความรุนแรงของการป่ว..

ใหม่!!: พระยาอายลองและอหิวาตกโรค · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรหงสาวดี

อาณาจักรหงสาวดี (ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်;,; บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างสั้น พะโค) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต..

ใหม่!!: พระยาอายลองและอาณาจักรหงสาวดี · ดูเพิ่มเติม »

ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง

้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์ “รัชทายาท” แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง (Heir apparent) คือทายาทผู้ (นอกจากมีเหตุการณ์อันคาดไม่ถึง) ที่ไม่สามารถมีผู้ใดมาแทนได้ในการรับตำแหน่งหรือมรดก เป็นคำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” (heir presumptive) ผู้เป็นทายาทอยู่ในสายที่มีสิทธิแต่อาจจะมาแทนได้เมื่อใดก็ได้ กรณีที่หมายถึงทายาทตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลโดยเฉพาะในกรณีของพระมหากษัตริย์จะเรียกว่ารัชทายาท (heir to the throne) และใช้เป็นอุปลักษณ์ว่าผู้นั้นเป็นผู้ได้ผ่านพิธีในการยอมรับในตำแหน่งเช่นว่าอย่างเป็นทางการ (“anointed”) ไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองหรือผู้นำทางธุรกิจ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ไม่ปรากฏบ่อยนักและถ้าใช้ในภาษาอังกฤษก็มักจะใช้ในรูป “Heir Apparent” สถาบันพระมหากษัตริย์ส่วนใหญ่แล้วก็จะมีตำแหน่งเป็นทางการสำหรับรัชทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงเช่น “มกุฎราชกุมาร” หรือมีตำแหน่งที่มีชื่อเฉพาะเช่น “เจ้าชายแห่งออเรนจ์” (Prince of Orange) ในเนเธอร์แลนด์ “เจ้าชายแห่งเวลส์” ในสหราชอาณาจักร หรือ เจ้าชายแห่งอัสตูเรียส ในสเปน ดยุกแห่งบราบันต์ ใน เบลเยียม.

ใหม่!!: พระยาอายลองและทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง · ดูเพิ่มเติม »

ทายาทโดยสันนิษฐาน

้าฟ้าชายแอนดรูว์ ดยุคแห่งยอร์ค “รัชทายาทโดยสันนิษฐาน” แห่งราชบัลลังก์สหราชอาณาจักร ทายาทโดยสันนิษฐาน (Heir presumptive) คือทายาทผู้อยู่ในสายของผู้มีสิทธิในการรับราชบัลลังก์ หรือตำแหน่งขุนนางสืบตระกูลแต่เป็นตำแหน่งที่สามารถมีผู้มาแทนได้โดยการกำเนิดของ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” (heir apparent) หรือ “ทายาทโดยสันนิษฐาน” คนใหม่ที่มีสิทธิมากกว่า ถ้าใช้สะกดด้วยตัวพิมพ์เล็กในภาษาอังกฤษก็จะหมายถึงผู้มีสิทธิที่จะได้รับบรรดาศักดิ์, ตำแหน่ง หรือทรัพย์สินนอกจากจะมีทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงหรือทายาทโดยสันนิษฐานมาแทนที่ ในทั้งสองกรณีตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับกฎหมายและ/หรือประเพณีที่จะเปลี่ยนผู้ที่มีสิทธิเป็นทายาทโดยสันนิษฐาน ในกรณีที่เกี่ยวกับรัชทายาทของราชบัลลังก์ “ทายาทโดยสันนิษฐาน” อาจจะเป็นพระราชธิดาในพระมหากษัตริย์ (ถ้าพระราชโอรสมีสิทธิเหนือกว่าพระราชธิดาและพระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชโอรส) หรือสมาชิกผู้มีอาวุโสของสายที่มีสิทธิในกรณีที่พระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชโอรสหรือธิดาตาม เมื่อทายาทผู้มีสิทธิโดยตรงถือกำเนิด ผู้นั้นก็ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิคนแรกในราชบัลลังก์และผู้สืบเชื้อสายจากทายาทของ “ทายาทผู้มีสิทธิโดยตรง” ก็จะมีสิทธิเหนือกว่า “ทายาทโดยสันนิษฐาน” ตามลำดับการสืบสันตติวงศ์ (Order of succession) ที่กำหนดไว้.

ใหม่!!: พระยาอายลองและทายาทโดยสันนิษฐาน · ดูเพิ่มเติม »

นางจันทะมังคะละ

นางจันทะมังคะละ (စန္ဒာမင်းလှ, สั่นด่ามิงละ; ? – 1363/64) (พงศาวดารมอญพม่าสะกดว่านางจันทรมังคละ) เป็นพระอัครมเหสีของพระเจ้าเมาะตะมะ 3 พระองค์ พระเจ้ารามมะไตยพระสวามีพระองค์แรกถูกชีปอนลอบปลงพระชนม์ พระนางจึงยกราชสมบัติให้พระยาอายกำกอง (စောအဲကံကောင်း ซอเอกั่นเกาง์) ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของกษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 6 แห่งเมาะตะมะ แต่ภายหลังพระนางวางยาพิษปลงพระชนม์พระยาอายกำกอง แล้วเชิญพระยาอายลาว (ဗညားအဲလော บะญาเอลอ) พระเชษฐาต่างพระมารดาจากเมืองสะโตงมาเสวยราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 7ประชุมพงศาวดารเล่ม 2, หน้า 25 นับเป็นพระสวามีพระองค์ที่ 3 ของพระนาง ทำให้สุโขทัยยกทัพมารุกราน พระยาอายลาวทรงพ่ายแพ้ในสงครามครั้งนี้.

ใหม่!!: พระยาอายลองและนางจันทะมังคะละ · ดูเพิ่มเติม »

โรคฝีดาษ

ฝีดาษตามลำตัวของผู้ป่วย การระบาดของฝีดาษในยุโรป การติดเชื้อฝีดาษของชาวอเมริกันอินเดียนจากชาวยุโรป ฝีดาษ, ไข้ทรพิษ หรือ ไข้หัว (Smallpox) เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจาก small poxvirus (Variolar) มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว และมีอาการทั่วไปรุนแรง โรคนี้ระบาดในประเทศอินเดีย บังคลาเทศ ปากีสถานและเอธิโอเปียเมื่อปี พ.ศ. 2519 สำหรับประเทศไทยมีการบันทึกไว้ว่าระบาดครั้งสุดท้ายปี พ.ศ. 2504 องค์การอนามัยโลกได้เลิกฉีดวัคซีนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513.

ใหม่!!: พระยาอายลองและโรคฝีดาษ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Binnya E Laung

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »