โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ราชาธิราช

ดัชนี ราชาธิราช

ราชาธิราช หรือชื่อในภาษาพม่า ยาซาดะริต อเยดอว์บอง (ရာဇာဓိရာဇ် အရေးတော်ပုံ) เป็นชื่อของพงศาวดารพม่า ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยประวัติศาสตร์ของอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญตั้งแต่ พ.ศ. 1830 ถึง พ.ศ. 1964 รายละเอียดภายในตัวพงศาวดารประกอบด้วยเรื่องราวของความขัดแย้งภายในราชสำนัก การกบฏ เรื่องราวทางการทูต การสงคราม เป็นต้น เนื้อหาประมาณกึ่งหนึ่งของเรื่องอุทิศพื้นที่ให้กับรัชกาลของพระเจ้าราชาธิราช โดยลงลึกในรายละเอียดของ สงครามสี่สิบปี ระหว่างอาณาจักรหงสาวดีของมอญ กับอาณาจักรอังวะของพม่า ภายใต้การนำของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง และอุปราชมังกะยอชวาThaw Kaung 2010: 29–30 ต้นฉบับของเรื่องราชาธิราชฉบับภาษาพม่ามาจากพงศาวดารภาษามอญเรื่อง "พงศาวดารกรุงหงสาวดี" ("Hanthawaddy Chronicle") และได้รับการแปลเป็นภาษาพม่าโดยพญาทะละ เสนาบดีและกวีชาวมอญซึ่งรับราชการในอาณาจักรพม่าสมัยราชวงศ์ตองอู นับได้ว่าเป็นเอกสารเกี่ยวกับชาวมอญในดินแดนพม่าตอนล่างที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่หลงเหลืออยู่Aung-Thwin 2005: 133–135 และอาจเป็นพงศาวดารมอญเพียงฉบับเดียวที่เหลือรอดจากการเผาทำลายเมืองพะโค (หงสาวดี) โดยกบฏชาวมอญภายใต้การนำของอดีตขุนนางในอาณาจักรหงสาวดีในปี พ.ศ. 2107Harvey 1925: xviii สำเนาใบลานของเรื่องราชาธิราชฉบับพญาทะละปัจจุบันเหลือรอดมาเพียง 4 ชุด สันนิษฐานว่าทำขึ้นในช่วงราวพุทธศตวรรษที่ 23 (คริสต์ศตวรรษที่ 18) นอกจากนี้ยังมีฉบับแปลฉบับอื่นๆ อยู่อีก รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ตามการวิเคราะห์โดยนายปันหละเมื่อปี พ.ศ. 2511 นายปันหละได้แปลราชาธิราชฉบับหนึ่งกลับเป็นภาษามอญเมื่อปี พ.ศ. 2501 และเรียบเรียงเรื่องราชาธิราชขึ้นใหม่อีก 1 ฉบับเป็นภาษาพม่า (นับเป็นราชาธิราชฉบับที่ 10) โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากราชาธิราชฉบับพญาทละ ฉบับ "ปากลัด" และบันทึกจากพงศาวดารพม่าฉบับหอแก้ว (มานนานยาซะเวง) รวมทั้งอาศัยข้อมูลเพิ่มเติมจากการวิจัยสมัยใหม่Pan Hla 1968: 3–4.

35 ความสัมพันธ์: ชาวมอญพ.ศ. 1830พ.ศ. 1964พ.ศ. 2107พ.ศ. 2310พ.ศ. 2328พ.ศ. 2423พ.ศ. 2501พ.ศ. 2511พญาทะละ (เสนาบดี)พม่าตอนล่างพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระนางเชงสอบูพระเจ้าฟ้ารั่วพระเจ้าฝรั่งมังฆ้องพระเจ้าราชาธิราชพระเจ้าธรรมเจดีย์พะโคพงศาวดารภาษาพม่าภาษามอญภาษาไทยมังกะยอชวาราชวงศ์ตองอูละครสงครามสี่สิบปีอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)อาณาจักรหงสาวดีอาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอังวะอำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการประวัติศาสตร์แดน บีช บรัดเลย์เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

ชาวมอญ

มอญ (မွန်လူမျိုး; မန် หรือ မည်; IPA:; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร.

ใหม่!!: ราชาธิราชและชาวมอญ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1830

ทธศักราช 1830 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 1830 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 1964

ทธศักราช 1964 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 1964 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2107

ทธศักราช 2107 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 2107 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2310

ทธศักราช 2310 ตรงกับคริสต์ศักราช 1767 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินจูเลียน.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 2310 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2328

ทธศักราช 2328 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 2328 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2423

ทธศักราช 2423 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1880.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 2423 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2501

ทธศักราช 2501 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1958 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 2501 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2511

ทธศักราช 2511 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1968 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพ.ศ. 2511 · ดูเพิ่มเติม »

พญาทะละ (เสนาบดี)

อัครมหาเสนาบดีพญาทะละ (အဂ္ဂမဟာသေနာပတိ ဗညားဒလ,; บางครั้งเรียก พญาทะละ, 1518 – 1573) รัฐบุรุษ,นายพลและนักปราชญ์ชาวพม่าในระหว่างรัชสมัย พระเจ้าบุเรงนอง แห่ง ราชวงศ์ตองอู เขาเป็นที่ปรึกษาและนายพลที่พระเจ้าบุเรงนองไว้วางพระราชหฤทัยมากที่สุดและเป็นกุญแจสำคัญในการขยายและปกป้องดินแดนของ อาณาจักรตองอู ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1550 กระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน..

ใหม่!!: ราชาธิราชและพญาทะละ (เสนาบดี) · ดูเพิ่มเติม »

พม่าตอนล่าง

ม่าตอนล่างแสดงด้วยสีชมพู พม่าตอนบนแสดงด้วยสีส้ม พม่าตอนล่าง (Lower Burma; အောက်မြန်မာပြည်) บางครั้งเรียก พม่านอก (Outer Myanmar) เป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของพม่าอยู่ในบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี (เขตอิรวดี, เขตพะโค และเขตย่างกุ้ง) และพื้นที่ตามแนวชายฝั่งของประเทศ (รัฐยะไข่, รัฐมอญ และเขตตะนาวศรี) ในภาษาพม่า ประชาชนที่มาจากพม่าตอนบนมักเรียกว่า อะ-เทต-ตา สำหรับผู้ชาย และ อะ-เทียต-ลฮู สำหรับผู้หญิง ในขณะที่ประชาชนที่มาจากพม่าตอนล่างจะเรียกว่า เอาะตา สำหรับผู้ชาย และ เอาะธู สำหรับผู้หญิง ส่วน อะ-ญา-ตา หมายถึงประชาชนที่อาศัยอยู่ส่วนในของประเทศ ในทางประวัติศาสตร์ พม่าตอนล่างหมายถึงดินแดนของพม่าที่ถูกผนวกเข้ากับจักรวรรดิบริติชหลังจากสิ้นสุดสงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่สอง ใน..

ใหม่!!: ราชาธิราชและพม่าตอนล่าง · ดูเพิ่มเติม »

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

ระบาทสมเด็จพระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนารถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (พระราชสมภพ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 — สวรรคต 7 กันยายน พ.ศ. 2352) เป็นพระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ 1 ในราชวงศ์จักรี เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพุธ เดือน 4 แรม 5 ค่ำ ปีมะโรงอัฐศก เวลา 3 ยาม ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม..

ใหม่!!: ราชาธิราชและพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

พระนางเชงสอบู

ระนางเชงสอบู (ရှင်စောပု,; သေဝ်စါဝ်ပေါအ်; อักษรโรมัน: Shin Sawbu; ในราชาธิราชฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถอดเสียงเป็น แสจาโป) หรือ พระนางพระยาท้าว, ตละเจ้าปุ, พระนางพญาท้าว, ตละเจ้าท้าว และ นางพระยาตละเจ้าท้าว (ဗညားထောဝ်; อักษรโรมัน: Binnya Thau) เป็นกษัตริย์หญิงแห่งอาณาจักรมอญเพียงพระองค์เดียวที่ปกครองชาวมอญเป็นเวลา 17 ปี (พ.ศ. 1996 - 2013) และถือเป็นกษัตริย์ในราชวงศ์ฟ้ารั่วองค์สุดท้ายที่ปกครองอาณาจักรมอญ พระองค์เป็นพระราชธิดาในพระเจ้าราชาธิราช หลังจากพระเจ้าราชาธิราชเสด็จสวรรคต ได้มีกษัตริย์สืบต่อมาอีกหลายพระองค์จนสิ้นรัชทายาทที่เป็นบุรุษ จึงได้ยกพระนางขึ้นปกครองแทน.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพระนางเชงสอบู · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฟ้ารั่ว

ระเจ้าฟ้ารั่ว (ဝါရီရူး,; 20 มีนาคม 1253 – ประมาณ 14 มกราคม 1307) เป็นปฐมกษัตริย์ในเมืองเมาะตะมะ ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตประเทศพม่า ทรงครองราชสมบัติระหว่าง..

ใหม่!!: ราชาธิราชและพระเจ้าฟ้ารั่ว · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง

ฝรั่งมังฆ้อง หรือภาษาพม่าว่า ปฐมมินกอง (ပထမ မင်းခေါင်; 1373–1422) หรือ พระเจ้ามนเทียรทอง เป็นพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอังวะตั้งแต่ปี 1400 ถึงปี 1422 เป็นที่รู้จักในพงศาวดารพม่าเกี่ยวกับการทำสงครามกับพระเจ้าราชาธิราช (Razadarit) แห่งราชอาณาจักรหงสาวดีตั้งแต่ปี 1385 ถึงปี 1424 ซึ่งเรียก "สงครามสี่สิบปี" (Forty Years' War) และในฐานะที่เป็นพระบิดาของมังรายกะยอชวา (Minyekyawswa) พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องเสด็จสู่ราชสมบัติหลังจากพระเจ้าพี่ยาเธอถูกปลงพระชนม์เมื่อปี 1400 ในช่วงแรกหลังเสวยราชย์ คือ ระหว่างปี 1400 ถึงปี 1406 พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงเผชิญความวุ่นวายทั้งภายในและภายนอก เกิดการกระด้างกระเดื่องไปทั่ว มีการรุกรานจากไทใหญ่ด้านทิศเหนือ ยะไข่ทางด้านตะวันตก พร้อมด้วยสงครามกับพระเจ้าราชาธิราชกษัตริย์มอญจากทางใต้ ครั้นปี 1406 พระเจ้าฝรั่งมังฆ้องทรงกุมสถานการณ์ทั้งหมดและทรงสามารถตีต้านได้ ในปีนั้นเองทรงมีชัยเหนือไทใหญ่ ครั้นปี 1404 ถึง 1414 กองทัพอาณาจักรอังวะและอาณาจักรหงสาวดีสู้กันอย่างดุเดือดในพม่าตอนใต้ พม่าตอนเหนือ และรัฐยะไข่ ขณะที่ราชวงศ์หมิงก็คอยยุยงให้ไทใหญ่ส่งการก่อกวนเข้าประสมโรงเป็นระยะ ๆ มาตั้งแต่ปี 1413Phayre 1883: 58–60 พอปี 1417 มังรายกะยอชวาพระโอรสเกือบมีชัยชนะเหนืออาณาจักรหงสาวดีในพม่าตอนใต้ได้ทั้งหมด แต่ต้องศัสตราวุธถึงแก่พระชนม์ในที่รบเสียก่อน มอญและพม่ายังคงรบรากันต่อไปจนปี 1418 ก็เบื่อหน่ายสงครามและเลิกรากันไปในที่สุดHtin Aung 1967: 90–93.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าราชาธิราช

ระเจ้าราชาธิราช (ရာဇာဓိရာဇ်, หย่าซาดะยิต; ค.ศ. 1368–1421) มีพระนามเดิมว่า พญาน้อย (ဗညားနွဲ့) ทรงเป็นกษัตริย์มอญแห่งราชอาณาจักรหงสาวดี ระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชาธิราชและพระเจ้าราชาธิราช · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าธรรมเจดีย์

ระเจ้าธรรมเจดีย์ (ဓမ္မစေတီ,; c. 1409–1492) กษัตริย์องค์ที่ 16 แห่ง อาณาจักรหงสาวดี ครองสิริราชสมบัติระหว่างปี..

ใหม่!!: ราชาธิราชและพระเจ้าธรรมเจดีย์ · ดูเพิ่มเติม »

พะโค

(ပဲခူးမြို့, Bago หรือ Pegu) หรือชื่อในอดีตคือ หงสาวดี (ဟံသာဝတီ, หงสาวะโตย; Hongsawatoi, Hanthawaddy, Hanthawady, Hanthawadi หรือ Handawaddy) เป็นเมืองหลวงของเขตหงสาวดี ตั้งอยู่ใกล้เมืองเมาะตะมะ ทางตอนใต้ของประเทศพม่า นครหงสาวดีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรหงสาวดีของชาวมอญ และอาณาจักรตองอูของชาวพม.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพะโค · ดูเพิ่มเติม »

พงศาวดาร

งศาวดาร คือบันทึกเหตุการณ์เกี่ยวกับประเทศชาติหรือพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของประเทศชาตินั้น ๆ พงศาวดารในฐานะหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ปัจจุบันมีการถกเถียงกันเรื่องความน่าจะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า เป็นหลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานชั้นรอง เพราะมีการเขียนพงศาวดารหลายฉบับในลักษณะที่คล้ายกันแต่แตกต่างกันในเนื้อหาและรายละเอียด ประกอบกับการใช้ศักราชในพงศาวดารไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ บ้างใช้มหาศักราช บ้างใช้จุลศักราช และพงศาวดารมีการเขียนขึ้นภายหลังเหตุการณ์ เช่น พระราชพงศาวดารฉบับเถื่อน ซึ่งเขียนขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่กล่าวถึงก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นต้น.

ใหม่!!: ราชาธิราชและพงศาวดาร · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาพม่า

ษาพม่า หรือ ภาษาเมียนมา (MLCTS: myanma bhasa) เป็นภาษาราชการของประเทศพม่า จัดอยู่ในในตระกูลภาษาย่อยทิเบต-พม่า อันเป็นสาขาย่อยของตระกูลภาษา โดยเป็นภาษาแม่ของคนประมาณ 32 ล้านคนในพม่า และเป็นภาษาที่สองของชนกลุ่มน้อยในพม่า และในประเทศอินเดีย ประเทศบังกลาเทศ ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย และสหรัฐอเมริกา ภาษาพม่าเป็นภาษาที่มีระดับเสียง หรือวรรณยุกต์ มีวรรณยุกต์ 4 เสียงและเขียนโดยใช้อักษรพม่า ซึ่งดัดแปลงจากอักษรมอญอีกทอดหนึ่ง และจัดเป็นสมาชิกในตระกูลอักษรพราหมี รหัส ISO 639 สำหรับภาษาพม่าคือ 'my' และรหัส SIL คือ BMS.

ใหม่!!: ราชาธิราชและภาษาพม่า · ดูเพิ่มเติม »

ภาษามอญ

ษามอญ (เพียซาโหม่น) เป็นภาษาในตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก กลุ่มภาษามอญ-เขมร ซึ่งเป็นสายหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร 12 สาย พูดโดยชาวมอญ ที่อาศัยอยู่ในพม่า และไทย ภาษาตระกูลมอญ-เขมรมีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปีมาแล้ว มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน อักษรมอญ ที่เก่าแก่ที่สุดนั้น ค้นพบในประเทศไทย หลักฐานที่พบคือ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ และได้พบอักษรที่มอญประดิษฐ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี ข้อความที่จารึกเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา สันนิษฐานว่า จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว..

ใหม่!!: ราชาธิราชและภาษามอญ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: ราชาธิราชและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

มังกะยอชวา

มังกะยอชวา (พระนามภาษาพม่า: မင်းကြီးစွာ; อักษรโรมัน: Minyekyawswa, Minchit Sra; ออกเสียง: เมงเยจอสวา) หรือ มังสามเกียด (ตามที่พงศาวดารไทยและพงศาวดารมอญเรียก) เป็นพระราชโอรสในพระเจ้านันทบุเรง เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์ไทยโดยทรงนำทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาหลายครั้ง รวมถึงได้ทรงทำยุทธหัตถีกับสมเด็จพระนเรศวรมหาร.

ใหม่!!: ราชาธิราชและมังกะยอชวา · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์ตองอู

ราชวงศ์ตองอู (Toungoo Dynasty; တောင်ငူခေတ်) ราชวงศ์ที่ 2 ในประวัติศาสตร์พม่า ภายหลังจากราชวงศ์พุกาม ราชวงศ์แรกล่มสลายลงจากการรุกรานของชาวมองโกลโดยกุบไลข่าน พระเจ้าเมงจีโย ได้รวบรวมชาวพม่าที่หลงเหลืออยู่อย่างกระจัดกระจาย โดยสถาปนาเมืองตองอูขึ้นเป็นราชธานี เพราะเป็นเมืองที่อยู่ในขุนเขาซึ่งเป็นปราการที่เข้มแข็ง ตองอูเข้มแข็งขึ้นมารัชสมัยของ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ พระโอรสของพระองค์ที่ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรขยายไปรอบด้าน เช่น แปร, พะสิม อังวะ, ยะไข่ และที่สำคัญที่สุดคือ หงสาวดี อันเป็นอาณาจักรเดิมของมอญ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของพม่า ยุคสมัยของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ได้ครอบคลุมอาณาจักรพม่าทั้งตอนบนและตอนล่างลุ่มน้ำอิระวดี อีกทั้งได้บุคลากรที่สำคัญ เช่น มหาอุปราชาบุเรงนอง, เมงเยสีหตู ร่วมกันสร้างอาณาจักรให้ยิ่งใหญ่ เข้มแข็ง และได้ย้ายเมืองหลวงจากตองอูมายังหงสาวดี ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ เมืองต่าง ๆ ที่เคยขึ้นต่ออาณาจักร ก็แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นตรงต่อไป มีกบฏเกิดขึ้นมากมาย มหาอุปราชาบุเรงนองต้องใช้เวลาปราบปรามอยู่ราวอีก 2-3 ปี จึงจะได้ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ ในรัชสมัยของพระเจ้าบุเรงนอง ได้แผ่อาณาเขตของอาณาจักรตองอู ให้กว้างขวางยิ่งขึ้นโดยครอบคลุมตั้งแต่ลุ่มน้ำอิระวดี ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ไปจรดถึงลุ่มน้ำโขงในลาว มีเมืองเป็นประเทศราชต่าง ๆ มากมาย เช่น เชียงใหม่, ฉาน, อยุธยา, ล้านช้าง, กัมพุช เป็นต้น จนได้การขนานพระนามว่าเป็น "พระเจ้าชนะสิบทิศ" แต่ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบุเรงนอง ศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรถูกสั่นคลอน เนื่องจากการปกครองอย่างแข็งกร้าว ไร้ไมตรีของพระเจ้านันทบุเรง พระราชโอรสของพระองค์ เมืองที่เคยขึ้นเป็นประเทศราชต่าง ๆ ต่างแข็งเมืองและได้ประกาศอิสรภาพ ทำสงครามรบพุ่งกันตลอดมา เช่น แปร, อังวะ, อยุธยา เป็นต้น ในที่สุดเมืองทั้งหลายเหล่านี้ก็แตกแยกกระจัดกระจายออกไป และภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้านันทบุเรง ราชวงศ์ตองอูก็ยังได้สืบราชสมบัติต่อมา แต่ไม่มีกษัตริย์พระองค์ใดที่เข้มแข็งพอที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำกอบกู้อาณาจักรขึ้นมา แม้นจะมีความพยายามจากพระเจ้าอโนเพตลุน ราชนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง ซึ่งเรียกกันว่า "ยุคนยองยาน" (Nyaungyan Dynasty) แต่ก็สำเร็จเพียงชั่วระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากยุคนี้แล้ว มอญสามารถตั้งตัวได้และขึ้นมาเป็นใหญ่แทน ก่อนที่ทางพม่าจะสถาปนาศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาอีกครั้งในสมัยพระเจ้าอลองพญา ในทางวิชาการ นักประวัติศาสตร์ได้แบ่งราชวงศ์ตองอูไว้เป็น 2 ยุค คือ ราชวงศ์ตองอูตอนต้น กินระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2029 - พ.ศ. 2142 คือตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าเมงจีโยจนถึงพระเจ้านันทบุเรง และราชวงศ์ตองอูตอนปลายหรือยุคหลัง ตั้งแต่ พ.ศ. 2140 - พ.ศ. 2295 ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้านยองยานจนถึงการสถาปนาอำนาจขึ้นมาของพระเจ้าอลองพญ.

ใหม่!!: ราชาธิราชและราชวงศ์ตองอู · ดูเพิ่มเติม »

ละคร

ละคร หมายถึงการแสดงรำที่เป็นเรื่องเป็นราว ดำเนินเรื่องไปโดยลำดับ มีตัวเอกของเรื่อง ฝ่ายชายเรียกว่าตัวพระ เพราะสมัยโบราณแสดงแต่เรื่องจักรๆวงศ์ๆ เป็นเรื่องของกษัตริย์ มีชื่อว่าพระต่างๆ เช่น พระอนิรุทธิ์ พระไชยเชษฐ์ พระอภัยมณี ฝ่ายหญิงเรียกว่า ตัวนาง เพราะในเรื่องที่แสดงมักชื่อว่านางต่างๆ เช่น นางสีดา นางบุษบา นางทิพย์เกสร ยังไม่มีการแบ่งเป็นนางสาวและนางที่มีสามีแล้ว และตัวประกอบอื่นๆแล้วแต่ในเรื่องจะมีละครมีหลายแบบ แต่ละวฝฝใมีการแสดงและความมุ่งหมายแตกต่างกัน เช่น ละครโนรา ละครนอก ละครใน ละครถาม😴😴😴😴😴 และละครดึกดำบรรพ์ ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการจดบันทึกโดย ซิมง เดอ ลาลูแบร์ ราชฑูตแห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส ใน ปี..

ใหม่!!: ราชาธิราชและละคร · ดูเพิ่มเติม »

สงครามสี่สิบปี

งครามสี่สิบปี (အနှစ်လေးဆယ်စစ်; Forty Years' War) หรือ สงครามพม่ามอญ (Mon-Burmese War) หรือ สงครามหงสาอังวะ (Ava-Pegu War) เป็นการขัดกันทางทหารระหว่างฝ่ายพม่า คือ อาณาจักรอังวะ กับฝ่ายมอญ คือ อาณาจักรหงสาวดี ตั้งแต่ปี 1385 ถึงปี 1424 โดยรบรากันเป็นสองช่วงแยกกัน คือ ช่วงปี 1385 ถึงปี 1391 แล้วหย่าศึกกันตั้งแต่ปี 1391 ถึงปี 1404 จึงกลับมาสับประยุทธ์กันอีกตั้งแต่ปี 1404 ถึงปี 1424 สมรภูมิหลักนั้นปัจจุบันอยู่ในพม่าตอนล่าง พม่าตอนบน ชาน และยะไข่ สงครามคราวนี้สิ้นสุดลงโดยที่ต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชัยเหนือกัน กรุงหงสาวดีสามารถรักษาเอกราชไว้ได้ ขณะที่กรุงอังวะจำต้องเลิกล้มความพยายามที่จะสถาปนาอาณาจักรพุกามขึ้นอีกครั้ง.

ใหม่!!: ราชาธิราชและสงครามสี่สิบปี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์)

ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ เป็นราชอาณาจักรที่สี่ในยุคประวัติศาสตร์ของไทย เริ่มตั้งแต่การย้ายเมืองหลวงจากฝั่งกรุงธนบุรี มายังกรุงเทพมหานคร ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ 6 เมษายน..

ใหม่!!: ราชาธิราชและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์) · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรหงสาวดี

อาณาจักรหงสาวดี (ဟံသာဝတီ ပဲခူး နေပြည်တော်;,; บางครั้งเรียก กรุงหงสาวดี หรืออย่างสั้น พะโค) เป็นอาณาจักรที่ปกครองพม่าตอนล่างตั้งแต..

ใหม่!!: ราชาธิราชและอาณาจักรหงสาวดี · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอยุธยา

ำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา ระวังสับสนกับ อโยธยา อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วง พ.ศ. 1893 ถึง พ.ศ. 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางอำนาจหรือราชธานี ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน เนเธอร์แลนด์ (ฮอลันดา) อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งในช่วงเวลาหนึ่งเคยสามารถขยายอาณาเขตประเทศราชถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนาน อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมลายูในปัจจุบัน.

ใหม่!!: ราชาธิราชและอาณาจักรอยุธยา · ดูเพิ่มเติม »

อาณาจักรอังวะ

อาณาจักรอังวะ (Ava Kingdom; အင်းဝခေတ်) อาณาจักรอิสระที่ปกครอง พม่าตอนบน ระหว่าง..

ใหม่!!: ราชาธิราชและอาณาจักรอังวะ · ดูเพิ่มเติม »

อำเภอพระประแดง

ระประแดง เป็นอำเภอที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในจังหวัดสมุทรปราการ ในอดีตมีฐานะเป็นศูนย์กลางของจังหวัดพระประแดง แต่ต่อมาถูกยุบรวมเข้ากับจังหวัดสมุทรปราการดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: ราชาธิราชและอำเภอพระประแดง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดสมุทรปราการ

ังหวัดสมุทรปราการ เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย และยังเป็นจังหวัดในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร จัดตั้งขึ้นครั้งล่าสุดโดย พระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดนครนายก พุทธศักราช 2489 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2489.

ใหม่!!: ราชาธิราชและจังหวัดสมุทรปราการ · ดูเพิ่มเติม »

ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ (history; รากศัพท์ภาษากรีก ἱστορία หมายถึง "การสอบถามหาความรู้ที่ได้มาโดยการสอบสวน") เป็นการค้นพบ ค้นหา รวบรวม จัดระเบียบและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีตประวัติศาสตร์ยังอาจหมายถึงช่วงเวลาหลังมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้น นักวิชาการผู้เขียนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เรียกนักประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์เป็นสาขาการวิจัยซึ่งใช้การบรรยายเพื่อพิจารณาและวิเคราะห์ลำดับของเหตุการณ์ และบางครั้งพยายามสอบสวนรูปแบบของเหตุและผลซึ่งมีอิทธิพลต่อเหตุการณ์อย่างยุติธรรม นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันเรื่องธรรมชาติของประวัติศาสตร์และประโยชน์ของมัน ซึ่งรวมทั้งถกเถียงการศึกษาสาขาวิชาเป็นจุดจบในตัวมันเองและเป็นเสมือนวิถีการให้ "มุมมอง" ต่อปัญหาในปัจจุบันp 52 เรื่องเล่าซึ่งเป็นสิ่งธรรมดาในวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ไม่มีการสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลภายนอก (เช่น ตำนานเกี่ยวกับกษัตริย์อาเธอร์) มักจัดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมากกว่า "การสอบสวนอย่างไม่นำพา" ที่จำเป็นตามสาขาประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ในอดีตก่อนมีบันทึกลายลักษณ์อักษรเรียกว่า ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ในบรรดานักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล เฮโรโดตัส ถูกพิจารณาว่าเป็น "บิดาแห่งประวัติศาสตร์" เขาร่วมกับธูซิดดิดีส0 นักประวัติศาสตร์ร่วมสมัย ก่อตั้งรากฐานของการศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ อิทธิพลของพวกเขา ร่วมกับแบบแผนทางประวัติศาสตร์อื่นในส่วนอื่นของโลก ได้ก่อให้เกิดการตีความธรรมชาติของประวัติศาสตร์ไปต่าง ๆ นานา ซึ่งได้วิวัฒนามาเป็นเวลาหลายศตวรรษและยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ในปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่มีหลายสาขา รวมทั้งสาขาที่มุ่งศึกษาภูมิภาคหนึ่งโดยเฉพาะ และสาขาที่มุ่งศึกษาองค์ประกอบเฉพาะหัวข้อหรือใจความของการสอบสวนประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์มักสอนเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาขั้นประถมและมัธยม และการศึกษาวิชาการประวัติศาสตร์เป็นสาขาหลักในระดับอุดมศึกษ.

ใหม่!!: ราชาธิราชและประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

แดน บีช บรัดเลย์

หมอบรัดเลย์ หรือ แดน บีช แบรดลีย์ แพทยศาสตรบัณฑิต (Dan Beach Bradley) หรือบางคนเขียนเป็น หมอบรัดเล หมอปลัดเล หมอปรัดเล หรือ หมอปรัดเลย์ เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 3 และยังเป็นผู้เริ่มต้นการพิมพ์อักษรไทยในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และทำการผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก.

ใหม่!!: ราชาธิราชและแดน บีช บรัดเลย์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าพระยาพระคลัง (หน)

้าพระยาพระคลัง (หน) เป็นขุนนางและ กวี เอกคนหนึ่งในสมัยต้น กรุงรัตนโกสินทร์ มีนามเดิมว่า หน เกิดเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด น่าจะอยู่ในช่วงปลายสมัย กรุงศรีอยุธยา และถึงแก่ อสัญกรรม ในสมัยรัชกาลที่ 1..

ใหม่!!: ราชาธิราชและเจ้าพระยาพระคลัง (หน) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Razadarit Ayedawbon

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »