โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ที่ราบก้นสมุทร

ดัชนี ที่ราบก้นสมุทร

แผนภาพตัดตามขวางของแอ่งมหาสมุทร แสดงความสัมพันธ์ระหว่างที่ราบก้นสมุทรกับลาดตีนทวีปและร่องลึกก้นสมุทร ภาพแสดงเขตความลึกก้นสมุทรโดยสัมพันธ์กับเขตทะเลลึกอื่นๆ ที่ราบก้นสมุทร (Abyssal plain) เป็นที่ราบใต้น้ำตรงบริเวณก้นสมุทร โดยทั่วไปจะพบที่ความลึกระหว่าง 3,000 ถึง 6,000 เมตร และอยู่ระหว่างลาดตีนทวีปกับเทือกเขากลางสมุทร มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นผิวโลก มันเป็นพื้นที่ ๆ แบนและราบเรียบที่สุดแต่ได้รับการศึกษาน้อยมาก ที่ราบเหล่านี้เป็นองค์ประกอบทางธรณีวิทยาที่สำคัญของแอ่งมหาสมุทร (องค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ เทือกเขากลางสมุทรที่ยกตัวขึ้น และเขาก้นสมุทรที่ขนาบข้าง) นอกจากองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว โดยปกติแอ่งมหาสมุทรมีพลัง (เชื่อมโยงกับรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกที่เคลื่อนไหวอยู่) จะมีร่องลึกก้นสมุทรและเขตมุดตัวของเปลือกโลกรวมอยู่ด้ว.

6 ความสัมพันธ์: การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคก้นทะเลร่องลึกก้นสมุทรลาดตีนทวีปที่ราบเทือกเขากลางสมุทร

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: ที่ราบก้นสมุทรและการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

ก้นทะเล

วนของก้นสมุทร ก้นสมุทร (seabed) อาจเรียกว่า พื้นท้องมหาสมุทร หรือ ก้นสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทรและเป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดตีนทวีปเป็นต้นไป เป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นที่ใต้ทะเลจึงมีขนาดกว้างขว้างมาก มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย มีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ หุบผาชันใต้ทะเล เทือกเขากลางสมุทร ที่ราบสูง แอ่งมหาสมุทร ภูเขา เช่น เทือกเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติกา บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์ส เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ สันเขานี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร ส่วนแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทรขนาดใหญ่นั้นก็คือบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง ระดับความลึกของน้ำบริเวณนี้จะลึกประมาณ 4,000-6,000 เมตร ส่วนของมหาสมุทร (พื้นท้องมหาสมุทร).

ใหม่!!: ที่ราบก้นสมุทรและก้นทะเล · ดูเพิ่มเติม »

ร่องลึกก้นสมุทร

ปลือกโลกใต้มหาสมุทรจะเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทรขณะที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจะถูกมุดกลับเข้าไปในชั้นฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร ร่องลึกก้นสมุทร (oceanic trench) เป็นร่องหลุมลึกของพื้นผิวท้องทะเลที่มีลักษณะภูมิประเทศยาว แคบ และโค้ง และถือว่าเป็นส่วนของมหาสมุทรที่ลึกที่สุด ร่องลึกก้นสมุทรถือเป็นหนึ่งในขอบเขตทางธรรมชาติที่สำคัญที่สุดบนพื้นผิวในส่วนที่เป็นของแข็งของโลกระหว่างแผ่นเปลือกโลกสองแผ่น ขอบเขตระหว่างแผ่นธรณีภาคชั้นนอกมี 3 ประเภท คือ ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว (divergent boundary) (เป็นขอบเขตที่เกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร) ขอบเขตแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent boundary) (เป็นขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกจมลงไปใต้อีกแผ่นหนึ่งกลับลงไปสู่ชั้นเนื้อโลก) และขอบเขตที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกเคลื่อนที่ผ่านซึ่งกันและกัน (transform boundary) ร่องลึกก้นสมุทรเป็นลักษณะของขอบเขตระหว่างแผ่นเปลือกโลกที่โดดเด่นชัดเจน โดยเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที่เข้าหากันด้วยอัตราการลู่เข้าหากันที่แปรผันจากปีละไม่กี่มิลลิเมตรจนไปถึงสิบเซนติเมตรหรือมากกว่า ร่องลึกก้นสมุทรหนึ่งๆเป็นตำแหน่งที่แผ่นธรณีภาคชั้นนอกหนึ่งมีการโค้งมุดลงไปใต้แผ่นธรณีภาคชั้นนอกอีกแผ่นหนึ่ง โดยทั่วไปแล้วร่องลึกก้นสมุทรจะขนานไปกับแนวหมู่เกาะรูปโค้ง (volcanic arc) และอยู่ห่างจากแนวหมู่เกาะรูปโค้งออกไปประมาณ 200 กิโลเมตร โดยทั่วไปร่องลึกก้นสมุทรจะมีความลึกประมาณ 3 ถึง 4 กิโลเมตรลงไปจากพื้นมหาสมุทรรอบข้าง ส่วนที่ลึกที่สุดอยู่ที่ร่องลึกชาลเลนเจอร์ของร่องลึกก้นสมุทรมาเรียน่าซึ่งมีความลึก 10,911 เมตรใต้ระดับทะเล แผ่นธรณีภาคชั้นนอกใต้มหาสมุทรจะเคลื่อนที่หายเข้าไปในร่องลึกก้นสมุทรด้วยอัตราประมาณ 10 ตารางเมตรต่อวินาที.

ใหม่!!: ที่ราบก้นสมุทรและร่องลึกก้นสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

ลาดตีนทวีป

วนของท้องทะเล ลาดตีนทวีป (continental rise) เป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดทวีปไปจนถึงพื้นท้องสมุทร (seabed) มีลักษณะเป็นที่ราบเรียบและอาจมีความชันเล็กน้อย และอาจมีบางส่วนลึกหรือเป็นที่สูงต่ำ เกิดจากการตกทับถมของตะกอนต่าง ๆ ที่พัดพามากับกระแสน้ำ บ้างปรากฏเป็นเขาก้นสมุทร (abyssal hill) ไม่สูงมาก พบได้ทั่วไป บางส่วนของลาดตีนทวีปนั้นก็มีความราบเรียบเท่ากันกับพื้นท้องมหาสมุทรที่เป็นพื้นที่ของมหาสมุทรนั้นมีลักษณะภูมิประเทศหลากหลายอันได้แก่ สันเขา ที่ราบสูง แอ่ง ภูเขา เช่น เทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติก ซึ่งทอดยาวจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติก มีบางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำทะเลกลายเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์สหรือหมู่เกาะฮาวาย ลักษณะภูมิประเทศอื่น ๆ ได้แก่ ภูเขาใต้ทะเล พบที่พื้นท้องมหาสมุทร บางลูกมียอดตัด เรียกว่า เขายอดราบใต้สมุทร (guyout) พบมากบริเวณตอนกลางและด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่างหมู่เกาะมาเรียนากับหมู่เกาะฮาวาย สำหรับยอดเขายอดราบใต้สมุทรนั้นมักอยู่ที่ระดับน้ำลึก 1,200–1,800 เมตร ส่วนของมหาสมุทร(ลาดทวีป).

ใหม่!!: ที่ราบก้นสมุทรและลาดตีนทวีป · ดูเพิ่มเติม »

ที่ราบ

ูเขาอารารัตในคอเคซัส โดยมีที่ราบอารารัตอยู่ด้านหน้า ในวิชาภูมิศาสตร์ ที่ราบ หรือ พื้นราบ เป็นแผ่นดินเรียบกวางใหญ่ซึ่งปกติมีการเปลี่ยนแปลงระดับความสูงไม่มาก ที่ราบเกิดเป็นที่ลุ่มตามก้นของหุบเขาหรือเป็นประตูสู่ภูเขา เป็นที่ราบชายฝั่ง และที่ราบสูงหรือที่ดอน ในหุบเขาที่ราบจะถูกขนาบทั้งสองด้นา แต่บางทีที่ราบอาจแสดงขอบเขตโดยวงแหวนเขาครบวงหรือไม่ครบวง โดยภูเขาหรือหน้าผา เมื่อบริเวณภูมิศาสตร์หนึ่งมีที่ราบมากกว่าหนึ่งแห่ง ที่ราบทั้งหลายอาจเชื่อมกันโดยช่องเขา (pass หรือ gap) ที่ราบชายฝั่งส่วนใหญ่สูงกว่าระดับน้ำทะเลจนไปบรรจบภูเขาหรือที่ราบสูง ที่ราบเป็นธรณีสัณฐานหลักอย่างหนึ่งของโลก โดยปรากฏอยู่ในทุกทวีป และกินอาณาบริเวณกว่าหนึ่งในสามของพื้นที่ดินของโลก ที่ราบอาจเกิดขึ้นระหว่างลาวาไหล มีการทับถมโดยน้ำ น้ำแข็งหรือลม หรือเกิดจากการกร่อนด้วยตัวการดังกล่าวจากเขาและภูเขา ปกติที่ราบอยู่ภายใต้ชีวนิเวศทุ่งหญ้า (เขตอบอุ่นหรือกึ่งเขตร้อน) สเตปป์ (กึ่งแห้งแล้งจัด) สะวันนา (เขตร้อน) หรือทันดรา (ขั้วโลก) ในบางกรณี บริเวณแห้งแล้งและป่าฝนก็เป็นที่ราบได้ ที่ราบในหลายพื้นที่มีความสำคัญต่อเกษตรกรรมเพราะดินมีการทับถมเป็นตะกอนที่อาจลึกและอุดมสมบูรณ์ และความราบช่วยเอื้อต่อการผลิตพืชผลโดยใช้เครื่องจักร หรือเพราะเอื้อต่อทุ่งหญ้าซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีสำหรับปศุสัตว.

ใหม่!!: ที่ราบก้นสมุทรและที่ราบ · ดูเพิ่มเติม »

เทือกเขากลางสมุทร

ตำแหน่งการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ของเทือกเขากลางสมุทรของโลก จาก USGS เทือกเขากลางสมุทร เปลือกโลกใต้มหาสมุทรเกิดขึ้นที่เทือกเขากลางสมุทร ขณะที่ธรณีภาคชั้นนอกมุดลงไปยังฐานธรณีภาคที่ร่องลึกก้นสมุทร เทือกเขากลางสมุทร (mid-oceanic ridge) คือแนวเทือกเขาใต้ทะเลโดยจะมีแนวร่องหุบที่รู้จักกันในนามของร่องแยก (rift) ที่สันของแนวเทือกเขาซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการธรณีแปรสัณฐาน รูปแบบของเทือกเขากลางสมุทรนี้เป็นลักษณะที่รู้จักกันว่าเป็นแนว “ศูนย์กลางของการแยกแผ่ขยายออก” ซึ่งเป็นการแผ่ขยายออกของแผ่นเปลือกโลกใต้มหาสมุทร การยกตัวของพื้นมหาสมุทรเป็นผลเนื่องมาจากกระแสการพาความร้อน (convection currents) ซึ่งเป็นการดันตัวขึ้นมาของหินหนืดจากชั้นฐานธรณีภาคตามแนวที่อ่อนตัวของพื้นมหาสมุทรโดยการปะทุขึ้นมาในรูปของลาวา เกิดเป็นเปลือกโลกใหม่เมื่อเย็นตัวลง เทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวขอบเขตรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทางเทคโทนิกสองแผ่นและถือกันว่าเป็นแนวแผ่นเปลือกโลกแยกตัว เทือกเขากลางสมุทรของโลกมีการเชื่อมต่อกันเกิดเป็นระบบแนวเทือกเขากลางสมุทรระบบหนึ่งของทุกๆมหาสมุทรทำให้ระบบเทือกเขากลางสมุทรเป็นแนวเทือกเขาที่ยาวที่สุดของโลก แนวเทือกเขาที่ยาวต่อเนื่องกันนี้รวมกันแล้วมีความยาวทั้งสิ้นถึง 80,000 กิโลเมตร.

ใหม่!!: ที่ราบก้นสมุทรและเทือกเขากลางสมุทร · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Abyssal plain

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »