โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อูกโน (มิเล)

ดัชนี อูกโน (มิเล)

อูกโนในวันเซนต์บาร์โทโลมิว ไม่ยอมป้องกันตัวเองโดยการติดตราโรมันคาทอลิก หรือ อูกโนในวันเซนต์บาร์โทโลมิว (A Huguenot, on St.) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า อูกโน (A Huguenot) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษคนสำคัญที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1852 ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของงานสะสมส่วนบุคคล "อูกโน" เป็นภาพของคู่หนุ่มสามที่กำลังจะลาจากกันขณะที่ฝ่ายหญิงดูเหมือนจะพยายามอ้อนวอนให้ฝ่ายชายผูกผ้าขาวที่แขนเพื่อแสดงว่าเป็นโรมันคาทอลิกเพื่อเลี่ยงการถูกทำร้าย แต่ฝ่ายชายพยายามดึงผ้าขาวออกด้วยมือและแขนข้างเดียวกับที่กอดหญิงสาว เหตุการณ์ในภาพนี้มีอิทธิพลมาจากเหตุการณ์การสังหารหมู่วันเซนต์บาร์โทโลมิวที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1572 เมื่อชาวฝรั่งเศสที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ที่เรียกตนเองว่าอูกโนถูกสังหารไปเป็นจำนวนมากในปารีส ซึ่งนำไปสู่การกระทำเช่นเดียวกันทั่วไปในบริเวณอื่น ๆ ของฝรั่งเศส อูกโนบางคนหลบหนีจากการถูกทำร้ายโดยการผูกผ้าขาวที่แขนว่าเป็นโรมันคาทอลิก เมื่อเริ่มวาดมิเลก็เพียงแต่จะวาดภาพคู่รัก แต่วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ ศิลปินร่วมกลุ่มติว่าออกจะเป็นหัวเรื่องที่ดาด หลังจากที่ได้ชมอุปรากร "เลอูกโน" (Les Huguenots) โดยจาโกโม ไมเออร์เบร์ (Giacomo Meyerbeer) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสังหารหมู่แล้ว มิเลก็เปลี่ยนหัวข้อภาพให้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ว่า ในอุปรากรตัวละครวาเลนไทน์พยายามอ้อนวอนให้ราฟาเอลผูกผ้าขาวแต่ไม่สำเร็จTate Gallery, The Pre-Raphaelites, 1984, p.99 การเลือกหัวข้อที่สนับสนุนฝ่ายโปรเตสแตนต์ก็มีความสำคัญต่อทัศนคติต่อกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล ผู้ก่อนหน้านั้นถูกโจมตีว่ามีความเห็นอกเห็นใจในขบวนการออกซฟอร์ด (Oxford Movement) และโรมันคาทอลิก ดอกไม้ที่เลือกใช้ในภาพอาจจะเป็นเพราะความสนใจในภาษาดอกไม้คือการใช้ดอกไม้ในการสื่อความหมายในสมัยวิกตอเรีย เช่นดอกแคนเตอร์บรีเบลล์สีน้ำเงินทางซ้ายซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความศรัทธาและความแน่วแน่ "อูกโน" ตั้งแสดงพร้อมกับภาพ "โอฟีเลีย" ที่ราชสถาบันศิลปะ ในปี ค.ศ. 1852 ช่วยเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ ทอม เทย์เลอร์ (Tom Taylor) เขียนสรรเสริญเป็นอย่างดีในบทวิจารณ์ในนิตยสาร "พันช์" (Punch) ภาพได้รับการแกะเป็นภาพพิมพ์ซึ่งกลายเป็นงานชิ้นแรกที่มิเลประสบความสำเร็จและได้รับความนิยม ซึ่งทำให้มิเลไปสร้างงานเขียนในหัวข้อที่คล้ายคลึงกันต่อมาอีกหล.

12 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2115พ.ศ. 2395กลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลการสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิวภาษาดอกไม้รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์สมัยวิกตอเรียจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรรมสีน้ำมันโรมันคาทอลิกโอฟีเลีย (มิเล)

พ.ศ. 2115

ทธศักราช 2115 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และพ.ศ. 2115 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2395

ทธศักราช 2395 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1852.

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และพ.ศ. 2395 · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล

“เพอร์ซิโฟเน” โดยดานเต เกเบรียล รอซเซ็ตตี กลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล (Pre-Raphaelite Brotherhood หรือ Pre-Raphaelites) เป็นกลุ่มจิตรกร กวี และนักวิจารณ์ศิลปะของอังกฤษทึ่ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว

“การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว” โดยฟรองซัวส์ ดูบัวส์ (François Dubois) การสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว (ภาษาฝรั่งเศส: Massacre de la Saint Barthélemy; ภาษาอังกฤษ: St. Bartholomew’s Day massacre) เป็นระลอกของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามศาสนาของฝรั่งเศสโดยฝูงชนชาวฝรั่งเศสผู้นับถือนิกายโรมันคาทอลิกไล่สังหารชาวฝรั่งเศสที่เรียกตัวเองว่าอูเกอโนต์ (Huguenots) หรือผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ (โปรเตสแตนต์คาลวินิสต์) เชื่อกันว่ามีต้นตอมาจากสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน เดอ เมดิชิ พระมารดาของพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส การสังหารหมู่ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 วันหลังวันแต่งงานระหว่างมาร์เกอรีต เดอ วาลัวส์ (Marguerite de Valois) พระขนิษฐาของ พระเจ้าชาร์ลที่ 9 กับอองรีแห่งนาวาร์ผู้ที่นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ งานแต่งงานเป็นโอกาสที่อูเกอโนต์ผู้ร่ำรวยมีฐานะดีจะออกมาร่วมงานฉลองในเมืองปารีสที่ผู้คนส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก เหตุเกิดขึ้นสองวันหลังจากที่การลอบสังหารนายพลกาสปาร์ด เดอ โคลิญญี นายทหารของอูเกอโนต์ไม่ประสบความสำเร็จ เริ่มเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม..

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และการสังหารหมู่วันเซนต์บาโทโลมิว · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาดอกไม้

ษาดอกไม้ (Language of flowers หรือ floriography) เป็นการสื่อสารในสมัยวิกตอเรียโดยใช้ดอกไม้หรือการจัดดอกไม้เพื่อให้เกิดความหมายโดยนัย แสดงถึงความรู้สึกส่วนตัวที่ไม่อาจบอกออกมาเป็นคำพูดได้ พระเจ้าชาลส์ที่ 2 นำภาษาดอกไม้เข้าสู่สวีเดนจากทางเปอร์เซียในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ในปัจจุบันความหมายที่ใช้ในภาษาดอกไม้นั้นส่วนมากได้เลือนหายไปตามการเวลา แต่ดอกกุหลาบสีแดงนั้นยังคงถูกใช้แสดงความรักอันเร่าร้อนและโรแมนติก กุหลาบสีชมพูแสดงถึงความรักที่เร่าร้อนน้อยลงมา กุหลาบสีขาวยังคงเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์และความดี และกุหลาบสีเหลืองถูกใช้เป็นตัวแทนของมิตรภาพและการเสียสละ อย่างไรก็ดี ความหมายเหล่านี้อาจจะไม่เหมือนกับความหมายในสมัยวิกตอเรียทุกประการ ดอกไม้อื่นที่มีความหมายเป็นที่รู้จักกันกว้างขวาง ได้แก.

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และภาษาดอกไม้ · ดูเพิ่มเติม »

รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์

รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ หรือ ราชบัณฑิตยสถานศิลปะ (Royal Academy of Arts) เป็นสถาบันศิลปะ ตั้งอยู่ที่คฤหาสน์เบอร์ลิงตัน ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และรอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์

วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ (ภาษาอังกฤษ: William Holman Hunt) (2 เมษายน ค.ศ. 1827 - 7 กันยายน ค.ศ. 1910) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษ และหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1827 ที่ชีพไซด์, ลอนดอน, อังกฤษ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1910 ที่เค็นซิงตัน.

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ · ดูเพิ่มเติม »

สมัยวิกตอเรีย

มัยวิกตอเรีย หรือ ยุควิกตอเรีย (Victorian era) ของสหราชอาณาจักรเป็นจุดสูงสุดของการปฏิวัติอุตสาหกรรมและเป็นยุคสูงสุดของจักรวรรดิอังกฤษซึ่งตรงกับสมัยการปกครองของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียระหว่างปี..

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และสมัยวิกตอเรีย · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล

อห์น เอเวอเรตต์ มิเล หรือ เซอร์จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล บาโรเนตที่ 1, PRA (John Everett Millais หรือ Sir John Everett Millais, 1st Baronet, PRA) (8 มิถุนายน ค.ศ. 1829 - 13 สิงหาคม ค.ศ. 1896) เป็นจิตรกรและนักวาดภาพประกอบของกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรม, ภาพวาดเส้น และภาพพิมพ์ มิเลเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล.

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมสีน้ำมัน

"โมนาลิซา" โดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราว ค.ศ. 1503-1506 จิตรกรรมสีน้ำมัน หรือ ภาพเขียนสีน้ำมัน (oil painting) คือการเขียนภาพโดยใช้สีฝุ่นที่ผสมกับน้ำมันแห้ง (drying oil) — โดยเฉพาะในตอนต้นของยุโรปสมัยใหม่, น้ำมันลินสีด (linseed oil) ตามปกติแล้วก็จะต้มน้ำมันเช่นลินสีดกับยางสนหรือยางสนหอม (frankincense) ส่วนผสมนี้เรียกว่า "น้ำมันเคลือบ" (varnish) ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ภาพเขียนมีความหนาและเป็นเงา น้ำมันอื่นที่ใช้ก็มีน้ำมันเม็ดฝิ่น, น้ำมันวอลนัต, และน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันแต่ละอย่างก็มีคุณภาพต่าง ๆ กัน เช่นอาจจะทำให้สืเหลืองน้อยลง หรือใช้เวลาแห้งไม่เท่ากัน บางครั้งก็จะเห็นความแตกต่างจากเงาของภาพเขียนแล้วแต่ชนิดของน้ำมัน จิตรกรจะใช้น้ำมันหลายชนิดในภาพเขียนเดียวกันเพื่อให้ได้ลักษณะของภาพเขียนออกมาตามที่ต้องการ การแสดงออกของสีก็จะต่างกันตามแต่วัสดุที่ใช้เขียน.

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และจิตรกรรมสีน้ำมัน · ดูเพิ่มเติม »

โรมันคาทอลิก

ระศาสนจักรคาทอลิก (Catholic Church) หรือ คริสตจักรโรมันคาทอลิก (Roman Catholic Church) เป็นคริสตจักรที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีศาสนิกชนกว่าพันล้านคน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข มีพันธกิจหลักคือ การประกาศข่าวดีเรื่องพระเยซูคริสต์ โปรดศีลศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจเมตตา ศาสนจักรคาทอลิกเป็นสถาบันที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์อารยธรรมตะวันตกO'Collins, p. v (preface).

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และโรมันคาทอลิก · ดูเพิ่มเติม »

โอฟีเลีย (มิเล)

อฟีเลีย (Ophelia) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรสมัยกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์เททบริเตนใน กรุงลอนดอนในอังกฤษ จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลเขียนภาพ “โอฟีเลีย” ระหว่างปี ค.ศ. 1851 ถึงปี ค.ศ. 1852 เป็นภาพของตัวละครโอฟีเลียในบทละคร “แฮมเลต” โดยวิลเลียม เช็คสเปียร์ ขณะที่ร้องเพลงก่อนที่จะจมน้ำตายในลำแม่น้ำในเดนมาร์ก “โอฟีเลีย” เป็นภาพเขียนที่มีอิทธิพลต่อศิลปะแขนงต่าง ๆ นอกไปจากในสาขาจิตรกรรมเองเช่นในศิลปะการถ่ายภาพ หรือการสร้างภาพยนตร์และอื่น ๆ เมื่อแสดงเป็นครั้งแรกที่ราชสถาบันศิลปะภาพเขียนไม่ได้รับการต้อนรับเท่าใดนัก แต่ต่อมาได้รับการชื่นชมมากขึ้นในความงามของภาพและรายละเอียดภูมิทัศน์ธรรมชาติของภาพ มูลค่าของภาพเขียนตีราคากันว่าประมาณ 30 ล้านปอน.

ใหม่!!: อูกโน (มิเล)และโอฟีเลีย (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

A Huguenotอูเกอโนท์ (มิเลส์)

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »