โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล

ดัชนี จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล

อห์น เอเวอเรตต์ มิเล หรือ เซอร์จอห์น เอเวอเรตต์ มิเล บาโรเนตที่ 1, PRA (John Everett Millais หรือ Sir John Everett Millais, 1st Baronet, PRA) (8 มิถุนายน ค.ศ. 1829 - 13 สิงหาคม ค.ศ. 1896) เป็นจิตรกรและนักวาดภาพประกอบของกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรม, ภาพวาดเส้น และภาพพิมพ์ มิเลเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล.

64 ความสัมพันธ์: ชาวอังกฤษฟองสบู่ (มิเล)พ.ศ. 2372พ.ศ. 2391พ.ศ. 2396พ.ศ. 2399พ.ศ. 2407พ.ศ. 2412พ.ศ. 2413พ.ศ. 2414พ.ศ. 2417พ.ศ. 2421พ.ศ. 2428พ.ศ. 2429พ.ศ. 2430พ.ศ. 2431พ.ศ. 2435พ.ศ. 2439พ.ศ. 2448พ.ศ. 2496พ.ศ. 2505พ.ศ. 2539พ.ศ. 2543พระเยซูในโรงช่างของพ่อ (มิเล)พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักรกระทรวงแรงงาน (ประเทศไทย)กลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลการวาดเส้นมะเร็งรอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ลอนดอนวัยเด็กของรอลี (มิเล)วิลเลียม มอร์ริสวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์สุนทรียนิยมหอศิลป์เทตบริเตนอัลเฟรด เทนนีสัน บารอนเทนนีสันที่ 1อาสนวิหารนักบุญเปาโลจอห์น รัสคินจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์จักรวรรดิบริติชจิตรกรรมจิตรกรรมภูมิทัศน์จิตรกรรมประวัติศาสตร์ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติดิเอโก เบลัซเกซความฝันของอดีต: เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้นคำสั่งปล่อย (มิเล)งานกระจกสีประเทศสกอตแลนด์...ประเทศอังกฤษนิทานคติสอนใจแร็มบรันต์ใบไม้ร่วง (มิเล)โอกุสต์ รอแด็งโจชัว เรย์โนลส์เอสเธอร์ (มิเล)เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์เจอร์ซีย์เจ้าชายในหอคอยเด็กหญิงตาบอด (มิเล)เซาแทมป์ตัน13 สิงหาคม8 มิถุนายน ขยายดัชนี (14 มากกว่า) »

ชาวอังกฤษ

วอังกฤษ เป็นกลุ่มของชาวยุโรปที่เคยอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของบริเตนใหญ่ เป็นชาวแองโกล-แซกซอนส์ ที่ปัจจุบันอาศัยกระจายอยู่หลายประเทศทั่วโลก ในสหราชอาณาจักร มีอยู่ 45,265,093 คน สหรัฐอเมริกา 24,515,138 คน แคนาดา 5,978,875 คน ออสเตรเลีย 6.4 ล้านคน และประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ชาวอังกฤษส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและชาวอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ฟองสบู่ (มิเล)

"ภาพนิ่งกับเด็กชายเป่าฟองสบู่" โดย เกอร์ริต ดู เป็นภาพลักษณะจิตรกรรมวานิตาที่มีอิทธิพลต่อมิเล ฟองสบู่ (Bubbles) เดิมชื่อ โลกของเด็ก (A Child's World) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษคนสำคัญ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์เลดีลีเวอร์ที่พอร์ตซันไลต์ในอังกฤษ มิเลเขียนภาพ "ฟองสบู่" เสร็จในปี ค.ศ. 1886 ภาพ "ฟองสบู่" กลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงเมื่อถูกนำมาใช้แล้วใช้อีกในการโฆษณาสบู่ตราแพร์ส ซึ่งนำมาซึ่งข้อโต้แย้งของความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะและการโฆษณา ภาพ "ฟองสบู่" เป็นหนึ่งในบรรดาภาพเด็กที่มิเลเขียนที่กลายมามีชื่อเสียงในบั้นปลายของชีวิต ผู้เป็นแบบคือหลานอายุห้าขวบชื่อวิลเลียม มิลบอร์น เจมส์ (William Milbourne James) เป็นภาพที่มีอิทธิพลมาจากภาพเขียนดัตช์ของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ของลักษณะที่เรียกว่าจิตรกรรมวานิตา (Vanitas) ซึ่งเป็นจิตกรรมภาพนิ่งที่เขียนขึ้นเพื่อสื่อความหมายของความเปลี่ยนแปลงของชีวิต ที่บางครั้งอาจจะเป็นภาพของเด็กเป่าฟองสบู่อยู่ข้างหัวกะโหลกหรือสัญลักษณ์อื่นที่เป็นนัยยะถึงความตาย ภาพนี้เป็นภาพของเด็กชายผมทองที่กำลังชายตาตามฟองสบู่ที่ลอยขึ้นไป ที่เป็นสัญลักษณ์ของความงามและความเปราะบางของชีวิต ข้างที่นั่งด้านซ้ายมีกระถางที่มีไม้ที่กำลังโตและทางขวาเป็นกระถางที่ตกลงมาแตกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงความตายแทนที่จะใช้กะโหลก ตัวแบบส่องสว่างเด่นจากบรรยากาศรอบที่เป็นสีที่เศร้าหมอง เมื่อตั้งแสดงครั้งแรกที่หอศิลป์โกรฟเนอร์ ในลอนดอนในปี ค.ศ. 1886 ภายใต้ชื่อ "โลกของเด็ก" และได้รับการซื้อโดยวิลเลียม อิงแกรมแห่ง Illustrated London News ต่อมาก็ได้รับการก็อปปีและทำเป็นแม่แบบที่พิมพ์ในนิตยสารที่วิลเลียม บาร์เร็ตต์ผู้จัดการของบริษัทสบู่ตราแพร์สมาเห็นเข้า บาร์เร็ตต์ซื้อภาพต้นฉบับต่อจากอิงแกรมในราคา £2,200 ซึ่งทำให้ได้รับเอกสิทธิ์ในการใช้ภาพอย่างใดก็ได้ และได้ทำการขออนุญาตจากมิเลให้เพิ่มก้อนสบู่แพร์สเพื่อใช้ในการโฆษณา มิเลผู้ขณะนั้นเป็นจิตรกรผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่งในบริเตนแรกก็มีความรู้ลักลั่นในการที่ผลงานของตนอาจจะถูกนำไปใช้ในการโฆษณาซึ่งในขณะนั้นยังเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร แต่เมื่อเห็นภาพร่างที่ได้รับการเสนอมิเลก็มองเห็นว่าเป็นการเพิ่มรายละเอียดที่กลืนไปกับภาพและเป็นนัยยะว่าเด็กในภาพใช้สบู่ในการทำน้ำสบู่สำหรับเป่าฟองสบู่ หลังจากได้รับความสำเร็จในการใช้ภาพในการโฆษณาแล้ว มิเลก็ถูกโจมตีโดยนักเขียนมารี คอเรลลิ (Marie Corelli) ผู้กล่าวหาในนวนิยาย The Sorrows of Satan ว่าขายพรสวรรค์เพื่อขายสบู่ มิเลเขียนจดหมายตอบชี้ให้เห็นว่าได้ขายลิขสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อไปแล้ว ฉะนั้นจึงไม่สามารถมีอำนาจที่จะหยุดยั้งการนำภาพไปเปลี่ยนแปลงโดยผู้ซื้อได้ ลูกของมิเลอ้างต่อมาว่ามิเลพยายามหยุดยั้งการโฆษณาแต่ได้รับการแนะนำว่าไม่มีสิทธิทางกฎหมายที่จะทำเช่นนั้น แต่คอเรลลิก็ถอนความเห็นออกจากนวนิยายฉบับที่พิมพ์ต่อมา โฆษณาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจนวิลเลียม มิลบอร์น เจมส์ผู้เมื่อเติบโตขึ้นเข้ารับราชการเป็นนายพลเรือในราชนาวีอังกฤษเป็นที่รู้จักในชื่อ "Bubbles" จนตลอดชีวิต เมื่อสบู่แพร์สถูกซื้อโดยลีเวอร์บราเธอร์ส (Lever Brothers) ภาพเขียนก็ตกไปเป็นของเจ้าของใหม่ ผู้ให้ราชสถาบันศิลปะขอยืมไปแสดงอยู่ชั่วระยะหนึ่งก่อนที่นำมาตั้งแสดงที่หอศิลป์เลดีลีเวอร์ที่พอร์ตซันไลต์ในปี..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและฟองสบู่ (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2372

ทธศักราช 2372 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2372 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2391

ทธศักราช 2391 ใกล้เคียงกั.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2391 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2396

ทธศักราช 2396 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1853.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2396 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2399

ทธศักราช 2399 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1856.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2399 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2407

ทธศักราช 2407 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1864.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2407 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2412

ทธศักราช 2412 ตรงกั.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2412 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2413

ทธศักราช 2413 ตรงกั.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2413 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2414

ทธศักราช 2414 ตรงกั.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2414 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2417

ทธศักราช 2417 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1874.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2417 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2421

ทธศักราช 2421 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1878.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2421 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2428

ทธศักราช 2428 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1885 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2428 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2429

ทธศักราช 2429 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1886 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2429 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2430

ทธศักราช 2430 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1887 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2430 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2431

ทธศักราช 2431 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1888 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2431 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2435

ทธศักราช 2435 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1892 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2435 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2439

ทธศักราช 2439 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1896 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2439 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2448

ทธศักราช 2448 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1905 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิต.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2448 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2496

ทธศักราช 2496 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1953 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดี ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2496 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2505

ทธศักราช 2505 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1962 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2505 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2539

ทธศักราช 2539 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1996 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันจันทร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2539 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2543

ทธศักราช 2543 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2000 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพ.ศ. 2543 · ดูเพิ่มเติม »

พระเยซูในโรงช่างของพ่อ (มิเล)

ระเยซูในโรงช่างของพ่อ (Christ in the House of His Parents) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรสมัยพรีราฟาเอลไลท์คนสำคัญชาวอังกฤษ ที่เขียนเสร็จในปี ค.ศ. 1850 เนื้อหาของภาพเป็นฉากของครอบครัวพระเยซูภายในโรงทำงานของนักบุญโจเซฟผู้ที่เป็นช่างไม้ เมื่อภาพนี้ตั้งแสดงเป็นครั้งแรกก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันอย่างใหญ่โตและได้รับการวิจารณ์ในทางที่ไม่ดีนักโดยเฉพาะจากชาลส์ ดิกกินส์นักเขียนมีชื่อที่สุดของอังกฤษในขณะนั้น แต่ความขัดแย้งก็ยิ่งเป็นแรงกระตุ้นให้กลุ่มพรีราฟาเอลไลท์กลายมาเป็นที่รู้จักมากขึ้นและเป็นจุดของการโต้เถียงกันในหัวข้อการเขียนภาพตามลัทธิสัจนิยม.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพระเยซูในโรงช่างของพ่อ (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร

ระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 (อัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด; 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2384 – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453) เป็นพระมหากษัตริย์สหราชอาณาจักร ประมุขแห่งเครือจักรภพแห่งอังกฤษ และสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งอินเดีย เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และเป็นพระประมุขพระองค์แรกและพระองค์เดียวของราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระองค์ทรงครองราชสมบัตินับตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเสด็จสวรรคตในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2453 ก่อนการเสวยราชสมบัติ พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ และทรงมีลักษณะเด่นพิเศษที่เป็นรัชทายาทในรัชบัลลังก์ยาวนานกว่าใครในประวัติศาสตร์ของอังกฤษและสหราชอาณาจักร เป็นบันทึกสถิติที่เจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์องค์ปัจจุบันไล่ตามมาอย่างรวดเร็ว รัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งเรียกว่า สมัยเอ็ดเวิร์ด (Edwardian Period) ทำให้เห็นถึงการยอมรับอย่างเป็นทางการครั้งแรกในการดำรงตำแหน่งหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2448 พระองค์เป็นพระประมุขอังกฤษพระองค์แรกที่เสด็จเยือนประเทศรัสเซียเมื่อปี พ.ศ. 2451 ถึงแม้ว่าทรงปฏิเสธที่จะเสด็จเยือนในปี พ.ศ. 2449 (เพราะว่าโปรดสภาดูมามากกว่าซาร์) พระองค์ยังทรงมีบทบาทสำคัญในการพัฒนากองทัพเรืออังกฤษให้ทันสมัยขึ้นและการปฏิรูปหน่วยการแพทย์ในกองทัพบกอังกฤษหลังจากสงครามบัวร์ครั้งที่สอง การสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างอังกฤษกับนานาประเทศของทวีปยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่งเศส ของพระองค์ ซึ่งทำให้ทรงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่า "ผู้สร้างสันติภาพ" (Peacemaker) ได้ถูกทำให้ผิดแผกแปลกไปอย่างน่าเศร้าจากการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ. 2457.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร · ดูเพิ่มเติม »

กระทรวงแรงงาน (ประเทศไทย)

กระทรวงแรงงาน (Ministry of Labour) เป็นหน่วยงานระดับกระทรวงของประเทศไทย เดิมคือ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและกระทรวงแรงงาน (ประเทศไทย) · ดูเพิ่มเติม »

กลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล

“เพอร์ซิโฟเน” โดยดานเต เกเบรียล รอซเซ็ตตี กลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล (Pre-Raphaelite Brotherhood หรือ Pre-Raphaelites) เป็นกลุ่มจิตรกร กวี และนักวิจารณ์ศิลปะของอังกฤษทึ่ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอล · ดูเพิ่มเติม »

การวาดเส้น

Male nude โดย Annibale Carracci ศตวรรษที่ 16 การวาดเส้น (Drawing) เป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และการออกแบบ โดยการสร้างภาพสองมิติโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว ให้เกิดร่องรอยต่าง ๆ โดยใช้เครื่องมือที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้ ดินสอ ปากกาและหมึก เครยอง ดินสอสี ดินสอถ่าน ชอล์ก ชอล์กสี ปากกามาร์กเกอร์ ปากกาหมึกซึม ซึ่งโดยมากจะเขียนลงบนกระดาษ หรือวัสดุอื่นอย่าง กระดาษแข็ง พลาสติก หนัง ผ้า กระดาน สำหรับการเขียนชั่วคราวอาจใช้กระดานดำหรือกระดานขาว หรือบนอะไรก็ได้ สำหรับศิลปินที่เขียนหรือทำงานการวาดเส้นอาจหมายถึง ช่างสเก็ตภาพ หรือ ช่างเขียนแ.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและการวาดเส้น · ดูเพิ่มเติม »

มะเร็ง

มะเร็ง หรือทางการแพทย์ว่า เนื้องอกร้าย (malignant tumor) เป็นกลุ่มของโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ คือ เซลล์จะแบ่งตัวและเจริญอย่างควบคุมไม่ได้ ก่อเป็นเนื้องอกร้าย และมีศักยภาพในการรุกรานร่างกายส่วนข้างเคียง มะเร็งอาจแพร่กระจายไปยังร่างกายส่วนที่อยู่ห่างไกลได้ผ่านระบบน้ำเหลืองหรือกระแสเลือด แต่ไม่ใช่เนื้องอกทุกชนิดจะเป็นมะเร็ง เพราะเนื้องอกไม่ร้ายจะไม่ลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงและไม่กระจายไปทั่วร่างกาย อาการและอาการแสดงของโรคมะเร็งที่เป็นไปได้รวมถึง:..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและมะเร็ง · ดูเพิ่มเติม »

รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์

รอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ หรือ ราชบัณฑิตยสถานศิลปะ (Royal Academy of Arts) เป็นสถาบันศิลปะ ตั้งอยู่ที่คฤหาสน์เบอร์ลิงตัน ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ก่อตั้งเมื่อปี..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและรอยัลอะคาเดมีออฟอาตส์ · ดูเพิ่มเติม »

ลอนดอน

ลอนดอน (London, ลันเดิน) เป็นเมืองหลวงของประเทศอังกฤษ และสหราชอาณาจักร และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสหภาพยุโรป เป็นเมืองที่มีศูนย์กลางทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลอนดอนเป็นหนึ่งในศูนย์กลางสำคัญทางธุรกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของโลก เป็นผู้นำด้านการเงิน การเมือง การสื่อสาร การบันเทิง แฟชั่น และศิลปะ ในอดีตเป็นเมืองหลวงของโลก เป็นเมืองที่เจริญที่สุดในโลก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นเมืองที่มีอิทธิพลไปทั่วโลก ถือกันว่าเป็นเมืองสากลหลักของโลก จีดีพีของลอนดอน คิดเป็นร้อยละ 19.5 ของสหราชอาณาจักร ลอนดอนมีประชากรประมาณ 7.5 ล้านคน (ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2549) และประมาณ 12 - 14 ล้านคนถ้ารวมนครหลวงลอนดอนและปริมณฑล ลอนดอนเป็นเมืองที่ประกอบด้วยหลายชนชาติอย่างมาก ประชากรมีความหลากหลายทั้งด้านเชื้อชาติ วัฒนธรรม ศาสนา และภาษา ซึ่งประมาณว่ามีมากกว่า 300 ภาษา เราเรียกชาวลอนดอนว่า ลอนดอนเนอร์ (Londoner) ลอนดอนเป็นศูนย์กลางการคมนาคมในระดับนานาชาติ และเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญของทวีปยุโรป โดยสนามบินที่ใหญ่ที่สุดในลอนดอน คือ ท่าอากาศยานนานาชาติฮีทโธรว.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและลอนดอน · ดูเพิ่มเติม »

วัยเด็กของรอลี (มิเล)

วัยเด็กของรอลี (The Boyhood of Raleigh) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่ในอังกฤษ “วัยเด็กของรอลี” ตั้งแสดงเป็นครั้งแรกที่ราชสถาบันศิลปะ ในปี ค.ศ. 1871 เป็นภาพที่เป็นตัวแทนของสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมของความนิยมความเป็นวีรบุรุษที่เกิดขึ้นในตอนปลายของสมัยวิกตอเรีย และดำรงอยู่ในสังคมอังกฤษมาจนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในภาพวอลเตอร์ รอลี (Walter Raleigh) และน้องชายเมื่อยังเด็กนั่งอยู่ริมทะเลที่ชายฝั่งเดวอน ฟังเรื่องราวชีวิตทะเลที่เล่าโดยกะลาสีผู้มีประสบการณ์ที่ชี้ไปทางทะเลด้วยความตั้งอกตั้งใจและตื่นตาตื่นใจ ภาพเขียนได้รับอิทธิพลจากบทความที่เขียนโดยนักเขียนและนักประวัติศาสตร์เจมส์ แอนโทนี เฟราด์ (James Anthony Froude) ในบทความ “England's Forgotten Worthies” ที่บรรยายถึงชีวิตทางทะเลนักเดินเรือในสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 และอาจจะได้รับอิทธิพลจากชีวประวัติของวอลเตอร์ รอลีที่เพิ่งได้รับการพิมพ์ขึ้นในขณะนั้น ภาพปรากฏในการศึกษาระบบหลังการอาณานิคมโดยเฉพาะในงานของซัลมัน รัชดี ในนวนิยาย Midnight's Children (เด็กเที่ยงคืน).

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและวัยเด็กของรอลี (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม มอร์ริส

วิลเลียม มอร์ริส (William Morris) (24 มีนาคม ค.ศ. 1834 - 3 ตุลาคม ค.ศ. 1896) เป็นศิลปิน นักเขียน และนักสังคมนิยมชาวอังกฤษ เป็นหนึ่งในผู้วางรากฐานของ British Arts and Crafts movement และเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในสหราชอาณาจักร รวมถึงเป็นกวีและนักประพันธ์นวนิยายด้วย เขาเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ออกแบบลวดลายบนผนัง มอร์ริสเคยเป็นนักศึกษาที่วิทยาลัย Exeter มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด เมื่อจบการศึกษาได้ทำงานเป็นสถาปนิก ต่อมาจึงพบว่าตัวเองชอบศิลปะการวาดมากกว่า มอร์ริสได้ตั้งบริษัทร่วมกับเพื่อน และสร้างงานศิลปะเช่น ภาพวาดบนกระจกสี.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและวิลเลียม มอร์ริส · ดูเพิ่มเติม »

วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์

วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ (ภาษาอังกฤษ: William Holman Hunt) (2 เมษายน ค.ศ. 1827 - 7 กันยายน ค.ศ. 1910) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษ และหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มพรีราฟาเอลไลท์ของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน วิลเลียม โฮลแมน ฮันท์เกิดเมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1827 ที่ชีพไซด์, ลอนดอน, อังกฤษ และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 กันยายน ค.ศ. 1910 ที่เค็นซิงตัน.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและวิลเลียม โฮลแมน ฮันท์ · ดูเพิ่มเติม »

สุนทรียนิยม

“ห้องนกยูง” ออกแบบโดย เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ซึ่งเป็นตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดของขบวนการสุนทรียนิยมของการออกแบบตกแต่งภายใน ลัทธิสุนทรียนิยม (Aestheticism) คือขบวนการทางปรัชญาของยุโรปของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่เน้นคุณค่าทางความงามที่เหนือกว่าหัวใจของความมีจริยธรรมหรือสังคมที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรม, วิจิตรศิลป์, the ศิลปะตกแต่ง และการออกแบบภายใน โดยทั่วไปแล้วลัทธิสุนทรียนิยมเป็นความคิที่ใกล้เคียงกับแนวโน้มของปรัชญาลัทธิสัญลักษณ์นิยม หรือ ขบวนการเริงรมณ์ (Decadent movement) ของฝรั่งเศส หรือ ลัทธิเริงรมณ์ (Decadentismo) ในอิตาลี และอาจจะถือว่าเป็นสาขาเดียวกับขบวนการเดียวกันในอังกฤษ ขบวนความคิดนี้เป็นการกระบวนการคิดที่เป็นปฏิกิริยาต่อคุณค่าทางปรัชญาของสมัยวิคตอเรียที่มีรากฐานมาจากสมัยโรแมนติคสมัยหลัง ซึ่งก็เท่ากับว่าเป็นแนวคิดที่เป็นที่มาของลัทธิสมัยใหม่นิยม ลัทธิสุนทรียนิยมเริ่มขึ้นในตอนปลายของสมัยวิคตอเรียตั้งแต่ราว..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและสุนทรียนิยม · ดูเพิ่มเติม »

หอศิลป์เทตบริเตน

หอศิลป์เทตบริเตน (Tate Britain) เป็นพิพิธภัณฑ์หนึ่งในเครือหอศิลป์เทตที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร ที่เดิมก่อตั้งเป็น "หอศิลป์แห่งชาติเพื่อศิลปะอังกฤษ" (National Gallery of British Art) ในปี..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและหอศิลป์เทตบริเตน · ดูเพิ่มเติม »

อัลเฟรด เทนนีสัน บารอนเทนนีสันที่ 1

อัลเฟรด เทนนีสัน บารอนเทนนีสันที่หนึ่ง (Alfred Tennyson, 1st Baron Tennyson; 6 สิงหาคม ค.ศ. 1809 - 6 ตุลาคม ค.ศ. 1892) เป็นกวีแห่งราชสำนักอังกฤษ มีความเชี่ยวชาญในการประพันธ์บทกวีแบบสั้น เช่นงานเขียนชุด "In the valley of Cauteretz," "Break, break, break", "The Charge of the Light Brigade", "Tears, idle tears" และ "Crossing the Bar" เป็นต้น โดยมากผลงานของเขาจะมีพื้นฐานมาจากตำนานปรัมปรา เทนนีสันเคยพยายามเขียนบทละครด้วยเช่นกันแต่ไม่ประสบความสำเร็จนัก วลีจากผลงานของเทนนีสันจำนวนมากกลายมาเป็นถ้อยคำที่ใช้ทั่วไปในภาษาอังกฤษ เช่น "nature, red in tooth and claw", "better to have loved and lost", "Theirs not to reason why, / Theirs but to do and die", และ "My strength is as the strength of ten, / Because my heart is pure" ถือได้ว่าเขาเป็นนักเขียนที่มีการนำถ้อยคำในผลงานไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับสองในพจนานุกรมรวมวลีและสำนวนของอ๊อกซฟอร์ด (The Oxford Dictionary of Quotations) รองมาจากวิลเลียม เชกสเปียร.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและอัลเฟรด เทนนีสัน บารอนเทนนีสันที่ 1 · ดูเพิ่มเติม »

อาสนวิหารนักบุญเปาโล

“อาสนวิหารนักบุญเปาโลเดิม” ก่อน ค.ศ. 1561 ที่ยังมีมณฑป อาสนวิหารนักบุญเปาโล (St Paul's Cathedral) เป็นอาสนวิหารของคริสตจักรแห่งอังกฤษ และเป็นโบสถ์ประจำตำแหน่งบิชอปแห่งลอนดอน สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแก่นักบุญเปาโลอัครทูต ตั้งอยู่ในนครลอนดอน ประเทศอังกฤษ อาสนวิหารที่เห็นในปัจจุบันสร้างเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 17 และเชื่อกันว่าเป็นอาสนวิหารที่ 5 ตั้งแต่สร้างอาสนวิหารกันมา ณ ที่ตั้งนี้แต่อาจจะสูงกว่านั้นถ้านับการบูรณะเข้าไปด้ว.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและอาสนวิหารนักบุญเปาโล · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น รัสคิน

“จอห์น รัสคิน” ค.ศ. 1894 โดยช่างภาพเฟรดเดอริค ฮอลล์เยอร์ (Frederick Hollyer) จอห์น รัสคิน (ภาษาอังกฤษ: John Ruskin) (8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1819 – 20 มกราคม ค.ศ. 1900) เป็นนักวิพากษ์ศิลป์ และนักคิดทางสังคมวิทยาชาวอังกฤษ นอกจากนั้นก็ยังเป็นนักประพันธ์, กวี และจิตรกร บทความเกี่ยวกับศิลปะและสถาปัตยกรรมเป็นข้อเขียนที่มีอิทธิพลต่อสมัยวิคตอเรียและสมัยเอ็ดเวิร.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและจอห์น รัสคิน · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์

อห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ (ภาษาอังกฤษ: John Singer Sargent) (12 มกราคม ค.ศ. 1856 - 14 เมษายน ค.ศ. 1925) เป็นจิตรกรคนสำคัญของสหรัฐอเมริกาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพภูมิทัศน์, ภาพเหมือน และ การใช้สีน้ำ ซาร์เจนท์เกิดที่ฟลอเรนซ์ ที่ประเทศอิตาลี บิดามารดาเป็นชาวอเมริกัน ซาร์เจนท์ศึกษาที่อิตาลีและเยอรมนี ต่อมาที่ปารีสกับอีมิล โอกุสต์ คาโรลุส-ดูแรง (Emile Auguste Carolus-Duran) ในชีวิตซาร์เจนท์เขียนจิตรกรรมสีน้ำมันด้วยกันทั้งสิ้นราว 900 ภาพ และอีก 2,000 ภาพเขียนด้วยสีน้ำ นอกจากนั้นก็ยังมีงานเขียนภาพร่าง และภาพวาดลายเส้นด้วยถ่านอีกด้ว.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและจอห์น ซิงเกอร์ ซาร์เจนท์ · ดูเพิ่มเติม »

จักรวรรดิบริติช

ักรวรรดิบริติช (British Empire) หรือ จักรวรรดิอังกฤษ ประกอบด้วยประเทศในเครือจักรภพ, คราวน์โคโลนี, รัฐในอารักขา, รัฐในอาณัติ และดินแดนอื่นซึ่งสหราชอาณาจักรปกครองหรือบริหาร จักรวรรดิกำเนิดจากดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลและสถานีการค้าที่ราชอาณาจักรอังกฤษก่อตั้งระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 ในช่วงที่เจริญถึงขีดสุด จักรวรรดิบริติชเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ และเป็นมหาอำนาจโลกชั้นแนวหน้านานกว่าหนึ่งศตวรรษ ใน..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและจักรวรรดิบริติช · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมภูมิทัศน์

“เดินเล่นในฤดูใบไม้ผลิ” (Strolling About in Spring) ราว ค.ศ. 600 คนเกี่ยวข้าว” (The Harvesters) โดย ปิเอเตอร์ บรูเกล ค.ศ. 1565 “ร้อนผิดฤดูที่เวอร์มอนท์” (Indian Summer) โดยวิลลาร์ด ลีรอย เมทคาลฟ ซึ่งเป็นภาพเขียนนอกสถานที่ จิตรกรรมภูมิทัศน์ (ภาษาอังกฤษ: Landscape art) เป็นจิตรกรรม ที่แสดงทิวทัศน์เช่นภูเขา, หุบเขา, ต้นไม้, แม่น้ำ, และป่า และมักจะรวมท้องฟ้า นอกจากนั้นสภาวะอากาศก็อาจจะมีส่วนสำคัญในการวางองค์ประกอบของภาพด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวโรมันตกแต่งห้องด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพภูมิทัศน์ซึ่งพบที่ปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียม คำว่า “landscape” มาจากภาษาดัทช์ landscape “landschap” ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เก็บเกี่ยวแล้ว และนำเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อต้น คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะการเขียนแบบหนึ่งในยุโรป ซึ่งใช้เป็นฉากหลังของกิจการต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะคริสต์ศาสนา เช่น ภาพในหัวเรื่อง “พระเยซูหนีไปอียิปต์”, หรือฉากการเดินทางของแมไจเพื่อนำของขวัญมาให้พระเยซู หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับนักบุญเจอโรมเมื่อไปจำศีลอยู่ในทะเลทราย การเขียนภาพภูมิทัศน์ของจีนจะเป็นภูมิทัศน์ล้วนๆ ถ้ามีคนอยู่ในรูปก็จะเป็นส่วนประกอบที่ไม่สำคัญหรือเพียงเป็นสิ่งเทียบถึงขนาดของธรรมชาติ และเป็นการเชิญชวนให้ผู้ชมภาพมีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในภาพเขียน การเขียนภาพลักษณะนี้มีลักษณะสมบูรณ์แบบมาตั้งแต่การเขียนภาพด้วยหมึก ในยุโรปจอห์น รัสคิน และ เซอร์เค็นเน็ธ คลาคกล่าวว่าการเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเกิดความซาบซึ้งในความสวยงามของธรรมชาติ คลาคกล่าวว่าในการเขียนภาพภูมิทัศน์ตั้งอยู่บนพื้นฐานสี่อย่าง: การยอมรับในสัญลักษณ์ที่เห็น, ความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติ, การสร้างจินตนิยมที่มึพี้นฐานมาจากความกลัวธรรมชาติ และ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะลงเอยด้วยดีที่เป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ในสหรัฐอเมริกาช่างเขียนภาพสกุลศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสันที่รุ่งเรื่องราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีชื่อเสียงในการวิวัฒนาการเขียนภาพภูมิทัศน์ นักเขียนภาพกลุ่มนี้สร้างภาพเขียนขนาดยักษ์เพื่อจะสามารถพยายามแสดงความยิ่งใหญ่ของภูมิทัศน์ตามที่เห็น ปรัชญาของงานของทอมัส โคลซึ่งถือกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งตระกูลการเขียนนี้ก็เช่นเดียวกับปรัชญาการเขียนภาพภูมิทัศน์ในยุโรป — เป็นความศรัทธาของมนุษย์ที่ทำให้มีความรู้สึกดีขึ้นจากการซาบซึ้งในคุณค่าของความสวยงามและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ งานของศิลปินตระกูลแม่น้ำฮัดสันรุ่นหลังเช่นงานของ แอลเบิร์ต เบียร์สตัดท์จะสร้างงานที่สร้างความน่ากลัวขึ้นโดยการเน้นอำนาจของธรรมชาติ นักสำรวจ, นักธรรมชาติวิทยา, ชาวทะเล, พ่อค้า, หรือผู้ตั้งถิ่นฐานที่มาถึงแผ่นดินแคนาดาเมื่อสมัยแรกๆ ในการสำรวจต้องเผชิญกับธรรมชาติที่ค่อนข้างจะอันตรายจากทะเล นักสำรวจเหล่านี้พยายามปรับปรุงสถานการณ์โดยการทำแผนที่, บันทึก, และตั้งหลักแหล่ง ความเข้าใจธรรมชาติจากการสังเกตของแต่ละคนก็ต่างกันไป บันทึกจากความรู้สึกเหล่านี้มีตั้งแต่ถูกต้องตามความเป็นจริงไปจนการจินตนาการที่เกินความจริงเอามากๆ และการสังเกตเหล่านี้ก็ถูกบันทึกในรูปของภาพภูมิทัศน์ ภาพเขียนที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการเขียนภาพภูมิทัศน์คานาดาคือภาพจากจิตรกรใน “กลุ่มเจ็ดคน” (Group of Seven) ที่มีชื่อเสียงในคริสต์ทศศตวรรษ.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและจิตรกรรมภูมิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมประวัติศาสตร์

“วันสุดท้ายของปอมเปอี” (ค.ศ. 1833) เป็นตัวอย่างที่ดีของภาพเขียนประวัติศาสตร์ จิตรกรรมประวัติศาสตร์ (History painting) เริ่มเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ ค.ศ. 1667 โดยอันเดร เฟลิเบียน (André Félibien) จิตกรประวัติศาสตร์, สถาปนิก, นักทฤษฎีคลาสสิกซิสม์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นลักษณะที่ระบบ “การจัดลำดับคุณค่าของศิลปะ” (Hierarchy of genres) ถือว่าเป็นประเภทการเขียนภาพที่มีคุณค่าสูงที่สุดในบรรดาการเขียนภาพประเภทต่าง.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและจิตรกรรมประวัติศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ

นเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ (ภาษาอังกฤษ: Dante Gabriel Rossetti) (12 พฤษภาคม ค.ศ. 1828 - 9 เมษายน ค.ศ. 1882) เป็นจิตรกรรมสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 รอสเซ็ตติเป็นผู้มีความสามารถในการเป็นกวี, จิตรกร, จิตรกรภาพประกอบ และนักแปล.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ · ดูเพิ่มเติม »

ดิเอโก เบลัซเกซ

อโก เบลัซเกซ ดิเอโก โรดริเกซ เด ซิลบา อี เบลัซเกซ (Diego Rodríguez de Silva y Velázquez; 6 มิถุนายน พ.ศ. 2142 - 6 สิงหาคม พ.ศ. 2203) เป็นจิตรกรชาวสเปน มีผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น Las Meninas, La Venus del espejo และ La Rendición de Breda.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและดิเอโก เบลัซเกซ · ดูเพิ่มเติม »

ความฝันของอดีต: เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้น

"อัศวิน ความตาย และปีศาจ" โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์ ความฝันของอดีต: เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้น (A Dream of the Past: Sir Isumbras at the Ford) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์เลดีลีเวอร์ที่พอร์ตซันไลต์ในอังกฤษ.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและความฝันของอดีต: เซอร์อิสซุมบราที่ลำธารตื้น · ดูเพิ่มเติม »

คำสั่งปล่อย (มิเล)

ำสั่งปล่อย, 1746 (The Order of Release, 1746) เป็นจิตรกรรมที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษ “คำสั่งปล่อย” ตั้งแสดงครั้งแรกในปี ค.ศ. 1853 เป็นภาพแรกที่มิเลเริ่มทิ้งการเขียนที่เต็มไปด้วยรายละเอียดแบบพรีราฟาเอลไลท์เช่นงานสมัยแรกๆ อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตคือเป็นภาพที่เอฟฟี เกรย์ (Effie Gray) ยืนเป็นแบบให้ ภาพเขียนเป็นภาพของภรรยาของนายทหารผู้ก่อการชาวสกอตผู้ถูกจำขังหลังจากการก่อความไม่สงบของจาโคไบท์ ใน..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและคำสั่งปล่อย (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

งานกระจกสี

หน้าต่างประดับกระจกสีเป็นรูปอีแวนเจลลิสทั้งสี่ที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ หน้าต่างประดับกระจกสี (รายละเอียด) เป็นรูปพระเยซูปรากฏตัวต่อนักบุญทอมัสที่วัดเซนต์แมรีที่หมู่บ้านแฟร์ฟอร์ดในอังกฤษ การทำแก้วมงกุฏ งานกระจกสี (Stained glass) คำว่า งานกระจกสี หมายถึงงานที่ใช้กระจกสีตกแต่งหรืองานการทำกระจกสี ซึ่งไม่แต่เฉพาะแต่หน้าต่างเท่านั้น ยังรวมถึงศิลปะอื่นๆ ที่ใช้กระจกสีตกแต่งด้วยเช่น บานกระจกที่ทำเพื่อการตกแต่งโดยเฉพาะ หรือโคมตะเกียงเป็นต้น ตลอดระยะพันปีการตกแต่งด้วยกระจกสีจะหมายถึงหน้าต่างประดับกระจกสีของวัด หรือ มหาวิหารทางคริสต์ศาสนา หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ การตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยเดิมจะแต่งบนแผงแบนสำหรับใช้ทำหน้าต่าง แต่วิธีการตกแต่งด้วยกระจกสีสมัยปัจจุบันจะรวมไปถึงโครงสร้างกระจกสีแบบสามมิติและงานแกะสลักกระจกสีด้วย และจะรวมไปถึงบานกระจกสีสำหรับที่อยู่อาศัยที่เรียกกันว่า “leadlight” ด้วย หรืองานศิลปะที่ทำจากกระจกสีและเชื่อมต่อกันด้วยตะกั่วอย่างเช่น โคมกระจกสีที่มีชื่อเสียงที่ทำโดย หลุยส์ คอมฟอร์ท ทิฟฟานี (Louis Comfort Tiffany) เมื่อพูดถึงวัสดุคำว่า “กระจกสี” โดยทั่วไปจะหมายถึงแก้วที่ทำให้เป็นสีโดยการเติม Metallic salts ระหว่างการผลิต ช่างจะใช้กระจกสีในการสร้าง “หน้าต่างประดับกระจกสี” โดยการเอากระจกสีชิ้นเล็กๆ มาจัดให้เป็นลวดลายหรือภาพภายในกรอบโดยเชื่อมชิ้นกระจกด้วยกันด้วยเส้นตะกั่ว เมื่อเสร็จแล้วก็อาจจะทาสีและย้อมสีเหลืองตกแต่งอีกเล็กน้อยเพื่อให้ลวดลายเด่นขึ้น นอกจากนั้นคำว่า “กระจกย้อมสี” (Stained glass) จะหมายถึงหน้าต่างกระจกที่วาดทาสีเสร็จแล้วเผาในเตาหลอมก่อนที่จะทิ้งไว้ให้เย็น “งานกระจกสี” เป็นงานฝีมือที่ศิลปินต้องมีพรสวรรค์ทางศิลปะเพื่อที่จะออกแบบได้ และต้องมีความรู้ทางวิศวกรรมเพี่อที่สามารถประกอบบานกระจกที่ทำใว้ให้แน่นหนาภายในกรอบสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะกระจกบานใหญ่ๆ ที่จะต้องรับน้ำหนักของตัวบานกระจกเองและสามารถทนทานต่อสภาวะอากาศภายนอกได้ หน้าต่างบานใหญ่เหล่านี้ยังอยู่รอดมาให้เราชมบ้างตั้งแต่สมัยยุคกลางโดยไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ในยุโรปตะวันตกหน้าต่างประดับกระจกสีเป็นจักษุศิลป์ชนิดเดียวที่เหลือมาตั้งแต่ยุคกลาง จุดประสงค์ของหน้าต่างประดับกระจกสีมิใช่ให้ผู้ดูมองออกไปดูโลกภายนอกหรือให้แสงส่องเข้ามาในสิ่งก่อสร้างแต่จะควบคุมผู้อยู่ภายใน จากเหตุผลนี้หน้าต่างประดับกระจกสีจึงอาจจะเรียกได่ว่าเป็น “การตกแต่งผนังส่องแสง” (“illuminated wall decorations”) มากกว่าจะเป็นหน้าต่างอย่างตามความหมายทั่วไปของหน้าต่างที่ใช้มองออกสู่ภายนอก การออกแบบหน้าต่างวัดอาจจะเป็นได้ทั้งอุปมาอุปไมยหรือไม่ก็ได้ หน้าต่างอาจจะเป็นตำนานจากคัมภีร์ไบเบิล ประวัติศาสตร์ หรือ วรรณคดี หรือ ชีวิตของนักบุญ หรือผู้อุปการะวัด หรืออาจจะเป็นลวดลายสัญญลักษณ์ เช่นตราประจำตระกูล การตกแต่งภายในสิ่งก่อสร้างหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวในหัวข้อเดียวกันเช่นถ้าเป็นวัดก็อาจจะเป็นเรื่องราวชีวประวัติของพระเยซู หรือนักบุญ หรือผู้สร้างวัด ถ้าเป็นภายในวิทยาลัยกระจกอาจจะมีสัญลักษณ์สำหรับศิลปะหรือวิทยาศาสตร์ หรือภายในบ้านอาจจะเป็นลวดลายแบบใดแบบหนึ่งที่เจ้าของเลือก.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและงานกระจกสี · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศสกอตแลนด์

กอตแลนด์ (Scotland; Alba อาละเปอะ) เป็นชาติของชนชาวสก็อตและเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสหราชอาณาจักร โดยครอบคลุมพื้นที่หนึ่งในสามทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนร่วมกับประเทศอังกฤษทางทิศใต้ ส่วนที่เหลือล้อมรอบด้วยมหาสมุทรแอตแลนติก ทางตะวันออกเป็นทะเลเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้จดช่องแคบเหนือและทะเลไอร์แลนด์ นอกเหนือจากแผ่นดินใหญ่แล้ว ประเทศสกอตแลนด์ยังมีเกาะอีกกว่า 790 เกาะ เอดินบะระ เมืองหลวงและนครใหญ่ที่สุดอันดับสองของประเทศ เป็นศูนย์กลางยุคเรืองปัญญาของชาวสกอตในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเปลี่ยนสกอตแลนด์มาเป็นมหาอำนาจทางพาณิชย์ ทางการศึกษา และทางอุตสาหกรรมเมืองหนึ่งของทวีปยุโรป ฯ กลาสโกว์ นครใหญ่สุดของสกอตแลนด์ เคยเป็นนครอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกและปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเขตเมืองขยายเกรตเตอร์กลาสโกว์ น่านน้ำสกอตแลนด์ประกอบด้วยทะเลแอตแลนติกเหนือและทะเลเหนือ ซึ่งมีปริมาณน้ำมันสำรองใหญ่สุดในสหภาพยุโรป ทำให้เมืองแอเบอร์ดีน นครใหญ่สุดอันดับสามในสกอตแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงน้ำมันของทวีปยุโรป เดิมราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระที่ไม่ขึ้นกับประเทศอังกฤษจนถึง..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและประเทศสกอตแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

นิทานคติสอนใจ

การกลับมาของลูก จากภาพ “The return of the prodigal son” โดย แรมบรังด์ นิทานคติสอนใจ (Parable) หมายถึงวรรณกรรมหรือโคลงกลอนสั้นๆ ที่แฝงคำสอนหรือบทเรียนทางจริยธรรม หรือทางศาสนา “นิทานคติสอนใจ” ต่างจาก “นิทานอุทาหรณ์” (Fable) ตรงที่นิทานเฟเบิลจะใช้สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของ หรือธรรมชาติเป็นองค์ประกอบของเรื่อง ขณะที่องค์ประกอบของ “ตำนานแฝงคำสอน” จะเป็นมนุษย์ นักวิชาการทางพันธสัญญาใหม่จะใช้คำว่า “นิทานคติสอนใจ” เฉพาะนิทานคติสอนใจที่เกี่ยวกับพระเยซูเท่านั้นJohn P. Meier, “A Marginal Jew”, volume II, Doubleday, 1994.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและนิทานคติสอนใจ · ดูเพิ่มเติม »

แร็มบรันต์

แร็มบรันต์ 100px แร็มบรันต์ ฮาร์เมินส์โซน ฟัน ไรน์ (Rembrandt Harmenszoon van Rijn; 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2149 - 4 ตุลาคม พ.ศ. 2212) เป็นจิตรกรและช่างพิมพ์ในประวัติศาสตร์ศิลปะยุโรปและเป็นจิตรกรที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดรายหนึ่งของโลก ผลงานของแร็มบรันต์ทำให้เนเธอร์แลนด์รุ่งเรืองสุดขีดหรือที่เรียกว่ายุคทองในช่วงศตวรรษที่ 17 และเป็นผู้มีอำนาจทั้งด้านอิทธิพลการเมือง วิทยาศาสตร์ พาณิชย์ และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องจิตรกรรม เขาเป็นบุตรคนที่ 9 ของครอบครัวเจ้าของโรงงานและหุ้นส่วนโรงสีลมในเมืองไลเดิน เนเธอร์แลนด์ พี่น้องของแร็มบรันต์ถูกฝึกหัดเป็นเจ้าของโรงงาน คนทำขนมปัง หรือช่างทำรองเท้า แต่พ่อแม่ส่งลูกคนเล็กสุดของพวกเขาตอนอายุเจ็ดขวบไปที่โรงเรียนประถมมัธยมศึกษาโปรเตสแตนต์ที่ซึ่งเขาเรียนภาษาละติน เมื่อเขาอายุ 14 ปี แร็มบรันต์ลงทะเบียนที่มหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงของไลเดิน แต่เขาแทบจะไม่เรียนมากเพราะว่าในขณะเดียวกันเขาขอให้พ่อแม่ของเขาฝึกหัดเขาให้เป็นจิตรกร ความหวังของเขาได้รับการเติมเต็ม และเขากลายเป็นลูกศิษย์ของศิลปินท้องถิ่น ยาโกบ ฟัน สวาเนินบืร์ค (Jacob van Swanenburgh) ซึ่งเพิ่งกลับมาหลังจากการอยู่อาศัยที่ยาวนานในอิตาลี ระหว่างช่วงนี้เขาได้วาดฉากมากมายของแม่มดและนรก เขาสอนแร็มบรันต์ว่าถ่ายความรู้สึกของมนุษย์ลงในภาพอย่างไร ใช้แสงและความมืดเพื่อแบ่งแยกองค์ประกอบสำคัญจากสิ่งเล็กน้อยอย่างไร หลังจากเสร็จการฝึกหัดของเขา แร็มบรันต์ในวัยเยาว์ไปอัมสเตอร์ดัมเป็นครั้งแรก รับการสอนจากปีเตอร์ ลัสต์มัน เป็นไปได้ว่าแร็มบรันต์ใช้เวลาไม่เกินหกเดือนกับลัสต์มันก่อนกลับไปบ้านเดิมของเขาที่ไลเดิน แร็มบรันต์ฝึกงานครั้งแรกของเขา เขาใช้จ่ายร้อยกิลเดอร์ต่อปี ไม่รวมอาหารและที่พัก ต่อมาเขาควบคุมสตูดิโอขนาดใหญ่กับผู้ช่วยและเด็กฝึกงานประมาณ 50 คน พ่อของแร็มบรันต์เสียชีวิตในเดือนเมษายน..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและแร็มบรันต์ · ดูเพิ่มเติม »

ใบไม้ร่วง (มิเล)

ใบไม้ร่วง (Autumn Leaves) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์นครหลวงแมนเชสเตอร์, แมนเชสเตอร์ในอังกฤษ มิเลเขียนภาพ “ใบไม้ร่วง” เสร็จในปี ค.ศ. 1856 และตั้งแสดงครั้งแรกที่ราชสถาบันศิลปะ ในปีเดียวกัน นักวิจารณ์ศิลป์จอห์น รัสคินบรรยายว่า “เป็นการวาดภาพยามพลบค่ำที่สมบูรณ์ที่สุดเป็นครั้งแรก” เอฟฟี เกรย์ (Effie Gray) ภรรยาของมิเลกล่าวว่ามิเลตั้งใจจะสร้างภาพเขียนที่ “เต็มไปด้วยความงามโดยไม่มีหัวเรื่อง” “ใบไม้ร่วง” เป็นภาพของเด็กผู้หญิงสี่คนกวาดใบไม้มากองรวมกันในยามใกล้ค่ำเพื่อจะทำกองเพลิงแต่เราไม่เห็นเปลวไฟนอกจากควันที่โชยออกมาจากกองใบไม้ เด็กผู้หญิงสองคนทางขวาดูท่าทางขะมุกขะมอมกว่าซึ่งน่าจะเป็นเด็กชั้นแรงงาน ภาพเขียนเห็นกันว่าเป็นภาพแรกๆ ที่มีอิทธิพลต่อการวิวัฒนาการของลัทธิสุนทรียนิยม.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและใบไม้ร่วง (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

โอกุสต์ รอแด็ง

อกุสต์ รอแด็ง (Auguste Rodin) มีชื่อเต็มว่า ฟร็องซัว-โอกุสต์-เรอเน รอแด็ง (François-Auguste-René Rodin; 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1840 - 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1917) เป็นประติมากรและจิตรกรชาวฝรั่งเศส รอแด็งเริ่มศึกษาประติมากรรมที่ปารีส มีชื่อเสียงจากการสร้างรูปปั้นจำลอง งานชิ้นหลัง ๆ ของเขาได้รับแรงบันดาลใจจากดังเตกวีคนสำคัญ โดยผลงานชิ้นสำคัญได้แก่ ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากฉากในกวีนิพนธ์ “ไฟนรก” (Inferno) ของดังเต และรูปปั้น ที่นำเสนอภาพของดังเตเมื่อยามครุ่นคิด แม้ว่ารอแด็งจะถือกันว่าเป็นผู้ที่มีส่วนริเริ่มการประติมากรรมสมัยใหม่แต่ความจริงแล้วรอแด็งมิได้มีความตั้งใจจะปฏิรูปศิลปะแบบที่ทำกันมา รอแด็งได้รับการศึกษาจากสถาบันวิจิตรศิลป์แห่งฝรั่งเศส (Académie des beaux-arts) การสร้างงานก็เป็นไปตามวิธีช่างอย่างที่เรียนมาเพื่อที่จะได้เป็นที่ยอมรับกันทางสถาบัน Hale, 76.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและโอกุสต์ รอแด็ง · ดูเพิ่มเติม »

โจชัว เรย์โนลส์

ซอร์โจชัว เรย์โนลส์ (ภาษาอังกฤษ: Joshua Reynolds, RA FRS FRSA) (16 กรกฎาคม ค.ศ. 1723 - 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1792) เป็นจิตรกรชาวอังกฤษของสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน และภาพเหมือน โจชัว เรย์โนลส์เกิดเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1723 ที่เมืองพลิมตันในเดวอนในอังกฤษ และเสียชีวิตเมื่อราววันที่ 23 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1792 ที่เมืองลอนดอนในอังกฤษ เรย์โนลด์เป็นผู้สนับสนุนการเขียนที่เรียกว่า “Grand Style” ที่เป็นการเขียนที่สร้างภาพอุดมคติจากสิ่งที่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์แบบ เรย์โนลด์เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการของราชสถาบันศิลปะ เรย์โนลด์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเซอร์จากพระเจ้าจอร์จที่ 3.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและโจชัว เรย์โนลส์ · ดูเพิ่มเติม »

เอสเธอร์ (มิเล)

อสเธอร์ (Esther) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเล จิตรกรกลุ่มนิยมแบบก่อนราฟาเอลชาวอังกฤษ มิเลเขียนภาพ "เอสเธอร์" ในปี ค.ศ. 1865 เป็นภาพเขียนในช่วงสุนทรียนิยมของมิเลเมื่อได้รับอิทธิพลจากเฟรเดอริก เลตัน (Frederic Leighton) และเจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ "เอสเธอร์" เป็นภาพของเอสเธอร์บุคคลจากพระธรรมเอสเธอร์จากพันธสัญญาเดิม ในตำนานเอสเธอร์เป็นภรรยาชาวยิวของกษัตริย์เปอร์เซียอาฮาซูเออรัส (Ahasuerus) ขณะที่กำลังเตรียมตัวจะเข้าเฝ้าพระสวามี เอสเธอร์เสี่ยงกับการลงโทษถึงตายเพราะมิได้ถูกเรียกให้เข้าเฝ้า แต่เอสเธอร์ก็ตัดสินใจเข้าเฝ้าเพื่อทูลถึงแผนการสังหารชาวยิว มิเลขอยืมเสื้อคลุมสีเหลืองที่นายพลชาลส์ จอร์จ กอร์ดอน (Charles George Gordon) ที่ได้รับจากพระจักรพรรดิจีนหลังจากที่ทรงพ่ายแพ้ในกบฏไทปิง (Taiping Rebellion) ในการพยายามสร้างบรรยากาศมิเลกลับข้างในออกข้างนอกที่ทำให้เกิดลวดลายแอ็บแสตร็คที่เห็นในภาพเขียน การใช้สีตัดกันของเสื้อคลุมสีเหลืองบนม่านสีน้ำเงินและคอลัมน์สีขาวเป็นการสร้าง visual effect และการลดการใช้รายละเอียดอื่นในการสื่อเนื้อหาของภาพก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่กลุ่มสุนทรีย์นิยมปฏิบัติซึ่งมิเลพยายามเลียนแบบ "เอสเธอร์" ในภาพยืนจัดสายมุกบนผมเพื่อเตรียมสวมมงกุฏ การวางท่านี้มาจากภาพเขียนทิเชียน ที่มิเลพยายามเลียนแบบรวมทั้งการใช้สีและการวางหน้าในลักษณะที่เรียกว่า "ทิเชียนบลอนด์" เมื่อเทียบกับสีแดงของภาพเขียนก่อน ๆ ของมิเล เช่น "เพื่อนเจ้าสาว" (The Bridesmaid) และงานเขียนของจิตรกรร่วมสมัย ดานเต เกเบรียล รอสเซ็ตติ นักเขียนชีวประวัติของมิเลมาเรียน สปีลแมนกล่าวถึงภาพเขียนว่าเป็น "เป็นการเขียนที่มีลักษณะสมัยใหม่ที่สุดเมื่อเทียบกับงานเขียนสมัยแรก...ภาพมีความกลมกลืนด้วยการใช้สีที่สดใสของ..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและเอสเธอร์ (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์

มส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ (ภาษาอังกฤษ: James Abbott McNeill Whistler) (11 กรกฎาคม ค.ศ. 1834 - 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1903) เป็นจิตรกรชาวอเมริกันที่ตั้งถิ่นฐานในอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมสีน้ำมัน เจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์เกิดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 1834 ที่เมืองโลเวลล์ในรัฐแมสซาชูเซตส์ในสหรัฐอเมริกา และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1903 ที่เมืองลอนดอนในอังกฤษ วิสต์เลอร์เป็นผู้นำในความคิดที่ว่า “ศิลปะเพื่อศิลปะ” (art for art's sake) ลายเซ็นที่มีชื่อเสียงของวิสต์เลอร์เป็นภาพผีเสื้อที่มีหางยาว ลายเซ็นเหมาะกับบุคลิกและลักษณะงานเขียนซึ่งเป็นลักษณะที่ละเอียดอ่อนแต่เป็นผู้ที่ชอบการเผชิญหน้า วิสต์เลอร์มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างจิตรกรรมและดนตรีซึ่งจะเห็นจากการตั้งชื่อภาพเขียนที่ใช้ศัพท์ทางดนตรีเช่น “arrangements” “harmonies” หรือ “nocturnes” และเน้นงานเขียนในด้านความผสานของโทนสี งานชิ้นที่สำคัญที่สุดของวิสต์เลอร์คือภาพ “มารดาของวิสต์เลอร์” (Whistler's Mother) ที่มีศิลปะที่ทำล้อเลียนกันมาก วิสต์เลอร์เป็นผู้มีปฏิภาณดีและไม่อายที่จะส่งเสริมตนเอง แต่ก็ผู้มีอิทธิพลต่อศิลปะและวัฒนธรรมร่วมสมัยและมีความสัมพันธ์กับและมีอิทธิพลต่อศิลปินและนักเขียนคนอื่นๆ ในสมัยนั้นเป็นอันมาก.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและเจมส์ แม็คนีลล์ วิสต์เลอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เจอร์ซีย์

เจอร์ซีย์ (Jersey) เป็นดินแดนอาณานิคมปกครองตนเองของสหราชอาณาจักร เป็นเกาะหนึ่งในหมู่เกาะแชนเนลในช่องแคบอังกฤษ มีเมืองหลวงชื่อ เซนต์เฮลเยอร์ หมวดหมู่:ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เกาะในทวีปยุโรป จ หมวดหมู่:เจอร์ซีย์.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและเจอร์ซีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เจ้าชายในหอคอย

“เจ้าชายสองพระองค์เอ็ดเวิร์ดและริชาร์ดในหอคอยในปี ค.ศ. 1483” โดยจอห์น เอเวอเรทท์ มิเลย์ (ค.ศ. 1878) เจ้าชายแห่งหอคอย (Princes in the Tower) คือเจ้าฟ้าสองพระองค์ -- เจ้าชายเอ็ดเวิร์ด (4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1470 - ค.ศ. 1483?) และพระอนุชาริชาร์ดแห่งชรูว์สบรี ดยุคแห่งยอร์คที่ 1 (17 สิงหาคม ค.ศ. 1473 - ค.ศ. 1483?)-- ผู้เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 4 แห่งอังกฤษ และ พระราชินีเอลิซาเบธ วูดวิลล์ เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์ถูกประกาศว่าเป็นพระราชโอรสนอกสมรสตามพระราชบัญญัติของรัฐสภาที่ออกในปี..

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและเจ้าชายในหอคอย · ดูเพิ่มเติม »

เด็กหญิงตาบอด (มิเล)

็กหญิงตาบอด (The Blind Girl) เป็นภาพเขียนสีน้ำมันที่เขียนโดยจอห์น เอเวอเรตต์ มิเลจิตรกรสมัยพรีราฟาเอลไลท์ชาวอังกฤษ ที่ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่หอศิลป์นครหลวงแมนเชสเตอร์, แมนเชสเตอร์ในอังกฤษ มิเลเขียนภาพ “เด็กหญิงตาบอด” ในปี ค.ศ. 1856 เป็นภาพเด็กขอทานเร่ร่อนที่น่าจะเป็นพี่น้องกัน คนหนึ่งตาบอดเป็นนักร้องที่เห็นได้จากหีบเพลงที่อยู่บนบนตัก สองพี่น้องนั่งพักริมทางหลังจากฝนตกก่อนที่จะเดินทางต่อไปยังวินเชลเซียที่เห็นอยู่ลิบๆ ในฉากหลัง “เด็กหญิงตาบอด” เป็นภาพเขียนที่ได้รับการตีความหมายว่าเป็นอุปมานิทัศน์ที่ให้ความหมายของความแตกต่างระหว่างความมองเห็นและไม่เห็นของระหว่างพี่น้องในภาพ ความรู้สึกของผู้ที่ตาบอดคือความรู้สึกของไออุ่นจากแสงอาทิตย์บนใบหน้าและมือที่เล่นใบไม้อยู่ข้างๆ ขณะที่น้องสาวต้องหรี่ตาเพราะความจัดจ้าของแสงอาทิตย์เมื่อมองไปยังสายรุ้งซ้อนที่เพิ่งปรากฏบนท้องฟ้าหลังฝนหยุด นักวิจารณ์บางคนตีความหมายสายรุ้งในทางศาสนาว่าเป็นสัญลักษณ์ของความคุ้มครองของพระเจ้าที่บรรยายในพระธรรมปฐมกาล 9:16.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและเด็กหญิงตาบอด (มิเล) · ดูเพิ่มเติม »

เซาแทมป์ตัน

ซาแทมป์ตัน (Southampton) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในแฮมป์เชียร์เคาน์ตี ชายฝั่งตอนใต้ของอังกฤษ อยู่ห่างจากกรุงลอนดอนทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ราว 120 กิโลเมตร และห่างจากเมืองพอร์ตสมัททางทิศตะวันตกเฉียงเหนือราว 30 กิโลเมตร มีประชากร 239,700 คน (ค.ศ. 2010) เป็นเมืองท่าสำคัญ เมืองที่ใกล้ที่สุดคือ นิวฟอร์เรสต์ เซาแทมป์ตันอยู่ทางทิศเหนือสุดของอ่าวเซาแทมป์ตันวอเตอร์ มีแม่น้ำเทสต์และแม่น้ำอิตเชน ไหลมาบรรจบกัน มีแม่น้ำแฮมเบิลไหลมารวมทางตอนใต้บริเวณเขตเมือง ชาวโรมันและแซกซันเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่เมืองนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดของเยอรมัน เนื่องจากเป็นที่ตั้งฐานทัพเรือที่สำคัญของสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและเซาแทมป์ตัน · ดูเพิ่มเติม »

13 สิงหาคม

วันที่ 13 สิงหาคม เป็นวันที่ 225 ของปี (วันที่ 226 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 140 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและ13 สิงหาคม · ดูเพิ่มเติม »

8 มิถุนายน

วันที่ 8 มิถุนายน เป็นวันที่ 159 ของปี (วันที่ 160 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 206 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: จอห์น เอเวอเรตต์ มิเลและ8 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

John Everett MillaisJohn MillaisMillaisSir John Everett MillaisSir John Millaisมิเลส์จอห์น มิเลส์จอห์น เอเวอเรทท์ มิเลส์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »