เรากำลังดำเนินการเพื่อคืนค่าแอป Unionpedia บน Google Play Store
ขาออกขาเข้า
🌟เราได้ทำให้การออกแบบของเราง่ายขึ้นเพื่อการนำทางที่ดีขึ้น!
Instagram Facebook X LinkedIn

ราชวงศ์ทอเลมี

ดัชนี ราชวงศ์ทอเลมี

ทอเลมีที่ 1ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ทอเลมี ราชวงศ์ทอเลมี (Πτολεμαῖοι หรือ Λαγίδαι, Ptolemaic dynasty หรือ Lagids) หรือบางครั้งก็เรียกว่า ราชวงศ์ลากิดส์ ซึ่งมาจาก ลากัส ชื่อของพระราชบิดาของทอเลมีที่ 1 ราชวงศ์ทอเลมีเป็นราชวงศ์กรีก ผู้ปกครองจักรวรรดิทอเลมีในอียิปต์ระหว่างสมัยกรีก ราชวงศ์ทอเลมีรุ่งเรืองอยู่เกือบ 300 ปี จากตั้งแต่ 305 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนถึง 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมี หนึ่งในองครักษ์เจ็ดคนผู้รับราชการเป็นนายพลและผู้ช่วยภายใต้อเล็กซานเดอร์มหาราช ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นข้าหลวงของอียิปต์ หลังจากที่อเล็กซานเดอร์เสด็จสวรรคตในปี 323 ก่อนคริสต์ศักราช ในปี 305 ก่อนคริสต์ศักราช ทอเลมีก็ประกาศตนเป็นพระเจ้าทอเลมี และต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โซเตอร์” ที่แปลว่าผู้มาช่วย ต่อมาชาวอียิปต์ก็ยอมรับราชวงศ์ทอเลมีว่าเป็นราชวงศ์ที่สืบการเป็นฟาโรห์ของอียิปต์ ราชวงศ์ทอเลมีปกครองอียิปต์จนมาถูกพิชิตโดยโรมัน ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ประมุขผู้เป็นชายทุกองค์ใช้ชื่อทอเลมี ที่เป็นสตรีบางคนก็เป็นพระขนิษฐาของพระราชสวามีมักจะใช้ชื่อ “คลีโอพัตรา” หรือ “อาร์ซิโนเอ” หรือ “เบเรนิเซ” สมาชิกคนสำคัญที่สุดของราชวงศ์คือ พระราชินีองค์สุดท้ายคลีโอพัตราที่ 7 ที่เป็นที่รู้จักกันจากการมีบทบาทในความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์ และ ปอมเปย์ และต่อมาระหว่าง อ็อคเตเวียน และ มาร์ก แอนโทนี การฆ่าตัวตายคลีโอพัตราเป็นการสิ้นสุดการครองอียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี.

สารบัญ

  1. 44 ความสัมพันธ์: ฟาโรห์มากัสแห่งซิเรเนมาร์กุส อันโตนิอุสมาซิโดเนียราชอาณาจักรทอเลมีอาร์ซิโนเอที่ 1อาร์ซิโนเอที่ 3อาร์ซิโนเอที่ 4อียิปต์โบราณอเล็กซานเดอร์ เฮลิออสอเล็กซานเดอร์มหาราชจักรพรรดิเอากุสตุสจักรวรรดิโรมันจูเลียส ซีซาร์ทอเลมีที่ 1ทอเลมีที่ 10ทอเลมีที่ 11ทอเลมีที่ 12ทอเลมีที่ 13ทอเลมีที่ 14ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียนทอเลมีที่ 2ทอเลมีที่ 3ทอเลมีที่ 4ทอเลมีที่ 5ทอเลมีที่ 6ทอเลมีที่ 7ทอเลมีที่ 8ทอเลมีที่ 9คลีโอพัตราคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2คลีโอพัตราที่ 1คลีโอพัตราที่ 2คลีโอพัตราที่ 3คลีโอพัตราที่ 4คลีโอพัตราที่ 5คลีโอพัตราที่ 6ซิเรเนประเทศอียิปต์ปอมปีย์เบเรนิซที่ 1เบเรนิซที่ 2เบเรนิซที่ 3เบเรนิซที่ 4

  2. 30 ปีก่อนคริสตกาล
  3. ผู้ปกครองยุคเฮลเลนิสติก
  4. รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล
  5. ราชตระกูลโบราณ
  6. ราชวงศ์กรีกโบราณ
  7. ราชวงศ์อียิปต์โบราณ

ฟาโรห์

หลังรัชสมัยฟาโรห์โจเซอร์ (Djoser) แห่งราชวงศ์ที่ 3 แล้ว มักปรากฏภาพพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์ฉลองพระองค์ด้วยศิราภรณ์เนเมส (Nemes), พระมัสสุเทียม, และกระโปรงจีบ ฟาโรห์ (Pharaoh; อ่านว่า เฟโรห์ (ˈ/feɪroʊ/) หรือ แฟโรห์ (/ˈfæroʊ/)) เป็นชื่อตำแหน่งพระเจ้าแผ่นดินอียิปต์โบราณทุกราชวงศ์ มีต้นศัพท์คือคำว่า "pr-aa" แปลว่า บ้านหลังใหญ่ (great house) ซึ่งเป็นคำอุปมาถึง พระราชมนเทียร คำ "ฟาโรห์" นั้นปัจจุบันใช้เรียกพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ของอียิปต์โบราณ แต่ตามประวัติศาสตร์แล้ว เริ่มเรียกพระมหากษัตริย์อียิปต์ว่า "ฟาโรห์" กันในสมัยราชอาณาจักรใหม่ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงกลางราชวงศ์ที่ 18 เมื่อพ้นรัชกาลของพระนางแฮตเชปซุต (Hatshepsut) ไปแล้วDodson, Aidan and Hilton, Dyan.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและฟาโรห์

มากัสแห่งซิเรเน

มากัสแห่งซิเรเน (กรีก: Μάγας ὁ Κυρηναῖος; ประสูติ 317 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์ 250 ปีก่อนคริสตกาล, ปกครองระหว่าง 276 - 250 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นขุนนางชาวกรีกจากอาณาจักรมาซิโดเนียและกษัตริย์แห่งซิเรเน เกิดจากการการอภิเษกสมรสครั้งที่สองของพระนางเบเรนิซที่ 1 กับปโตเลมีที่ 1 ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในสมาชิกของราชวงศ์ปโตเลมี พระองค์พยายามกู้อิสรภาพเมืองซิเรเน (ในปัจจุบันคือบริเวณประเทศลิเบีย) จากราชวงศ์ปโตเลมีของอียิปต์โบราณและกลายเป็นกษัตริย์ปกครองแห่งซิเรเนระหว่าง 276 ปีก่อนคริสตกาล ถึง 250 ปีก่อนคริสตศักร.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและมากัสแห่งซิเรเน

มาร์กุส อันโตนิอุส

มาร์กุส อันโตนิอุส มาร์กี ฟีลิอุส มาร์กี แนโปส (MARCVS ANTONIVS MARCI FILIVS MARCI NEPOS, M·ANTONIVS·M·F·M·N; 14 มกราคม 83 ปีก่อนคริสต์ศักราช - 1 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสต์ศักราช) หรือที่เรียกทั่วไปว่า มาร์ก แอนโทนี (Mark Antony) เป็นนักการเมืองและแม่ทัพของสาธารณรัฐโรมัน ในฐานะผู้บัญชาการทหารและผู้ปกครอง เขาเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญและเพื่อนผู้ภักดีของลูกพี่ลูกน้องของมารดา จูเลียส ซีซาร์ หลังการลอบสังหารซีซาร์ แอนโทนีตั้งพันธมิตรทางการเมืองอย่างเป็นทางการกับอ็อกตาวิอานุส (หรือจักรพรรดิเอากุสตุสในเวลาต่อมา) กับมาร์กุส ไอมิลิอุส แลปิดุส ซึ่งนักประวัติศาสตร์ปัจจุบันเรียกว่า คณะสามผู้นำที่สอง (Second Triumvirate) คณะสามผู้นำแตกเมื่อ 33 ปีก่อน..

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและมาร์กุส อันโตนิอุส

มาซิโดเนีย

มาซิโดเนีย อาจหมายถึง.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและมาซิโดเนีย

ราชอาณาจักรทอเลมี

ราชอาณาจักรทอเลมี (Πτολεμαϊκὴ βασιλεία, Ptolemaic Kingdom) ตั้งอยู่ในอียิปต์ปัจจุบัน เป็นอาณาจักรที่ก่อตั้งขึ้นหลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชได้รับชัยชนะต่ออียิปต์ในปี 332 ก่อนคริสต์ศักราช และสิ้นสุดลงเมื่อคลีโอพัตราสิ้นพระชนม์ เมื่อโรมันได้รับชัยชนะต่ออียิปต์ในปี 30 ก่อนคริสต์ศักราช ราชอาณาจักรทอเลมีก่อตั้งขึ้นโดยทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ผู้ประกาศตนเป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์ ทอเลมีสร้างอียิปต์เป็นรัฐกรีกที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางใต้ของซีเรียซีเรียไปจนถึงไซรีนในลิเบีย และทางใต้ไปถึงนิวเบีย โดยมีอเล็กซานเดรียเป็นเมืองหลวงและเป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมกรีกและการค้า เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของประชาชนในอียิปต์ทอเลมีก็ประกาศตนว่าเป็นผู้ครองต่อจากฟาโรห์ ผู้ครองราชย์ต่อมารับธรรมเนียมของอียิปต์โบราณในการเสกสมรสกับพี่น้องกันเอง ปฏิบัติตัวและแต่งตัวอย่าอียิปต์ วัฒนธรรมกรีกรุ่งเรืองในอียิปต์จนกระทั่งเมื่อถูกพิชิตโดยมุสลิม ราชวงศ์ทอเลมีต้องต่อสู้กับการปฏิวัติภายในประเทศและการสงครามกับภายนอกซึ่งนำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของอำนาจจนกระทั่งมาถูกผนวกโดยราชอาณาจักรโรมัน.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและราชอาณาจักรทอเลมี

อาร์ซิโนเอที่ 1

ระนางอาร์ซิโนเอที่ 1 แห่ง อียิปต์ อาร์ซิโนเอที่ 1 (กรีก: Arsinoe; ประสูติ 305 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระขนม์ 248 ปีก่อนคริสตกาล, Footnote 10) เป็นพระราชินีและพระมเหสีแห่งราชวงศ์ทอเลมีของอียิปต์โบราณ พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟั.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและอาร์ซิโนเอที่ 1

อาร์ซิโนเอที่ 3

อาร์ซิโนเอที่ 3 ฟิโลพาเตอร์ (กรีกโบราณ: Ἀρσινόη ἡ Φιλοπάτωρ, ซึ่งหมายความว่า "อาร์ซิโนเอผู้เป็นที่รักของบิดา", ประสูติเมื่อ 246 หรือ 245 ปีก่อนคริสตกาล - 204 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณในช่วง 220 - 204 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 กับพระนางเบเรนิซที่ 2 พระองค์เป็นดำรงตำแหน่งพระราชินีแห่งราชวงศ์ทอเลมีโดยทรงอภิเษกสมรสกับพระเชษฐาของพระองค์ ทอเลมีที่ 4 พระองค์และพระสวามีของพระองค์ทรงเป็นที่รักและนับถือโดยชาวอียิปต.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและอาร์ซิโนเอที่ 3

อาร์ซิโนเอที่ 4

อาร์ซิโนเอที่ 4 (กรีก: Ἀρσινόη; ประสูติ 68 หรือ 59 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์ 41 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นหนึ่งในสี่ของพระราชโอรสและพระราชธิดา พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์สุดท้องของทอเลมีที่ 12 อูเทเลส กับพระมเหสีไม่ทราบพระนาม และเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกันกับทอเลมีที่ 13 ระหว่าง 48 - 47 ปีก่อนคริสตกาล ทำให้พระองค์เป็นหนึ่งในสมาชิกพระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีของอียิปต์โบราณ พระนางอาร์ซิโนเอที่ 4 เป็นพระขนิษฐาของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 และเป็นพระภคินีของฟาโรห์ทอเลมีที่ 13.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและอาร์ซิโนเอที่ 4

อียิปต์โบราณ

มมฟิสและสุสานโบราณ อียิปต์โบราณ หรือ ไอยคุปต์ เป็นหนึ่งในอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา มีพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางจนถึงปากแม่น้ำไนล์ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอียิปต์ อารยธรรมอียิปต์โบราณเริ่มขึ้นประมาณ 3150 ปีก่อนคริตศักราช โดยการรวมอำนาจทางการเมืองของอียิปต์ตอนเหนือและตอนใต้ ภายใต้ฟาโรห์องค์แรกแห่งอียิปต์ และมีการพัฒนาอารยธรรมเรื่อยมากว่า 5,000 ปี ประวัติของอียิปต์โบราณปรากฏขึ้นในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือที่รู้จักกันว่า "ราชอาณาจักร" มีการแบ่งยุคสมัยของอียิปต์โบราณเป็นราชอาณาจักร ส่วนมากแบ่งตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครอง จนกระทั่งราชอาณาจักรสุดท้าย หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า "ราชอาณาจักรกลาง" อารยธรรมอียิปต์อยู่ในช่วงที่มีการพัฒนาที่ยมาก และส่วนมากลดลง ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่อียิปต์ชนพ่ายต่อการทำสงครามจากชาติอื่น ดังเช่นชาวอัสซีเรียและเปอร์เซีย จนกระทั่งเมื่อ 332 ปีก่อนคริสตศักราช ก็เป็นการสิ้นสุดอารยธรรมอียิปต์โบราณลง เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยึดครองอียิปต์ และจัดอียิปต์เป็นเพียงจังหวัดหนึ่งในจักรวรรดิมาซิโดเนีย อารยธรรมอียิปต์พัฒนาการมาจากสภาพของลุ่มแม่น้ำไนล์ การควบคุมระบบชลประทาน, การควบคุมการผลิตพืชผลทางการเกษตร พร้อมกับพัฒนาอารยธรรมทางสังคม และวัฒนธรรม พื้นที่ของอียิปต์นั้นล้อมรอบด้วยทะเลทรายเสมือนปราการป้องกันการรุกรานจากศัตรูภายนอก นอกจากนี้ยังมีการทำเหมืองแร่ และอียิปต์ยังเป็นชนชาติแรกๆที่มีการพัฒนาการด้วยการเขียน ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้,การบริหารอียิปต์เน้นไปทางสิ่งปลูกสร้าง และการเกษตรกรรม พร้อมกันนั้นก็มีการพัฒนาการทางทหารของอียิปต์ที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งแก่ราชอาณาจักร โดยประชาชนจะให้ความเคารพกษัตริย์หรือฟาโรห์เสมือนหนึ่งเทพเจ้า ฟาโรห์มีอำนาจและโหดร้ายมาก ทำให้การบริหารราชการบ้านเมืองและการควบคุมอำนาจนั้นทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ชาวอียิปต์โบราณไม่ได้เป็นเพียงแต่นักเกษตรกรรม และนักสร้างสรรค์อารยธรรมเท่านั้น แต่ยังเป็นนักคิด, นักปรัชญา ได้มาซึ่งความรู้ในศาสตร์ต่างๆมากมายตลอดการพัฒนาอารยธรรมกว่า 4,000 ปี ทั้งในด้านคณิตศาสตร์, เทคนิคการสร้างพีระมิด, วัด, โอเบลิสก์, ตัวอักษร และเทคนิคโลยีด้านกระจก นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาประสิทธิภาพทางด้านการแพทย์, ระบบชลประทานและการเกษตรกรรม อียิปต์ทิ้งมรดกสุดท้ายแก่อนุชนรุ่นหลังไว้คือศิลปะ และสถาปัตยกรรม ซึ่งถูกคัดลอกนำไปใช้ทั่วโลก อนุสรณ์สถานที่ต่างๆในอียิปต์ต่างดึงดูดนักท่องเที่ยว นักประพันธ์กว่าหลายศตวรรษที่ผ่านมา ปัจจุบันมีการค้นพบวัตถุใหม่ๆในอียิปต์มากมายซึ่งกำลังตรวจสอบถึงประวัติความเป็นมา เพื่อเป็นหลักฐานให้แก่อารยธรรมอียิปต์ และเป็นหลักฐานแก่อารยธรรมของโลกต่อไป.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและอียิปต์โบราณ

อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส

อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส (กรีก: Ἀλέξανδρος Ἥλιος; ประสูติ 40 ปีก่อนคริสตกาล - ไม่ทราบแต่อาจจะเป็นระหว่าง 29 และ 25 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นเจ้าชายแห่งราชวงศ์ปโตเลมีและเป็นพระราชโอรสพระองค์โตของพระนางคลีโอพัตราที่ 7 กับแม่ทัพชาวโรมัน มาร์ค แอนโทนี และมีพระขนิษฐาฝาแฝดนามว่าพระนางคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 ทำให้ฝาแฝดมีเชื้อสายชาวกรีก - โรมัน และได้มีชื่อที่มาจากพระนามของบรรพบุรุษของพระองค์คือ อเล็กซานเดอร์มหาราช ชื่อที่สองของพระองค์เป็นภาษากรีกโบราณ หมายถึง "อาทิตย์" ส่วนพระขนิษฐาฝาแฝดนามว่า เซเลเน (Σελήνη) หมายถึง "ดวงจันทร์".

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส

อเล็กซานเดอร์มหาราช

อเล็กซานเดอร์ที่ 3 แห่งมาเกโดนีอา (356-323 ปีก่อนคริสตกาล) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า อเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, Μέγας Ἀλέξανδρος) เป็นกษัตริย์กรีกจากราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ผู้สร้างชื่อเสียงมากที่สุดของราชวงศ์อาร์กีด เป็นผู้สร้างจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคโบราณ เกิดที่เมืองเพลลา ตอนเหนือของมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 356 ก่อนคริสตกาล ได้รับการศึกษาตามแบบกรีกดั้งเดิมภายใต้การกำกับดูแลของอริสโตเติล นักปรัชญากรีกผู้มีชื่อเสียง สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจาก พีลิปโปสที่ 2 แห่งมาเกโดนีอา เมื่อปีที่ 336 ก่อนคริสตกาลหลังจากที่พระบิดาถูกลอบสังหาร สวรรคตในอีก 13 ปีต่อมาเมื่อพระชนมายุเพียง 32 พรรษา แม้ว่าราชบัลลังก์และจักรวรรดิของอเล็กซานเดอร์จะอยู่เพียงชั่วครู่ยาม แต่ผลกระทบจากการพิชิตดินแดนของพระองค์ส่งผลสืบเนื่องต่อมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ อเล็กซานเดอร์ถือเป็นหนึ่งในบุรุษผู้มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกยุคโบราณ มีชื่อเสียงเลื่องลือในความสามารถทางการรบ ยุทธวิธี และการเผยแพร่อารยธรรมกรีกไปในดินแดนตะวันออก พระเจ้าพีลิปโปสทรงนำแว่นแคว้นกรีกโดยมากบนแผ่นดินใหญ่กรีซให้มาอยู่ภายใต้การปกครองของมาเกโดนีอา โดยใช้ทั้งกลวิธีทางการทูตและทางทหาร เมื่อพีลิปโปสสวรรคต อเล็กซานเดอร์จึงได้สืบทอดราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและกองทัพที่เปี่ยมประสบการณ์ พระองค์เป็นที่ยอมรับในด้านการรบจากแว่นแคว้นกรีซ และได้เริ่มแผนการขยายอำนาจแผ่อาณาจักรตามที่บิดาเคยริเริ่มไว้ พระองค์ยกทัพรุกรานดินแดนเอเชียไมเนอร์ภายใต้การปกครองของอาณาจักรเปอร์เซีย และกระทำการรณยุทธ์อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลาร่วมสิบปี อเล็กซานเดอร์เอาชนะชาวเปอร์เซียครั้งแล้วครั้งเล่า นำทัพข้ามซีเรีย อียิปต์ เมโสโปเตเมีย เปอร์เซีย และแบคเทรีย ทรงโค่นล้มกษัตริย์พระเจ้าดาไรอัสที่ 3 แห่งเปอร์เซีย และพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียได้ทั้งหมด พระองค์ไล่ตามความปรารถนาที่ต้องการเห็น "จุดสิ้นสุดของโลกและมหาสมุทรใหญ่ที่เบื้องปลาย" จึงยกทัพบุกอินเดีย แต่ต่อมาถูกบีบให้ต้องถอยทัพกลับโดยบรรดาทหารที่กำเริบขึ้นเนื่องจากเบื่อหน่ายการสงคราม การสูญเสียเฮฟีสเทียนทำให้อเล็กซานเดอร์ตรอมใจจนสวรรคตที่เมืองบาบิโลน ในปี 323 ก่อนคริสตกาล ก่อนจะเริ่มแผนการรบต่อเนื่องในการรุกรานคาบสมุทรอาระเบีย ในปีถัดจากการสวรรคตของอเล็กซานเดอร์ เกิดสงครามกลางเมืองทั่วไปจนอาณาจักรของพระองค์แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดเป็นรัฐใหญ่น้อยมากมายปกครองโดยบรรดาขุนนางชาวมาเกโดนีอา แม้ความเป็นผู้พิชิตของพระองค์จะโดดเด่นอย่างยิ่ง แต่มรดกของอเล็กซานเดอร์ที่ยืนยงต่อมากลับมิใช่ราชบัลลังก์ กลายเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมที่ติดตามมาจากการพิชิตดินแดนเหล่านั้น การก่อร่างสร้างเมืองอาณานิคมกรีกและวัฒนธรรมกรีกที่เผยแพร่ไปในแดนตะวันออกทำให้เกิดเป็นวัฒนธรรมเฮเลนนิสติก ซึ่งยังคงสืบทอดต่อมาในจักรวรรดิไบแซนไทน์กระทั่งกลางคริสต์ศตวรรษที่ 15 อเล็กซานเดอร์เป็นบุคคลในตำนานในฐานะวีรบุรุษผู้ตามอย่างอคิลลีส มีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมปรัมปราทั้งของฝ่ายกรีกและที่ไม่ใช่กรีก เป็นหลักเกณฑ์มาตรฐานซึ่งบรรดานายพลทั้งหลายใช้เปรียบเทียบกับตนเองแม้จนถึงปัจจุบัน โรงเรียนการทหารทั่วโลกยังคงใช้ยุทธวิธีการรบของพระองค์เป็นแบบอย่างในการเรียนการสอน.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและอเล็กซานเดอร์มหาราช

จักรพรรดิเอากุสตุส

อิมแปราตอร์ ไกซาร์ ดีวี ฟีลิอุส เอากุสตุส (IMPERATOR CAESAR DIVI FILIVS AVGVSTVS; 23 กันยายน 63 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 19 สิงหาคม ค.ศ. 14) เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน ทรงปกครองจักรวรรดิแต่เพียงผู้เดียวนับตั้งแต่ 27 ปีก่อนคริสต์ศักราชจนกระทั่งสวรรคตใน..

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและจักรพรรดิเอากุสตุส

จักรวรรดิโรมัน

ักรวรรดิโรมันในช่วงเวลาต่างๆกัน จักรวรรดิโรมัน (Imperivm Romanvm; Ῥωμαϊκὴ Αὐτοκρατορία หรือ Ἡ Ῥωμαίων βασιλεία; Roman Empire) เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งของอารยธรรมโรมันโบราณซึ่งปกครองโดยรูปแบบอัตตาธิปไตย จักรวรรดิโรมันได้สืบต่อการปกครองมาจากสาธารณรัฐโรมัน (510 ปีก่อนคริสตกาล - ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตาล) ซึ่งได้อ่อนแอลงหลังจากความขัดแย้งระหว่างไกอุส มาริอุสและซุลลา และสงครามกลางเมืองระหว่างจูเลียส ซีซาร์และปอมปีย์ มีวันหลายวันที่ได้ถูกเสนอให้เป็นเส้นแบ่งของการเปลี่ยนแปลงระหว่างสาธารณรัฐและจักรวรรดิ ได้แก.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและจักรวรรดิโรมัน

จูเลียส ซีซาร์

กาอิอุส ยูลิอุส ไกซาร์ (Caivs/Gaivs Ivlivs Caesar) หรือ จูเลียส ซีซาร์ (Julius Caesar; กรกฎาคม 100 ปีก่อน ค.ศ. – 15 มีนาคม 44 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นรัฐบุรุษ แม่ทัพ และผู้ประพันธ์ร้อยแก้วอันเลื่องชื่อชาวโรมัน เขามีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์อันนำไปสู่การสิ้นสุดสาธารณรัฐโรมันและความเจริญของจักรวรรดิโรมัน ใน 60 ปีก่อน..

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและจูเลียส ซีซาร์

ทอเลมีที่ 1

ทอเลมีที่ 1 โซเตอร์ (กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςΣωτήρ, Ptolemaios Soter อังกฤษ:Ptolemy I Soter) พระองค์เกิดในปี 367 ก่อนคริสตกาล - 283 ก่อนคริสตกาล เป็นชาวมาซิโดเนียและอยู่ภายใต้การนำของ อเล็กซานเดอร์มหาราช และหลังจากที่อเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ต่อมาพระองค์กลายเป็นผู้ปกครองของอียิปต์ในปี (323-283 ก่อนคริสตกาล) และผู้ก่อตั้งอาณาจักร Ptolemaic และราชวงศ์ Ptolemaic ในปี 305/4ก่อนคริสตกาล พระองค์ได้เป็นฟาโรห์เพราะการยอมรับของประชาชนชาวอียิปต์ ทอเลมีเป็นหนึ่งในนายพลของอเล็กซานเดอร์ เป็นหนึ่งในเจ็ดองครักษ์และพระองค์ก็เป็นพระสหายสนิทกับ อเล็กซานเดอร์มหาราช ตั้งแต่ในวัยเด็ก หมวดหมู่:ราชวงศ์ทอเลมี.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 1

ทอเลมีที่ 10

ทอเลมีที่ 10 หรือ ทอเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ที่ 1 (Ptolemy X Alexander I,กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςἈλέξανδρος, Ptolemaios Alexandros) เป็นพระมหากษัตริย์ของอียิปต์จาก 110 ปีก่อนคริสตกาลถึง 109 ปีก่อนคริสตกาลและ 107 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง 88 ปีก่อนคริสตกาล.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 10

ทอเลมีที่ 11

ทอเลมีที่ 11 หรือ ทอเลมีที่ 11 อเล็กซานเดอร์ที่ 2 (Ptolemy XI Alexander II,กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςἈλέξανδρος, Ptolemaios Alexandros) เป็นพระมหากษัตริยืของราชวงศ์ทอเลมีที่ปกครองอียิปต์ไม่กี่วันใน 80 ปีก่อนคริสตกาล.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 11

ทอเลมีที่ 12

ทอเลมีที่ 12 หรือ ทอเลมี นีออส ดีโอนีซอส ธีออส ฟิโลพาทอร์ ธีออส ฟิลาเดลฟอส (กรีกโบราณ: Πτολεμαῖος Νέος Διόνυσος Θεός Φιλοπάτωρ Θεός Φιλάδελφος, Ptolemaios Néos Diónysos Theós Philopátōr Theós Philádelphos; ประสูติ 117 – สิ้นพระชนม์ 51 ปีก่อนคริสตกาล), รู้จักกันในชื่อ "อูเลเทส" (Αὐλητής, Aulētḗs "ขลุ่ย") หรือ "นอทอส" (Νόθος, "นักเป่าขลุ่ย") เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณของราชวงศ์ทอเลมี ซึ่งมีเชื้อสายมาจากอาณาจักรมาซิโดเนีย พระนามว่า อูเทเลส หมายถึง กษัตริย์ที่ทรงโปรดในการเป่าขล.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 12

ทอเลมีที่ 13

ทอเลมีที่ 13 เทออส ฟิโลพาทอร์ (Ptolemy XIII Theos Philopator,กรีก: ΠτολεμαῖοςΘεόςΦιλοπάτωρ, Ptolemaios Theos Philopator ปกครองตั้งแต่เวลาระหว่าง 62 ปีก่อนคริสตกาล / 61 -13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล ?, ขึ้นครองราชย์แทนจาก 51 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นหนึ่งในพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมี (305 -30 ปีก่อนคริสตกาล) ของอียิปต.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 13

ทอเลมีที่ 14

thumb ทอเลมีที่ 14 (ภาษากรีก: Πτολεμαῖος, Ptolemaľosos ประสูติ 60 หรือ 59 ปีก่อนคริสตกาล - 44 ปีก่อนคริสตกาล และครองราชย์ 47 - 44 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสของทอเลมีที่ 12 ของอียิปต์โบราณและเป็นหนึ่งในสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์ หลังจากการสิ้นพระชนม์ของทอเลมีที่ 13 แห่งอียิปต์ เมื่อวันที่ 13 มกราคม 47 ปีก่อนคริสตกาล พระองค์ได้รับการประกาศให้เป็นฟาโรห์และผู้ปกครองร่วมกับพระนางคลีโอพัตราที่ 7 พระองค์และพระนางคลีโอพัตราทรงได้อภิเษกสมรสกัน แต่พระนางคลีโอพัตรายังคงทำหน้าที่เป็นคนรักของเผด็จการโรมัน จูเลียส ซีซาร์ ทอเลมีถือว่าได้รับการขึ้นครองราชสมบัติในชื่อเท่านั้นโดยคลีโอพัตรารักษาอำนาจที่แท้จริง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 44 ปีก่อนคริสตกาล ได้รับการสันนิษฐาน แต่ยังคงไม่แน่ใจว่าคลีโอพัตราวางยาพิษทอเลมีที่ 14 ด้วยดอกอโคไนต์ เพื่อให้พระราชโอรสของพระนางคลีโอพัตราคือ ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน ขึ้นครองราชย์แทนร่วมกับพระมารดาเมื่อวันที่ 2 กันยายน 44 ปีก่อนคริสตกาล.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 14

ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน

ทอเลมีที่ 15 หรือ ทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน (23 มิถุนายน, 47 ปีก่อนคริสตกาล - 23 สิงหาคม, 30 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นที่รู้จักกันดีโดยชื่อเล่น Caesarion (/ sᵻzɛəriən /; อังกฤษ: ซีซาร์ ละติน: Caesariō) และทอเลมีซีซาร์ (/ tɒlᵻmisiːzər /; กรีก: ΠτολεμαῖοςΚαῖσαρ, Ptolemaios Kaisar ละติน: Ptolemaeus ซีซาร์) เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของอียิปต์พระองค์เป็นสมาชิกองค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีของอียิปต์ผู้ครองราชย์กับพระราชมารดาของพระองค์ คลีโอพัตราที่ 7 ของอียิปต์ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 44 ปีก่อนคริสตกาลพระองค์ดำรงตำแหน่งผู้ปกครอง แต่เพียงผู้เดียวระหว่างการสวรรคตของพระนางคลีโอพัตราเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 30 ก่อนคริสตศักราชจนถึงวันที่ 23 สิงหาคม 30 ปีก่อนคริสตกาล.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 15 ซีซาเรียน

ทอเลมีที่ 2

ทอเลมีที่ 2 หรือ ทอเลมีที่ 2 ฟิลาเดลฟัส (Ptolemy II Philadelphusกรีก: ΠτολεμαῖοςΦιλάδελφος, Ptolemaios Philádelphos, 309-246 ปีก่อนคริสตกาลคริสตศักราช) เป็นพระมหากษัตริย์ของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์เมื่อ 283-246 ปีก่อนคริสตศักราช เขาเป็นบุตรชายของผู้ก่อตั้งของราชวงศ์ทอเลมี ทอเลมีที่ 1.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 2

ทอเลมีที่ 3

ทอเลมีที่ 3 ยูเออร์เกดตีส (Πτολεμαῖος Εὐεργέτης) หรือชื่อในอียิปต์โบราณว่า อิวาเอนเนตเจอร์วีเซนวี เซเคมอังค์เร เซเทปอามุนClayton (2006) p.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 3

ทอเลมีที่ 4

ทอเลมีที่ 4 หรือ ทอเลมีที่ 4 ฟิโลพาเตอร์ (กรีก: Πτολεμαῖος Φιλοπάτωρ, ปโตเลมออส ฟิโลพาเตอร์ "ทอเลมีผู้เป็นที่รักของพระบิดา"; ครองราชย์ระหว่าง 221-204 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 กับพระนางเบเรนิซที่ 2 เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สี่ของราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์โบราณ และเกิดความเสื่อมอำนาจลงของราชวงศ์ทอเลมีในรัชสมัยของพระอง.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 4

ทอเลมีที่ 5

ทอเลมีที่ 5 หรือ ทอเลมีที่ 5 เอปิฟาเนส (กรีก: Πτολεμαῖος Ἐπιφανής, Ptolemaμos Epiphanḗs "ทอเลมีผู้มีชื่อเสียง"); ครองราชย์ระหว่าง 204-181 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เป็นพระราชโอรสของฟาโรห์ทอเลมีที่ 4 ฟิโลพาเตอร์ กับพระนางอาร์ซิโนเอที่ 3 แห่งอียิปต์ เป็นฟาโรห์พระองค์ที่ห้าของราชวงศ์ทอเลมี พระองค์สืบทอดพระราชบัลลังก์ตอนพระชนมายุห้าพรรษาและภายใต้การปกครองของผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอาณาจักร ในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการสร้างศิลาโรเซตตาBevan,.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 5

ทอเลมีที่ 6

ทอเลมีที่ 6 หรือ ทอเลมีที่ 6 ฟิโลเมเธอร์ (Ptolemy VI Philometor,กรีก: ΠτολεμαῖοςΦιλομήτωρ, Ptolemaios Philomḗtōr ปกครองเป็นเวลาระหว่าง 186-145 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์จากราชวงศ์ทอเลมี พระองค์ทรงครอบครอง 180-145 ปีก่อนคริสตกาล.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 6

ทอเลมีที่ 7

ทอเลมีที่ 7 หรือ ทอเลมีที่ 7 นีโอ ฟิโลพาเธอร์ (Ptolemy VII Neos Philopator,กรีก: ΠτολεμαῖοςΝέοςΦιλοπάτωρ, Ptolemaios NEOS Philopator) เป็นกษัตริย์อียิปต์ของราชวงศ์ทอเลมี รัชกาลของพระองค์เป็นที่ถกเถียงกันอยู่และเป็นไปได้ว่าพระองค์ไม่ได้ทรงครองราชย์ใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ทรงได้รับฐานะเป็นฟาโรห.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 7

ทอเลมีที่ 8

ทอเลมีที่ 8 หรือ ทอเลมีที่ 8 ฟิสคอน (Ptolemy VIII Physcon,กรีกโบราณ: ΠτολεμαῖοςΕὐεργέτης, Ptolemaios Euergetes) (ปกครองอียิปต์ระหว่างปี 182 - 26 มิถุนายน 116 ปีก่อนคริสตกาล) ชื่อเล่นนามว่า ฟิสคอน (Φύσκων) เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ ทอเลมีปห่งอียิปต.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 8

ทอเลมีที่ 9

ทอเลมีที่ 9 หรือ ทอเลมีที่ 9 โซเตอร์ที่ 2 หรือ ลาธีรอส ("หญ้าถั่ว") (Ptolemy IX Lathyros,กรีก: ΠτολεμαῖοςΣωτήρΛάθυρος, Ptolemaios Soter Láthuros) เป็นกษัตริย์แห่งอียิปต์สามครั้งจาก 116 ปีก่อนคริสตกาลถึง 110 ปีก่อนคริสตกาล 109 ปีก่อนคริสตกาลถึง 107 ปีก่อนคริสตกาลและ 88 ก่อนคริสตกาลถึง 81 ปีก่อนคริสตกาลซึ่งมีระยะเวลาการแทรกแซงการปกครองโดยพี่ชายของเขา ทอเลมีที่ 10.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและทอเลมีที่ 9

คลีโอพัตรา

ลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลพาเธอร์ (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ; หรือรู้จักทั่วไปในนาม คลีโอพัตรา) (มกราคม ปีที่ 69 ก่อนคริสตกาล – 30 พฤศจิกายน ปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณและเชื้อพระวงศ์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ทอเลมีแห่งมาซิโดเนีย ดังนั้นจึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือทอเลมีที่ 12 ออเลติส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ "คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางมีพระปรีชาสามารถมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ฮิบรู, ละติน, มาเซดอนโบราณ, เอธิโอเปียน, ซีเรีย, เปอร์เซีย, และ อียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ น้อยคนนักที่จะแตกฉานภาษานี้ ปัจจุบัน คลีโอพัตราที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้น ๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อน ๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกัน ลบเลือนไปสิ้น ในความเป็นจริง พระนางไม่เคยปกครองอียิปต์เพียงลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา, พระอนุชา, สวามีผู้เป็นอนุชาของพระองค์ หรือไม่ก็พระโอรส การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตรา

คลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2

ลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2 (กรีก: Κλεοπάτρα Σελήνη; ประสูติ 40 ปีก่อนคริสตกาล - 6 ปีก่อนคริสตกาล) และยังเป็นที่รู้จักกันในนาม คลีโอพัตราที่ 8 แห่งอียิปต์หรือคลีโอพัตราที่ 8 เป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ปโตเลมีและเป็นพระราชธิดาพระองค์เดียวของพระนางคลีโอพัตรา กับแม่ทัพมาร์ค แอนโทนี พระองค์มีพระเชษฐาฝาแฝดนามว่า เจ้าชายอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ชื่อที่สองของพระองค์เป็นภาษากรีกโบราณและสมัยใหม่หมายถึง ดวงจันทร์และยังหมายถึงเทพธิดาไททันนามว่า เซลีนี ซึ่งเป็นพระเชษฐาของพระองค์นามว่า เฮลิออส ซึ่งหมายถึงดวงอาทิตย์ และเทพไททันแห่งดวงอาทิตย์นามว่า เฮลิออส พระองค์มีเชื้อสายชาวกรีก-โรมัน พระองค์ทรงประสูติ ได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาในเมืองอเล็กซานเดรียในอียิปต์ พระองค์เป็นผู้ปกครองแห่งซิเรเนและลิเบี.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตรา เซเลเนที่ 2

คลีโอพัตราที่ 1

ลีโอพัตราที่ 1 ไซรา (Κλεοπάτρα Σύρα) (Cleopatra I Syra) เป็นเจ้าหญิงแห่งจักรวรรดิเซลูซิดโดยการอภิเษกสมรส และเป็นสมเด็จพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี พระนางทรงอภิเษกสมรสกับทอเลมีที่ 5 กษัตริย์แห่งอียิปต์ เมื่อพระราชสวามีสวรรคตพระนางก็ทรงปกครองอียิปต์ผ่านทางทอเลมีที่ 6 พระโอรส ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ต่อมา พระนางทรงปกครองอียิปต์จวบจนกระทั่งพระนางสวรรคต.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 1

คลีโอพัตราที่ 2

ลีโอพัตราที่ 2 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra II of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี (และผู้ปกครองแต่เพียงพระองค์เดียว ในระยะเวลาสั้น ๆ) แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 2

คลีโอพัตราที่ 3

คลีโอพัตราที่ 3 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra III of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี ตั้งแต่ 142–101 ปีก่อนคริสตกาลพระนางเป็นพระมเหสีในปโตเลมีที่ 8 พระนางเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกับพระสวามีของพระนาง หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 3

คลีโอพัตราที่ 4

คลีโอพัตราที่ 4 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra IV of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี ตั้งแต่ 116-115 ปีก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระมเหสีในปโตเลมีที่ 9 พระนางเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกับพระสวามีของพระนาง หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 4

คลีโอพัตราที่ 5

คลีโอพัตราที่ 5 แห่งอียิปต์ (Κλεοπάτρα) (Cleopatra V of Egypt) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี เป็นพระราชธิดาในปโตเลมีที่ 9กับคลีโอพัตราที่ 4 พระนางเป็นพระมเหสีในปโตเลมีที่ 12 พระนางเป็นผู้ปกครองอียิปต์ร่วมกับพระสวามีของพระนาง หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 5

คลีโอพัตราที่ 6

คลีโอพัตราที่ 6 ทรีฟาเอนา (Κλεοπάτρα Τρύφαινα) (Cleopatra VI Tryphaena) เป็นสมเด็จพระราชินี แห่งอาณาจักรอียิปต์โบราณ จากราชวงศ์ทอเลมี พระนางเป็นพระธิดาในทอเลมีที่ 12กับคลีโอพัตราที่ 5 พระนางเป็นพระขนิษฐาของคลีโอพัตราที่ 7 ราชินีแห่งอียิปต์พระองค์ต่อมา หมวดหมู่:สมเด็จพระราชินีนาถ.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและคลีโอพัตราที่ 6

ซิเรเน

วเรเน หรือ ซิเรเน (Cyrene) เป็นเมืองกรีกโบราณที่มีอายุมากที่สุด และมีความสำคัญมากที่สุดในบรรดาเมืองของกรีกทั้ง 5 เมืองในลิเบียตะวันออก ภูมิภาคนี้ถูกตั้งชื่อตามชื่อเมืองว่า ไซรีนิกา (Cyrenaica) และยังคงใช้ชื่อนี้อยู่จนปัจจุบัน เมืองนี้ตั้งอยู่ในหุบเขาอันอุดมสมบูรณ์ในที่ราบสูง Jebel Akhdar.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและซิเรเน

ประเทศอียิปต์

รณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt; جمهورية مصر العربية) หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่า อียิปต์ (Egypt; مصر มิส-ร) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือที่มีประชากรมากที่สุด ประเทศอียิปต์มีพื้นที่ประมาณ 1,020,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งรวมถึงคาบสมุทรไซนาย (เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันตกเฉียงใต้) ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศตั้งอยู่ในแอฟริกาเหนือ มีพรมแดนด้านตะวันตกติดกับประเทศลิเบีย ด้านใต้ติดกับประเทศซูดาน ด้านตะวันออกเฉียงเหนือติดกับประเทศอิสราเอล ชายฝั่งทางเหนือติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และทางตะวันออกติดกับทะเลแดง ประชากรอียิปต์ส่วนใหญ่อาศัยบนทั้งสองฝั่งของแม่น้ำไนล์ (ประมาณ 40,000 ตารางกิโลเมตร) และคลองสุเอซ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเป็นส่วนของทะเลทรายสะฮารา และมีผู้คนอาศัยอยู่เบาบาง ประเทศนี้มีชื่อเสียงในด้านอารยธรรมโบราณ รวมถึงอนุสาวรีย์โบราณที่น่าตื่นตาที่สุดในโลก ได้แก่ พีระมิด อารามคาร์นัค และหุบเขากษัตริย์ (Valley of the Kings) ในปัจจุบัน อียิปต์ถือว่าเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกอาหรับ ชื่อ "อียิปต์" (Egypt) มาจากชื่อภาษาละตินว่า "ไอกิปตุส" (Aegyptus) และชื่อภาษากรีกว่า "ไอกึปตอส" (Αιγυπτος) ทั้งสองรูปมีที่มาอีกทอดหนึ่งจากภาษาอียิปต์ว่า "ฮิ-คุ-ปตาห์" (Hi-ku-ptah) ซึ่งเป็นชื่ออารามที่เมืองเมืองที.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและประเทศอียิปต์

ปอมปีย์

รูปปั้นหินอ่อนของปอมปีย์ แกนัส ปอมเปอุส แม็กนัส (Gnaeus Pompeius Magnus,, 29 กันยายน 106 – 28 กันยายน 48 ปีก่อนคริสตกาล) รู้จักกันในนาม ปอมปีย์ หรือ ปอมปีย์มหาราช แม่ทัพและผู้นำทางการเมืองในช่วงปลายของยุค สาธารณรัฐโรมัน.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและปอมปีย์

เบเรนิซที่ 1

รนิซที่ 1 (กรีก: Βερενίκη; มีชีวิตอยู่ระหว่าง 340 ปีก่อนคริสตกาล - 279 หรือ 268 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีและพระมเหสีโดยการอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ปโตเลมีที่ 1 โซเตอร์ โดยพระองค์มีตำแหน่งเป็นพระมเหสีพระองค์ที่สอง หลังจากพระนางยูริดิซปห่งราชวงศ์ปโตเลมีแห่งอียิปต์โบราณhttp://www.livius.org/be-bm/berenice/berenice_i.html.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 1

เบเรนิซที่ 2

รนิซที่ 2 (ประสูติเมื่อ 267 หรือ 266 ปีก่อนคริสตกาล - สิ้นพระชนม์เมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นพระราชินีแห่งซิเรเนโดยกำเนิดและเป็นสมเด็จพระราชินีและผู้ปกครองร่วมแห่งอียิปต์โบราณ โดยทรงอภิเษกสมรสกับฟาโรห์ทอเลมีที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปกครองพระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์ทอเลมีแห่งอียิปต์โบราณ.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 2

เบเรนิซที่ 3

รนิซที่ 3 (Greek: Βερενίκη; ประสูติ 120 - สิ้นพระชนม์ 80 ปีก่อนคริสตกาล) บางครั้งเรียกว่าคลีโอพัตรา เบเรนิซ เป็นพระราชินีแห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งปกครองระหว่าง 81 ถึง 80 ปีก่อนคริสตกาล หรือระหว่าง 101 ถึง 88 ปีก่อนคริสตกาล ร่วมกับพระปิตุลาหรือพระสวามีของพระองค์คือปโตเลมีที่ 10 อเล็กซานเดอร์ที่ 1 by Chris Bennett.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 3

เบเรนิซที่ 4

รนิซที่ 4 เอพิฟิเนีย (กรีก: Βερενίκη; 77-55 ปีก่อนคริสตกาล) พระองค์ประสูติและสิ้นพระชนม์ในเมืองอเล็กซานเดรียที่อียิปต์ พระองค์เป็นเจ้าหญิงชาวกรีกแห่งราชวงศ์ปโตเลมี.

ดู ราชวงศ์ทอเลมีและเบเรนิซที่ 4

ดูเพิ่มเติม

30 ปีก่อนคริสตกาล

ผู้ปกครองยุคเฮลเลนิสติก

รัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในศตวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล

ราชตระกูลโบราณ

ราชวงศ์กรีกโบราณ

ราชวงศ์อียิปต์โบราณ

หรือที่รู้จักกันในชื่อ Ptolemaic dynastyPtolemaic dynasty of EgyptPtolemiesราชวงศ์ปโตเลมี