โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ทรงสามสิบสองหน้า

ดัชนี ทรงสามสิบสองหน้า

ทรงสามสิบสองหน้า ทรงสามสิบสองหน้า (icosidodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 20 หน้า และรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า รวม 32 หน้า โดยหน้าทั้งสองประเภทจะสลับกันทุกทิศทางไม่ว่าจะมองจากมุมใด มี 30 จุดยอด 60 ขอบ ทรงสามสิบสองหน้าเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid) รูปทรงนี้สามารถเรียกได้ในชื่ออื่นอีกคือ ไจโรไบโรทันดาห้าเหลี่ยม (pentagonal gyrobirotunda).

9 ความสัมพันธ์: รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่ารูปห้าเหลี่ยมทรงยี่สิบหน้าทรงสามสิบสองหน้าปลายตัดทรงสิบสองหน้าทรงหลายหน้าทรงตันอาร์คิมิดีสคิวบอกทาฮีดรอน

รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน

รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน รอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน (เล็ก) (อังกฤษ: (small) rhombicosidodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 20 หน้า รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 30 หน้า และรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า รวม 62 หน้า โดยหน้ารูปห้าเหลี่ยมทุกหน้าจะล้อมรอบด้วยรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมสลับกันไป ทรงนี้มี 60 จุดยอด 120 ขอบ และเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid).

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและรอมบิโคซิโดเดคาฮีดรอน · ดูเพิ่มเติม »

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า

รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า คือรูปสามเหลี่ยมชนิดหนึ่งที่ด้านทั้งสามมีความยาวเท่ากัน ในเรขาคณิตแบบยุคลิด รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจัดเป็นรูปหลายเหลี่ยมมุมเท่า (equiangular polygon) กล่าวคือ มุมภายในแต่ละมุมของรูปสามเหลี่ยมมีขนาดเท่ากันคือ 60° ด้วยคุณสมบัติทั้งสอง รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าจึงจัดเป็นรูปหลายเหลี่ยมปรกติ (regular polygon) และเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่าเป็น รูปสามเหลี่ยมปรกติ รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่ยาวด้านละ a\,\! หน่วย จะมีส่วนสูง (altitude) เท่ากับ \fraca หน่วย และมีพื้นที่เท่ากับ \fraca^2 ตารางหน่วย รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสมมาตรมากที่สุด คือมีสมมาตรแบบสะท้อนสามเส้น และสมมาตรแบบหมุนที่อันดับสามรอบศูนย์กลาง กรุปสมมาตรของรูปสามเหลี่ยมนี้จัดว่าเป็นกรุปการหมุนรูปของอันดับหก (dihedral group of order 6) หรือ D3 ทรงสี่หน้าปรกติ สร้างขึ้นจากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสี่รูป รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสามารถพบได้ในโครงสร้างทางเรขาคณิตอื่นๆ หลายอย่าง เช่น รูปวงกลมที่มีรัศมีเท่ากันสองวงตัดกัน โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่บนเส้นรอบวงของอีกวงหนึ่ง ทำให้เกิดส่วนโค้งขนาดเท่ากัน และสามารถแสดงได้ด้วยรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า รูปสามเหลี่ยมนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทรงหลายหน้า ทรงตันเพลโตสามในห้าชิ้นประกอบขึ้นจากรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า หนึ่งในนั้นคือทรงสี่หน้าปรกติ ซึ่งประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้งสี่หน้า นอกจากนั้นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าสามารถนำมาเรียงติดต่อกันบนระนาบ จนเกิดเป็นรูปแบนราบสามเหลี่ยม (triangular tiling) การหารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าที่เกี่ยวข้องกับรูปสามเหลี่ยมใดๆ สามารถหาได้จากทฤษฎีบทสามส่วนของมอร์ลีย์ (Morley's trisector theorem) Triangle Construction Animation.

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า · ดูเพิ่มเติม »

รูปห้าเหลี่ยม

รูปห้าเหลี่ยมปกติ รูปห้าเหลี่ยม (pentagon) คือ รูปหลายเหลี่ยมที่มีด้าน 5 ด้าน.

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและรูปห้าเหลี่ยม · ดูเพิ่มเติม »

ทรงยี่สิบหน้า

ทรงยี่สิบหน้าปรกติ ทรงยี่สิบหน้า (icosahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 20 หน้า ทรงยี่สิบหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงยี่สิบหน้าปรกติ (regular icosahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่าทั้ง 20 หน้า มี 12 จุดยอด 30 ขอบ โดยที่ทุกจุดยอดจะล้อมรอบด้วยรูปสามเหลี่ยมจำนวน 5 หน้า ทรงนี้เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid) และเมื่อกล่าวถึงทรงยี่สิบหน้าขึ้นมาลอยๆ จะมีความหมายโดยนัยเป็นทรงยี่สิบหน้าปรกติ สำหรับทรงยี่สิบหน้าปรกติ สามารถเรียกได้อีกอย่างว่า พีระมิดคู่ห้าเหลี่ยมไจโรอีลองเกต (gyroelongated pentagonal dipyramid).

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและทรงยี่สิบหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด

ทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด ทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด (truncated icosidodecahedron) เป็นทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 30 หน้า หน้ารูปหกเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า 20 หน้า และหน้ารูปสิบเหลี่ยมด้านเท่ามุมเท่า 12 หน้า รวม 62 หน้า แต่หน้าเรียงตัวโดยไม่มีหน้าชนิดเดียวกันอยู่ติดกัน ทรงนี้มี 120 จุดยอด 180 ขอบ และเป็นทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid).

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและทรงสามสิบสองหน้าปลายตัด · ดูเพิ่มเติม »

ทรงสิบสองหน้า

ทรงสิบสองหน้าปรกติ ทรงสิบสองหน้า (dodecahedron, พหูพจน์: -dra) เป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่มี 12 หน้า ทรงสิบสองหน้าอาจเป็นรูปทรงที่สมมาตรหรือไม่สมมาตรก็ได้ ทรงสิบสองหน้าปรกติ (regular dodecahedron) เป็นทรงหลายหน้าที่ประกอบด้วยหน้ารูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า 12 หน้า มี 20 จุดยอด 30 ขอบ ทรงสิบสองหน้าปรกติ เป็นหนึ่งในทรงตันเพลโต (Platonic solid).

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและทรงสิบสองหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรงหลายหน้า

ทรงหลายหน้า (polyhedron, พหูพจน์: polyhedra) หมายถึง วัตถุทางเรขาคณิตที่ประกอบด้วยหน้าเรียบและขอบตรง ทรงหลายหน้าเป็นที่น่าหลงใหลของมนุษยชาติมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งได้ศึกษาอย่างเป็นกิจลักษณะโดยชาวกรีกโบราณ ต่อเนื่องมาจนถึงนักเรียน นักคณิตศาสตร์ และศิลปินทุกวันนี้ คำว่า polyhedron มาจากภาษากรีก πολυεδρον โดยที่ poly- มาจาก πολυς แปลว่า "มากมาย" และ -edron มาจาก εδρον แปลว่า "ฐาน, ที่นั่ง, หน้า".

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและทรงหลายหน้า · ดูเพิ่มเติม »

ทรงตันอาร์คิมิดีส

ทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid) หมายถึงทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่เป็นทรงนูน (convex) โดยจุดยอดจุดหนึ่งจะประกอบด้วยหน้ารูปหลายเหลี่ยมปรกติ (regular polygon) ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป และเป็นชุดเดียวกันทุกจุด แตกต่างจากทรงตันเพลโต (Platonic solid) ตรงที่มีรูปหลายเหลี่ยมปรกติเพียงชนิดเดียว และแตกต่างจากทรงตันจอห์นสัน (Johnson solid) ตรงที่ไม่ได้มีรูปหลายเหลี่ยมบรรจบกันเป็นชุดเหมือนกันทุก.

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและทรงตันอาร์คิมิดีส · ดูเพิ่มเติม »

คิวบอกทาฮีดรอน

วบอกทาฮีดรอน (cuboctahedron, พหูพจน์: -dra) คือทรงหลายหน้า (polyhedron) ที่ประกอบด้วยหน้ารูปสามเหลี่ยมด้านเท่า 8 หน้า และรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 6 หน้า รวม 14 หน้า โดยหน้าทั้งสองประเภทจะสลับกันทุกทิศทางไม่ว่าจะมองจากมุมใด มี 12 จุดยอด 24 ขอบ คิวบอกทาฮีดรอนเป็นหนึ่งในทรงตันอาร์คิมิดีส (Archimedean solid) รูปทรงนี้มีชื่อเรียกอื่นอีกคือ ไจโรไบคิวโพลาสามเหลี่ยม (triangular gyrobicupola).

ใหม่!!: ทรงสามสิบสองหน้าและคิวบอกทาฮีดรอน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

IcosidodecahedraIcosidodecahedronPentagonal gyrobirotundaทรงสามสิบสองหน้าปรกติไอโคซิโดเดคาฮีดรอนไจโรไบโรทันดาห้าเหลี่ยม

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »