โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โฮะ

ดัชนี โฮะ

ป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 26 ของวงคาราบาว ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยมีเพลงทั้งหมด 12 เพลง เช่นเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มที่เปรียบเทียบสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นกับ แกงโฮะ อาหารประจำภาคเหนือของไทย เมด อิน ไทยแลนด์ '52 ที่นำเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ดั้งเดิมมาแต่งเนื้อใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และย้ำเตือนให้คนไทยใช้สินค้าในประเทศ องค์ดำ ซึ่งเป็นอีกเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระนเรศวรมหาราช เช่นเดียวกับเพลง พระนเรศวรมหาราช ในอัลบั้ม ขุนศึก โดยมีดนตรีที่ใกล้เคียงกับเพลง เจ้าตาก และ บางระจันวันเพ็ญ ที่โด่งดัง เพื่อชีวิตติดล้อ ที่ได้ เสก โลโซ มาร่วมแต่งเพลงและเล่นกีต้าร์ด้วย หรือ ควายไทย เพลงที่พูดถึงควาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวงคาราบาว จากปลายปากกาของ ประภาส ชลศรานนท์ นอกจากนี้ยังมีเพลง Lonely Man Magic Moon ที่คาราบาวนำมาแปลเป็นภาษาไทยด้วย โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า คนเหงาเดือนหง.

17 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2552กำลังใจคาราบาว 30 ปีภาษาไทยยืนยง โอภากุลลือชัย งามสมลูกลุงขี้เมาธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทยคาราบาวประภาส ชลศรานนท์ปรีชา ชนะภัยโฮะเพลงเพื่อชีวิตเกริกกำพล ประถมปัทมะเมด อิน ไทยแลนด์เสกสรรค์ ศุขพิมายเทียรี่ เมฆวัฒนา7 เมษายน

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: โฮะและพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

กำลังใจคาราบาว 30 ปี

กำลังใจคาราบาว 30 ปี เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 27 ของวงคาราบาว ออกวางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554 สังกัด วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ โดยเป็นอัลบั้มที่ทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 30 ปีของวง ออกจำหน่ายในรูปแบบซีดีและโบนัสดีวีดี ต่อมามีการเปลี่ยนปกใหม่เป็นคอลเลกชั่นพิเศษโดยใช้ชื่ออัลบั้ม ผู้ปิดทองหลังพระ โดยนำเพลง ผู้ปิดทองหลังพระ ซึ่งวงคาราบาวจัดทำเนื่องในโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา มาไว้เป็นเพลงแรกของอัลบั้ม และยังได้เพิ่มโบนัสแทร็ค โดยนำบทเพลงที่ทางวงแต่งขึ้นจากเหตุการณ์วิกฤติอุทกภัยในประเทศไทยอีก 3 เพลง มาไว้ในอัลบั้มด้วย ออกวางจำหน่ายเฉพาะที่เซเว่น อีเลฟเว่น ในเพลง ลำนำสามก๊ก ซึ่งเป็นเพลงสุดท้าย เป็นเพลงที่นำมาจากบทกวี "ฉือ" จากตำราพิชัยยุทธสามก๊ก ซึ่งเป็นเพลงนำของละครโทรทัศน์ชุดสามก๊ก ที่ถอดความเป็นภาษาไทยโดย ทองแถม นาถจำนง.

ใหม่!!: โฮะและกำลังใจคาราบาว 30 ปี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: โฮะและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

ยืนยง โอภากุล

ืนยง โอภากุล หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ แอ๊ด คาราบาว เป็นศิลปินเพลงเพื่อชีวิตชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นหัวหน้าวงคาราบาว วงดนตรีเพื่อชีวิตและเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ได้รับยกย่องให้เป็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้อง-นักประพันธ์เพลงไทยสากล) ประจำปี พ.ศ. 2556.

ใหม่!!: โฮะและยืนยง โอภากุล · ดูเพิ่มเติม »

ลือชัย งามสม

ลือชัย งามสม หรือ ดุก คาราบาว เป็นมือคีย์บอร์ด ของวงคาราบาว เกิดเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ที่จังหวัดชลบุรี ร่วมงานกับวงคาราบาวตั้งแต่อัลบั้ม วิชาแพะ ในปี พ.ศ. 2534 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเล่นคีย์บอร์ดในอัลบั้มเดี่ยวชุดหลัง ๆ ของ ยืนยง โอภากุล หรือ แอ๊ด คาราบาว อีกด้ว.

ใหม่!!: โฮะและลือชัย งามสม · ดูเพิ่มเติม »

ลูกลุงขี้เมา

ลูกลุงขี้เมา เป็นสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 25 ของวงคาราบาว ออกวางจำหน่ายในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 ในนามบริษัท วอร์นเนอร์ มิวสิก ไทยแลนด์ โดยเป็นอัลบั้มที่ทำขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 25 ปีของวง ออกจำหน่ายในรูปแบบ เทปคลาสเซ็ท จำนวน 2 ชุด + ซีดี และ วีซีดี คาราโอเกะ จำนวน 2 แผ่น รวมทั้งสิ้น 18 เพลง และเป็นอัลบั้มชุดสุดท้ายของวงคาราบาวที่ทำออกมาในรูปแบบเทปคลาสเซ็ท.

ใหม่!!: โฮะและลูกลุงขี้เมา · ดูเพิ่มเติม »

ธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย

นะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ อ้วน คาราบาว เป็นสมาชิกคนล่าสุดของวงคาราบาว เดิมมีชื่อว่า เทพผจญ พันธุ์พงษ์ไทย มีชื่อเล่นว่า อ้วน เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 ที่อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา จบการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม อ้วนมีความผูกพันกับคาราบาวมาตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อน้าของอ้วนเปิดเพลงเพื่อชีวิต รวมทั้งเพลงของคาราบาวให้ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก ๆ เฉพาะคาราบาวน้าเปิดเพลงในอัลบั้มชุดที่ 4 ของวงคาราบาว คือ ท.ทหารอดทน เริ่มต้นการเล่นดนตรีจากการเป็นนักดนตรีในวงดุริยางค์ เมื่อเข้าเรียนชั้นประถมศึกษา ที่จังหวัดนครราชสีมาซึ่งเป็นบ้านเกิดของอ้วนเอง อ้วนเล่นดนตรีในฐานะนักดนตรีอาชีพ ด้วยการเป็นแบ๊คอัพให้กับนักร้องในบริษัทแกรมมี่หลายคน เช่น แอม - เสาวลักษณ์ ลีละบุตร, ตั้ม - สมประสงค์ สิงหวนวัฒน์, ก้อย - ศรัณย่า ส่งเสริมสวัสดิ์, ปั่น - ไพบูลย์เกียรติ เขียวแก้ว หรือ หนู มิเตอร์ ในชื่อวง Power มีโอกาสเข้าร่วมงานกับคาราบาวครั้งแรก จากการชักชวนของดุก - ลือชัย งามสม ในการบันทึกเสียงเพลงประกอบการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2541 ที่กรุงเทพมหานครเป็นเจ้าภาพ โดยอ้วนเป็นมือกลอง อีกทั้งยังได้เรียนรู้ทฤษฎีดนตรีเพิ่มเติมจากบรูซ แกสตัน แห่งวงฟองน้ำอีกด้วย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 เมื่อโก้ - ชูชาติ หนูด้วง มือกลองของวงป่วยเป็นโรคปลายเส้นประสาทอักเสบ ต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตรงกับช่วงเวลาที่คาราบาวกำลังจะทำอัลบั้มพิเศษชุด คาราบาว อินเตอร์ อ้วนจึงมาทำหน้าที่มือกลองแทน และได้รับการตอบรับเป็นสมาชิกจาก แอ๊ด - ยืนยง โอภากุล หัวหน้าวง เมื่อได้หยิบขลุ่ยขึ้นมาเป่าขณะเล่นคอนเสิร์ตที่กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากเล็งเห็นถึงความสามารถ อ้วนจึงกลายมาเป็นสมาชิกของคาราบาวอย่างเต็มตัว และถือเป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุด ในคอนเสิร์ต 20 ปี คาราบาว เรื่องราวของคน ดนตรี และเขาควาย เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546 นั้น อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี อดีตสมาชิกซึ่งปกติจะเป็นผู้เป่าขลุ่ยและแซกโซโฟนเกิดติดธุระสำคัญที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่อาจมาร่วมแสดงได้ อ้วนจึงรับหน้าที่นี้แทน โดยมีเวลาฝึกแซกโซโฟนก่อนคอนเสิร์ตจะเริ่มเพียง 3 วันเท่านั้น ปัจจุบัน อ้วน รับหน้าที่ทั้งเล่นกลอง, คีย์บอร์ด, ขลุ่ย, แซกโซโฟน ตลอดจนร้องประสานด้วย รวมทั้งร้องนำในเพลง สุรชัย 3 ช่า โดยเสมือนตัวแทนของ สุรชัย จันทิมาธร หรือ หงา คาราวาน โดยมีนักดนตรีในดวงใจ คือ อากิระ จิมโบ มือกลองแห่งวง Casiopea วงฟิวชั่นแจ๊สของประเทศญี่ปุ่น.

ใหม่!!: โฮะและธนะสิทธิ์ พันธุ์พงษ์ไทย · ดูเพิ่มเติม »

คาราบาว

ราบาว (Carabao) เป็นวงดนตรีเพื่อชีวิตและยังเป็นตำนานเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงโด่งดังและยังเป็นวงที่อมตะตลอดกาลของประเทศไทย โดยมี ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด) เป็นหัวหน้าวง.

ใหม่!!: โฮะและคาราบาว · ดูเพิ่มเติม »

ประภาส ชลศรานนท์

ประภาส ชลศรานนท์ (18 พฤษภาคม พ.ศ. 2503 -) เป็นนักคิด นักเขียน นักแต่งเพลง ผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองประธานบริษัท และร่วมก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เวิร์คพอยท์ (ช่องเวิร์คพอยท์) หมายเลข 23.

ใหม่!!: โฮะและประภาส ชลศรานนท์ · ดูเพิ่มเติม »

ปรีชา ชนะภัย

ปรีชา ชนะภัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ เล็ก คาราบาว เป็นนักแสดง นักร้อง นักดนตรี และมือกีตาร์วงคาราบาว และเป็นนักกีตาร์ฝีมือดีคนหนึ่งของเมืองไทย มีความสามารถในการเล่นกีตาร์โดยไม่ใช้ปิ๊ก มีฝีมือการโซโล่กีตาร์อันดับต้น ๆ ของประเทศ รวมทั้งเล่นเครื่องดนตรีได้หลากหลาย เช่น แบนโจ, คีย์บอร์ด, เปียโน, กลอง, ซอ เป็นต้น บทเพลงที่แสดงถึงความสามารถทางดนตรีของเล็กที่เห็นเด่นชัดคือเพลง ขุนเขายะเยือก ซึ่งเป็นเพลงบรรเลงที่มีการโซโล่กีตาร์ยาวนานถึง 5 นาที ในอัลบั้ม หากหัวใจยังรักควาย ในปี พ.ศ. 2538 ที่สมาชิกวงในยุคคลาสสิกไลน์อัพกลับมารวมตัวกันอีกครั้ง หลังจากที่แยกย้ายกันไปทำอัลบั้มเดี่ยวของแต่ละคน.

ใหม่!!: โฮะและปรีชา ชนะภัย · ดูเพิ่มเติม »

โฮะ

ป็นสตูดิโออัลบั้มที่ 26 ของวงคาราบาว ออกจำหน่ายเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2552 โดยมีเพลงทั้งหมด 12 เพลง เช่นเพลงชื่อเดียวกับอัลบั้มที่เปรียบเทียบสภาพบ้านเมืองในขณะนั้นกับ แกงโฮะ อาหารประจำภาคเหนือของไทย เมด อิน ไทยแลนด์ '52 ที่นำเพลง เมด อิน ไทยแลนด์ ดั้งเดิมมาแต่งเนื้อใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน และย้ำเตือนให้คนไทยใช้สินค้าในประเทศ องค์ดำ ซึ่งเป็นอีกเพลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระนเรศวรมหาราช เช่นเดียวกับเพลง พระนเรศวรมหาราช ในอัลบั้ม ขุนศึก โดยมีดนตรีที่ใกล้เคียงกับเพลง เจ้าตาก และ บางระจันวันเพ็ญ ที่โด่งดัง เพื่อชีวิตติดล้อ ที่ได้ เสก โลโซ มาร่วมแต่งเพลงและเล่นกีต้าร์ด้วย หรือ ควายไทย เพลงที่พูดถึงควาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของวงคาราบาว จากปลายปากกาของ ประภาส ชลศรานนท์ นอกจากนี้ยังมีเพลง Lonely Man Magic Moon ที่คาราบาวนำมาแปลเป็นภาษาไทยด้วย โดยใช้ชื่อภาษาไทยว่า คนเหงาเดือนหง.

ใหม่!!: โฮะและโฮะ · ดูเพิ่มเติม »

เพลงเพื่อชีวิต

การแสดงดนตรีของวงคาราวานในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรครั้งที่ 3 เพลงเพื่อชีวิต ถือกำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่แรกเริ่มหมายถึงเพลงที่มีเนื้อหากล่าวถึงชีวิตของคน โดยเฉพาะคนชนชั้นล่าง กล่าวถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต การถูกเอารัดเอาเปรียบ เพลงในแนวเพื่อชีวิตในยุคนี้โดยมากจะเป็นเพลงลูกทุ่ง เช่น เพลง กลิ่นโคนสาบควาย ของคำรณ สัมบุญณานนท์, จักรยานคนจน ของยอดรัก สลักใจ, น้ำมันแพง ของสรวง สันติ, น้ำตาอีสาน แต่งโดยชลธี ธารทอง และขับร้องโดยสายัณห์ สัญญา เป็นต้น เพลงเพื่อชีวิตในประเทศไทยเริ่มเฟื่องฟูเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางโดยแพร่หลายช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 โดยเนื้อหาของเพลงไม่จำกัดเฉพาะชีวิตของคนชั้นล่างอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยและการเหน็บแนมการเมืองอีกด้วย และแนวดนตรีได้เปิดกว้างขึ้นเป็นแนวอคูสสติกหรือร็อก โดยได้รับอิทธิพลและแรงบันดาลใจจากศิลปินต่างประเทศ เช่น บ็อบ ดิลลัน, บ็อบ มาร์เลย์, นีล ยัง, ไซมอน แอนด์ การ์ฟังเกล เป็นต้น เทียบได้กับโปรเทสต์ซองของสหรัฐอเมริกา โดยคำว่า "เพลงเพื่อชีวิต" นั้น มาจากคำว่าศิลปะเพื่อชีวิต หรือวรรณกรรมเพื่อชีวิต ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่ว่าถึงชีวิตและการต่อสู้ของมนุษย์ในสังคม ในยุคนี้เพลงเพื่อชีวิตเฟื่องฟูมาก จนอาจกล่าวได้ว่าเป็น "เพชรเม็ดงามของวรรณกรรมเพื่อชีวิต" เพลงเพื่อชีวิตมักจะรวมเอาองค์ประกอบของดนตรีตะวันตกเหมือนกันเช่นเพลงบัลลาด และเพิ่มเป็นจังหวะของดนตรีไทยเซ่น สามช่า หมอลำ และลูกทุ่ง และมีองค์ประกอบของดนตรีคลาสสิกไทยบ้างเช่นกัน เพลงเพื่อชีวิตในยุคแรกจะเป็นดนตรีโฟล์กตะวันตกพร้อมกับการใช้เครื่องดนตรีอคูสติก ซึ่งต่อมาได้เพิ่มดนตรีร็อกพร้อมกับกีตาร์ไฟฟ้า เบส และกลองชุด บางศิลปินยังได้รับอิทธิพลของเร้กเก้ สกา และเพลงละตินบ้างและบางศิลปินยังใช้เครื่องดนตรีไทยเซ่น พิณ ขลุ่ย และซออู้ โดยวงดนตรีเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียง ได้แก่ คาราวาน, แฮมเมอร์, โคมฉาย เป็นต้น ความนิยมในเพลงเพื่อชีวิตไม่ได้เป็นเพียงกระแสในห้วงเวลานั้น หากแต่ยังได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวงดนตรีและนักร้องเพลงเพื่อชีวิตที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เช่น คาราบาว, พงษ์สิทธิ์ คำภีร์, พงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, อินโดจีน, คนด่านเกวียน, มาลีฮวนน่า, โฮป, ซูซู, ตีฆอลาซู เป็นต้น อีกทั้งยังมีศิลปินบางคนหรือบางกลุ่มที่ไม่ได้เป็นเพื่อชีวิตอย่างเต็มตัว แต่เนื้อหาของเพลงหลายเพลงมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกับเพื่อชีวิตหรือจัดให้อยู่ประเภทเพื่อชีวิตได้ เช่น จรัล มโนเพ็ชร, เสกสรร ทองวัฒนา, ธนพล อินทฤทธิ์, หนู มิเตอร์, นิค นิรนาม, พลพล พลกองเส็ง, กะท้อน, ศุ บุญเลี้ยง, สิบล้อ เป็นต้น.

ใหม่!!: โฮะและเพลงเพื่อชีวิต · ดูเพิ่มเติม »

เกริกกำพล ประถมปัทมะ

หน้าปกอัลบั้ม วิชาแพะ (จากซ้าย) อ๊อด, แอ๊ด, เล็ก เกริกกำพล ประถมปัทมะ หรือที่รู้จักในชื่อ อ๊อด คาราบาว (ชื่อเดิม: อนุพงษ์ ประถมปัทมะ) เป็นอดีตสมาชิกวงเพรสซิเดนท์ และได้เป็นสมาชิกของวงคาราบาวในตำแหน่งมือเบสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 โดยอ๊อด คาราบาวโด่งดังจากการร้องเพลงกระถางดอกไม้ให้คุณ ในอัลบั้มเวลคัม ทู ไทยแลนด์เมื่อปี..

ใหม่!!: โฮะและเกริกกำพล ประถมปัทมะ · ดูเพิ่มเติม »

เมด อิน ไทยแลนด์

มด อิน ไทยแลนด์ เป็นเพลงที่แต่งโดย ยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) โดยครั้งแรกอยู่ในอัลบั้ม เมด อิน ไทยแลนด์ ซึ่งออกจำหน่ายในปี พ.ศ. 2527.

ใหม่!!: โฮะและเมด อิน ไทยแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

เสกสรรค์ ศุขพิมาย

กสรรค์ ศุขพิมาย หรือ เสก โลโซ เกิดเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2517 เป็นนักร้อง, นักดนตรี, นักแต่งเพลงชาวไทย จังหวัดนครราชสีมา เป็นอดีตนักร้องนำวงโลโซ ก่อนที่ต่อมาจะแยกตัวออกมาเป็นศิลปินเดี่ยว.

ใหม่!!: โฮะและเสกสรรค์ ศุขพิมาย · ดูเพิ่มเติม »

เทียรี่ เมฆวัฒนา

ทียรี่ เมฆวัฒนา นักร้องและนักดนตรีชาวไทย สมาชิกวงคาราบาว มีชื่อจริงว่า เทียรี่ สุทธิยงค์ เมฆวัฒนา เกิดเมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2501 ที่ประเทศลาว โดยมีพ่อเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนชื่อ เอนก เมฆวัฒนา แม่เป็นชาวสวิตเซอร์แลนด์ จากผู้จัดการออนไลน.

ใหม่!!: โฮะและเทียรี่ เมฆวัฒนา · ดูเพิ่มเติม »

7 เมษายน

วันที่ 7 เมษายน เป็นวันที่ 97 ของปี (วันที่ 98 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 268 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โฮะและ7 เมษายน · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »