โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

โยะชิโทะชิ

ดัชนี โยะชิโทะชิ

ึคิโอะคะ โยะชิโทะชิ หรือ ไทโสะ โยะชิโทะชิ (Tsukioka Yoshitoshi) (ค.ศ. 1839 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1892) โดยทั่วไปแล้วถือกันว่าเป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะคนสำคัญคนสุดท้ายของสำนักศิลปินอุตะกะวะชาวญี่ปุ่น และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแสวงหาแนวใหม่ งานของโยะชิโทะชิคาบระหว่างสองสมัย – ปลายสมัยศักดินาของญี่ปุ่นและต้นญี่ปุ่นสมัยใหม่หลักจากการปฏิรูปเมจิ โยะชิโทะชิก็เช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นหลายคนที่มีความสนใจกับสิ่งแปลกๆ ใหม่จากโลกภายนอก แต่ในปีต่อๆ มาโยะชิโทะชิก็เริ่มมีความกังวลกับการสูญเสียวัฒนธรรมอันมีค่าหลายอย่างของญี่ปุ่นที่รวมทั้งศิลปะการทำภาพพิมพ์แกะไม้ เมื่อถึงตอนปลายของอาชีพโยะชิโทะชิก็แทบจะเป็นผู้เดียวที่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับกาลเวลาและเทคโนโลยีที่คืบคลานเข้ามา ขณะที่โยะชิโทะชิยังคงใช้เวลาโบราณในการผลิตงานภาพพิมพ์ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ยุคการผลิตระดับอุตสาหกรรมตามแบบฉบับของโลกตะวันตกเช่นงานการถ่ายภาพ และ ภาพพิมพ์หิน แต่กระนั้นขณะที่ญี่ปุ่นหันหลังให้กับอดีตของตนเองโยะชิโทะชิก็พัฒนาศิลปะการทำภาพพิมพ์แกะไม้ตามธรรมเนียมญี่ปุ่นให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก่อนที่ศิลปะดังกล่าวจะตายตามโยะชิโทะชิไป ชีวิตของโยะชิโทะชิอาจจะสรุปตามคำกล่าวของจอห์น สตีเฟนสันว่า: ชื่อเสียงของของโยะชิโตะมีแต่จะยิ่งเพิ่มขึ้นทั้งทางตะวันตกและในกลุ่มชาวญี่ปุ่นรุ่นเด็กเอง และในปัจจุบันก็ยอมรับกันว่าเป็นศิลปินคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของญี่ปุ่นของสมัยนั้น.

21 ความสัมพันธ์: บิจิงะพ.ศ. 2382พ.ศ. 2435การฟื้นฟูเมจิการถ่ายภาพภาพพิมพ์หินภาพพิมพ์แกะไม้ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นภาพอุกิโยะรัฐบาลเอโดะสำนักศิลปินอุตะกะวะอุตะงะวะ คุนิซะดะอุตะงะวะ คุนิโยะชิฮิโระชิเงะจิตรกรรมคะบุกิซามูไรประเทศญี่ปุ่นโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิเกอิชา9 มิถุนายน

บิจิงะ

อุตะมาโระ, ค.ศ. 1798 บิจิงะ (美人画, Bijinga) เป็นคำทั่วไปสำหรับเรียกศิลปะญี่ปุ่นที่เป็นภาพสตรีผู้มีความงดงามโดยเฉพาะในงานภาพพิมพ์แกะไม้ประเภทภาพอุกิโยะที่เป็นงานศิลปะก่อนหน้าภาพถ่าย คำนี้ใช้สำหรับมีเดียสมัยใหม่ด้วยที่เป็นภาพที่ของสตรีที่มีลักษณะเป็นแบบคลาสสิก โดยเฉพาะที่เป็นภาพของสตรีที่แต่งตัวด้วยกิโมโน ศิลปินภาพอุกิโยะแทบทุกคนจะสร้างงาน “บิจิงะ” เพราะเป็นหัวข้อหลักของศิลปะประเภทที่ว่านี้ แต่จิตรกรผู้มีความเชี่ยวชาญและมีชื่อในการเขียน “บิจิงะ” ที่สำคัญก็ได้แก่คิตะกาวะ อุตะมาโระ, ซูซูกิ ฮะรุโนะบุ, โตะโยะฮาระ ชิกะโนะบุ และ โตริอิ กิโยะนาง.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและบิจิงะ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2382

ทธศักราช 2382 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1839.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและพ.ศ. 2382 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2435

ทธศักราช 2435 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1892 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและพ.ศ. 2435 · ดูเพิ่มเติม »

การฟื้นฟูเมจิ

การฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ (Meiji Restoration) หรือ การปฏิวัติเมจิ (Meiji Revolution) การปฏิรูปเมจิ (Meiji Reform) หรือ การปรับปรุงเมจิ (Meiji Renewal) เป็นเหตุการณ์การปฏิรูปประเทศญี่ปุ่นในปี..

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและการฟื้นฟูเมจิ · ดูเพิ่มเติม »

การถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพ อุปกรณ์หลักในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ คือ การบันทึกเหตุการณ์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยการเก็บสภาพแสง ณ เวลานั้นไว้บนวัตถุไวแสง ผ่านอุปกรณ์รับแสงที่เรียกว่ากล้องถ่ายรูป หลังจากนั้น จะสามารถเปลี่ยนสภาพแสงเหล่านั้นกลับมาเป็นภาพได้อีกครั้งหนึ่ง ผ่านกระบวนการล้างอัดภาพ ในภาษาอังกฤษคำว่า การถ่ายภาพ คือ Photography (อ่านว่า โฟทอก' กระฟี) มาจากการผสมคำกรีกสองคำ คือ คำว่า φως - phos ซึ่งแปลว่า แสง กับคำว่า γραφις - graphis หรือ γραφη - graphê ซึ่งแปลว่า การเขียน.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและการถ่ายภาพ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์หิน

อิร์นสท์ เฮิคเคิล แท่นพิมพ์แบบพิมพ์หินสำหรับพิมพ์แผนที่ในมิวนิค ภาพพิมพ์หิน หรือ กลวิธีพิมพ์หิน (Lithography) “Lithography” มาจากภาษากรีกว่า “λίθος” (lithos) ที่แปลว่า “หิน” สมาสกับคำว่า “γράφω” (graphο) ที่แปลว่า “เขียน” คือเทคนิคการพิมพ์ที่ใช้หินปูนพิมพ์หิน (lithographic limestone) หรือแผ่นโลหะที่มีผิวเรียบ เดิมเทคนิคการพิมพ์ใช้น้ำมันหรือไขมัน แต่ในสมัยใหม่ภาพสร้างขึ้นโดยการใช้พอลิเมอร์ทำปฏิกิริยากับแผ่นพิมพ์อะลูมิเนียม พื้นผิวที่ราบเรียบแบ่งออกเป็น.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและภาพพิมพ์หิน · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์แกะไม้

''Four horsemen of the Apocalypse'' โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์ ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เป็นศิลปะการพิมพ์แบบนูน โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์ แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut printmaking) มักจะไม่ใช้ในการแกะเฉพาะแต่ละภาพ แต่มักจะใช้สำหรับการแกะพิมพ์ที่มีทั้งตัวหนังสือแล.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและภาพพิมพ์แกะไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น

ทศกาลตุ๊กตา คุนิชิคะ โตะโยะฮะระ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (木版画, moku hanga, Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” และใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือในช่วงเวลาเดียวกัน การพิมพ์แกะไม้เป็นสิ่งที่ทำกันในประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการพิมพ์หนังสือก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กันขึ้น แต่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งมาถึงสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1867) วิธีการพิมพ์ก็คล้ายคลึงกันกับที่เรียกว่าแกะไม้ในการสร้างพิมพ์ทางตะวันตก.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

ภาพอุกิโยะ

ทิวทัศน์ของภูเขาฟูจิภาพหนึ่งในชุด “สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด” (Fifty-three Stations of the Tōkaidō) โดยฮิโระชิเงะ ตีพิมพ์ ค.ศ. 1850 ภาพอุกิโยะ (浮世絵, Ukiyo-e) คือกลุ่ม (genre) ของภาพศิลปะของของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคเอะโดะ (Edo) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนชั้นกลางในยุคนั้น โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงการขับร้อง สตรีในแหล่งเริงรมย์ ภูมิทัศน์ แต่มีบางส่วนที่อยู่ในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาด้วย โดยภาพศิลปะในกลุ่มนี้ มีทั้งภาพเขียนด้วยมือ (肉筆画) ซึ่งมีราคาสูงกว่าเพราะแต่ละภาพมีเพียงชิ้นเดียว และ ภาพที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (木版画) ที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่าย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะเป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้นี้ คำว่า “อุกิโยะ” (ukiyo) ความหมายแต่เดิมได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ เขียนเป็นตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นว่า 憂世 หมายถึง โลกนี้มีแต่ความทุกข์ หลังจากนั้นรับความหมายจากภาษาจีนของคำว่า 浮生 ซึ่งหมายถึง ชีวิตนี้ไม่เที่ยง (แปรปรวน) เข้ามารวมกัน กลายเป็นตัวเขียนใหม่คือ 浮世 ซึ่งหมายถึง โลกนี้ไม่เที่ยง ผู้คนในยุคหลังที่ใช้ชีวิตบันเทิงเริงรมย์ และหันหลังให้ความเคร่งครัดทางศาสนาในยุคก่อนหน้า มองว่าในเมื่อโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ก็ควรปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งที่บันเทิงใจ (浮かれる ukareru) จึงนำศัพท์นี้มาใช้ในความหมายบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายในยุคแรก ภาพที่วาดออกมาตามแนวนี้ จึ่งเป็นภาพของสิ่งบันเทิงใจในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับละครคะบุกิ ซูโม่ เกอิชา หญิิงงามเมืองทั้งระดับทั่วๆ ไป และระดับสูงที่อยู่บริเวณ Yoshimura ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Oira (花魁) ไปจนถึงภาพที่แสดงการเสพกามที่เรียกว่า ชุงงะ (春画 shunga) ลักษณะดังกล่าวทำให้ “ukiyo-e” หรือ “ภาพของโลกที่น่าบันเทิงใจ” เป็นกลุ่มภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเองต่างไปจากภาพเขียนประเภทอื่น นักประพันธ์ร่วมสมัยอะซะอิ เรียวอิ (Asai Ryōi) ได้บรรยายถึง เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของความหมายตามยุคสมัยของคำว่า “อุกิโยะ” ในนิยายชื่อ Ukiyo monogatari (浮世物語 หรือ "ตำนานของ อุกิโยะ") ที่เขียนในปี..

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและภาพอุกิโยะ · ดูเพิ่มเติม »

รัฐบาลเอโดะ

รัฐบาลเอโดะ หรือ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ เป็นฝ่ายบริหารของประเทศญี่ปุ่นซึ่งใช้ระบอบศักดินา สถาปนาโดยโทกูงาวะ อิเอะยะสุ (徳川家康 Tokugawa Ieyasu) มีผู้ปกครองสูงสุดเป็นโชกุน (将軍 shōgun) ซึ่งต้องมาจากตระกูลโทกูงาวะ (徳川氏 Tokugawa-shi) เท่านั้น ในสมัยที่ประเทศญี่ปุ่นถูกปกครองโดยรัฐบาลโชกุนนั้น จะเรียกว่ายุคเอโดะ (江戸時代 edo-jidai) ตามชื่อเมืองเอโดะ ซึ่งรัฐบาลโชกุนสถาปนาให้เป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ ปัจจุบัน คือกรุงโตเกียว (東京 Tōkyō) มีปราสาทเอโดะ (江戸城 Edo-jō) เป็นศูนย์กลางการปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1603 - 1868 จนกระทั่งถูกสมเด็จพระจักรพรรดิเมจิ (明治天皇 Meiji-tennō) ล้มล้างไปในการปฏิรูปสมัยเมจิ (明治維新 Meiji Ishin) หลังจากยุคเซงโงะกุ (戦国時代 Sengoku-jidai) หรือยุคไฟสงคราม โอดะ โนะบุนะงะ (織田 信長 Oda Nobunaga) และโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ (豊臣 秀吉 Toyotomi Hideyoshi) ได้ร่วมกันรวมอำนาจสู่ศูนย์กลาง และตั้งเป็นรัฐบาลกลางขึ้นอีกครั้งในยุคอะซึจิ-โมะโมะยะมะ (あづちももやまじだい Azuchi momoyama jidai) ซึ่งเป็นยุคสั้นๆ ก่อนยุคเอโดะ ต่อมา หลังจากยุทธการเซะกิงะฮะระ (関ヶ原の戦い Sekigahara no Tatakai) ซึ่งเป็นการรบครั้งใหญ่ในค.ศ. 1600 การปกครองและอำนาจทั้งหมด ได้ตกอยู่ในมือของโทกูงาวะ อิเอะยะสุโดยเบ็ดเสร็จ และสถาปนาตนเองเป็นโชกุนในปี ค.ศ. 1603 ซึ่งเป็นไปตามประเพณีโบราณ ที่ผู้เป็นโชกุนจะต้องสืบเชื้อสายจากต้นตระกูลมินะโมะโตะ (源 Minamoto) ในยุคของโทกูงาวะ ต่างจากยุคโชกุนก่อนๆ คือมีการนำระบบชนชั้นที่เริ่มใช้โดยโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ มาใช้อีกครั้งอย่างเข้มงวด โดยชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (侍 Samurai) อยู่บนสุด ตามด้วยชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า การใช้ระบบชนชั้นอย่างเข้มงวดและไม่ยืดหยุ่นได้ทำให้เกิดจลาจลมาตลอดสมัย ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นชาวนานั้น อยู่ในอัตราคงที่โดยไม่คำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นๆของค่าเงิน ส่งผลให้รายได้ภาษีที่เรียกเก็บจากชนชั้นซามูไร ผู้เป็นเจ้าของที่ดินมีมูลค่าลดลงเรื่อยๆตลอดยุค ซึ่งสาเหตุนี้ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้าระหว่างซามูไรผู้ทรงเกียรติแต่ฐานะทางการเงินต่ำลงเรื่อยๆจากการจ่ายภาษี กับชาวนาผู้มีอันจะกิน เกิดเป็นการปะทะกันหลายต่อหลายครั้งที่เริ่มจากเหตุการณ์เล็กๆรุกลามเป็นเหตุการณ์วุ่นวาย อย่างไรก็ตาม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงระบบสังคมยุคเอโดะได้ ตราบจนการเข้ามาของชาวตะวันตก เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 กลุ่มไดเมียวผู้มีอำนาจ เช่น ตระกูลชิมะสึ (島津氏 Shimazu-shi) ได้ร่วมมือกับสมเด็จพระจักรพรรดิและพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งในสมัยเอโดะเคยทรงเพียงศักดิ์แต่ไร้อำนาจ เพื่อโค่นล้มระบอบโชกุนในโดยสงครามโบะชิน (戊辰戦争 Boshin Sensō) ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปเมจิโดยจักรพรรดิเมจิ รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะถูกล้มล้างโดยสมบูรณ์ในค.ศ. 1868 โดยมีโทกูงาวะ โยชิโนบุ (徳川 慶喜 Tokugawa Yoshinobu) เป็นโชกุนคนที่ 15 และเป็นโชกุนคนสุดท้ายของญี่ปุ่น จากนั้น ญี่ปุ่นก็เข้าสู่ยุคเมจิ (明治時代 Meiji-jidai)อันมีการฟื้นฟูราชวงศ์มายังเมืองเอโดะ และเปลี่ยนชื่อเป็นกรุงโตเกียวดังเช่นปัจจุบัน.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและรัฐบาลเอโดะ · ดูเพิ่มเติม »

สำนักศิลปินอุตะกะวะ

“เป็ดแมนดาริน” โดยฮิโระชิเงะ สำนักศิลปินอุตะกะวะ (Utagawa school) คือกลุ่มศิลปินภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะชาวญี่ปุ่นที่ก่อตั้งขึ้นโดยโทะโยะฮะรุ โดยมีลูกศิษย์ชื่อโทะโยะคุนิที่ 1 เป็นผู้ดำเนินกิจการต่อมาหลังจากโทะโยะฮะรุเสียชีวิตไปแล้ว และยกระดับงานของกลุ่มจนกระทั่งกลายเป็นกลุ่มศิลปินที่มีอำนาจและมีชื่อเสียงมากที่สุดในการสร้างงานภาพพิมพ์แกะไม้มาจนตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลูกศิษย์ของอุตะกะวะก็ได้แก่ฮิโระชิเงะ, คุนิซะดะ, คุนิโยะชิ และ โยะชิโทะชิ สำนักศิลปินอุตะกะวะได้รับความสำเร็จและเป็นที่รู้จักจนกระทั่งว่ากว่าครึ่งหนึ่งของภาพอุกิโยะที่ยังมีเหลืออยู่ในปัจจุบันมาจากตระกูลการพิมพ์ที่ว่านี้ โทะโยะฮะรุผู้ก่อตั้งตระกูลการพิมพ์นำเอาวิธีการเขียนแบบทัศนมิติของตะวันตกมาใช้ในงานเขียนซึ่งเป็นแนวใหม่ในการสร้างงานศิลปะของญี่ปุ่น ผู้ดำเนินตามรอยของโทะโยะฮะรุคนต่อมาที่รวมทั้งอุตะกะวะ โทะโยะฮิโระ และ อุตะกะวะ โทะโยะคุนิเขียนในลักษณะที่เป็นการแสดงออกมากขึ้น และยวนอารมณ์ (sensuous style) มากขึ้นกว่างานของโทะโยะฮะรุ และมีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทต่างๆ— โทะโยะฮิโระในการออกแบบภูมิทัศน์ และโทะโยะคุนิในการออกแบบภาพพิมพ์ของดาราคะบุกิ ต่อมาจิตรกรของสำนักศิลปินอุตะกะวะก็มีความเชี่ยวชาญในการเขียนภาพประเภทอื่นๆ เช่นภาพพิมพ์ของนักรบ และ งานล้อเรื่องปริศนา (mythic parodies)Johnson, Ken,.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและสำนักศิลปินอุตะกะวะ · ดูเพิ่มเติม »

อุตะงะวะ คุนิซะดะ

อุตะงะวะ คุนิซะดะ (ค.ศ. 1786 - ค.ศ. 1865) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและอุตะงะวะ คุนิซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ (ราว ค.ศ. 1797 - 14 เมษายน ค.ศ. 1861) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะของสำนักศิลปินอุตะงะวะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและอุตะงะวะ คุนิโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโระชิเงะ

อุตะงะวะ ฮิโระชิเงะ (ภาษาญี่ปุ่น: 歌川広重, ภาษาอังกฤษ: Hiroshige หรือ Utagawa Hiroshige หรือ Andō Hiroshige (安藤広重)) (ค.ศ. 1797 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1858) เป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการสร้างภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) สมัยที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” ซึ่งเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 ที่เป็นภาพภูมิทัศน์ ตำนานจากประวัติศาสตร์ การละคร และจากชีวิตความสนุก ฮิโระชิเงะเกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและฮิโระชิเงะ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรม

มนาลิซา เป็นหนึ่งในภาพจิตรกรรมที่เป็นที่จดจำได้มากที่สุดในโลกตะวันตก โดย นายชัยยะนุช จิตรกรรม (painting) เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการวาด ระบายสี และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น เพื่อให้เกิดภาพ 2 มิติ ไม่มีความลึกหรือนูนหนา จิตรกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้ทำงานจิตรกรรม มักเรียกว่า จิตรกร จอห์น แคนาเดย์ (John Canaday) ได้ให้ความหมายของจิตรกรรมไว้ว่า จิตรกรรม คือ การระบายชั้นของสีลงบนพื้นระนาบรองรับ เป็นการจัดรวมกันของรูปทรง และ สีที่เกิดขึ้นจากการเตรียมการของศิลปินแต่ละคนในการเขียนภาพนั้น พจนานุกรมศัพท์ อธิบายว่า เป็นการสร้างงานทัศนศิลป์บนพื้นระนาบรองรับ ด้วยการ ลาก ป้าย ขีด ขูด วัสดุ จิตรกรรมลงบนพื้นระนาบรองรับ ภาพจิตรกรรมที่เก่าแก่ที่สุดที่เป็นที่รู้จักอยู่ที่ถ้ำ Chauvet ในประเทศฝรั่งเศส ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนอ้างว่ามีอายุราว 32,000 ปีเป็นภาพที่สลักและระบายสีด้วยโคลนแดงและสีย้อมดำ แสดงรูปม้า แรด สิงโต ควาย แมมมอธ หรือมนุษย์ ซึ่งมักจะกำลังล่าสัตว.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและจิตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

คะบุกิ

การแต่งหน้าแบบคะบุกิ คาบูกิ เป็นศิลปการแสดงของญี่ปุ่น โดยมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ โดยมีเนื้อเรื่อง 2 ประเภท คือเรื่องเกี่ยวกับสังคมซามูไร และ เรื่องราวชีวิตของชาวเมือง คาบูกิ เริ่มต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 17 โดยมีการเปิดการแสดงในเกียวโต โดยคณะละครที่ประกอบด้วยผู้ร่ายรำสตรีที่นำโดยผู้ดูแลศาลเจ้าอิซุโมะ แต่หลังจากนั้นปี ค.ศ. 1629 ได้มีประกาศรัฐบาลห้ามสตรีแสดงด้วยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาศีลธรรมของประชาชน ดังนั้นคะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชายและเมื่อรัฐบาลห้ามมิให้ผู้หญิงแสดง คะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชาย เช่น ผู้ร้ายหน้าสีน้ำเงิน พระเอกหน้าสีขาว เวทีละครสร้างอย่างวิจิตรงดงาม เป็นต้น.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและคะบุกิ · ดูเพิ่มเติม »

ซามูไร

ซามูไรในชุดเกราะ ถ่ายในช่วงทศวรรษที่ 1860 โดย เฟรีเช บีอาโต ซามูไร แปลเป็นภาษาไทยว่าทหาร คำว่า ซามูไร มีต้นกำเนิดจากคำว่า ซะบุระอุ ซึ่งเป็นคำกริยาในภาษาญี่ปุ่นโบราณ ที่มีความหมายว่า รับใช้ ฉะนั้น ซามูไรก็คือคนรับใช้นั่นเอง.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและซามูไร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศญี่ปุ่น

ประเทศญี่ปุ่น (ชื่ออย่างเป็นทางการ) เป็นรัฐเอกราชหมู่เกาะในเอเชียตะวันออก ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกนอกฝั่งตะวันออกของแผ่นดินใหญ่เอเชีย ทางตะวันตกติดกับคาบสมุทรเกาหลีและประเทศจีน โดยมีทะเลญี่ปุ่นกั้น ส่วนทางทิศเหนือติดกับประเทศรัสเซีย มีทะเลโอค็อตสค์เป็นเส้นแบ่งแดน ตัวอักษรคันจิของชื่อญี่ปุ่นแปลว่า "ถิ่นกำเนิดของดวงอาทิตย์" จึงทำให้มักได้ชื่อว่า "ดินแดนแห่งอาทิตย์อุทัย" ประเทศญี่ปุ่นเป็นกลุ่มเกาะกรวยภูเขาไฟสลับชั้นซึ่งมีเกาะประมาณ 6,852 เกาะ เกาะใหญ่สุดคือ เกาะฮนชู ฮกไกโด คีวชู และชิโกกุ ซึ่งคิดเป็นพื้นที่แผ่นดินประมาณร้อยละ 97 ของประเทศญี่ปุ่น และมักเรียกว่าเป็นหมู่เกาะเหย้า (home islands) ประเทศแบ่งเป็น 47 จังหวัดใน 8 ภูมิภาค โดยมีฮกไกโดเป็นจังหวัดเหนือสุด และโอกินาวะเป็นจังหวัดใต้สุด ประเทศญี่ปุ่นมีประชากร 127 ล้านคน เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ 10 ของโลก ชาวญี่ปุ่นเป็นร้อยละ 98.5 ของประชากรทั้งหมดของประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 9.1 ล้านคนอาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เมืองหลวงของประเทศ การวิจัยทางโบราณคดีระบุว่ามีมนุษย์อาศัยในญี่ปุ่นปัจจุบันครั้งแรกตั้งแต่ยุคหินเก่า การกล่าวถึงญี่ปุ่นเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกปรากฏในบันทึกของราชสำนักจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 1 ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากจีนในหลายด้าน เช่นภาษา การปกครองและวัฒนธรรม แต่ขณะเดียวกันก็มีการปรับเปลี่ยนให้เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จึงทำให้ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมที่โดดเด่นมาจนปัจจุบัน อีกหลายศตวรรษต่อมา ญี่ปุ่นก็รับเอาเทคโนโลยีตะวันตกและนำมาพัฒนาประเทศจนกลายเป็นประเทศที่ก้าวหน้าและมีอิทธิพลมากที่สุดในเอเชียตะวันออก หลังจากแพ้สงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นก็มีการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองโดยการใช้รัฐธรรมนูญใหม่ใน..

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ

ทโยโตมิ ฮิเดโยชิ (2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1537 – 18 กันยายน ค.ศ. 1598) เป็นไดเมียวคนสำคัญของญี่ปุ่นในยุคอะซุชิ-โมะโมะยะมะ เนื่องจากได้สร้างวีรกรรมต่อจากโอดะ โนบุนาง.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

เกอิชา

กอิชา เกอิชา เป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ถือว่าเป็นผู้ที่ชำนาญทางศิลปะและให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นเสมือนผู้คอยต้อนรับและปรนนิบัติแขก เกอิชามีอยู่แพร่หลายอย่างมากในญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 เมื่อ ค.ศ. 1920 มีจำนวนเกอิชาถึง 80,000 คน ส่วนในปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีอาชีพเกอิชา แต่จำนวนค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกอิชาฝึกหัดจะเรียกว่า ไมโกะ คำว่า "เกอิชา" นั้น ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "เกชะ" ในแถบคันไซเรียกว่า เกงิ (芸妓, げいぎ) ส่วนเกอิชาฝึกงานหรือ "เกโกะ" (芸子, げいこ) มีใช้มาตั้งแต่สมัยเมจิ ส่วนคำว่า "กีชา" ที่เรียกว่า "สาวเกอิชา" นั้น นิยมเรียกในช่วงปฏิบัติการร่วมระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา หมายถึง หญิงขายบริการ แต่เรียกตัวเองว่า "เกอิชา" อาชีพของเกอิชานั้นพัฒนาขึ้นมาจาก ไทโคะโมะชิ หรือ โฮกัง ซึ่งคล้ายกับพวกตลกหลวงในราชสำนัก เกอิชาในสมัยแรกนั้นล้วนเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันนั้นจะเรียกกันว่า "อนนะ เกชะ" (女芸者) หรือเกอิชาหญิง แต่ในปัจจุบันเกอิชาเป็นหญิงเท่านั้น อักษรญี่ปุ่น "เกชะ" หมายถึง ศิลปิน เดิมนั้นหญิงที่จะทำอาชีพเกอิชาจะได้รับการฝึกอบรมตั้งแต่เด็ก สำนักเกอิชามักจะซื้อตัวเด็กหญิงมาจากครอบครัวที่ยากจน แล้วนำมาฝึกฝนเลี้ยงดูโดยตลอด ในช่วงวัยเด็ก พวกเขาจะทำงานเป็นหญิงรับใช้ เพราะผู้ช่วยเกอิชารุ่นพี่ในสำนักถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝนด้วยเช่นกัน และเพื่อชดใช้กับค่าเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน การสอนและฝึกฝนอาชีพที่ยาวนานเช่นนี้ นักเรียนจะอาศัยอยู่ในบ้านของครูผู้ฝึก ช่วยทำงานบ้าน สังเกต และช่วยครู และเมื่อชำนาญเป็นเกอิชาแล้ว สุดท้ายก็จะเลื่อนขึ้นไปสู่ตำแหน่งครูผู้ฝึกอบรมต่อไป การฝึกอบรมนี้จะต้องใช้เวลานานหลายปีทีเดียว ในเบื้องต้นนั้นเด็กสาวจะได้เรียนศิลปะหลายแขนง ได้แก่ การเล่นดนตรี (โดยเฉพาะชะมิเซ็ง รูปร่างคล้ายกีตาร์) การขับร้อง การเต้นรำ การชงชา การจัดดอกไม้ (อิเกะบะนะ) รวมถึงเรื่องบทกวีและวรรณคดี การได้คอยเป็นผู้ช่วยและได้เห็นเกอิชารุ่นพี่ทำงาน พวกเขาก็จะมีความชำนาญมากขึ้นและเรียนรู้ศิลปะที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การแต่งชุดกิโมโน รวมถึงการพนันหลายแบบ รู้จักการสนทนา และการโต้ตอบกับลูกค้า เมื่อหญิงสาวได้เข้ามารับการฝึกฝนเป็นไมโกะหรือเกอิชาฝึกหัด ก็จะเริ่มติดตามเกอิชารุ่นพี่ไปยังโรงน้ำชา งานเลี้ยง และการสังสรรค์ต่าง ๆ ที่เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานจริงของเกอิชา ทำให้ได้ประสบการณ์ทำงานจริงและมีความชำนาญขึ้นเรื่อย ๆ ตำบลกิอง แหล่งเกอิชาในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เกอิชาไม่ใช่โสเภณี แม้ว่าในอดีตจะมีการขายพรหมจารีอย่างถูกต้อง และเกอิชาก็ไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะจ่ายเงินซื้อเพื่อการนี้ก็ตาม เกอิชากับโสเภณีมีความแตกต่างพอสมควร โดยสังเกตอย่างง่ายจากการแต่งตัว โดยที่โสเภณีจะมีสายโอบิผูกชุดที่สามารถแกะได้จากข้างหน้า เพื่อความสะดวกในถอดชุดออกออก เครื่องประดับของเหล่าหญิงโสเภณีมีความงดงาม หรูหรา ฟู่ฟ่า ในขณะที่เกอิชามีผ้าโอบิผูกจากข้างหลังตามชุดกิโมโนทั่วไป เครื่องประดับนั้นจะเรียบง่ายแต่แสดงออกถึงความสวยงามตามธรรมชาติ ในรูปแบบของศิลปะได้อย่างดีทีเดียว เกอิชาสมัยใหม่จะไม่ถูกซื้อตัวหรือพามายังสำนักเกอิชาตั้งแต่เด็กเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว การเป็นเกอิชาในสมัยใหม่นั้นเป็นไปโดยสมัครใจทั้งสิ้น และการฝึกฝนอาชีพนั้นจะเริ่มต้นที่หญิงสาว ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ไม่ใช่เด็กหญิงอย่างแต่ก่อน และจะใช้เวลาที่ยาวนานและยุ่งยากมาก เพราะฝึกเมื่ออายุมาก ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชาในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไก (花柳界 "โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งคล้ายกับย่านโพนโทะโช ในเกียวโต เกอิชานั้นมักได้รับการว่าจ้างให้ปรนนิบัติหมู่คณะ และมักทำงานร่วมกันในโรงน้ำชา (茶屋 ชะยะ) หรือร้านอาหารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยเวลาใช้บริการนั้นจะใช้ธูปจุดเป็นเกณฑ์วัด เรียกว่า "เซนโกได" (線香代 "ค่าธูป") หรือ เคียวกุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชาหรือ "เค็นบัน" (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงานก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้นก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและเกอิชา · ดูเพิ่มเติม »

9 มิถุนายน

วันที่ 9 มิถุนายน เป็นวันที่ 160 ของปี (วันที่ 161 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 205 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: โยะชิโทะชิและ9 มิถุนายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Tsukioka YoshitoshiYoshitoshiYoshitoshi Tsukiokaสึคิโอะคะ โยะชิโทะชิ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »