โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ภาพอุกิโยะ

ดัชนี ภาพอุกิโยะ

ทิวทัศน์ของภูเขาฟูจิภาพหนึ่งในชุด “สถานี 53 สถานีบนเส้นทางโทไกโด” (Fifty-three Stations of the Tōkaidō) โดยฮิโระชิเงะ ตีพิมพ์ ค.ศ. 1850 ภาพอุกิโยะ (浮世絵, Ukiyo-e) คือกลุ่ม (genre) ของภาพศิลปะของของญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในยุคเอะโดะ (Edo) ซึ่งเป็นภาพที่แสดงความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของคนชั้นกลางในยุคนั้น โดยมีหัวข้อเกี่ยวกับสิ่งบันเทิงเริงรมย์ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงการขับร้อง สตรีในแหล่งเริงรมย์ ภูมิทัศน์ แต่มีบางส่วนที่อยู่ในหัวข้อของประวัติศาสตร์ ราชสำนัก และศาสนาด้วย โดยภาพศิลปะในกลุ่มนี้ มีทั้งภาพเขียนด้วยมือ (肉筆画) ซึ่งมีราคาสูงกว่าเพราะแต่ละภาพมีเพียงชิ้นเดียว และ ภาพที่พิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้ (木版画) ที่มีราคาถูกกว่าเนื่องจากสามารถพิมพ์ได้จำนวนมากกว่า คนทั่วไปสามารถซื้อหาได้ง่าย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะเป็นภาพพิมพ์จากแม่พิมพ์ไม้นี้ คำว่า “อุกิโยะ” (ukiyo) ความหมายแต่เดิมได้รับอิทธิพลจากศาสนาพุทธ เขียนเป็นตัวหนังสือภาษาญี่ปุ่นว่า 憂世 หมายถึง โลกนี้มีแต่ความทุกข์ หลังจากนั้นรับความหมายจากภาษาจีนของคำว่า 浮生 ซึ่งหมายถึง ชีวิตนี้ไม่เที่ยง (แปรปรวน) เข้ามารวมกัน กลายเป็นตัวเขียนใหม่คือ 浮世 ซึ่งหมายถึง โลกนี้ไม่เที่ยง ผู้คนในยุคหลังที่ใช้ชีวิตบันเทิงเริงรมย์ และหันหลังให้ความเคร่งครัดทางศาสนาในยุคก่อนหน้า มองว่าในเมื่อโลกนี้ไม่มีอะไรที่เที่ยงแท้แน่นอน ก็ควรปล่อยตัวปล่อยใจไปกับสิ่งที่บันเทิงใจ (浮かれる ukareru) จึงนำศัพท์นี้มาใช้ในความหมายบันเทิงเริงรมย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความหมายในยุคแรก ภาพที่วาดออกมาตามแนวนี้ จึ่งเป็นภาพของสิ่งบันเทิงใจในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเกี่ยวกับละครคะบุกิ ซูโม่ เกอิชา หญิิงงามเมืองทั้งระดับทั่วๆ ไป และระดับสูงที่อยู่บริเวณ Yoshimura ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Oira (花魁) ไปจนถึงภาพที่แสดงการเสพกามที่เรียกว่า ชุงงะ (春画 shunga) ลักษณะดังกล่าวทำให้ “ukiyo-e” หรือ “ภาพของโลกที่น่าบันเทิงใจ” เป็นกลุ่มภาพที่มีเอกลักษณ์ของตนเองต่างไปจากภาพเขียนประเภทอื่น นักประพันธ์ร่วมสมัยอะซะอิ เรียวอิ (Asai Ryōi) ได้บรรยายถึง เรื่องราวความเปลี่ยนแปลงของความหมายตามยุคสมัยของคำว่า “อุกิโยะ” ในนิยายชื่อ Ukiyo monogatari (浮世物語 หรือ "ตำนานของ อุกิโยะ") ที่เขียนในปี..

12 ความสัมพันธ์: ภาพพิมพ์แกะไม้ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่นอุตะงะวะ คุนิซะดะอุตะงะวะ คุนิโยะชิฮิโระชิเงะจิตรกรรมภูมิทัศน์คะบุกิคะสึชิกะ โฮะกุไซคิตะงะวะ อุตะมะโระโยะชิโทะชิโตเกียวเกอิชา

ภาพพิมพ์แกะไม้

''Four horsemen of the Apocalypse'' โดย อัลเบรชท์ ดือเรอร์ ภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut) เป็นศิลปะการพิมพ์แบบนูน โดยที่ภาพที่จะพิมพ์ใช้แกะบนผิวไม้ เมื่อต้องการพิมพ์ก็จะทาส่วนพิมพ์ด้วยลูกกลิ้งมือ ทำให้หมึกเกาะบริเวณที่ต้องการจะพิมพ์แต่ไม่เกาะบนส่วนอื่นๆ ของพิมพ์ที่ไม่ต้องการจะพิมพ์ การพิมพ์หลายสีก็ใช้พิมพ์ไม้หลายพิมพ์ แต่ละสีก็จะใช้พิมพ์ต่างจากสีอื่น ศิลปะการแกะไม้สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้เรียกว่า การแกะพิมพ์สำหรับภาพพิมพ์แกะไม้ (Woodcut printmaking) มักจะไม่ใช้ในการแกะเฉพาะแต่ละภาพ แต่มักจะใช้สำหรับการแกะพิมพ์ที่มีทั้งตัวหนังสือแล.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและภาพพิมพ์แกะไม้ · ดูเพิ่มเติม »

ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น

ทศกาลตุ๊กตา คุนิชิคะ โตะโยะฮะระ ภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น (木版画, moku hanga, Woodblock printing in Japan) เป็นวิธีที่ใช้ในการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” และใช้อย่างแพร่หลายในการพิมพ์หนังสือในช่วงเวลาเดียวกัน การพิมพ์แกะไม้เป็นสิ่งที่ทำกันในประเทศจีนมาเป็นเวลาหลายร้อยปีในการพิมพ์หนังสือก่อนที่จะมีการประดิษฐ์แท่นพิมพ์กันขึ้น แต่ไม่ได้นำมาใช้ในประเทศญี่ปุ่นจนกระทั่งมาถึงสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603-ค.ศ. 1867) วิธีการพิมพ์ก็คล้ายคลึงกันกับที่เรียกว่าแกะไม้ในการสร้างพิมพ์ทางตะวันตก.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและภาพพิมพ์แกะไม้ในประเทศญี่ปุ่น · ดูเพิ่มเติม »

อุตะงะวะ คุนิซะดะ

อุตะงะวะ คุนิซะดะ (ค.ศ. 1786 - ค.ศ. 1865) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและอุตะงะวะ คุนิซะดะ · ดูเพิ่มเติม »

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ

อุตะงะวะ คุนิโยะชิ (ราว ค.ศ. 1797 - 14 เมษายน ค.ศ. 1861) เป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะของสำนักศิลปินอุตะงะวะชาวญี่ปุ่นคนสำคัญและมีชื่อเสียงของคริสต์ศตวรรษที่ 19.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและอุตะงะวะ คุนิโยะชิ · ดูเพิ่มเติม »

ฮิโระชิเงะ

อุตะงะวะ ฮิโระชิเงะ (ภาษาญี่ปุ่น: 歌川広重, ภาษาอังกฤษ: Hiroshige หรือ Utagawa Hiroshige หรือ Andō Hiroshige (安藤広重)) (ค.ศ. 1797 - 12 ตุลาคม ค.ศ. 1858) เป็นจิตรกรคนสำคัญของประเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 มีความเชี่ยวชาญทางการสร้างภาพพิมพ์แกะไม้ (woodcut) สมัยที่เรียกว่า “ภาพอุกิโยะ” ซึ่งเป็นภาพพิมพ์แกะไม้ที่สร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง 20 ที่เป็นภาพภูมิทัศน์ ตำนานจากประวัติศาสตร์ การละคร และจากชีวิตความสนุก ฮิโระชิเงะเกิดเมื่อปี..

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและฮิโระชิเงะ · ดูเพิ่มเติม »

จิตรกรรมภูมิทัศน์

“เดินเล่นในฤดูใบไม้ผลิ” (Strolling About in Spring) ราว ค.ศ. 600 คนเกี่ยวข้าว” (The Harvesters) โดย ปิเอเตอร์ บรูเกล ค.ศ. 1565 “ร้อนผิดฤดูที่เวอร์มอนท์” (Indian Summer) โดยวิลลาร์ด ลีรอย เมทคาลฟ ซึ่งเป็นภาพเขียนนอกสถานที่ จิตรกรรมภูมิทัศน์ (ภาษาอังกฤษ: Landscape art) เป็นจิตรกรรม ที่แสดงทิวทัศน์เช่นภูเขา, หุบเขา, ต้นไม้, แม่น้ำ, และป่า และมักจะรวมท้องฟ้า นอกจากนั้นสภาวะอากาศก็อาจจะมีส่วนสำคัญในการวางองค์ประกอบของภาพด้วย ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 ชาวโรมันตกแต่งห้องด้วยจิตรกรรมฝาผนังที่เป็นภาพภูมิทัศน์ซึ่งพบที่ปอมเปอีและเฮอร์คิวเลเนียม คำว่า “landscape” มาจากภาษาดัทช์ landscape “landschap” ซึ่งหมายถึงบริเวณที่เก็บเกี่ยวแล้ว และนำเข้ามาใช้ในภาษาอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อต้น คริสต์ศตวรรษที่ 15 การเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะการเขียนแบบหนึ่งในยุโรป ซึ่งใช้เป็นฉากหลังของกิจการต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะคริสต์ศาสนา เช่น ภาพในหัวเรื่อง “พระเยซูหนีไปอียิปต์”, หรือฉากการเดินทางของแมไจเพื่อนำของขวัญมาให้พระเยซู หรือ ภาพเขียนเกี่ยวกับนักบุญเจอโรมเมื่อไปจำศีลอยู่ในทะเลทราย การเขียนภาพภูมิทัศน์ของจีนจะเป็นภูมิทัศน์ล้วนๆ ถ้ามีคนอยู่ในรูปก็จะเป็นส่วนประกอบที่ไม่สำคัญหรือเพียงเป็นสิ่งเทียบถึงขนาดของธรรมชาติ และเป็นการเชิญชวนให้ผู้ชมภาพมีความรู้สึกว่ามีส่วนร่วมในภาพเขียน การเขียนภาพลักษณะนี้มีลักษณะสมบูรณ์แบบมาตั้งแต่การเขียนภาพด้วยหมึก ในยุโรปจอห์น รัสคิน และ เซอร์เค็นเน็ธ คลาคกล่าวว่าการเขียนภาพภูมิทัศน์เป็นศิลปะที่สร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้คนเกิดความซาบซึ้งในความสวยงามของธรรมชาติ คลาคกล่าวว่าในการเขียนภาพภูมิทัศน์ตั้งอยู่บนพื้นฐานสี่อย่าง: การยอมรับในสัญลักษณ์ที่เห็น, ความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับธรรมชาติ, การสร้างจินตนิยมที่มึพี้นฐานมาจากความกลัวธรรมชาติ และ ความเชื่อที่ว่าทุกสิ่งทุกอย่างจะลงเอยด้วยดีที่เป็นสิ่งที่สามารถทำให้เกิดขึ้นได้ ในสหรัฐอเมริกาช่างเขียนภาพสกุลศิลปะลุ่มแม่น้ำฮัดสันที่รุ่งเรื่องราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีชื่อเสียงในการวิวัฒนาการเขียนภาพภูมิทัศน์ นักเขียนภาพกลุ่มนี้สร้างภาพเขียนขนาดยักษ์เพื่อจะสามารถพยายามแสดงความยิ่งใหญ่ของภูมิทัศน์ตามที่เห็น ปรัชญาของงานของทอมัส โคลซึ่งถือกันว่าเป็นผู้ก่อตั้งตระกูลการเขียนนี้ก็เช่นเดียวกับปรัชญาการเขียนภาพภูมิทัศน์ในยุโรป — เป็นความศรัทธาของมนุษย์ที่ทำให้มีความรู้สึกดีขึ้นจากการซาบซึ้งในคุณค่าของความสวยงามและความมหัศจรรย์ของธรรมชาติ งานของศิลปินตระกูลแม่น้ำฮัดสันรุ่นหลังเช่นงานของ แอลเบิร์ต เบียร์สตัดท์จะสร้างงานที่สร้างความน่ากลัวขึ้นโดยการเน้นอำนาจของธรรมชาติ นักสำรวจ, นักธรรมชาติวิทยา, ชาวทะเล, พ่อค้า, หรือผู้ตั้งถิ่นฐานที่มาถึงแผ่นดินแคนาดาเมื่อสมัยแรกๆ ในการสำรวจต้องเผชิญกับธรรมชาติที่ค่อนข้างจะอันตรายจากทะเล นักสำรวจเหล่านี้พยายามปรับปรุงสถานการณ์โดยการทำแผนที่, บันทึก, และตั้งหลักแหล่ง ความเข้าใจธรรมชาติจากการสังเกตของแต่ละคนก็ต่างกันไป บันทึกจากความรู้สึกเหล่านี้มีตั้งแต่ถูกต้องตามความเป็นจริงไปจนการจินตนาการที่เกินความจริงเอามากๆ และการสังเกตเหล่านี้ก็ถูกบันทึกในรูปของภาพภูมิทัศน์ ภาพเขียนที่เป็นตัวอย่างที่ดีของการเขียนภาพภูมิทัศน์คานาดาคือภาพจากจิตรกรใน “กลุ่มเจ็ดคน” (Group of Seven) ที่มีชื่อเสียงในคริสต์ทศศตวรรษ.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและจิตรกรรมภูมิทัศน์ · ดูเพิ่มเติม »

คะบุกิ

การแต่งหน้าแบบคะบุกิ คาบูกิ เป็นศิลปการแสดงของญี่ปุ่น โดยมีการแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ มีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ โดยมีเนื้อเรื่อง 2 ประเภท คือเรื่องเกี่ยวกับสังคมซามูไร และ เรื่องราวชีวิตของชาวเมือง คาบูกิ เริ่มต้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 17 โดยมีการเปิดการแสดงในเกียวโต โดยคณะละครที่ประกอบด้วยผู้ร่ายรำสตรีที่นำโดยผู้ดูแลศาลเจ้าอิซุโมะ แต่หลังจากนั้นปี ค.ศ. 1629 ได้มีประกาศรัฐบาลห้ามสตรีแสดงด้วยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาศีลธรรมของประชาชน ดังนั้นคะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชายและเมื่อรัฐบาลห้ามมิให้ผู้หญิงแสดง คะบุกิจึงแสดงโดยผู้ชาย เช่น ผู้ร้ายหน้าสีน้ำเงิน พระเอกหน้าสีขาว เวทีละครสร้างอย่างวิจิตรงดงาม เป็นต้น.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและคะบุกิ · ดูเพิ่มเติม »

คะสึชิกะ โฮะกุไซ

กุไซ หรือ คะสึชิกะ โฮะกุไซ (葛飾北斎?, Hokusai หรือ Katsushika Hokusai) (ตุลาคม หรือ พฤศจิกายน ค.ศ. 1760 - 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1849Nagata) เป็นจิตรกรภาพอุกิโยะและภาพพิมพ์แกะไม้ชาวญี่ปุ่นของสมัยเอะโดะของคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนจิตรกรรมจีน โฮะกุไซเกิดที่เอะโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) งานที่มีชื่อเสียงของโฮะกุไซที่เป็นที่รู้จักกันดีคือภาพพิมพ์แกะไม้ชุด “ทัศนียภาพ 36 มุมของภูเขาฟูจิ” (富嶽三十六景) ที่รวมภาพ “คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ” ซึ่งเป็นภาพสัญลักษณะอันเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1820 โฮะกุไซ “ทัศนียภาพ 36 มุม” เพื่อเป็นทั้งการตอบสนองความต้องการของกิจการท่องเที่ยวภายในประเทศที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว และความหลงใหลส่วนตัวในการวาดภาพภูเขาฟู.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและคะสึชิกะ โฮะกุไซ · ดูเพิ่มเติม »

คิตะงะวะ อุตะมะโระ

ตะงะวะ อุตะมะโระ (ราว ค.ศ. 1753 - 31 ตุลาคม ค.ศ. 1806) เป็นช่างพิมพ์แกะไม้แบบอุกิโยะชาวญี่ปุ่นของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพศึกษาสตรีแบบที่เรียกว่า “บิจิงะ” นอกจากนั้นก็ยังเขียนภาพธรรมชาติ โดยเฉพาะงานเขียนภาพประกอบของแมลง งานของอุตะมะโระไปถึงยุโรปราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และกลายเป็นงานที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในฝรั่งเศส และเป็นงานที่มีอิทธิพลต่อศิลปะอิมเพรสชันนิสม์ของยุโรป โดยเฉพาะในการเขียนภาพเฉพาะบางส่วนและในการเน้นแสงและเงา เมื่อบรรดาจิตรกรกล่าวถึง “อิทธิพลจากญี่ปุ่น” ก็มักจะหมายถึงอิทธิพลจากงานเขียนของอุตะมะโร.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและคิตะงะวะ อุตะมะโระ · ดูเพิ่มเติม »

โยะชิโทะชิ

ึคิโอะคะ โยะชิโทะชิ หรือ ไทโสะ โยะชิโทะชิ (Tsukioka Yoshitoshi) (ค.ศ. 1839 - 9 มิถุนายน ค.ศ. 1892) โดยทั่วไปแล้วถือกันว่าเป็นจิตรกรภาพพิมพ์แกะไม้อุกิโยะคนสำคัญคนสุดท้ายของสำนักศิลปินอุตะกะวะชาวญี่ปุ่น และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการแสวงหาแนวใหม่ งานของโยะชิโทะชิคาบระหว่างสองสมัย – ปลายสมัยศักดินาของญี่ปุ่นและต้นญี่ปุ่นสมัยใหม่หลักจากการปฏิรูปเมจิ โยะชิโทะชิก็เช่นเดียวกับชาวญี่ปุ่นหลายคนที่มีความสนใจกับสิ่งแปลกๆ ใหม่จากโลกภายนอก แต่ในปีต่อๆ มาโยะชิโทะชิก็เริ่มมีความกังวลกับการสูญเสียวัฒนธรรมอันมีค่าหลายอย่างของญี่ปุ่นที่รวมทั้งศิลปะการทำภาพพิมพ์แกะไม้ เมื่อถึงตอนปลายของอาชีพโยะชิโทะชิก็แทบจะเป็นผู้เดียวที่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับกาลเวลาและเทคโนโลยีที่คืบคลานเข้ามา ขณะที่โยะชิโทะชิยังคงใช้เวลาโบราณในการผลิตงานภาพพิมพ์ญี่ปุ่นก็เริ่มเข้าสู่ยุคการผลิตระดับอุตสาหกรรมตามแบบฉบับของโลกตะวันตกเช่นงานการถ่ายภาพ และ ภาพพิมพ์หิน แต่กระนั้นขณะที่ญี่ปุ่นหันหลังให้กับอดีตของตนเองโยะชิโทะชิก็พัฒนาศิลปะการทำภาพพิมพ์แกะไม้ตามธรรมเนียมญี่ปุ่นให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งก่อนที่ศิลปะดังกล่าวจะตายตามโยะชิโทะชิไป ชีวิตของโยะชิโทะชิอาจจะสรุปตามคำกล่าวของจอห์น สตีเฟนสันว่า: ชื่อเสียงของของโยะชิโตะมีแต่จะยิ่งเพิ่มขึ้นทั้งทางตะวันตกและในกลุ่มชาวญี่ปุ่นรุ่นเด็กเอง และในปัจจุบันก็ยอมรับกันว่าเป็นศิลปินคนสำคัญที่สุดคนหนึ่งของญี่ปุ่นของสมัยนั้น.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและโยะชิโทะชิ · ดูเพิ่มเติม »

โตเกียว

ตเกียว หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่ามหานครโตเกียว (Tokyo Metropolis) หรือเรียกเอะโดะหรือเอโดะ เป็นเมืองหลวงของประเทศญี่ปุ่น มีระบบการปกครองแบบพิเศษซึ่งรวมการปกครองในรูปแบบจังหวัดและเมืองไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ เขตอภิมหานครโตเกียวจัดว่าเป็นเขตเมืองที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยรวมเขตปริมณฑลแล้วมีประชากรอาศัยอยู่ราว 35,237,000 คน) เฉพาะในตัวเมืองโตเกียว 23 แขวงการปกครองพิเศษ มีประชากรในเขตเมืองประมาณ 12 ล้านคน ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในโลกเมืองหนึ่ง ประชากรทั้งหมดของโตเกียวมีทั้งหมดกว่า 35 ล้านคน โตเกียวตั้งอยู่บริเวณภูมิภาคคันโตของญี่ปุ่น คำว่า "โตเกียว" หมายถึง "นครหลวงตะวันออก" ในโตเกียวยังเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวงของสมเด็จพระจักรพรรดิ กรุงโตเกียวเคยเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1964 และจะเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 2 ในปี 2020 ระหว่างวันที่ 24 กรกฎาคม – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2563.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและโตเกียว · ดูเพิ่มเติม »

เกอิชา

กอิชา เกอิชา เป็นอาชีพหนึ่งของสตรีญี่ปุ่นในสมัยก่อน ถือว่าเป็นผู้ที่ชำนาญทางศิลปะและให้ความเพลิดเพลินบันเทิงใจ เป็นเสมือนผู้คอยต้อนรับและปรนนิบัติแขก เกอิชามีอยู่แพร่หลายอย่างมากในญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ19 เมื่อ ค.ศ. 1920 มีจำนวนเกอิชาถึง 80,000 คน ส่วนในปัจจุบันแม้ว่าจะยังมีอาชีพเกอิชา แต่จำนวนค่อย ๆ ลดลงอย่างต่อเนื่อง สำหรับเกอิชาฝึกหัดจะเรียกว่า ไมโกะ คำว่า "เกอิชา" นั้น ภาษาญี่ปุ่นออกเสียงว่า "เกชะ" ในแถบคันไซเรียกว่า เกงิ (芸妓, げいぎ) ส่วนเกอิชาฝึกงานหรือ "เกโกะ" (芸子, げいこ) มีใช้มาตั้งแต่สมัยเมจิ ส่วนคำว่า "กีชา" ที่เรียกว่า "สาวเกอิชา" นั้น นิยมเรียกในช่วงปฏิบัติการร่วมระหว่างญี่ปุ่นกับสหรัฐอเมริกา หมายถึง หญิงขายบริการ แต่เรียกตัวเองว่า "เกอิชา" อาชีพของเกอิชานั้นพัฒนาขึ้นมาจาก ไทโคะโมะชิ หรือ โฮกัง ซึ่งคล้ายกับพวกตลกหลวงในราชสำนัก เกอิชาในสมัยแรกนั้นล้วนเป็นผู้ชาย ส่วนผู้หญิงที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันนั้นจะเรียกกันว่า "อนนะ เกชะ" (女芸者) หรือเกอิชาหญิง แต่ในปัจจุบันเกอิชาเป็นหญิงเท่านั้น อักษรญี่ปุ่น "เกชะ" หมายถึง ศิลปิน เดิมนั้นหญิงที่จะทำอาชีพเกอิชาจะได้รับการฝึกอบรมตั้งแต่เด็ก สำนักเกอิชามักจะซื้อตัวเด็กหญิงมาจากครอบครัวที่ยากจน แล้วนำมาฝึกฝนเลี้ยงดูโดยตลอด ในช่วงวัยเด็ก พวกเขาจะทำงานเป็นหญิงรับใช้ เพราะผู้ช่วยเกอิชารุ่นพี่ในสำนักถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกฝนด้วยเช่นกัน และเพื่อชดใช้กับค่าเลี้ยงดูและการอบรมสั่งสอน การสอนและฝึกฝนอาชีพที่ยาวนานเช่นนี้ นักเรียนจะอาศัยอยู่ในบ้านของครูผู้ฝึก ช่วยทำงานบ้าน สังเกต และช่วยครู และเมื่อชำนาญเป็นเกอิชาแล้ว สุดท้ายก็จะเลื่อนขึ้นไปสู่ตำแหน่งครูผู้ฝึกอบรมต่อไป การฝึกอบรมนี้จะต้องใช้เวลานานหลายปีทีเดียว ในเบื้องต้นนั้นเด็กสาวจะได้เรียนศิลปะหลายแขนง ได้แก่ การเล่นดนตรี (โดยเฉพาะชะมิเซ็ง รูปร่างคล้ายกีตาร์) การขับร้อง การเต้นรำ การชงชา การจัดดอกไม้ (อิเกะบะนะ) รวมถึงเรื่องบทกวีและวรรณคดี การได้คอยเป็นผู้ช่วยและได้เห็นเกอิชารุ่นพี่ทำงาน พวกเขาก็จะมีความชำนาญมากขึ้นและเรียนรู้ศิลปะที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การแต่งชุดกิโมโน รวมถึงการพนันหลายแบบ รู้จักการสนทนา และการโต้ตอบกับลูกค้า เมื่อหญิงสาวได้เข้ามารับการฝึกฝนเป็นไมโกะหรือเกอิชาฝึกหัด ก็จะเริ่มติดตามเกอิชารุ่นพี่ไปยังโรงน้ำชา งานเลี้ยง และการสังสรรค์ต่าง ๆ ที่เป็นสภาพแวดล้อมการทำงานจริงของเกอิชา ทำให้ได้ประสบการณ์ทำงานจริงและมีความชำนาญขึ้นเรื่อย ๆ ตำบลกิอง แหล่งเกอิชาในเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เกอิชาไม่ใช่โสเภณี แม้ว่าในอดีตจะมีการขายพรหมจารีอย่างถูกต้อง และเกอิชาก็ไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์กับลูกค้า แม้ว่าลูกค้าจะจ่ายเงินซื้อเพื่อการนี้ก็ตาม เกอิชากับโสเภณีมีความแตกต่างพอสมควร โดยสังเกตอย่างง่ายจากการแต่งตัว โดยที่โสเภณีจะมีสายโอบิผูกชุดที่สามารถแกะได้จากข้างหน้า เพื่อความสะดวกในถอดชุดออกออก เครื่องประดับของเหล่าหญิงโสเภณีมีความงดงาม หรูหรา ฟู่ฟ่า ในขณะที่เกอิชามีผ้าโอบิผูกจากข้างหลังตามชุดกิโมโนทั่วไป เครื่องประดับนั้นจะเรียบง่ายแต่แสดงออกถึงความสวยงามตามธรรมชาติ ในรูปแบบของศิลปะได้อย่างดีทีเดียว เกอิชาสมัยใหม่จะไม่ถูกซื้อตัวหรือพามายังสำนักเกอิชาตั้งแต่เด็กเหมือนแต่ก่อนอีกแล้ว การเป็นเกอิชาในสมัยใหม่นั้นเป็นไปโดยสมัครใจทั้งสิ้น และการฝึกฝนอาชีพนั้นจะเริ่มต้นที่หญิงสาว ช่วงวัยรุ่นตอนปลาย ไม่ใช่เด็กหญิงอย่างแต่ก่อน และจะใช้เวลาที่ยาวนานและยุ่งยากมาก เพราะฝึกเมื่ออายุมาก ปัจจุบันเกอิชายังคงอาศัยอยู่มากในสำนักเกอิชาในบริเวณพื้นที่ซึ่งเรียกว่า ฮะนะมะชิ (花街 "เมืองดอกไม้") หรือ คะเรียวไก (花柳界 "โลกของดอกไม้และต้นหลิว") ซึ่งคล้ายกับย่านโพนโทะโช ในเกียวโต เกอิชานั้นมักได้รับการว่าจ้างให้ปรนนิบัติหมู่คณะ และมักทำงานร่วมกันในโรงน้ำชา (茶屋 ชะยะ) หรือร้านอาหารแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น โดยเวลาใช้บริการนั้นจะใช้ธูปจุดเป็นเกณฑ์วัด เรียกว่า "เซนโกได" (線香代 "ค่าธูป") หรือ เคียวกุได (玉代 "ค่าเพชร") ลูกค้าจะติดต่อโดยผ่านสำนักติดต่อเกอิชาหรือ "เค็นบัน" (検番) ซึ่งจะมีตารางนัดของเกอิชาแต่ละคน และทำการนัดหมาย ทั้งเพื่อการทำงานและการฝึกฝนอาชีพ เมื่อหญิงที่ทำงานเป็นเกอิชาแต่งงานก็จะเลิกจากอาชีพนี้ หากไม่แต่งงาน เมื่ออายุมากขึ้นก็จะเลิกอาชีพนี้เช่นกัน แต่อาจทำงานเป็นเจ้าของร้านอาหาร ครูสอนดนตรี เต้นรำ หรือครูสอนเกอิชาต่อไปก็ได้.

ใหม่!!: ภาพอุกิโยะและเกอิชา · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Ukiyo-eUkiyoeอุคิโยเอะ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »