โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แฟร์มีแล็บ

ดัชนี แฟร์มีแล็บ

รื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (ด้านหลัง) และเครื่องป้อนอนุภาคหลัก (ด้านหน้า) ที่แฟร์มีแล็บ อาคารโรเบิร์ค แรทบัน วิลสัน ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคแห่งชาติแฟร์มี หรือ แฟร์มีแล็บ (Fermi National Accelerator Laboratory - Fermilab) ตั้งอยู่ที่เมืองแบแทเวีย ใกล้นครชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา เป็นห้องทดลองในสังกัดกระทรวงพลังงานแห่งสหรัฐอเมริกา ทำการวิจัยเกี่ยวกับฟิสิกส์พลังงานสูง ห้องปฏิบัติการแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 เดิมชื่อว่า "ห้องปฏิบัติการเครื่องเร่งอนุภาคแห่งชาติ" (National Accelerator Laboratory) และเปลี่ยนชื่อเป็น แฟร์มีแล็บ ในปี ค.ศ. 1974 เพื่อเป็นเกียรติแก่ เอนรีโก แฟร์มี นักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ประจำปี ค.ศ. 1938 ปัจจุบันแฟร์มีแล็บปฏิบัติงานโดยหน่วยงานที่ชื่อว่า Fermi Research Alliance (สหพันธ์เพื่อการวิจัยแฟร์มี) ซึ่งเป็นหน่วยงานความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยชิคาโก กับ Universities Research Association (URA) ซึ่งเป็นการรวมตัวของห้องวิจัยจาก 91 มหาวิทยาลัย ทั้งในสหรัฐอเมริกา แคนาดา ญี่ปุ่น อิตาลี เครื่องมือชิ้นสำคัญที่สุดของแฟร์มีแล็บ คือ เครื่องเร่งอนุภาคเทวาตรอน (Tevatron) มีขนาดเส้นรอบวง 6.28 กิโลเมตร (3.90 ไมล์) สามารถเร่งพลังงานอนุภาคโปรตอนได้ถึง 1.96 TeV เป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก รองจากเครื่องชนอนุภาคขนาดใหญ่ของเซิร์น ที่กรุงเจนีวา (มีเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร) ในปี..

21 ความสัมพันธ์: ชิคาโกฟิสิกส์ของอนุภาคพ.ศ. 2481พ.ศ. 2510พ.ศ. 2517กิจการร่วมค้ามหาวิทยาลัยชิคาโกรัฐอิลลินอยส์รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์สหรัฐอิเล็กตรอนโวลต์องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรปควาร์กประเทศอิตาลีนักฟิสิกส์โปรตอนเส้นรอบวงเอนรีโก แฟร์มีเจนีวาเครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่เครื่องเร่งอนุภาค

ชิคาโก

ก (Chicago; คำอ่าน) เป็นเมืองตั้งอยู่ในรัฐอิลลินอยส์ รู้จักกันในชื่อ "เมืองแห่งลม" (Windy City) ชื่อเล่นนี้ มีที่มาจากการที่นักข่าวเขียนล้อเลียนนักการเมืองของ ชิคาโกใน ศตวรรตที่ 19 เกี่ยวกับการพูดจากลับกลอกไปมา บางคนเชื่อว่ามีที่มาจากการที่เป็นเมืองที่มีลมพัดแรงตลอดเวลาแต่ไม่ได้มีหลักฐานใดๆเขียนสนับสนุนทฤษฎีนี้ ชิคาโกเป็นเมืองใหญ่อันดับสามในสหรัฐอเมริกาเทียบตามจำนวนประชากร รองจากเมืองนิวยอร์ก และลอสแอนเจลิส เมืองชิคาโกตั้งอยู่ในเคาน์ตีคุก รัฐอิลลินอยส์ เขตมิดเวสต์ของสหรัฐอเมริกา เมื่อรวมเคาน์ตีรอบ ๆ ชิคาโกทั้ง 8 เคาน์ตีจะเรียกเขตว่า ชิคาโกแลนด์ ซึ่งมีประชากรประมาณ 9 ล้านคน ชิคาโกพัฒนาจากเมืองทุ่งนาจากปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) กลายมาเป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งหนึ่งของโลก และในปัจจุบันนับเป็น 1 ใน 10 เมืองสำคัญของโลกทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ชิคาโกยังคงเป็นศูนย์กลางทางด้านความเจริญ การเงิน การคมนาคม และวัฒนธรรมที่สำคัญของเขตมิดเวสต์ ในชิคาโกมีสนามบินอยู่ 3 แห่ง โดยสนามบินโอ'แฮร์ เป็นสนามบินนานาชาติที่มีการจราจรทางอากาศมากที่สุดเป็นหนึ่งในสามของสหรัฐอเมริกา ประชากรในชิคาโกประกอบด้วยหนึ่งในสามเป็นคนขาว และอีกหนึ่งในสามเป็นคนดำ และที่เหลือเป็นคนกลุ่มอื่น โดยในเมืองชิคาโกแบ่งออกเป็น 77 ชุมชนแยกตามกลุ่มประชากรที่อยู่อาศั.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

ฟิสิกส์ของอนุภาค

ฟิสิกส์ของอนุภาค (particle physics) เป็นสาขาหนึ่งของฟิสิกส์ที่ศึกษาธรรมชาติของอนุภาคทั้งหลายที่รวมตัวกันขึ้นเป็นสสาร (อนุภาคที่มีมวล) และ การฉายรังสี (อนุภาคที่ไม่มีมวล) แม้ว่าคำว่า "อนุภาค" สามารถหมายถึงวัตถุที่มีขนาดเล็กมากหลากหลายชนิด (เช่นโปรตอน อนุภาคก๊าซ หรือแม้กระทั่งฝุ่นในครัวเรือน), "ฟิสิกส์ของอนุภาค" มักจะสำรวจตรวจหาอนุภาคที่มีขนาดเล็กที่สุด สามารถตรวจพบได้ ไม่สามารถลดขนาดลงได้อีก และมีสนามฟิสิกส์ที่มีแรงขนาดพื้นฐานที่ลดขนาดลงไม่ได้ที่จำเป็นต้องใช้ในการที่จะอธิบายตัวมันเองได้ ตามความเข้าใจของเราในปัจจุบัน อนุภาคมูลฐานเหล่านี้เป็นการกระตุ้นของสนามควอนตัมที่ควบคุมการปฏิสัมพันธ์ของพวกมันอีกด้วย ทฤษฎีที่โดดเด่นในปัจจุบันที่ใช้อธิบายอนุภาคมูลฐานและสนามเหล่านี้ พร้อมกับการเปลี่ยนแปลง (ไดนามิกส์) ของพวกมัน จะถูกเรียกว่าแบบจำลองมาตรฐาน ดังนั้นฟิสิกส์ของอนุภาคที่ทันสมัยโดย​​ทั่วไปจะสำรวจแบบจำลองมาตรฐานและส่วนขยายที่เป็นไปได้ต่าง ๆ ของพวกมัน เช่น ส่วนขยายไปที่อนุภาคใหม่ล่าสุด "เท่าที่รู้จักกัน" ที่เรียกว่า Higgs boson หรือแม้กระทั่งไปที่สนามของแรงที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักกัน คือแรงโน้มถ่วง.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและฟิสิกส์ของอนุภาค · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2481

ทธศักราช 2481 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1938.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและพ.ศ. 2481 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2510

ทธศักราช 2510 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1967 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและพ.ศ. 2510 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2517

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและพ.ศ. 2517 · ดูเพิ่มเติม »

กิจการร่วมค้า

กิจการร่วมค้า (Joint Venture) คือ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางการค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและ /หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น ที่บรรยายไว้ในมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฏากร ในทางปฏิบัติกรมสรรพากรได้วางบรรทัดฐานในการพิจารณาเพิ่มเติม โดยกำหนดว่ากิจการร่วมค้า จะต้องมีคุณสมบัติเข้าลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้ด้ว.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและกิจการร่วมค้า · ดูเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยชิคาโก

ตราสัญลักษณ์รูปนกฟินิกซ์ ของมหาวิทยาลัยชิคาโก. มหาวิทยาลัยชิคาโก (University of Chicago หรือที่เรียกโดยย่อว่า UC หรือ UofC) ตั้งอยู่ในชุมชนไฮด์พาร์ก (Hyde Park) ซึ่งอยู่ทางใต้ของใจกลางเมืองชิคาโก รัฐอิลลินอยส์ ประมาณ 6 ไมล์ เป็นมหาวิทยาลัยเน้นการวิจัย (Research University) ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะในด้านวิชาการ และผลงานวิจัยต่าง ๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาที่มีผู้เกี่ยวข้องได้รับ รางวัลโนเบลเป็นจำนวนมากที.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและมหาวิทยาลัยชิคาโก · ดูเพิ่มเติม »

รัฐอิลลินอยส์

รัฐอิลลินอยส์ (Illinois, ออกเสียงเหมือน อิล-ลิ-นอย โดยไม่มีเสียง s) ตั้งอยู่ทางตอนกลางของสหรัฐอเมริกา ชื่ออิลลินอยส์ตั้งโดยนักสำรวจชาวฝรั่งเศส ตามชื่อกลุ่มชาวอินเดียนแดงที่เรียกตัวเองว่า อไลไนเว็ก (Illiniwek) เมืองหลวงของอิลลินอยส์คือ สปริงฟิลด์ เมืองที่มีชื่อเสียงในรัฐอิลลินอยส์ได้แก่ ชิคาโก รหัสย่อของรัฐอิลลินอยส์คือ IL อิลลินอยส์เป็นที่รู้จักในรัฐข้าวโพด เป็นที่ตั้งของเมืองชิคาโก สถานศึกษาที่มีชื่อเสียงได้แก.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและรัฐอิลลินอยส์ · ดูเพิ่มเติม »

รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์

หรียญรางวัลโนเบล รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ (Nobelpriset i fysik, Nobel Prize in Physics) เป็นรางวัลโนเบลหนึ่งใน 5 สาขา ริเริ่มโดยอัลเฟรด โนเบล ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1895 โดยสถาบัน Royal Swedish Academy of Sciences แห่งประเทศสวีเดน เป็นผู้คัดเลือกผู้รับรางวัล ซึ่งมีผลงานวิจัยด้านฟิสิกส์อย่างโดดเด่น มีพิธีมอบเป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1901 พิธีมอบรางวัลมีขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเสียชีวิตของอัลเฟรด โนเบล ที่กรุงสตอกโฮล์ม.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

สหรัฐ

หรัฐอเมริกา (United States of America) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ และหนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ และเกาะเล็กต่าง ๆ โดย 48 รัฐและเขตปกครองกลางตั้งอยู่ ณ ทวีปอเมริกาเหนือระหว่างประเทศแคนาดาและเม็กซิโก รัฐอะแลสกาอยู่มุมตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอเมริกาเหนือ มีเขตแดนติดต่อกับประเทศแคนาดาทางทิศตะวันออกและข้ามช่องแคบเบริงจากประเทศรัสเซียทางทิศตะวันตก และรัฐฮาวายเป็นกลุ่มเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ดินแดนของสหรัฐกระจายอยู่ตามมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลแคริบเบียน ครอบคลุมเขตเวลาเก้าเขต ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศและสัตว์ป่าของประเทศหลากหลายอย่างยิ่ง สหรัฐมีพื้นที่ขนาด 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 326 ล้านคน ทำให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เป็นประเทศซึ่งมีความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม และเป็นที่พำนักของประชากรเข้าเมืองใหญ่สุดในโลกAdams, J.Q., and Pearlie Strother-Adams (2001).

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและสหรัฐ · ดูเพิ่มเติม »

อิเล็กตรอนโวลต์

อิเล็กตรอนโวลต์ (electron volt / electronvolt, สัญลักษณ์: eV) เป็นหน่วยการวัดพลังงาน เท่ากับปริมาณของพลังงานจลน์ ที่เกิดขึ้นจากการที่อิเล็กตรอนอิสระเดินทางผ่านความต่างศักย์จากไฟฟ้าสถิตขนาด 1 โวลต์ในสุญญากาศ พลังงานหนึ่งอิเล็กตรอนโวลต์เป็นพลังงานที่น้อยมาก คือ หน่วยอิเล็กตรอนโวลต์ได้รับการยอมรับ (แต่ไม่แนะนำ) ให้ใช้กับระบบ SI หน่วยนี้ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในวงการโซลิดสเตต ปรมาณู นิวเคลียร์ และฟิสิกส์อนุภาค และมักใช้ร่วมกับตัวนำหน้าหน่วย m k M หรือ G.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและอิเล็กตรอนโวลต์ · ดูเพิ่มเติม »

องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป

องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (European Organization for Nuclear Research; CERN; Organisation européenne pour la recherche nucléaire) เรียกโดยทั่วไปว่า "เซิร์น" เป็นองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศในทวีปยุโรปเพื่อวิจัยและพัฒนาทางด้านนิวเคลียร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีประเทศสมาชิกก่อตั้ง 12 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อแรกก่อตั้ง เซิร์น มีชื่อว่า "สภาวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป" หรือ Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire (European Council for Nuclear Research) ซึ่งเป็นที่มาของชื่อย่อ CERN บทบาทหลักของเซิร์นคือ การจัดเตรียมเครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างอื่นๆที่จำเป็นต่อการวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาค เซิร์นเป็นสถานที่ทำการทดลองมากมายที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังมีชื่อเสียงในฐานะเป็นต้นกำเนิดของเวิลด์ไวด์เว็บ สำนักงานหลักที่เขตเมแร็ง มีศูนย์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูงมากเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลอง และเนื่องจากจำเป็นต้องทำให้นักวิจัยในสถานที่อื่นสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ได้ จึงต้องมีฮับสำหรับข่ายงานบริเวณกว้างอีกด้วย ในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศ สถานที่ของเซิร์นจึงไม่อยู่ภายใต้อำนาจทางกฎหมายของทั้งสวิตเซอร์แลนด์และฝรั่งเศส ใน..

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป · ดูเพิ่มเติม »

ควาร์ก

วาร์ก (quark อ่านว่า หรือ) คืออนุภาคมูลฐานและเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสสาร ควาร์กมากกว่าหนึ่งตัวเมื่อรวมตัวกันจะเป็นอีกอนุภาคหนึ่งที่เรียกว่าแฮดรอน (hadron) ส่วนที่เสถียรที่สุดของแฮดรอนสองลำดับแรกคือโปรตอนและนิวตรอน ซึ่งทั้งคู่เป็นส่วนประกอบสำคัญของนิวเคลียสของอะตอม เนื่องจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Color Confinement ควาร์กจึงไม่สามารถสังเกตได้โดยตรงหรือพบตามลำพังได้ มันสามารถพบได้ภายในแฮดรอนเท่านั้น เช่น แบริออน (ซึ่งโปรตอนและนิวตรอนเป็นตัวอย่าง) และภายใน มีซอน (มี'ซอน หรือเมซ'ซัน เป็นอนุภาคที่มีมวลระหว่างอิเล็กตรอนกับโปรตรอน มีประจุเป็นกลาง หรือเป็นบวกหรือลบ มีค่าสปิน) ด้วยเหตุผลนี้ สิ่งที่เรารู้จำนวนมากเกี่ยวกับควาร์กจึงได้มาจากการสังเกตที่ตัวแฮดรอนเอง ควาร์กมีอยู่ 6 ชนิด เรียกว่า 6 สายพันธ์ หรือ flavour ได้แก่ อัพ (up), ดาวน์ (down), ชาร์ม (charm), สเตรนจ์ (strange), ท็อป (top), และ บอตทอม (bottom) อัพควาร์กและดาวน์ควาร์กเป็นแบบที่มีมวลต่ำที่สุดในบรรดาควาร์กทั้งหมด ควาร์กที่หนักกว่าจะเปลี่ยนแปลงมาเป็นควาร์กแบบอัพและดาวน์อย่างรวดเร็วโดยผ่านกระบวนการการเสื่อมสลายของอนุภาค (particle decay) ซึ่งเป็นกระบวนการเปลี่ยนสถานะของอนุภาคที่มีมวลมากกว่ามาเป็นสถานะที่มีมวลน้อยกว่า ด้วยเหตุนี้ อัพควาร์กและดาวน์ควาร์กจึงเป็นชนิดที่เสถียร และพบได้ทั่วไปมากที่สุดในเอกภพ ขณะที่ควาร์กแบบชาร์ม สเตรนจ์ ทอป และบอตทอม จะเกิดขึ้นได้ก็จากการชนที่มีพลังงานสูงเท่านั้น (เช่นที่อยู่ในรังสีคอสมิกและในเครื่องเร่งอนุภาค) ควาร์กมีคุณสมบัติในตัวหลายประการ ซึ่งรวมถึงประจุไฟฟ้า ประจุสี สปิน และมวล ควาร์กเป็นอนุภาคมูลฐานเพียงชนิดเดียวในแบบจำลองมาตรฐานของฟิสิกส์อนุภาคที่สามารถมีปฏิกิริยากับแรงพื้นฐานได้ครบหมดทั้ง 4 ชนิด (คือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงโน้มถ่วง, อันตรกิริยาอย่างเข้ม และอันตรกิริยาอย่างอ่อน) รวมถึงยังเป็นอนุภาคเพียงชนิดเดียวเท่าที่รู้จักซึ่งมีประจุไฟฟ้าที่ไม่ใช่ตัวเลขจำนวนเต็มคูณกับประจุมูลฐาน ทุกๆ สายพันธ์ของควาร์กจะมีคู่ปฏิยานุภาค เรียกชื่อว่า ปฏิควาร์ก ซึ่งมีความแตกต่างกับควาร์กแค่เพียงคุณสมบัติบางส่วนที่มีค่าทางขนาดเท่ากันแต่มีสัญลักษณ์ตรงกันข้าม มีการนำเสนอแบบจำลองควาร์กจากนักฟิสิกส์ 2 คนโดยแยกกัน คือ เมอร์เรย์ เกลล์-แมนน์ และ จอร์จ ซวิก ในปี..

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและควาร์ก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอิตาลี

อิตาลี (Italy; Italia อิตาเลีย) มีชื่ออย่างเป็นทางการคือ สาธารณรัฐอิตาลี (Italian Republic; Repubblica italiana) เป็นประเทศในทวีปยุโรป บริเวณยุโรปใต้ ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอิตาลีที่มีรูปทรงคล้ายรองเท้าบูต และมีเกาะ 2 เกาะใหญ่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน คือ เกาะซิซิลีและเกาะซาร์ดิเนีย และพรมแดนตอนเหนือแบ่งประเทศโดยเทือกเขาแอลป์ กับประเทศฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรีย และสโลวีเนีย ประเทศอิตาลีเป็นประเทศสมาชิกก่อตั้งของสหภาพยุโรป เป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ นาโต และกลุ่มจี 8 มีประเทศอิสระ 2 ประเทศ คือ ซานมารีโนและนครรัฐวาติกัน เป็นดินแดนที่ล้อมรอบไปด้วยพื้นที่ของอิตาลี ในขณะที่เมืองกัมปีโอเนดีตาเลีย เป็นดินแดนส่วนแยกของอิตาลีที่ถูกล้อมรอบด้วยพื้นที่ประเทศสวิตเซอร์แลน.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและประเทศอิตาลี · ดูเพิ่มเติม »

นักฟิสิกส์

นักฟิสิกส์ คือนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาหรือปฏิบัติงานด้านฟิสิกส์ นักฟิสิกส์ศึกษาปรากฏการณ์ทางกายภาพอย่างกว้างขวางในทุกขนาด ตั้งแต่อนุภาคระดับต่ำกว่าอะตอม (sub atomic particles) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของสสาร (ฟิสิกส์ของอนุภาค) ไปจนถึงพฤติกรรมของวัตถุในเอกภพโดยรวม (จักรวาลวิทยา หรือ Cosmology) วิชาฟิสิกส์มีมากมายหลายสาขา แต่ละสาขามีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขานั้น.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและนักฟิสิกส์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรตอน

| magnetic_moment.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและโปรตอน · ดูเพิ่มเติม »

เส้นรอบวง

้นรอบวง.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและเส้นรอบวง · ดูเพิ่มเติม »

เอนรีโก แฟร์มี

อนริโก แฟร์มี เอนริโก แฟร์มี (Enrico Fermi) (29 กันยายน พ.ศ. 2444 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2497) นักฟิสิกส์รางวัลโนเบลชาวอิตาลีผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาวิชานิวเคลียร์ฟิสิกส์ เป็นนักฟิสิกส์ที่เชี่ยวชาญทั้งการทดลองและทฤษฎี ซึ่งหาได้ยากยิ่งในวงการฟิสิกส์ปัจจุบัน.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและเอนรีโก แฟร์มี · ดูเพิ่มเติม »

เจนีวา

นีวา (Geneva) หรือออกเสียงในภาษาท้องถิ่นว่า เฌอแนฟว์ (Genève) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ (รองจากซือริช) ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภาครอม็องดีอันเป็นภูมิภาคที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลักในสวิตเซอร์แลนด์ นครเจนีวาตั้งอยู่บริเวณต้นแม่น้ำโรนซึ่งไหลออกจากทะเลสาบเจนีวา เจนีวามีสถานะเป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐแห่งรัฐเจนีวา เจนีวาถือเป็นหนึ่งในเมืองศูนย์กลางของโลก โดยเป็นศูนย์กลางทางการเงิน, ศูนย์กลางทางการทูต เจนีวาถือเป็นเมืองที่มีองค์กรระหว่างประเทศตั้งอยู่มากที่สุดในโลก ในบรรดาองค์กรเหล่านี้อาทิ หน่วยงานของสหประชาชาติและกาชาดสากล เป็นต้น ในปี 2017 เจนีวาได้รับการจัดอันดับโดย Global Financial Centres Index ให้เป็นเมืองศูนย์กลางทางการเงินอันดับ 15 ของโลก และเป็นที่ 5 ของทวีปยุโรป รองจากลอนดอน, ซือริช, แฟรงเฟิร์ต และลักเซมเบิร์ก และยังได้รับการจัดอันดับโดย Mercer's Quality of Living index ให้เป็นเมืองที่น่าอยู่ที่สุดเป็นอันดับ 8 ของโลกในปีเดียวกัน.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและเจนีวา · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่

รูปเครื่องเร่งอนุภาค LHC แผนผังแสดงส่วนต่างๆ ของ LHC แผนที่แสดงขอบเขตของ LHC ''superconducting quadrupole electromagnetas'' หรือท่อตัวนำยิ่งยวดแม่เหล็กไฟฟ้าสี่ขั้ว สำหรับใช้นำอนุภาคไปสู่จุดที่กำหนดสำหรับการชน เครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่ (Large Hadron Collider; LHC) คือเครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเป้าหมายที่จะสร้างอนุภาคโปรตอน 7 TeV ขึ้น เพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริงและข้อจำกัดของทฤษฎีทางฟิสิกส์อนุภาคที่มีอยู่ในปัจจุบันอันอยู่ภายใต้กฎของแรงทั้งสี่ องค์กรวิจัยนิวเคลียร์แห่งยุโรป (European Organization for Nuclear Research) หรือ เซิร์น (Conseil Européen pour la Recherche Nucléaire) เป็นผู้สร้างเครื่องนี้ขึ้นที่บริเวณเขตแดนประเทศฝรั่งเศสและสวิตเซอร์แลนด์ ใกล้กับกรุงเจนีวา เป็นท่อใต้ดินลักษณะเป็นวงแหวนขนาดความยาวเส้นรอบวง 27 กิโลเมตร เครื่อง LHC นี้ถือว่าเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและใช้พลังงานสูงที่สุดของโลก สร้างขึ้นจากเงินทุนและการสนับสนุนรวมทั้งความร่วมมือจากนักฟิสิกส์มากกว่า 8,000 คน จาก 85 ประเทศ ในมหาวิทยาลัยและห้องทดลองทั่วโลกนับร้อยแห่ง ในระหว่างการก่อสร้าง เซิร์นเปิดโอกาสให้อาสาสมัครจากทั่วโลก ได้เข้าร่วมบริจาคการทำงานของคอมพิวเตอร์ เพื่อจำลองพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในเครื่อง LHC เพื่อช่วยในการออกแบบ และปรับแต่งระบบ ด้วยโครงการที่มีชื่อว่า LHC@home ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2547 โครงการนี้ดำเนินการบนระบบ Berkeley Open Infrastructure for Network Computing ของมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ เครื่องเร่งนี้สามารถทำความเย็นลงได้ต่ำที่สุดที่ประมาณ 1.9 K (หรือ −271.25 °C) เป็นอุณหภูมิที่ทำลงไปใกล้อุณหภูมิสัมบูรณ์มากที่สุด ได้มีการทดสอบยิงอนุภาคเริ่มต้นสำเร็จแล้วในช่วงวันที่ 8-11 สิงหาคม..

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและเครื่องชนอนุภาคแฮดรอนขนาดใหญ่ · ดูเพิ่มเติม »

เครื่องเร่งอนุภาค

รื่องเร่งอนุภาคเชิงเส้น Van de Graaff แบบ single stage 2 MeV ในช่วงทศวรรษ 1960s กำลังอยู่ระหว่างซ่อมบำรุง ภาพสเก็ตช์ของเครื่องเร่งไฟฟ้าสถิตย์แบบแวนเดอกราฟ เครื่องเร่งอนุภาค (particle accelerator) คือเครื่องมือชนิดหนึ่งที่อาศัยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งให้อนุภาคที่มีประจุเคลื่อนที่ไปจนกระทั่งมีความเร็วสูง โดยให้เคลื่อนที่อยู่ภายในท่อที่เตรียมเอาไว้ โทรทัศน์แบบ CRT เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ อย่างหนึ่งของเครื่องเร่งอนุภาค มีเครื่องเร่งอนุภาคพื้นฐานอยู่ 2 แบบคือ เครื่องเร่งอนุภาคแบบ electrostatic และแบบ oscillating field.

ใหม่!!: แฟร์มีแล็บและเครื่องเร่งอนุภาค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

Fermilabเฟอร์มิแล็บ

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »