โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552

ดัชนี แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552

แผ่นดินไหวที่ชวาตะวันตก..

16 ความสัมพันธ์: บันดุงพ.ศ. 2552การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาคมาตราขนาดโมเมนต์อัลญะซีเราะฮ์จังหวัดชวากลางจังหวัดชวาตะวันตกจังหวัดบันเตินจาการ์ตาซีเอ็นเอ็นประเทศอินโดนีเซียแผ่นยูเรเชียเกาะชวาเซอมารัง2 กันยายน4 กันยายน

บันดุง

บันดุง (Bandung, ᮘᮔ᮪ᮓᮥᮀ) เป็นเมืองเอกของจังหวัดชวาตะวันตก ในประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของประเทศ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 768 เมตร โดยปกติจึงมีสภาพอากาศเย็นกว่าเมืองอื่นๆ ส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย เมืองนี้อยู่ในเขตแม่น้ำ รายล้อมด้วยภูเขาไฟ มีลักษณะทางภูมิประเทศที่มีระบบป้องกันตัวโดยธรรมชาติเป็นอย่างดี อันเป็นเหตุผลหลักที่ครั้งหนึ่งได้มีการย้ายเมืองเอกจากปัตตาเวีย มายังบันดุง หมวดหมู่:เมืองในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:จังหวัดชวาตะวันตก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และบันดุง · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2552

ทธศักราช 2552 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2009 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็นปีสุดท้ายในคริสต์ทศวรรษ 2000.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และพ.ศ. 2552 · ดูเพิ่มเติม »

การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค

แผนที่แสดงแผ่นเปลือกโลก แผ่นเปลือกโลก การแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (plate tectonics; มาจากภาษากรีก: τέκτων, "tektōn" แปลว่า "ผู้สร้าง") เป็นทฤษฎีเชิงธรณีวิทยาที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงหลักฐานจากการสังเกตการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกขนาดใหญ่ โดยทฤษฎีนี้ได้พัฒนาต่อยอดจากทฤษฎีการเลื่อนไหลของทวีปเดิมที่ถูกเสนอขึ้นมาระหว่าง พ.ศ. 2443-2493 ทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานนี้ได้รับการยอมรับเป็นที่แพร่หลายหลังจากการเสนอแนวคิดที่เกี่ยวกับการกระจายของพื้นทะเลในคริสต์ทศวรรษที่ 1960 (ช่วงต้น พ.ศ. 2500) โครงสร้างส่วนนอกของโลกนั้นแบ่งตามคุณสมบัติของชั้นหินต่อคลื่นไหวสะเทือนได้สองชั้น ชั้นที่อยู่นอกสุดคือชั้นธรณีภาคชั้นดินแข็ง (lithosphere) อันประกอบด้วยเปลือกโลกและเนื้อโลก (mantle) ชั้นบนซึ่งมีอุณหภูมิต่ำและแข็งเกร็ง ชั้นล่างลงไปคือชั้นฐานธรณีภาคชั้นดินอ่อน (asthenosphere) ซึ่งมีสถานะเป็นของแข็งแต่มีความยืดหยุ่นค่อนข้างต่ำและขาดความแข็งแรง อีกทั้งยังสามารถเคลื่อนที่ได้คล้ายของเหลวเมื่อพิจารณาในช่วงระยะเวลาเชิงธรณีวิทยา ชั้นแมนเทิลที่อยู่ลึกลงไปภายใต้ชั้นดินอ่อนนั้นจะมีความแข็งมากขึ้นอีกครั้ง กระนั้นความแข็งดังกล่าวไม่ได้มาจากการเย็นลงของอุณหภูมิ แต่เนื่องมาจากความดันที่มีอยู่สูง ธรณีภาคแบ่งเป็นแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นประกอบกัน ในกรณีของโลกสามารถแบ่งเป็นแผ่นขนาดใหญ่ได้เจ็ดแผ่น และแผ่นขนาดเล็กอีกจำนวนมาก แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้เคลื่อนที่สัมพันธ์กับแผ่นเปลือกโลกอื่นๆ ขอบของเปลือกโลกสามารถแบ่งได้เป็นสามประเภทตามลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกสัมพัทธ์ของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนั้น คือ ขอบเปลือกโลกที่มีการชนกันหรือบรรจบกัน, ขอบเปลือกโลกที่มีการแยกตัวออกจากกันหรือกระจายจากกัน และขอบเขตที่มีการแปลงสภาพ ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาต่างๆ ได้แก่แผ่นดินไหว, ภูเขาไฟปะทุ, การก่อตัวของภูเขา และการเกิดขึ้นของเหวสมุทรนั้นจะเกิดขึ้นพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของขอบเขตแผ่นดิน การเคลื่อนตัวด้านข้างของแผ่นดินนั้นมีอัตราเร็วอยู่ระหว่าง 0.66 ถึง 8.50 เซนติเมตรต่อปี.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และการแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค · ดูเพิ่มเติม »

มาตราขนาดโมเมนต์

มาตราขนาดโมเมนต์ (moment magnitude scale; MMS, Mw) เป็นหน่วยที่นักวิทยาแผ่นดินไหวใช้เพื่อวัดขนาดของแผ่นดินไหวในแง่ของพลังงานที่ปลดปล่อยออกมา แมกนิจูดนั้นขึ้นอยู่กับโมเมนต์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น ซึ่งเท่ากับความคงรูปของโลกคูณกับค่าเฉลี่ยของการเลื่อนบนรอยแยกและขนาดของพื้นที่ที่เลื่อน มาตราดังกล่าวได้รับการพัฒนาขึ้นมาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เพื่อใช้แทนมาตราริกเตอร์ ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 แม้ว่าสูตรในการคำนวณจะต่างกัน แต่มาตราใหม่นี้ยังคงให้ค่าแมกนิจูดที่ใกล้เคียงตามที่จำกัดความไว้โดยมาตราริกเตอร์เดิม มาตราโมเมนต์แมกนิจูดนี้ใช้เพื่อประเมินแมกนิจูดสำหรับแผ่นดินไหวขนาดใหญ่สมัยใหม่ทั้งหมดโดยสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐอเมริก.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และมาตราขนาดโมเมนต์ · ดูเพิ่มเติม »

อัลญะซีเราะฮ์

อัลญะซีเราะฮ์ (قناة الجزيرة) หรือ แอลจะเซียรา (Al Jazeera) แปลว่า "คาบสมุทร" หมายถึง "คาบสมุทรอาหรับ" มาจาก شبه الجزيرة العربية šibh al-ğazīra al-‘arabīya, คาบสมุทรอาหรับ, เรียกอย่างย่อว่า الجزيرة العربية al-ğazīra al-‘arabīya, แปลว่า เกาะอาหรับ, شبه šibh แปลว่า "ราวกับ") เป็นสำนักข่าวอาหรับตั้งอยู่ ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ก่อตั้งเมื่อเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2539 เจ้าของกิจการ คือ เชคฮามัด บิน คอลีฟะห์ อัลตานี ผู้บริหารคนสำคัญ คือ วาดาห์ คันฟัร (Wadah Khanfar) ใช้งบประมาณก่อตั้ง 150 ล้านเรียลจากการอุปถัมภ์ของรัฐบาลกาตาร์ มีผู้ชมราว 45 ล้านคน เหตุที่เป็นสำนักข่าวยอดนิยมก็เพราะมักนำเสนอข่าวสงครามอัฟกานิสถาน อิรัก และเรื่องราวของอุซามะฮ์ บิน ลาดิน อย่างเจาะลึก มีคำขวัญคือ "ทัศนะและอีกทัศนะหนึ่ง" (الرأي و الرأي الآخر) นำเสนอข่าวผ่านดาวเทียม ไนล์แซต อาหรับแซต และฮอตเบิร์ด นอกเหนือจากช่องข่าว อัลญะซีเราะฮ์ยังมีช่องอื่น ๆ ของทางสถานี เช่น ช่องรายการสำหรับเด็ก ช่องรายการกีฬา ช่องรายการสารคดี ช่องภาคภาษาอังกฤษ ช่องภาคภาษาอุรดู.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และอัลญะซีเราะฮ์ · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชวากลาง

วากลาง (Jawa Tengah, ꦗꦮꦠꦼꦔꦃ) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย เมืองเอกคือ เซอมารัง (Semarang) นับเป็นหนึ่งในจังหวัดทั้งหกของเกาะชวา ชวากลางมีจุดเด่นทั้งด้านวัฒนธรรม และทางการเมือง ยอกยาการ์ตาเป็นส่วนสำคัญแห่งหนึ่งของชวากลาง อย่างไรก็ตาม ในเชิงการบริหารแล้ว เมืองนี้และพื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่พิเศษที่แยกต่างหาก นับตั้งแต่อินโดนีเซียประกาศเอกราช จังหวัดชวากลางมีพื้นที่ 32,548.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสี่ของพื้นที่เกาะชวา มีประชากร 31,820,000 (พ.ศ. 2548) จึงเป็นจังหวัดที่มีประชากรมากเป็นอันดับสามของอินโดนีเซีย รองจากชวาตะวันตก และชวาตะวันออก และมีประชากรประมาณหนึ่งในสี่ของเกาะนี้ ชวากลาง หมวดหมู่:จังหวัดชวากลาง.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และจังหวัดชวากลาง · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดชวาตะวันตก

วาตะวันตก (Jawa Barat) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย มีเมืองบันดุงเป็นศูนย์กลาง.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และจังหวัดชวาตะวันตก · ดูเพิ่มเติม »

จังหวัดบันเติน

ันเติน (Banten) เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ที่อ่าวบันเตินทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะชวา มีพื้นที่ 9,160.7 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 9,083,114 คน (พ.ศ. 2548) จังหวัดบันเตินก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2543 โดยแยกออกจากจังหวัดชวาตะวันตก มีเมืองหลวงคือเซอรัง (Serang).

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และจังหวัดบันเติน · ดูเพิ่มเติม »

จาการ์ตา

การ์ตา (Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาวียา หรือ ปัตตาเวีย (Batavia) คนไทยในอดีตเรียก กะหลาป๋.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และจาการ์ตา · ดูเพิ่มเติม »

ซีเอ็นเอ็น

ล นิวส์ เน็ตเวิร์ก (Cable News Network) หรือรู้จักกันในชื่อ ซีเอ็นเอ็น (CNN) เป็นเครือข่ายโทรทัศน์เคเบิล ที่เสนอข่าวสารตลอด 24 ชั่วโมง ก่อตั้งโดย เท็ด เทอร์เนอร์ เริ่มต้นออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ปัจจุบันบริหารงานโดยเทิร์นเนอร์บรอดแคสติงซิสเตม หน่วยงานในเครือไทม์วอร์เนอร์ ซึ่งสำนักงานใหญ่ที่เรียกว่า ศูนย์กลางซีเอ็นเอ็น (CNN Center) ตั้งอยู่ที่เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย และมีห้องส่งอื่นๆ อยู่ที่นครนิวยอร์ก และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศในสหรัฐอเมริกา จะส่งสัญญาณไปยังประเทศแคนาดาเพียงแห่งเดียว ส่วนซีเอ็นเอ็นที่ออกอากาศอยู่ใน 212 ประเทศทั่วโลกนั้น เป็นอีกช่องหนึ่งที่เรียกว่า ซีเอ็นเอ็นนานาชาติ (CNN International) ทั้งนี้ซีเอ็นเอ็นเป็นสถานีโทรทัศน์ข่าว ที่มีผู้ชมมากเป็นอันดับต้นๆ ของสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก โดยมีคู่แข่งในประเทศที่สำคัญคือ ฟ็อกซ์นิวส์ และระดับนานาชาติคือ บีบีซี เวิลด์นิว.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และซีเอ็นเอ็น · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอินโดนีเซีย

อินโดนีเซีย (Indonesia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republik Indonesia) เป็นหมู่เกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างคาบสมุทรอินโดจีนกับทวีปออสเตรเลีย และระหว่างมหาสมุทรอินเดียกับมหาสมุทรแปซิฟิก มีพรมแดนติดกับประเทศมาเลเซียบนเกาะบอร์เนียวหรือกาลีมันตัน (Kalimantan), ประเทศปาปัวนิวกินีบนเกาะนิวกินีหรืออีเรียน (Irian) และประเทศติมอร์-เลสเตบนเกาะติมอร์ (Timor).

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และประเทศอินโดนีเซีย · ดูเพิ่มเติม »

แผ่นยูเรเชีย

แผ่นยูเรเชียแสดงในสีเขียว แผ่นยูเรเชีย (Euresian Plate) คือแผ่นเปลือกโลกที่รองรับพื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปยูเรเชียแต่ไม่ได้รองรับประเทศอินเดีย อนุภูมิภาคอาหรับและพื้นที่ทางตะวันออกของเทือกเขาเชอร์สกีทางตะวันออกของไซบีเรีย นอกจากนี้ยังมีส่วนที่รองรับมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนเหนือไปจนถึงเทือกเขากลางสมุทรแอตแลนติกและเทือกเขาการ์กเกิลทางตอนเหนือและมีพื้นที่ประมาณ 67,800,000 ตารางกิโลเมตร การปะทุของภูเขาไฟทั้งหมดในไอซ์แลนด์อย่างเช่นการปะทุของภูเขาไฟแอลเฟจในปี 1973 การปะทุของภูเขาไฟลาไคปี 1783 และการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553ล้วนเกิดจากการแยกตัวออกจากกันของแผ่นอเมริกาเหนือกับแผ่นยูเรเชีย ธรณีพลศาสตร์ของเอเชียกลางมักเป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างแผ่นยูเรเชียและแผ่นอินเดี.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และแผ่นยูเรเชีย · ดูเพิ่มเติม »

เกาะชวา

กาะชวา (อินโดนีเซีย: Pulau Jawa, ชวา: Pulo Jawa) เป็นชื่อเดิมของหมู่เกาะที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย และเป็นที่ตั้งของเมืองหลวง จาการ์ตา เป็นเกาะที่มีประชากรมากที่สุดในโลก และมีประชากรมากกว่าทวีปออสเตรเลียและแอนตาร์กติกา (รายชื่อเกาะตามจำนวนประชากร) มีเนื้อที่ 132,000 ตารางกิโลเมตร ประชากร 127 ล้านคน และมีความหนาแน่นประชากร 864 คนต่อกม.² ซึ่งถ้าเกาะชวาเป็นประเทศแล้วจะมี ความหนาแน่นประชากรเป็นปันดับ 2 รองจากประเทศบังคลาเทศ ยกเว้นนครรัฐที่มีขนาดเล็ก หมวดหมู่:เกาะในประเทศอินโดนีเซีย หมวดหมู่:เกาะในมหาสมุทรอินเดีย.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และเกาะชวา · ดูเพิ่มเติม »

เซอมารัง

ซอมารัง (Semarang, ꦯꦼꦩꦫꦁ) เป็นเมืองบนชายฝั่งทางเหนือของเกาะชวา, ประเทศอินโดนีเซีย และเป็นเมืองหลวงของจังหวัดชวากลาง มีพื้นที่ประมาณ 305.17 กม.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และเซอมารัง · ดูเพิ่มเติม »

2 กันยายน

วันที่ 2 กันยายน เป็นวันที่ 245 ของปี (วันที่ 246 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 120 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และ2 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

4 กันยายน

วันที่ 4 กันยายน เป็นวันที่ 247 ของปี (วันที่ 248 ในปีอธิกสุรทิน) ตามปฏิทินสุริยคติแบบเกรกอเรียน เมื่อถึงวันนี้จะยังเหลือวันอีก 118 วันในปีนั้น.

ใหม่!!: แผ่นดินไหวในชวาตะวันตก พ.ศ. 2552และ4 กันยายน · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

แผ่นดินไหวที่ชวาตะวันตก พ.ศ. 2552

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »