โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เฮ สลาฟ

ดัชนี เฮ สลาฟ

ลาฟ แปลได้ว่า "เรา ชาวสลาฟ" เป็นเพลงปลุกใจของชาวสลาฟ ประพันธ์คำร้องครั้งแรก พ.ศ. 2377 เพลงนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นดังนี้ เฮ สโลวัก (Hej, Slováci) โดย ซามูเอล โทมาสิค และตั้งแต่นั้นมาใช้เพลงนี้เป็นเพลงของกลุ่มอุดมการณ์ร่วมสลาฟ โดยเพลงนี้ใช้เป็นเพลงชาติของสหพันธ์สาธารณรัฐประชาชนยูโกสลาเวีย และเซอร์เบียและมอนเตเนโกร รวมทั้งเป็นเพลงชาติของชาวสโลวักอย่างไม่เป็นทางการ เพลงนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเพลงชาติโปแลนด์ "มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ" ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2469 โดยเพลงเฮ สลาฟมีท่วงทำนองบรรเลงที่ช้ากว่าเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ ในภาษาเซอร์เบีย-โครเอเชีย มีความแตกต่างกันในการใช้อักษรลาติน และอักษรซีริลริก องเพลง เฮ สลาฟ ดังนี้.

21 ความสัมพันธ์: บอเจ พราฟเดชาวสลาฟพ.ศ. 2377พ.ศ. 2469พ.ศ. 2486พ.ศ. 2520พ.ศ. 2534พ.ศ. 2541พ.ศ. 2549ภาษาสโลวักภาษาสโลวีเนียภาษาอังกฤษมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอยูโกสลาเวียออย์ซีเยทลามัยสกาซอรออักษรละตินอักษรซีริลลิกประเทศมอนเตเนโกรประเทศโปแลนด์ประเทศเซอร์เบียเพลงชาติ

บอเจ พราฟเด

อเจ พราฟเด ("Боже правде" "Bože pravde"), คำแปล: "เทวะ, โปรดประทานความเป็นธรรมแก่เรา" หรือ "เทพแห่งความยุติธรรม" เป็นชื่อของเพลงชาติอย่างเป็นทางการแห่งสาธารณรัฐเซอร์เบีย ตามมาตรา 7 แห่งรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐเซอร์เบี..

ใหม่!!: เฮ สลาฟและบอเจ พราฟเด · ดูเพิ่มเติม »

ชาวสลาฟ

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและชาวสลาฟ · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2377

ทธศักราช 2377 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1834.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและพ.ศ. 2377 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2469

ทธศักราช 2469 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1926 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและพ.ศ. 2469 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2486

ทธศักราช 2486 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1943.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและพ.ศ. 2486 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2520

ทธศักราช 2520 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1977 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและพ.ศ. 2520 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2534

ทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและพ.ศ. 2534 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2541

ทธศักราช 2541 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1998 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันพฤหัสบดีตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและพ.ศ. 2541 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2549

ทธศักราช 2549 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2006 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอาทิตย์ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและพ.ศ. 2549 · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสโลวัก

ภาษาสโลวัก (slovenčina, slovenský jazyk) เป็นภาษากลุ่มภาษาสลาวิกตะวันตก (กลุ่มเดียวกับภาษาเช็ก ภาษาโปแลนด์ และภาษาซอร์เบีย) ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาสโลวักมีความใกล้ชิดกับภาษาเช็กเป็นพิเศษ นอกจากนี้ ภาษาสโลวักและภาษาสโลวีเนียเป็นภาษาสลาฟสมัยใหม่สองภาษาเท่านั้นที่ชื่อท้องถิ่นของตนเองมีความหมายตรงตามตัวอักษรว่า "สลาวิก (Slavic) " (ชาวสโลวาเกีย: slovenčina และชาวสโลวีเนีย: slovenščina) (ส่วน slověnskii เป็นภาษาสลาโวนิกเก่า) ภาษาสโลวักพูดในประเทศสโลวาเกีย (ประมาณ 5 ล้านคน) สหรัฐอเมริกา (500,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศเช็กเกีย (320,000 คน เนื่องมาจากอดีตเชโกสโลวาเกีย) ประเทศฮังการี (20,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์โบราณ) ประเทศเซอร์เบีย-วอยวอดีนาภาคเหนือ (60,000 คน ผู้สืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก ๆ ในช่วงที่อยู่ภานใต้การปกครองของราชวงศ์ฮับส์บูร์ก) ประเทศโรมาเนีย (22,000 คน เป็นชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์เก่าแก่) ประเทศโปแลนด์ (20,000 คน) ประเทศแคนาดา (20,000 คน เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรเลีย (เป็นผู้อพยพ) ประเทศออสเตรีย ประเทศยูเครน ประเทศบัลแกเรีย ประเทศโครเอเชีย (5,000 คน) และประเทศอื่น ๆ บางประเทศ สโลวัก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสโลวาเกีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศสหรัฐอเมริกา หมวดหมู่:ภาษาในประเทศแคนาดา หมวดหมู่:ภาษาในสาธารณรัฐเช็ก หมวดหมู่:ภาษาในประเทศเซอร์เบีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศโรมาเนีย หมวดหมู่:ภาษาในประเทศฮังการี.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและภาษาสโลวัก · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสโลวีเนีย

ษาสโลวีเนีย (Slovenian language) หรือ ภาษาสโลวีน (Slovene language; slovenski jezik หรือ slovenščina) เป็นภาษาหนึ่งในกลุ่มภาษาสลาวิกใต้ มีผู้พูดอยู่ประมาณ 2.5 ล้านคนทั่วโลก เป็นภาษาราชการของประเทศสโลวีเนีย และยังเป็นหนึ่งในภาษาราชการของสหภาพยุโรปอีกด้ว.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและภาษาสโลวีเนีย · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษ

ษาอังกฤษ หรือ ภาษาอังกฤษใหม่ เป็นภาษาในกลุ่มภาษาเจอร์แมนิกตะวันตกที่ใช้ครั้งแรกในอังกฤษสมัยต้นยุคกลาง และปัจจุบันเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก ประชากรส่วนใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้ง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ไอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ และประเทศในแคริบเบียน พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่หนึ่ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รองจากภาษาจีนกลางและภาษาสเปน มักมีผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองอย่างกว้างขวาง และภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการของสหภาพยุโรป หลายประเทศเครือจักรภพแห่งชาติ และสหประชาชาติ ตลอดจนองค์การระดับโลกหลายองค์การ ภาษาอังกฤษเจริญขึ้นในราชอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนอังกฤษ และบริเวณสกอตแลนด์ตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน หลังอิทธิพลอย่างกว้างขวางของบริเตนใหญ่และสหราชอาณาจักรตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 จนถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผ่านจักรวรรดิอังกฤษ และรวมสหรัฐอเมริกาด้วยตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 ภาษาอังกฤษได้แพร่หลายทั่วโลก กลายเป็นภาษาชั้นนำของวจนิพนธ์ระหว่างประเทศและเป็นภาษากลางในหลายภูมิภาค ในประวัติศาสตร์ ภาษาอังกฤษกำเนิดจากการรวมภาษาถิ่นหลายภาษาที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจุบันเรียกรวมว่า ภาษาอังกฤษเก่า ซึ่งผู้ตั้งนิคมนำมายังฝั่งตะวันออกของบริเตนใหญ่เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 5 คำในภาษาอังกฤษจำนวนมากสร้างขึ้นบนพื้นฐานรากศัพท์ภาษาละติน เพราะภาษาละตินบางรูปแบบเป็นภาษากลางของคริสตจักรและชีวิตปัญญาชนยุโรปDaniel Weissbort (2006).

ใหม่!!: เฮ สลาฟและภาษาอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ

ลงชาติของสาธารณรัฐโปแลนด์มีชื่อว่า มาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ (Mazurek Dąbrowskiego, สัทอักษรสากล) หรือ "บทเพลงมาเซอร์กาของดอมบรอฟสกี" เพลงนี้ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ Pieśń Legionów Polskich we Włoszech ("เพลงของกองทหารชาวโปลในอิตาลี") และ Jeszcze Polska nie zginęła ("โปแลนด์ยังไม่สูญสิ้น") ซึ่งชื่อหลังเป็นการเรียกขานเพลงนี้ตามเนื้อร้องวรรคแรก เพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ เป็นบทเพลงซึ่งนำมาจากทำนองของเพลงพื้นเมืองโปแลนด์ประเภทหนึ่งที่เรียกว่า "มาเซอร์กา" ("Mazurka) โดยส่วนของเนื้อร้องนั้นเป็นผลงานการประพันธ์ของนายพลยูเซฟ วีบิตสกี (Józef Wybicki) เพลงนี้ได้แต่งขึ้นที่เมืองเรจโจเนลเลมีเลีย สาธารณรัฐซิแซลไพน์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิตาลี) เมื่อประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1797 อันเป็นเวลาสองปีภายหลังการแบ่งแยกโปแลนด์ครั้งที่ 3 ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นได้ทำให้ประเทศโปแลนด์ทั้งหมดหายไปจากแผนที่โลก บทเพลงนี้แต่เดิมใช้เป็นเพลงปลุกขวัญของทหารภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยาน เคนริค ดอมบรอฟสกี แห่งกองทหารต่างด้าวชาวโปลในกองทัพปฏิวัติฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต ซึ่งได้ยกทัพเข้าพิชิตดินแดนอิตาลีในครั้งนั้น ในเวลาต่อมาไม่นานเพลงนี้ก็ได้กลายเป็นเพลงปลุกใจของชาวโปลเพลงหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุด เนื้อหาของเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ แสดงออกถึงความคิดของชาวโปล ซึ่งแม้ว่าจะสูญสิ้นเอกราชทางการเมืองไปก็ตาม แต่โปแลนด์จะยังไม่สูญหายไป ตราบเท่าที่ประชาชนชาวโปลยังมีชีวิตอยู่และร่วมต่อสู้ภายใต้นามนั้น จากความนิยมอย่างสูงของเพลงนี้ ทำให้ได้เกิดเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งชาวโปลได้นำไปขับร้องเนื่องในวาระต่าง ๆ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้ชนชาติอื่น ๆ ลุกขึ้นสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดก็คือเพลง "เฮ สลาฟ" (Hey Slavs) ซึ่งเป็นเพลงปลุกใจของชาวสลาฟ ได้รับอิทธิพลในการประพันธ์มาจากเพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกออย่างมาก (ภายหลังได้มีการนำไปใช้เป็นเพลงชาติของอดีตประเทศยูโกสลาเวีย) เมื่อประเทศโปแลนด์สามารถรวมตัวเป็นประเทศเอกราชได้อีกครั้งในปี ค.ศ. 1918 เพลงมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอจึงได้กลายเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยของโปแลนด์ ต่อมาจึงได้มีการรับรองสถานะเป็นเพลงชาติโปลแลนด์อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1926.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและมาซูแร็กดอมบรอฟสกีแยกอ · ดูเพิ่มเติม »

ยูโกสลาเวีย

ูโกสลาเวีย (Yugoslavia; สลาวิกใต้: Jugoslavija; เซอร์เบีย: Југославија) เป็นชื่ออดีตประเทศบริเวณคาบสมุทรบอลข่านในทวีปยุโรป ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความหมายของคำว่ายูโกสลาเวียคือ "ดินแดนของชาวสลาฟตอนใต้".

ใหม่!!: เฮ สลาฟและยูโกสลาเวีย · ดูเพิ่มเติม »

ออย์ซีเยทลามัยสกาซอรอ

ออย์ซีเยทลามัยสกาซอรอ (มอนเตเนโกร: Ој, свијетла мајска зоро, แปลว่า "โอ้ รุ่งสางอันสว่างไสวแห่งเดือนพฤษภา") เป็นชื่อเพลงชาติอย่างเป็นทางการของประเทศมอนเตเนโกร เพลงนี้เดิมเป็นเพลงพื้นเมืองที่ชาวมอนเตเนโกรนิยมขับร้องทั่วไปในลักษณะของเพลงประจำชาติ ซึ่งมีการแต่งเติมเสริมแต่งออกไปหลายรูปแบบและไม่มีใครทราบชัดเจนว่าผู้ใดเป็นผู้เริ่มแต่งเพลงนี้ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เซกูลา เดรลเยวิช (Sekula Drljević) นักการเมืองฟาสซิสต์ชาวมอนเตเนโกรได้ประกาศใช้เพลงนี้เป็นเพลงชาติของรัฐบาลฟาสซิสต์หุ่นเชิดของมอนเตรเนโกรในชื่อเพลงว่า "เยชนานาชาเซอร์นากอรอ" (แปลว่า มอนเตเนโกรจงเจริญชั่วกาลนาน) ซึ่งเพลงนี้ได้มีการวิจารณ์ด้วยว่า เนื้อร้องในบทเพลงฉบับดังกล่าวนั้นได้รับอิทธิพลมาจากเพลงเพลงหนึ่งของพรรคนาซี แต่เนื้อร้องที่ใช้ในปัจจุบันนนี้เป็นเนื้องร้องที่มีการประพันธ์ขึ้นใหม่ภายหลัง.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและออย์ซีเยทลามัยสกาซอรอ · ดูเพิ่มเติม »

อักษรละติน

อักษรละติน หรือ อักษรโรมัน เป็นระบบตัวเขียนแบบตัวอักษร สันนิษฐานว่าอักษรละตินมีที่มาจากอักษรคิวมี (Cumae alphabet) ซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรกรีกอีกทอดหนึ่ง ที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก โดยเฉพาะประเทศในยุโรปและอเมริกา และประเทศในเอเชียที่นำอักษรละตินมาใช้ในภายหลังเช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศเวียดนาม ประเทศมาเลเซีย ประเทศเติร์กเมนิสถาน ประเทศทาจิกิสถาน ประเทศอาเซอร์ไบจาน ประเทศตุรกี และประเทศฟิลิปปินส์ รวมถึงการเขียนภาษาด้วยอักษรโรมัน (romanization) ในภาษาต่างๆ เช่น พินอิน (ภาษาจีน) หรือ โรมะจิ (ภาษาญี่ปุ่น).

ใหม่!!: เฮ สลาฟและอักษรละติน · ดูเพิ่มเติม »

อักษรซีริลลิก

ประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิก อักษรซีริลลิก หรือ อักษรซิริลลิก (Cyrillic script) เป็นตัวอักษรที่ใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในกลุ่มภาษาสลาวิกนอกจากนี้ยังใช้เป็นตัวเขียนสำหรับภาษาในอีกหลายประเทศ แต่ไม่มีอักษรซีริลลิกทุกตัวกับภาษาใด ขึ้นอยู่กับการเขียนในภาษานั้น ในกลุ่มประเทศที่ใช้อักษรซีริลลิกด้วยกันเอง จะไม่เรียก ซีริล แต่จะออกเสียงว่า คีริล แทน เช่น ในภาษารัสเซียเรียกอักษรซีริลลิกว่า Кириллица คีริลลิซ.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและอักษรซีริลลิก · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศมอนเตเนโกร

มอนเตเนโกร (Montenegro ออกเสียง:; มอนเตเนโกร: มีความหมายว่า "ภูเขาสีดำ") เป็นประเทศเอกราชซึ่งตั้งอยู่ในยุโรปตะวันออกเฉียงใต้ มีอาณาเขตจรดทะเลเอเดรียติกและโครเอเชียทางทิศตะวันตก จรดบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนาทางทิศเหนือ จรดเซอร์เบียทางทิศตะวันออก และจรดแอลเบเนียทางทิศใต้ มีพอดกอรีตซาเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ในอดีต มอนเตเนโกรมีสถานะเป็นสาธารณรัฐในสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย และต่อมาได้เป็นส่วนหนึ่งในสหภาพการเมืองของเซอร์เบีย-มอนเตเนโกร หลังจากมีการลงประชามติเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 มอนเตเนโกรก็ได้ประกาศเอกราชในวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มอนเตเนโกรได้รับการกำหนดให้เป็น "รัฐประชาธิปไตย สวัสดิการ และสิ่งแวดล้อม".

ใหม่!!: เฮ สลาฟและประเทศมอนเตเนโกร · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศโปแลนด์

ไม่มีคำอธิบาย.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและประเทศโปแลนด์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเซอร์เบีย

ซอร์เบีย (Serbia; Србија, Srbija) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐเซอร์เบีย (Republic of Serbia; Република Србија, Republika Srbija) เป็นประเทศสาธารณรัฐตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป เมืองหลวงคือกรุงเบลเกรด เซอร์เบียมีอาณาเขตติดต่อกับฮังการีทางทิศเหนือ ติดต่อกับโรมาเนียและบัลแกเรียทางทิศตะวันออก ติดต่อกับมาซิโดเนียและแอลเบเนียทางทิศใต้ (พื้นที่ชายแดนทางด้านนี้กำลังมีปัญหาเรื่องการเรียกร้องเอกราชของคอซอวอ) และติดต่อกับมอนเตเนโกร โครเอเชีย และบอสเนีย-เฮอร์เซโกวีนาทางทิศตะวันตก.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและประเทศเซอร์เบีย · ดูเพิ่มเติม »

เพลงชาติ

ภาพยนตร์หรือวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติ มักมีการใช้ภาพประกอบเพลงที่แสดงถึงความฮึกเหิมและปลุกใจให้รักชาติ (ตัวอย่างในที่นี้ เป็นภาพยนตร์เพลงชาติสหรัฐอเมริกา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2487) เพลงชาติ (National anthem) หมายถึง บทเพลงที่ประพันธ์ขึ้น เพื่อปลุกเร้าให้หวนระลึกถึงหรือสรรเสริญประวัติศาสตร์ชาติ ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ หรือการต่อสู้ของชนในชาติ โดยได้รับการยอมรับจากรัฐบาลของชาตินั้น ๆ อย่างเป็นทางการ หรือความตกลงใจร่วมกันของประชาชนในชาติว่า เพลงดังกล่าวเป็นเพลงประจำชาติของตน ในหนังสือ "เพลงชาติ" โดย สุกรี เจริญสุข ได้กล่าวถึงความหมายของเพลงชาติไว้ 4 ประการ คือ.

ใหม่!!: เฮ สลาฟและเพลงชาติ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »