โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์

ดัชนี เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์

อ็กเบิร์ต (ค.ศ.802-839) กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และเป็นกษัตริย์แซ็กซันพระองค์แรกที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นกษัตริย์ของอังกฤษทั้งหมด พระองค์เป็นโอรสของขุนนางชาวเคนต์แต่อ้างว่าสืบเชื้อสายมาจากเซอร์ดิค (ครองราชย์ปีค.ศ.519-34) ผู้ก่อตั้งตระกูลเวสเซ็กซ์ อาณาจักรของชาวแซ็กซันตะวันตกทางตอนใต้ของอังกฤษ ช่วงปลายศตวรรษที่ 8 เมื่อพระเจ้าออฟฟ่าแห่งเมอร์เซีย (ครองราชย์ปีค.ศ.757-796) ปกครองอังกฤษส่วนใหญ่ เอ็กเบิร์ตถูกขับไล่ออกนอกประเทศไปอยู่ที่ราชสำนักของชาร์เลอมาญ เอ็กเบิร์ตกอบกู้อาณาจักรกลับคืนมาได้ในปี..802 พระองค์พิชิตอาณาจักรเพื่อนบ้าน เคนต์, คอร์นวอลล์ และเมอร์เซีย และในปี..830 พระองค์ยังเป็นที่ยอมรับในฐานะกษัตริย์ของอีสต์แองเกลีย, ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนอร์ธัมเบรีย และได้รับการถวายตำแหน่งเป็นเบร็ตวัลด้า (ภาษาแองโกลแซ็กซัน แปลว่าผู้ปกครองของชาวบริเตน) ในช่วงหลายปีต่อมาเอ็กเบิร์ตเป็นผู้นำในการเดินทางไปต่อต้านพวกเวลส์และพวกไวกิ้ง ปีก่อนที่พระองค์จะสวรรคต ทรงปราบกองกำลังร่วมระหว่างพวกเดนท์กับพวกคอร์นวอลล์ที่ฮิงสตันดาวน์ในคอร์นวอลล์ พระองค์ได้รับการสืบสันตติวงศ์โดยเอเธลวูล์ฟ พระราชบิดาของอัลเฟร.

29 ความสัมพันธ์: บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันชาร์เลอมาญชาวแฟรงก์ชาวแซกซันชาวไวกิงชาวเวลส์ชาวเคลต์ชนเดนส์พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษพระเจ้าอัลเฟรดมหาราชภาษาอังกฤษเก่าราชวงศ์เวสเซกซ์ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลียราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรียราชอาณาจักรเมอร์เซียราชอาณาจักรเวสเซกซ์วิลต์เชอร์วินเชสเตอร์สวินดันคอร์นวอลล์ซัสเซกซ์ประเทศเวลส์นอร์มันโอลิเวอร์ ครอมเวลล์โอดินเอสเซกซ์เดวอนเคนต์เซอร์รีย์

บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน

ันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน (Anglo-Saxon Chronicle) เป็นชุดหนังสือรายปีที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษเก่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาวแองโกล-แซกซัน เขียนขึ้นราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 9 อาจจะที่เวสเซ็กซ์ในรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช หลังจากนั้นต้นฉบับก็ถูกส่งไปตามอารามต่างๆ ทั่วอังกฤษ แต่ละอารามต่างก็แก้ไขเพิ่มเติมต่อมาเรื่อย ๆ ในกรณีหนึ่งบันทึกถูกเพิ่มเติมมาจนถึงปี ค.ศ. 1154 ในปัจจุบันบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซันมีเหลืออยู่ 9 ฉบับทั้งสมบูรณ์และเหลือแต่บางส่วน คุณค่าของแต่ละฉบับก็ต่างกันใน 9 ฉบับนี้ไม่มีฉบับใดที่เป็นฉบับดั้งเดิมแท้ ๆ ฉบับที่เก่าที่สุดสันนิษฐานกันว่าเริ่มเขียนราวปลายรัชสมัยของพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช และฉบับล่าสุดเป็นฉบับที่เขียนที่มหาวิหารปีเตอร์บะระหลังจากไฟใหม้อารามในปี ค.ศ. 1116 เนึ้อหาของบันทึกเป็นการบันทึกเหตุการณ์ประจำปี เหตุการณ์ปีแรกที่สุดที่บันทึกคือปี 60 ก่อนคริสต์ศักราชมาจนถึงปีที่เขียน ต่อจากนั้นเนื้อหาก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยของการเขียน บันทึกต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวมกันว่า “บันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน” เนื้อหาของบันทึกไม่เป็นกลางนักในบางบันทึกเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับเอกสารจากสมัยกลางอื่น ๆ จะพบว่าผู้เขียนละเว้นเหตุการณ์บางเหตุการณ์ หรือเขียงจากมุมมองของผู้เขียน หรือบางฉบับก็จะแตกต่างจากฉบับอื่นเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์เดียวกันหรือข้อมูลที่บันทึกขัดแย้งกันเอง แต่เมื่อพิจารณาโดยทั่วไปแล้วพงศาวดารเป็นหลักฐานชิ้นที่สำคัญที่สุดทางประวัติศาสตร์ระหว่างสมัยโรมันหมดอำนาจในอังกฤษไปจนถึงการพิชิตอังกฤษของชาวนอร์มัน ข้อมูลที่บันทึกในพงศาวดารไม่พบในเอกสารอื่นใด นอกจากนั้นบันทึกยังเป็นเอกสารชิ้นสำคัญของประวัติศาสตร์ภาษาอังกฤษโดยเฉพาะฉบับที่เขียนที่ปีเตอร์บะระซึ่งเป็นตัวอย่างแรกที่สุดของภาษาอังกฤษสมัยกลาง เจ็ดในเก้าฉบับปัจจุบันเก็บรักษาไว้หอสมุดแห่งชาติอังกฤษ (British Library) อึกสองฉบับอยู่ที่หอสมุดบอดเลียนของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดและวิทยาลัยคอร์พัสคริสติของมหาวิทยาลัยเคมบร.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และบันทึกเหตุการณ์ของชาวแองโกล-แซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาร์เลอมาญ

ร์เลอมาญ (Charlemagne) หรือชื่อในภาษาเยอรมันคือ คาร์ลมหาราช (Karl der Große) เป็นกษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ (ฝรั่งเศสโบราณ) ตั้งแต่ปี..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และชาร์เลอมาญ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแฟรงก์

หนังสือสำหรับทำพิธีศาสนา “Gelasian Sacramentary” จากราว ค.ศ. 750 แฟรงก์ (Franks, Franci) เป็นกลุ่มชนเจอร์มานิกตะวันตกที่เริ่มก่อตัวขึ้นราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 โดยมีถิ่นฐานอยู่ทางเหนือและทางตะวันออกของลุ่มแม่น้ำไรน์ตอนล่าง ภายใต้การปกครองโดยราชวงศ์เมโรแว็งเชียง ชนแฟรงก์ก็ก่อตั้งสถาบันพระมหากษัตริย์เจอร์มานิกที่มาแทนจักรวรรดิโรมันตะวันตกตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 รัฐของชนแฟรงก์และมารวมตัวกันเป็นอาณาบริเวณส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ที่กลายมาเป็นจักรวรรดิคาโรลินเจียนและรัฐต่างๆ ที่ตามมา ความหมายของคำว่า “ชนแฟรงก์” ที่กลุ่มชนแตกต่างกันไปตามสมัยและปรัชญา โดยทั่วไปแล้วมักจะเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจน ภายในกลุ่มแฟรงเคีย “ชนแฟรงก์” เป็นกลุ่มชนที่มีเป็นกลุ่มชนเอกลักษณ์ที่มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง รากของคำว่า “แฟรงก์” อาจจะมาจากภาษาละติน “francisca” (จากเจอร์มานิก “*frankon” ที่เกี่ยวเนื่องกับภาษาอังกฤษเก่า “franca”) ที่แปลว่า “แหลน” ชนแฟรงก์ที่โยนขวานได้รับนามว่า “francisca” (ขว้างขวาน) ซึ่งอาจจะเป็นการเรียกกลุ่มชนตามอาวุธที่ใช้ เอ.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวแฟรงก์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวแซกซัน

รูปแกะนูนแซกซันของ "irminsul" ที่เชื่อกันว่าเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ที่เอ็กซ์เทิร์นชไตเนอ (Externsteine) ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซัน (Saxon; Sachsen; ละติน: Saxones) คือกลุ่มชนเผ่าเจอร์แมนิก ในปัจจุบันเป็นบรรพบุรุษของชนทางภาคเหนือของประเทศเยอรมนีที่เรียกว่าชาวเยอรมัน, ชนทางภาคตะวันออกของประเทศเนเธอร์แลนด์ที่เรียกว่าชาวดัตช์ และชนทางภาคใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าชาวอังกฤษ ที่ตั้งถิ่นฐานเดิมที่สุดเท่าที่ทราบของชาวแซกซันคือบริเวณทางตอนเหนือของอัลบินเจียในบริเวณฮ็อลชไตน์ (Holstein) ทางตอนเหนือสุดของประเทศเยอรมนีปัจจุบัน ชาวแซกซันมีบทบาทสำคัญในการตั้งถิ่นฐานในอังกฤษโดยเฉพาะทางภาคใต้ที่ประชาชนที่อยู่อาศัยในปัจจุบันเชื่อกันว่าสีบเชี้อสายมาจากชาวแซกซันโบราณ ระหว่างสองร้อยปีที่ผ่านมาชาวแซกซันก็ไปตั้งถิ่นฐานในบริเวณต่าง ๆ ทั่วโลกโดยเฉพาะในทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และในบริเวณที่เป็นสหภาพโซเวียตแต่เดิม ซึ่งในบางชุมชน ชาวแซกซันยังรักษาประเพณีและภาษาของตนที่เรียกกันทั่วไปว่า "ชาวเยอรมัน" และ "ชาวดัตช์" ความมีอิทธิพลทางภาษาและวัฒนธรรมของชาวแซกซันที่มีต่อบริเวณสแกนดิเนเวีย บริเวณบอลติก และต่อชาวโพเลเบียและชาวพอเมอเรเนียซึ่งเป็นชนสลาฟตะวันตก เป็นผลมาจากเส้นทางการค้าในยุคกลางของสันนิบาตฮันเซียติก ทอเลมีเป็นนักภูมิศาสตร์กรึกคนแรกที่กล่าวถึงการตั้งถิ่นฐานของชาวแซกซันยุคก่อนคริสเตียนว่าตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือและบางส่วนทางใต้ของคาบสมุทรจัตแลนด์, แคว้นแซกโซนีเก่า, และบางส่วนทางตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 ชาวแซกซันเป็นส่วนหนึ่งของผู้รุกรานมณฑลบริตันนิอา (Britannia) ของจักรวรรดิโรมัน ชนเผ่าหนึ่งของชาวเจอร์แมนิกที่รุกรานคือ ชาวแองเกิล ซึ่งเมื่อรวมกับ "แซกซัน" จึงกลายเป็นคำว่า "แองโกล-แซกซัน" ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวแซกซัน · ดูเพิ่มเติม »

ชาวไวกิง

แผนที่แสดงการตั้งถิ่นฐานสแกนดิเนเวียของชาวไวกิง สีแดงเข้ม-ระว่าง ค.ศ.701-800, สีแดง-ระหว่าง ค.ศ. 801-900, สีส้มเข้ม-ระว่าง ค.ศ. 901-1000, และสีเหลือง-ระว่าง ค.ศ. 1001-1100, บริเวณสีเขียวแสดงพื้นที่ที่มักถูกโจมตีโดยพวกไวกิงบ่อยแต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานมาก ไวกิง (Vikings) ในความหมายหลักหมายถึงชนเผ่านักรบ นักการค้า และนักตั้งถิ่นฐานจากนอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์ก ซึ่งบุกรบชนะ ยึดครอง และตั้งอาณานิคมอาณาเขตในส่วนใหญ่ของอังกฤษ นอร์ม็องดี และรัสเซียเมื่อระหว่างประมาณ..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวไวกิง · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเวลส์

วเวลส์ (Cymry, Welsh people) เวลส์เป็นกลุ่มชาติพันธุ์และในชาติที่เกี่ยวข้องกับเวลส์และภาษาเวลส์ จอห์น เดวีส์ให้ความเห็นว่าที่มาของ "ชาติเวลส์" (Welsh nation) สืบได้ว่ามีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 5 หลังจากที่โรมันถอนตัวจากบริเตนJohn Davies (1994) A History of Wales.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

ชาวเคลต์

ริเวณที่ยังมีการใช้ภาษากลุ่มเคลต์อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เคลต์ หรือ เซลต์ (Celts; หรือ) เป็นคำที่ใช้เรียกชนยุโรปที่เดิมพูดหรือยังพูดภาษากลุ่มเคลต์ (Celtic languages) นอกจากนั้นก็ยังเป็นคำที่ใช้ในความหมายกว้าง ๆ ในการบรรยายผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากชาวเคลต์ที่ยังคงรักษาวัฒนธรรมเคลต์อยู่ เคลต์ในประวัติศาสตร์เป็นกลุ่มชนหลายกลุ่มในยุคเหล็กยุโรป อารยธรรมเคลต์ดั้งเดิมเริ่มก่อตั้งในสมัยต้นยุคเหล็กในตอนกลางของทวีปยุโรป (สมัยวัฒนธรรมฮัลล์ชตัทท์ที่ตั้งชื่อตามบริเวณที่เป็นออสเตรียปัจจุบัน) พอมาถึงปลายยุคเหล็ก (สมัยลาแตน) เคลต์ก็ขยายตัวไปในดินแดนต่าง ๆ ที่รวมทั้งทางตะวันตกที่ไปถึงไอร์แลนด์และคาบสมุทรไอบีเรีย ทางตะวันออกไปสุดที่กาเลเชีย (Galatia) (กลางอานาโตเลีย) และทางเหนือสุดที่สกอตแลนด์ หลักฐานแรกที่บ่งถึงภาษาเคลต์อยู่ในคำจารึกในภาษาเลพอนติค (Lepontic language) จากคริสต์ศตวรรษที่ 6 กลุ่มภาษาเคลต์ภาคพื้นยุโรปมีหลักฐานเฉพาะชื่อสถานที่ กลุ่มภาษาเคลต์เกาะ (Insular Celtic) ปรากฏในหลักฐานจากคริสต์ศตวรรษที่ 4 ในคำจารึกออกัม (Ogham inscription) อารยธรรมทางวรรณกรรมเริ่มด้วยการใช้ภาษาไอริชเก่าตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 วรรณกรรมไอริชสมัยต้น เช่น "Táin Bó Cúailnge" มีหลักฐานมาจนถึงฉบับแก้ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เมื่อมาถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่หนึ่งหลังการขยายดินแดนของจักรวรรดิโรมันและสมัยการย้ายถิ่นฐาน (Migration Period) ของกลุ่มชนเจอร์แมนิกแล้ว อารยธรรมเคลต์ก็จำกัดอยู่แต่เพียงหมู่เกาะบริติช (ภาษาเคลต์เกาะ) และภาษาเคลต์ยุโรปก็หยุดใช้กันไปในคริสต์ศตวรรษที่ 6 เคลต์เกาะที่ว่าหมายถึงดินแดนรอบทะเลไอริช รวมทั้งคอร์นวอลล์และบริตตานีบนสองฝั่งของช่องแคบอังกฤษ.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และชาวเคลต์ · ดูเพิ่มเติม »

ชนเดนส์

นเดนส์ (Danes) เป็นชนเจอร์มานิคที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ทางใต้ของสวีเดนในปัจจุบันและเกาะของเดนมาร์กและต่อมาในคาบสมุทรจัตแลนด์ และกล่าวถึงโดยจอร์แดนนักประวัติศาสตร์ชาวโรมันในหนังสือ “Getica”, โดยนักปราชญ์โพรโคเพียส (Procopius) และโดยนักบุญเกรกอรีแห่งทัวร์ส ในการบรรยายถึงกลุ่มชนสแกนด์ซา (Scandza) ในสแกนดิเนเวียจอร์แดนกล่าวถึงชน “Dani” ว่าเป็นกลุ่มเดียวกับ “Suetidi” (ชนสวีด (สวีเดน) หรือ “Svitjod”?) และเป็นกลุ่มชนที่ขับไล่และยึดที่ดินของชน “Heruli” เสวน แอกเกเสน (Svend Aggesen) นักประพันธ์จากคริสต์ศตวรรษที่ 12 กล่าวถึงกษัตริย์แดนผู้ที่เป็นที่มาของชื่อชนกลุ่มนี้ “เดนส์”.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และชนเดนส์ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ

มเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ (William II of England หรือ Rufus) (ราว ค.ศ. 1056 – 2 สิงหาคม ค.ศ. 1100) เป็นพระเจ้าแผ่นดินราชวงศ์นอร์มันของราชอาณาจักรอังกฤษ พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 เสด็จพระราชสมภพเมื่อราว ค.ศ. 1056 ที่นอร์ม็องดี ฝรั่งเศส เป็นพระราชโอรสองค์ที่สามในสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ และ มาทิลดาแห่งฟลานเดอร์ส และทรงราชย์ระหว่างวันที่ 9 กันยายน ค.ศ. 1087 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1100 ที่นิวฟอเรสต์ อังกฤษ พระเจ้าวิลเลียมที่ 2 มีพระนามเล่นว่า “รูฟัส” ซึ่งอาจจะมาจากการที่มีพระพักตร์แดง แม้ว่าพระเจ้าวิลเลียมจะทรงเป็นนายทหารผู้มีความสามารถ แต่ทรงเป็นประมุขที่ไม่มีความปราณีจึงไม่เป็นที่นิยมของผู้อยู่ใต้การปกครองของพระองค์ “บันทึกแองโกล-แซ็กซอน” กล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นที่เกลียดชังของประชาชนเกือบทุกคน แต่ผู้บันทึกในสมัยนั้นอาจจะมีทัศนคติในทางลบต่อพระเจ้าวิลเลียมเพราะผู้บันทึกเป็นนักบวชซึ่งเป็นสถาบันที่พระเจ้าวิลเลียมทรงมีความขัดแย้งอยู่ด้วยเป็นเวลานาน นอกจากนั้นพระเจ้าองค์ก็ยังทรงดูถูกสิ่งที่เป็นอังกฤษและวัฒนธรรมอังกฤษ พระเจ้าวิลเลียมมีพระลักษณะที่เป็นผู้ชอบความหรูหรา มีพระอารมณ์ร้าย ไม่ทรงเสกสมรสหรือมีพระโอรสธิดา คนโปรดของพระเจ้าวิลเลียมคือเรนัลฟ ฟลามบาร์ด (Ranulf Flambard) ผู้ที่ทรงแต่งตั้งให้เป็นบาทหลวงแห่งเดอแรมในปี ค.ศ. 1099 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ประทานให้เพราะเป็นเหตุผลทางการเมืองสำหรับสังฆมณฑลที่มีอำนาจทางการเมือง พระเจ้าวิลเลียมทรงถูกประณามในการแต่งตั้งและหลังจากเสด็จสวรรคตในเรื่องการที่ทรงมีคนรักที่เป็นเพศเดียวกันมากม.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และพระเจ้าวิลเลียมที่ 2 แห่งอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

พระเจ้าอัลเฟรดมหาราช

ระเจ้าอัลเฟรดมหาราช (Alfred the Great; Ælfrēd) (ค.ศ. 849 - 26 ตุลาคม ค.ศ. 899) เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ในสมัยราชวงศ์เวสเซ็กซ์ เสด็จพระราชสมภพที่เวนเทจ บาร์กเชอร์ เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าเอเธลวูล์ฟแห่งเวสเซกซ์และออสเบอร์กา ทรงเสกสมรสกับเอลสวิธ และทรงราชย์เป็นกษัตริย์ของชนแองโกล-แซ็กซอนภายใต้ราชอาณาจักรเวสเซกซ์ระหว่างวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 871 พระเจ้าอัลเฟรดทรงมีชื่อเสียงในการป้องกันราชอาณาจักร จากการรุกรานของชาวไวกิงจากเดนมาร์ก และเป็นพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษพระองค์เดียวที่รับสมญานามว่า “มหาราช” พระเจ้าอัลเฟรดทรงเป็นกษัตริย์แห่งแซกซันตะวันตกพระองค์แรก ที่ทรงแสดงพระองค์ว่าเป็นกษัตริย์แห่งชาวแองโกล-แซกซัน ทรงเป็นผู้มีการศึกษาดี และทรงส่งเสริมการศึกษาและปรับปรุงทางด้านกฎหมายในราชอาณาจักรและระบบการทหาร พระราชประวัติของพระองค์ถูกกล่าวถึงในงานเขียนของแอสเซอร์ (Asser) นักปราชญ์ชาวเวล.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาอังกฤษเก่า

ษาอังกฤษเก่า (Ænglisc, Anglisc, Englisc; Old English ย่อว่า OE) หรือ ภาษาแองโกล-ซัคเซิน (Anglo-Saxon) เป็นภาษาอังกฤษยุคแรก ที่พูดกันในบริเวณที่ปัจจุบันคือแคว้นอิงแลนด์ อังกฤษและสกอตแลนด์ตอนใต้ ในระหว่าง กลางคริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 นับเป็นภาษาเจอร์แมนิกตะวันตก ด้วยเหตุนี้ จึงมีความคล้ายคลึงกับภาษาฟริเซียนเก่า (Old Frisian) และภาษาแซกซันเก่า (Old Saxon) นอกจากนี้ยังมีความสัมพันธ์กับภาษานอร์สเก่า (Old Norse) และเชื่อมโยงไปถึงภาษาไอซ์แลนด์ปัจจุบัน (modern Icelandic) ด้วย ไวยกรณ์ของภาษาอังกฤษเก่ามีความใกล้เคียงกับไวยกรณ์ของภาษาเยอรมันสมัยใหม่ กล่าวคือ คำนาม คำวิเศษณ์ คำสรรพนาม และคำกริยา มีการผันเปลี่ยนรูปข้างท้ายของคำอยู่หลากหลายแบบ และการลำดับคำในประโยคก็มีอิสระมากกว่า ตัวอักษรของภาษาอังกฤษเก่าแค่เดิมเป็นระบบอักษรรูน (runic system) แต่ถูกแทนที่ด้วยอักษรละตินนับแต่ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษเก่านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีการใช้งานตลอดระยะเวลาประมาณ 700 ปี นับตั้งแต่ชนแองโกล-แซ็กซอนอพยพเข้ามายังเกาะบริเตน สร้างอิงแลนด์ขึ้น ในคริสต์ศวรรษที่ 5 จนถึงระยะเวลาหลังพวกนอร์มันบุกรุกเข้าไปเมื่อ ค.ศ. 1066 หลังจากนั้นภาษาอังกฤษก็เคลื่อนเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สำคัญ ในยุคแรกๆ นี้ ภาษาอังกฤษเก่าได้ผสมกลมกลืนเข้ากับภาษาอื่นๆ ที่มีการติดต่อด้วย เช่น ภาษาเคลติก (Celtic) และภาษาถิ่นสองภาษาของภาษานอร์สเก่า (บรรพบุรุษของภาษาแดนิชในปัจจุบัน) จากการบุกรุกของพวกไวกิงจากทางเดนมาร์ก ซึ่งเข้ามาครอบครองและปกครองอาณาเขตในอิงแลนด์ตอนเหนือและตะวันออก หลังจากชาวนอร์แมนยกทัพเข้าชิงอังกฤษจากกษัตริย์แซ็กซอนมาปกครองได้ ใรปี..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และภาษาอังกฤษเก่า · ดูเพิ่มเติม »

ราชวงศ์เวสเซกซ์

อังกฤษราวปี ค.ศ. 800 แสดงให้เห็นบริเวณเวสเซ็กซ์ทางตะวันตกเฉียงใต้; เมอร์เซียตอนกลาง; นอร์ทธัมเบรียทางตะวันออกเฉียงเหนือ; และ อีสแองเกลีย เอสเซ็กซ์ เค้นท์ และ ซัสเซ็กซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หรือ ราชวงศ์เซอร์ดิค (House of Wessex หรือ House of Cerdic) เป็นราชวงศ์แซ็กซอนที่ปกครองราชอาณาจักรทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษที่เรียกว่าเวสเซ็กซ์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 6 ภายใต้การนำของพระเจ้าเซอร์ดิคแห่งเวสเซ็กซ์จนกระทั่งรวมเป็นราชอาณาจักรอังกฤษ จากนั้นราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ปกครองอังกฤษทั้งหมดที่เรียกว่า “Bretwalda” ตั้งแต่ สมเด็จพระเจ้าอัลเฟรดมหาราช ในปี ค.ศ. 871 ไปจนถึงสมเด็จพระเจ้าเอ็ดมันด์ที่ 2 แห่งอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1016 การปกครองของราชวงศ์เวสเซ็กซ์มักจะมีผู้อ้างสิทธิในราชบัลลังก์จากฝ่ายอื่นโดยเฉพาะจาก บริเวณเดนลอว์ (Danelaw) ที่ปกครองโดยกฎหมายของเดนมาร์ก และต่อมาโดยสเวน ฟอร์คเบียร์ดผู้ยึดราชบัลลังก์ระหว่าง ค.ศ. 1013 ถึง ค.ศ. 1014 ระหว่างรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอเธล์เรดที่ 2 แห่งอังกฤษ พระเจ้าสเวน ฟอร์คเบียร์ดและผู้สืบเชื้อสายของพระองค์ปกครองอังกฤษจนปี ค.ศ. 1042 หลังจากรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าฮาร์ธาคานูท ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็ได้รับการฟื้นฟูอยู่ชั่วระยะหนึ่งระหว่างปี ค.ศ. 1042 ถึงปี ค.ศ. 1066 ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ และ สมเด็จพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน หรือพระเจ้าฮาโรลด์ที่ 2 ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ก็สิ้นสุดลงไม่นานหลังจากยุทธการเฮสติงส์โดยสมเด็จพระเจ้าเอ็ดการ์ เอเธลลิงผู้ครองราชย์ต่อจากพระเจ้าฮาโรลด์ถูกปลดจากราชบัลลังก์โดยดยุคแห่งนอร์มังดีผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือ “พระเจ้าวิลเลียมผู้พิชิต” (William the Conqueror) ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์นอร์มัน.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และราชวงศ์เวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย

ราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย (ภาษาอังกฤษ: Kingdom of the East Angles หรือ Kingdom of East Anglia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักร ชื่อของอาณาจักรมาจากชื่อดินแดนแองเกิล (Angeln) ของชนแองเกิล ทางตอนเหนือของเยอรมนี ที่เมื่อแรกเริ่มประกอบด้วยนอร์โฟล์ค และซัฟโฟล์ค ชื่อที่อาจจะได้รับหลังจากการตั้งถิ่นฐานของชาวเดนส์ (“North folk (people)”.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรอีสต์แองเกลีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย

ราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย (ภาษาอังกฤษ: Northumbria หรือ Northhumbria) เป็นชื่อของอาณาจักรยุคกลางของชาวแองเกิลที่ปัจจุบันตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอังกฤษ และทางใต้ของสกอตแลนด์ และเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ที่เมื่อรวมกับอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนกลายเป็นอังกฤษ ชื่อ “นอร์ทธัมเบรีย” เป็นนัยยะว่าเขตแดนทางใต้ของอาณาจักรปากแม่น้ำฮัมเบอร์ นอร์ทธัมเบรียก่อตั้งกลางบริเตนใหญ่ในสมัยแองโกล-แซ็กซอน เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรเบอร์นิเซีย และอาณาจักรไดรารวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียว (ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 เฮนรี ฮันทิงดัน (Henry of Huntingdon) บรรยายว่านอร์ทธัมเบรียเป็นอาณาจักรหนึ่งในเจ็ดอาณาจักรของอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอน) ในสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดเขตแดนของราชอาณาจักรทางใต้จรดปากแม่น้ำฮัมเบอร์, ไปถึงแม่น้ำเมอร์ซีย์ และเฟิร์ธออฟฟอร์ธ (Firth of Forth) (โดยประมาณ จากเชฟฟิลด์ ไปรังคอร์ ไปเอดินบะระ) - และมีหลักฐานว่าเคยมีดินแดนมากกว่านั้น ต่อมานอร์ทธัมเบรียเสียดินแดนทางใต้แก่บริเวณเดนลอว์(Danelaw) ทางด้านเหนือเดิมเป็นอาณาจักรแต่ต่อมากลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรเดนมาร์กที่มีฐานะเท่าเทียมกับเป็นอาณาจักรเอิร์ลและมีฐานะเช่นนั้นเมื่ออังกฤษรวมตัวกันโดยการนำของเวสเซ็กซ์ อาณาจักรเอิร์ลมีเขตแดนติดกับแม่น้ำทีส์ทางด้านใต้และแม่น้ำทวีดทางด้านเหนือ (โดยทั่วไปคล้ายคลึงกับตะวันออกเฉียงเหนืออังกฤษ (North East England) ปัจจุบัน) ดินแดนบริเวณเป็นบริเวณที่พิพาตระหว่างอังกฤษและสกอตแลนด์ แต่อาณาจักรเอิร์ลแห่งนอร์ทธัมเบรียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของของอังกฤษในสนธิสัญญายอร์คระหว่างอังกฤษกับสกอตแลนด์ในปี..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรนอร์ทัมเบรีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย

ราชอาณาจักรเมอร์เซีย (Mercia) เป็นหนึ่งในอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนเจ็ดอาณาจักรที่มีศูนย์กลางอยู่ในลุ่มแม่น้ำแม่น้ำเทร้นท์และในบริเวณที่ปัจจุบันเป็นอังกฤษมิดแลนด์ส (English Midlands) ชื่อเมอร์เซียเป็นภาษาอังกฤษเก่า “Mierce” ที่แผลงเป็นแบบละติน (Latinization) แปลว่า “ชนชายแดน” ราชอาณาจักรเมอร์เซียมีอาณาเขตติดต่อกับราชอาณาจักรนอร์ทธัมเบรีย, เพาวิส, ราชอาณาจักรต่างๆ ทางตอนใต้ของเวลส์, เวสเซ็กซ์, ซัสเซ็กซ์, เอสเซ็กซ์ และ อีสต์แองเกลีย ทุกวันนี้ชื่อ “เมอร์เซีย” ยังใช้กันทั่วไปในชื่อองค์การต่างๆ ได้แก่ หน่วยทหาร หรือองค์การทั้งของรัฐและของเอกชน.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรเมอร์เซีย · ดูเพิ่มเติม »

ราชอาณาจักรเวสเซกซ์

ราชอาณาจักรเวสเซ็กซ์ (Wessex หรือ Westseaxe (ภาษาอังกฤษเก่า)) เวสเซ็กซ์ หรือ “แซ็กซอนตะวันตก” เป็นอาณาจักรแองโกล-แซ็กซอนของแซ็กซอนตะวันตกทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 6 จนอังกฤษรวมตัวกันเป็นประเทศในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ภายใต้ราชวงศ์เวสเซ็กซ์ หลังจากสมัยสมเด็จพระเจ้าคานูทมหาราชเวสเซ็กซ์ก็มีฐานะเป็นอาณาจักรเอิร์ล (Earldom) ตั้งแต..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และราชอาณาจักรเวสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

วิลต์เชอร์

วิลท์เชอร์ (Wiltshire) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ที่มีเขตแดนติดกับมณฑลดอร์เซ็ท, มณฑลซอมเมอร์เซ็ท, มณฑลแฮมป์เชอร์, มณฑลกลอสเตอร์เชอร์, มณฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ และมณฑลบาร์คเชอร์ มณฑลวิลท์เชอร์แบ่งการปกครองเป็นห้าแขวง: ซอลส์บรี, เวสต์วิลท์เชอร์, เค็นเน็ท, นอร์ธวิลท์เชอร์, และ สวินดัน โดยมีศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมือง โทรบริดจ์ วิลท์เชอร์มีประชาชนรวมทั้งสิ้นประมาณ 642,000 คน มีพื้นที่ 1346 กิโลเมตร 2 ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินหินชอล์ก (Downland) สูงและหุบเขากว้าง ที่ราบซอลส์บรี (Salisbury Plain) ในมณฑลนี้มีชื่อเสียงเพราะเป็นที่ตั้งของสโตนเฮนจ์และสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ นอกจากนั้นก็ยังเป็นบริเวณที่ใช้ในการฝึกทหารของกองทัพอังกฤษ เมืองสำคัญที่สุดของวิลท์เชอร์คือซอลส์บรีที่เป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์อังกฤษและเป็นที่ตั้งของมหาวิหารซอลส์บรีและสถานที่น่าสนใจอื่น ๆ เช่น คฤหาสน์ลองลีต (Longleat), คฤหาสน์วิลตัน (Wilton House), คฤหาสน์สเตาเออร์เฮด (Stourhead) และแอบบีย์เลค็อก (Lacock Abbey).

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และวิลต์เชอร์ · ดูเพิ่มเติม »

วินเชสเตอร์

มืองวินเชสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Winchester) เป็นเมืองหลวงของมลฑลแฮมป์เชอร์ในภาคการปกครองตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ วินเชสเตอร์ตั้งอยู่กลางนครวินเชสเตอร์ซึ่งเป็นเมืองเทศบาลมณฑลที่ตั้งอยู่ระหว่างทางตะวันตกของเซาท์ดาวน์ตามฝั่งแม่น้ำอิตเค็น วินเชสเตอร์มีเนื้อที่ 4.8 ตารางกิโลเมตร จากการสำรวจสำมโนประขากรในปี..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และวินเชสเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

สวินดัน

วินดัน (Swindon) เป็นเมืองในวิลต์เชียร์เคาน์ตี สหราชอาณาจักร ภาคตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ อยู่ห่างจากกรุงลอนดอน 130 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตก จากการสำรวจประชากรในปี..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และสวินดัน · ดูเพิ่มเติม »

คอร์นวอลล์

อร์นวอลล์ (Cornwall) หรือ แคร์นอว์ (Kernow) เป็นเทศมณฑลแห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษภายในสหราชอาณาจักร ตั้งอยู่ทางปลายแหลมด้านตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร ทางด้านเหนือและด้านตะวันตกจรดทะเลเคลติก ทางด้านใต้จรดช่องแคบอังกฤษ ด้านตะวันออกติดกับเทศมณฑลเดวอนโดยมีแม่น้ำเทมาร์เป็นเส้นแบ่งเขต คอร์นวอลล์มีประชากรรวมทั้งสิ้นประมาณ 526,300 คน ในเนื้อที่ 3,563 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการปกครองตั้งอยู่ที่เมืองทรูโร ดินแดนบริเวณคอร์นวอลล์เดิมเป็นที่ตั้งหลักแหล่งของชนยุคหินจากนั้นก็เป็นชนยุคสำริดและต่อมาในสมัยยุคเหล็กโดยชาวเคลต์ คอร์นวอลล์เป็นส่วนหนึ่งของบริเวณที่พูดภาษากลุ่มบริทอนิก (Brythonic languages) ที่ตัดขาดจากกลุ่มชนที่พูดภาษากลุ่มเดียวกันในเวลส์หลังจากยุทธการเดอรัม (Battle of Deorham) โดยมักขัดแย้งกับชาวแซกซันแห่งราชอาณาจักรเวสเซกซ์ที่พยายามขยายดินแดนเข้ามา ก่อนที่พระเจ้าแอเทลสตันจะกำหนดเขตแดนระหว่างชาวอังกฤษกับชาวคอร์นิชโดยใช้แม่น้ำทามาร์ คอร์นวอลล์รวมกับอังกฤษเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่การใช้ภาษาคอร์นิชยังคงใช้กันต่อมาจนคริสต์ศตวรรษที่ 18 การฟื้นฟูการใช้ภาษาคอร์นิชอีกครั้งมาเริ่มต้นขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษ 20 และเพิ่มความนิยมมากขึ้นในคริสต์ทศวรรษที่ผ่านมา ในปัจจุบันคอร์นวอลล์ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจเนื่องจากอุตสาหกรรมเหมืองดีบุกและอุตสาหกรรมการประมงเสื่อมโทรมลงและต้องหันมาพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นหลัก ดินแดนคอร์นวอลล์มีชื่อในทางที่มีภูมิทัศน์เป็นดินแดนสูงที่เป็นทุ่งที่มีแต่พืชพรรณเตี้ย ๆ เติบโตอยู่ที่เรียกว่า "ทุ่งมัวร์" (Moorland) และชายฝั่งทะเลที่น่าดูและอากาศที่อุ่นกว่าบริเวณอื่นของอังกฤษ.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และคอร์นวอลล์ · ดูเพิ่มเติม »

ซัสเซกซ์

ซัสเซกซ์ (Sussex) ภาษาอังกฤษเก่าเรียกว่า Sūþseaxe ที่แปลว่าแซกซันใต้ เป็นอดีตเทศมณฑลในภูมิภาคเซาท์อีสต์อิงแลนด์ของอังกฤษ มีอาณาบริเวณใกล้เคียงกับราชอาณาจักรซัสเซกซ์ในอดีต เขตแดนทางด้านเหนือติดกับเทศมณฑลเซอร์รีย์, ด้านตะวันออกติดกับเคนต์, ด้านใต้ติดช่องแคบอังกฤษ และด้านตะวันตกแฮมป์เชอร์ และแบ่งการปกครองท้องถิ่นออกเป็นเวสต์ซัสเซกซ์ และอีสต์ซัสเซกซ์ และนครไบรตันและโฮฟ นครไบรตันและโฮฟใช้ระบบรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวในปี..

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และซัสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศเวลส์

วลส์ (Wales; Cymru, ออกเสียง คัมรึ) เป็น 1 ใน 4 ประเทศที่ประกอบเป็นสหราชอาณาจักร (ได้แก่ อังกฤษ สกอตแลนด์ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ) เวลส์อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ โดยทิศตะวันออกติดกับประเทศอังกฤษ ทิศใต้ติดกับช่องแคบบริสตอล (Bristol Channel) ทิศตะวันตกติดกับช่องแคบจอร์เจส (George's Channel) และทางเหนือติดกับทะเลไอริช คำว่า ราชรัฐเวลส์ ยังคงเป็นที่นิยมใช้ ถึงแม้ว่าเจ้าชายแห่งเวลส์จะไม่มีบทบาททางการเมืองตั้งแต่ปี พ.ศ. 1825 (ค.ศ. 1282) โดยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 2 แห่งอังกฤษทรงเข้ายึดครอง ต่อมาเมืองหลวงของเวลส์ถูกย้ายจากคายร์นาร์วอน (ซึ่งเป็นเมืองของเจ้าชายเวลส์) มาที่คาร์ดิฟฟ์ในปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955).

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และประเทศเวลส์ · ดูเพิ่มเติม »

นอร์มัน

ีแดงเป็นบริเวณที่นอร์มันได้รับชัยชนะ นอกจากนั้นก็ยังได้รับชัยชนะต่อหมู่เกาะมอลตีส และบางส่วนของตูนิเซีย และลิเบีย นอร์มัน (Normans) คือกลุ่มชนผู้ให้นามแก่ดินแดนนอร์ม็องดีซึ่งเป็นบริเวณทางตอนเหนือของฝรั่งเศส ชนนอร์มันสืบเชื้อสายมาจากไวกิงผู้ได้รับชัยชนะต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่แต่เดิมที่เป็นชนแฟรงค์ (Franks) และกอลล์-โรมัน (Gallo-Roman) ความเป็น “ชนนอร์มัน” เริ่มเป็นที่รู้จักกันเป็นครั้งแรกราวครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 10 และค่อยๆ วิวัฒนาการเรื่อยมาในคริสต์ศตวรรษต่อๆ มาจนกระทั่งสูญหายไปจากการเป็นกลุ่มชนที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเองในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 คำว่า “นอร์มัน” มาจากคำว่า “นอร์สเม็น” หรือ “นอร์ธเม็น” (Norsemen หรือ Northmen) ตามชื่อไวกิงจากสแกนดิเนเวียผู้ก่อตั้งนอร์ม็องดี หรือ “นอร์ธมานเนีย” เดิมในภาษาละติน ชนนอร์มันมีบทบาทสำคัญในทางการเมือง, การทหารและวัฒนธรรมของยุโรปและแม้แต่ในตะวันออกใกล้ (Near East) ชนนอร์มันมีชื่อเสียงในทางการรณรงค์และความศรัทธาทางคริสต์ศาสนา และยอมรับการใช้ภาษากอลล์-โรมานซ์ในดินแดนที่ไปตั้งถิ่นฐานอย่างรวดเร็ว สำเนียงการพูดและการใช้ภาษาที่ได้รับมากลายมาเป็นภาษานอร์มันซึ่งเป็นภาษาที่มีความสำคัญทางวรรณกรรม อาณาจักรดยุคแห่งนอร์ม็องดี (Duchy of Normandy) ที่เป็นดินแดนที่เกิดจากสนธิสัญญากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอาณาบริเวณการปกครองที่มีความสำคัญที่สุดบริเวณหนึ่งในยุคกลางของฝรั่งเศส ทางด้านการสงครามชนนอร์มันขยายดินแดนโดยการรุกรานและยึดครองโดยเฉพาะในการยึดครองอังกฤษในการรุกรานและยึดครองอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1066 และการรุกรานและยึดครองอิตาลีตอนใต้ นอกจากในด้านการเมืองและการปกครองแล้วชนนอร์มันก็ยังมีชื่อเสียงทางด้านการสถาปัตยกรรมที่มีพื้นฐานมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ และความสามารถทางด้านดนตรี อิทธิพลของนอร์มันในด้านต่างๆ แผ่ขยายจากบริเวณที่ยึดครองตั้งแต่อาณาจักรครูเสดต่างๆ ในตะวันออกใกล้ไปจนถึงสกอตแลนด์ และเวลส์ ในสหราชอาณาจักร และในไอร์แลนด์ ในการศึกษาประวัติศาสตร์ (historiography) ของรัสเซีย คำว่า “นอร์มัน” มักจะใช้สำหรับชนวารันเจียน (Varangians) ซึ่งมาจากไวกิง ในการศึกษาประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศสก็เช่นกันมักจะเป็นคำที่หมายถึงไวกิงกลุ่มต่างๆ ผู้รุกรานฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ก่อนจะตั้งหลักแหล่งในนอร์ม็องดี.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และนอร์มัน · ดูเพิ่มเติม »

โอลิเวอร์ ครอมเวลล์

อลิเวอร์ ครอมเวลล์ (Oliver Cromwell) (25 เมษายน ค.ศ. 1599 (ปฏิทินเก่า) - 3 กันยายน ค.ศ. 1658 (ปฏิทินเก่า) เป็นผู้นำทางการทหารและทางการเมืองชาวอังกฤษที่เป็นที่รู้จักกันดีในการเกี่ยวข้องกับเปลี่ยนระบบการปกครองของอังกฤษเป็นแบบสาธารณรัฐในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” (Lord Protector) แห่งอังกฤษ, สกอตแลนด์ และไอร์แลนด์ ครอมเวลล์เป็นแม่ทัพคนหนึ่งของกองทัพตัวแบบใหม่ (New Model Army) ผู้ได้รับชัยชนะต่อกองทัพของ ฝ่ายกษัตริย์นิยม (Cavalier) ในสงครามกลางเมืองอังกฤษ หลังจากปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ในปี ค.ศ. 1649แล้ว ครอมเวลล์ก็มีอิทธิพลต่อเครือจักรภพแห่งอังกฤษ อยู่เพียงชั่วระยะเวลาสั้นในขณะเดียวกับที่ได้รับชัยชนะในการปราบปรามสกอตแลนด์และไอร์แลนด์ และปกครองในฐานะ “เจ้าผู้พิทักษ์” ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1653 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1658.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ · ดูเพิ่มเติม »

โอดิน

โอดิน ขี่หลังม้าสเลปนีร์ โอดิน เทพเจ้าสูงสุดของชาวยุโรปเหนือ เป็นเทพเจ้าที่ใฝ่หาความรู้ ยึดมั่นในสัจจะ ช่วยเหลือผู้อื่น และออกผจญภัยเพื่อใช้ชีวิตให้คุ้มค่า รบอย่างกล้าหาญเพื่อให้ได้ตายอย่างมีเกียรติในสนามรบ ให้ลูกหลานนำเรื่องราวของตนไปเล่าขานในฐานะวีรบุรุษ และเพื่อให้ดวงวิญญาณได้รับเลือกให้เข้าร่วมกับกองทัพเทพ ร่วมต่อสู้กับยักษ์ในวันสิ้นโลก (ไวกิ้งเป็นตัวอย่างหนึ่งของชนที่นับถือศาสนานี้) แม้เทพโอดินทรงสร้างโลกแต่พระองค์ก็ไม่สามารถล่วงรู้อนาคตของโลกได้ โดยเฉพาะความลับสูงสุดของจักรวาล การถือกำเนิด ชีวิตหลังความตาย และอนาคตของโลก เพื่อให้ทรงทราบความลับเหล่านี้ จึงทรงทรมาณองค์เองโดยผูกเท้าข้างหนึ่งกับพฤกษาที่เป็นแกนกลางของโลก (อิ๊กก์ดราซิล) แทงหอกที่สีข้าง ทรมาณอยู่ถึง 9 วัน 9 คืน จนถึงกับสิ้นพระชนม์ แต่แล้วก็ทรงฟื้นคืนขึ้นมาใหม่โดยไม่เจ็บปวด แต่เต็มเปี่ยมไปด้วยปรีชาญาณ ทรงบันทึกสิ่งที่พระองค์ค้นพบในรูปแบบอักษรศักดิ์สิทธิ์ 24 ตัว เรียกว่า รูนส์ ซึ่งต่อมาทรงพระราชทานรูนส์แก่ชาวโลกเพื่อให้ใช้ในฐานะเทพพยากรณ์ ในที่สุด ทรงล่วงรู้อนาคต รู้วันสิ้นโลก รู้ว่าในวันข้างหน้า โลกจะถึงกาลแตกดับ แต่ก่อนจะถึงวันนั้น พระองค์ จะทะนุถนอมโลกที่ทรงสร้างอย่างดี เพื่อเมื่อถึงวันโลกาวินาศ จะได้มีเทพและมนุษย์ที่หลงเหลืออยู่ไปสร้างโลกใหม่ที่มีความสุข แต่ยังทรงต้องการความรู้เพิ่มเติม จึงทรงไปที่รากของต้นไม้อี๊กก์ดราซิลเพื่อดื่มน้ำพุวิเศษที่ทำให้กลายเป็นผู้รอบรู้ ที่บ่อน้ำพุนี้มียักษ์ตนหนึ่งเฝ้าอยู่ ชื่อมีเมียร์ หากจะทรงถืออำนาจดื่มน้ำพุเลย ในฐานะจอมเทพ ย่อมทรงกระทำได้ แต่พระองค์ไม่ทำเพราะเห็นว่าเป็นการกระทำของคนโฉด จึงทรงแลกเปลี่ยนดวงตาข้างหนึ่ง เพื่อการได้ดื่มน้ำ ยักษ์ยินยอม แล้วพระองค์ก็ทรงดื่มน้ำนั้นจนหมดบ่อ แม้จะทรงมีหอกวิเศษกุงเนียร์ อันเป็นหอกที่ไม่เคยพลาดเป้าเป็นอาวุธ แต่กลับไม่ค่อยได้ใช้อาวุธของพระองค์เท่าใดนัก ว่ากันว่าพระองค์จะได้ใช้หอกนี้อย่างแท้จริงก็คือในวันทำสงครามแร็คนาร็อก แต่อย่างใดก็ดี ก็ไม่ช่วยให้พระองค์รอดพ้นจากคมเขี้ยวของพญาสุนัขป่าเฟนริล์ได้ ทรงมีสัตว์เลี้ยงคืออีกาคู่ และถือเป็นสัญลักษณ์ของพระองค์ ชื่อ ฮูกีน (ความคิด) และมูนีน (ความจำ) อีกาทั้งสองจะบินไปรอบโลก เพื่อนำข่าวคราวของสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกมาแจ้งแก่พระองค์ และทรงเลี้ยงสุนัขป่าขนสีเงินอีกสองตัวคือ เกรี และ เฟรคี สุนัขทั้งสองมักนั่งอยู่แทบพระบาท คอยกินอาหารที่ถูกนำมาถวาย ด้วยพระองค์ไม่โปรดอะไรนอกจากเหล้าน้ำผึ้ง ทรงมีพาหนะคือม้าสเลปไนร์ ซึ่งมีขาถึง 8 ขา จึงทำให้มันวิ่งเร็วกว่าม้าใดๆ ทรงมีมเหสีเอกคือเทวีฟริกก์ และต่อมาทรงรับเทวีเฟรยาเป็นมเหสีอีกองค์ เทวีฟริกกาทรงเปี่ยมไปด้วยเมตตา ปราศจากความอิจฉาริษยา เทวีเฟรายาจึงเคารพพระนางเป็นอย่างยิ่ง ไม่เคยทำอะไรให้มเหสีเอกต้องขุ่นเคืองพระทัย สำหรับผู้ที่เป็นนักพยากรณ์โดยไพ่ทาโรต์ จะคุ้นเคยกับใพ่ใบหนึ่งที่เป็นภาพของคนห้อยหัว ผูกขาข้างหนึ่งไว้กับต้นไม้ ไพ่ใบนี้ชื่อ Hang Man เชื่อกันว่ามีที่มาจากตำนานของเทพโอดินนั่นเอง ดังนั้นไพ่ใบนี้ จึงมีความหมายของการพยากรณ์ การหยุดนิ่งก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง การอดทนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การรอคอยโอกาสที่ยังมาไม่ถึง หมวดหมู่:เทพเจ้า หมวดหมู่:เทพปกรณัมนอร์ส หมวดหมู่:เทพแห่งสายฟ้า.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และโอดิน · ดูเพิ่มเติม »

เอสเซกซ์

อสเซ็กซ์ (Essex) เป็นมณฑลหนึ่งทางตะวันออกของอังกฤษ เมืองเอกคือ เชล์มสฟอร์ด (Chelmsford) จุดที่สูงที่สุดของมณฑลนี้คือที่ Chrishall Common ใกล้กับหมู่บ้านแลงลีย์ (Langley) ซึ่งมีความสูง 144.6 เมตร.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และเอสเซกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เดวอน

วอน (ภาษาอังกฤษ: Devon) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่มีเนื้อที่มากที่สุดที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร เดวอนบางครั้งก็เรียกว่า “เดวอนเชอร์” แต่เป็นชื่อที่ไม่เป็นทางการ เดวอนมีเขตแดนติดกับมณฑลคอร์นวอลล์ทางตะวันตกและมณฑลดอร์เซ็ทกับมณฑลซอมเมอร์เซ็ททางตะวันออก ชายฝั่งทะเลด้านใต้เป็น ช่องแคบอังกฤษทางด้านเหนือเป็นช่องแคบบริสตอลซึ่งทำให้เป็นมณฑลเดียวในอังกฤษที่มีชายฝั่งทะเลสองด้านที่แยกกัน เดวอนมีหน่วยรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวสองหน่วย: เมืองท่าพลิมัธและทอร์เบย์ที่เป็นกลุ่มบริเวณที่ท่องเที่ยวชายทะเลนอกไปจากเทศบาลการปกครองของมณฑลเดวอนเอง พลิมัธเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุด ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นชนบทรวมทั้งบริเวณอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีประชากรมากเป็นลำดับสามของบรรดามณฑลต่างๆ โดยมีประชากรทั้งหมด 1,109,900 คน โดยมีประชากรถัวเฉลี่ย 365 คนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นบริเวณที่มีประชาชนเบาบางเมื่อเทียบกับจำนวนเฉลี่ยในบริเวณอื่น เดวอนแบ่งการปกครองเป็นสิบแขวง: เอ็กซิเตอร์, อีสต์เดวอน, มิดเดวอน, นอร์ธเดวอน, ทอร์ริดจ์, เวสต์เดวอน, เซาท์แธมส, เทนบริดจ์, พลิมัธ และทอร์เบย์ โดยมีเมืองมณฑลอยู่ที่ เอ็กซิเตอร์ เดวอนเป็นที่ตั้งของชายฝั่งทะเลมรดกโลกที่เป็นที่เรียกว่าฝั่งทะลเจอราสิค (Jurassic Coast) ที่มีความสำคัญทางธรณีวิทยาและลักษณะทางภูมิศาสตร์ เดวอนและคอร์วอลล์เป็นที่รู้จักันในชื่อ “Cornubian massif” ซึ่งเป็นลักษณะธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ของดาร์ทมัวร์ และเอ็กซมัวร์ที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เดวอนมีเมืองท่องเที่ยวทางชายทะเลและมีเมืองสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายเมือง และมีอากาศที่ไม่รุนแรงซึ่งทำให้เป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของมณฑล.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และเดวอน · ดูเพิ่มเติม »

เคนต์

นต์ (Kent) เป็นมณฑลในอังกฤษในสหราชอาณาจักรที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของสหราชอาณาจักร และเป็นหนึ่งใน “มณฑลรอบนครลอนดอน” (Home Counties) เคนต์มีเขตแดนติดกับอีสต์ซัสเซ็กซ์, เซอร์รีย์ และนครลอนดอนและปริมณฑล และมีปากแม่น้ำเทมส์ขวางกับเอสเซ็กซ์ มณฑลภูมิศาสตร์เคนต์ประกอบด้วยเทศบาลมณฑลเคนต์ และรัฐบาลท้องถิ่นระดับเดียวของเมดเวย์ เคนต์ตั้งอยู่ไม่ไกลจากฝรั่งเศสที่แยกโดยช่องแคบอังกฤษและครึ่งทางระหว่างอุโมงค์ช่องแคบอังกฤษl เคนต์แบ่งการปกครองเป็นสิบสามแขวง: เซเวนโอกส์, ดาร์ทฟอร์ด, เกรฟแชม, ทันบริดจ์และมอลลิง, เมดเวย์, เมดสตัน, ทันบริดจ์เวลล์ส, สเวล, แอชฟอร์ด, แคนเตอร์บรี, เชปเวย์, เธนเน็ต และ โดเวอร์โดยมีเมืองหลวงของมณฑลอยู่ที่ เมดสตัน เดิมโรเชสเตอร์ และแคนเตอร์บรี เป็นเมืองที่มีฐานะเป็นนครแต่ปัจจุบันเมืองหลังเท่านั้นที่ยังเป็นนคร ที่ตั้งของเคนต์ระหว่างลอนดอนและแผ่นดินใหญ่ยุโรปทำให้เป็นมณฑลหน้าด่านและเป็นยุทธภูมิในความขัดแย้งหลายครั้งเช่นในระหว่างยุทธการแห่งบริเตนระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง เคนต์ตะวันออกได้ชื่อว่าเป็น “Hell Fire Corner” ระหว่างความขัดแย้ง ระหว่าง 800 ปีที่ผ่านมาอังกฤษพึ่งเคนต์ในด้านกองเรือ ท่าเรือซิงก์ (Cinque Ports) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 14 และอู่เรือแช็ทแธมในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึง 20 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยและความมั่นคงของอังกฤษ ฝั่งทะเลฝรั่งเศสสามารถมองเห็นได้จากไวท์คลิฟฟ์สที่โดเวอร์ ในวันที่อากาศแจ่มใส เคนต์เป็นอาณาบริเวณที่มีการเกษตรกรรมในด้านสวนผลไม้และการปลูกฮอปที่ใช้ในการทำเบียร์ เคนต์ได้ชื่อว่าเป็น “สวนแห่งอังกฤษ” The Guardian 1 June 2006 BBC 1 June 2006 อุตสาหกรรมหลักของเคนต์ก็ได้แก่การทำซีเมนต์ สินค้ากระดาษ และการสร้างเรือบินแต่ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้ลดถอยลง ทางด้านใต้และตะวันออกขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการเกษตรกรรม.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และเคนต์ · ดูเพิ่มเติม »

เซอร์รีย์

เซอร์รีย์ (Surrey) คือ มณฑลหนึ่งทางตอนใต้ของสหราชอาณาจักร เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลบาร์คเชอร์ เกรตเตอร์ลอนดอน (Greater London) แฮมป์เชอร์ เค้นท์ อีสต์ซัสเซกซ์ และเวสต์ซัสเซกซ์ เมืองเอกคือกิลด์ฟอร์ด หมวดหมู่:สหราชอาณาจักร หมวดหมู่:เซอร์รีย์.

ใหม่!!: เอ็กเบิร์ต กษัตริย์แห่งเวสเซ็กซ์และเซอร์รีย์ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

สมเด็จพระเจ้าเอ็กเบิร์ต แห่งเวสเซ็กซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »