โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เอแจ็กซ์

ดัชนี เอแจ็กซ์

อแจ็กซ์ (AJAX: Asynchronous JavaScript and XML) เป็นกลุ่มของเทคนิคในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้ความสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น โดยการรับส่งข้อมูลในฉากหลัง ทำให้ทั้งหน้าไม่ต้องโหลดใหม่ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยทำให้เพิ่มการตอบสนอง ความรวดเร็ว และการใช้งานโดยรวม เอแจ็กซ์นั้นไม่ใช่เทคโนโลยีใหม่ แต่เป็นเทคนิคที่ได้ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างที่มีอยู่แล้วรวมกันดังต่อไปนี้.

32 ความสัมพันธ์: พ.ศ. 2545พ.ศ. 2548กูเกิลมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ยูอาร์แอลรูบีออนเรลส์อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์อีซีเอ็มเอสคริปต์จาวาสคริปต์จีเมลข้อความธรรมดาด็อมคั่นหน้านักพัฒนาซอฟต์แวร์โปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมประยุกต์บนเว็บไมโครซอฟท์เว็บ 2.0เว็บเบราว์เซอร์เว็บเซิร์ฟเวอร์เสิร์ชเอนจินเอชทีทีพีเอชทีเอ็มแอลเอกซ์เอชทีเอ็มแอลเอกซ์เอ็มแอลเอเอสพีดอตเน็ต เอแจ็กซ์เจซันเทอร์โบเกียร์เค้กพีเอชพีCSSDojo ToolkitXMLHttpRequest

พ.ศ. 2545

ทธศักราช 2545 V 2002 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2002 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และพ.ศ. 2545 · ดูเพิ่มเติม »

พ.ศ. 2548

ทธศักราช 2548 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 2005 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันเสาร์ตามปฏิทินเกรโกเรียน และเป็น.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และพ.ศ. 2548 · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน"." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน วันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และกูเกิล · ดูเพิ่มเติม »

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์

มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ (Mozilla Firefox) รู้จักในชื่อ ไฟร์ฟอกซ์ เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัท มอซิลลา ปัจจุบันไฟร์ฟอกซ์เป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมอันดับ 3 รองจากอินเทอร์เน็ต เอกซ์พลอเรอร์และกูเกิล โครม และเมื่อแบ่งตามรุ่นของแต่ละเบราว์เซอร์ ไฟร์ฟอกซ์ รุ่น 3.5 เป็นเบราว์เซอร์ที่มีคนใช้มากที่สุดในโลก ไฟร์ฟอกซ์มีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ทั่วโลกร้อยละ 24.61 และมีส่วนแบ่งในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ในประเทศไทยร้อยละ 15.28 (ข้อมูลเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2552) 21 ตุลาคม 2554 ไฟร์ฟอกซ์ใช้เกกโกตัวเรนเดอริงเอนจินโอเพนซอร์ซซึ่งจัดการตามมาตรฐานเว็บสอดคล้องกับทางดับเบิลยูธรีซีกำหนดไว้ และเพิ่มคำสั่งพิเศษเข้าไป คำสั่งไฟร์ฟอกซ์เป็นซอฟต์แวร์ที่เปิดให้โปรแกรมเมอร์ที่เรียกว่า "แอด-ออนส์" ทำงานร่วมกับตัวโปรแกรม โดยปัจจุบันมีมากกว่า 2,000 ตัว โดยตัวที่นิยมมากที่สุดตามลำดับคือ ฟอกซีทูนส์ (ควบคุมโปรแกรมเล่นเพลง) สตัมเบิลอัปออน (ค้นหาเว็บไซต์) แอดบล็อกพลัส (บล็อกโฆษณา) ดาวน์เดมออล! (ดาวน์โหลด) และเว็บเดเวลอปเปอร์ (เครื่องมือสำหรับทำเว็บ) ไฟร์ฟอกซ์ทำงานได้ในหลายระบบปฏิบัติการรวมถึง วินโดวส์ แมคโอเอสเท็น ลินุกซ์ รุ่นปัจจุบันคือรุ่น 12.0 ออกเมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2555 ตัวโค้ดโปรแกรมเขียนขึ้นในภาษา C++ XUL XBL และ จาวาสคริปต์ โดยโค้ดทั้งหมดเปิดให้ใช้ฟรีภายใต้ลิขสิทธิ์ MPL GPL / LGPL และ Mozilla EULA โดยที่ในรุ่นนี้ได้ทำารแก้Bugในรุ่น9.0ที่ทำให้เบราว์เซอร์Crashบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งTools Barบางตัวลงไป ไฟร์ฟอกซ์ในปัจจุบันรับรองการใช้ 75 ภาษ.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ · ดูเพิ่มเติม »

ยูอาร์แอล

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ Tim Berners-Lee, Roy T. Fielding, Larry Masinter.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และยูอาร์แอล · ดูเพิ่มเติม »

รูบีออนเรลส์

รูบีออนเรลส์ (Ruby on Rails: RoR) หรือนิยมเรียกสั้นๆ ว่า เรลส์ (Rails) เป็นระบบเฟรมเวิร์กสำหรับเว็บแอปพลิเคชันแบบโอเพนซอร์ส ที่พัฒนาด้วยภาษารูบี โดยอิงแนวความคิดแบบ Model-View-Controller (MVC) เป็นสถาปัตยกรรมพื้นฐาน รูบีออนเรลส์ มีชื่อเสียงจากความง่ายในการใช้งาน โดยใช้การเขียนโปรแกรมจำนวนน้อยบรรทัดกว่า และมีการระบุค่าตั้งน้อยกว่าเฟรมเวิร์กที่ออกมาก่อนหน้าตัวอื่นๆ การติดตั้งรูบีออนเรลส์ทำได้โดยผ่านระบบ RubyGems ซึ่งเป็นระบบการจัดการส่วนประกอบในภาษารูบี้อย่างเป็นทางการ รูบีออนเรลส์ เริ่มพัฒนาโดย David Heinemeier Hansson เพื่อใช้กับเครื่องมือจัดการโครงการชื่อ Basecamp ของบริษัท 37 Signals ที่เขาทำงานอยู่รูบีออนเรลส์ได้เผยแพร่สู่สาธารณชนเมื่อเดือนกรกฎาคม..

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และรูบีออนเรลส์ · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์

วินโดวส์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ (Windows Internet Explorer) (ก่อนนี้เรียกว่า ไมโครซอฟท์ อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์) โดยมีชื่อย่อว่า ไออี (IE) เป็นเว็บเบราว์เซอร์ของไมโครซอฟท์และเป็นซอฟต์แวร์ที่มีให้พร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ไออีเป็นเว็บเบราว์เซอร์ที่มีนิยมคนนิยมใช้มากเป็นตัวหนึ่ง โดยในปี 2545 มีสัดส่วนการใช้งานในตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประมาณ 95% และมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากมีคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นจนถึงประมาณ 46% ในปี..

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ · ดูเพิ่มเติม »

อีซีเอ็มเอสคริปต์

อีซีเอ็มเอสคริปต์ (ECMAScript) เป็นภาษาสคริปต์ ซึ่งกำหนดมาตรฐานโดย Ecma International ด้วยข้อกำหนดทางเทคนิค ECMA-262 ภาษา ECMAScript นิยมใช้แพร่หลายในการทำเว็บ และมักสับสนกับ JavaScript หรือ JScript ซึ่งภาษาทั้งสองสำเนียงล้วนเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน ECMAScript.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และอีซีเอ็มเอสคริปต์ · ดูเพิ่มเติม »

จาวาสคริปต์

วาสคริปต์ (JavaScript) เป็นภาษาสคริปต์ ทีมีลักษณะการเขียนแบบโปรโตไทพ (Prototyped-based Programming) ส่วนมากใช้ในหน้าเว็บเพื่อประมวลผลข้อมูลที่ฝั่งของผู้ใช้งาน แต่ก็ยังมีใช้เพื่อเพิ่มเติมความสามารถในการเขียนสคริปต์โดยฝังอยู่ในโปรแกรมอื่น ๆ ซัน ไมโครซิสเต็มส์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า "JavaScript" โดยมันถูกนำไปใช้ภายใต้สัญญาอนุญาตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีโดย เน็ตสเคป และมูลนิธิมอซิลล.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และจาวาสคริปต์ · ดูเพิ่มเติม »

จีเมล

ีเมล (Gmail) เป็นบริการอีเมลฟรีของกูเกิลผ่านทางระบบเว็บเมล POP และ IMAP โดยในขณะที่โปรแกรมยังอยู่ในระยะพัฒนา (บีตา) จีเมลเปิดให้ผู้ที่ได้รับคำเชิญทดลองใช้เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 และให้บริการแก่บุคคลทั่วไปเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลังจากนั้นจึงออกจากระยะพัฒนาพร้อมกับบริการอื่น ๆ ของกูเกิล แอปส์เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปัจจุบันจีเมลรับรองการใช้งาน 54 ภาษารวมถึงภาษาไทย จีเมลเป็นผู้บุกเบิกการใช้ AJAX ที่ใช้งานจาวาสคริปต์และการใช้งานผ่านทางคีย์บอร์ด ทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ปัจจุบัน จีเมลเป็นบริการอีเมล์บนเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก กล่าวคือมากกว่า 425 ล้านคน.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และจีเมล · ดูเพิ่มเติม »

ข้อความธรรมดา

ตัวอย่างข้อความธรรมดา ข้อความธรรมดา หรือ เพลนเท็กซ์ (plain text) ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ หมายถึง ข้อความปกติทั่วไปที่ไม่มีการจัดรูปแบบใด ๆ เช่น "ข้อความตัวหนาและตัวเอียง ในลักษณะนี้เรียกว่าข้อความธรรมดา" ส่วนข้อความต่อไปนี้เรียกว่า ข้อความจัดรูปแบบ เช่น "ข้อความตัวหนาและตัวเอียง ในลักษณะนี้ไม่เรียกว่าข้อความธรรมดา" ข้อความธรรมดาในทางคอมพิวเตอร์สามารถหมายถึง ไฟล์ที่มีเนื้อหาเป็นข้อความที่ไม่ได้จัดรูปแบบใด ๆ เป็นข้อมูลที่มนุษย์สามารถอ่านออก ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บในไฟล์จะอยู่รูปของรหัสแอสกีหรือรหัสข้อความอื่น ๆ ข้อความธรรมดายังหมายถึงไฟล์ข้อมูลที่สามารถใช้โปรแกรมแก้ไขข้อความทั่ว ๆ ไป เช่น Notepad (สำหรับ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์), edlin (สำหรับ ไมโครซอฟท์ ดอส), ed, vi, Emacs, pico, nano (สำหรับ ยูนิกซ์, ลีนุกซ์), SimpleText (สำหรับ แมคโอเอส) เป็นต้น ในการแก้ไขข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์เพิ่มตัวอักษร ลบตัวอักษร หรือแก้ไขตัวอักษร และทำการจัดเก็บไฟล์นั้นได้ หมวดหมู่:รูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และข้อความธรรมดา · ดูเพิ่มเติม »

ด็อม

Document Object Model ด็อม (DOM: Document Object Model แบบจำลองอ็อบเจกต์เอกสาร) เป็นวิธีการอธิบายว่าข้อมูลต่างๆ ในเอกสาร HTML หรือ XML จัดเรียงตัวแบบเชิงวัตถุ (object oriented) อย่างไร ด็อมเป็นวิธีในการสร้าง API ให้สามารถควบคุมเนื้อหา โครงสร้าง และรูปแบบของเอกสารได้ เดิมทีนั้นเว็บเบราว์เซอร์แต่ละค่ายมีการพัฒนาด็อมโดยใช้จาวาสคริปต์ที่แตกต่างกันออกไป ทาง W3C จึงได้ร่างมาตรฐานกลางที่เรียกว่า W3C Document Object Model (W3C DOM) โดยไม่ขึ้นกับภาษาโปรแกรมมิ่งภาษาใดภาษาหนึ่ง การจัดข้อมูลในรูปแบบด็อมนั้นใช้แผนภูมิต้นไม้ในการบอกความสัมพันธ์ระหว่างวัตถุแต่ละชิ้น อย่างไรก็ตาม ด็อมมีจุดอ่อนในเรื่องประสิทธิภาพเมื่อต้องประมวลผลเอกสารขนาดใหญ่ ซึ่งด็อมจำเป็นต้องอ่านเอกสารให้ครบทั้งหมดก่อน จึงจะเริ่มประมวลผล ข้อเสียนี้จึงเกิดการออกแบบ SAX ที่ใช้วิธีอ่านเอกสารทีละส่วนแทน ตามมาตรฐานของ W3C นั้น ได้แบ่งด็อมเป็นระดับชั้น (level) ที่มีข้อกำหนดแตกต่างกันออกไป ปัจจุบันมี Level 0-3.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และด็อม · ดูเพิ่มเติม »

คั่นหน้า

ั่นหน้า หรือ บุ๊กมาร์ก (bookmark) คือคำสั่งหนึ่งที่ใช้บันทึกการเชื่อมโยงไปที่ยูอาร์แอล (URL) ใดๆ ในเบราว์เซอร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการจดจำตำแหน่งของหน้านั้นๆ โดยเก็บค่าคั่นหน้าไว้ในเครื่องของผู้ใช้ เปรียบเทียบเหมือนการสอดที่คั่นหนังสือในหน้าที่อ่านค้างไว้ คั่นหน้าเริ่มมีการใช้ตั้งแต่เบราว์เซอร์รุ่นแรก ๆ อย่างโมเสก จนถึงในปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ ต่างๆ ที่ช่วยในการจัดเรียงคั่นหน้า โปรแกรมค้นดูอินเทอร์เน็ต เช่น อินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ คั่นหน้าจะเรียกว่า เฟเวอริต (favorite) ส่วนโมเสกใช้ชื่อว่า ฮอตลิสต์ (hotlist) เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีความสามารถใหม่เรียกว่า ไลฟ์บุ๊กมาร์ก (live bookmark คั่นหน้าแบบถ่ายทอดสด) ใน โปรแกรมไฟร์ฟอกซ์ และโปรแกรมค้นดูอินเทอร์เน็ตตัวใหม่ที่วางแผนออกในปี พ.ศ. 2549 จะมีความสามารถในการอ่านอาร์เอสเอส (RSS) ที่เปลี่ยนไปตามการเปลี่ยนแปลงภายในเว็บนั้น เช่น การอ่านหัวเรื่อง หรือการอ่านหัวข้อบล็อก โดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปดูในเว็บ ในปัจจุบัน ผู้พัฒนาคั่นหน้าที่แยกต่างหากและได้รับความนิยมมากได้แก่ เว็บไซต์ del.icio.us (อ่านว่า ดิ-ลิ-เชียส) ปรับปรุงระบบการใช้คั่นหน้าโดยเก็บข้อมูลบนเว็บเพื่อสะดวกในการใช้ คั่นหน้าออนไลน์ (online bookmark) และเชื่อมโยงระหว่างคั่นหน้าของผู้ใช้แต่ละบุคคล.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และคั่นหน้า · ดูเพิ่มเติม »

นักพัฒนาซอฟต์แวร์

ซึ่งในกลุ่มนี้อาจรวมถึงโปรแกรมเมอร์ฟรีแลนซ.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

รหัสต้นฉบับ "Hello, World" ในภาษาซี สนิปเพตที่รู้จักกันครั้งแรกในหนังสือ ''เดอะซีโปรแกรมมิงแลงกวิจ'' เขียนโดยไบรอัน เคอร์เนแฮน และเดนนิส ริตชี ในปี ค.ศ. 1974 โปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer program) เป็นชุดคำสั่ง ที่ปฏิบัติงานเฉพาะเมื่อคอมพิวเตอร์สั่งกระทำการ (execute) คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งต้องการใช้โปรแกรมในการสั่งงาน และกระทำตามชุดคำสั่งในหน่วยประมวลผลกลาง โปรแกรมคอมพิวเตอร์มักเขียนโดยนักเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาโปรแกรม คอมไพเลอร์สามารถแปลงรหัสเครื่อง (machine code) ที่ประกอบด้วยชุดคำสั่งที่คอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้โดยตรงได้จากรหัสต้นฉบับ (source code) แบบมนุษย์อ่านได้ หรืออีกทางหนึ่ง โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถกระทำการได้ด้วยอินเทอร์พรีเตอร์ วนหนึ่งของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่กระทำงานงานหนึ่งที่นิยามไว้อย่างดี เรียกว่าขั้นตอนวิธี (algorithm) ชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ คลัง (library) และข้อมูลที่เกี่ยวข้องเรียกว่าซอฟต์แวร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์อาจจัดประเภทได้จากฟังก์ชันยาวหลายบรรทัด เช่น โปรแกรมประยุกต์ หรือซอฟต์แวร์ร.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดตและดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่ายและติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิก.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์

มโครซอฟท์ (Microsoft) เป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก มีฐานการผลิตอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ รัฐวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ที่มีกำลังการตลาดมากที่สุดคือ ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และ ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ จุดเริ่มต้นของบริษัทคือการพัฒนาและออกจำหน่ายตัวแปลภาษาเบสิก สำหรับเครื่องแอทแอร์ 8800 หลังจากนี้น ไมโครซอฟท์เริ่มมีอิทธิพลต่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์ภายในบ้าน โดยการออกระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ดอสเมื่อช่วงกลางยุค 1980 ในสายการผลิตของไมโครซอฟท์ วินโดวส์ โดยได้รับความนิยมจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี นักวิจารณ์ผู้หนึ่งกล่าวถึงเป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์ว่า ไมโครซอฟท์ได้เริ่มครอบงำตลาดซอฟต์แวร์อื่นๆ โดยไมโครซอฟท์มีกิจการอื่นๆ ของตัวเองเช่น MSNBC (ดำเนินธุรกิจเคเบิลทีวี), เอ็มเอสเอ็น (ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต),และเอ็นคาร์ทาร์ (ดำเนินธุรกิจสารานุกรมออนไลน์) บริษัทยังดำเนินกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์อีกด้วย เช่น เมาส์ และอุปกรณ์ความบันเทิงต่าง ๆ เช่น Xbox, Xbox 360, Xbox One, ซูน และ เอ็มเอสเอ็น ทีวี.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และไมโครซอฟท์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บ 2.0

แท็กคลาวด์ แสดงผลของเว็บ 2.0 เว็บ 2.0 มีความเชื่อมโยงกับโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ ซึ่งมีลักษณะส่งเสริมให้เกิดการแบ่งปันข้อมูล การพัฒนาในด้านแนวความคิดการออกแบบที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลาง (User-centered design) และ การร่วมสร้างข้อมูลในโลกของอินเทอร์เน็ตเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บไซต์ที่ออกแบบโดยใช้หลักการของเว็บ 2.0 ทำให้กลุ่มผู้ใช้งานสามารถปฏิสัมพันธ์และร่วมมือกันในลักษณะของสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มผู้ใช้งานเป็นผู้สร้างเนื้อหาขึ้นเอง ต่างจาก เว็บ 1.0 ที่กลุ่มผู้ใช้ถูกจำกัดบทบาทโดยทำได้แค่เพียงการเยี่ยมชม หรือดูเนื้อหาที่ผู้ใช้สนใจ สำหรับตัวอย่างของเว็บ 2.0 ได้แก่ บล็อก เครือข่ายสังคมออนไลน์ สารานุกรมเสรี วิดีโอแชริง โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ แมชอัพส์ และ โฟล์คโซโนมี คำว่า "เว็บ 2.0" เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง หลังจากงานประชุม โอไรล์ลีย์มีเดีย เว็บ 2.0 ที่จัดขึ้นในปี 2547 คำว่า "เว็บ 2.0" นั้นเป็นคำกล่าวเรียกลักษณะของเวิลด์ไวด์เว็บในปัจจุบัน ตามลักษณะของผู้ใช้งาน โปรแกรมเมอร์และผู้ให้บริการ ซึ่งตัวเว็บ 2.0 เองนั้นไม่ได้กล่าวถึงการพัฒนาทางด้านเทคนิคแต่อย่างใด แต่เป็นคำที่กล่าวถึงลักษณะโดยรวมที่ผู้พัฒนาเว็บเปลี่ยนแปลงวิธีการออกแบบเว็บไซต์ และผู้ใช้ปลายทางเปลี่ยนแปลงบทบาทการใช้งานเว็บ ทิม เบอร์เนิร์สลี ผู้เริ่มแนวความคิด และสร้างเวิลด์ไวด์เว็บ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ลักษณะทางเทคนิคของเว็บ 2.0 นั้นเกิดขึ้นมานานกว่าคำว่า "เว็บ 2.0" จะถูกนำมาเรียกใช้ วิสัยทัศน์เริ่มแรกของเบอร์เนิร์ส ลี คือการสร้างสื่อที่เอื้อต่อการร่วมสรรค์สร้างของผู้ใช้งาน เป็นสื่อกลางที่ผู้ใช้งานไม่เพียงแต่รับ แต่สามารถร่วมแบ่งปันข้อมูลข่าวสารด้ว.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเว็บ 2.0 · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเซิร์ฟเวอร์

ว็บเซิร์ฟเวอร์ สามารถมีได้ 2 ความหมาย คือ.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเว็บเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสิร์ชเอนจิน

ร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา คือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละร.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเสิร์ชเอนจิน · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีทีพี

กณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้ ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme).

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอชทีเอ็มแอล

อกซ์เอชทีเอ็มแอล (XHTML: Extensible Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปที่มีลักษณะการใช้งานเหมือน HTML แต่จะมีความเข้มงวดในเรื่องโครงสร้างภาษา โดยมีวากยสัมพันธ์สอดคล้องกับ XML เนื่องจาก HTML นั้นใช้โครงสร้างของ SGML ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น ในขณะที่ XHTML นั้นพัฒนาจาก XML ซึ่งเป็นภาษาที่คล้ายกับ SGML แต่เข้มงวดมากกว่า เราสามารถมองว่า XHTML เป็นการแปลง HTML เดิมให้มาอยู่ในโครงสร้างของ XML ก็ได้ XHTML 1.0 ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ World Wide Web Consortium (W3C) ในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543 และกลายมาเป็น W3C recommendation เมื่อ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2544 อย่างไรก็ตาม XHTML 2.0 จะหยุดภายในสิ้นปี 2552 โดยหวังจะพัฒนา HTML 5 แทนที.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเอกซ์เอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอกซ์เอ็มแอล

อกซ์เอ็มแอล (XML: Extensible Markup Language ภาษามาร์กอัปขยายได้) เป็นภาษามาร์กอัปสำหรับการใช้งานทั่วไป พัฒนาโดยW3C โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็น สิ่งที่เอาไว้ติดต่อกันในระบบที่มีความแตกต่างกัน (เช่นใช้คอมพิวเตอร์มี่มีระบบปฏิบัติการคนละตัว หรืออาจจะเป็นคนละโปรแกรมประยุกต์ที่มีความต้องการสื่อสารข้อมูลถึงกัน) นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างภาษามาร์กอัปเฉพาะทางอีกขั้นหนึ่ง XML พัฒนามาจาก SGML โดยดัดแปลงให้มีความซับซ้อนลดน้อยลง XML ใช้ในแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แตกต่างกัน และเน้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต XML ยังเป็นภาษาพื้นฐานให้กับภาษาอื่นๆ อีกด้วย (ยกตัวอย่างเช่น Geography Markup Language (GML), RDF/XML, RSS, MathML, Physical Markup Language (PML), XHTML, SVG, MusicXML และ cXML) ซึ่งอนุญาตให้โปรแกรมแก้ไขและทำงานกับเอกสารโดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในภาษานั้นมาก่อน.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเอกซ์เอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอเอสพีดอตเน็ต เอแจ็กซ์

250px เอเอสพีดอตเน็ต เอแจ็กซ์ (ASP.NET AJAX) คือเฟรมเวิร์กเสริมสำหรับเอเอสพีดอตเน็ตพัฒนาโดยไมโครซอฟท์ เพื่อเพิ่มความสามารถเอแจ็กซ์ ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นสองส่วนคือ.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเอเอสพีดอตเน็ต เอแจ็กซ์ · ดูเพิ่มเติม »

เจซัน

ซัน (JSON: JavaScript Object Notation แปลว่า สัญกรณ์วัตถุจาวาสคริปต์) เป็นฟอร์แมตสำหรับแลกเปลี่ยนข้อมูลคอมพิวเตอร์ ฟอร์แมต JSON นั้นอยู่ในรูปข้อความธรรมดา (plain text) ที่ทั้งมนุษย์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้ มาตรฐานของฟอร์แมต JSON คือ มี Internet media type เป็น application/json และมีนามสกุลของไฟล์เป็น.json ปัจจุบัน JSON นิยมใช้ในเว็บแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะ AJAX โดย JSON เป็นฟอร์แมตทางเลือกในการส่งข้อมูล นอกเหนือไปจาก XML ซึ่งนิยมใช้กันอยู่แต่เดิม สาเหตุที่ JSON เริ่มได้รับความนิยมเป็นเพราะกระชับและเข้าใจง่ายกว่า XML.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเจซัน · ดูเพิ่มเติม »

เทอร์โบเกียร์

ทอร์โบเกียร์ (TurboGears) เป็นเฟรมเวิร์กขนาดใหญ่ สำหรับพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่ใช้ภาษาไพทอน สร้างขึ้นโดยการนำเอาส่วนโปรแกรมที่พัฒนาเรียบร้อยแล้ว เช่น MochiKit SQLObject CherryPy และ Kid ประกอบกับโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาสำหรับเทอร์โบเกียร์โดยเฉพาะมารวมกัน ทำให้ส่วนโปรแกรมต่าง ๆ ทำงานร่วมกันได้โดยง่าย เทอร์โบเกียร์ออกแบบตามสถาปัตยกรรม Model-view-controller คล้ายกับ Struts และ Ruby on Rails เทอร์โบเกียร์ออกแบบมาเพื่อการสร้างโปรแกรมประยุกต์บนเว็บอย่างรวดเร็วในภาษาไพทอน.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเทอร์โบเกียร์ · ดูเพิ่มเติม »

เค้กพีเอชพี

้กพีเอชพี (CakePHP) คือ เฟรมเวิร์กที่เขียนขึ้นโดยใช้ภาษาพีเอชพี ซึ่งเป็นตัวช่วยสำหรับพัฒนาเว็บโดยใช้ภาษา PHP และถูกออกแบบบนพื้นฐาน MVC (Model, View, Controller) กล่าวคือ CakePHP ถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้ภาษาพีเอชพี ซึ่งช่วยให้สามารถพัฒนาเว็บได้เร็วยิ่งขึ้น โดยเน้นที่การพัฒนาระบบเว็บที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาในการพัฒนามาก แต่หากใช้ CakePHP ก็จะสามารถพัฒนาได้รวดเร็วยิ่งขึ้นเพราะ CakePHP มีตัวช่วย และยังเขียน Code เพียงเล็กน้อยก็สามารถทำงานได้ (Write less do more).

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และเค้กพีเอชพี · ดูเพิ่มเติม »

CSS

CSS อาจหมายถึง; ในทางคอมพิวเตอร.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และCSS · ดูเพิ่มเติม »

Dojo Toolkit

Dojo Toolkit เป็น โอเพนซอร์ส DHTML ทูลคิท ที่เขียนด้วยจาวาสคริปต์ ช่วยในการพัฒนาเอแจ็กซ์ในเว็บแอปพลิเคชัน ริเริ่มโดย อเล็กซ์ รัสเสล (Alex Russell) ใน ปี..

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และDojo Toolkit · ดูเพิ่มเติม »

XMLHttpRequest

XMLHttpRequest (XHR) เป็นเอพีไอที่สามารถเรียกใช้ได้จาก จาวาสคริปต์ เจสคริปต์ วีบีสคริปต์ และภาษาสคริปต์อื่นๆ ในการแลกเปลี่ยน และปรับรูปแบบ XML จากเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้ HTTP ซึ่งสร้างการเชื่อมต่อระหว่างเว็บเบราว์เซอร์ (Client-Side) กับ เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Server-Side) XMLHttpRequest นั้นถือเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันโดยใช้เทคนิค AJAX.

ใหม่!!: เอแจ็กซ์และXMLHttpRequest · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

AJAXเอแจ๊กซ์

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »