โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ยูอาร์แอล

ดัชนี ยูอาร์แอล

ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต หรือ โปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล (Uniform Resource Locator, Universal Resource Locator) เรียกโดยย่อว่า ยูอาร์แอล (URL) คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิคและการอภิปรายทั่วไป มักจะใช้ยูอาร์แอลแทนความหมายที่คล้ายกับยูอาร์ไอ Tim Berners-Lee, Roy T. Fielding, Larry Masinter.

24 ความสัมพันธ์: ชื่อโดเมนกูเกิลระบบปฏิบัติการรายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพีวากยสัมพันธ์ (ภาษาโปรแกรม)อินเทอร์เน็ตอีเมลทวิภาคทิม เบอร์เนิร์ส-ลีดีเอ็นเอสแอมเพอร์แซนด์โพรโทคอลโลเคิลโฮสต์โปรแกรมประยุกต์บนเว็บไมโครซอฟท์ วินโดวส์เลขที่อยู่ไอพีเว็บเบราว์เซอร์เว็บเพจเว็บเซิร์ฟเวอร์เสมอภาคเอชทีเอ็มแอลเอฟทีพีเซตย่อยเนมสเปซ

ชื่อโดเมน

ื่อโดเมน (domain name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมพิวเตอร์ (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของที่อยู่เว็บไซต์ หรืออีเมลแอดเดรส) เพื่อไปค้นหาในระบบโดเมนเนมซีสเทม เพื่อระบุถึงเลขที่อยู่ไอพี ของชื่อนั้น ๆ เป็นชื่อที่ผู้จดทะเบียนระบุให้กับผู้ใช้เพื่อเข้ามายังเว็บไซต์ของตน บางครั้งอาจใช้ "ที่อยู่เว็บไซต์" แทนได้ ชื่อโดเมนเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการจดจำ เนื่องจากไอพีแอดเดรสนั้นจดจำได้ยากกว่า และเมื่อการเปลี่ยนแปลงไอพีแอดเดรส ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสใหม่ ยังคงใช้โดเมนเนมเดิมได้ต่อไป อักขระที่จะใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม ได้แก่ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ตัวเลข และ "-" (ยัติภังค์) คั่นด้วย "." (มหัพภาค) โดยปกติ จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษร และลงท้ายด้วยตัวอักษรหรือตัวเลข มีความยาวตั้งแต่ 1 ถึง 63 ตัวอักษร ตัวอักษรตัวใหญ่เล็กถือว่าเหมือนกัน 1 ไอพีแอดเดรส สามารถใช้โดเมนเนมได้มากกว่า 1 โดเมนเนม และหลาย ๆ โดเมนเนมอาจจะใช้ไอพีแอดเดรสเดียวกันได้.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและชื่อโดเมน · ดูเพิ่มเติม »

กูเกิล

กูเกิล (Google Inc.) (และ) เป็นบริษัทมหาชนอเมริกัน มีรายได้หลักจากการโฆษณาออนไลน์ที่ปรากฏในเสิร์ชเอนจินของกูเกิล อีเมล แผนที่ออนไลน์ ซอฟต์แวร์จัดการด้านสำนักงาน เครือข่ายออนไลน์ และวิดีโอออนไลน์ รวมถึงการขายอุปกรณ์ช่วยในการค้นหา กูเกิลสำนักงานใหญ่ที่รู้จักในชื่อกูเกิลเพล็กซ์ตั้งอยู่ที่เมืองเมาน์เทนวิว รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยมีพนักงาน 16,805 คน (31 ธันวาคม 2550) โดยกูเกิลเป็นบริษัทอเมริกันที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของดัชนีดาวโจนส์ (ข้อมูล 31 ตุลาคม พ.ศ. 2550) กูเกิลก่อตั้งโดย แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน ขณะที่ทั้งคู่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ซึ่งภายหลังทั้งคู่ได้ก่อตั้งบริษัทเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2541 ในโรงจอดรถของเพื่อนที่ เมืองเมนโลพาร์ก ในรัฐแคลิฟอร์เนีย และมีการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เพิ่มมูลค่าของบริษัท 1.67 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และหลังจากนั้นทางกูเกิลได้มีการขยายตัวตลอดเวลาจากการพัฒนาซอฟต์แวร์ใหม่และการซื้อกิจการอื่นรวมเข้ามา เช่น กูเกิล ดีปไมด์ รวมถึงก่อตั้งบริษัทลูกอย่างกูเกิล เอกซ์กูเกิลได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาโดยนิตยสารฟอร์จูน"." นิตยสารฟอร์จูน 22 มกราคม พ.ศ. 2550 เรียกข้อมูลวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งมีคติพจน์ประจำบริษัทคือ Don't be evil อย่างไรก็ตามทางบริษัทได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในด้านการละเมิดข้อมูลส่วนตัว การละเมิดลิขสิทธิ์ และการเซ็นเซอร์ในหลายส่วน วันที่ 10 สิงหาคม..

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและกูเกิล · ดูเพิ่มเติม »

ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นระบบซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และแหล่งซอฟต์แวร์และบริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น ระบบปฏิบัติการที่เป็นที่นิยมในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทุกวันนี้ ได้แก่ ไมโครซอฟท์ วินโดวส์ แมคโอเอส และลินุกซ์ นอกจากนี้ ยังมีระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ ซึ่งได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้กันในหน่วยงาน ระบบปฏิบัติการตระกูลยูนิกซ์ที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่ ยูนิกซ์ตระกูลบีเอสดี เอไอเอกซ์ และโซลาริส และรวมถึงลินุกซ์ซึ่งพัฒนาโดยอาศัยหลักการเดียวกันกับยูนิกซ์ ระบบปฏิบัติการบางตัว ถูกออกแบบมาสำหรับการเรียนการสอนวิชาระบบปฏิบัติการโดยเฉพาะ เช่น มินิกซ์ ซินู หรือ พินโทส ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ก็อาจมีระบบปฏิบัติการเช่นกัน เช่น ไอโอเอส แอนดรอยด์ หรือ ซิมเบียน ในโทรศัพท์มือถือ หรือระบบปฏิบัติการ TRON ในเครื่องใช้ไฟฟ้าตามบ้าน.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและระบบปฏิบัติการ · ดูเพิ่มเติม »

รายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี

ตัวอย่างข้อความร้องขอเอชทีทีพีที่สร้างในเทลเน็ต บรรทัดแรกของสีน้ำเงินคือรหัสสถานภาพ ต่อไปนี้เป็นรายชื่อรหัสสถานภาพในการตอบรับเอชทีทีพีจากเครื่องให้บริการ ซึ่งมีทั้งรหัสที่กำหนดโดยมาตรฐานอินเทอร์เน็ตของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) และกำหนดโดยเอกสารขอความเห็น (RFC) เอกสารลักษณะเฉพาะอื่น ๆ และรหัสที่มีการใช้งานโดยทั่วไปเพิ่มเข้ามา ตัวเลขแรกของรหัสสถานภาพ (หลักร้อย) เป็นตัวระบุประเภทของการตอบรับหนึ่งในห้าประเภท ซึ่งเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีสามารถรับรู้ประเภททั้งห้านี้ได้เป็นอย่างน้อย อินเทอร์เน็ตอินฟอร์เมชันเซอร์วิสเซส (IIS) ของไมโครซอฟท์ใช้รหัสย่อยเป็นทศนิยมเพิ่มเติมเพื่อแสดงข้อมูลให้เจาะจงมากยิ่งขึ้น แต่จะไม่นำมาแสดงไว้ในนี้ วลีเหตุผลที่อยู่ถัดจากรหัสสถานภาพเป็นตัวอย่างมาตรฐาน ซึ่งสามารถเขียนหรือแปลให้เป็นอย่างอื่นเพื่อให้มนุษย์สามารถอ่านเข้าใจได้ ถ้าหากรหัสสถานภาพใดไม่มีการระบุหมายเหตุ แสดงว่ารหัสนั้นเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐาน HTTP/1.1.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและรายชื่อรหัสสถานภาพของเอชทีทีพี · ดูเพิ่มเติม »

วากยสัมพันธ์ (ภาษาโปรแกรม)

ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ วากยสัมพันธ์ของภาษาโปรแกรม คือกลุ่มของกฎเกณฑ์ที่นิยามการจัดหมู่ของสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ถือว่าเป็นการสร้างโปรแกรมด้วยภาษานั้นได้อย่างถูกต้อง วากยสัมพันธ์ของภาษาใดภาษาหนึ่งเป็นตัวกำหนดรูปแบบพื้นหน้า (surface form) ของมัน ภาษาโปรแกรมเชิงข้อความ (text-based programming language) อิงอยู่กับลำดับของอักขระต่าง ๆ ในขณะที่ภาษาโปรแกรมเชิงทัศน์ (visual programming language) อิงอยู่กับการจัดวางตามพื้นที่และความเชื่อมโยงกับสัญลักษณ์ (ซึ่งอาจจะเป็นข้อความหรือกราฟิกก็ได้).

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและวากยสัมพันธ์ (ภาษาโปรแกรม) · ดูเพิ่มเติม »

อินเทอร์เน็ต

วิถีการจัดเส้นทางผ่านส่วนหนึ่งของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลาย ๆ ทาง อาทิ อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและอินเทอร์เน็ต · ดูเพิ่มเติม »

อีเมล

อีเมล (e-mail, email) หมายถึง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail) คือวิธีการหนึ่งของการแลกเปลี่ยนข้อความแบบดิจิทัล ซึ่งออกแบบขึ้นเพื่อให้มนุษย์ใช้เป็นหลัก ข้อความนั้นจะต้องประกอบด้วยเนื้อหา ที่อยู่ของผู้ส่ง และที่อยู่ของผู้รับ (ซึ่งอาจมีมากกว่าหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย บริการอีเมลบนอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้เริ่มมีการจัดตั้งมาจากอาร์พาเน็ต (ARPANET) และมีการดัดแปลงโค้ดจนนำไปสู่มาตรฐานของการเข้ารหัสข้อความ RFC 733 อีเมลที่ส่งกันในยุคคริสต์ทศวรรษ 1970 นั้นมีความคล้ายคลึงกับอีเมลในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงจากอาร์พาเน็ตไปเป็นอินเทอร์เน็ตในคริสต์ทศวรรษ 1980 ทำให้เกิดรายละเอียดแบบสมัยใหม่ของการบริการ โดยส่งข้อมูลผ่านเกณฑ์วิธีถ่ายโอนไปรษณีย์อย่างง่าย (SMTP) ซึ่งได้เผยแพร่เป็นมาตรฐานอินเทอร์เน็ต 10 (RFC 821) เมื่อ..

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและอีเมล · ดูเพิ่มเติม »

ทวิภาค

ทวิภาค หรือ จุดคู่ คลังความรู้ออนไลน์ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. เป็นเครื่องหมายวรรคตอนสากลอย่างหนึ่ง มีลักษณะเป็นจุดสองจุดเรียงตามแนวตั้ง.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและทวิภาค · ดูเพิ่มเติม »

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี

ซอร์ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดค้นและประดิษฐ์เวิลด์ไวด์เว็บ เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) (8 มิถุนายน พ.ศ. 2498) ผู้คิดค้นและประดิษฐ์ เวิลด์ไวด์เว็บ ผู้อำนวยการWorld Wide Web Consortium (ทำหน้าที่ดูแลการพัฒนาต่อเนื่องใหม่ ๆ เกี่ยวกับเว็บ) นักวิจัยอาวุโสและผู้นั่งในตำแหน่ง ทรีคอมฟาวน์เดอร์สแชร์ (3Com Founders Chair) ที่หอทดลองวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์แห่งเอ็มไอที (CSAIL).

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและทิม เบอร์เนิร์ส-ลี · ดูเพิ่มเติม »

ดีเอ็นเอส

ระบบการตั้งชื่อโดเมน หรือ ดีเอ็นเอส (Domain Name System: DNS) เป็นระบบที่ใช้เก็บข้อมูลของชื่อโดเมน (โดเมนเนม) ซึ่งใช้ในเครือข่ายขนาดใหญ่อย่างอินเทอร์เน็ต โดยข้อมูลที่เก็บมีหลายอย่าง แต่สิ่งสำคัญคือความสัมพันธ์ระหว่างชื่อโดเมนนั้นๆ กับหมายเลขไอพีที่ใช้งานอยู่ คำว่าดีเอ็นเอสสามารถหมายถึง บริการชื่อโดเมน (Domain Name Service) ก็ได้ ส่วนเครื่องบริการจะเรียกว่า เครื่องบริการชื่อ หรือ เนมเซิร์ฟเวอร์ (name server) ประโยชน์ที่สำคัญของดีเอ็นเอส คือช่วยแปลงหมายเลขไอพีซึ่งเป็นชุดตัวเลขที่จดจำได้ยาก (เช่น 207.142.131.206) มาเป็นชื่อที่สามารถจดจำได้ง่ายแทน (เช่น wikipedia.org).

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและดีเอ็นเอส · ดูเพิ่มเติม »

แอมเพอร์แซนด์

แอมเพอร์แซนด์ (ampersand) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า แอนด์ (&) คือสัญลักษณ์ที่ใช้เขียนแทนคำว่า and ในภาษาอังกฤษ มาจากการรวมอักษรของคำในภาษาละติน et แปลว่า "และ".

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและแอมเพอร์แซนด์ · ดูเพิ่มเติม »

โพรโทคอล

รโทคอล (สืบค้นออนไลน์) (protocol) หรือศัพท์บัญญัติว่า เกณฑ์วิธี คือข้อกำหนดซึ่งประกอบด้วยกฎต่าง ๆ สำหรับรูปแบบการสื่อสารเฉพาะรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้การติดต่อสื่อสารในระบบเครือข่าย ทำงานได้ด้วยกันทั้งระบบ คล้ายกับมนุษย์สามารถใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารถึงกันได้.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและโพรโทคอล · ดูเพิ่มเติม »

โลเคิลโฮสต์

ลเคิลโฮสต์ (localhost แปลตามศัพท์ว่า แม่ข่ายเฉพาะที่) ในเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึงชื่อแม่ข่ายมาตรฐานที่กำหนดให้กับตำแหน่งของส่วนต่อประสานเครือข่ายวงย้อนกลับ (loopback) เมื่อผู้ใช้ส่งข้อมูลไปยังโลเคิลโฮสต์ พวกเขาจะได้รับข้อมูลของตัวเองกลับมา หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ เครื่องคอมพิวเตอร์ตัวมันเอง กลไกนี้มีประโยชน์สำหรับโปรแกรมเมอร์เพื่อทดสอบระหว่างการพัฒนาซอฟต์แวร์ นอกจากนี้โลเคิลโฮสต์ก็เป็นชื่อที่สงวนไว้สำหรับโดเมนระดับบนสุด (.localhost) ซึ่งสำรองไว้เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับการนิยามที่แคบกว่าของชื่อแม่ข่าย โลเคิลโฮสต์ที่เป็นชื่อแม่ข่ายในระบบคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ สามารถแปลงเป็นเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 ในรูปของบล็อกเลขที่อยู่ 127.0.0.0/8 หรือตามปกติใช้ 127.0.0.1 และเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 6 ก็คือ::1 โลเคิลโฮสต์ถูกระบุให้ใช้เป็นชื่อแม่ข่ายของคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ๆ ถ้ามิได้กำหนดไว้ให้เป็นอย่างอื่น ตัวอย่างเช่น ระบบหนึ่งกำลังทำงานเป็นเครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีและมีเว็บเบราว์เซอร์ติดตั้งอยู่ในระบบนั้นด้วย ถ้าระบุยูอาร์แอล http://localhost ให้กับเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงโฮมเพจของเว็บไซต์ที่ได้ติดตั้งลงในเครื่องนั้น ๆ เอง แสดงว่าเครื่องแม่ข่ายได้ถูกกำหนดค่าเพื่อให้บริการส่วนต่อประสานวงย้อนกลับด้วย การใช้ส่วนต่อประสานวงย้อนกลับก็ยังเลี่ยงการใช้งานฮาร์ดแวร์เครือข่าย การเชื่อมต่อบริการเครือข่ายที่ให้บริการบนเครื่องตัวมันเองเช่นเซิร์ฟเวอร์เกมคอมพิวเตอร์ โดยใช้ที่อยู่วงย้อนกลับ จะเป็นภาระให้แก่ทรัพยากรเครือข่ายน้อยกว่า เอกสารมาตรฐานอินเทอร์เน็ตชุด STD-2 (เช่น RFC 1700) ที่กำหนดโดยคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (ไออีทีเอฟ) ได้สงวนบล็อกเลขที่อยู่ 127.0.0.0/8 ไว้สำหรับใช้งานวงย้อนกลับ นั่นคือตั้งแต่ 127.0.0.0 จนถึง 127.255.255.255 จนกระทั่งข้อกำหนดนี้ถูกปรับปรุงแยกออกมาโดยองค์การกำหนดหมายเลขอินเทอร์เน็ต (ไอเอเอ็นเอ) ผ่านทางเว็บไซต์ขององค์การ เอกสารของไออีทีเอฟซึ่งออกมาภายหลังว่าด้วย การใช้งานพิเศษของเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (RFC 3330) ก็ได้อธิบายถึงวิธีใช้บล็อกเลขที่อยู่ 127.0.0.0/8 สำหรับวงย้อนกลับ เอกสารดังกล่าวจึงทำให้ข้อกำหนดของนายทะเบียนอินเทอร์เน็ตประจำภูมิภาค (อาร์ไออาร์) หรือไอเอเอ็นเอตกไป และในท้ายที่สุด RFC 3330 ก็ถูกแทนที่ด้วยข้อกำหนดใหม่ RFC 5735 สำหรับการสื่อสารแบบไอพีรุ่น 4 ส่วนต่อประสานวงย้อนกลับเสมือนของระบบคอมพิวเตอร์ตามปกติถูกกำหนดให้กับเลขที่อยู่ 127.0.0.1 ด้วยตัวพรางเครือข่ายย่อย 255.0.0.0 สิ่งนี้บรรจุอยู่ในตารางการจัดเส้นทางของระบบเฉพาะที่ด้วยรายการที่ทำให้กลุ่มข้อมูลที่ส่งมาจากเลขที่อยู่ใด ๆ ในบล็อก 127.0.0.0/8 จะถูกจัดเส้นทางภายในไปยังอุปกรณ์เครือข่ายวงย้อนกลับ โดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ (เช่นลินุกซ์หรือวินโดวส์) และกลไกการจัดเส้นทางที่ได้ติดตั้ง ในทางตรงข้าม ส่วนเติมหน้าของการจัดเส้นทางวงย้อนกลับ::1/128 ของการสื่อสารแบบไอพีรุ่น 6 ประกอบด้วยเลขที่อยู่::1 เพียงเลขเดียว (รูปเต็มคือ 0:0:0:0:0:0:0:1 ซึ่งบิตนัยสำคัญน้อยสุดเป็นหนึ่ง และบิตที่เหลือทั้งหมดเป็นศูนย์) ซึ่งถูกกำหนดไว้ให้เป็นเลขที่อยู่วงย้อนกลับโดยชัดแจ้ง แต่ถึงกระนั้นผู้ดูแลแม่ข่ายอาจกำหนดเลขที่อยู่เพิ่มเติมให้กับส่วนต่อประสานวงย้อนกลับตามความจำเป็นได้.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและโลเคิลโฮสต์ · ดูเพิ่มเติม »

โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ

ในวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บ หรือเรียกโดยทับศัพท์ว่า เว็บแอปพลิเคชัน (web application) คือโปรแกรมประยุกต์ที่เข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต เว็บแอปพลิเคชันเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการอัปเดตและดูแล โดยไม่ต้องแจกจ่ายและติดตั้งบนเครื่องผู้ใช้ ตัวอย่างเว็บแอปพลิเคชันได้แก่ เว็บเมล การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ กระดานสนทนา บล็อก วิก.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ · ดูเพิ่มเติม »

ไมโครซอฟท์ วินโดวส์

มโครซอฟท์ วินโดวส์ (Microsoft Windows) เป็นระบบปฏิบัติการ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟท์ เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2528 (ค.ศ. 1985 โดยรุ่นแรกของวินโดวส์ คือ วินโดวส์ 1.0) และครองความนิยมในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มากกว่า 90% ของการใช้งานทั่วโลก รายละเอียดโดยสังเขปของวินโดวส์รุ่นต่างๆ เรียงตามลำดับการเปิดตัว เป็นดังนี้.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและไมโครซอฟท์ วินโดวส์ · ดูเพิ่มเติม »

เลขที่อยู่ไอพี

ลขที่อยู่ไอพี (IP address: Internet Protocol address) หรือชื่ออื่นเช่น ที่อยู่ไอพี, หมายเลขไอพี, เลขไอพี, ไอพีแอดเดรส คือฉลากหมายเลขที่กำหนดให้แก่อุปกรณ์แต่ละชนิด (เช่นคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์) ที่มีส่วนร่วมอยู่ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ ที่ใช้อินเทอร์เน็ตโพรโทคอลในการสื่อสาร RFC 760, DOD Standard Internet Protocol (January 1980) เลขที่อยู่ไอพีทำหน้าที่สำคัญสองอย่างได้แก่ การระบุแม่ข่ายหรือส่วนต่อประสานเครือข่าย และการกำหนดที่อยู่ให้ตำแหน่งที่ตั้ง บทบาทของมันได้บรรยายไว้ว่า "ชื่อใช้แสดงว่าเราค้นหาอะไร ที่อยู่ใช้แสดงว่ามันอยู่ที่ไหน เส้นทางใช้แสดงว่าจะไปที่นั่นอย่างไร" RFC 791, Internet Protocol – DARPA Internet Program Protocol Specification (September 1981) แต่เดิมผู้ออกแบบอินเทอร์เน็ตโพรโทคอล ได้กำหนดเลขที่อยู่ไอพีให้เป็นตัวเลข 32 บิตค่าหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 (IPv4) และระบบนี้ยังคงมีการใช้งานอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ดี เนื่องจากอินเทอร์เน็ตเติบโตขึ้นอย่างมหาศาล และมีการคาดการณ์ว่าเลขที่อยู่ไอพีรุ่น 4 จะถูกใช้หมดไป เลขที่อยู่ไอพีรุ่นใหม่จึงได้พัฒนาขึ้นใน..

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเลขที่อยู่ไอพี · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเบราว์เซอร์

วิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลก ไม่มีข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ (web browser), เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเว็บที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่เว็บเซอร์วิซหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ เว็บเบราว์เซอร์ตัวแรกของโลกชื่อ เวิลด์ไวด์เว็บ ขณะเดียวกันเว็บเบราว์เซอร์ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) คือ กูเกิล โครม รองลงมาคือมอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ และอินเทอร์เน็ตเอกซ์พลอเรอร์ ตามลำดั.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเว็บเบราว์เซอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเพจ

หน้าจอของเว็บเพจหนึ่งบนวิกิพีเดีย เว็บเพจ (web page, webpage) หรือแปลเป็นไทยว่า หน้าเว็บ คือเอกสารเว็บชนิดหนึ่งเหมาะสำหรับเวิลด์ไวด์เว็บและเว็บเบราว์เซอร์ เว็บเบราว์เซอร์จะแสดงเว็บเพจบนจอคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ เว็บเพจก็คือสิ่งที่ปรากฏออกมา แต่ศัพท์นี้ก็ยังหมายถึงแฟ้มคอมพิวเตอร์ที่มักจะเขียนเป็นเอชทีเอ็มแอลหรือภาษามาร์กอัปที่เทียบเคียงได้ ซึ่งมีลักษณะเด่นอันเป็นหลักก็คือ การจัดเตรียมข้อความหลายมิติที่จะนำไปสู่ เว็บเพจอื่น ผ่านทางลิงก์ เว็บเบราว์เซอร์จะประสานงานกับทรัพยากรเว็บที่อยู่โดยรอบเว็บเพจที่เขียน อาทิสไตล์ชีต สคริปต์ และรูปภาพ เพื่อนำเสนอเว็บเพจนั้น เว็บเบราว์เซอร์สามารถค้นคืนเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ระยะไกลบนเครือข่ายหนึ่ง ๆ ได้ ในระดับที่สูงขึ้น เว็บเซิร์ฟเวอร์อาจจำกัดการเข้าถึงให้เฉพาะเครือข่ายส่วนตัว เช่นอินทราเน็ตภายในองค์กร หรือจัดเตรียมการเข้าถึงสู่เวิลด์ไวด์เว็บ ส่วนในระดับที่ต่ำกว่า เว็บเบราว์เซอร์จะใช้เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ (เอชทีทีพี) เพื่อสร้างการร้องขอเช่นนั้น เว็บเพจสถิต (static web page) คือเว็บเพจที่ถูกส่งมาเป็นเนื้อหาเว็บเหมือนกับข้อมูลที่บันทึกอยู่ในระบบแฟ้มของเว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ เว็บเพจพลวัต (dynamic web page) จะถูกสร้างขึ้นโดยเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ด้านเซิร์ฟเวอร์หรือสคริปต์ด้านไคลเอนต์ เว็บเพจพลวัตช่วยให้เบราว์เซอร์ (ด้านไคลเอนต์) เพิ่มสมรรถนะของเว็บเพจผ่านทางอินพุตของผู้ใช้ไปยังเซิร์ฟเวอร.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเว็บเพจ · ดูเพิ่มเติม »

เว็บเซิร์ฟเวอร์

ว็บเซิร์ฟเวอร์ สามารถมีได้ 2 ความหมาย คือ.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเว็บเซิร์ฟเวอร์ · ดูเพิ่มเติม »

เสมอภาค

มอภาค, สมการ, สมพล หรือ เท่ากับ (.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเสมอภาค · ดูเพิ่มเติม »

เอชทีเอ็มแอล

อชทีเอ็มแอล (HTML: Hypertext Markup Language ภาษามาร์กอัปข้อความหลายมิติ) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม เอชทีเอ็มแอลเริ่มพัฒนาโดย ทิม เบอร์เนอรส์ ลี (Tim Berners Lee) สำหรับภาษา SGML ในปัจจุบัน HTML เป็นมาตรฐานหนึ่งของ ISO ซึ่งจัดการโดย World Wide Web Consortium (W3C) ในปัจจุบัน ทาง W3C ผลักดัน รูปแบบของ HTML แบบใหม่ ที่เรียกว่า XHTML ซึ่งเป็นลักษณะของโครงสร้าง XML แบบหนึ่งที่มีหลักเกณฑ์ในการกำหนดโครงสร้างของโปรแกรมที่มีรูปแบบที่มาตรฐานกว่า มาทดแทนใช้ HTML รุ่น 4.01 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ขณะที่ HTML รุ่น 5 ยังคงยังอยู่ในระหว่างการพิจารณา โดยได้มีการออกดราฟต์มาเสนอเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551 HTML ยังคงเป็นรูปแบบไฟล์อย่างหนึ่ง สำหรั.html และ สำหรั.htm ที่ใช้ในระบบปฏิบัติการที่รองรับ รูปแบบนามสกุล 3 ตัวอักษร.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเอชทีเอ็มแอล · ดูเพิ่มเติม »

เอฟทีพี

อฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเอฟทีพี · ดูเพิ่มเติม »

เซตย่อย

ในคณิตศาสตร์โดยเฉพาะสาขาทฤษฎีเซต เซต A เป็นเซตย่อยของเซต B หรืออาจจะบอกว่าเซต B เป็นซูเปอร์เซตของเซต A ถ้า A เป็นส่วนหนึ่งของ B นั่นก็คือสมาชิกทั้งหมดของเซต A จะต้องเป็นสมาชิกของเซต B ด้วย ทั้งนี้ A กับ B อาจเท่ากันก็ได้.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเซตย่อย · ดูเพิ่มเติม »

เนมสเปซ

นมสเปซ (Namespace) เป็นชื่อเรียกทางนามธรรมของกลุ่มสิ่งที่บรรจุชื่อ ความหมาย หรือคำศัพท์ ของสิ่งหนึ่งๆ หรือ คนใดคนหนึ่ง ตามกฎของเนมสเปซ ชื่อใดๆที่อยู่ในแต่ละเนมสเปซสามารถมีความหมายได้เพียงหนึ่งความหมาย โดยสิ่งที่แตกต่างกันไม่สามารถใช้ชื่อเดียวกันได้ภายในเนมสเปซเดียวกัน ถ้าชื่อเดียวกันอยู่คนละเนมสเปซสามารถหมายถึงของสองสิ่งที่แตกต่างกันได้ ภาษาแต่ละภาษาในโลกเปรียบเสมือนเป็นเนมสเปซหนึ่งๆ ซึ่งคำหนึ่งๆในแต่ละภาษาจะหมายถึงสิ่งของสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งเมื่อคำเดียวกันในภาษาที่แตกต่างกันสามารถหมายถึงสิ่งของคนละสิ่งได้ ภาษาที่แตกต่างกันของเนมสเปซนี้รวมไปถึงภาษาถิ่น และ ภาษาโปรแกรมต่างๆ ตัวอย่างเช่นคำว่า "ไอ" ในภาษาไทย หมายถึง อาการไอ ขณะที่ "ไอ" ในภาษาอังกฤษหมายถึง เรา (ตัวผู้พูด) และ "ไอ" ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง ความรัก หรือ คำว่า "ซาว" ในภาษาไทยกลาง หมายถึงการซาวข้าว ขณะที่ภาษาไทยเหนือ หมายถึง ยี่สิบ ในทางคอมพิวเตอร์ เนมสเปซ จะเป็นสิ่งแวดล้อมควบคุมตัวบ่งชี้.

ใหม่!!: ยูอาร์แอลและเนมสเปซ · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

URLUniform Resource Locatorตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ตโปรแกรมชี้แหล่งทรัพยากรสากล

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »