โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ติดตั้ง
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง

ดัชนี เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง

เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้อง เป็นเสียงพยัญชนะที่มีใช้ในหลายภาษา สัทอักษรสากลที่ใช้แทนเสียงนี้คือ และสัญลักษณ์ X-SAMPA คือ d เสียงนี้ในภาษาไทยจะสะกดด้วยตัวอักษร ฎ ฑ และ ด หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะ หมวดหมู่:เสียงพยัญชนะในภาษาไทย.

6 ความสัมพันธ์: พยัญชนะภาษาไทยสัทอักษรสากล

ฎ (ชฎา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 14 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ญ (หญิง) และก่อนหน้า ฏ (ปฏัก) ออกเสียงอย่าง ด (เด็ก) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฎ ชฎา” อักษร ฎ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /d/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฎ อยู่คำเดียวคือ ฎีกา นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต ฎ เป็นพยัญชนะที่มักจะใช้สับสนกับ ฏ อยู่เสมอ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน และปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน หมวดหมู่:อักษรไทย.

ใหม่!!: เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องและฎ · ดูเพิ่มเติม »

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาไทย

ษาไทย เป็นภาษาราชการของประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไท ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางส่วนเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน และตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ.

ใหม่!!: เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องและภาษาไทย · ดูเพิ่มเติม »

สัทอักษรสากล

ตารางสัทอักษรสากลรุ่น ค.ศ. 2015 สัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet: IPA) คือสัทอักษรชุดหนึ่งที่พัฒนาโดยสมาคมสัทศาสตร์สากล โดยมุ่งหมายให้เป็นสัญกรณ์มาตรฐานสำหรับการแทนเสียงพูดในทุกภาษา นักภาษาศาสตร์ใช้สัทอักษรสากลเพื่อแทนหน่วยเสียงต่าง ๆ ที่อวัยวะออกเสียงของมนุษย์สามารถเปล่งเสียงได้ โดยแทนหน่วยเสียงแต่ละหน่วยเสียงด้วยสัญลักษณ์เฉพาะที่ไม่ซ้ำกัน สัญลักษณ์ในสัทอักษรสากลนั้นส่วนใหญ่นำมาจากหรือดัดแปลงจากอักษรโรมัน สัญลักษณ์บางตัวนำมาจากอักษรกรีก และบางตัวประดิษฐ์ขึ้นใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับอักษรภาษาใดเลย สำหรับ ตารางสัทอักษรในภาษาไทย ดูได้ที่ ภาษาไท.

ใหม่!!: เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องและสัทอักษรสากล · ดูเพิ่มเติม »

ฑ (มณโฑ) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 17 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฐ (ฐาน) และก่อนหน้า ฒ (ผู้เฒ่า) ออกเสียงอย่าง ท (ทหาร) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฑ มณโฑ” (บางคนก็เรียกว่า ฑ นางมณโฑ) อักษร ฑ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /tʰ/ หรือ /d/ (ดูหัวข้อถัดไป) และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฑ อยู่น้อยคำ ได้แก่ ฑังส, ฑาก, ฑาหก, ฑาหะ นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต.

ใหม่!!: เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องและฑ · ดูเพิ่มเติม »

(เด็ก) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 20 จากพยัญชนะทั้งหมด 44 ตัวในอักษรไทย อยู่ในลำดับถัดจาก ณ (เณร) และก่อนหน้า ต (เต่า) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลางในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ด เด็ก” ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กด อักษร ด เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /d/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /d/ หรือ /ð/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด เช่น the เดอะ,.

ใหม่!!: เสียงกัก ปุ่มเหงือก ก้องและด · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »