โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

ดัชนี ฎ

ฎ (ชฎา) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 14 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ญ (หญิง) และก่อนหน้า ฏ (ปฏัก) ออกเสียงอย่าง ด (เด็ก) จัดอยู่ในกลุ่มอักษรกลาง ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ฎ ชฎา” อักษร ฎ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /d/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบันมีคำที่ขึ้นต้นด้วย ฎ อยู่คำเดียวคือ ฎีกา นอกเหนือจากนั้นใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต ฎ เป็นพยัญชนะที่มักจะใช้สับสนกับ ฏ อยู่เสมอ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน และปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน หมวดหมู่:อักษรไทย.

10 ความสัมพันธ์: ชฎาพยัญชนะฎีกาภาษาบาลีภาษาสันสกฤตอักษรไทยคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)ไตรยางศ์

ชฎา

ระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรลักษณาวดี ทรงชฎา ชฎา คือเครื่องสวมศีรษะรูปคล้ายมงกุฎ โดยทั่วไปมียอดแหลม มีกรรเจียก (กระหนกข้างหู) ประดิษฐ์ขึ้นด้วยโลหะเช่นทองหรือเงิน หรือวัสดุอื่นเช่นไม้ เปเปอร์มาเช่ หรือพลาสติก แล้วทาสีให้ดูเหมือนโลหะ ผิวด้านนอกของชฎาจะตกแต่งอย่างสวยงาม โดยการแกะสลัก ประดับอัญมณี กระจกสี และพวงดอกไม้ ชฎาเกิดขึ้นช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยพัฒนาการจากลอมพอก ชฎาและมงกุฎต่างกัน คือชฎาจะมียอดปัดไปข้างหลังเหมือนลอมพอก ส่วนมงกุฎจะมียอดแหลมเป็นปลียอด ชฎาที่เป็นเครื่องราชศิราภรณ์ส่วนใหญ่เรียกว่า "พระชฎา" หรือ "มงกุฎรอง" มีหลายชนิด ชฎามักใช้ในงานพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเจ้านายชั้นสูงและใช้ในงานนาฏศิลป์ วัฒนธรรมสมัยใหม่มีการใช้ชฎาเป็นเครื่องแต่งตัวในการเดินแบบ ถ่ายภาพยนตร์ และประกอบการแสดง.

ใหม่!!: ฎและชฎา · ดูเพิ่มเติม »

พยัญชนะ

พยัญชนะ (วฺยญฺชน, consonant) ในทางภาษาศาสตร์ หมายถึง เสียงแบบหนึ่งในภาษา ออกเสียงให้แตกต่างได้จากลักษณะของอวัยวะออกเสียงในช่องปาก และลักษณะอื่น ๆ เช่น การพ่นลม หรือเสียงก้อง ไม่ก้อง นอกจากนี้ยังหมายถึงตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะด้วย ขณะที่ผู้ใช้ภาษาทั่วไปมักจะเข้าใจว่า 'พยัญชนะ' คือตัวอักษรแทนเสียงพยัญชนะเพียงอย่างเดียว.

ใหม่!!: ฎและพยัญชนะ · ดูเพิ่มเติม »

ฎีกา

ีกา อาจหมายถึง.

ใหม่!!: ฎและฎีกา · ดูเพิ่มเติม »

ญ (หญิง) เป็นพยัญชนะ ตัวที่ 13 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย ในลำดับถัดจาก ฌ (เฌอ) และก่อนหน้า ฎ (ชฎา) ออกเสียงอย่าง ย (ยักษ์) เมื่อเป็นพยัญชนะต้น และออกเสียงอย่าง น (หนู) เมื่อเป็นพยัญชนะสะกด จัดอยู่ในกลุ่มอักษรต่ำ ในระบบไตรยางศ์ มีชื่อเรียกกำกับว่า “ญ หญิง” อักษร ญ มีเครื่องหมายอยู่ข้างใต้ เรียกว่า เชิง แต่นิยมตัดเชิงออกเป็น เมื่อเขียนคำที่มีสระอุ หรือสระอู เช่น กตัญญู อักษร ญ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /j/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /n/ (เดิมออกเสียง /ɲ/ ทั้งสองอย่างแต่แปรเปลี่ยนไป) กรณีทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ ใช้แทนเสียง /ɲ/ ทั้งพยัญชนะต้นและพยัญชนะสะกด เช่น España เอสปาญ.

ใหม่!!: ฎและญ · ดูเพิ่มเติม »

ฏ (ปฏัก) เป็นพยัญชนะตัวที่ 15 ในลำดับพยัญชนะไทย จัดเป็นพวกอักษรกลาง เมื่อเป็นพยัญชนะต้น มีลักษณะการออกเสียง เช่นเดียวกับ ต (เต่า) เมื่อเป็นพยัญชนะตัวสะกด จัดอยู่ในแม่กด ใช้เฉพาะในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต อักษร ฏ เป็นได้ทั้งพยัญชนะต้น ให้เสียง /t/ และพยัญชนะสะกด ให้เสียง /t̚/ ปัจจุบัน ฏ ไม่มีที่ใช้เป็นพยัญชนะต้นของคำ มีเพียงใช้ประกอบกับคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต (ซึ่งจะปรากฏกลางคำหรือท้ายคำ) ฏ เป็นพยัญชนะที่มักจะใช้สับสนกับ ฎ อยู่เสมอ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายกัน และปรากฏอยู่บนแป้นพิมพ์ในตำแหน่งใกล้เคียงกัน.

ใหม่!!: ฎและฏ · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาบาลี

ษาบาลี (ปาลิ; पाऴि); (Pali) เป็นภาษาที่เก่าแก่ภาษาหนึ่ง ในตระกูลอินเดีย-ยุโรป (อินโด-ยูโรเปียน) ในสาขาย่อย อินเดีย-อิหร่าน (อินโด-อิเรเนียน) ซึ่งจัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นภาษาที่ใช้บันทึกคัมภีร์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท (มี พระไตรปิฎก เป็นต้น) โดยมีลักษณะทางไวยากรณ์ และคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกับภาษาสันสกฤต ไม่มีอักษรชนิดใดสำหรับใช้เขียนภาษาบาลีโดยเฉพาะ มีหลักฐานจารึกภาษาบาลีด้วยอักษรต่าง ๆ มากมายในตระกูลอักษรอินเดีย เช่น อักษรพราหมี อักษรเทวนาครี จนถึง อักษรล้านนา อักษรขอม อักษรไทย อักษรมอญ แม้กระทั่งอักษรโรมัน (โดยมีการเพิ่มเครื่องหมายเล็กน้อย) ก็สามารถใช้เขียนภาษาบาลีได้ อนึ่ง บางตำราสะกด “บาลี” ว่า “ปาฬิ” หรือ “ปาฬี” ก็มี.

ใหม่!!: ฎและภาษาบาลี · ดูเพิ่มเติม »

ภาษาสันสกฤต

ษาสันสกฤต เป็นภาษาที่รับอิทธิพลมาจากอินเดียและส่งผลมาถึงอาณาจักรในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (संस्कृता वाक्, สํสฺกฺฤตา วากฺ; Sanskrit) เป็นภาษาที่เก่าแก่ที่สุดภาษาหนึ่งในภาษากลุ่มอินโด-ยูโรเปียน (หรืออินเดีย-ยุโรป) สาขาย่อยอินโด-อิเรเนียน (อินเดีย-อิหร่าน) และอยู่ในกลุ่มย่อยอินโด-อารยัน (อินเดีย-อารยะ) โดยมีระดับวิวัฒนาการในระดับใกล้เคียงกับภาษาละตินและภาษากรีก เป็นต้น โดยทั่วไปถือว่าเป็นภาษาที่ตายแล้ว ทว่ายังมีผู้ใช้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างในแวดวงที่จำกัดในประเทศอินเดีย เช่น หมู่บ้านมัททูร์ ในรัฐกรณาฏกะ โดยมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วย ในศาสนาฮินดูเชื่อว่า ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสื่อที่เทพเจ้าใช้สื่อสารกับมวลมนุษย์ เพื่อถ่ายทอดความรู้แจ้งและปัญญาญาณแก่เหล่าฤๅษีทั้งหลายแต่ครั้งดึกดำบรร.

ใหม่!!: ฎและภาษาสันสกฤต · ดูเพิ่มเติม »

อักษรไทย

อักษรไทย เป็นอักษรที่ใช้เขียนภาษาไทย และภาษากลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศไทย มีพยัญชนะ 44 รูป สระ 21 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป และเครื่องหมายอื่น ๆ อีกจำนวนหนึ่ง พยัญชนะไทยจะเรียงตัวไปตามแนวนอน จากซ้ายไปขวา ส่วนสระจะอยู่หน้า บน ล่าง และหลังพยัญชนะประกอบคำแล้วแต่ชนิดของสระ อักษรไทยไม่มีการแยกอักษรตัวใหญ่หรืออักษรตัวเล็กอย่างอักษรโรมัน และไม่มีการเว้นวรรคระหว่างคำ เมื่อจบหนึ่งประโยคจะลงท้ายด้วยการเว้นวรรค กับมีเครื่องหมายวรรคตอนจำนวนหนึ่ง ภาษาไทยมีตัวเลขเป็นของตัวเอง แต่นิยมใช้เลขอารบิกเป็นส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน.

ใหม่!!: ฎและอักษรไทย · ดูเพิ่มเติม »

คีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์)

ีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คียบอร์ด หรือ แป้นพิมพ์ (ศัพท์บัญญัติใช้ว่า แผงแป้นอักขระ) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทุกเครื่องจำเป็นต้องมี เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยปกติมักจะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือใกล้เคียง มีแป้นต่างๆ ประมาณร้อยแป้นอยู่บนคีย์บอร์ด (ขึ้นอยู่กับผังแป้นพิมพ์) ซึ่งถอดแบบมาจากเครื่องพิมพ์ดีด ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับรับข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ แล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต จากนั้นจึงส่งให้คอมพิวเตอร์ประมวลผล หรือใช้ควบคุมฟังก์ชันการทำงานบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และเพื่อให้การป้อนข้อมูลที่เป็นอักขระและตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น คีย์บอร์ดจึงแยกแผงที่เป็นแป้นอักขระกับแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก.

ใหม่!!: ฎและคีย์บอร์ด (คอมพิวเตอร์) · ดูเพิ่มเติม »

ไตรยางศ์

ตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทย เมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน การจัดหมวดพยัญชนะ ทำให้การเรียนภาษาไทยง่ายขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่า ในชั้นแรกนั้น การแบ่งหมวดหมู่พยัญชนะน่าจะทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการแต่งตำราสอนภาษาไทยแก่นักเรียน คำว่า ไตรยางศ์ มาจากคำในภาษาสันสกฤตว่า ตฺรย (ไตร) ซึ่งแปลว่า สาม รวมกับ อํศ (องศ์) ซึ่งแปลว่า ส่วน ดังนั้น ไตรยางศ์ จึงแปลรวมกันได้ว่าว่า สามส่วน.

ใหม่!!: ฎและไตรยางศ์ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »