โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เศรษฐศาสตร์อิสลาม

ดัชนี เศรษฐศาสตร์อิสลาม

ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม คือ ศาสตร์ที่ประมวลหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยรวมของ อิสลาม เอาไว้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการจัดระบบฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความยุติธรรมแก่สังคม ทั้งนี้มนุษย์จะได้พบกับความผาสุกและไปถึงยังสังคมในอุดมคติที่บรรดาศาสดาและบรรดาอิมามแห่งพระผู้เป็นเจ้าเพียรพยายามให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น เรื่อง เศรษฐศาสตร์ เป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษยชาติ และอิสลามก็มีมุมมองเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ โดยทั่วไปแล้วคำว่า "เศรษฐศาสตร์อิสลาม" จะถูกใช้ประโยชน์ไปในกรณีต่างๆที่หลากหลายออกไป เช่น "วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม" "สำนักคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม" "ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม" เกี่ยวกับ "วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม" นั้นมีประเด็นละเอียดอ่อนที่ต้องระมัดระวัง หากไม่คำนึงถึงบทเบื้องต้นและประเด็นต่างๆนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถนำเสนอเป้าหมายที่น่าเชื่อถือของคำนี้ได้ เมื่อพูดถึงคำว่า "ศาสตร์" โดยทั่วไปอันเป็นที่รู้กันก็จะอธิบายว่าหมายถึง วิชา หรือ วิทยาศาสตร์ นั่นเอง ซึ่งก็หมายถึงประมวลความรู้ที่ได้รับการยืนยันด้วยวิธีการทดลองที่เกิดขึ้นในยุคเรืองปัญญาในตะวันตก แล้วก็ค่อยๆพัฒนาขึ้นเรื่อยมา วิชาเศรษฐศาสตร์ا หรือ เศรษฐศาสตร์การเมือง ก็ไม่มีข้อยกเว้นสำหรับกฎข้อนี้เช่นกัน ความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐศาสตร์อิสลามหรือทุกแนวคิดทางศาสนากับศาสตร์ด้านการทดลองเป็นไปในเชิงการเปรียบเทียบ เพราะเศรษฐศาสตร์ต้องให้คำตอบแก่คำถามที่ว่า ในวิชานี้พูดถึงเรื่องด้านต่างๆที่เกี่ยวกับคุณค่า ด้านจริยธรรมหรือเรื่องที่เกี่ยวกับความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร? หากนักค้นคว้าด้านเศรษฐศาสตร์หรือนักปรัชญาด้านเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า สามารถพบเรื่องต่างๆนี้ได้ในประมวลของเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์การเมือง โดยตรรกะแล้วเขาสามารถเชื่อในการมีอยู่ของเศรษฐศาสตร์อิสลาม อีกด้านหนึ่งหากบุคคลหนึ่งเชื่อว่าไม่มีเรื่องเกี่ยวกับคุณค่าทางจริธรรมอยู่เลยในเศรษฐศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์การเมือง ดังนั้น "เศรษฐศาสตร์อิสลาม"ถือว่าไม่มีความหมายในทัศนะของเขา บนพื้นฐานของการจำแนกดังกล่าวนี้ ชี้ให้เห็นว่ามีทัศนะต่างๆมากมายเกี่ยวกับ วิชาเศรษฐศาสตร์อิสลาม บ้างก็เชื่อว่าระหว่าง "สำนักคิดเศรษฐศาสตร์อิสลาม"กับ"ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม"นั้นแยกออกจากกัน ในทัศนะของพวกเขา ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลาม คือการนำเอาหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วสำนักเศรษฐศาสตร์อิสลามก็ให้ความความสนใจเช่นกัน สามารถให้คำนิยามแก่ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามตามบันทัดฐานของการให้คำนิยามได้ว่า หมายถึง ศาสตร์ที่ประมวลหลักการและกฎเกณฑ์ต่างๆ โดยรวมของ อิสลาม เอาไว้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับวิธีการจัดระบบฟื้นฟูเศรษฐกิจ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านเศรษฐกิจ เพื่อสร้างความยุติธรรมแก่สังคม ทั้งนี้มนุษย์จะได้พบกับความผาสุกและไปถึงยังสังคมในอุดมคติที่บรรดาศาสดาและบรรดาอิมามแห่งพระผู้เป็นเจ้าเพียรพยายามให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น.

11 ความสัมพันธ์: พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวีรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีวิทยาศาสตร์ศาสนาอิสลามสังคมนิยมจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ทุนนิยมซะกาตเกษตรกรรมเศรษฐศาสตร์เศรษฐศาสตร์การเมือง

พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี

ระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี (เปอร์เซีย: محمدرضا شاه پهلوی, พระราชสมภพ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1919 ณ เตหะราน ประเทศอิหร่าน – สวรรคต 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1980 ณ ไคโร ประเทศอียิปต์) หรือ จักรพรรดิชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี พระองค์ทรงเป็นชาห์แห่งอิหร่านซึ่งเป็นชาห์องค์สุดท้ายที่ปกครองอิหร่าน โดยพระองค์เป็นพระราชโอรสในพระเจ้าชาห์ เรซา ปาห์ลาวี ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ปาห์ลาวีซึ่งเป็นราชวงศ์สุดท้ายที่ปกครองประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติอิสลาม พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี ได้รับการขนานพระนามเป็น ชาฮันชาห์ (Shahanshah ราชันย์แห่งราชา เทียบเท่าตำแหน่งจักรพรรดิ), อัรยาเมหร์ (Aryamehr แสงแห่งอารยัน) และ บอซอร์ก อาร์เตสตาราน (Bozorg Arteshtārān จอมทัพ, เปอร์เซีย:بزرگ ارتشتاران).

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและพระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี · ดูเพิ่มเติม »

รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี

อายะตุลลอฮ์ รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี (เปอร์เซีย:; อังกฤษ: Ruhollah Khomeini) (24 กันยายน ค.ศ. 1902 - 3 มิถุนายน ค.ศ. 1989) อดีตผู้นำสูงสุดแห่งอิหร่าน ผู้ทำการล้มล้างอำนาจของพระเจ้าชาร์มูฮัมหมัด เรซา ปาฮ์เลวี ของอิหร่านซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. 2523 ประกาศการปฏิวัติอิสลาม และประกาศสงครามอิหร่าน-อิรัก.

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและรูฮุลลอฮ์ โคมัยนี · ดูเพิ่มเติม »

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คำว่า "วิทยาศาสตร์" มักถูกใช้เพื่อแทนคำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษ แต่ถ้าจะกล่าวให้ตรงความหมายแล้ว เราใช้คำว่า "วิทยาศาสตร์" เพื่อหมายถึง "Exact science" ซึ่งไม่รวมสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์เอาไว้ แม้ว่าสาขาวิชาทางสังคมศาสตร์จะใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกัน การแบ่งแยกดังกล่าวมีขึ้นเนื่องจากความแตกต่างในด้านเนื้อหาและธรรมชาติของการศึกษา มิใช่เรื่องของความจริงหรือความถูกต้องแต่อย่างใด คำว่า "Science" ในภาษาอังกฤษจะมีความหมายเทียบเท่ากับคำว่า "ศาสตร์" หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัย เพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่าง ๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป.

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและวิทยาศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

ศาสนาอิสลาม

นาอิสลาม (Islam) เป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632)เป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซู พวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาลดู.

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและศาสนาอิสลาม · ดูเพิ่มเติม »

สังคมนิยม

ังคมนิยม (อังกฤษ: Socialism) เป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจซึ่งมีลักษณะคือ สังคมเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและการจัดการเศรษฐกิจแบบร่วมมือ ตลอดจนทฤษฎีและขบวนการทางการเมืองซึ่งมุ่งสถาปนาระบบดังกล่าว"The origins of socialism as a political movement lie in the Industrial Revolution." "สังคมเป็นเจ้าของ" อาจหมายถึง การประกอบการสหกรณ์ การเป็นเจ้าของร่วม รัฐเป็นเจ้าของ พลเมืองเป็นเจ้าของความเสมอภาค พลเมืองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ หรือที่กล่าวมารวมกัน มีความผันแปรของสังคมนิยมจำนวนมากและไม่มีนิยามใดครอบคลุมทั้งหมด ความผันแปรเหล่านี้แตกต่างกันในประเภทของการเป็นเจ้าของโดยสังคมที่ส่งเสริม ระดับที่พึ่งพาตลาดหรือการวางแผน วิธีการจัดระเบียบการจัดการภายในสถาบันการผลิต และบทบาทของรัฐในการสร้างสังคมนิยม ระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมอาศัยลัทธิองค์การการผลิตเพื่อใช้ หมายความว่า การผลิตสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองอุปสงค์ทางเศรษฐกิจและความจำเป็นของมนุษย์โดยตรง และระบุคุณค่าวัตถุตามคุณค่าการใช้ประโยชน์หรืออรรถประโยชน์ ซึ่งตรงข้ามกับการผลิตมาเพื่อสะสมทุนและเพื่อกำไร ในแนวคิดดั้งเดิมของเศรษฐกิจสังคมนิยม มีการประสานงาน การทำบัญชีและการประเมินค่าอย่างเดียวกันโดยปริมาณทางกายภาพร่วม (common physical magnitude) หรือโดยการวัดแรงงาน-เวลาแทนการคำนวณทางการเงิน มีสองข้อเสนอในการกระจายผลผลิต หนึ่ง ยึดตามหลักที่ว่าให้กระจายแก่แต่ละคนตามการเข้ามีส่วนร่วม และสอง ยึดตามหลักผลิตจากทุกคนตามความสามารถ ให้แก่ทุกคนตามความจำเป็น วิธีการจัดสรรและประเมินคุณค่าทรัพยากรที่แน่ชัดยังเป็นหัวข้อการถกเถียงในการถกเถียงการคำนวณสังคมนิยมที่กว้างกว.

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและสังคมนิยม · ดูเพิ่มเติม »

จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์

อห์น เมย์นาร์ด เคนส์ บารอนแห่งเคนส์ ที่หนึ่ง (John Maynard Keynes, 1st Baron Keynes; 5 มิถุนายน พ.ศ. 2426 – 21 เมษายน พ.ศ. 2489) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ ชาวอังกฤษ เกิดที่ เคมบริดจ์, ประเทศอังกฤษ, สหราชอาณาจักร ผู้เสนอแนวคิดเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์ (Keynesian Economics) แนวความคิดทางเศรษศาสตร์ของเคนส์มีอิทธิพลต่อทฤษฎีเศรษศาสตร์มหภาคสมัยใหม่เป็นอย่างมาก รวมไปถึงนโยบายเศรษฐกิจที่รัฐบาลนำมาใช้ในการบริหารเศรษฐกิจของประเทศ เริ่มแรกเคนส์ศึกษาเรื่องสาเหตุของวัฏจักรธุรกิจ (business cycles) และเรียกร้องให้มีการใช้นโยบายทางการคลังและการเงินเพื่อผ่อนคลายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยและตกต่ำ เคนส์ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบิดาของเศรษฐศาสตร์มหภาคยุคใหม่และนับได้ว่าเป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่มีอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดของศตวรรษที่ยี่สิบ เคนส์ได้ทำงานที่หนังสือ อีโคโนมิคจอร์นัล เป็นที่แรก และได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์หลายฉบับ เช่น ทฤษฎีทั่วไปเกี่ยวกับการจ้างงาน, ดอกเบี้ย และเงินตรา (The General Theory of Employment, Interest and Money) เขาเป็นผู้ที่สร้างผลงาน ซึ่งพลิกวงการเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก(คือ เศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก ในสมัยนั้น) ก็คือ การให้รัฐเข้าไปแทรกแซงและสนับสนุนให้ใช้นโยบายของรัฐ อันได้แก่ นโยบายการเงินและนโยบายการคลัง (Monetary Policy & Fiscal Policy) อันจะกระตุ้นให้เกิด อุปสงค์ที่มีประสิทธิผล (Effective Demand) แทนที่จะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กลไกตลาด ที่เป็นแนวความคิดของ อดัม สมิธ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวได้ ประโยคสำคัญซึ่งท้าทายเศรษฐศาสตร์แบบเดิม คือประโยค "In the long run, we are all dead" (ในระยะยาว พวกเราก็ตายกันหมดแล้ว) ซึ่งสะท้อนเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการปรับตัวในระยะยาว เหล่านักเศรษฐศาสตร์ต่างยกให้ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งหลักของสาขาวิชา เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics).

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ · ดูเพิ่มเติม »

ทุนนิยม

"พีระมิดระบบทุนนิยม" ถูกตีพิมพ์ลงหนังสือพิมพ์ในปี..

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและทุนนิยม · ดูเพิ่มเติม »

ซะกาต

ซะกาต (زكاة หรือ ทานประจำปีหมายถึงทรัพย์สินส่วนเกินจำนวนหนึ่ง ซึ่งมุสลิมต้องจ่ายให้แก่ผู้ที่มีสิทธิได้รับเมื่อครบรอบปี ถ้ามุสลิมคนใดมีทรัพท์สิน เงินทอง สินค้าที่เหลือในรอบปีแล้วไม่ทำการบริจาค ผู้นั้นก็ผู้หนึ่งที่ทำผิดบัญญัติของอิสลาม และยังถือเป็นการผิดกฎหมายในบางประเทศที่ใช้กฎหมายอิสลาม ในประเทศไทยมุสลิมจำเป็นต้องจ่ายทั้งซะกาตและภาษี ในอัลกุรอานได้กล่าวถึงการบริจาคซะกาตว่า (แปลได้ใจความว่า"หัวใจของการบริจาคทานคือ การเสียสละเพื่อคนขัดสนและยากจน คล้ายกับการเสียสละเผยแผ่คำสอนอันศักดิ์สิทธิ์ของกุรอาน").

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและซะกาต · ดูเพิ่มเติม »

เกษตรกรรม

กษตรกรรม (agriculture) เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ และรูปแบบของชีวิตแบบอื่น ๆ เพื่อเป็นอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นเพื่อความยั่งยืนและเพิ่มสมรรถนะชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการที่สำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่ไม่ย้ายที่อยู่ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ในสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องได้ผลิตอาหารส่วนเกิน ซึ่งช่วยหล่อเลี้ยงพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาด้านเกษตรกรรมถูกเรียกว่า เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ของเกษตรกรรมย้อนกลับไปหลายพันปี และการพัฒนาของมันได้ถูกขับเคลื่อนโดยความแตกต่างอย่างมากของภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคต่างๆเพื่อการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยการชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีหลายวิธีการของเกษตรกรรมในพื้นที่แห้งแล้งอยู่ก็ตาม ปศุสัตว์จะถูกเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าผสมกับระบบที่ไม่เป็นเจ้าของที่ดิน ในอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของพื้นที่ที่ปราศจากน้ำแข็งและปราศจากน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้วเกษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่โดดเด่น แม้ว่าจะมีแรงสนับสนุนที่เพิ่มมากขึ้นสำหรับเกษตรกรรมแบบยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์ จนกระทั่งมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ของประชากรมนุษย์ทำงานในภาคการเกษตร การเกษตรแบบก่อน-อุตสาหกรรมโดยทั่วไปเป็นการเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต/การพึ่งตัวเองในที่ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชเพื่อการบริโภคของตัวเองแทน'พืชเงินสด'เพื่อการค้า การปรับเปลี่ยนที่โดดเด่นในการปฏิบัติทางการเกษตรได้เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาในการตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ๆและการพัฒนาของตลาดโลก มันยังได้นำไปสู่การปรับปรุงด้านเทคโนโลยีในเทคนิคการเกษตร เช่นวิธีของ 'ฮาเบอร์-Bosch' สำหรับการสังเคราะห์แอมโมเนียมไนเตรตซึ่งทำให้การปฏิบัติแบบดั้งเดิมของสารอาหารที่รีไซเคิลด้วยการปลูกพืชหมุนเวียนและมูลสัตว์มีความสำคัญน้อยลง เศรษฐศาสตร์การเกษตร การปรับปรุงพันธุ์พืช เกษตรเคมีเช่นยาฆ่าแมลงและปุ๋ยและการปรับปรุงเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้เพิ่มอัตราผลตอบแทนอย่างรวดเร็วจากการเพาะปลูก แต่ในเวลาเดียวกันได้ทำให้เกิดความเสียหายของระบบนิเวศอย่างกว้างขวางและผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ในเชิงลบ การคัดเลือกพันธุ์และการปฏิบัติที่ทันสมัยในการเลี้ยงสัตว์ได้เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันของการส่งออกของเนื้อ แต่ได้เพิ่มความกังวลเกี่ยวกับสวัสดิภาพของสัตว์และผลกระทบต่อสุขภาพของยาปฏิชีวนะ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโต และสารเคมีอื่นๆที่ใช้ทั่วไปในอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมเป็นองค์ประกอบที่เพิ่มขึ้นของการเกษตร แม้ว่าพวกมันจะเป็นสิ่งต้องห้ามในหลายประเทศ การผลิตอาหารการเกษตรและการจัดการน้ำจะได้กลายเป็นเป็นปัญหาระดับโลกเพิ่มขึ้นที่ได้รับการสนับสนุนให้เกิดการอภิปรายเกี่ยวกับจำนวนของ fronts การเสื่อมสลายอย่างมีนัยสำคัญของทรัพยากรดินและน้ำ รวมถึงการหายไปของชั้นหินอุ้มน้ำ ได้รับการตั้งข้อสังเกตในทศวรรษที่ผ่านมา และผลกระทบของภาวะโลกร้อนกับการเกษตรและผลของการเกษตรต่อภาวะโลกร้อนยังคงไม่เป็นที่เข้าใจอย่างเต็มที่ สินค้าเกษตรที่สำคัญสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มกว้างๆได้แก่อาหาร เส้นใย เชื้อเพลิง และวัตถุดิบ อาหารที่เฉพาะได้แก่(เมล็ด)ธัญพืช ผัก ผลไม้ น้ำมันปรุงอาหาร เนื้อสัตว์และเครื่องเทศ เส้นใยรวมถึงผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ ป่าน ผ้าไหมและผ้าลินิน วัตถุดิบได้แก่ ไม้และไม้ไผ่ วัสดุที่มีประโยชน์อื่นๆมีการผลิตจากพืช เช่นเรซิน สีธรรมชาติ ยา น้ำหอม เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ใช้ประดับเช่นไม้ตัดดอกและพืชเรือนเพาะชำ กว่าหนึ่งในสามของคนงานในโลกมีการจ้างงานในภาคเกษตร เป็นที่สองรองจากภาคบริการเท่านั้น แม้ว่าร้อยละของแรงงานเกษตรในประเทศที่พัฒนาแล้วได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านม.

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและเกษตรกรรม · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์

รษฐศาสตร์ (economics) เป็นวิชาทางสังคมศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับการผลิต การกระจาย การบริโภคสินค้าและการให้บริการ ตามคำจำกัดความของนักเศรษฐศาสตร์และนักการเมือง เรย์มอนด์ บารร์ แล้ว "เศรษฐศาสตร์คือศาสตร์แห่งการจัดการทรัพยากรอันมีจำกัด เศรษฐศาสตร์พิจารณาถึงรูปแบบที่พฤติกรรมมนุษย์ได้เลือกในการบริหารทรัพยากรเหล่านี้ อีกทั้งวิเคราะห์และอธิบายวิถีที่บุคคลหรือบริษัททำการจัดสรรทรัพยากรอันจำกัดเพื่อตอบสนองความต้องการมากมายและไม่จำกัด" คำว่า เศรษฐศาสตร์ มาจากคำภาษากรีก oikonomia ่ซึ่งแปลว่าการจัดการครัวเรือน (oikos แปลว่าบ้านและ nomos แปลว่า จารีตประเพณีหรือกฎหมาย ซึ่งรวมกันหมายความว่ากฎเกณฑ์ของครัวเรือน) แบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์ปัจจุบันแยกออกมาจากขอบเขตที่กว้างของวิชาเศรษฐศาสตร์การเมืองเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ถูกประยุกต์ใช้ครอบคลุมทั้งสังคมในด้าน ธุรกิจ, การเงิน และรัฐบาล แม้แต่ทั้งด้านอาชญากรรม, การศึกษา, ครอบครัว, สุขภาพ, กฎหมาย, การเมือง, ศาสนา, สถาบันสังคม, สงคราม และวิทยาศาสตร์ ภาพแสดงผู้ซื้อและผู้ขายกำลังต่อรองราคาอยู่หน้าตลาดชิชิคาสเทนานโก ในประเทศกัวเตมาลา วิชาเศรษฐศาสตร์จัดเป็นวิชาเชิงปทัสฐาน (เศรษฐศาสตร์ที่ควรจะเป็น) เมื่อเศรษฐศาสตร์ได้ถูกใช้เพื่อเลือกทางเลือกอันหนึ่งอันใด หรือเมื่อมีการตัดสินคุณค่าบางสิ่งบางอย่างแบบอัตวิสัย ในทางตรงข้ามเราจะเรียกเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นวิชาเชิงบรรทัดฐาน (เศรษฐศาสตร์ตามที่เป็นจริง) เมื่อเศรษฐศาสตร์นั้นได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการทำนายและอธิบายถึงผลลัพธ์ที่ตามมาเมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น โดยพิจารณาจากสมมติฐาน และชุดของข้อมูลสังเกตการณ์ ทางเลือกใดก็ตามที่เกิดจากการใช้สมมติฐานสร้างเป็นแบบจำลอง หรือเกิดจากชุดข้อมูลสังเกตการณ์ที่สัมพันธ์กันนั้น ก็เป็นข้อมูลเชิงบรรทัดฐานด้วยเช่นเดียวกัน เศรษฐศาสตร์จะให้ความสนใจกับตัวแปรที่สามารถวัดค่าได้เท่านั้น โดยสาขาของวิชาเศรษฐศาสตร์จะถูกจำแนกออกตามเนื้อหาเป็นสองสาขาใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและเศรษฐศาสตร์ · ดูเพิ่มเติม »

เศรษฐศาสตร์การเมือง

Jean-Jacques Rousseau, ''Discours sur l'oeconomie politique'', 1758 เศรษฐศาสตร์การเมือง (Political economy) มีความหมายกว้างขวางมาก คำจำกัดความจึงเป็นได้หลากหลายทาง ในทางหนึ่ง อาจหมายถึง ความหมายของเศรษฐศาสตร์ที่คิดรวมเอาปัจจัยด้านอื่นเข้าไปรวมด้วย เช่น สังคม วัฒนธรรม ประเพณี พฤติกรรมของคน กฎหมาย การเมือง(ความเกี่ยวข้องกับรัฐ) และพิจารณาถึงปูมหลังของแต่ละทฤษฎีด้วย อีกทั้งเป็นการศึกษาและวิเคราะห์โครงสร้างของระบบ มากกว่า ที่จะพิจารณาแต่ในเชิงคณิตศาสตร์และตรรกะบนการตั้งสมมติฐาน.

ใหม่!!: เศรษฐศาสตร์อิสลามและเศรษฐศาสตร์การเมือง · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »