โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)

ดัชนี อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)

อีพิเดอร์มิสเป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดของใบ มีอยู่ทั้งสองด้าน อีพิเดอร์มิส (epidermis) เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านนอกสุดของอวัยวะต่างๆ ยกเว้นหมวกรากและเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย เป็นเซลล์ชั้นเดียว เรียงชิดกันจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ มีชั้นคิวติเคิล (Cuticle) เป็นไขมันเคลือบทับด้านนอกเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ไม่มีคลอโรพลาสต์ อีพิเดอร์มิส ของกลีบดอก เช่น พุทธรักษาจะมีแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) อยู่ในแวคิวโอล รวมทั้งอีพิเดอร์มิสของส่วนใบและลำต้น เช่น ใบว่านกาบหอย หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช หมวดหมู่:เนื้อเยื่อพืช.

6 ความสัมพันธ์: ว่านกาบหอยหมวกรากคลอโรพลาสต์แวคิวโอลแอนโทไซยานินเนื้อเยื่อเจริญ

ว่านกาบหอย

ว่านกาบหอย เป็นพืชในวงศ์ Commelinaceae แตกพุ่มเป็นกอแน่น นิยมปลูกเป็นพืชคลุมดิน ใบเดี่ยวรูปหอก โคนใบเป็นกาบหุ้มลำต้น ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีม่วงอมแดง ดอกช่อ ดอกย่อยสีขาวนวล มีกาบหุ้มสองอันรองรับช่อดอก รูปร่างคล้ายเรือหรือเปลือกหอยสีม่วงอมเขียว ผลรูปรีแก่แล้วแตก เมล็ดขนาดเล็ก เป็นพืชทนแล้งได้ดี ใช้เป็นไม้ประดั.

ใหม่!!: อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)และว่านกาบหอย · ดูเพิ่มเติม »

หมวกราก

หมวกราก เป็นเนื้อเยื่อส่วนหนึ่งบริเวณปลายราก หมวกรากประกอบด้วยสตาโตไซต์ซึ่งมีช่องว่างภายใน ถ้าหมวกรากถูกตัดออกไป รากจะเจริญเติบโตแบบไร้ทิศทาง หมวกรากช่วยปกป้องเนื้อเยื่อเจริญในพืช หมวกรากจะหลั่งสารบางอย่างเพื่อช่วยให้รากสามารถงอกทะลุดินได้สะดวก.

ใหม่!!: อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)และหมวกราก · ดูเพิ่มเติม »

คลอโรพลาสต์

องค์ประกอบภายในของคลอโรพลาสต์ คลอโรพลาสต์ (Chloroplast) เป็นออร์แกแนลล์ภายในไซโทพลาสซึม ชนิดเยื่อยูนิตสองชั้น (Double unit membrane) ภายในเป็นของเหลวที่เรียกว่า (Stroma) ภายในสโตรมานี้มีชั้นที่พับไปมา เรียกว่ากรานูล บริเวณผิวของกรานูลนี้เรียกว่า ไทลาคอยด์ ซึ่งเป็นที่อยู่ของสารสีสำหรับการสังเคราะสโตรมาห์ด้วยแสง ระหว่างกรานูลมีเยื่อที่เชื่อมโยงแต่ละกรานูลไว้ เรียกว่าสโตรมาลาเมลลา (Stroma lamella) คลอโรพลาสต์ (chloroplast) เป็นออร์แกแนลที่พบในพืช เป็นพลาสติด ที่มีสีเขียว พบเฉพาะในเซลล์พืช และสาหร่าย เกือบทุกชนิด พลาสติดมีเยื่อหุ้มสองชั้น ภายในโครงสร้างพลาสติด จะมีเม็ดสี หรือรงควัตถุบรรจุอยู่ ถ้ามีเม็ดสีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เรียกว่า คลอโรพลาสต์ ถ้ามีเม็ดสีชนิดอื่นๆ เช่น แคโรทีนอยด์ เรียกว่า โครโมพลาส พลาสติดไม่มีเม็ดสี เรียกว่า ลิวโคพลาสต์ (leucoplast) ทำหน้าที่ เป็นแหล่งเก็บสะสมโปรตีน หรือเก็บสะสมแป้ง ที่เรียกว่า เม็ดสี (starch grains) เรียกว่า amyloplast ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารคลอโรฟิลล์ ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า สโตรมา (stroma) มีเอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ไม่ต้องใช้แสง (dark reaction) มี DNA RNA และไรโบโซม และเอนไซม์อีกหลายชนิด ปะปนกันอยู่ ในของเหลวเป็นเยื่อลักษณะคล้ายเหรียญ ที่เรียงซ้อนกันอยู่ เรียกว่า กรานา (grana) ระหว่างกรานา จะมีเยื่อเมมเบรน เชื่อมให้กรานาติดต่อถึงกัน เรียกว่า อินเตอร์กรานา (intergrana) หน่วยย่อย ซึ่งเปรียบเสมือน เหรียญแต่ละอัน เรียกเหรียญแต่ละอันว่า กรานาลาเมลลา (grana lamella) หรือ กรานาไทลาคอยด์ (grana thylakoid) ไทลาคอยด์ในตั้งเดียวกัน ส่วนที่เชื่อมติดกัน เรียกว่า สโตรมา ไทลาคอยด์ (stroma thylakoid) ไม่มีทางติดต่อกันได้ แต่อาจติดกับไทลาคอยด์ในตั้งอื่น หรือกรานาอื่นได้ ทั้งกรานา และอินเตอร์กรานา เป็นที่อยู่ของคลอโรฟิลล์ รงควัตถุอื่นๆ และพวกเอนไซม์ ที่เกี่ยวข้อง กับการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบที่ต้องใช้แสง (light reaction) บรรจุอยู่ หน้าที่สำคัญ ของคลอโรพลาส คือ การสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) โดยแสงสีแดง และแสงสีน้ำเงิน เหมาะสม ต่อการสังเคราะห์ ด้วยแสงมากที.

ใหม่!!: อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)และคลอโรพลาสต์ · ดูเพิ่มเติม »

แวคิวโอล

รูปเซลล์สัตว์ทั่วไปแสดงถึงองค์ประกอบภายในเซลล์. ออร์แกเนลล์: (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (จุดเล็กๆ) (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบหยาบ (6) กอลจิแอปพาราตัส (7) ไซโตสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอลภายในเซนโทรโซม แวคิวโอล (Vacuole) เป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)และแวคิวโอล · ดูเพิ่มเติม »

แอนโทไซยานิน

รงสร้างพื้นฐานของแอนโทไซยานิน แอนโทไซยานินทำให้ดอกไม้มีสีม่วงเข้ม สีแดงของแอนโทไซยานินที่เกิดกับใบอ่อนของกุหลาบที่จะหายไปเมื่อใบโตเต็มที่ แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นรงควัตถุที่พบในพืชทั้งในดอกและในผลของพืช ให้สีแดง น้ำเงิน หรือม่วง เป็นสารที่ละลายในน้ำได้ดี มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) ยับยั้งการเกิดออกซิเดชันของลิโปโปรตีน และการตกตะกอนของเกล็ดเลือด ทำให้แอนโทไซยานินมีบทบาทในการป้องการการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน โครงสร้างของแอนโทไซยานิน ประกอบด้วยสารประกอบ 2 หรือ 3 ชนิด ได้แก.

ใหม่!!: อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)และแอนโทไซยานิน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อเจริญ

นื้อเยื่อเจริญ (meristem) คือเนื้อเยื่อในพืชที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ (เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้) ซึ่งมักพบในตำแหน่งที่พืชมีการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วเซลล์พืชที่ทำการแบ่งตัวแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้อีก เนื้อเยื่อเจริญจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์เนื่องจากประกอบไปด้วยเซลล์ใหม่ที่จะถูกนำไปขยายเนื้อเยื่อและนำไปสู่สร้างอวัยวะใหม่ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับต้นพืช เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญนั้นมีรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในสัตว์ คือมีบางเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ แต่สามารถที่จะทำการแบ่งเซลล์ในภายหลังได้ และเซลล์ทั้งสองประเภทยังมีขนาดเล็กและเต็มไปด้วยโปรโตพลาสซึม ทั้งยังมีแวคิวโอลที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนไซโทพลาสซึมนั้นไม่มีพลาสติดที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพประกอบอยู่ด้วย (คือคลอโรพลาสหรือโครโมพลาส) แม้ว่าจะโพรพลาสติดซึ่งเป็นขั้นก่อนของพลาสติดอยู่ก็ตาม เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญจะอัดแน่นอยู่ด้วยกันโดยไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ และจะมีผนังเซลล์ที่บางมาก การดำรงสภาพกลุ่มเซลล์เหล่านี้ต้องการสมดุลระหว่างกระบวนการที่ตรงข้ามกันสองกระบวนการคือการเริ่มสร้างอวัยวะและการแทนที่เซลล์ต้นกำเนิด เนื้อเยื่อเจริญสามารถแบ่งประเภทได้ตามตำแหน่งที่อยู่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก.

ใหม่!!: อีพิเดอร์มิส (พฤกษศาสตร์)และเนื้อเยื่อเจริญ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »