โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ดาวน์โหลด
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

เนื้อเยื่อเจริญ

ดัชนี เนื้อเยื่อเจริญ

นื้อเยื่อเจริญ (meristem) คือเนื้อเยื่อในพืชที่ประกอบไปด้วยเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ (เซลล์ที่สามารถแบ่งตัวได้) ซึ่งมักพบในตำแหน่งที่พืชมีการเจริญเติบโต โดยปกติแล้วเซลล์พืชที่ทำการแบ่งตัวแล้วจะไม่สามารถแบ่งตัวออกมาได้อีก เนื้อเยื่อเจริญจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแบ่งตัวของเซลล์เนื่องจากประกอบไปด้วยเซลล์ใหม่ที่จะถูกนำไปขยายเนื้อเยื่อและนำไปสู่สร้างอวัยวะใหม่ เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานให้กับต้นพืช เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญนั้นมีรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับเซลล์ต้นกำเนิดที่พบในสัตว์ คือมีบางเซลล์ที่ยังไม่ผ่านการเปลี่ยนสภาพ แต่สามารถที่จะทำการแบ่งเซลล์ในภายหลังได้ และเซลล์ทั้งสองประเภทยังมีขนาดเล็กและเต็มไปด้วยโปรโตพลาสซึม ทั้งยังมีแวคิวโอลที่มีขนาดเล็กมาก ส่วนไซโทพลาสซึมนั้นไม่มีพลาสติดที่ผ่านการเปลี่ยนสภาพประกอบอยู่ด้วย (คือคลอโรพลาสหรือโครโมพลาส) แม้ว่าจะโพรพลาสติดซึ่งเป็นขั้นก่อนของพลาสติดอยู่ก็ตาม เซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญจะอัดแน่นอยู่ด้วยกันโดยไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์ และจะมีผนังเซลล์ที่บางมาก การดำรงสภาพกลุ่มเซลล์เหล่านี้ต้องการสมดุลระหว่างกระบวนการที่ตรงข้ามกันสองกระบวนการคือการเริ่มสร้างอวัยวะและการแทนที่เซลล์ต้นกำเนิด เนื้อเยื่อเจริญสามารถแบ่งประเภทได้ตามตำแหน่งที่อยู่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภทได้แก.

15 ความสัมพันธ์: พลาสติดพืชพืชใบเลี้ยงคู่พืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากวาสคิวลาร์แคมเบียมสัตว์หมากผู้หมากเมียแวคิวโอลไซโทพลาซึมเซลล์เซลล์ต้นกำเนิดเปลือกชั้นในเนื้อไม้เนื้อเยื่อ

พลาสติด

ซลล์พืช พลาสติด (plastid) เป็นออร์แกเนลล์ที่สำคัญของเซลล์พืช มีสามลักษณะตามประเภทรงควัตถุ ได้แก่, วันที่สืบค้น 25 พฤษภาคม 2559 จาก www.thaigoodview.com.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและพลาสติด · ดูเพิ่มเติม »

พืช

ืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและพืช · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงคู่

ืชใบเลี้ยงคู่ ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Magnoliopsida หรือ Dicotyledons กลุ่มของพืชกลุ่มหนึ่งมีเมล็ดที่ประกอบด้วยใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นชั้นทางชีววิทยา ต่อจากส่วนทางชีววิทยา ของพืชดอก (Magnoliophyta) ชื่อวิทยาศาสตร์ของ พืชใบเลี้ยงคู่ ได้มีระบบการจัดชั้นแบบใหม่ขึ้นมา ในขณะที่ระบบเก่า ระบบ Cronquist ยังคงเป็นที่นิยมอยู่ ในระบบใหม่ ระบบ Angiosperm Phylogeny Group ได้มีการจัดชั้นดังแสดง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและพืชใบเลี้ยงคู่ · ดูเพิ่มเติม »

พืชใบเลี้ยงเดี่ยว

ืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocotyledon หรือ Liliopsida) เป็นชั้นหนึ่งในส่วนพืชดอกที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกลุ่มหนึ่ง ครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นโลก และเป็นพื้ชที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจสูงอีกด้วย พืชใบเลี้ยงเดี่ยววงศ์ใหญ่ที่สุด คือ กล้วยไม้ (Orchidaceae) โดยมีดอกที่ซับซ้อน และสวยงาม เพื่อดึงดูดแมลงชนิดต่างให้ช่วยในการผสมพันธุ์ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสอง และอาจจะเป็นวงศ์ที่โดดเด่นกว่า ก็คือ หญ้า (Poaceae หรือ Gramineae) โดยมีวิวัฒนาการอีกทางหนึ่ง มีลักษณะพิเศษคือ การแพร่ขยายพันธุ์โดยอาศัยลม พืชในวงศ์หญ้านั้นมีดอกขนาดเล็ก แต่เมื่อรวมเป็นกลุ่มอาจปรากฏเป็นช่อดอกที่มองเห็นชัดเจนและสวยงาม.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและพืชใบเลี้ยงเดี่ยว · ดูเพิ่มเติม »

ราก

ราก ราก (อังกฤษ: root) เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของพืชที่งอกต่อลงมาจากลำต้น ทำหน้าที่ดูดลำเลียงน้ำและอาหาร ยึดค้ำจุนต้นพืชไม่ให้โค่นล้ม สร้างฮอร์โมนและหน้าที่อื่นๆตามลักษณะของราก หมวดหมู่:สรีรวิทยาของพืช หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์ของพืช หมวดหมู่:พฤกษศาสตร์.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและราก · ดูเพิ่มเติม »

วาสคิวลาร์แคมเบียม

ตัดขวางของลำต้นแสดงวาสคิวลาร์ แคมเบียม Winterborne J, 2005. ''Hydroponics - Indoor Horticulture'' http://www.hydroponicist.com วาสคิวลาร์แคมเบียม (Vascular cambium) เป็นแคมเบียมที่อยู่ในเนื้อเยื่อลำเลียง สร้างไซเลมและโฟลเอมระยะที่สองในการเติบโตในแต่ละปีของพืช เป็นเนื้อเยื่อเจริญทางด้านข้าง แคมเบียมชนิดนี้ในลำต้นเกิดได้ 2 แบบคือ ฟาสซิคิวลาร์ แคมเบียม (Fascicular cambium) เกิดจากโปรแคมเบียม และอินเตอร์ฟาสซิคิวลาร์ แคมเบียม (Interfascicular cambium) เกิดจากพาเรนไคมาที่อยู่ระหว่างเนื้อเยื่อลำเลียงชุดแรก แคมเบียมทั้งสองชนิดนี้จะเรียงต่อกันจนเป็นวงรอบลำต้น.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและวาสคิวลาร์แคมเบียม · ดูเพิ่มเติม »

สัตว์

ัตว์ (Animal) เป็นสิ่งมีชีวิตยูแคริโอตหลายเซลล์ในอาณาจักร Animalia (หรือเรียก เมตาซัว) แผนกาย (body plan) ของพวกมันสุดท้ายคงที่เมื่อพัฒนา แม้สัตว์บางชนิดมีกระบวนการการเปลี่ยนสัณฐานภายหลังในช่วงชีวิต สัตว์ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ สัตว์ทุกชนิดต้องกินสิ่งมีชีวิตอื่นหรือผลิตภัณฑ์ของสิ่งมีชีวิตเพื่อการดำรงชีพ (สิ่งมีชีวิตสร้างอาหารเองไม่ได้) ไฟลัมสัตว์ที่รู้จักกันดีที่สุดปรากฏในบันทึกฟอสซิลเป็นสปีชีส์ภาคพื้นสมุทรระหว่างการระเบิดแคมเบรียน (Cambrian explosion) ประมาณ 542 ล้านปีก่อน สัตว์แบ่งเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม บางกลุ่ม เช่น สัตว์มีกระดูกสันหลัง (นก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน ปลา) มอลลัสกา (หอยกาบ หอยนางรม ปลาหมึก หมึกสาย หอยทาก) สัตว์ขาปล้อง (กิ้งกือ ตะขาบ แมลง แมงมุม แมงป่อง ปู ลอบสเตอร์ กุ้ง) สัตว์พวกหนอนปล้อง (ไส้เดือนดิน ปลิง) ฟองน้ำ และแมงกะพรุน.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและสัตว์ · ดูเพิ่มเติม »

หมากผู้หมากเมีย

หมากผู้หมากเมีย เป็นพืชในวงศ์หน่อไม้ฝรั่ง (Asparagaceae) กระจายพันธุ์ตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงเกาะนิวกินี เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 3-4 เมตร ลำต้นกลมเป็นลำเดี่ยวหรือเป็นกอ เมื่อโตเต็มที่จะมีเนื้อไม้ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงเวียนสลับรอบต้น แผ่นใบมีหลายแบบ ทั้งใบรูปใบหอก รูปหอกกลับ รูปแถบ ปลายใบเรียวแหลมมีสีสันแตกต่างกัน ทั้งสีเขียว เขียวขอบขาว แดงเข้มหรือแดงอมน้ำตาล ดอกออกเป็นช่อแยกแขนงที่ซอกใบใกล้ปลายยอด มีดอกย่อยสีขาวครีมหรือขาวอมแดงเรื่อจำนวนมาก บานตอนกลางคืนและมีกลิ่นหอม กลีบดอกมี 6 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ๆ ผลกลมสีแดง เนื้อนุ่ม ภายในมีเมล็ดรูปโค้ง หมากผู้หมากเมียนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ชาวฮาวายเรียกพืชชนิดนี้ว่า "ติ" (Ti plant) ถือเป็นไม้มงคล มีสรรพคุณลดไข้ คลายกล้ามเนื้อ ลดอาการคัดจมูก รากนำมาทำเป็นขนมหรือหมักเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ ส่วนใบใช้ห่ออาหาร.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและหมากผู้หมากเมีย · ดูเพิ่มเติม »

แวคิวโอล

รูปเซลล์สัตว์ทั่วไปแสดงถึงองค์ประกอบภายในเซลล์. ออร์แกเนลล์: (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (จุดเล็กๆ) (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบหยาบ (6) กอลจิแอปพาราตัส (7) ไซโตสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอลภายในเซนโทรโซม แวคิวโอล (Vacuole) เป็นช่องๆ ล้อมรอบด้วยเมมเบรนชนิดเยื่อยูนิตชั้นเดียว อยู่ภายในเซลล์ยูแคริโอต (eukaryotic cell) บางชนิด พบในเซลล์พืชส่วนใหญ่และสัตว์หลายชนิด โดยแวคิวโอลในสัตว์มักเล็กกว่าในพืช แวคิวโอลสามารถทำหน้าที่เป็นที่เก็บ หลั่ง และถ่ายของเหลวภายในเซลล์ แวคิวโอลและสารภายในถือว่าแตกต่างจากไซโตพลาสซึม สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท คือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและแวคิวโอล · ดูเพิ่มเติม »

ไซโทพลาซึม

ไซโทพลาซึม นี่คือภาพเซลล์โดยสัตว์ทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส (2) นิวเคลียส (3) ไรโบโซม (4) เวสิเคิล (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ (6) กอลไจแอปพาราตัส (7) ไซโทสเกลเลตอน (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ (9) ไมโทคอนเดรีย (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาซึม (12) ไลโซโซม (13) เซนทริโอล ไซโทพลาซึม (cytoplasm) คือส่วนประกอบของเซลล์ที่อยู่ภายใต้เยื่อหุ้มเซลล์ แต่อยู่นอกนิวเคลียส หรือเรียกได้ว่า ไซโทพลาซึมเป็นส่วนของโพรโทพลาสซึมที่อยู่นอกนิวเคลียส ไซโทพลาซึมประกอบไปด้วยส่วนที่เป็นโครงสร้างย่อย ๆ ภายในเซลล์ เรียกว่าออร์แกเนลล์ (organelle) และส่วนที่เป็นของกึ่งเหลว เรียกว่าไซโทซอล (cytosol) องค์ประกอบประมาณ 80% ของไซโทพลาซึมเป็นน้ำ และมักไม่มีสี ในเซลล์โพรแคริโอต (ซึ่งไม่มีนิวเคลียส) เนื้อในของเซลล์ทั้งหมดจะอยู่ในไซโทพลาซึม สำหรับเซลล์ยูแคริโอต องค์ประกอบภายในนิวเคลียสจะแยกออกจากไซโทพลาซึม และมีชื่อเรียกแยกว่า '''นิวคลิโอพลาซึม''' กิจกรรมต่างๆ ในระดับเซลล์มักเกิดขึ้นในไซโทพลาซึม เช่น ไกลโคไลซิส และการแบ่งเซลล์ บริเวณเนื้อด้านในๆ ของไซโทพลาซึมเรียกว่า เอนโดพลาซึม (endoplasm) ส่วนเนื้อด้านนอกของไซโทพลาซึมที่อยู่ถัดจากเยื้อหุ้มเซลล์ลงมา เรียกว่า เอกโตพลาซึม หรือ เซลล์คอร์เทกซ์ (cell cortex) ในเซลล์ของพืช จะมีการไหลเวียนของไซโทพลาซึมภายในเซลล์เพื่อลำเลียงสารจากบริเวณหนึ่งของเซลล์ไปยังอีกบริเวณหนึ่ง เรียกการไหลเวียนนี้ว่า ไซโทพลาสมิก สตรีมมิ่ง (cytoplasmic streaming) หรือ ไซโคลซิส (cyclosis) หน้าที่ของไซโทพลาสซึม    • เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์     • สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์     • สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์    • เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์     • เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์ หมวดหมู่:ชีววิทยาของเซลล์ หมวดหมู่:กายวิภาคศาสตร์เซลล์.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและไซโทพลาซึม · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์

ป็นสิ่งสวยงามเซล เซลล์ เซลส์ หรือ เซลล์ส เป็นคำที่เขียนทับศัพท์มาจากคำในภาษาอังกฤษ cell, cel, Cells, sale หรือ Zales; cell: หมายถึงหน่วยย่อยที่มีการกั้นขอบเขต (หรือห้อง) โดยทั่วไปเซลล์จะเป็นส่วนประกอบในโครงสร้างอื่น ๆ ที่ใหญ่กว่า ความหมายขึ้นอยู่กับบริบท.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและเซลล์ · ดูเพิ่มเติม »

เซลล์ต้นกำเนิด

ซลล์ต้นกำเนิด หรือ เซลล์ต้นตอ (stem cell) เป็นเซลล์ไม่จำเพาะซึ่งสามารถเจริญ (differentiate) ไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะและสามารถแบ่งตัวแบบไมโทซิสเพื่อสร้างเซลล์ต้นกำเนิดเพิ่มได้ เซลล์ต้นกำเนิดพบในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แบ่งเซลล์ต้นกำเนิดออกกว้าง ๆ ได้เป็นสองชนิด คือ เซลล์ต้นกำเนิดจากตัวอ่อน (embryonic stem cell) ซึ่งแยกจากมวลเซลล์ชั้นในของตัวอ่อนระยะบลาสโตซิสท์ (blastocyst) และเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัย (adult stem cell) ซึ่งพบในเนื้อเยื่อหลายชนิด ในสิ่งมีชีวิตเต็มวัย เซลล์ต้นกำเนิดและโปรเจนิเตอร์เซลล์ (progenitor cell) ทำหน้าที่เป็นระบบซ่อมแซมของร่างกาย โดยทดแทนเนื้อเยื่อเต็มวัย ในตัวอ่อนที่กำลังเจริญ เซลล์ต้นกำเนิดสามารถเจริญไปเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่เฉพาะได้ทุกชนิด ทั้งเอ็กโทเดิร์ม เอ็นโดเดิร์มและเมโซเดิร์ม ทว่า ยังคงการหมุนเวียนปกติของอวัยวะที่สร้างใหม่ได้ (normal turnover of regenerative organ) เช่น เลือด ผิวหนังและเนื้อเยื่อลำไส้ได้อีกด้วย แหล่งที่เข้าถึงได้ของเซลล์ต้นกำเนิดเต็มวัยตัวเอง (autologous) ในมนุษย์มีสามแหล่ง คือ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและเซลล์ต้นกำเนิด · ดูเพิ่มเติม »

เปลือกชั้นใน

ปลือกชั้นใน หรือ โฟลเอ็ม (โฟฺล-) (phloem) เป็นกลุ่มที่ลำเลียงสารอาหารที่สังเคราะห์ขึ้นที่ใบไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชจนถึงราก เซลล์ที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ เซลล์หลอดตะแกรง (sieve tube member) เป็นเซลล์ที่เป็นแท่งยาว ยังมีชีวิตอยู่ แต่ไม่มีนิวเคลียส หัวและท้ายเป็นรูพรุน เป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่ลำเลียงสารอาหาร และเซลล์ข้างเคียง (companion cell) เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียส อยู่ใกล้เซลล์หลอดตะแกรงและคอยควบคุมการทำงานของเซลล์หลอดตะแกรง.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและเปลือกชั้นใน · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อไม้

หน้าตัดของต้นไม้ ส่วนหมายเลข 3 คือ เนื้อไม้ (ไซเลม) เนื้อไม้ หรือ ไซเลม (xylem) เป็นเนื้อเยื่อของพืชที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุต่าง ๆ ไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำ.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและเนื้อไม้ · ดูเพิ่มเติม »

เนื้อเยื่อ

นื้อเยื่อ ในทางชีววิทยาคือกลุ่มของเซลล์ที่ทำหน้าที่ร่วมกันในสิ่งมีชีวิต วิชาการศึกษาเนื้อเยื่อ เรียกว่า มิญชวิทยา (Histology) หรือ จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) หรือหากเป็นการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับโรคเรียกว่า จุลพยาธิวิทยา (histopathology) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเนื้อเยื่อโดยทั่วไปคือ แท่งขี้ผึ้ง (wax block), สีย้อมเนื้อเยื่อ (tissue stain), กล้องจุลทรรศน์แบบแสง (optical microscope) ซึ่งต่อมามีการพัฒนาเป็นกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (electron microscopy), immunofluorescence, และการตัดตรวจเนื้อเย็นแข็ง (frozen section) เป็นเทคนิคและความรู้ใหม่ที่เพิ่งกำเนิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ด้วยเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้เราสามารถตรวจพยาธิสภาพ เพื่อการวินิจฉัยและพยากรณ์โรคได้.

ใหม่!!: เนื้อเยื่อเจริญและเนื้อเยื่อ · ดูเพิ่มเติม »

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »