โลโก้
ยูเนี่ยนพีเดีย
การสื่อสาร
ดาวน์โหลดได้จาก Google Play
ใหม่! ดาวน์โหลด ยูเนี่ยนพีเดีย บน Android ™ของคุณ!
ฟรี
เร็วกว่าเบราว์เซอร์!
 

สัตยยุค

ดัชนี สัตยยุค

ัตยยุค (เทวนาครี: सत्य युग) เป็นยุคแห่งสัจธรรมอันมั่นคง มีพระพรหมองค์เดียวเป็นใหญ่ ไม่มีเทพเทวาอื่นๆ ไม่มีมาร ใครปรารถนาสิ่งใดก็สำเร็จตามปรารถนา ไม่มีการค้าขาย แลกเปลี่ยน ไม่มีโลภ โกรธ หลง ทุจริต คดโกง และไม่มีความเศร้าเสียใจใดๆ บุคคลที่เกิดในยุคนี้จะเป็น "สัตตบุรุษ" ทั้งหมด ไม่มีบุคคลที่เป็น "อันธพาล" เป็นสังคมที่น่าอยู่ มีแต่บัณฑิต ไม่ทำบาป ไม่เบียดเบียนกัน มีคุณธรรมสูง ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยความผาสุก สัตยยุค มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก เช่น สัตยุค หรือ กฤตยุค นับว่าเป็นยุคทองของมนุษยชาติ สัตยยุค มีอายุ 1,728,000 ปี บ้างก็ว่า 100,000 ปี โคธรรมะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์หมายถึงศีลธรรมนั้น ยืน 4 ขาในยุคนี้ ต่อมาในเตรตยุคจะยืน 3 ขา ในทวาปรยุค ยืน 2 ขา และปัจจุบัน (กลียุค) ยืนขาเดียว.

5 ความสัมพันธ์: พระพรหมกลียุคอักษรเทวนาครีทวาปรยุคเตรตายุค

พระพรหม

ระพรหม (ब्रह्मा; Brahma; బ్రహ్మ) เป็นเทพเจ้าสูงสุด (ตรีมูรติ) ในคติของศาสนาฮินดู เป็นเทพเจ้าแห่งการสร้างสรรค์ ความเมตตา เป็นพระผู้สร้างโลกและให้กำเนิดสิ่งต่าง ๆ ในจักรวาล และให้กำเนิดคัมภีร์พระเวท พระพรหมมีสี่พักตร์ พระศอสวมลูกประคำ พระหัตถ์แต่ละข้างถือดอกบัว, คัมภีร์ และหม้อน้ำ มีพาหนะเป็นหงส์ หรือ ห่าน พระชายา คือ พระสุรัสวดี เทพีแห่งศิลปะวิทยาการและความรอบรู้ ในคัมภีร์มัตสยาปุราณะเล่าว่า พระพรหมเดิมทีมีถึงห้าพักตร์ การที่มีห้าพักตร์เกิดจาก การที่พระพรหมให้ได้กำเนิดผู้หญิงนางหนึ่งชื่อ ศตรูป ขึ้นมา ความงามของศตรูปทำให้พระองค์หลงใหล เมื่อศตรูปนี้เคลื่อนไปทางใด พระพรหมก็จะหันพระพักตร์เพื่อมองตามไปด้วย แต่ว่ามีครั้งหนึ่งที่พระพรหมไปดูแคลนพระศิวะเข้า ทำให้พระศิวะพิโรธ และใช้ไฟบรรลัยกัลป์จากพระเนตรที่สามที่กลางพระนลาฏเผาพระพักตร์ที่อยู่ด้านบนเศียรของพระพรหม จนเหลือเพียงสี่พักตร์ แต่อีกความเชื่อหนึ่งเล่าว่า เพราะพักตร์ด้านบนของพระพรหมนั้นเจิดจรัสมาก ทำให้พวกสุระและอสุระทนไม่ได้ จึงขอร้องให้พระศิวะเป็นผู้ตัดให้ และยังเชื่อด้วยว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างบุคคลในวรรณะต่าง ๆ จากอวัยวะแต่ละส่วน ได้แก่ พราหมณ์เกิดจากพระโอษฐ์, กษัตริย์ เกิดจากอก, แพศย์เกิดจากส่วนท้อง และศูทรเกิดจากเท้า ตามมติของพราหมณาจารย์แต่โบราณกล่าวถึงตำราพรหมชาติ ว่าเป็นตำราที่มาจากพรหม ตำราพุทธลักษณะที่ฤษีแต่งไว้ก็มาจากพรหม เหตุที่รู้เห็นถึงพุทธลักษณะได้เพราะพรหมเป็นผู้มีอายุยืนและได้รู้เห็นเรื่องราวต่างๆอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเวลาพราหมณ์หนุ่มเที่ยวสืบหาที่เรียนและทำความเคารพนบนอบในผู้เฒ่าผู้แก่อยู่นั้น พระพรหมเห็นแก่ความกรุณา พอทราบเรื่อง จึงได้แปลงเพศมาเป็นพราหมณ์ฤษีแล้วบอกวิชา ทั้งเรื่องมนต์ ไสยเวท ตำราพยากรณ์ ตำราดูลักษณะของหมอดู ต่างๆนั้นเองพราหมณ์จึงถือว่ามาจากพรหม และจึงได้นับถือกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์มีความงดงาม แม้คัมภีร์ปิงคละดาบส ตำราโตลกจือโหราศาสตร์จีน ถึงตลอดคัมภีร์โหราศาสตร์ในรุ่นหลังๆ ก็ได้กล่าวว่าได้มาแต่ฤษีและเทวะบันดาล อาจารย์ผู้ที่เรียนรู้ไว้ต่างกล่าวถึงสิ่งมงคลนี้ในทำนองเดียวกัน ในคติของชาวไทยที่รับคติความเชื่อจากศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่าพระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย ด้วยเหตุดังนี้ พระพรหมจึงมีพระนามต่าง ๆ อาทิ "พรหมธาดา" หรือ "ประชาบดี" (ผู้สร้าง), "หงสรถ" หรือ "หงสวาหน" (ผู้มีหงส์เป็นพาหนะ), "จตุรพักตร์" (ผู้มีสี่หน้า), "ปรเมษฐ์" (ผู้ประเสริฐ) เป็นต้น ส่วนในลิลิตโองการแช่งน้ำเรียกว่า "ขุนหงส์ทองเกล้าสี่" โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง "ความเจริญ, ความกว้างขวาง, ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตามคติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ทั้งในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และพุทธศาสนาจึงมีคำว่า พรหม ประกอบคำศัพท์ เช่น "พรหมจรรย์", "พรหมบุตร" หรือ "พรหมวิหาร 4" เป็นต้น.

ใหม่!!: สัตยยุคและพระพรหม · ดูเพิ่มเติม »

กลียุค

กลียุค (อักษรเทวนาครี: कली युग) คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค เตรตายุค และทวาปรยุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค กลียุคมีอายุ 432,000 ปี การตีความคัมภีร์ฮินดูว่าปัจจุบันนี้โลกอยู่ในกลียุคมีคนเชื่อมากที่สุด การตีความคัมภีร์ฮินดูแบบอื่นๆ เชื่อว่าโลกอยู่ในช่วงเริ่มทวาปรยุค โดยทั่วไปแล้วกลียุคก็คือยุคมืดเพราะผู้คนห่างเหินจากพระเจ้าอย่างถึงที่สุด ตามคติของศาสนาพราหมณ์ เมื่อโลกมาถึงกลียุค เชื่อกันว่าพระศิวะ หรือพระอิศวร จะทรงเปิดพระเนตรดวงที่อยู่กลางหน้าผากขึ้น และโลกจะถูกทำลาย เพื่อคืนสมดุลของโลกให้เกิดการสร้างโลกขึ้นใหม.

ใหม่!!: สัตยยุคและกลียุค · ดูเพิ่มเติม »

อักษรเทวนาครี

อักษรเทวนาครี (देवनागरी อ่านว่า เท-วะ-นา-คะ-รี; Devanagari) พัฒนามาจากอักษรพราหมีในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 ใช้เขียนภาษาฮินดี ภาษาสันสกฤต ภาษามราฐี ภาษาบาลี ภาษาสินธี ภาษาเนปาล และภาษาอื่นๆในประเทศอินเดีย อักษรเทวนาครีมีลักษณะการเขียนจากซ้ายไปขวา มีเส้นเล็กๆ อยู่เหนือตัวอักษร หากเขียนต่อกัน จะเป็นเส้นยาวคล้ายเส้นบรรทัด มีการแยกพยัญชนะ สระ และเครื่องหมายต่าง.

ใหม่!!: สัตยยุคและอักษรเทวนาครี · ดูเพิ่มเติม »

ทวาปรยุค

ทวาปรยุค (เทวนาครี: द्वापर युग) มีอายุ 864,000 ปี บุคคลที่เกิดในยุคนี้จะเป็น"สัตตบุรุษ" คือผู้ที่มาจากสวรรค์ และบุคคลที่เป็น "อันธพาล" คือผู้ที่มาจากอบายภูมิ ในสัดส่วนที่เท่ากันคือร้อยละ 50 ต่อ 50 นับเป็นยุคที่ 3 จากยุคทั้ง 4 มีพรรณนาเอาไว้ในคัมภีร์ของฮินดู ว่าทวาปรยุค อยู่ถัดจากเตรตยุค และมีกลียุคตามมา ในปุราณะพรรณนาไว้ว่า ทวาปรยุคสิ้นสุดลงเมื่อพระกฤษณะกลับคืนสู่วิมานที่ประทับในไวกูณฐ์ ในยุคนี้โคธรรม ยืนสองขา (หากใช้สัญลักษณ์เป็นเสาหลัก ก็ว่าเหลือสองต้น) ตามความเชื่อฮินดู พระวิษณุมีผิวเหลือง พระเวทจะถูกแบ่งเป็น 4 เล่ม คือ ฤคเวท, สามเวท, ยชุรเวท และอาถรรพเวท ในยุคนี้พราหมณ์มีความรู้สอง หรือสามเวท แต่ไม่ใคร่ได้ศึกษาครบเวททั้งสี.

ใหม่!!: สัตยยุคและทวาปรยุค · ดูเพิ่มเติม »

เตรตายุค

ตรตายุค (อักษรเทวนาครี: त्रेता युग)หรือไตรดายุค คือหนึ่งในช่วงเวลาในสี่ช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งอธิบายไว้ในคัมภีร์ฮินดู โดยมียุคอื่นอีกได้แก่ สัตยยุค ทวาปรยุค และ กลียุค ซึ่งทั้ง 4 ยุครวมกันเรียกว่ามหายุค มีระยะเวลา ๓,๖๐๐ ปีเทวดา หรือ1,296,000 ปีโลกมนุษย์ ซึ่งถือเป็นยุคเงิน.

ใหม่!!: สัตยยุคและเตรตายุค · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

กฤตยุค

ขาออกขาเข้า
Hey! เราอยู่ใน Facebook ตอนนี้! »